RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263651
ทั้งหมด:13574934
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 107, 108, 109 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 2:48 pm    Post subject: Reply with quote

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อรองรับ อีอีชี
แหล่งที่มา : สวท.ระยอง
วันที่ข่าว : 10 กรกฎาคม 2563
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นประชาชน โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อรองรับ อีอีชี



วันนี้ (10 ก.ค. 63) นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานเปิดการสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ กลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จัดขึ้นโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. โดยมีผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการเดินรถขนส่งสาธารณะ สื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง จำนวน 170 คน เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้



นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า จังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ คือ 1,143,740 บาท/คน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เท่ากับ 672,104 ล้านบาท โดยมาจากสาขาการผลิตด้านอุตสาหกรรม กว่าร้อยละ 92 และยังมีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่เชื่อมโยง ได้แก่ เมืองการบินตะวันออก ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ ๓ การพัฒนาโครงข่ายขนส่งทางบก โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพระยองเชื่อมโยง ๓ สนามบิน และ รถไฟทางคู่ เชื่อม ๓ ท่าเรือ ซึ่งโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดอีอีชี เป็นโครงการสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกับโครงข่ายเดิมที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น และจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาจังหวัดระยองในภาพรวมต่อไปในอนาคต



นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(วนข.) กล่าวว่า สนข. ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนมาแล้ว 1 ครั้ง เมื่อปี 2562 และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 เพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบสาธารณะที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการเมืองใหม่ฉะเชิงเทรา รวมถึงโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุดและโครงการรถไฟทางคู่ คาดว่า โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ จากนั้นจะนำผลสรุปการศึกษา และแนวเส้นทางนำร่องของแต่ละจังหวัด จำนวน 3 เส้นทาง ตลอดจนรูปแบบการลงทุนและแนวทางการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ เสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)เพื่อดำเนินการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 2:56 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เศรษฐกิจ
Thailandplus
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พศ. 2563

Click on the image for full size
Click on the image for full size
วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม (คค.) จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง จังหวัดระยอง โดยมีนายยุทธพล องอาทอิทธิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ มีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะ ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และสื่อมวลชน เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 120 คน



การจัดสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาขั้นสุดท้ายในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดย สนข. ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ รูปแบบการลงทุน และวิธีการนำไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วยภาพรวมการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะ 3 ระบบ ได้แก่

1) ระบบขนส่งสาธารณะหลัก เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างภูมิภาค และโครงสร้างพื้นฐาน

2) ระบบขนส่งสาธารณะรอง เชื่อมโยงระบบหลักและแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างเมืองในเขตเมือง

3) ระบบขนส่งสาธารณะเสริม เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมย่อยในเขตเมืองหรือพื้นที่อยู่อาศัยเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะสายรอง

มีองค์ประกอบของระบบขนส่งสาธารณะ ประกอบด้วย โครงข่ายเส้นทางและตัวระบบ สาธารณูปโภคสนับสนุน ระบบตั๋วและค่าโดยสาร สิ่งแวดล้อมและการยอมรับของประชาชน การลงทุนและผลตอบแทน รวมถึงการบริหารจัดการ ซึ่งเป้าหมายของระบบขนส่งสาธารณะ ต้องมีความสะดวกเข้าถึงง่าย ปลอดภัย พัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการขนส่ง ส่งเสริมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และมีความคุ้มค่า

ทั้งนี้ ในส่วนของรูปแบบระบบขนส่งสาธารณะแบ่งเป็น ช่องทางเฉพาะ (Exclusive Lane) และช่องทางร่วมกับรถทั่วไป (Shared Lane) โดยมีแนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะที่เสนอในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ดังนี้

– แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย

แนวเส้นทางที่ 1 HSR ฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ – ตะวันออกคอมเพล็กซ์
แนวเส้นทางที่ 2 HSR ฉะเชิงเทรา – วัดโสธรฯ
,แนวเส้นทางที่ 3 รอบเมืองฉะเชิงเทรา
แนวเส้นทางที่ 4 HSR ฉะเชิงเทรา – บางคล้า
แนวเส้นทางที่ 5 HSR ฉะเชิงเทรา – บ้านโพธิ์ – บางปะกง
โดย สนข. ได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 1 HSR ฉะเชิงเทรา – โรงเรียนเบญจมฯ – ตะวันออกคอมเพล็กซ์ เป็นโครงการนำร่อง

– แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย

แนวเส้นทางที่ 1 HSR ชลบุรี – เมืองชลบุรี – (นิคมฯ อมตะซิตี้ชลบุรี)
แนวเส้นทางที่ 2 HSR ชลบุรี – บางแสน/ตัดช่วง HSR ชลบุรี – หนองมน
แนวเส้นทางที่ 3 HSR ชลบุรี – บ้านบึง – EECi
แนวเส้นทางที่ 4 HSR ศรีราชา – แหลมฉบัง
แนวเส้นทางที่ 5 HSR ศรีราชา – EECd
แนวเส้นทางที่ 6 เมืองศรีราชา – HSR ศรีราชา – นิคมฯ อมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง)
แนวเส้นทางที่ 7 HSR พัทยา – แหลมบาลีฮาย
แนวเส้นทางที่ 8 HSR พัทยา – สวนนงนุช
โดย สนข. ได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 6 เมืองศรีราชา-HSR ศรีราชา-นิคมฯ อมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) เป็นโครงการนำร่อง แต่รถไฟฟ้า monorail พัทยา สาย HSR พัทยา – แหลมบาลีฮาย ก็ยังดำเนินต่อไป

– แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดระยอง ประกอบด้วย
แนวเส้นทางที่ 1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด – นิคมอุตสาหกรรม IRPC
แนวเส้นทางที่ 2 แหลมเจริญ – สามแยกขนส่ง
แนวเส้นทางที่ 3 HSR อู่ตะเภา – ระยอง – บ้านเพ
แนวเส้นทางที่ 4 ระยอง – บ้านค่าย – EECi
แนวเส้นทางที่ 5 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด – นิคมพัฒนา – ปลวกแดง
แนวเส้นทางที่ 6 HSR อู่ตะเภา – ระยอง – EECi
โดย สนข. ได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 1นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC เป็นโครงการนำร่อง

ในส่วนของการลงทุนนั้น รัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และบริษัทเอกชน ตามความเหมาะสม โดยในเบื้องต้นรูปแบบของรถโดยสารจะเป็นรถโดยสารไฟฟ้า EV BUS รถโดยสารขนาดเล็ก EV minibus และรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus



อนึ่ง ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ อยากให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยให้ขยายเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินอู่ตะเภาไปบ้านเพ/เกาะเสม็ด และเส้นทางสำหรับประชาชนจากเมืองระยองไปตลาดตะพง มีการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือสัตหีบ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของ EEC รวมทั้ง ให้พิจารณาแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ประกอบการ/สหกรณ์เดินรถโดยสารประจำทางเดิมเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการเดินรถใหม่ เพิ่มเติมเส้นทางคมนาคมเพื่อขยายโครงข่าย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจรารจร และลดปัญหาคอขวด เช่น ก่อสร้างถนนเลี่ยงเมือง และอยากให้มีการขยายเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง 2 สถานีรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้เดินทางเป็นวงรอบได้ตลอดจนอยากให้พัฒนาสถานีศรีราชาให้เป็น intermodal สำคัญของนักธุรกิจ และนักลงทุนในการเดินทางไปนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือแหลมฉบัง ในส่วนของผู้แทนผู้ประกอบการเดินรถ ต้องการให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับสถานีรถไฟความเร็วสูง และให้จัดเตรียมพื้นที่จอดรถและสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้ง ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อสุขอนามัยของประชาชน

ทั้งนี้ อยากให้ผลการศึกษาดังกล่าว ต้องเชื่อมโยงเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อสนับสนุนการเดินทาง การพัฒนาอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว และให้รัฐสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดขึ้นได้จริง โดย สนข. จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ และ สนข. จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/971529326618880


🛣️สนข. จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Otpthailand
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พศ. 2563 เวลา 18:05 น.

https://www.facebook.com/otpthailand.mot/posts/3052430798205852
เอกสารดาวน์โหลดงานสัมมนาครั้งที่ 2
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3196697283710528&set=a.2224340790946187&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/07/2020 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19
เนชั่น 15 ก.ค. 2563

Click on the image for full size

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เปิดงานนิทรรศการและการเสวนา "MOT 2020 Move On Together คมนาคมเคียงข้างคนไทย ฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19"

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและการเสวนาสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี และส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านการคมนาคมขนส่งและความปลอดภัย ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1 ภายใต้ชื่อ "MOT 2020 Move On Together คมนาคมเคียงข้างคนไทย ฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19" และกล่าวเปิดงาน "คมนาคมภูมิใจ รวมไทยสร้างชาติ" ในวันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.30 น. ณ ห้องแอทธินี คริสตัล ฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทลแบงค็อก กรุงเทพฯ โดยมี นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน

Click on the image for full size

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น รัฐบาลทำงานอย่างเต็มที่เพื่อเร่งหามาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบและฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจซึ่งหดตัวลงให้กลับมาขยายตัวเป็นบวกขึ้น แต่ในขณะเดียวกันยังคงมาตรการป้องกันและการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) ไว้เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้กับประชาชน ซึ่งกระทรวงคมนาคมเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการเดินหน้าทางเศรษฐกิจ กระทรวงคมนาคมประกอบด้วย 4 มิติ คือ หน่วยงานทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง ซึ่งตั้งแต่ที่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ยึดหลักบริหารงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการไว้มาโดยตลอด พร้อมกับการผสมผสานเพิ่มเติมนโยบายที่เน้นสนองตอบความต้องการของประชาชนภายใต้สถานการณ์สังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

Click on the image for full size

ในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางบก ได้เร่งรัดการพัฒนาทำให้เกิดการเชื่อมโยงความเจริญสู่หมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้สามารถสัญจรได้สะดวก โดยมีแผนการดำเนินการทั้งประเทศภายใต้งบประมาณกว่า 40,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมถนนของกรมทางหลวงชนบทเข้าสู่ถนนสายหลักของกรมทางหลวง และเชื่อมโยงแต่ละจังหวัดทั่วประเทศเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งเร่งรัดโครงการขยายถนนพระรามที่ 2 ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 6 ช่วงบางปะอิน - นครราชสีมา เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าวโดยเร็วที่สุด และในอนาคตกระทรวงมีแผนที่จะพัฒนาโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองภายใต้กรอบแผนแม่บท MR-MAP (Motorways + Rails) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมในรูปแบบใหม่ที่จะเพิ่มความเชื่อมโยงภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน มีความปลอดภัยสูงขึ้น และลดภาระในการลงทุนของภาครัฐในระยะยาว

Click on the image for full size

นโยบายด้านระบบคมนาคมทางน้ำ ได้เร่งพัฒนาท่าเทียบเรือขนาดใหญ่และท่าเทียบเรือน้ำลึก รวมทั้งโครงการเชื่อมการเดินทางขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสร้างความเจริญให้กับประเทศ และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน กระทรวงยังมีวิสัยทัศน์ที่จะพลิกโฉมการขนส่งระบบรางของไทย เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ พัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในตัวเมือง ผลักดันและเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เชื่อมโยงกับ EEC ซึ่งการพัฒนาระบบรางจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ และเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ ในด้านการคมนาคมทางอากาศ ได้เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการของท่าอากาศยาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรด้านการบินและผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางและส่งเสริมการค้าการลงทุน ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานภูมิภาคทั่วประเทศ การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

Click on the image for full size

นอกจากการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมแล้ว กระทรวงคมนาคมยังคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทาง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา คิดค้นแท่งคอนกรีตหุ้มยางพารา (Rubber Fender Barrier : RFB) หรือกันชนยางที่นำไปครอบบนแบริเออร์คอนกรีตป้องกันความรุนแรงจากอุบัติเหตุ รถยนต์เสียหายเฉพาะด้านชน ไม่พลิกคว่ำ และไม่มีการเหินของรถเหมือนแบริเออร์คอนกรีตแบบเดิม รวมถึงสร้างความปลอดภัยจากแรงปะทะได้เมื่อใช้ความเร็วรถ 120 กม./ชม. และได้คิดค้นเสาหลักนำทางจากยางพาราธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) โดยใช้น้ำยางพาราข้น 60% มีวิธีการผลิตไม่ซับซ้อน ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจากการที่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์เสียหลักไปชนเสานำทาง โครงการ RFB และ RGP นอกจากจะช่วยลดความรุนแรงและการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ยังช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกรสวนยาง เพราะจะรับซื้อน้ำยางพาราโดยตรงจากเกษตรกร ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ผลประโยชน์จะถึงมือเกษตรกรสวนยางกว่า 70% ในปีงบประมาณ 2563 - 2565 กระทรวงมีแผนที่จะใช้ปริมาณน้ำยางพาราสด จำนวน 1,007,951 ตัน โดยมีสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการผลิตทั่วประเทศทั้งสิ้น 62 แห่ง รวมสมาชิก 355,181 ราย เกษตรกรที่ได้ประโยชน์ 1,420,724 คน กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะรับฟังความเดือดร้อนและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบหลัง COVID-19 เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าดำเนินการอยู่บนมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการตรวจคัดกรองก่อนเข้าพื้นที่สถานีหรือเข้าใช้บริการ การเว้นระยะห่าง (Social Distancing) อย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง โดยที่ไม่เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการมากเกินไป และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่กระทรวงคมนาคมทำเพื่อให้พี่น้องประชาชนมีความสุขและปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง ทั้งนี้การขับเคลื่อนด้านคมนาคมจะเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน "คมนาคมภูมิใจ รวมไทยสร้างชาติ"

การจัดนิทรรศการและการเสวนาสร้างการรับรู้ฯ ในครั้งนี้ เป็นการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย การเสวนา หัวข้อ "คมนาคมเคียงข้างคนไทย ฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19" นำโดย นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม นำเสนอมุมมองในฐานะภาครัฐที่ช่วยผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เพื่อกระตุ้นจ้างงาน กระจายรายได้ ควบคู่ไปกับการปรับบริการระบบขนส่งสาธารณะสู่ "New Normal" เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางชีวอนามัย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำเสนอมุมมองของธุรกิจท่องเที่ยวที่ต้องปรับตัวรับเทรนด์การท่องเที่ยวยุคใหม่ รวมถึงข้อเสนอแนะหรือความต้องการของภาคการท่องเที่ยว นายอุดร คงคาเขตร ประธานคณะอนุกรรมการโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บอกเล่าถึงการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม และความคาดหวังที่มีต่อการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง นายอิศรินทร์ ภัทรมัย กรรมการบริหารสายงานการลงทุน บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นำเสนอแนวโน้มธุรกิจขนส่งสินค้าและบริการ ตลอดจนความคาดหวังที่มีต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคให้ถึงมือลูกค้า จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นอกจากนี้ ภายในงานได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานกระทรวงคมนาคมผ่านสื่อ Multimedia ที่ทันสมัยนำเสนอข้อมูลโครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง แผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและกระทรวง โครงการที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และส่งเสริมความรู้ด้านการคมนาคมขนส่งและความปลอดภัย

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2020 7:45 am    Post subject: Reply with quote

'ศักดิ์สยาม'สั่งรื้อแผนคมนาคม
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ปรับเส้นทางมอเตอร์เวย์ รวบสัญญาสายสีแดง

กรุงเทพธุรกิจ "ศักดิ์สยาม" สั่งสางปัญหา งานคมนาคม จ่อแถลงผลงาน 1 ส.ค.นี้ ลั่นมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำเตรียมเปลี่ยนแนวเส้นทางหากติดปัญหาเวนคืน พร้อมเร่งรื้อสัญญารถไฟสายสีแดง ศึกษาควบรวมพีพีพี

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปีนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทบทวนโครงการคมนาคมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว พร้อมสานต่อโครงการในอนาคต สำหรับโครงการก่อสร้างในปัจจุบัน อาทิ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) บางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ก่อนหน้านี้ติดปัญหาเวนคืนที่ดิน และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เร่งแก้ไข พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ทบทวนวงเงินเวนคืนที่ดิน จนทำให้สามารถเวนคืนที่และดำเนินการก่อสร้างได้ มั่นใจว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568

โครงการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) มอเตอร์เวย์สายบางปะอินนครราชสีมา 196 กิโลเมตร และสายบางใหญ่- กาญจนบุรี 96 กิโลเมตร ที่ได้ตัวเอกชน ผู้ชนะการประมูลแล้ว และเสนอผลให้ ครม.คาดว่าจะนำเข้าวาระพิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งโครงการนี้เอกชนเสนอต่ำกว่า ราคากลาง 36-37% โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีจีเอสอาร์ เสนอราคาต่ำสุด

นายศักดิ์สยามยังกล่าวอีกว่า โครงการที่กระทรวงจะเร่งรัดดำเนินการให้ต่อเนื่อง อาทิ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายนครปฐม-ชะอำ ถือเป็นโครงการก่อสร้างใหม่ ที่ปัจจุบันได้นำมาทบทวนปัญหาและอุปสรรค และพบว่า คงต้องทำความเข้าใจเรื่องเวนคืนที่ดินในพื้นที่ จ.เพชรบุรี หากสามารถทำความเข้าใจได้ก็สามารถเดินหน้านำเสนอ ครม.ได้ทันที แต่หากติดปัญหาก็อาจต้องทบทวน ปรับ รูปแบบเลี่ยงเส้นทาง และต้องไปศึกษา ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ซึ่งอาจจะทำให้ล่าช้าออกไป

ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางรางที่รัฐบาลผลักดันให้เป็นระบบขนส่งหลักในอนาคต ปัจจุบันโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ส่วนโครงการรถไฟฟ้า ปัจจุบันอยู่ระหว่างประกาศขายเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ขณะที่ความคืบหน้าของรถไฟชานเมืองสายสีแดง คาดว่าจะเลื่อนเปิดให้บริการออกไปเป็นปี 2566 เนื่องจากเอกชนคู่สัญญาได้ขอขยายสัญญา 500 วัน

"สายสีแดงขณะนี้การก่อสร้าง 70-80% มีติดปัญหาเรื่องสถานีกลางบางซื่อ ที่เดิมจะให้แอร์พอร์ตลิงก์มาบริหาร แต่จากสถานการณ์งบประมาณ จึงศึกษารูปแบบลงทุนก่อสร้าง การจัดขบวนรถไฟ สถานีต่างๆ ใหม่"

เบื้องต้นจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการภาครัฐ (พีพีพี) เพื่อแบ่งเบาการจัดใช้งบประมาณภาครัฐ ซึ่งจะรวม การใช้พีพีพีในส่วนของสถานีทั้ง 29 สถานี แบ่งเป็น 28 สถานีย่อย และ 1 สถานีหลัก คือสถานีกลางบางซื่อ โดยเฉพาะเรื่องสถานีกลางที่ต้องเอาไปร่วมบริหาร เพราะผลการศึกษาพบว่าในช่วง 7 ปีแรก หากแยกสัญญาบริหารสถานีจะขาดทุน จากปัญหาความล่าช้าของสถานีกลางบางซื่อจะ ส่งผลให้กำหนดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสาย สีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ล่าช้าออกไปเป็นปี 2566 จากแผนเดิมจะเปิดให้เดือน ม.ค.2564

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระบุว่า ความล่าช้าเกิดจากสัญญาที่ 1 ติดปัญหารื้อย้ายสาธารณูปโภค ขับไล่ผู้บุกรุก รวมถึงผลกระทบจากโควิด-19 ที่ทำให้ซัพพลายเออร์จากญี่ปุ่นมาไทยไม่ได้กระทบมายังงานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ทำให้เอกชนคู่สัญญา คือ กิจการร่วมค้ามิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-สุมิโตโม ยื่นขอขยายเวลา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2020 7:50 am    Post subject: Reply with quote

ตามไปดูผลงาน 1 ปี "ศักดิ์สยาม"
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าวันที่ 1-2 ส.ค.นี้ กระทรวงจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ของหน่วยงานในสังกัด เพื่อสรุปผลการดำเนินงานครบรอบ 1 ปี ซึ่งการ Work Shop จะครอบคลุมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางราง ทางอากาศ โดยจะมีสรุปผลการดำเนินการให้ชัดเจนว่า 1 ปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรไปบ้าง เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนงานในปีงบประมาณ 2564 ต่อไป ยืนยันว่าจะร่วมทำงานกับ รมช.คมนาคมทั้ง 2 คนตามสโลแกน "คมนาคมยูไนเต็ด" โดยไม่มีความขัดแย้ง

สำหรับผลงานเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา อาทิ การลดค่าใช้จ่ายการเดินทางให้กับประชาชน อาทิ ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่, การนำยางพารามาเป็นวัสดุหลัก เพื่อผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (RFB) การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณทางหลวงพิเศษหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2), การวางแผนรองรับการจราจรในการก่อสร้าง 2 โครงการใหญ่บนถนนเส้นดังกล่าว เช่น โครงการก่อสร้างทางยกระดับพระราม 2 สายธนบุรีปากท่อ ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัยของกรมทางหลวง (ทล.)และการฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และเร่งพัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อกระจายความเจริญในทุกภูมิภาค อาทิ การเชื่อมต่อการคมนาคมในเส้นทางภาคใต้

"การทำงานจากนี้ไปจะครอบคลุมทางบก ทางน้ำ ทางราง ทางอากาศ เช่น เร่งรัดโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และสายบางปะอิน-นครราชสีมา โดยเรื่องความคืบหน้าของการดำเนินงานและบำรุงรักษาของมอเตอร์เวย์ 2 สายนี้จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาสัปดาห์หน้า

นายเอนก ธีระวิวัฒน์ชัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวหลังการต้อนรับรถไฟฟ้าขนส่งอัตโนมัติ (APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ รุ่น Airval ที่บริเวณปล่องอุโมงค์ด้านทิศใต้ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคารแซตเติลไลต์ 1 (SAT 1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ว่า ในลอตแรกบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ผู้ผลิตส่งมาก่อน 1 ขบวน 2 ตู้ และทยอยส่งมาเฉลี่ยเดือนละ 1 ขบวน จนครบ 6 ขบวน 12 ตู้ ในเดือน พ.ย.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2020 10:05 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ศักดิ์สยาม'สั่งรื้อแผนคมนาคม
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

บูมศก.ใต้เล็งถมทะเลผุดท่าเรือใหม่ฝั่งอันดามัน-อ่าวไทย “ศักดิ์สยาม”สั่งลุยแลนด์บริดจ์เชื่อม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 19:22

“ศักดิ์สยาม” วางผังปี 64 เร่งศึกษาโครงข่ายคมนาคมพัฒนาโลจิสติกส์ภาคใต้ ผุดท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ผุด2 โมเดล พัฒนาท่าเรือเก่า หรือถมทะเลสร้างท่าเรือใหม่ ดันรถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์ แลนด์บริด์เชื่อม “ชุมพร-ระนอง”

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน“MOT 2020 Move On Together คมนาคมเคียงข้างคนไทย ฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19” ว่า การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทั้ง 4 มิติ ทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศนั้น มีแผนงานครอบคลุมทั่วประเทศ โดยในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ จะมีการศึกษาเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึก ระดับความลึกที่ 15 เมตร เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย (จ.ชุมพร-จ.ระนอง ) ซึ่งได้วาง 2 รูปแบบคือ พัฒนาท่าเรือเดิมที่มีหรือสร้างท่าเรือใหม่ ซึ่งอาจจะถมทะเล ซึ่งทั่วโลกทำ เช่น สิงคโปร์ มาเก๊า โดยจะประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และแก้ปัญหาผลกระทบประชาชน ดังนั้นจะต้องตัดสินใจ เรื่องการอนุรักษ์และบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่หากเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะทำให้เสียโอกาส ซึ่งแม้ตนจะไม่ใช่คนภาคใต้ แต่ก็อยากเห็นภาคใต้เจริญ

โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) จะศึกษาส่วนของท่าเรือน้ำลึก รวมไปถึงเรื่องรูปแบบการลงทุนกับเอกชน( PPP) โดยศึกษาในปี 2564 ใช้เงินจากงบกลาง วงเงิน 75 ล้านบาท คาดว่าจะมีความชัดเจนในการลงทุน
นอกจากนี้จะมีโครงการ แลนด์บริดจ์ทั้งมอเตอร์เวย์ โดยกรมทางหลวง (ทล.) ใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ศึกษา และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ศึกษา รถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทางชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กม. เพื่อเชื่อมท่าเรือจากฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันไปยังพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งจะได้ข้อสรุปในปี 2565 และนำเสนอนายกฯ ต่อไป

“จะมีคำถามว่า ทำไมถึงไม่ทำคลองคอดกระ เรื่องนี้เพราะปัญหาระดับน้ำ ทะเลอันดามันและอ่าวไทย ไม่เท่ากัน ทำให้ต้องสร้างสถานีสำหรับปรับระดับน้ำ ซึ่งใช้งบประมาณจำนวนมาก และเสียเวลามากกว่า รูปแบบการทำท่าเรือ และแลนด์บริดจ์มอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่เชื่อม ซึ่งจะไม่ตอบโจทย์การประหยัดเวลาและงบประมาณในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ทางน้ำ”

สำหรับในปี 2563 กระทรวงคมนาคม ขับเคลื่อนงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี ซึ่งพบปัญหาอุปสรรค เช่น การเวนคืนโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) โดยปรับเพิ่มค่าเวนคืนให้สอดคล้องกับราคาปัจจุบัน ทำให้สามารถก่อสร้างและมีเป้าหมายเปิดให้บริการได้ตามแผนงาน รวมถึงมอเตอร์เวย์สาย บางปะอิน-นครราชสีมา (M6) ซึ่งขณะนี้ได้เสนอผลการประมูล โครงการร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา ( O&M) ทั้ง 2 สายไปยังคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้วคาดว่าจะพิจารณาในสัปดาห์หน้า ซึ่งเอกชนขอรับผลตอบแทนต่ำกว่าราคากลางถึง 36-37% เป็นประโยชน์กับรัฐอย่างมาก

ส่วนมอเตอร์เวย์สายใหม่ “นครปฐม-ชะอำ มูลค่า 79,006 ล้านบาท ลงทุนแบบ PPP Net Cosอยู่ระหว่าง ทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องเวนคืน บริเวณ จ.เพชรบุรีหากทำความเข้าใจได้จะเร่งเสนอครม. แต่หากยับติดขัดอาจต้องทบทวนรูปแบบปรับแนวเพื่อเลี่ยงจุดที่มีปัญหา แต่จะกระทบต่อการศึกษา PPP และ EIA ที่ทำให้โครงการยิ่งล่าช้าออกไป

สำหรับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน กำลังแก้ปัญหาEIA แบบก่อสร้างสถานีอยุธยาโดยทำความเข้าใจกับกรมศิลปากร กรณีไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสถาปัตยกรรม

ส่วนรถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 ( การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ได้บรรลุข้อตกลงกับจีนแล้ว อยู่ระหว่างการแปลเอกสารสัญญาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและส่งให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายไทย และจะลงนามสัญญาในเดือนต.ค.นี้ ที่ประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ส่วนโครงการในอีอีซี เช่นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การส่งมอบพื้นที่เป็นไปตามแผนและเปิดให้บริการได้ในปี 2568 ตามแผนงาน รวมถึงเมืองการบินอู่ตะเภา ซึ่งจะมีการต่อขยายมอเตอร์เวย์สาย 7ไปถึงอู่ตะเภา ระยะทาง 7 กม. โดยใช้งบจากอีอีซี และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 คาดว่าจะเสนอผลประมูลต่อคณะกรรมการอีอีซี ภายในเดือนก.ค.นี้ จะสร้างความเชื่อมั่น นักลงทุนประเทศต่างๆ และคนไทยได้

"คมนาคม" ลุย ระบบขนส่ง 4มิติ" บก-ราง-น้ำ-อากาศ"
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
เผยแพร่: วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16:55 น.

"คมนาคม" ลุยพัฒนาระบบขนส่ง 4 มิติ เดินหน้าโอแอนด์เอ็มมอเตอร์เวย์ 2 สาย ชงครม.สัปดาห์หน้า ด้านรถไฟไทย-จีน รอเซ็นสัญญาต.ค.นี้ ยันยันกรณีทหารอียิปต์ติดโควิด-19 เชื่อสื่อสารคลาดเคลื่อนเชิงปฏิบัติ


นายศักดิ์​สยาม​ ชิด​ชอบ​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​คมนาคม​ เปิดเผยระหว่างการเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ​และเสวนา MOT 2020 Move On Together คมนาคมเคียงข้างคนไทย ฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจ​หลัง โควิด-19 ว่า ในส่วนของการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางบกได้เร่งรัดการพัฒนาทำให้เกิดการเชื่อมโยงความเจริญสู่หมู่บ้านชุมชนเพื่อให้สามารถสัญจรได้สะดวกโดยมีแผนการดำเนินการทางประเทศภายใต้งบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาท เพื่อเชื่อมถนนของกรมทางหลวงชนบทเข้าสู่ถนนสายหลักของกรมทางหลวงและเชื่อมโยงแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ



ขณะที่ นโยบายด้านระบบคมนาคมทางน้ำได้เร่งพัฒนาท่าเทียบเรือขนาด และท่าเทียบเรือน้ำลึกรวมทั้งโครงการร่วมการเดินทางขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามันโดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสร้างความเจริญให้กับประเทศและทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน



นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนการคมนาคมทางอากาศและเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการของท่าอากาศยานควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรด้านการบินและผักต่างประเทศไทยให้เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากลเพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางและการส่งเสริมการค้าการลงทุนได้แก่โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 3 โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานภูมิภาคทั่วประเทศ​ การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก



"กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะรับฟังความเดือดร้อนและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบหลังโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าดำเนินการอยู่บนมาตรฐานของกระทรวง สาธารณสุขอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องโดยที่ไม่เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการมากเกินไป ทั้งนี้ เชื่อว่าการขับเคลื่อนด้านคมนาคมจะเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน" นายศักดิ์สยามกล่าว

สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา M6 ระยะทาง 196 กิโลเมตร (กม.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีจีเอสอาร์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการดังกล่าว เข้ามาดำเนินงานและการบำรุงรักษาต่อไป คาดว่าจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งรัฐจะได้ประโยชน์มาก เนื่องจากกลุ่มกิจการร่วมค้าบีจีเอสอาร์เสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง ราว 36-37% หรือวงเงิน 21,329 ล้านบาท จากราคากลาง 33,258 ล้านบาท ขณะที่สายบางใหญ่-กาญจนบุรี M9 ระยะทาง 96 กม. ได้มีการดำเนินการแก้ไขแล้วภายหลังจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)เห็นชอบให้มีการปรับงบประมาณค่าเวนคืนที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับราคาที่ดินในปัจจุบัน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2565-2566

ด้านความคืบหน้ารถไฟไทย-จีน ขณะนี้ได้มีการหารือกับทางรัฐบาลจีน ซึ่งได้ข้อสรุปแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งร่างสัญญาในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบดำเนินการตามกฎหมาย คาดว่าจะลงนามเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนต.ค. 2563 ตามแผน


นายศักดิ์สยาม​ กล่าวว่า แผนฟื้นฟูขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมหารือถึงข้อสรุปของแผนดังกล่าว โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ทั้งนี้คาดว่าจะได้ข้อยุติแผนฟื้นฟูขสมก.และจะนำเสนอต่อ ครม.พิจารณาเห็นชอบ ภายในต้นเดือนส.ค.นี้

สำหรับแผนฟื้นฟูฯที่ได้มีการเสนอก่อนหน้านี้ จะใช้วิธีจัดหารถให้บริการ โดยการจ้างเอกชนมาวิ่งรถตามระยะทาง ซึ่งเอกชนจะต้องหารถปรับอากาศ พนักงาน เชื้อเพลิง และที่จอดรถทั้งหมด โดยเป็นการรับจ้างวิ่ง ขณะเดียวกันในส่วนการจองเส้นทางเดินรถให้บริการ ส่วนการกำหนดอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 30 บาทตลอดวัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีผู้โดยสารมาใช้บริการวันละ 2 ล้านคน ทำให้ ขสมก.มีรายได้เฉลี่ยต่อวันที่ 60 ล้านบาท โดยคุ้มค่าต่อการให้บริการและในแผนกำหนดว่าภายใน 7 ปี หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแผนฟื้นฟูฯ ที่คาดว่าจะมีการเสนอภายในเดือนสิงหาคมนี้ หากครม.อนุมัติแล้ว คาดว่าผลกำไรจากการดำเนินงาน หรือ EBITDA จะเป็นบวกในปี 2572


นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า กรณีทหารอียิปต์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทรวงคมนาคมยืนยันโดยยึดมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อยู่แล้วขณะเดียวกันทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ได้เข้าไปควบคุมพื้นที่เสี่ยงทั้งหมดแล้ว



"ส่วนเงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานทำการบินเข้าออกประเทศไทย (ฉบับที่ 2) 11 กลุ่ม ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือ กพท. จะดำเนินการแก้ไขหรือไม่นั้น มองว่า เป็นความคลาดเคลื่อนในทางปฏิบัติซึ่งเราจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรและจะดำเนินการโดยใช้มาตรฐานสาธารณสุขเป็นเกณฑ์และต้องเอาเคสดังกล่าวมาเป็นบทเรียน ทบทวนและดำเนินการตามมาตรการของสาธารณสุขเพื่อป้องกันการเกิดการแพร่รระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกครั้ง"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2020 9:53 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ปลุกลงทุนฟื้นเศรษฐกิจไทย “เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย”
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 - 18:24 น.

“ศักดิ์สยาม” เปิดแผนลงทุนคมนาคม รีวิววิสัยทัศน์ครบทั้ง บก-ราง-น้ำ-อากาศ ปั้น “ทางคู่-ไฮสปีดเทรน-MR-MAP” สั่งศึกษาท่าเรือน้ำลึกเชื่อมอ่าวไทย-อันดามันและแลนด์บริดจ์ “ขนานทางคู่สายใต้” รับโปรเจ็กต์อากาศสะดุดเพราะ “บินไทย” เชื่อได้อู่ตะเภาศักยภาพรับผู้โดยสารกระฉูดเป็น 180 ล้านน/ปี ยัน 3 รมต.ยูไนเต็ดพร้อมสานต่อฟื้นเศรษฐกิจไทย

วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ที่โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดงาน “คมนาคมภูมิใจ รวมไทยสร้างชาติ” ว่า การดำเนินการลงทุนคมนาคมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ บก ราง น้ำ อากาศ เป็นการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีวางแผนไว้ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วทำไว้ แต่มีการพยายามแก้ไขในสิ่งที่ทำไว้เดิมแต่ติดปัญหาอุปสรรค เพราะหลายโครงการทำผลการศึกษาไว้นานแล้ว ซึ่งการดำเนินการใหม่นี้อาจจะไม่ได้เดินตามแผนศึกษาเดิมทั้งหมด

ในส่วนงานด้านการขนส่งทางบก ที่ผ่านมาเจอปัญหาเรื่องการเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่ – กาญจนบุรี และการก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางปะอิน – นครราชสีมา ซึ่งทั้ง 2 โครงการได้ดำเนินการตามเป้าหมายเรียบร้อยและจะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนแน่นอน ทั้งด้านการเดินทางและการขนส่งสินค้า อีกเรื่องที่ให้ความสำคัญคือ การเชื่อต่อการเดินทางลงไปในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นแผนที่นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เตรียมเอาไว้แล้ว



มุ่งทางคู่-ไฮสปีด-MR-MAP
ด้านทางราง เป็นเรื่องที่ท้าทาย ปัจจุบันมีรถไฟ 2 ระบบ คือ 1. ระบบรถไฟทางไกล ซึ่งเป็นกระดูกและเส้นเลือดให้กับประเทศไทยมายาวนานกว่า 100 ปี ขั้นตอนต่อไปจะต้องพัฒนาระบบรางให้เป็น”ทางคู่” เมื่อเป็นทางคู่ก็จะมีการพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงในลำดับถัดไป

แต่ทุกสายทางจะต้องเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค และทำให้ระบบรางของประเทศเรามีประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าและให้บริการเดินทางกับประชาชน มีโครงกาสำคัญ เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เชื่อมกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตอนนี้กระบวนการเป็นไปตามขั้นตอนและโรดแมปที่วางไว้


ส่วนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่หลังจากสถานการณ์คลี่คลายมากขึ้น ก็ได้หากำหนดวันนัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ได้แล้ว และเมื่อการประชุมเสร็จสิ้นคาดว่าจะมีการลงนามในสัญญา 2.3 การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ได้ในเดือน ต.ค.นี้

ขณะที่การพัฒนาระบบรางรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลและตามภูมิภาคอื่นทั่วประเทศ ต้องยกเครดิตให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตนยอมรับว่าที่ผ่านมามีผลกระทบกับการใช้ชีวิตของประชาชนบ้าง แต่ถ้าโครงการต่างๆเริ่มแล้วเสร็จ คาดว่าประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดแน่นอน

“เมื่อมีการพัฒนาระบบรางแล้ว ก็เห็นว่าควรจะมีการพัฒนาระบบมอเตอร์เวย์ให้บูรณาการร่วมกันไปด้วย หรือชื่อเรียกว่า MR-MAP โดยได้นำเรียนให้นายกรัฐมนตรีรับทราบถึงแผนงานดังกล่าวแล้ว โดยรวมมีระยะทางประมาณ 6,000 กม. แบ่ง 8 เส้นทาง เป็นเส้นทางเชื่อมเหนือ-ใต้ของประเทศ 3 เส้นทางและเส้นทางที่เชื่อมฝั่งตะวันออก-ตะวันตกอีก 5 เส้นทาง ซึ่งจะมีการศึกษาเพื่อจัดทำ Master Plan โดยกรมทางหลวง (ทล.) จะใช้งบจากกองทุนมอเตอร์เวย์มาใช้ในการศึกษาทำแผนแม่บทดังกล่าว คาดว่าจะดำเนินการในปี 2564 นี้”



นายกฯเคาะงบกลาง 75 ล้าน ผุดท่าเรือน้ำลึก
ขณะที่การพัฒนาการขนส่งทางน้ำ นอกจากแผนพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F วงเงินลงทุน 84,391 ล้านบาท ที่จะสรุปผลการเจรจาการจ่ายผลตอบแทนให้รัฐในเดือน ส.ค.นี้ ก็มีแผนเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางน้ำในพื้นที่ภาคใต้ โดยการเชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึกระหว่างอ่าวไทย – อันดามัน โดยจะพัฒนาเป็นท่าเรือระบบอัตโนมัติ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รับอนุมัติงบกลางจำนวน 75 ล้านบาท เพื่อทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการแล้ว

และจะมีการศึกษารถไฟทางคู่ ชุมพร-ระนอง (แลนด์บริดจ์) ระยะทาง 123 กม. โดยนายกฯปรารภให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทำเรื่องขึ้นมาเสนอขอใช้งบกลางในการศึกษาความเป็นไปได้โครงการดังกล่าว

“สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้เห็นในชั่วชีวิตของผม แต่ถ้าวันนี้ไม่คิดไม่เริ่มต้นในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ จะเสียโอกาสอย่างมาก ในอดีตเราเคยเป็นเสือตัวที่ 5 แห่งทวีปเอเชีย แต่หลายสิ่งหลายอย่างทำให้เราหยุดอยู่กับที่ วันนี้เราจะออกวิ่งแล้ว ไม่ใช่แค่เดินหน้า” นายศักดิ์สยามกล่าวและว่า

ยันไม่ปล่อย “การบินไทย”
ส่วนการขนส่งทางอากาศ เราสะดุดในเรื่องแผนฟื้นฟูบมจ.การบินไทย แต่เชื่อว่า เมื่อฟื้นฟูแล้วการบินไทยจะกลับมาเข้มแข็งและดีกว่าเดิม แม้การบินไทยจะไม่อยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคมแล้ว แต่ทั้งตนและนายถาวรในฐานะเคยกำกับดูแลการบินไทย พร้อมจะติดตามและพัฒนาศักยภาพของการบินไทยต่อไป

ขณะที่การพัฒนาศักยภาพของสนามบินทั้งสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ของบมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) และสนามบินภูมิภาคของกรมท่าอากาศยาน (ทย.)ก็มีการวางแผนพัฒนาไว้แล้ว และในอนาคตจะมีสนามบินอู่ตะเภาเพิ่มมาอีก คาดว่าจะมีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้เป็น 180 ล้านคน/ปี

ย้ำหมุดสานงานต่อฟื้นเศรษฐกิจไทย
“วันนี้ถือเป็นการทบทวนและตรวจสอบการทำงานตลอดเวลาที่ผ่านมา ทั้งตน และ 2 รัฐมนตรีช่วย นายถาวร และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐในฐานะฝ่ายการเมือง ขอยืนัยันว่าจะพัฒนาเคียงข้างคนไทย เป็นฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ในโอกาสนี้ขอให้เชื่อใจทั้งฝ่ายการเมืองและพี่น้องข้าราชการกระทรวงคมนาคมที่จะดำเนินการทุกอย่างให้เป็นไปตามแผนต่อไป ”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/07/2020 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม' สปีดลงทุนครึ่งปีหลัง ลุยประมูล 'เมกะโปรเจ็กต์' 1 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Click on the image for full size

วันที่ 30 ก.ค.นี้ จะครบ 1 ปีที่"ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" สังกัดพรรคภูมิใจไทย นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมลุยงานบก ราง น้ำ อากาศ ในบัญชีร่วม 2 ล้านล้านบาท แม้จะมี 2 รัฐมนตรีช่วยต่างพรรค "ถาวร เสนเนียม" จากประชาธิปัตย์ และ "อธิรัฐ รัตนเศรษฐ" จากพลังประชารัฐมาช่วยงาน แต่เป็นที่รับรู้ในวงข้าราชการ งานทุกอย่างต้องผ่านการสแกนจาก เจ้ากระทรวงแต่เพียงผู้เดียว

ผลงาน 1 ปีคมนาคม

ตลอด 1 ปีนอกจากจะพยายามผลักดัน นโยบายซิ่ง 120 กม./ชั่วโมง ยกเลิกไม้กั้น บนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ ผลิตแบริเออร์ ยางพารา แกร็บถูกกฎหมาย แต่ก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง

เช่นเดียวกับการลงทุนโครงการใหญ่ ส่วนใหญ่สางปมเก่า เร่งเคลียร์ดีลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ปิดมหากาพย์ ต่อสัญญาสัมปทานทางด่วนกับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) อีก 15 ปี 8 เดือน แลกยุติข้อพิพาท 58,873 ล้านบาท ทะลวงค่าเวนคืนที่ดินมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี รีสตาร์ตงานก่อสร้างหลังติดหล่มปมค่าที่ดินแพง 2 ปี เร่งงานก่อสร้างบนถนนพระราม 2 เพื่อแก้ปัญหารถติด

ขณะที่โครงการใหม่ดูเหมือนจะ "รื้อ-ทบทวน" มากกว่าเดินหน้าทันที ไม่ว่ารถไฟฟ้าสายสีส้มให้แยกประมูลหลายสัญญา จัดซื้อรถเมล์ใหม่ การเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จะจัดแพ็กเกจใหญ่ให้เอกชนลงทุนแสนล้านบาทสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง แลกสัมปทานเดินรถและบริหารพื้นที่สถานีทั้งโครงการ รวมถึงสถานีไข่แดง "สถานีกลางบางซื่อ"

แต่พลันที่การเมืองเปลี่ยนทิศ ยกเครื่อง ทีมเศรษฐกิจ-ปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ "ศักดิ์สยาม" คงยังยืนหนึ่งคมนาคม ส่วน "ถาวร-อธิรัฐ" ต้องลุ้นจะฝ่าแรงกระเพื่อมการเมืองได้หรือไม่

โด๊ปลงทุนครึ่งปีหลัง

ฟาก "ศักดิ์สยาม" ออกมา ตอกหมุดดับกระแสร้อน "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา"นายกรัฐมนตรี ยืนยันจะไม่มีปรับคณะรัฐมนตรีในส่วนของกระทรวงคมนาคม ทุกโครงการจึงเดินหน้าไปได้และเร็ว ครึ่งปีหลังนี้จะเห็นการขับเคลื่อนเมกะโปรเจ็กต์หลายโครงการ เพื่อให้ประเทศไทยกลับมาเป็นเสือตัวที่ 5 แห่งเอเชียอีกครั้ง

"ศักดิ์สยาม" ฉายภาพการลงทุน 4 มิติในครึ่งปีหลัง นอกจากเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ 197,149.69 ล้านบาทให้ได้ตามเป้า ในวันที่ 21 ก.ค.นี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะอนุมัติผลการคัดเลือกเอกชนโครงการติดตั้งและบริหาร ระบบเก็บเงิน (O&M) มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่กาญจนบุรี รูปแบบ PPP gross cost 30 ปี วงเงิน 39,138 ล้านบาท โดยเอกชนที่ได้รับคัดเลือกคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า BGSR มี บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ราชกรุ๊ป

โครงการใหม่จะเร่งประมูล PPP มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 119 กม. วงเงิน 79,006 ล้านบาทมาเชื่อมกับมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรีจะเปิดในปี 2566 กรมทางหลวง (ทล.) กำลังสรุปปัญหาเวนคืนและทำความเข้าใจกับชาวบ้าน จ.เพชรบุรี เมื่อยุติจะเสนอ ครม.อนุมัติ หากยังค้านอาจจะเปลี่ยนแนวใหม่ และเร่งต่อขยายมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-พัทยา-มาบตาพุด เชื่อมสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 7 กม.

"สราวุธ ทรงศิวิไล" อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า การเบิกจ่ายงบประมาณ 2563 จำนวน 105,824 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 50,000 ล้านบาท หรือ 50% เซ็นสัญญางานก่อสร้าง 1 ปีครบแล้ว เหลืองานใหญ่ 115 โครงการ จะเร่งให้เสร็จเดือน ส.ค.นี้ เริ่มเบิกจ่ายเงินงวดแรก 15% วงเงิน 12,000 ล้านบาท จะผลักดันมอเตอร์เวย์นครปฐมชะอำ และบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ให้เริ่มต้น PPP ปีนี้

ปิดจ็อบเซ็นสัญญารถไฟไทย-จีน

งานระบบราง "ศักดิ์สยาม" แจกแจงว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีนช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท งานโยธาติดปัญหา EIA ช่วงสถานี อยุธยา เพราะต้องอนุรักษ์สถานี รถไฟเดิมกำลังหารือกับกรมศิลปากรสรุปรูปแบบก่อสร้าง

ส่วนสัญญา 2.3 งานวางราง ระบบการเดินรถ อาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ วงเงิน 50,633 ล้านบาท คาดว่าในเดือน ต.ค.นี้ จะเซ็นสัญญากับฝ่ายจีนที่ประเทศไทย มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังเดินหน้า ตามแผน จะสร้างเสร็จในปี 2568

ประมูลสีส้ม-สีม่วงใต้ปีนี้

สำหรับรถไฟฟ้าสารพัดสี "ศักดิ์สยาม" ลิสต์ชื่อจะประมูลปีนี้ มีสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ขายซอง TOR ถึงวันที่ 24 ก.ค.นี้ และสายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ขณะที่สายสีแดงงานก่อสร้างคืบหน้า 70-80% ติดปัญหาสัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างราง ระบบไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ ระบบติดต่อสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร มูลค่า 32,399 ล้านบาท ที่ช้าจากแผนและผู้รับเหมาขอยืดเวลา 500 วัน ทำให้เลื่อนเปิดบริการจาก ปี 2564 เป็นปี 2566

"สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปให้รถไฟศึกษาเป็น PPP แทนให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้เดินรถ โดยเปิดประมูลสัญญาเดียว ทั้งก่อสร้างส่วนต่อขยาย งานระบบที่รถไฟลงทุนไปแล้ว งานโยธาที่เพิ่มขึ้นอีกหมื่นกว่าล้านบาท บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ 29 สถานี รวมถึงสถานีกลางบางซื่อ ลดภาระรัฐ เพราะจากผลศึกษาจะขาดทุน 7 ปีแรก" นายศักดิ์สยามกล่าวและว่า

ขณะที่ทางน้ำ เร่งปิดดีลท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท ที่กลุ่มกิจการร่วมค้า จีพีซี มี บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์, บจ.พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล (ปตท.) และ บจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จากจีน ได้สรุปการเจรจาผลตอบแทนเพิ่มให้รัฐแล้ว จะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) ในเดือน ก.ค. และเสนอ ครม.อนุมัติเดือน ส.ค.นี้

ลุยแลนด์บริดจ์บูมภาคใต้

นอกจากนี้จะศึกษาก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกภาคใต้เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน รองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้งบฯ 75 ล้านบาท ศึกษาความเป็นไปได้และรูปแบบ PPP จะเสร็จปี 2564 จะมีก่อสร้างรถไฟทางคู่ชุมพรระนองเชื่อม 2 ท่าเรือ ระยะทาง 123 กม. โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้งบฯศึกษาความเป็นไปได้แล้ว จะทำให้การเดินทาง สองฝั่งทะเลเหลือเพียง 1 ชม. จากเดิม 2 วันครึ่ง จะพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ในอนาคต

"จะพัฒนาท่าเรือระนองและชุมพร ให้เรือสินค้าขนาดใหญ่ผ่านได้ และหาพื้นที่ใหม่สร้างท่าเทียบเรือยื่นออกไปในทะเล เหมือนที่มาเก๊า และสิงคโปร์"

งานทางอากาศขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ไม่รู้ว่าอุตสาหกรรมการบินจะกลับมาปกติเมื่อไหร่ แต่การพัฒนาศักยภาพของสนามบินทั้งสนามบินหลักสุวรรณภูมิและดอนเมือง ของ บมจ. ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) และสนามบิน ภูมิภาคของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ยังเดินหน้าตามแผนพัฒนาที่วางไว้ และในอนาคตจะมีสนามบินอู่ตะเภา จะทำให้มีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้เป็น 180 ล้านคน/ปี

ขายไอเดีย อุโมงค์ทางด่วน

นอกจากนี้ หลังนายกรัฐมนตรีมี นโยบายให้แก้ปัญหาระบบขนส่งโลจิสติกส์ ทั้งประเทศ เพื่อแก้จราจรพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จึงมีแผนจะผลักดัน 2 โครงการสำคัญนั่นคือ อุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา จะนำร่องช่วง ถ.นราธิวาสราชนครินทร์-สำโรง ระยะทาง 8.7 กม. ค่าก่อสร้าง 84,300 ล้านบาท ร่วมศึกษารายละเอียดกับญี่ปุ่น

อีกโครงการคือบูรณาการรถไฟทางคู่ ร่วมกับมอเตอร์เวย์ หรือ MR-MAP ในปี 2564 จะศึกษารายละเอียดแนวทั้ง 8 เส้นทาง รวม 5,000 กม. แบ่งเป็นแนวเหนือ-ใต้ 3 เส้นทาง รวม 2,620 กม. ได้แก่ 1.เชียงราย-สงขลา ระยะทาง 1,660 กม. 2.หนองคายแหลมฉบัง ระยะทาง 490 กม. และ 3.บึงกาฬ-สุรินทร์ ระยะทาง 470 กม.

และแนวตะวันออก-ตะวันตก 6 เส้นทาง ระยะทาง 2,380 กม. ได้แก่ 1.ตาก-นครพนม ระยะทาง 710 กม. 2.กาญจนบุรี-อุบลราชธานี ระยะทาง 830 กม. 3.กาญจนบุรี-สระแก้ว ระยะทาง 310 กม. 4.กาญจนบุรี-ตราด ระยะทาง 220 กม. 5.ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 120 กม. และ 6.ภูเก็ตสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 190 กม.

ลุ้นงบฯฟื้นฟูโควิด-งบฯปี'64

แม้ขาหนึ่งจะลุยลงทุนต่อเนื่อง แต่จากเอฟเฟ็กต์โควิด-19 เขย่าเศรษฐกิจไทยให้ซึมลึก "ศักดิ์สยาม" ระบุว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) กำลังกลั่นกรองงบฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 400,000 ล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม มีโครงการที่กระทรวงคมนาคมเสนอไป 137,000 ล้านบาท จะพิจารณารอบที่ 2 เดือน ส.ค.นี้

"รอพิจารณา 2 โครงการ มี 90,000 ล้านบาท ก่อสร้างเส้นทางคมนาคม เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทาง การเกษตรและท่องเที่ยวภายในประเทศ อีก 40,000 ล้านบาท เป็นแผนใช้ ยางพาราผสมสร้างอุปกรณ์เสาหลักนำทางและแบริเออร์เพิ่มความปลอดภัยทางถนน"

ยังรอลุ้นงบประมาณ 2564 ที่ยื่นคำขอ 231,924.78 ล้านบาท แยกเป็นงบฯส่วนราชการ 193,554.31 ล้านบาท และงบฯส่วนรัฐวิสาหกิจ 38,370.47 ล้านบาท เป็นงบฯสำหรับเน้นการดำเนินการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ทางบก 186,359 ล้านบาท ทางราง 33,603 ล้านบาท ทางน้ำ 4,867 ล้านบาท ทางอากาศ 6,120 ล้านบาท

เร่งปลดหนี้รถไฟ-ขสมก.

ขณะเดียวกัน เร่งแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท. ที่แบกหนี้ 1.67 แสนล้านบาท สั่งการให้ "นิรุฒ มณีพันธ์" ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.คนใหม่ เร่งดำเนินการโดยเร็ว ส่วนแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มีภาระหนี้ 1.29 แสนล้านบาท คณะทำงานจะเร่งสรุปประเด็นคำถามต่าง ๆ ของกระทรวงการคลังเคลียร์หนี้ที่รัฐจะรับภาระให้ จะเสนอ ครม.อนุมัติต้นเดือน ส.ค.นี้

เนื่องจากแผนมีปรับใหม่จากมติ ครม.เดิม เปลี่ยนจากซื้อเป็นเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น NGV EV จำนวน 2,511 คัน จ้างเอกชนวิ่งตามระยะทาง ระยะเวลา 7 ปี จะรับมอบรถกลางปี 2564-2565 ยังมีปรับปรุงเส้นทางเดินรถใหม่ จาก 269 เส้นทาง เหลือ 108 เส้นทาง ลดความซับซ้อน เก็บอัตราค่าโดยสารเป็นตั๋ววัน 30 บาท นั่งได้ทุกสายทั้งวัน

หากเดินตามแผนใหม่จะทำให้ ขสมก.มีผลการดำเนินงาน เป็นบวกใน 7 ปี ต่างจากแผนเดิม 4 ปี เพราะกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ต่างกันจากเดิมใช้โครงสร้างคิดตามระยะทาง 15-20-25 บาท/คน/เที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2020 2:35 am    Post subject: Reply with quote

ทางสายใหม่ที่ปรากฏใน แผนพัฒนารถไฟทางคู่ พ.ศ 2560 - 2579

ตามแผนเร่งด่วน 2560 - 2564 ที่ ครม. อนุมัติแล้ว และ เคลียร์อีไอเอแล้ว
เด่นชัย - เชียงของ ระยะทาง 323 กม. มูลค่า 85,345 ล้านบาท
บ้านไผ่ - นครพนม ระยะทาง 355 กม. มูลค่า 67,965.33 ล้านบาท

ตามแผนเร่งด่วน 2560 - 2564 ที่ยังออกแบบรายละเอียดไม่เสร็จ
สุราษฎร์ธานี - ท่านุ่น 163 กม. มูลค่า 44,218.80 ล้านบาท

ระยะกลาง 2565 - 2569 ที่ยังออกแบบรายละเอียดไม่เสร็จ
นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - แม่สอด ระยะทาง 256 กม. มูลค่า 96,875 ล้านบาท

ระยะกลาง 2565 - 2569 กำลังศึกษาความเหมาะสม
กาญจนบุรี - บ้านภาชี ระยะทาง 221 กม. มูลค่า 41,771 ล้านบาท

ระยะกลาง 2565 - 2569 ผ่าน EIA
สงขลา - ปากบารา ระยะทาง 142 กม. มูลค่า 43,140 ล้านบาท แต่เพราะท่าเรือปากบาราไม่ได้เกิด ก็คงเกิดสายนี้ไม่ได้

ระยะกลาง 2565 - 2569
บ้านภาชี - นครหลวง ระยะทาง 23 กม. มูลค่า 3,050 ล้านบาท ลองดูว่าภัยแล้งจะทำให้ทางสายนี้ล่มหรือเปล่า


ส่วนแผนระยะยาว 2570 - 2579 ที่ศึกษาความเหมาะสม และ กำลังออกแบบรายละเอียด ที่ส่อแววจะเปลี่ยนลำดับเป็นระยะกลาง เพราะ EEC และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นเหตุ
มาบตาพุด - ระยอง - จันทบุรี - ตราด ระยะทาง 197 กม. มูลค่า 34,649 ล้านบาท

ส่วนแผนระยะยาว 2570 - 2579 ที่ออกแบบรายละเอียด อยู่
สุราษฏร์ธานี - ดอนสัก ตามทางหลวง 44 ระยะทาง 79 กม. มูลค่า 18,102 ล้านบาท

ส่วนแผนระยะยาว 2570 - 2579 ที่กำลังศึกษาความเหมาะสม และ
นครสวรรค์ - บ้านไผ่ ระยะทาง 291 กม. มูลค่า 47,712 ล้านบาท

ส่วนแผนระยะยาว 2570 - 2579 ที่ต้องทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสม เพราะ ท่าเรือปากบาราแท้งไปแล้ว
ชุมพร - ระนอง ระยะทาง 109 กม. มูลค่า 29,222.26 ล้านบาท

ส่วนแผนระยะยาว 2570 - 2579 ที่รองบประมาณปี 2564 เพื่อการศึกษาความเหมาะสม
ก่าญจนบุรี (ท่ากิเลน) - บ้านพุน้ำร้อน ระยะทาง 36 กม. มูลค่า 6,497 ล้านบาท
อุบลราชธานี (บุ่งหวาย) - ช่องเม็ก ระยะทาง 87 กม. มูลค่า 9,197 ล้านบาท
ทับปุด - กระบี่ ระยะทาง 68 กม. มูลค่า 15,223 ล้านบาท รอให้ทางไปท่านุ่นแจ้งเกิดก่อน

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/photos/a.434863640623919/464409474336002/?type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/07/2020 7:36 am    Post subject: Reply with quote

เช็ก 1 ปี "คมนาคม...ยูไนเต็ด"
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

"ศักดิ์สยาม" คุมเบ็ดเสร็จรื้อบิ๊กโปรเจกต์..งานค้างอื้อ เวิร์กชอปทบทวนปัญหา-ตั้งหลักใหม่ปี64

กระทรวงคมนาคม ที่มี "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เลขาพรรคภูมิใจไทยเป็น รัฐมนตรีว่าการฯ และมีรัฐมนตรีช่วยฯ "ถาวร เสนเนียม"พรรคประชาธิปัตย์ และ "อธิรัฐ รัตนเศรษฐ" จากพรรคพลังประชารัฐร่วมทีม เป็น "คมนาคม...ยูไนเต็ด" ต้องบอกว่าเมื่อกระทรวงเกรดเอ มีรัฐมนตรีจาก 3 พรรคร่วมนั่งกุมบังเหียน จึงถูก จับจ้องและตรวจสอบเป็นธรรมดา ...

เช็ก 1 ปี "คมนาคม...ยูไนเต็ด" "ศักดิ์สยาม"คุมเบ็ดเสร็จรื้อบิ๊กโปรเจกต์..งานค้างอื้อ เวิร์กชอปทบทวนปัญหา-ตั้งหลักใหม่ปี64

กระทรวงคมนาคม ที่มี "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เลขาพรรคภูมิใจไทยเป็นรัฐมนตรี ว่าการฯ และมีรัฐมนตรีช่วยฯ "ถาวร เสนเนียม" พรรคประชาธิปัตย์ และ "อธิรัฐ รัตนเศรษฐ" จากพรรคพลังประชารัฐ ร่วมทีม เป็น "คมนาคม.ยูไนเต็ด" ต้องบอกว่าเมื่อกระทรวงเกรดเอ มีรัฐมนตรีจาก 3 พรรคร่วมนั่งกุมบังเหียน จึงถูกจับจ้องและตรวจสอบเป็นธรรมดา ...

ศักดิ์สยามมอบนโยบายอย่างเป็นทางการเมื่อ 30 ก.ค. 2562 โดยคุม 13 หน่วยงาน

งานเต็มหน้าตัก...ทำให้ "ศักดิ์สยาม" มีข่าวออกสื่อได้ทุกวัน กับนโยบายสุดจี๊ด ทั้งปลดล็อกความเร็ว 120 กม./ชม. , Grab Taxi / Grab Bike ถูกกฎหมาย, เปลี่ยนรถตู้เป็นรถมินิบัส, มาตรการคุมรถบรรทุกวิ่งในเมือง เป็นต้น ที่หลายคนมองว่าสุดโต่งและทำให้เป็นจริง...ยาก

ถึงวันนี้หลายเรื่องยังไม่ไปถึงไหน เพราะต้องศึกษา บางเรื่องต้องปรับปรุงระเบียบ ข้อกฎหมาย บางเรื่องต้องชะลอออกไปเพราะกระทบต่อผู้ประกอบการ

แต่ที่ทำให้ "ศิษย์น้อง...ของอาจารย์เน...ถึงกับต้อง เบรกตัวโก่ง น่าจะเป็น ไอเดียสุดกระฉูด เรื่องติด GPS ในรถส่วนตัว เพราะหลังพูดออกไป ก็ถูกทัวร์ลง...ดรามาท่วมโซเซียลฯทันที !

นโยบายเร่งด่วนทำได้แล้ว "ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า"- แบริเออร์ยางพารา เพิ่มเงินเข้ากระเป๋าเกษตรกร

ระยะเวลา 1 ปี กับนโยบายครอบจักรวาล...มุ่งบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก สบาย ปลอดภัย ประหยัด ยกระดับคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาภาระค่าครองชีพ โดยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนภาครัฐมุ่งลดภาระงบประมาณในการลงทุน และภาระหนี้สิน โดยการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์เต็มประสิทธิภาพและทุก โครงการของกระทรวงคมนาคม ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้

ที่จับต้องได้ที่สุดคือ ลดค่าครองชีพโดยลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จาก 14-42 บาทเหลือ 14-20 บาท ตั้งแต่ 25 ธ.ค. 2562 ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ลดจาก 15-45 บาท เหลือ 15-25 บาท ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ประชาชนหันมาเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าเป้า

เชิญ "นายกฯ" คิกออฟ ส.ค.! ลุยซื้อยางพาราผลิต แบริเออร์-หลักนำทาง

อีกนโยบายคือ ซื้อตรงยางพาราจากชาวสวนยาง นำมาผลิตหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) และแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) หลังได้ทำ mou กับ ก.เกษตรฯ ไปเมื่อ 12 มิ.ย. 2563 จะเริ่มคิกออฟกันในเดือน ส.ค.นี้ โดยเชิญนายกฯประยุทธ์มากดปุ่ม

วางเป้าหมาย 3 ปี (2563-2565) ใช้งบกว่า 4.2 หมื่นล้านบาท โดยเม็ดเงินในโครงการนี้จะส่งถึงมือเกษตรกร มากถึง 3 หมื่นล้านบาทแถมราคายางช่วง 3 ปีนี้ จะมีเสถียรภาพ ด้วย

โจทย์ยาก! แก้พระราม2 "เจ็ดชั่วโคตร"-แก้ฝุ่น PM2.5 ยังต้องรอผลทดลอง

นโยบายที่อยู่ในขั้นศึกษาทดลอง เช่นแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 มีการทดลองติดเครื่องฟอกอากาศบนรถ ขสมก. เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละออง ซึ่งเบื้องต้นมีผลการทดสอบอยู่ในระดับน่าพอใจ

การยกเลิกไม้กั้นทางด่วน และมอเตอร์เวย์ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาจับป้ายทะเบียนรถเพื่อเก็บเงิน แก้ปัญหาการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บเงิน และลดการใช้พนักงาน

ขณะที่เร่งแก้จราจรบนถนนพระราม 2 ...หวังปิดตำนานถนนเจ็ดชั่วโคตร ก็ยังเป็นโจทย์ยาก...งานหินที่ศักดิ์สยาม ขยันลงพื้นที่ติวเข้มกรมทางหลวง (ทล.) งัดทุกกลยุทธ์การก่อสร้างมาใช้ในการทำแผนงานและจัดจราจร

แม้จะลุยเคลียร์รับเหมา เร่งจะปิดสัญญาขยายถนนพระราม 2 ได้ แต่! ยังมีโครงการใหม่ "ทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ" ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ของกรมทางหลวง เตรียมตอกเข็มต่อ คนพระราม 2 ต้องทนเจอสภาพเดิมๆ อีกไม่น้อยกว่า 3 ปี

ปิดดีลเมกะโปรเจ็กต์อีอีซี-เคลียร์เวนคืน มอเตอร์เวย์ "บางใหญ่-กาญจน์"

สำหรับโครงการต่อเนื่อง เมกะโปรเจ็กต์ อีอีซี มีการปิดดีลเจรจา เซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 224,544 ล้านบาทจรดปากกาเซ็นสัญญา 50 ปี กับ "ซีพี" ไปได้ นอกจากนี้ยังเปิดเดินรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-หลักสองและเตาปูน-ท่าพระ เติมเต็มโครงข่ายสมบูรณ์

ส่วนปัญหาเวนคืนมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ได้รับการอนุมัติจาก ครม.ขยายกรอบวงเงินค่าเวนคืนเพิ่มอีก 12,032 ล้านบาทจากเดิมที่ 5,420 ล้านบาท เป็น 17,452 ล้านบาท เคลียร์พื้นที่เปิดทางผู้รับเหมาเข้าก่อสร้างได้สำเร็จ หลังจากล่าช้ากว่าแผนมา 2 ปี

ขณะที่เจรจากับจีน บรรลุข้อตกลงเงื่อนไข สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยน รถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาทกำหนดเซ็นสัญญาภายในเดือน ต.ค. 63

ปิดประเด็นสัมปทานทางด่วน ยุติข้อพิพาท 17 คดีที่มีมูลค่าที่ 58,873 ล้านบาท ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM โดยต่อสัญญา 15 ปี 8 เดือนได้แก่ ทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วน A, B, C) ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D และทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (C บวก) โดยจะ สิ้นสุดพร้อมกันวันที่ 31 ต.ค. 2578 แถมเงื่อนไขพิเศษ ประชาชนได้ใช้ทางด่วนฟรี ทุกด่าน ในวันหยุดตามประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

รื้อแหลก ประมูลสายสีส้ม-PPP สายสีแดง

ปรับรูปแบบการลงทุน รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม 35.9 กม.วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท จาก PPP เอกชนลงทุนก่อสร้างและเดินรถตลอดสาย ...เป็นแยกงานโยธา รัฐลงทุนเองเพราะเห็นว่าจะเร็วและต้นทุนต่ำกว่าให้เอกชนลงทุน ท่ามกลาง...คำถาม เอื้อประโยชน์กับ บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือไม่

แต่! สุดท้ายต้องถอย กลับมาใช้รูปแบบ PPP Net Cost เหมือนเดิม

ล้างหนี้ ฟื้นฟู ขสมก.ยังไม่จบ

สำหรับการฟื้นฟู ขสมก.ล้างบัญชีหนี้ 1.29 แสนล้านบาท โดยปรับแผนใหม่ เลิกซื้อ/เช่ารถ เปลี่ยนเป็นจ้างเอกชนวิ่งตามระยะทาง, ใช้ตั๋วเหมา 30 บาท/วัน ขึ้นได้ไม่จำกัด, ปรับ เส้นทางรถเมล์จาก 269 เหลือ 162 เส้นทางทับซ้อน ใช้รถเมล์ไฟฟ้า(EV) และปี 72 เลิกขาดทุน

รถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 7 เส้นทาง นิ่งสนิท

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทางวงเงินรวม 263,453.57 ล้านบาท ส่งเรื่องไปให้สภาพัฒน์ตั้งแต่ปี 62 จนป่านนี้ ยังไม่ได้รับอนุมัติแมโครงการ จากสภาพัฒน์ฯ แม้แต่โครงการเดียว ความคืบหน้าไม่มี เป็นโครงการที่แทบไม่มีการพูดถึงเลย

"ถาวร" คุมหน่วยน้อย แต่! เน้นคุณภาพ...

"ถาวร เสนเนียม" ดูแล 7 หน่วยงานด้านอากาศ เริ่มงานใหญ่ตรวจสอบซื้อฝูงบิน 38 ลำของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แต่ทว่า! การบินไทยทนพิษ โควิด-19 ไม่ไหว ธุรกิจพังต้องยื่นล้มละลาย หลุดจากรัฐวิสาหกิจ และพ้นต้องจากกระทรวงคมนาคม

แม้งานในมือจะเหลือเพียง 4 หน่วยงาน แต่ "ถาวร" ดันนโยบาย "เชื่อมไทย เชื่อมโลก" ช่วง 1 ปี การพัฒนาสนามบินภูมิภาค 28 แห่ง และก่อสร้างสนามบินใหม่ที่ "เบตง"ทำได้ตามเป้าหมาย ตามแผนแม่บทพัฒนาสนามบินภูมิภาค 10 ปี (61-70) วงเงิน 3.4 หมื่นล้านบาท โดยปี 63 ลงทุนกว่า 5.6 พันล้านบาท การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย ติดตั้งระบบตรวจอาวุธ วัตถุระเบิดแบบ LEDS เป็นต้น

ซึ่งบทบาทของสนามบินรอง อย่าง กระบี่ ตรัง สุราษฏร์ธานีนครศรีธรรมราช อุดรธานี ขอนแก่น ตอบโจทย์นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในในประเทศ "ยุคโควิด ชีวิตนิวนอร์มอล" อย่างมาก

"อธิรัฐ" จัดระเบียบน่านน้ำ-แก้ปัญหาขุดลอก

"อธิรัฐ รัตนเศรษฐ" รัฐมนตรีมือใหม่ที่อายุน้อยที่สุดใน ครม.ประยุทธ์ แม้จะคุมหน่วยงานทางน้ำเพียง 2 หน่วย คือ กรมเจ้าท่า (จท.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) โดยวางนโยบายแก้การรุกล้ำทางลำน้ำ จัดระเบียบเรือคลองแสนแสบ-เจ้าพระยาปรับปรุงท่าเทียบเรือ สวย สะอาด ทันสมัย และแก้ปัญหาขุดลอก เพิ่มพื้นที่เก็บน้ำ แก้ภัยแล้ง ...

โดย 1 ส.ค.นี้ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" พร้อม2 รมช.คมนาคม จะร่วมแถลงถึงผลงาน "บก น้ำ ราง และอากาศ" ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

โดยจะทบทวนถึงนโยบายต่อเนื่อง...ทำอะไรไปบ้าง ส่วนนโยบายใหม่ และนโยบายที่เป็นข้อสั่งการของนายกฯประยุทธ์ หรือสิ่งที่ประชาชนร้องขอ ทำอะไรไปบ้าง ส่วนที่ ไม่ทำหรือล่าชา จะนำมาพิจารณาว่า มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร เพื่อวางแนวทางขับเคลื่อนการทำงานในปี 2564 และปีต่อๆไปได้

ศักดิ์สยามยืนยันว่า "ตนเองและ 2 รมช.คมนาคม ทำงานด้วยกันเป็นคมนาคมยูไนเต็ด ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำไม่มีปัญหาอะไร แต่สื่ออาจคิดกันไปเอง เพราะมีเป้าหมายเดียวกันคือทำงานแก้ปัญหาให้กับประชาชน".

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 107, 108, 109 ... 121, 122, 123  Next
Page 108 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©