Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179923
ทั้งหมด:13491155
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 216, 217, 218 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2020 8:13 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผุด “โดมครอบทางด่วน-รถไฟฟ้า” ลดมลภาวะ ซื้อใจม.เกษตรไฟเขียวใช้พื้นที่ก่อสร้าง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 มิถุนายน 2563 - 16:35 น.


“คมนาคม” ลุยปรับรูปแบบทางด่วนขั้น 3 N1 หนุน “สายสีน้ำตาล”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 16 มิถุนายน 2563 - 16:50 น.

ปรับแบบทางด่วน N1 ยกระดับผ่านเกษตร-ใส่หลังคาครอบตลอดแนวกันเสียง และฝุ่นPM2.5
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ การค้า-อุตสาหกรรม-คมนาคม คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 16 มิถุนายน 2563 - 19:21
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3128286907218233



โมเดล “โดมครอบทางด่วน” ลุ้น “ม.เกษตร” เปิดทางปักตอม่อ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 23 มิถุนายน 2563 - 08:43 น.

ยังลูกผีลูกคนโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือช่วง N1-N2 และ E-W Corridor เชื่อมการเดินทางกรุงเทพฯ โซนตะวันออก-ตะวันตก ที่เขย่ารูปแบบก่อสร้างและแนวเส้นทางช่วง N1 อยู่หลายครั้ง

หลัง “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” คัดค้านไม่เอาทางด่วนสร้างเป็นทางยกระดับพาดผ่านหน้ามหาวิทยาลัย หวั่นเกิดมลพิษทางเสียงและฝุ่นละออง แต่เห็นด้วยกับการสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี

ที่ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ศึกษาภาพรวมจะลงทุนสร้างทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วนบนเส้นทางเดียวกัน ซึ่ง “คจร.-คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก” เปิดไฟเขียวแล้ว เพื่อแก้ปัญหาการจราจรบนถนนเกษตร-นวมินทร์ โดยใช้เงินลงทุนร่วม 1 แสนล้านบาท

ล่าสุด “กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย” ปรับแนวช่วง N1 จากเดิมสร้างบนถนนรัตนาธิเบศร์ตรงไปเชื่อมกับวงแหวนตะวันตก เป็นเชื่อมทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก เลาะไปตามคลองเปรมประชากรจากจตุจักรผ่านหลังวัดเสมียนนารี แล้วเลี้ยวเข้าถนนงามวงศ์วาน ข้ามโทลล์เวย์ ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะทาง 7.1 กม. เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท จากนั้นแนวจะสร้างบนตอม่อเดิมบนเกาะกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ ไปบรรจบกับวงแหวนรอบนอกตะวันออก


ม.เกษตรฯ โอเครถไฟฟ้าสีน้ำตาล
ความคืบหน้าล่าสุด “ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมาเชิญตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมประชุมพร้อมกับตัวแทนจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ กทพ. กรมทางหลวง (ทล.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ สนข.หารือถึงรูปแบบก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล



โดยได้ข้อสรุปร่วมกันในเบื้องต้นทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เห็นด้วยกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและยินดีให้ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยในรูปแบบของการรอนสิทธิที่ดิน โดยภาครัฐจะจ่ายค่าใช้จ่ายสิทธิที่ดินให้

จากข้อมูล รฟม. ต้องใช้ที่ดินปักเสาตอม่อรถไฟฟ้า 2 จุด คือ บริเวณฝั่ง ถ.วิภาวดีรังสิต ก่อสร้างทางรถไฟฟ้าจะต้องข้ามสะพานข้ามแยกบางเขนและโทลล์เวย์ ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นจุดที่ตั้งของสถานีร่วมสถานีบางเขนสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตด้วย และจุดที่ 2 คือบริเวณฝั่ง ถ.งามวงศ์วานสร้างทางขึ้นลงสถานีบริเวณประตูงามวงศ์วาน 2 ขณะที่สถานีจะอยู่กลาง ถ.งามวงศ์วาน มีทางขึ้นลงสถานี 2 ข้าง

“สายสีน้ำตาลสร้างได้สำเร็จ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะมี 3 รถไฟฟ้าเชื่อมการเดินทาง 3 ด้าน ถ.พหลโยธิน มีสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ด้าน ถ.วิภาวดีรังสิต มีสายสีแดงและด้าน ถ.งามวงศ์วาน มีสายสีน้ำตาล จะไปเชื่อมกับสายสีชมพูและสีม่วงที่แครายอีกด้วย คาดว่าจะมีผู้โดยสารรวมทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัย ชุมชนโดยรอบ และผู้ที่ต้องเรียน ทำงานในบริเวณเดียวกันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ 80% หรือคิดเป็น 70,000-80,000 คน/วัน” ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวและว่า

ผุดโดมครอบทางด่วน
ส่วนการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 กทพ. เสนอควรทำเป็นทางยกระดับโดยใช้แนว N1 เดิมเพราะช่วงทดแทน N1 ผ่านคลองบางบัวมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและติดเรื่องใช้พื้นที่ของหน่วยราชการอื่น ๆ มากมาย ส่วนแนวคิดสร้างอุโมงค์ใต้ดินทาง กทพ.ศึกษาพบว่าต้องขุดอุโมงค์ลึกลงไปใต้อุโมงค์ลอดแยกเกษตรอีก จะเพิ่มความชันช่วงทางขึ้นลงทั้งสองด้านมาก และต้นทุนก่อสร้างแพงกว่าแบบยกระดับถึง 20,000 ล้านบาท และไม่เกิดการเชื่อมต่อกับทางด่วนศรีรัชตามที่วางเป้าหมายโครงการไว้ ทางออกคือต้องกลับมาใช้แนวและรูปแบบเดิมสร้างยกระดับ ผ่านแยกเกษตร เข้าสู่ ถ.งามวงศ์วาน และต้องใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สร้างตอม่อร่วมกับสายสีน้ำตาล

“ข้อกังวลเรื่องมลพิษทางเสียงและอากาศ กทพ.ได้ออกแบบหลังคาครอบทางด่วนและรถไฟฟ้าตลอดแนวจากแยกเกษตรถึงแยกวิภาวดี โดยออกแบบลักษณะเป็นโดมครอบเพื่อป้องกัน ภายในมีติดตั้งเครื่องพ่นฝอยละอองน้ำดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มีต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ถูกกว่าสร้างอุโมงค์แน่นอน ให้ตั้งคณะทำงานย่อยหารือด้านเทคนิคร่วมกับเกษตรศาสตร์อีกครั้ง นำเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งในอีก 2-3 สัปดาห์”

หากยังค้านไม่เลิกล้มโปรเจ็กต์
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ท่าทีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังไม่เห็นด้วยที่ให้มีโครงการดังกล่าว มองว่ารัฐบาลสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแล้วควรส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนมากกว่า ขณะที่กระทรวงมองภาพใหญ่การก่อสร้างทางด่วนเพื่อให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง รูปแบบใหม่ที่เสนอหากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่คัดค้าน จะเสนอให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับทราบต่อไปจากนั้นให้ กทพ.ออกแบบโครงการร่วมกับ รฟม.เพราะต้องใช้แนวร่วมกับรถไฟฟ้า

ขณะเดียวกันจะเริ่มทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เฉพาะช่วงทดแทน N1 พร้อมกันไปด้วย และนำโครงการช่วง N2 และต่อขยาย E-W Corridor ช่วง ถ.เกษตร-นวมินทร์-วงแหวนรอบนอกตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. วงเงิน 15,200 ล้านบาท ก่อสร้างก่อน เพราะ กทพ.มีเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) สำหรับการก่อสร้างแล้ว แต่หากยังคัดค้านอาจจะยกเลิกโครงการนี้ไปเลย เพราะไม่มีทางเลือกอีกแล้ว

เมื่อโปรเจ็กต์มาถึงทางตัน ต้อง “วัดใจ” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะโอเคหรือเซย์โนโมเดลใหม่ และสุดท้าย กทพ.จะปิดมหากาพย์ปลุกผีตอม่อ 281 ต้น ที่ทุ่มเงินกว่าพันล้านสร้างไปเมื่อ 26 ปีที่แล้วได้สำเร็จ หรือจะตามหลอนคนกรุงต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2020 11:04 am    Post subject: Reply with quote

BEM-BTS เดือด ชิงสัมปทาน‘สายสีส้ม’
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:20 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,586 วันที่ 25 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563


BEM-BTS เดือด ชิงดำงานโยธา-งานระบบเดินรถ สายสีส้ม-ม่วงใต้ 2 แสนล้าน ดับพิษโควิด “สมบัติ” ประกาศซิว 2 โครงการ ด้านบีทีเอสลั่น ส่วนต่อขยายสีม่วงยกให้ BEM ขณะสีส้ม ‘สู้ไม่ถอย’

สิ้นสุดการรอคอย สำหรับ โครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง สายสีส้มตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) และสายสีม่วงใต้ (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) มูลค่ากว่า 2 แสนล้าน เมื่อเจ้ากระทรวง คมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ มีคำสั่งให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดับเครื่องชน วิกฤติโควิด-19 เปิดประมูลงานโยธาและงานระบบ รวดเดียว 2 เส้นทาง ภายในปลายปีนี้ เริ่มตั้งแต่

1) สายสีม่วงใต้ มูลค่า 1 แสนล้านบาท เดือนกันยายน ที่เพิ่งเคลียร์อีไอเอสำเร็จแล้ว ตามด้วย
2) สายสีส้มตะวันตก มูลค่า 1.1 แสนล้านบาท ภายในเดือนตุลาคม ทั้งๆที่ EIA ยังไม่เรียบร้อย ประเมินว่าจะสร้างความคึกคักไม่น้อย ให้กับผู้รับเหมา คาดว่า การแข่งขันชิงงานจะรุนแรง มาก กว่าปกติ

ขณะหลักเกณฑ์เงื่อนไข ทีโออาร์ ที่จะประกาศเดือนกรกฏาคม ประกวดราคา งานโยธา (ส้มตะวันตก ) และ สัมปทานเดินรถทั้งระบบ (สายสีส้มตะวันตก-ตะวันออก) ระยะทาง 36 กิโลเมตร เข้าด้วยกัน ซึ่งมั่นใจว่า รัฐจะได้ประโยชน์สูงสุด และแน่นอนว่า คู่ชกสำคัญคงหนีไม่พ้น 2 ค่ายใหญ่ ได้แก่ BEM หรือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้า กรุงเทพจำกัด (มหาชน) กับ บีทีเอสกรุ๊ป BTS ที่โลดแล่นในกิจการระบบราง คาดว่าจะสู้กันหนัก เพื่อให้ได้งาน แต่ทั้งนี้ ไม่ควรมองข้าม ยักษ์รับเหมาต่างชาติโดยเฉพาะจีน ที่ปักหลักรออยู่แล้ว

ชิง“สีส้ม-ม่วงใต้”

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BEM กล่าวว่า บีอีเอ็มร่วมกับบมจ.ช.การช่าง พร้อมประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม- บางขุนนนท์ ระยะทาง 13 กิโลเมตร ที่รฟม. เตรียมเปิดประมูลงานโยธาวงเงิน 9 หมื่นล้านบาท รูปแบบPPP Netcost โดยบริษัทหาเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าจากธนาคาร ที่เจรจาไว้แล้ว ทั้งนี้หากชนะประมูล บริษัทต้องลงทุนก่อน และรัฐจ่ายคืนในภายหลัง

ขณะสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร รูปแบบจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่ง บมจ.ช.การช่างกับพันธมิตรอยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่วนการสัมปทานเดินรถคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติผูกสายสีส้มตะวันออกและตะวันตก (สายสีส้มช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ไว้ด้วยกัน ซึ่ง BEM มั่นใจว่าน่าจะคว้าสัมปทาน งานโยธาและงานระบบเดินรถ ดังกล่าว

บีทีเอสสู้ไม่ถอยสายสีส้ม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) BTS กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดเพื่อเตรียมความพร้อมในการลงทุน สายสีส้มหากรฟม.มีการประกาศร่างทีโออาร์ เตรียมจัดทำข้อเสนอเพิ่มเติมต่อไป ขณะเดียวกันหากชนะประมูลทางบริษัทก็จำเป็นต้องหาเงินกู้เพื่อลงทุนเช่นกัน


ม่วงใต้ ยกให้บีอีเอ็ม

“ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน- ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 1 แสนล้านบาท ที่จะมีการประมูลในปีนี้นั้น เราคงไม่ได้เข้าร่วม เนื่องจากเรามองว่าเป็นการประมูลด้านการก่อสร้าง คงเข้าร่วมการประมูลเพียงโครงการสายสีส้มเท่านั้น ซึ่งเราก็หวังว่าจะชนะการประมูลสายสีส้ม ทั้งนี้เราไม่ได้กังวลด้านการแข่งขันในการประมูล เพราะเราก็โปร่งใส ตรงไปตรงมาอยู่แล้ว”

ซิโน-ไทย ลั่นไม่ยาก

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC กล่าวว่า การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งใช้รูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) นั้น เบื้องต้นการเข้าร่วมประมูลต้องมีทั้งผลงานก่อสร้างและเดินรถ โดยบริษัทคงเข้าร่วมกับ BTS ที่เป็นพันธมิตรเดิมของเรา ทั้งนี้ในปัจจุบันยังไม่มีการประกาศเชิญชวนอย่างเป็นทางการ ซึ่งต้องรอดูการประกาศคุณสมบัติและเงื่อนไขก่อนว่าเป็นอย่างไร

“ส่วนแนวโน้มเข้าร่วมลงทุนในครั้งนี้คงไม่ยาก เนื่องจากเราก่อสร้างสายสีส้มตะวันออกอยู่แล้ว โดยคำนวณต้นทุนได้ไม่ยาก รวมถึงเรามีเครื่องมือเครื่องจักรและบุคลากรที่พร้อมจะเข้าร่วมประมูล และมีพันธมิตรในการเดินรถที่เชี่ยวชาญอย่าง BTS ด้วย ส่วนการประมูลสายสีม่วงใต้ ขณะนี้เข้าใจว่าเป็นการประมูลลักษณะประมูลด้านงานก่อสร้าง เรามีความพร้อมและไม่มีปัญหาอะไร ก็คงเข้าร่วมประมูลด้วยเช่นกันในทุกสัญญา”

นายภาคภูมิ กล่าวต่อว่า การทำงานก่อสร้างของบริษัทยังคงมีสภาพคล่องในการดำเนินงานได้โดยใช้เงินทุน หมุนเวียนของบริษัท ซึ่งไม่ต้องหาเงินกู้ ส่วนโครง การที่เป็นรูปแบบ PPP คงต้องคุยกับพันธมิตรที่ร่วมทุนกันและใช้เงินทุนจากแบงก์ตามความเหมาะสมอีกครั้ง ทั้งนี้ในปัจจุบัน ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับงานทั้ง 2 โครงการ ถ้าชนะการประมูลในครั้งนี้ ทางบริษัทก็มีความพร้อมที่จะรับงานได้ทั้ง 2 โครงการ

ขอเอกชนไทยได้ลงทุน

นายอังสุรัศมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า สำหรับการประมูลทั้ง 2 โครงการ เชื่อว่าเอกชนไทยสนใจลงทุน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทั้งการลงทุนและการเดินรถ จะทำให้มีความพร้อมในการประมูลโครงการฯ เช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2020 11:51 am    Post subject: Reply with quote

ปลดล็อก เฟส 5-เปิดเทอม รถไฟฟ้ายกเลิกเว้นที่นั่ง ผับบาร์พร้อมเปิดคืนนี้
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563 เวลา 08:38 น.

บรรยากาศวันแรกเปิดเทอม หลังผ่อนคลายโควิดเฟส 5 รถไฟฟ้ายกเลิกเว้นที่นั่ง พบคนกทม.กลับมาเดินทางตามปกติ แต่ยังสวมหน้ากากอนามัย ขณะที่ผับ บาร์ สถานบันเทิงเตรียมพร้อมเปิดรับลูกค้า หลังหงอยเหงามานาน


วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 บรรยากาศการเดินทางตอนเช้าของคนทำงาน และเปิดเรียนวันแรกของนักเรียน นักศึกษา บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยามและหมอชิต

ภายในตู้โดยสาร หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เริ่มดีขึ้น จนรัฐบาลเริ่มคลายล็อกเฟส 5 วันแรก โดยวันนี้บีทีเอสได้ยกเลิกการเว้นที่นั่งและที่ยืนในตู้โดยสาร เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารช่วงเปิดเทอมที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมเน้นย้ำให้สวมหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการหันหน้าเข้าหากันในระหว่างเดินทาง

ทางด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ครั้งที่ 15/2563 โดยมีแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยประเด็นการพิจารณาในที่ประชุมหลัก คือมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 5 ได้แก่ สถานบันเทิง ผับ บาร์คาราโอเกะ อาบอบนวด ที่จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2563 เป็นต้นไป


ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การผ่อนผัน คลายล็อกดาวน์เฟส 5 ที่จะมีผลวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ซึ่งจะอนุญาตให้กิจการ กิจกรรมความเสี่ยงสูง ได้แก่ 6 สถานที่ได้กลับมาเปิดทำการหรือให้บริการได้ แต่ก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน ไทยชนะ ซึ่งจะต้องกำหนดจำนวนคนเข้าไป เบื้องต้นกทม.ขอให้ทุกสถานบริการให้ความร่วมมือ ด้วยการให้ผู้ใช้บริการเช็กอินในแอปพลิเคชันทั้งเช็กอินและเช็กเอาต์

สำหรับมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์เฟส 5 โดยได้รับการผ่อนปรน จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดสำคัญดังนี้

1. เปิดโรงเรียนทั้งหมดทุกสังกัดในกรุงเทพฯ กลับมาเปิดได้ทั้งหมด


2. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้ มอลล์ กลับมาเปิดให้บริการได้ทั้งหมด ซึ่งได้เพิ่มเวลาปิดเป็น 22.00 น.

3. ร้านสะดวกซื้อ สามารถเปิด 24 ชั่วโมง

4. สถานบริการ ผับ บาร์ และร้านคาราโอเกะ อนุญาตให้เปิดบริการได้ไม่เกินเวลา 24.00 น. และขอให้เว้นระยะยืนนั่ง 1 เมตร


5. สถานอาบอบนวด เปิดให้บริการได้ โดยต้องสวมหน้ากากอนามัยหน้ากากผ้า ตลอดเวลา เว้นขณะอาบน้ำ

//------------------------------------------



รถไฟฟ้าทุกสายเพิ่มขบวนรถ-เลิกเว้นระยะห่างรับเปิดเทอม-ปลดล็อกเฟส 5
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เวลา 20:56 น.



หลังมีการ ผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมในระยะที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 และเห็นชอบการขอยกเว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร ตามที่กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางราง ได้นำเสนอเพื่อผ่อนปรนมาตรการการเว้นระยะห่างภายในขบวนรถของระบบขนส่งทางรางภายใน กทม. และปริมณฑล เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสถานศึกษาทำการเปิดภาคเรียนในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2563



สีน้ำเงินเพิ่มรถ 9 ขบวน-สีม่วงเก็บ 20 บาท

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เตรียมความพร้อมในมาตรการรองรับการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ในช่วงเปิดภาคเรียน

โดยได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัดและ จะทำการอนุญาตให้ผู้โดยสารนั่งติดกันได้ สำหรับการยืนจะกำหนดจุดยืนเว้นระยะและหันหน้าตามทิศทางที่แนะนำในขบวนรถ โดยจะควบคุมความหนาแน่นในขบวนรถไม่เกิน 70% ซึ่งปัจจุบันผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ได้กลับเข้ามาใช้บริการมากขึ้นเฉลี่ย 250,000 คนต่อวัน

เมื่อผู้โดยสารเข้าสู่ในขบวนรถไฟฟ้าแล้ว ขอความร่วมมือสแกน QR CODE ไทยชนะที่ติดอยู่ในตู้โดยสาร ผู้โดยสารต้องสวมใส่หน้ากากผ้า หรือ หน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่เข้าใช้บริการรถไฟฟ้า และงดเว้นการพูดคุยภายในขบวนรถ

นอกจากนี้ได้จัดขบวนรถเสริมในระบบสายสีน้ำเงิน ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็นในระบบอีก 9 ขบวน จากปกติจะมีขบวนรถให้บริการ 40 ขบวน



และวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 รฟม. ได้ขยายระยะเวลาโปรโมชั่นลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2563 เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน และสำหรับผู้ที่เดินทางเชื่อมต่อ 2 สาย ระหว่างสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน จะจ่ายค่าโดยสารร่วมสูงสุดเพียง 48 บาท

บีทีเอสห้ามคุยโทรศัพท์

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมด้านการให้บริการช่วงเปิดเทอม คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการบีทีเอสเพิ่มมากขึ้น

และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร จะขอยกเลิก การเว้นที่นั่ง และที่ยืนในขบวนรถเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารช่วงเปิดเทอมที่เพิ่มสูงขึ้น

ควบคุมความหนาแน่นของผู้โดยสารที่จะเข้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ชั้นชานชาลา และภายในขบวนรถไฟฟ้า ไม่เกิน70 % พร้อมทั้งจำกัดจำนวนผู้โดยสารเข้าใช้บริการเป็นกลุ่ม ในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า และเย็น

เน้นย้ำให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากอนามัย / หน้ากากผ้าทุกครั้ง งดการพูดคุยภายในขบวนรถและงดคุยโทรศัพท์ในขบวนรถไฟฟ้า 100 % พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการหันหน้าเข้าหากัน

คัดกรองอุณหภูมิก่อนเข้าใช้บริการ จัดจุดบริการแอลกอฮอล์ ทุกทางเข้า-ออกสถานี เพิ่มความถี่ในการฉีดพ่น เช็ดทำความสะอาด ภายในขบวนรถ สถานี และรอบสถานีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและขอความร่วมมือผู้โดยสารทุกท่านลงทะเบียน “ไทยชนะ” เมื่อเข้า และออกจากขบวนรถไฟฟ้าขบวนนั้นๆ

แอร์พอร์ตลิงก์เสริม 24 เที่ยว/วัน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่าจะผ่อนปรนมาตรการการเว้นระยะห่างบนรถไฟฟ้า โดยกำหนดเพิ่มความหนาแน่นจากเดิมได้ไม่เกิน50 %เป็น 70 % กำหนดจุดยืนแบบหันหลังชนกันภายในรถ และอนุญาตให้นั่งในที่นั่งติดกันได้ แต่ยังคงเน้นย้ำมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างเคร่งครัด เช่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าใช้บริการ และขอความร่วมมือให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามมาตรการ Social Distancing เว้นระยะห่าง 2 เมตรขณะรอซื้อตั๋วโดยสาร และตรวจวัดอุณหภูมิ

งดเว้นการพูดคุยภายในตู้โดยสาร และหากในกรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น จะดำเนินการจำกัดปริมาณผู้โดยสารที่จะขึ้นสู่ชั้นชานชาลาและภายในขบวนรถไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ในช่วงเปิดภาคเรียนคาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มมากขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 34,000 คน/วัน เป็น 40,000 คน/วัน ได้เตรียมขบวนรถเสริม ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น วันจันทร์ – ศุกร์ จำนวน 24 เที่ยว/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2020 11:51 am    Post subject: Reply with quote

ปลดล็อก เฟส 5-เปิดเทอม รถไฟฟ้ายกเลิกเว้นที่นั่ง ผับบาร์พร้อมเปิดคืนนี้
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563 เวลา 08:38 น.

บรรยากาศวันแรกเปิดเทอม หลังผ่อนคลายโควิดเฟส 5 รถไฟฟ้ายกเลิกเว้นที่นั่ง พบคนกทม.กลับมาเดินทางตามปกติ แต่ยังสวมหน้ากากอนามัย ขณะที่ผับ บาร์ สถานบันเทิงเตรียมพร้อมเปิดรับลูกค้า หลังหงอยเหงามานาน


วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 บรรยากาศการเดินทางตอนเช้าของคนทำงาน และเปิดเรียนวันแรกของนักเรียน นักศึกษา บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยามและหมอชิต

ภายในตู้โดยสาร หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เริ่มดีขึ้น จนรัฐบาลเริ่มคลายล็อกเฟส 5 วันแรก โดยวันนี้บีทีเอสได้ยกเลิกการเว้นที่นั่งและที่ยืนในตู้โดยสาร เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารช่วงเปิดเทอมที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมเน้นย้ำให้สวมหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการหันหน้าเข้าหากันในระหว่างเดินทาง

ทางด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ครั้งที่ 15/2563 โดยมีแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยประเด็นการพิจารณาในที่ประชุมหลัก คือมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 5 ได้แก่ สถานบันเทิง ผับ บาร์คาราโอเกะ อาบอบนวด ที่จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2563 เป็นต้นไป


ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การผ่อนผัน คลายล็อกดาวน์เฟส 5 ที่จะมีผลวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ซึ่งจะอนุญาตให้กิจการ กิจกรรมความเสี่ยงสูง ได้แก่ 6 สถานที่ได้กลับมาเปิดทำการหรือให้บริการได้ แต่ก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน ไทยชนะ ซึ่งจะต้องกำหนดจำนวนคนเข้าไป เบื้องต้นกทม.ขอให้ทุกสถานบริการให้ความร่วมมือ ด้วยการให้ผู้ใช้บริการเช็กอินในแอปพลิเคชันทั้งเช็กอินและเช็กเอาต์

สำหรับมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์เฟส 5 โดยได้รับการผ่อนปรน จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดสำคัญดังนี้

1. เปิดโรงเรียนทั้งหมดทุกสังกัดในกรุงเทพฯ กลับมาเปิดได้ทั้งหมด


2. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้ มอลล์ กลับมาเปิดให้บริการได้ทั้งหมด ซึ่งได้เพิ่มเวลาปิดเป็น 22.00 น.

3. ร้านสะดวกซื้อ สามารถเปิด 24 ชั่วโมง

4. สถานบริการ ผับ บาร์ และร้านคาราโอเกะ อนุญาตให้เปิดบริการได้ไม่เกินเวลา 24.00 น. และขอให้เว้นระยะยืนนั่ง 1 เมตร


5. สถานอาบอบนวด เปิดให้บริการได้ โดยต้องสวมหน้ากากอนามัยหน้ากากผ้า ตลอดเวลา เว้นขณะอาบน้ำ

//------------------------------------------



รถไฟฟ้าทุกสายเพิ่มขบวนรถ-เลิกเว้นระยะห่างรับเปิดเทอม-ปลดล็อกเฟส 5
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เวลา 20:56 น.



หลังมีการ ผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมในระยะที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 และเห็นชอบการขอยกเว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร ตามที่กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางราง ได้นำเสนอเพื่อผ่อนปรนมาตรการการเว้นระยะห่างภายในขบวนรถของระบบขนส่งทางรางภายใน กทม. และปริมณฑล เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสถานศึกษาทำการเปิดภาคเรียนในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2563



สีน้ำเงินเพิ่มรถ 9 ขบวน-สีม่วงเก็บ 20 บาท

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เตรียมความพร้อมในมาตรการรองรับการเดินทางของผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ในช่วงเปิดภาคเรียน

โดยได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัดและ จะทำการอนุญาตให้ผู้โดยสารนั่งติดกันได้ สำหรับการยืนจะกำหนดจุดยืนเว้นระยะและหันหน้าตามทิศทางที่แนะนำในขบวนรถ โดยจะควบคุมความหนาแน่นในขบวนรถไม่เกิน 70% ซึ่งปัจจุบันผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ได้กลับเข้ามาใช้บริการมากขึ้นเฉลี่ย 250,000 คนต่อวัน

เมื่อผู้โดยสารเข้าสู่ในขบวนรถไฟฟ้าแล้ว ขอความร่วมมือสแกน QR CODE ไทยชนะที่ติดอยู่ในตู้โดยสาร ผู้โดยสารต้องสวมใส่หน้ากากผ้า หรือ หน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่เข้าใช้บริการรถไฟฟ้า และงดเว้นการพูดคุยภายในขบวนรถ

นอกจากนี้ได้จัดขบวนรถเสริมในระบบสายสีน้ำเงิน ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็นในระบบอีก 9 ขบวน จากปกติจะมีขบวนรถให้บริการ 40 ขบวน



และวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 รฟม. ได้ขยายระยะเวลาโปรโมชั่นลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2563 เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน และสำหรับผู้ที่เดินทางเชื่อมต่อ 2 สาย ระหว่างสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน จะจ่ายค่าโดยสารร่วมสูงสุดเพียง 48 บาท

บีทีเอสห้ามคุยโทรศัพท์

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมด้านการให้บริการช่วงเปิดเทอม คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการบีทีเอสเพิ่มมากขึ้น

และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร จะขอยกเลิก การเว้นที่นั่ง และที่ยืนในขบวนรถเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารช่วงเปิดเทอมที่เพิ่มสูงขึ้น

ควบคุมความหนาแน่นของผู้โดยสารที่จะเข้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ชั้นชานชาลา และภายในขบวนรถไฟฟ้า ไม่เกิน70 % พร้อมทั้งจำกัดจำนวนผู้โดยสารเข้าใช้บริการเป็นกลุ่ม ในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า และเย็น

เน้นย้ำให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากอนามัย / หน้ากากผ้าทุกครั้ง งดการพูดคุยภายในขบวนรถและงดคุยโทรศัพท์ในขบวนรถไฟฟ้า 100 % พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการหันหน้าเข้าหากัน

คัดกรองอุณหภูมิก่อนเข้าใช้บริการ จัดจุดบริการแอลกอฮอล์ ทุกทางเข้า-ออกสถานี เพิ่มความถี่ในการฉีดพ่น เช็ดทำความสะอาด ภายในขบวนรถ สถานี และรอบสถานีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและขอความร่วมมือผู้โดยสารทุกท่านลงทะเบียน “ไทยชนะ” เมื่อเข้า และออกจากขบวนรถไฟฟ้าขบวนนั้นๆ

แอร์พอร์ตลิงก์เสริม 24 เที่ยว/วัน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่าจะผ่อนปรนมาตรการการเว้นระยะห่างบนรถไฟฟ้า โดยกำหนดเพิ่มความหนาแน่นจากเดิมได้ไม่เกิน50 %เป็น 70 % กำหนดจุดยืนแบบหันหลังชนกันภายในรถ และอนุญาตให้นั่งในที่นั่งติดกันได้ แต่ยังคงเน้นย้ำมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างเคร่งครัด เช่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าใช้บริการ และขอความร่วมมือให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามมาตรการ Social Distancing เว้นระยะห่าง 2 เมตรขณะรอซื้อตั๋วโดยสาร และตรวจวัดอุณหภูมิ

งดเว้นการพูดคุยภายในตู้โดยสาร และหากในกรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น จะดำเนินการจำกัดปริมาณผู้โดยสารที่จะขึ้นสู่ชั้นชานชาลาและภายในขบวนรถไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ในช่วงเปิดภาคเรียนคาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มมากขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 34,000 คน/วัน เป็น 40,000 คน/วัน ได้เตรียมขบวนรถเสริม ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น วันจันทร์ – ศุกร์ จำนวน 24 เที่ยว/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 6:10 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.สั่งผู้รับเหมาเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้ารับเดินทางหยุดยาว
*เก็บอุปกรณ์-เครื่องจักรต้องไม่กีดขวาง
*ประชาชนออกจากกทม.สู่ภูมิลำเนาฉิว!!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2642702339284601
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 3:24 am    Post subject: Reply with quote

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563
ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ประจำเดือน มิถุนายน 2563 🔛 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 64.21%

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 60.94% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 53.95% ความก้าวหน้าโดยรวม 57.90%

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 60.31% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 53.91% ความก้าวหน้าโดยรวม 57.53%
https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2552579578292094/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เศรษฐกิจ
Thailandplus
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พศ. 2563
Click on the image for full size
Click on the image for full size
วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม (คค.) จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง จังหวัดระยอง โดยมีนายยุทธพล องอาทอิทธิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ มีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะ ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และสื่อมวลชน เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 120 คน



การจัดสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาขั้นสุดท้ายในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดย สนข. ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ รูปแบบการลงทุน และวิธีการนำไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วยภาพรวมการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะ 3 ระบบ ได้แก่

1) ระบบขนส่งสาธารณะหลัก เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างภูมิภาค และโครงสร้างพื้นฐาน

2) ระบบขนส่งสาธารณะรอง เชื่อมโยงระบบหลักและแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างเมืองในเขตเมือง

3) ระบบขนส่งสาธารณะเสริม เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมย่อยในเขตเมืองหรือพื้นที่อยู่อาศัยเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะสายรอง

มีองค์ประกอบของระบบขนส่งสาธารณะ ประกอบด้วย โครงข่ายเส้นทางและตัวระบบ สาธารณูปโภคสนับสนุน ระบบตั๋วและค่าโดยสาร สิ่งแวดล้อมและการยอมรับของประชาชน การลงทุนและผลตอบแทน รวมถึงการบริหารจัดการ ซึ่งเป้าหมายของระบบขนส่งสาธารณะ ต้องมีความสะดวกเข้าถึงง่าย ปลอดภัย พัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการขนส่ง ส่งเสริมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และมีความคุ้มค่า

ทั้งนี้ ในส่วนของรูปแบบระบบขนส่งสาธารณะแบ่งเป็น ช่องทางเฉพาะ (Exclusive Lane) และช่องทางร่วมกับรถทั่วไป (Shared Lane) โดยมีแนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะที่เสนอในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ดังนี้

– แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย

แนวเส้นทางที่ 1 HSR ฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ – ตะวันออกคอมเพล็กซ์
แนวเส้นทางที่ 2 HSR ฉะเชิงเทรา – วัดโสธรฯ
,แนวเส้นทางที่ 3 รอบเมืองฉะเชิงเทรา
แนวเส้นทางที่ 4 HSR ฉะเชิงเทรา – บางคล้า
แนวเส้นทางที่ 5 HSR ฉะเชิงเทรา – บ้านโพธิ์ – บางปะกง
โดย สนข. ได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 1 HSR ฉะเชิงเทรา – โรงเรียนเบญจมฯ – ตะวันออกคอมเพล็กซ์ เป็นโครงการนำร่อง

– แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย

แนวเส้นทางที่ 1 HSR ชลบุรี – เมืองชลบุรี – (นิคมฯ อมตะซิตี้ชลบุรี)
แนวเส้นทางที่ 2 HSR ชลบุรี – บางแสน/ตัดช่วง HSR ชลบุรี – หนองมน
แนวเส้นทางที่ 3 HSR ชลบุรี – บ้านบึง – EECi
แนวเส้นทางที่ 4 HSR ศรีราชา – แหลมฉบัง
แนวเส้นทางที่ 5 HSR ศรีราชา – EECd
แนวเส้นทางที่ 6 เมืองศรีราชา – HSR ศรีราชา – นิคมฯ อมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง)
แนวเส้นทางที่ 7 HSR พัทยา – แหลมบาลีฮาย
แนวเส้นทางที่ 8 HSR พัทยา – สวนนงนุช
โดย สนข. ได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 6 เมืองศรีราชา-HSR ศรีราชา-นิคมฯ อมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) เป็นโครงการนำร่อง แต่รถไฟฟ้า monorail พัทยา สาย HSR พัทยา – แหลมบาลีฮาย ก็ยังดำเนินต่อไป

– แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดระยอง ประกอบด้วย
แนวเส้นทางที่ 1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด – นิคมอุตสาหกรรม IRPC
แนวเส้นทางที่ 2 แหลมเจริญ – สามแยกขนส่ง
แนวเส้นทางที่ 3 HSR อู่ตะเภา – ระยอง – บ้านเพ
แนวเส้นทางที่ 4 ระยอง – บ้านค่าย – EECi
แนวเส้นทางที่ 5 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด – นิคมพัฒนา – ปลวกแดง
แนวเส้นทางที่ 6 HSR อู่ตะเภา – ระยอง – EECi
โดย สนข. ได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 1นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC เป็นโครงการนำร่อง

ในส่วนของการลงทุนนั้น รัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และบริษัทเอกชน ตามความเหมาะสม โดยในเบื้องต้นรูปแบบของรถโดยสารจะเป็นรถโดยสารไฟฟ้า EV BUS รถโดยสารขนาดเล็ก EV minibus และรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus



อนึ่ง ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ อยากให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยให้ขยายเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินอู่ตะเภาไปบ้านเพ/เกาะเสม็ด และเส้นทางสำหรับประชาชนจากเมืองระยองไปตลาดตะพง มีการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือสัตหีบ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของ EEC รวมทั้ง ให้พิจารณาแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ประกอบการ/สหกรณ์เดินรถโดยสารประจำทางเดิมเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการเดินรถใหม่ เพิ่มเติมเส้นทางคมนาคมเพื่อขยายโครงข่าย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจรารจร และลดปัญหาคอขวด เช่น ก่อสร้างถนนเลี่ยงเมือง และอยากให้มีการขยายเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง 2 สถานีรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้เดินทางเป็นวงรอบได้ตลอดจนอยากให้พัฒนาสถานีศรีราชาให้เป็น intermodal สำคัญของนักธุรกิจ และนักลงทุนในการเดินทางไปนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือแหลมฉบัง ในส่วนของผู้แทนผู้ประกอบการเดินรถ ต้องการให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับสถานีรถไฟความเร็วสูง และให้จัดเตรียมพื้นที่จอดรถและสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้ง ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อสุขอนามัยของประชาชน

ทั้งนี้ อยากให้ผลการศึกษาดังกล่าว ต้องเชื่อมโยงเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อสนับสนุนการเดินทาง การพัฒนาอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว และให้รัฐสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดขึ้นได้จริง โดย สนข. จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ และ สนข. จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/971529326618880
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 3:19 pm    Post subject: Reply with quote


สนข. ยืนยันว่ารถไฟฟ้ายังเดินไปตามแผน
https://www.youtube.com/watch?v=xir7RPqWT9g
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 3:53 pm    Post subject: Reply with quote

”ศักดิ์สยาม”คุยทูต”ญี่ปุ่น”แย้มสัปดาห์หน้า สรุปผ่อนปรนการเดินทาง –พอใจโครงการEEC คืบหน้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พศ. 2563 เวลา 21:01

”ศักดิ์สยาม”คุยทูต”ญี่ปุ่น” อัพเดทโครงการ EEC
แย้มสัปดาห์หน้าสรุปเงื่อนไขเดินทางไทย-ญี่ปุ่น ย้ำเกณฑ์ตรวจเชื้อโควิดต้นทาง พร้อมแจงสายสีแดงลงทุน PPP รวมแพคเกจ “ก่อสร้าง-เดินรถ-บริหารสถานีบางซื่อ” แก้ล่าช้าและลดภาระงบประมาณรัฐ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง นายคาซูยะ นาชิดะ (H.E. Mr. NASHIDA Kazuya) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และคณะ เข้าพบ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ว่า ญี่ปุ่นได้สอบถามถึงความคืบหน้า โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยเฉพาะโครงการที่มีบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุน ประกอบด้วย โครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน”ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ซึ่งขณะนี้การส่งมอบพื้นที่งานก่อสร้างให้เอกชนเป็นไปตามกรอบเวลา
โครงการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งได้มีการลงนามกับเอกชนผู้ชนะการประมูลแล้ว และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ซึ่งอยู่ระหว่างตกลงราคากับผู้ประมูล โดยคาดว่า จะได้ข้อสรุปอย่างช้าในเดือนส.ค.นี้

ทั้งนี้ ทางญี่ปุ่นแสดงความพอใจภาพการดำเนินนโยบายพัฒนาพื้นที่ EEC ของไทยสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงโดยรัฐบาลไทยยืนยันว่าจะสามารถเปิดให้บริการโครงการต่างๆ ภายในปี 2568 ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อภาครัฐและนักลงทุนของญี่ปุ่น และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของทั้ง 2 ประเทศ

@ สัปดาห์หน้ามีข่าวดีผ่อนปรนเดินทางไทย-ญี่ปุ่น

สำหรับ การเดินทางระหว่างไทย- ญี่ปุ่น ทั้งทางอากาศและทางน้ำนั้น รมว.คมนาคมกล่าวว่า ไทยยังคงเน้นใช้มาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด ในการคัดกรองบุคคล ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 2 ประเทศได้มีการเจรจากัน โดยภายในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนถึงมาตรการผ่อนปรนการในการเดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางญี่ปุ่นมีปัญหาเพราะระเบียบการตรวจโรคโควิดนั้น จะตรวจเฉพาะคนป่วยเท่านั้น ส่วนคนไม่ป่วย จะไม่ตรวจ ซึ่งจะมีปัญหากรณีที่เดินทางมาไทยแล้วตรวจพบว่าติดเชื้อและเกิดภาระค่าใช้จ่ายกับผู้เดินทางและสายการบิน ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาและทราบผลในสัปดาห์หน้า

ประเทศไทย มีมาตรการในการป้องกันโควิดที่ดี เป็นอันดับ 2 ของโลก และได้รับการ คาดหมายจากองค์กรระหว่างประเทศว่าไทยจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ของโลก ขณะที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการเดินทางเข้ามาดูแลธุรกิจที่มีการลงทุนในประเทศไทย และไม่เฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่นักลงทุนจากหลายประเทศ ต้องการเดินทางเช่นกัน ซึ่งได้มีการทำเรื่องที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย โดยจะต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขที่ไทยกำหนด ซึ่งท่านทูตญี่ปุ่นยืนยันว่า นักลงทุนของญี่ปุ่นที่จะเข้ามาไทย จะมีการตรวจสุขภาพจากต้นทางที่ญี่ปุ่น มีการจัดซื้อประกันวงเงิน 1 แสนเหรียญสหรัฐ และเมื่อเข้ามาถึงไทย ก็ต้องรับการตรวจเชื้ออีก ซึ่งหากพบเชื้อจะทำไห้ไม่ต้องกระทบการเงินของไทย ซึ่งหากเงื่อนไขที่จะทำกับญี่ปุ่นเป็นผลดี จะสามารถนำไปใช้เป็นข้อตกลงกับประเทศอื่นๆ ต่อไป

“การคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรฐานสาธารณสุขที่ดี การเดินทางจะทำได้แน่นอน เพราะตามประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.) ฉบับล่าสุด ไม่ได้ห้ามทำการบินแล้ว เพียงแต่สายการบินจะต้องทำตามเงื่อนไขมาตรฐานสาธารณสุข คนจากต่างประเทศที่เข้ามา จะมีการปฏิบัติอย่างไร มีเงื่อนไข ไม่ได้เข้ามาแล้วจะไปไหนได้อย่างเสรี จะต้องกำหนดเส้นทางมีขอบเขตที่ชัดเจน จนกว่าจะพ้นระยะเวลา กักกันโรค หรือ Quarantine ซึ่งหากทำได้กับญี่ปุ่น จะได้ไปทำข้อตกลงกับประเทศอื่นต่อไป”

@เปิดทางต่างชาติร่วมประมูล”มอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่”

นอกจากนี้ ยังได้แจ้งให้ญี่ปุ่นทราบถึงนโยบายของรัฐบาลไทยในการขยายพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) วางแผน

รวมถึงนโยบายการบูรณาการ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ กับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะทางกว่า 6,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ (MR-MAP) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะมีการศึกษาออกแบบ ในปี 2564 และจะเปิดประมูล โดยคำนึงถึง Thai First ก่อนแต่หากศักยภาพนักลงทุนไทยมีไม่พอ อาจต้องใช้รูปแบบ ประมูลนานาชาติ แต่จะต้องมี Thai First และให้ต่างชาติเข้ามาร่วมเป็นกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ช่วยเพิ่มศักยภาพ

อย่างไรก็ตาม ทางญี่ปุ่นระบุว่า พร้อมที่จะสนับสนุนด้านเทคโนโลยีระบบอุโมงค์ที่จะเชื่อมต่อทางด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดของไทย ซึ่งญี่ปุ่นนั้นมีเทคโนโลยีที่จะช่วยประหยัดงบประมาณ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกับญี่ปุ่นเพื่อทำการศึกษาต่อไป รวมถึงการศึกษานำระบบ Big Data มาใช้ในระบบขนส่งทางราง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล

@ปรับ สายสีแดง ลงทุน PPP รวมแพคเกจ“ก่อสร้าง-เดินรถ-บริหารสถานีบางซื่อ

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ไจก้า นั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ขณะนี้มีความล่าช้า ซึ่งได้ชี้แจงต่อญี่ปุ่นถึงปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา รวมถึงแนวทางที่จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนเป็น PPP เพื่อลดภาระงบประมาณจากภาครัฐ โดยจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการก่อสร้าง สายสีแดงส่วนต่อขยายและบริหารสถานีบางซื่อ

ทั้งนี้ เนื่องจาก การดำเนินการรูปแบบเดิมจะขาดทุนใน 7 ปีแรก ในขณะที่งบประมาณรัฐจำกัด และเกิดโรคโควิด จึงต้องหาแนวทางที่คุ้มค่า เพื่อหาเงินคืนไจก้าโดยเร็วที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2020 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สนข. จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เศรษฐกิจ
Thailandplus
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พศ. 2563
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/971529326618880



ผุดระบบขนส่งสาธารณะ 3 จังหวัด EEC เชื่อมไฮสปีด-นิคมอมตะ-มาบตาพุด-IRPC
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 12 กรกฎาคม 2563 เวลา 18:51 น.



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ค.2563 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่2 โครงกาศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ที่โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง จ.ระยอง

มีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะ ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.ระยอง เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 120 คนเป็นการนำเสนอผลการศึกษาขั้นสุดท้าย

@ ประเดิมรถโดยสารEV-Trambus

โดย สนข. ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ รูปแบบการลงทุน และวิธีการนำไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วยภาพรวมการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะ 3 ระบบ

ได้แก่ 1. ระบบขนส่งสาธารณะหลัก เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างภูมิภาค และโครงสร้างพื้นฐาน 2.ระบบขนส่งสาธารณะรอง เชื่อมโยงระบบหลักและแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างเมืองในเขตเมือง
และ 3.ระบบขนส่งสาธารณะเสริม เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมย่อยในเขตเมืองหรือพื้นที่อยู่อาศัยเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะสายรอง

เบื้องต้นรูปแบบของรถโดยสารจะเป็นรถโดยสารไฟฟ้า EV BUS รถโดยสารขนาดเล็ก EV minibus และรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus

โดยการลงทุน รัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และบริษัทเอกชน ตามความเหมาะ

@เคาะเส้นทางนำร่อง3จังหวัด


ขณะที่แนวเส้นทางสนข.เคาะเส้นทางนำร่องของทั้ง 3 จังหวัดแล้ว โดยจ.ฉะเชิงเทรา จาก 5 เส้นทางคัดเลือกแนวเส้นทางที่ 1 สถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ–ตะวันออกคอมเพล็กซ์ เป็นโครงการนำร่อง

จ.ชลบุรี มี 7 เส้นทาง คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 6 จากเมืองศรีราชา-รถไฟความเร็วสูงศรีราชา-นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) เป็นโครงการนำร่อง

จ.ระยอง มี 5 เส้นทาง คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC เป็นโครงการนำร่อง

@ขอเชื่อมอู่ตะเภา-ไฮสปีด-แหล่งท่องเที่ยว

ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ
1. อยากให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้ขยายเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินอู่ตะเภาไปบ้านเพ เกาะเสม็ด และ
2. เส้นทางสำหรับประชาชนจากเมืองระยองไปตลาดตะพง
3. มีการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือสัตหีบ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของ EEC

@ปลดล็อกข้อกฎหมาย

4. รวมทั้ง ให้พิจารณาแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ประกอบการ สหกรณ์เดินรถโดยสารประจำทางเดิมเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการเดินรถใหม่ เพิ่มเติมเส้นทางคมนาคมเพื่อขยายโครงข่าย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจรารจร และลดปัญหาคอขวด เช่น ก่อสร้างถนนเลี่ยงเมือง และ
5. อยากให้มีการขยายเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง 2 สถานีรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้เดินทางเป็นวงรอบได้ตลอดจนอยากให้พัฒนาสถานีศรีราชาให้เป็น intermodal สำคัญของนักธุรกิจ และนักลงทุนในการเดินทางไปนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือแหลมฉบัง

ในส่วนของผู้แทนผู้ประกอบการเดินรถ ต้องการให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับสถานีรถไฟความเร็วสูง และให้จัดเตรียมพื้นที่จอดรถและสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้ง ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อสุขอนามัยของประชาชน

และอยากให้ผลการศึกษาดังกล่าว ต้องเชื่อมโยงเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อสนับสนุนการเดินทาง การพัฒนาอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว และให้รัฐสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดขึ้นได้จริง

โดย สนข. จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ และ สนข. จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป

//-----------------------------------------------------------

ผุด “แทรมป์-รถเมล์ไฟฟ้า” 3 สายนำร่อง “อีอีซี” ชงรัฐร่วมทุนท้องถิ่น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 12 กรกฎาคม 2563 เวลา 09:07
ปรับปรุง: วันที่ 12 กรกฎาคม 2563 เวลา 17:53

สนข.สรุปนำร่องรถโดยสาร 3 เส้นทาง ใน 3 จังหวัดอีอีซี “ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง” ชงบอร์ดอีอีซี เคาะผุดแทรมป์-รถเมล์ไฟฟ้า เปิดรัฐลงทุนร่วมองค์กรท่องถิ่นและภาคเอกชน แนะขยายเส้นทางเชื่อมสถานีไฮสปีด และสนามบินอู่ตะเภา

เมื่อวันที่ 10 ก.ค. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะ ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง เข้าร่วม จำนวน 120 คน

โดยได้มีการนำเสนอผลการศึกษาขั้นสุดท้ายและผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ รูปแบบการลงทุน และวิธีการนำไปสู่การปฏิบัติ โดยการลงทุนนั้น รัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และบริษัทเอกชน ตามความเหมาะ โดยในเบื้องต้นรูปแบบของรถโดยสารจะเป็นรถโดยสารไฟฟ้า EV BUS รถโดยสารขนาดเล็ก EV minibus และรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus

โดย สนข.ได้คัดเลือกโครงการนำร่องจังหวัดละ 1 เส้นทางวงเงินลงทนรวมประมาณ 1,867 ล้านบาท ซึ่งจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ และ นำเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป

Click on the image for full size
สำหรับผลการศึกษา จังหวัด ฉะเชิงเทรา จำนวน 5 เส้นทางประกอบด้วย
เส้นทางที่ 1 HSR ฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ-ตะวันออกคอมเพล็กซ์
แนวเส้นทางที่ 2 HSR ฉะเชิงเทรา-วัดโสธรฯ
แนวเส้นทางที่ 3 รอบเมืองฉะเชิงเทรา
แนวเส้นทางที่ 4 HSR ฉะเชิงเทรา-บางคล้า และ
แนวเส้นทางที่ 5 HSR ฉะเชิงเทรา-บ้านโพธิ์-บางปะกง

โดยคัดเลือกแนวเส้นทางที่ 1 HSR ฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ-ตะวันออกคอมเพล็กซ์ เป็นโครงการนำร่อง ระยะทาง 7.97 กม.

Click on the image for full size
จังหวัดชลบุรี ศึกษา 8 เส้นทาง ประกอบด้วย
แนวเส้นทางที่ 1 HSR ชลบุรี-เมืองชลบุรี-(นิคมฯ อมตะซิตี้ชลบุรี)
แนวเส้นทางที่ 2 HSR ชลบุรี-บางแสน/ตัดช่วง HSR ชลบุรี-หนองมน
แนวเส้นทางที่ 3 HSR ชลบุรี-บ้านบึง-EECi
แนวเส้นทางที่ 4 HSR ศรีราชา-แหลมฉบัง
แนวเส้นทางที่ 5 HSR ศรีราชา-EECd
แนวเส้นทางที่ 6 เมืองศรีราชา-HSR ศรีราชา-นิคมฯ อมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง)
แนวเส้นทางที่ 7 HSR พัทยา-แหลมบาลีฮาย และ
แนวเส้นทางที่ 8 HSR พัทยา-สวนนงนุช

โดยคัดเลือกแนวเส้นทางที่ 6 เมืองศรีราชา-HSR ศรีราชา-นิคมฯ อมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) ระยะทาง 42 กม. เป็นโครงการนำร่อง

จังหวัดระยอง ศึกษา 6 เส้นทาง ประกอบด้วย
Click on the image for full size
แนวเส้นทางที่ 1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC
แนวเส้นทางที่ 2 แหลมเจริญ-สามแยกขนส่ง
แนวเส้นทางที่ 3 HSR อู่ตะเภา-ระยอง-บ้านเพ
แนวเส้นทางที่ 4 ระยอง-บ้านค่าย-EECi
แนวเส้นทางที่ 5 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมพัฒนา-ปลวกแดง และ
แนวเส้นทางที่ 6 HSR อู่ตะเภา-ระยอง-EECi

โดยได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 1นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC ระยะทาง 18.10 กม. เป็นโครงการนำร่อง

ทั้งนี้ ได้มีการเสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น
1. ขยายเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินอู่ตะเภา,
2. เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือสัตหีบ
3. รวมถึงให้พิจารณาแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ประกอบการ/สหกรณ์เดินรถโดยสารประจำทางเดิมเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการเดินรถใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 216, 217, 218 ... 277, 278, 279  Next
Page 217 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©