Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180160
ทั้งหมด:13491394
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - 'ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา' (2563)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

'ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา' (2563)
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2020 9:32 am    Post subject: 'ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา' (2563) Reply with quote

'ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา' ย้อนส่องวิถีสยาม ผ่านนิทรรศการ
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาแปลงฟิล์มกระจกต้นฉบับให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล กลายเป็นจุดเริ่มต้นการนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการภายใต้ชื่อ ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา บอกเล่าเรื่องราวของประเทศไทยในอดีต วิถีชีวิตของชาวสยามในรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 รวมทั้งสิ้น 102 ภาพ โดย กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ร่วมกับ มูลนิธิสิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดนิทรรศการ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงนโยบายด้านการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม ความสำคัญของการอนุรักษ์ฟิล์มกระจกว่า ฟิล์มกระจกเป็นเอกสารจดหมายเหตุประเภทโสตทัศนวัสดุ เป็นฟิล์มชนิดหนึ่งที่มีภาพในลักษณะเนกาทีฟและโพสซิทีฟปรากฏบนแผ่นกระจก เป็นหนึ่งในวิทยาการด้านการถ่ายภาพที่นิยมในช่วงพุทธศักราช 2395-2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอีกหนึ่งในภารกิจสำคัญของกรมศิลปากร โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่ต้องอนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟูเผยแพร่ ให้บริการด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย สืบทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยในอนาคต

ด้าน ประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงรายละเอียดการจัดนิทรรศการว่า ภาพถ่ายฟิล์มกระจกเป็นส่วนหนึ่งจากภาพถ่ายชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ที่องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก เมื่อปี พ.ศ. 2560 กล่องที่ 1-24 และ 50-52 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ภาพ บอกเล่าเรื่องราวของประเทศไทยในอดีต วิถีชีวิตของชาวสยามในรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 ทั้งนี้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เชิญผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยว กับภาพถ่ายโบราณ ร่วมจัดทำคำบรรยายและคัดเลือกภาพ ต่อมา ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ได้นำภาพถ่ายจากหนังสือ ร่วมกับภาพถ่ายชุดอื่น ไปออกแบบเนื้อหาและนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ รวมทั้งสิ้น 102 ภาพ แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 : ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามหัวเมืองต่าง ๆ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ทรงใกล้ชิดและทราบทุกข์สุขของประชาชน,

ส่วนที่ 2 : ทุติยบรรพ สยามอันสุขสงบในรอยต่อของกาลเวลา เป็นภาพวิถีชีวิตที่ธรรมดา เป็นกิจวัตรของผู้คนในกรุงเทพฯ ให้บรรยากาศของความสุขสงบ เรียบง่ายของผู้คนและบ้านเมือง,

ส่วนที่ 3 : ตติยบรรพ ตะวันออกบรรจบตะวันตก เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของชาวตะวันตกที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวสยามในรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7

ส่วนที่ 4 : จตุตถบรรพ เร่งรุดไปข้างหน้า เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกที่ทำให้สยามประเทศ ขณะนั้นเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสร้างและเชื่อมโยงระบบเส้นทางรถไฟ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตทางการปกครอง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว อธิบดีกรมศิลปากรกล่าว

สำหรับแนวความคิด รูปแบบ และเนื้อหาการจัดนิทรรศการ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน กล่าวว่า ในฐานะของคนที่เป็นช่างภาพ การถ่ายภาพไม่ได้เป็นแค่การบันทึกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น แต่ยังผ่านมุมมองของผู้ที่บันทึกภาพด้วย ดังนั้นภาพจึงเต็มไปด้วยอารมณ์หลากหลาย มีพลัง มีความเป็นส่วนตัวสูง มีความเป็นศิลปะ อยากให้คนเข้าใจมิติของภาพที่ไม่ได้มีระนาบเดียว แต่มีหลายมิติที่สะท้อนความรู้สึกของคนในยุคนั้น นั่นคือสิ่งที่สำคัญทำให้การอ่านภาพของนิทรรศการนี้สนุก ผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาอ่านภาพ แต่ละท่านเห็นไม่เหมือนกันเลย ถ้าเป็นสถาปนิกจะเห็นความสำคัญของสถาปัตยกรรม หรืออีกท่านจะเน้นเรื่องของคน นั่นคือพลังของรูปสามารถที่จะเอามาเล่าหลายร้อยเรื่อง แม้คนไม่ถนัดภาษาไทยแต่เมื่อชมภาพแล้ว ทุกคนสามารถเข้าถึงอารมณ์ตรงนั้นได้ เข้าใจประวัติศาสตร์ไทยได้ นี่คือเป็นสิ่งที่สำคัญของภาพอย่างหนึ่ง

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา อธิบายเพิ่มเติมว่า ตอนแรกมีคนมาเชิญชวนเข้ามาจัดนิทรรศการฟิล์มกระจก จริง ๆ ก็ตกใจเนื่องจากข้าพเจ้าไม่ได้เป็นนักภัณฑารักษ์เป็นเพียงนักเล่าเรื่อง ความท้าทายของงานครั้งนี้การเลือกภาพซึ่งจำกัดอยู่ 1,000 ภาพตามลำดับกล่อง หมายความว่าไม่สามารถเลือกได้ว่าจะได้ภาพใด ออกมาจำนวนเท่าใด แล้วสามารถที่จะเล่าเรื่องการเชื่อมต่อของแต่ละรูป สำหรับวัตถุประสงค์ของงานนี้อยากให้คนปัจจุบันได้ดูแล้วเข้าใจประวัติที่อยู่ในแต่ละรูป แม้ว่าจะถ่ายไปร้อยกว่าปีแต่มีความต่อเนื่องของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในรูปถ่ายทั้งหมด ประการต่อมาคือต้องการเล่นอารมณ์กับคน คล้าย ๆ กับนิทรรศการภาพถ่าย Hundred Years Between ตามรอยเสด็จฯ รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จฯ เยือนราชอาณาจักรนอร์เวย์ เมื่อปี พ.ศ. 2450 ใช้จดหมายเป็นหลัก แต่คราวนี้ใช้ภาพถ่ายบอกเล่าเรื่อง

"ภายในนิทรรศการแยกเป็น 4 ส่วน ขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น ส่วนแรกมีภาพถ่ายในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นหัวเมืองต่าง ๆ ผู้ชมได้รับความรู้สึกเหมือนได้เดินทางร่วมในเหตุการณ์ช่วงนั้น มีทั้งความสงบ มีความเป็นส่วนพระองค์ มีความสบาย เรียบง่าย หรือช่วงที่มีการติดต่อกับตะวันตกค่อนข้างเยอะ เห็นชัดเจนว่าพระราชประเพณีเคร่งครัดมีความผ่อนคลายลง มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เริ่มเสด็จประพาสและแปรพระราชฐานไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ มีการสร้างพระตำหนักหลายแห่งนอกเขตพระนคร เช่น พระนครคีรี หรือ "เขาวัง" จ.เพชรบุรี จากการทำงานมีกล่องภาพหนึ่ง เป็นพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสผู้ทรงสนิทเสน่หาและใกล้ชิด ประดุจธารพระกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2452 จนสร้างความโทมนัสแสนสาหัส ซึ่งพระฉายาลักษณ์หนึ่งเสด็จฯ ยังแหล่งโบราณคดี จ.กำแพงเพชร อีกพระฉายาลักษณ์เป็นงานพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช นี่คือสิ่งที่เศร้า พยายามเอารูปภาพนี้มาอยู่กลุ่มเดียวกัน ให้อยู่สุดท้ายของส่วนแรก ให้คนเข้าใจว่าที่เสด็จประพาสทั้งหมดมันสบายมีความสุข แต่สุดท้ายมันต้องมีอะไรที่จะเปลี่ยนแปลงไป"

นิทรรศการ "ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา" เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันนี้ถึง 20 ก.ย. 2563 ระหว่างเวลา 10.00-18.30 น. ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) สามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังได้จัดทำนิทรรศการเสมือนจริง ด้วยเทคโนโลยีไวทัล เรียลิตี้ นำเสนอข้อมูลผ่านนิทรรศการแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www.nat.go.th เพื่อความปลอดภัยทางด้านสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2020 9:43 am    Post subject: Reply with quote

Arrow http://songkhlastation.com/image/1593882301-20200705_9.pdf

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2020 9:52 am    Post subject: Reply with quote

Arrow http://songkhlastation.com/image/C-200705005016.pdf

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2020 9:54 am    Post subject: Reply with quote

การขนส่งพัสดุไปรษณีย์ที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่ ๕ รองเมือง สถานีกรุงเทพฯ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง ภาพถ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/07/2020 10:03 am    Post subject: Reply with quote

ชมนิทรรศการเสมือนจริงได้ที่
Arrow https://virtualarchives.nat.go.th/glassplate/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/07/2020 7:52 am    Post subject: Reply with quote

มองเมืองไทย ๑๐๐ ปีก่อนจากภาพเก่าในนิทรรศการ 'ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ภาพถ่าย เป็นวัตถุอย่างหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราว บันทึกสภาพสังคม และวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี และดีที่สุดก่อนที่เราจะมีสื่อที่พัฒนาขึ้นมาอย่าง ภาพเคลื่อนไหว ถ้าอยากรู้ว่าสภาพสังคม-บ้านเมืองในยุคไหน ให้ดูที่ภาพถ่าย

เทคโนโลยีการถ่ายภาพเข้ามาในเมืองไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนจะเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่เจ้านาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งฟิล์มภาพถ่ายจำนวนมากที่ท่านเหล่านั้นได้ถ่ายไว้ ส่วนหนึ่งยังคงได้รับการรักษาไว้อย่างดี เป็นมรดกของแผ่นดินให้คนรุ่นหลังได้ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา และได้เห็นสภาพบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยเรื่อยมา ก่อนจะถึงยุคปัจจุบัน

ช่วงนี้มีโอกาสดีสำหรับใครที่อยากเห็นสภาพความเป็นอยู่ของเมืองไทยเมื่อราว 100 ปีก่อน สามารถไปดูภาพถ่ายที่บันทึกในยุคนั้นได้ในนิทรรศการ "ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา" ที่จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม-20 กันยายนนี้

ภาพถ่ายในนิทรรศการ "ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา" เป็นส่วนหนึ่งในต้นฉบับภาพถ่ายฟิล์มกระจกชุด "หอพระสมุดวชิรญาณ" ที่องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็น "มรดกความทรงจำแห่งโลก"เมื่อปี พ.ศ. 2560 ซึ่งภาพถ่ายชุดนี้บอกเล่าเรื่องราวของประเทศไทยในอดีต รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7

หลังจากที่ต้นฉบับภาพถ่ายฟิล์มกระจกชุด "หอพระสมุด วชิรญาณ" ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกความทรงจำ แห่งโลก" กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิสิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการ "เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก" ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสนั้น นับแต่นั้นมา สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้กำหนดแผนการดำเนินงานทุกปี ด้วยการนำภาพถ่ายฟิล์มกระจกตามลำดับกล่องถัดไป มาจัดทำคำบรรยายภาพและเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบหนังสือ หรือนิทรรศการ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยของประชาชน

ก่อนที่จะออกมาเป็นนิทรรศการ "ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา" นี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาพถ่ายโบราณ ร่วมจัดทำคำบรรยายและคัดเลือกภาพถ่ายจำนวน 205 ภาพ นำมาจัดพิมพ์หนังสือในชื่อ "ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์" เล่ม 2 ต่อมา ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ได้นำภาพถ่ายจากหนังสือร่วมกับภาพถ่ายชุดอื่นไปออกแบบเนื้อหาและนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ ภายใต้ชื่อ "ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา" รวมทั้งหมด 102 ภาพ ซึ่ง "ดีไลฟ์-ประชาชาติธุรกิจ" ได้คัดเลือกภาพส่วนหนึ่ง พร้อมคำบรรยาย มานำเสนอให้ชมในที่นี้แล้ว

ข้อมูลในนิทรรศการบอกว่า นิทรรศการนี้เน้นให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเมื่อสยามค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการประสมประสานทางวัฒนธรรม "ตะวันออกบรรจบตะวันตก" อันเป็นเอกลักษณ์เพื่อนำผู้คนในปัจจุบันเดินทางย้อนเวลาไปในอดีต เป็นการเดินทางที่นำไปสัมผัสกับเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7

นิทรรศการนี้แบ่งส่วนการจัดแสดงออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 : ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นภาพการ เสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ และการเสด็จประพาสต้น

ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา วิถีชีวิตของชาวสยาม เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่เพียงแต่เฉพาะสามัญชน รวมถึง พระมหากษัตริย์และบรรดาเจ้านายพระราชวงศ์ด้วย ความสนใจที่มีต่อวัฒนธรรมตะวันตก รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ ทำให้แนวคิดและวิถีแห่งกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ความเปลี่ยนแปลงยิ่งเห็นชัดเจนมากขึ้น ด้วยพระองค์ได้เสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ พร้อมเจ้านายพระราชวงศ์ บ่อยครั้งเป็นการเสด็จประพาสต้น คือ เสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์โดยไม่ให้ใครรู้จัก เพื่อจะได้ทรงใกล้ชิดและทราบทุกข์สุขที่แท้จริงของชาวบ้าน

ส่วนที่ 2 : ทุติยบรรพ สยามอันสุขสงบในรอยต่อของกาลเวลา เป็นภาพวิถีชีวิตของผู้คนในกรุงเทพฯ ที่ดำเนินไปตามครรลองอย่างเนิบช้า ภาพเด็ก ๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน ภาพพระภิกษุในวัดวาอาราม ฯลฯ

วิถีชีวิตอันธรรมดาสามัญเหล่านี้เปรียบเสมือนช่วงพักครึ่งเวลาระหว่างการแสดง ช่วงเวลาที่สงบนิ่ง รอเวลาที่ความเปลี่ยนแปลงจะเข้ามาแสดงบทบาทในสยามประเทศ

ส่วนที่ 3 : ตติยบรรพ ตะวันออกบรรจบตะวันตก เป็นภาพ ที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของชาวตะวันตกที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7

แม้ชาวตะวันตกจะเข้ามาในสยามตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 นี้เองที่เห็นได้ชัดเจนว่า ชาวตะวันตกมีบทบาทต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวสยามมากขึ้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวยุโรปที่มีความรู้ความสามารถหลายคนได้ทำงานร่วมกับช่างฝีมือชาวสยาม ลักษณะแห่ง "ตะวันออกบรรจบตะวันตก" นี้ได้ดำเนินเรื่อยมา และพัฒนาจนถึงจุดสูงสุดในรัชสมัยของพระองค์เอง และพระราชโอรสทั้งสอง ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

ส่วนที่ 4 : จตุตถบรรพ เร่งรุดไปข้างหน้า เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกที่ทำให้สยามเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสร้างและเชื่อมโยงระบบเส้นทางรถไฟ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตทางการปกครอง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

กิจการรถไฟแรกมีในสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ โดยเชื่อมโยงระบบและเส้นทางทั้งหมดให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน รถไฟนี่เอง ที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้สยามเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

การสร้างทางรถไฟสะท้อนอิทธิพลของตะวันตกทั้งในเชิงกายภาพและแนวคิดอุดมคติ เห็นได้ชัดเจนจากการนำเข้าวัสดุและวิทยาการจากตะวันตกเพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้น คือ การสร้างทางรถไฟเป็นประจักษ์พยานของสำนึกเรื่องรัฐชาติ อันเป็นแนวคิดจากตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลต่อชนชั้นปกครองของเอเชียในสมัยนั้น ในอันที่จะเชื่อมหัวเมืองใหญ่น้อยเข้ากับเมืองหลวง เพื่อเสริมสร้างการปกครองแบบรวมศูนย์ ทั้งในเชิงวัฒนธรรมและการบริหารบ้านเมือง สยามจึงเริ่มกลายเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ขยายออกจากพระนคร

บรรยายใต้ภาพ

การขนส่งพัสดุไปรษณีย์โทรเลขที่ 5 รองเมือง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพฯ

ห้างสิทธิภัณฑ์ ตั้งอยู่ถนนเฟื่องนคร จำหน่ายเหล้า อาหารแห้ง เครื่องประดับ เครื่องภาชนะครัวเรือน น้ำหอม ภาพนี้ถ่ายจากบริเวณสี่กั๊กพระยาศรีมองไปทางทิศเหนือ

ถนนเจริญกรุงตัดกับถนนมหาไชย เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ตึกแถวหัวมุมที่สี่แยกเป็นห้าง บี.กริมแอนด์โก สาขาประตูสามยอด ภาพนี้ถ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ศาลาเฉลิมกรุง บริเวณถนนตรีเพชรตัดกับถนนเจริญกรุง เมื่อ พ.ศ. 2476

ราษฎรพายเรือมารอรับเสด็จฯ ที่วัดไลย์ เมืองลพบุรี พ.ศ. 2449 เป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ห้าง ย.ร. อันเดร ก่อตั้งเมื่อพุทธศักราช 2447 ตั้งอยู่ที่สี่กั๊กพระยาศรี รับสั่งสิ่งของต่าง ๆ จากต่างประเทศ เครื่องประดับเพชรพลอย และเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ Opel และ Wanderer

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2020 6:56 am    Post subject: Reply with quote

ภาพถ่ายฟิล์มกระจกบทบันทึกอันงดงามสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในอดีต
BLT BANGKOK ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ควรค่าแก่การหาชมยิ่ง สำหรับนิทรรศการ "ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา" (Glass Plate Negatives : Stories That Transcend Time) ซึ่งจะพาคุณย้อนอดีต สะท้อนความทรงจำแห่งสยามประเทศไปเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ผ่านภาพถ่ายฟิล์มกระจกจำนวน 1,000 ภาพ ซึ่งทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 -รัชกาลที่ 7

แถมแต่ละภาพยังเผยสถานที่สำคัญๆ ตามรายทางต่างๆ ไว้น่าสนใจ ซึ่งทั้งหมดเน้นให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของประเทศที่ค่อยๆ เคลื่อนคล้อยเข้าสู่ห้วงเวลาแห่งการผสมผสานทางวัฒนธรรม ระหว่างตะวันออกและตะวันตก

โดยนิทรรศการนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ฉายให้เห็นภาพในการ "เสด็จประพาสต้น" คือการเสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์โดยมิให้ใครรู้ เพื่อที่จะทรงได้ใกล้ชิดและทราบทุกข์/สุขที่แท้จริงของราษฎร ทุติยบรรพ สยามอันสุขสงบในรอยต่อของกาลเวลา ในโซนนี้ผู้ชมจะได้ละลานตาไปกับภาพถ่ายวิถีชีวิตตามครรลองของคนกรุงเทพฯ และคนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพเด็กๆ และภาพพระภิกษุในวัดวาอารามที่สร้างขึ้นในปลายสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์

ตติยบรรพ ตะวันออกบรรจบตะวันตก การนำเสนอภาพชาวตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวสยาม ซึ่งในสมัยนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวยุโรปที่มีความรู้ความสามารถหลายคนได้เข้ามาทำงานร่วมกับช่างฝีมือชาวสยาม

และโซนสุดท้าย จตุตบรรพ เร่งรุดไปข้างหน้า ส่วนนี้ภาพจะบอกเล่าถึงความก้าวหน้าในยุคนั้น ซึ่งมีกิจการรถไฟเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ โดยเชื่อมโยงระบบและเส้นทางทั้งหมดให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน

นิทรรศการ ภาพถ่ายฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ถึง 20 ก.ย. 63 เวลา 10.00 - 19.00 น. (หยุดวันจันทร์) ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ โทร. 02 281 1599 หรือคลิก www.nat.go.th

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2020 7:04 am    Post subject: Reply with quote

เบื้องหลังงาน อนุรักษ์ฟิล์มกระจก แสงเงาที่นำพา “อดีต” ข้ามกาลเวลา
Sarakadee Lite 31 ก.ค. 2563

Arrow https://www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/thai-glass-plate-negatives-collection

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2020 10:04 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

วันนี้ (15 สิงหาคม 2563) เวลา 13.30 - 15.30 น. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสดการเสวนา เรื่อง “เล่าเรื่องการเก็บรักษาฟิล์มกระจกและภาพเก่า” ทาง Facebook live : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ดำเนินกิจกรรมเสวนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และจดหมายเหตุ
🔸 นายเอนก นาวิกมูล และนายอรรถดา คอมันตร์ นักวิชาการประวัติศาสตร์อิสระ
🔸นางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ร่วมด้วย นางสาวราศี บุรุษรัตนพันธุ์ ผู้ดำเนินรายการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2020 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

ชมการเสวนาได้ที่นี่ครับ
Arrow https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/videos/722847304946554/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©