RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180025
ทั้งหมด:13491257
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 373, 374, 375 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 11:06 am    Post subject: Reply with quote

เบรคไฮสปีดเชียงใหม่ หัวหิน “นิรุฒ มณีพันธ์” ลุยพัฒนาที่ดินรถไฟ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 - 20:23 น.



นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า โปรเจ็กต์ลงทุนต่างๆของ ร.ฟ.ท. ภายในปีนี้คาดว่าจะผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง วงเงินรวม 263,453.57 ล้านบาทก่อน สถานะปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยคำถามสำคัญคือ การลงทุนระดับแสนล้านบาท ประเทศจะใช้ประโยชน์จากรถไฟทางคู่สายนี้อย่างไร จึงได้เร่งส่งคำตอบกลับไปแล้ว และเท่าที่คุยนอกรอบถือว่ายังเป็นไปด้วยดี จะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติโครงการภายในปีนี้

ประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่
ส่วนรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 85,345 ล้านบาท หลังคณะกรรมการกำกับนโยบายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง) มีนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นประธานเห็นควรให้แบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการใหม่เป็น 10 สัญญานั้น

แต่เมื่อไม่มีการพูดคุยต่อ ร.ฟ.ท.จึงตัดสินใจว่า จะยืนยันแนวทางเดิมตามที่ครม.เคยมีมติให้แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ซึ่งทั้ง 3 ช่วงจะรวมทั้งงานระบบและงานโยธาไว้ด้วยกัน
ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม.วงเงิน 26,704 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. วงเงิน 28,735 ล้านบาท และ
สัญญาที่ 3 ช่วง เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 17,482 ล้านบาท

“ได้เสนอเรื่องกลับมาที่กระทรวงคมนาคมแล้ว คาดว่าจะมีการเสนอ ครม.รับทราบถึงแนวทางดังกล่าวอีกครั้งภายในเดือน ก.ค.นี้ ส่วนช่วงบ้านไผ่ – นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อร่างทีโออาร์ คาดว่าช่วงปลายปีนี้น่าจะเปิดประมูลได้”

ขณะที่ไอเดียการสร้างมอเตอร์เวย์ควบรถไฟทางคู่ เป็นเรื่องที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ศึกษา แต่คาดว่าแนวเส้นทางน่าจะเป็นแนวที่ไม่เคยมีโครงการมอเตอร์เวย์และรถไฟพาดผ่านมาก่อน ส่วนแนวรถไฟเดิมคงเปลี่ยนแปลงได้ยาก แต่คงต้องรอให้ สนข.ศึกษาความเป็นไปให้แล้วเสร็จก่อน

อีก 3 เดือนเคาะรูปแบบเดินรถสายสีแดง
ส่วนความคืบหน้าของการจัดรูปแบบเดินรถสายสีแดง เบื้องต้นคณะทำงานที่มีนายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานเป็นประธานยังอยู่ระหว่างศึกษา 2 รูปแบบ คือ การให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เข้ามาบริหาร หรือจะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) คาดว่าจะสรุปผลได้ภายใน 2-3 เดือนนี้


สำหรับการขยายเวลาการก่อสร้างสายสีแดงสัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ, ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบติดต่อสื่อสาร, ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร มูลค่าสัญญา 32,399.99 ล้านบาท จะขยายให้ไปก่อน 87 วัน จากที่ขอมา 512 วัน อยู่ระหว่างให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. พิจารณาอยู่ หากบอร์ด ร.ฟ.ท.อนุมัติตามที่เสนอมาคือ 512 วัน จะทำให้กำหนดเวลาระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาเลื่อนออกไปเป็นประมาณกลางปี 2564

นอกจากนี้ คณะทำงานชุดดังกล่าวจะศึกษาถึงรูปแบบการบริหารสถานีกลางบางซื่อและการจัดรูปแบบประมูลส่วนต่อขยายสายสีแดง 3 เส้นทาง วงเงินรวม 23,417.61 ล้านบาท ประกอบด้วย ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645.03 ล้านบาทด้วย ซึ่งทั้งหมดจะได้รู้พร้อมกัน ส่วนจะรวบงานทั้งหมดมาทำ PPP หรือไม่ ขอให้รอผลการศึกษาก่อน

เบรกไฮสปีด “เชียงใหม่-หัวหิน”
นายนิรุฒยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน สัญญาที่ 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ได้ส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาร่างสัญญาแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ประมาณ ต.ค.นี้

ขณะที่การปรับแก้แบบสถานีอยุธยาตามที่กรมศิลปากรมีข้อกังวลและส่งผลต่อรายงาน EIA ไม่ผ่านการพิจารณานั้น เบื้องต้น ร.ฟ.ท.จะทำหนังสือตอบกลับไปที่กรมศิลปากร เพื่อยืนยันการก่อสร้างสถานีอยุธยาให้อยู่ในจุดเดิม ไม่ย้ายออกตั้งนอกเมือง เพราะร.ฟ.ท.จะไม่รื้อสถานีเดิมออกแน่นอน แต่จะเป็นการสร้างครอบสถานีเดิมทั้งหมด ซึ่งอยู่ระหว่างทำหนังสือตอบกลับอยู่

ในส่วนรถไฟความเร็วสูงอีก 2 เส้นทาง คือช่วงกรุงเทพ – เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม.และช่วงกรุงเทพ – หัวหิน ระยะทาง 211 กม. ยังไม่มีแผนยกเลิกโครงการ แต่จะเกิดได้เมื่อไหร่ยังไม่ทราบ ขอประเมินผลรถไฟความเร็วสูงไทยจีนให้ได้ก่อน

พลิกที่ดินสร้างรายได้เพิ่ม
นอกจากนี้ นายนิรุฒ กล่าวต่อถึงการพัฒนาที่ดินว่า เท่าที่สแกนที่ดินทั้งหมดของ ร.ฟ.ท.ประมาณ 240,000 ไร่ พบว่ามีประมาณ 20,000 ไร่ที่เหมาะกับการนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ คิดเป็นรายได้ประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งตนคิดว่ารายได้ตรงนี้ยังน้อยไปมาก เพราะที่ดินของร.ฟ.ท.บางส่วนอยู่ใจกลางเมือง แต่เข้าใจว่าปัญหาที่ร.ฟ.ท.เจอมาแก้ไม่ง่าย ทั้งเรื่องบุกรุก และการต่อรองกับผู้เช่าเดิม

แต่เชื่อว่าหากสามารถบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบมากขึ้น ร.ฟ.ท.จะมีรายได้มากขึ้นโดยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีใหญ่ อาทิ สถานีกลางบางซื่อ สถานีแม่น้ำ สถานีมักกะสัน

ส่วนอัตราค่าเช่า อาจจะต้องพิจารณาอีกทีในภายหลัง เพราะอาจจะกระทบกับภาระค่าครองชีพของประชาชน ทั้งนี้ คาดว่าการจัดประเภทและบริหารจัดการที่ดินจะสรุปได้ภายในปีนี้ ส่วนการทำแผนฟื้นฟูภาระหนึ้สิน1.67 แสนล้านขององค์กร ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะยังไม่ได้แตะส่วนไหนของแผนเป็นพิเศษ องค์ประกอบเดิมยังอยู่ทั้งหมด แต่เท่าที่เห็นแผนดังกล่าวเป็นแผนที่ดี และทุกอย่างจะเดินหน้าต่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

“ไฮเปอร์ลูป” รถไฟความเร็วสูงในท่อ ทำไมจึงฝ่อก่อนสตาร์ต?
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2563 เวลา 09:21 น.

ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัว ว่า “ ใครที่ฝันว่าจะได้ใช้ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) แทนรถไฟความสูงในอีกไม่นาน เห็นทีจะต้องรออีกนาน รอแล้วรออีกก็ไม่รู้ว่าจะได้ใช้หรือไม่ เพราะจนถึงวันนี้ยังไม่มีเมืองไหนในโลกที่ได้สัมผัสกับสุดยอดเทคโนโลยีของการขนส่งนี้ เป็นเพราะอะไร?”

รถไฟความเร็วสูงถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในโลกโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นบนเส้นทางกรุงโตเกียว-โอซาก้า และเปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2507 ถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 56 ปีแล้วที่รถไฟความเร็วสูง หรือ “ชินคันเซ็น” ของญี่ปุ่นให้บริการมาโดยไม่มีอุบัติเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเลย หลังจากนั้น มีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงตลอดมา จนทำให้รถไฟความเร็วสูงสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ใช้งานจริงถึงประมาณ 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง

การพัฒนารถไฟความเร็วสูงไม่หยุดนิ่ง มีการคิดค้นต่อยอดเรื่อยมา ถัดจากชินคันเซ็นก็มาถึงแม็กเลฟหรือรถไฟความเร็วสูงแบบแรงแม่เหล็กยก (Magnetic Levitation หรือ Maglev) โดยใช้พลังงานแม่เหล็กยกรถไฟให้ลอยขึ้นเหนือรางและผลักให้วิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูงโดยไม่มีการเสียดสีระหว่างล้อกับราง

มีการวิจัยแม็กเลฟมานานหลายสิบปีแล้ว จนถึงเวลานี้แม็กเลฟสามารถวิ่งบนเส้นทางทดสอบ (Test Track) ได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึงประมาณ 600 กิโลเมตร/ชั่วโมง หลักการทำงานของแม็กเลฟไม่ยุ่งยาก โดยมีขดลวดเพื่อรับกระแสไฟฟ้าติดอยู่ที่ราง และมีแม่เหล็กติดอยู่ที่รถไฟ ในขั้นแรกขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อยกรถไฟขึ้นเหนือรางประมาณ 1 เซนติเมตร ต่อจากนั้น ขดลวดอีกชุดหนึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อทำให้บริเวณด้านหน้าของรถไฟมีแรงลากรถไฟ และบริเวณด้านหลังมีแรงผลัก แรงทั้งสองนี้จะช่วยกันทำให้แม็กเลฟวิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง

แม้ว่าได้มีการค้นคว้าและวิจัยแม็กเลฟมานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่จนถึงวันนี้มีการนำแม็กเลฟมาใช้งานจริงเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น นั่นคือเส้นทางเชื่อมระหว่างสนามบินผู่ตง (สนามบินเซี่ยงไฮ้) กับย่านหลงหยางชานเมืองเซี่ยงไฮ้ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 430 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยเปิดใช้งานเมื่อปี 2547

เหตุที่แม็กเลฟไม่เป็นที่นิยมเพราะมีต้นทุนสูง ทำให้ต้องเลือกใช้บนเส้นทางที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารหนาแน่นเท่านั้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุมค่ากับการลงทุน ในปัจจุบันในโลกมีการก่อสร้างแม็กเลฟเพิ่มเติมเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้นคือเส้นทางระหว่างกรุงโตเกียว-นาโกย่า ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2570 วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 505 กิโลเมตร/ชั่วโมง



ต่อจากแม็กเลฟก็มาถึงไฮเปอร์ลูปหรือรถไฟความเร็วสูงวิ่งในท่อ มีการค้นคว้าวิจัยกันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ คาดหวังว่าจะวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 1,200 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือเร็วกว่าเครื่องบินพาณิชย์ซึ่งมีความเร็วประมาณ 900 กิโลเมตร/ชั่วโมง ไฮเปอร์ลูปเป็นการพัฒนาต่อยอดจากแม็กเลฟ พูดได้ว่าให้แม็กเลฟวิ่งในท่อสุญญากาศ ทำให้ไม่มีแรงเสียดทานที่ยานพาหนะซึ่งมีรูปร่างเหมือนแคปซูลทะยานไปข้างหน้าในท่อสุญญากาศได้ด้วยความเร็วสูง มีการทดสอบไฮเปอร์ลูปวิ่งในท่อแล้วหลายครั้ง พบว่าแคปซูลบรรทุกผู้โดยสารสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 500 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนถึงเวลานี้ยังไม่มีการก่อสร้างไฮเปอร์ลูปเพื่อใช้งานจริง เนื่องจากยังมีข้อสงสัยและปัญหาหลายประการที่จะต้องศึกษาและแก้ไขกันต่อไป เช่น

1. ต้นทุนค่าก่อสร้างและค่าบริหารจัดการเดินรถรวมทั้งค่าบำรุงรักษาอาจสูงกว่าราคาที่มีการเสนอกันมามาก ในขณะที่มีขีดความสามารถขนผู้โดยสารได้น้อยกว่ารถไฟความเร็วสูงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทำให้กังวลว่าจะได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

2. ท่ออาจทรุดตัวไม่เท่ากัน ซึ่งจะทำให้ท่อร้าวหรือแตกหักได้ ถ้าอากาศไหลเข้าสู่ท่ออะไรจะเกิดขึ้น?

3. หากมีแรงสั่นสะเทือนในท่อ จะมีผลต่อการทรงตัวของแคปซูลบรรทุกผู้โดยสารหรือไม่?

4. ในกรณีมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จะอพยพผู้โดยสารออกจากแคปซูลและจากท่อได้อย่างไร?

5. มีสถานีกลางทางน้อย เนื่องจากต้องวิ่งด้วยความเร็วสูงมาก ทำให้โอกาสในการพัฒนาพื้นที่ข้างทางมีน้อย ส่งผลให้ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในแนวเส้นทางได้ดีพอ

6. การเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟในปัจจุบันหรือรถไฟความเร็วสูงในอนาคตทำได้ยาก เพราะระบบไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้โดยสารไฮเปอร์ลูปไม่ได้รับความสะดวก ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณผู้โดยสารที่อาจมีน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

7. ไม่มีห้องน้ำไว้ให้บริการแก่ผู้โดยสาร

8. ผู้โดยสารไม่สามารถชมวิวทิวทัศน์ข้างทางได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในเวลานี้จึงทำให้ไม่มีเมืองใดในโลกลงมือก่อสร้างไฮเปอร์ลูปกันอย่างจริงจังตามที่ได้คุยไว้

ผมสนใจในนวัตกรรมด้านการขนส่งที่สามารถอำนวยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้ผู้โดยสาร ลดต้นทุนการก่อสร้างและการเดินรถ และที่สำคัญ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ถ้าไฮเปอร์ลูปมีคุณสมบัติดังกล่าวจริงก็ต้องทดสอบให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างสมบูรณ์แบบดังเช่นแม็กเลฟได้ทำมาแล้ว ถึงเวลานั้นจึงจะบอกได้ว่าไฮเปอร์ลูปเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่

ทั้งหมดนี้ ผมไม่ต้องการทำให้นวัตกรรมชั้นยอดอย่างไฮเปอร์ลูปต้องฝ่อก่อนสตาร์ต
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2020 8:59 am    Post subject: Reply with quote

ซี.พี.เข้าบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ต.ค.64
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

"ซี.พี." เร่งตรวจสอบทรัพย์สิน "แอร์พอร์ตลิงก์" จ่อเปลี่ยนอะไหล่ ปรับปรุงขบวนรถเก่า รื้องานระบบ ที่จอดรถ ทะลวงทางเข้า-ออกสถานี เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ยังไม่ซื้อ รถใหม่ พร้อมตีเช็คจ่าย 1 หมื่นล้าน รับโอนโครงการ ต.ค. 64 ดีเดย์ ก.พ.ปีหน้าเข้าพื้นที่ตอกเข็มไฮสปีด 3 สนามบิน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) ผู้รับสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้เข้าสำรวจและประเมินทรัพย์สินของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในเบื้องต้น ซี.พี.แจ้งจะจ่ายเงินค่าใช้สิทธิ 10,671 ล้านบาท เพื่อรับโอนโครงการภายในเดือน ต.ค. 2564 ครบ 2 ปีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาพอดี

"หลัก ๆ เป็นการตรวจสอบด้านเทคนิคเป็นระบบหลัก ประมาณ 10 ระบบ เช่น ขบวนรถ 9 ขบวน ระบบโทรคมนาคม ระบบจ่ายไฟฟ้า อุปกรณ์ในโรงซ่อมบำรุง ระบบอาณัติสัญญาณ ประตู โครงสร้างงานโยธา ผลการตรวจโดยรวมอยู่ในฐานะที่ปลอดภัย"

แต่ต้องปรับปรุงระบบต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เช่น อะไหล่ในตัวรถต้องซื้อเพิ่ม แต่มีบางชิ้นที่โรงงานเลิกผลิตแล้ว ต้องซื้อให้ครบก่อนจะเข้ามาบริหารในเดือน ต.ค. ปีหน้า เนื่องจากใช้เวลาในการผลิต 1-2 ปี เช่น ระบบเบรก เป็นอะไหล่สำคัญ รวมถึงขบวนรถใหม่ที่จะซื้อเพิ่ม และระบบอาณัติสัญญาณที่ต้องเปลี่ยนเป็นระบบเปิดให้รองรับกับขบวนรถได้ทุกยี่ห้อ จากปัจจุบันเป็นระบบของซีเมนส์ ที่ยังเป็นระบบปิด

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ซี.พี.ยังมีแผนเรื่องของการปรับปรุงการให้บริการ เช่น ที่จอดรถ ถนนเข้า-ออก ทางเดินเข้าสถานีทุกสถานี เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร เช่น สถานีมักกะสัน จะมีทางเชื่อมใต้ดินกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเพชรบุรี จากปัจจุบันมีสกายวอล์กอยู่แล้ว

แหล่งข่าวจากบริษัท รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด กล่าวว่า จะเข้าบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ในเดือน ต.ค. 2564 เพราะยังต้องใช้เวลาประเมินทรัพย์สิน และบริษัททางรถไฟแห่งชาติอิตาลี (FS) ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการโครงการให้ ยังไม่สามารถเดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้เนื่องจากติดโควิด

ในเบื้องต้นจะยังไม่ซื้อรถใหม่เพิ่ม เนื่องจากมองว่ารถ 9 ขบวนเดิม ยังเพียงพอ ที่จะรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ในช่วง 2-3 ปีแรกนี้ จากปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 80,000 เที่ยวคน/วัน และผู้โดยสารจะหนาแน่นช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น

"ซื้อรถใหม่เพิ่มแน่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ แต่ยังไม่จำเป็นต้องซื้อในทันที เพราะเราต้องเก็บข้อมูลใหม่ในช่วงโควิด มีผู้โดยสารน้อย ดูแล้วรถเดิมยังพอ แต่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เช่น ระบบราง ระบบเทเลคอม ที่ต้องเข้าไปซ่อมแซมก่อนจะเข้าไปเทกโอเวอร์ คาดว่าจะใช้งบฯอีกหลาย 100 ล้านบาท เพราะช่วงเวลา 1 ปีที่เหลือนี้จะสั่งซื้อใหม่ คงไม่ทัน ด้านพนักงานอาจจะต้องโอนบางส่วนจากแอร์พอร์ตลิงก์มาดำเนินการ เพราะมีประสบการณ์อยู่แล้ว จะช่วยลดระยะเวลาการเทรนนิ่งคนได้"

สำหรับการเข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง แหล่งข่าวกล่าวว่า อยู่ระหว่างทำแผนการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคและการเวนคืนที่ดินร่วมกับภาครัฐ คาดว่าจะเริ่มเข้าพื้นที่ได้ภายในเดือน ก.พ. 2564 ตามแผนแบ่งพื้นที่ ส่งมอบ 3 ส่วน จากทั้งโครงการ 220 กม. ประกอบด้วย
1.สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 กม. โครงสร้างแอร์พอร์ตลิงก์เดิม พร้อมส่งมอบทันที แต่ต้องจ่ายค่าเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาทก่อน
2.สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กม. ส่งมอบใน 2 ปี แต่เร่งให้ได้ 1 ปี 3 เดือน และ
3.สถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 กม. ส่งมอบใน 4 ปี เร่งรัดได้ 2 ปี 3 เดือน จะเปิดบริการช่วงสถานีพญาไทสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ปลายปี 2566 ส่วนสถานีพญาไท-ดอนเมือง อาจเสร็จเปิดใช้ ในปี 2567-2568

ส่วนการเวนคืนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างดำเนินการ ตั้งกรอบค่าเวนคืนไว้ 3,570 ล้านบาท มีพื้นที่เวนคืน 885 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา แปลงที่ดิน 931 แปลงอาคารสิ่ง ปลูกสร้าง 360 หลัง ต้นไม้ 517 แปลง ผู้บุกรุก 1,352 หลัง อยู่ช่วงดอนเมืองสุวรรณภูมิ 782 หลัง และช่วงสุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา 570 หลัง


ชะลอซื้อรถใหม่ - เป็นที่แน่ชัดแล้ว่ากลุ่ม ซี.พี.จะเข้าบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ ภายในเดือน ต.ค. 2564 เบื้องต้นจะลงทุนปรับปรุงระบบ รถเดิม 9 ขบวน ทะลวงคอขวดจุดต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ยังไม่ซื้อรถใหม่เพิ่มใน 3 ปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2020 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

คชก.ปลดล็อก EIA ไฮสปีด “ไทย-จีน” ชง สผ.เคาะ จ่อเซ็น 7 สัญญา 5.9 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 06:57
ปรับปรุง: วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 09:25



คชก.เห็นชอบ EIA รถไฟไทย-จีน ช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมาแล้ว เร่งชง สผ.ชุดใหญ่อนุมัติ ร.ฟ.ท.จ่อเซ็นรับเหมา 7 สัญญาวงกว่า 5.9 หมื่นล้าน ลุยก่อสร้าง ส่วนช่วงบางซื่อ-ภาชี เร่งชี้แจงแบบสถานีอยุธยา “นิรุฒ” มั่นใจ ต.ค.เซ็นสัญญาซื้อระบบ 2.3

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)​เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ (คชก.) ครั้งที่ 25/2563 เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2563 ได้มีมติเห็นชอบรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) ของ ร.ฟ.ท.แล้ว โดยคาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ หลังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อนุมัติ EIA ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา ร.ฟ.ท.จะสามารถลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้ โดยงานก่อสร้างที่อยู่ในช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา ได้แก่ สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม.วงเงิน 9,330 ล้านบาท, สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท, สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท

สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว, กุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท, สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท, สัญญา 4-6 ช่วง พระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท, สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท

สำหรับเส้นทางช่วงบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชีนั้น คชก.อยู่ระหว่างพิจารณารายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า อยู่ระหว่างชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับแบบก่อสร้างสถานีอยุธยา ในเรื่องผลกระทบต่อสถาปัตยกรรมซึ่งจะไม่มีการรื้อสถานีรถไฟเดิม โดยได้ออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงครอบสถานีรถไฟเก่าไว้ และทำให้ไม่ต้องย้ายตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูงออกไปนอกเมืองอีกด้วย

สำหรับงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาทนั้น ร.ฟ.ท.ได้เสนอร่างสัญญา 2.3 ไปให้อัยการสูงสุดตรวจแล้ว คาดว่าอีกประมาณ 2 เดือน หรือภายในเดือน ต.ค. 2563 จะลงนามสัญญาได้

โดยจะมีหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้จีนเริ่มงานออกแบบงานระบบ ระยะเวลา 275 วัน โดยสัญญา 2.3 มีอายุสัญญา 64 เดือน ซึ่งจะเริ่มชำระค่างานได้ในปี 2564 วงเงิน 8,234.21 ล้านบาท ปี 2565 วงเงิน 3,622.36 ล้านบาท ปี 2566 วงเงิน 20,481.93 ล้านบาท ปี 2567 วงเงิน 18,295 ล้านบาท มีเป้าหมายเปิดให้บริการปี 2569




สำหรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค (ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย) ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติกรอบวงเงินที่ 179,412.21 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่ารื้อย้ายและเวนคืน 13,069.60 ล้านบาท ค่างานโยธา 117,914 ล้านบาท ค่างานระบบ 44,998.49 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 3,430.04 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

คืบหน้า รถไฟความเร็วสูง
ไทยคู่ฟ้า
4 กรกฎาคม at 19:00 น.

#ผลการจัดทำร่างสัญญาจ้างงาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมถึงจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (#สัญญา 2.3) ในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 28 ผ่านระบบการประชุมทางไกล #โดยทั้งสองฝ่ายได้เจรจาร่วมกันจนได้ข้อยุติในส่วนของร่างสัญญา 2.3 และเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 63 ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟท. #ได้เห็นชอบร่วมกันในหลักการร่างสัญญา 2.3 โดยเมื่อผ่านขั้นตอนตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว คาดว่าทั้งสองฝ่ายจะร่วมลงนามในสัญญาดังกล่าวได้ไม่เกิน #ตุลาคมนี้
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/videos/703706883537902/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2020 10:37 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง "ลาว" ว้าววว! แซงหน้า "ไทย"?
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:38 น.


รถไฟความเร็วสูง "ลาว" ว้าววว! แซงหน้า "ไทย"? "สามารถ ราชพลสิทธิ์" จี้รัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างด่วน โดยเฉพาะช่วงโคราช-หนองคาย รับผู้โดยสารจากจีนและลาวที่จะเดินทางมาไทยด้วยรถไฟลาว-จีน ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการในปลายปี 2564

"สามารถ ราชพลสิทธิ์" ตั้งคำถาม รถไฟความเร็วสูง "ลาว" ว้าววว! แซงหน้า "ไทย"?


ชาวเน็ตทุกวัยคงได้ยลโฉม รถไฟลาว-จีน ที่ถูกแชร์ว่อนในโลกออนไลน์ ให้เราชาวไทยร้องว้าววว! ว่าจริงหรือนี่ที่ลาวแซงหน้าไทยไปหลายช่วงตัว?

แนวคิด การก่อสร้างรถไฟลาว-จีนมีมานานตั้งแต่ปี 2544 หลังจากเจรจากันลงตัวแล้ว บริษัทร่วมทุนลาว-จีนก็ลงมือก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากบ่อเต็นของลาวซึ่งอยู่ชายแดนลาว-จีน เข้าสู่อุดมไชย หลวงพระบาง วังเวียง จนถึงเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 414 กิโลเมตร เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างลาวกับจีน โดยลาวลงทุน 30% จีนลงทุน 70% มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 190,000 ล้านบาท หรือกิโลเมตรละ 459 ล้านบาท

เริ่มก่อสร้างในปลายปี 2559 คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2564 ผมมีโอกาสได้ไปดูการก่อสร้างบางตอนในเดือนสิงหาคม 2560

รถไฟสายนี้จะเชื่อมโยงคุนหมิงของจีนกับกรุงเวียงจันทน์ของลาว ใช้รางกว้าง 1.435 เมตร เป็นทางเดี่ยว (มีเหล็กรางรถไฟ 2 เส้น) ทำให้รถไฟไม่สามารถวิ่งสวนทางกันได้ ต้องรอหลีกทาง จึงวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง

เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่ารถไฟความเร็วสูงจะต้องเป็นรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป ด้วยเหตุนี้ รถไฟลาว-จีนจึงไม่ถือว่าเป็นรถไฟความเร็วสูงเพราะวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดไม่ถึง 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง หากในอนาคตมีการก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มอีก 1 ทาง เป็นรถไฟทางคู่ (มีเหล็กรางรถไฟ 4 เส้น) รถไฟสามารถวิ่งสวนทางกันได้ ไม่ต้องรอหลีกทาง จึงสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง รถไฟลาว-จีนก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นรถไฟความเร็วสูง



หันมาดูที่ รถไฟไทย หลังจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2557 ก็มุ่งมั่นจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ใช้รางกว้าง 1.435 เมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง อนึ่ง ปัจจุบันรางรถไฟไทยกว้าง 1 เมตร ส่วนใหญ่เป็นทางเดี่ยว วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดปริศนา"คมนาคม"ยุค"ลุงตู่"ที่คนไทยต้องรู้

การก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ดังกล่าว ตอนเริ่มต้นจะมีการลงทุนร่วมกันระหว่างไทยกับจีน จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน โดยได้เจรจากันหลายสิบครั้งใช้เวลานาน จนในที่สุดเปลี่ยนมาเป็นรถไฟความเร็วสูง ทางคู่ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยไทยตัดสินใจลงทุนเองทั้งหมด และได้แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นการก่อสร้างจากกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง 252 กิโลเมตร วงเงิน 176,002 ล้านบาท หรือกิโลเมตรละ 698 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างช่วงแรกปลายปี 2560 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ถึงเวลานี้งานโยธาของช่วงนี้เกือบแล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 13 สัญญา มีการประมูลแล้วทั้งหมด แต่มีการเซ็นสัญญาเพียงสัญญาเดียวเท่านั้น

ระยะที่ 2 ช่วงโคราช-หนองคาย ระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร อยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียด

จะเห็นได้ว่าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของไทยมีความล่าช้า ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ หากเราสามารถเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคายได้ จะทำให้รถไฟไทยช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative) ได้ในอีกไม่นาน ซึ่งจะเสริมสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยในการขนส่งเชื่อมโยงกับนานาประเทศ

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงอยากให้รัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ โดยเฉพาะช่วงโคราช-หนองคาย โดยเริ่มก่อสร้างจากหนองคายมาโคราช ซึ่งจะเป็นการขยายเส้นทางรถไฟลาว-จีนมาถึงไทย และเป็นการเตรียมการรองรับผู้โดยสารจากจีนและลาวที่จะเดินทางมาไทยด้วยรถไฟลาว-จีน ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการในปลายปี 2564

โดยสรุป แม้ว่ารถไฟลาว-จีนไม่ได้เป็นรถไฟความเร็วสูงก็ตาม แต่รถไฟลาว-จีนก็จะวิ่งได้เร็วกว่ารถไฟไทย หรือวิ่งแซงหน้ารถไฟไทยในปัจจุบัน กล่าวคือรถไฟลาว-จีน วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในขณะที่รถไฟไทยในปัจจุบันวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ดังนั้น เราต้องมาร่วมมือร่วมแรงช่วยกันผลักดันรถไฟไทยให้ความเร็วสูง หมดยุค “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” เสียที
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10217378618202571&set=a.3728713981569&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2020 2:28 pm    Post subject: Reply with quote

งานก่อสร้าง #ทางรถไฟความเร็วสูง ช่วง กลางดง-ปางอโศก 📸 หนึ่ง จักราช
https://www.facebook.com/TrainBusAirplane/posts/148383580191898
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 3:31 pm    Post subject: Reply with quote

[Active News] ชาวบ้านริมทางรถไฟ ยื่นหนังสือร้องเรียนกรณีไล่รื้อที่ดิน | ยื่นข้อเสนอร่วมเป็นกลไกหาทางออกสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนจากความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ
The Active
10 พฤษภาคม 2563
วันนี้ (10 พ.ค. 2563) ชาวบ้านชุมชนบุญร่มไทรริมทางรถไฟ เขตราชเทวี กทม. ยื่นหนังสือต่อ ‘จิรายุ ห่วงทรัพย์’ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนจากความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพปัจจุบัน หลังจากได้รับคำสั่งให้ออกจากพื้นที่บริเวณที่ดินของการรถไฟฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่การพัฒนารถไฟความเร็วสูงสามสนามบิน ภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (EEC)
.
ก่อนหน้านี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการสำรวจและระบุหมายเลขบ้านพักในชุมชน พร้อมติดประกาศให้ออกจากพื้นที่ทำให้ประชาชนรู้สึกกังวลจึงต้องการให้คณะกรรมาธิการกิจการศาลฯ ร่วมเป็นกลไกหาทางออกให้กับประชาชน โดยมีข้อเสนอ 5 เรื่องสำคัญ คือ
.
1. ขอให้ทางโครงการหยุดการไล่รื้อ หรือหยุดการฟ้องร้องดำเนินคดี และหยุดการดำเนินการต่าง ๆ กับชุมชน
.
2. ขอให้เปิดเผยข้อมูลพื้นที่ ระยะเวลาในการดำเนินการโครงการที่จะส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน
.
3. ขอให้ตัวแทนเครือข่ายชุมชนผู้ได้รับผลกระทบได้มีส่วนร่วมออกแบบ และร่วมแบ่งปันที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยร่วมไปกับโครงการ อันจะทำให้โครงการไม่ได้ถูกกล่าวได้ว่าทอดทิ้ง ขับไล่ และทำร้ายชุมชนดั้งเดิม
.
4. ขอให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาผลกระทบของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและโครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง
.
5. ขอให้ตั้งคณะกรรมการโดยมีตัวแทนเครือข่ายชุมชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากทุกจังหวัดและจากตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการต่าง ๆ ร่วมออกแบบการใช้พื้นที่และหาข้อยุติร่วมกันต่อไป
.
จิรายุ ห่วงทรัพย์ ระบุว่า ต้องการขอให้มีความเป็นธรรมในการแก้ปัญหากับประชาชน หากจะต้องย้ายออกจะต้องมีงบประมาณเวนคืนที่ดิน และกระบวนการเยียวยาที่เหมาะสมกับแต่ละครัวเรือน ซึ่งหลังจากนี้กรรมาธิการฯ จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาดไทย ธนาคารที่ดิน และหน่วยราชการอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นธรรม และเป็นต้นแบบให้กับกระทรวง กรม ต่าง ๆ เพราะปัญหาการไล่รื้อเกิดขึ้นต่อเนื่อง ตามนโยบายการพัฒนาเมือง
Note: คนรถไฟทำงานให้การรถไฟฯ จนเกษียณ ยังไม่มีอภิสิทธิ์บนที่ดินการรถไฟฯแม้แต่ฝ่ามือเดียว
(มนุษยธรรมต้องอยู่บนความถูกต้อง)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2619588611587281&set=a.1432370326975788&type=3&theater
https://www.facebook.com/theactive.net/photos/a.240742769290424/3303153186382685/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2020 4:26 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเข็นไฮสปีดอีสานตอกเข็มครึ่งทาง-ทดลองใช้สายสีแดงมิ.ย.64
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

7 รับเหมาเฮ! ร.ฟ.ท.ปลดล็อกเซ็นสัญญาลอตแรก 5.9 หมื่นล้าน ตอกเข็ม รถไฟไทย-จีน ช่วงภาชี-โคราช เข็นสายสีแดงเปิดทดลองบริการกลางปี'64 รื้อมิกซ์ยูสสถานีกลางบางซื่อ รอเคาะดึงเอกชน PPP เดินรถตลอดสาย

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 3 ก.ค.คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) อนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ทำ เพิ่มเติมของรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯนครราชสีมา ช่วงชุมทางบ้านภาชีนครราชสีมา ระยะทาง 152 กม.แล้ว รอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมอนุมัติ คาดว่าไม่มีปัญหา เพราะผ่านชุด คชก.แล้ว ส่วนช่วงกรุงเทพฯ-ชุมทางบ้านภาชี ติดแบบก่อสร้างสถานีอยุธยา

"ประมูลได้ผู้รับเหมาครบแล้วทั้ง 14 สัญญา เหลือช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองรอสรุปแบบร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่ยังไม่สามารถเซ็นสัญญาได้รอ EIA ได้รับอนุมัติก่อน เมื่อช่วงภาชี-นครราชสีมาผ่านแล้ว จะเซ็นสัญญาเริ่มงานก่อสร้างในปีนี้ เพราะโครงการล่าช้ามานานแล้ว"

รายละเอียดสัญญาผ่าน EIA มี 7 สัญญา มูลค่ารวม 58,947 ล้านบาท ได้แก่ ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 กม. ของ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น วงเงิน 9,429 ล้านบาท, ช่วงสระบุรี-แก่งคอย 12.99 กม. ของ บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง วงเงิน 8,560 ล้านบาท, งานอุโมงค์ (มวกเหล็กและ ลำตะคอง) ของ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ 4,279.328 ล้านบาท

ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า 30.21 กม. ของ บจ. ไทยเอ็นจิเนียริ่ง วงเงิน 9,330 ล้านบาท, ช่วงบันไดม้า-โคกกรวด 26.1 กม. รวมสถานีปากช่องของ บจ.กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง วงเงิน 9,838 ล้านบาท, ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. ของ บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) 9,788 ล้านบาท และช่วงโคกกรวดนครราชสีมา 13.69 กม. รวมสถานีนครราชสีมา ของกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK วงเงิน 7,750 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดเดินรถโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเสนอให้เปิดทดลองบริการเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2564 ระหว่างรอความชัดเจนรูปแบบการเดินรถที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเปิดให้เอกชนร่วม PPP ทั้งโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายที่เหลือและเดินรถตลอดสาย อาจจะใช้เวลาคัดเลือกเอกชน 1-2 ปี โดยให้ บจ. รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. บริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.ผู้รับจ้างเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ เป็น ผู้เดินรถไปก่อน ซึ่งรับสมัครพนักงานแล้ว กว่า 200 คน เมื่อได้เอกชนแล้ว ถึงโอนการเดินรถให้เอกชนรายใหม่ต่อไป

"ปัญหาของสายสีแดงต้องแยกระหว่างเดินรถและก่อสร้างที่ผู้รับเหมาขอขยายเวลาออกไป เพราะการเดินรถไม่จำเป็นต้องให้เดโป้เสร็จก็ได้ เพราะโครงสร้างทางวิ่งเสร็จแล้ว ซึ่งปลายปีนี้อาจจะได้เริ่มทดสอบเสมือนจริงได้"

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้จะเซ็นสัญญารถไฟไทย-จีน ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา ได้เลยหรือไม่ หลัง EIA ได้รับการอนุมัติแล้ว เนื่องจากอาจจะต้องรอให้พร้อมทั้งโครงการก่อน สำหรับช่วงกรุงเทพฯ-ชุมทางบ้านภาชีที่ติดปัญหาสถานีอยุธยา ขณะนี้ทำความเข้าใจกับกรมศิลปากรแล้ว จะสร้างคร่อมสถานีเดิม และจะอนุรักษ์สถานีเดิมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ หากจะต้องย้ายตำแหน่งไปอยู่บนพื้นที่ใหม่จะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่มเพื่อตัดถนนเชื่อมกับสถานีและต้องทำ EIA เพิ่มจะยิ่งทำให้โครงการล่าช้า

สำหรับการเปิดเดินรถสายสีแดง รอสรุป ผลการศึกษา PPP จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน กับให้บริษัทลูก ร.ฟ.ท.เดินรถรูปแบบ ไหนดีกว่ากัน จะสรุปใน 2-3 เดือนนี้ ยังตอบไม่ได้จะเปิดเดินรถได้กลางปี 2564 ตามที่ ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าได้หรือไม่ ต้องดูความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เช่น การบริหารพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ผู้โดยสาร อยู่ระหว่างการพิจารณา จะนำ ไปรวมกับสถานีรายทางของสายสีแดง ที่จะเปิด PPP ทั้งโครงการหรือไม่

ยังให้ ร.ฟ.ท.ทบทวนแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์โดยรอบสถานีกลางบางซื่อใหม่ให้สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบันที่จะมีการเปิดโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ เช่น ที่ดินโซน A เนื้อที่ 32 ไร่ ที่ ร.ฟ.ท.จะพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส และเปิดประมูลไปแล้วไม่มีเอกชนสนใจ สาเหตุเกิดจากอะไร ต้องวิเคราะห์ตลาดกันใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้มากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/07/2020 3:04 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเวทีฟังเสียงประชาชน 4 จังหวัดภาคอีสาน ศึกษาแนวเส้นทาง โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ข่าว : 13 กรกฎาคม 2563

ที่ห้องสีมาแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดการประชุมฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) เพื่อนําเสนอสาระสําคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดําเนินการ แผนการดําเนินโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะ ได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม

นายสุวัฒน์ กันภูมิ หัวหน้าแผนกบริหารงานทั่วไป การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.อยู่ระหว่าง ดําเนินโครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียดงานโยธารถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย มีเส้นทาง ครอบคลุม 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และจังหวัดหนองคาย เพื่ออํานวยความสะดวกด้านการเดินทางที่ มีความรวดเร็วและความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งเกิดการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทางให้เป็นศูนย์กลางความเจริญ ทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค นอกจากนั้นเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมต่อการค้าการลงทุนของไทยกับ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในขณะดําเนินการ ก่อสร้างโครงการยังสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่

โครงการดังกล่าวมีระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟจํานวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบํารุงที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์ซ่อมบํารุงเบาที่นาทา จังหวัดหนองคาย พร้อมด้วย หน่วยซ่อมบํารุงทาง 4 แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จังหวัดนครราชสีมา สถานีหนองเม็ก จังหวัดขอนแก่น สถานีโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี และสถานีนาทา จังหวัดหนองคาย โดยออกแบบขนาดรางเป็น 1.435 เมตร มีจุดตัดทางรถไฟ 241 แห่ง ระยะเวลาการเดินทางจาก กรุงเทพมหานครถึงหนองคาย 3 ชั่วโมง 15 นาที

ส่วนรูปแบบแนวคิดการออกแบบสถานี มีแผนการดําเนินงานออกแบบให้มีการผสมผสานแสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น ภาคอีสานและให้สอดคล้องกับสถานีรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา และสถานีรถไฟทางคู่ปัจจุบัน

ทั้งนี้ การดําเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับ โครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ซึ่งออกแบบตามมาตรฐานระบบรถไฟความเร็วสูงของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ซึ่งอาจทําให้รายละเอียดของโครงการระยะที่ 2 เปลี่ยนแปลงไปจากที่นําเสนอไว้ในรายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม ที่สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดทําไว้จึงจําเป็นต้องทบทวนการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปพร้อมทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดให้มีการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียตามกระบวนการมีส่วนร่วม

รฟท. ได้ให้ความสําคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วม โดยได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในทุกจังหวัดตามแนว เส้นทางโครงการ โดยวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 จะจัดการประชุมที่ จ.ขอนแก่น วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จะจัดการประชุมที่จังหวัดอุดรธานี และวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 จะจัดการประชุมที่จังหวัดหนองคาย จากนั้นจะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนอีก 1 ครั้ง เพื่อนําเสนอผลการศึกษาโครงการฯ ในขั้นตอนต่อไปให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 373, 374, 375 ... 542, 543, 544  Next
Page 374 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©