Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268821
ทั้งหมด:13580108
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 217, 218, 219 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2020 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า ‘สายสีนํ้าตาล’ ดัน‘เกษตร-นวมินทร์’ เมืองไฮเอ็นต์
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 07:45 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,589
วันที่ 5-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Click on the image for full size
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ประมูลปีหน้า ดัน ทำเล “เกษตร-นวมินทร์” เฟื่องยกระดับเมืองมิกซ์ยูสไฮเอ็นต์ เชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ ผังเมืองกทม.ใหม่ ส่งเสริมเต็มสูบ ดักคนไม่ให้เข้าเมือง ปรับพื้นที่สีส้มขึ้นตึกสูง ทุนยักษ์ ขยับยกแผง เจ้าสัวเจริญ-โรงพยาบาลดัง พญาไท นวมินทร์ได้พื้นที่สีแดง

ถนนเกษตร-นวมินทร์ หรือ“ประเสริฐมนูกิจ” กลายเป็นทำเลทองคำชานกรุงเทพ มหานคร จากจุดเด่น มีเขตทางกว้างและเป็นเส้นทางแรกที่มีระยะทางยาวทะลุออกนอกรัศมีของถนนวงแหวนฯ เชื่อมโยงไปยังโซนนานาชาติ อย่างสนามบินสุวรรณภูมิ ดึงคนเข้าพื้นที่ได้อย่างสะดวกทั้งไทยและต่างชาติ และวิ่งต่อไปยังถนนสายหลักอีกหลายเส้นทาง ทั้งลาดพร้าว รามคำแหง พหลโยธิน วิภาวดี-รังสิต ฯลฯ

จึงไม่แปลกที่ย่านนี้จะกลายเป็นเมืองมิกซ์ยูสระดับไฮเอ็นต์ ในอนาคตที่มีทั้งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ประเภทคอนโดมิเนียมอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรมอยู่ภายในโครงการเดียวกัน จากราคาที่ดินแพง มีแลนด์ลอร์ดระดับเจ้าสัวผู้มองกาลไกล เริ่มนำที่ดินออกพัฒนา ซึ่งเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนเข้าพื้นที่อีกชั้นบนถนนสายนี้

อีกทั้งรัฐบาลยังผลักดันโครงการก่อสร้างทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ 3 สายเหนือ คล่อมบนตอม่อที่รอมานานเกือบ20ปีและ รถไฟฟ้าสายสีนำตาล ช่วง แคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือรถไฟฟ้าโมโนเรล มีระยะทางทั้งสิ้น 21 กิโลเมตร กระชับเมืองด้านฝั่งแคราย กับฝั่งเกษตร-นวมินทร์ ที่มีอัตราการเติบโตสูงเข้าด้วยกัน และยังเป็นโครงข่ายสายรองเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้า หลักอย่างบีทีเอส สายสีเขียวสายเหนือ ย่านพหลโยธินทะลุ ถนนวิภาวดี-รังสิตเชื่อมสายสีแดง ขณะเดียวกันยังเชื่อมกับสายสีเทาของกทม. บริเวณเลียบทางด่วน เอกมัย-รามอินทรา ก่อนมุ่งหน้าไป ถนนลาดพร้าวเชื่อมสายสีเหลือง ทะลุกลางเมืองย่านทองหล่อ เชื่อมบีทีเอส สายสุขุมวิท ขณะปลายทาง ลำสาลี (บึงกุ่ม) ยังเชื่อมกับสายสีเหลืองและสายสีส้ม ที่บางกะปิ ซึ่งกลายเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายรถไฟฟ้า 3 สายมาบรรจบกัน เป็นต้น

จากความเจริญที่แผ่ขยาย ผังเมืองกทม.ฉบับใหม่ ได้ส่งเสริม เพิ่มการพัฒนา เป็นพื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) สร้างตึกสูงได้มากขึ้น จากเดิมเป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) ส่งเสริมการพัฒนาให้เป็นบ้านแนวราบเป็นส่วนใหญ่มีเพียงช่วง หัวมุม ถนนเกษตร-นวมินทร์ตัดพหลโยธินที่สร้างตึกสูงได้ในปัจจุบัน ทำให้ทำเลนี้ราคาที่ดินขยับอย่างต่อเนื่อง



แหล่งข่าวจากกทม.เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เนื่องจาก ถนนเกษตร-นวมินทร์หรือถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นเส้นทางที่มีศักยภาพสูงทั้งการก่อสร้างรองรับสาธารณูปโภคค่อนข้างมาก อย่างขนาดของเขตทาง ระบบปะปา การระบายน้ำ จึงส่งเสริมให้ ตลอดเส้นทางสามารถพัฒนาตึกสูงที่มีผู้คนอาศัยรวมกันจำนวนมากได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังมีจุดเด่น เป็นถนนระดับดินเชื่อมเข้าที่ดินเอกชน ที่รอปักหมุดขึ้นโครงการได้ทันที ต่างจากถนนราชพฤกษ์สองข้างทางจะผ่านทางยกระดับ สะพานข้ามคลอง ทำให้การพัฒนามีข้อจำกัด

นอกจากนี้ ถนนเกษตร-นวมินทร์ ยังเชื่อมการเดินทาง เข้าออกเมืองสะดวกและอนาคต มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล พาดผ่านผังเมืองกทม.ใหม่จึงส่งเสริมการพัฒนาเมืองในพื้นที่นี้ เป็นพื้นที่สีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) สร้างตึกสูงได้มากขึ้นจากเดิมกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) พัฒนาแนวราบเป็นส่วนใหญ่ และมองว่า ทำเลนี้มีที่ดินแปลงใหญ่ของเอกชนหลายราย เตรียมพัฒนา อย่างที่ดินของกลุ่มทีซีซี ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี 200 ไร่ มีแผนพัฒนามิกซ์ยูสระดับไฮเอนต์ และปรับบริเวณด้านหน้าติดถนนเป็นพื้นที่สีแดง (พาณิชยกรรม) ที่ดิน โรงพยาบาล พญาไท-นวมินทร์ ใกล้ตลาดปัฐวิกรณ์ ขอปรับค่าเอฟเออาร์ (สัดส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) เพื่อก่อสร้างอาคารได้มากขึ้น รวมทั้งตลาดปัฐวิกรณ์เริ่มปรับเปลี่ยนการลงทุนซึ่งบริเวณนี้ เจ้าของที่ดินยื่นขอปรับเป็นพื้นที่สีแดง



อีกทั้งยังเชื่อมเข้ากับถนนเลียบทางด่วน เอกมัย-รามอินทรา หรือถนนประดิษฐ์มนูธรรม บริเวณนี้ มี ห้างเซ็นทรัล ,ซีดีซี คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ โครงการใหญ่คริสตัลพาร์ค เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 200 ไร่ เตรียมขยายการลงทุน บ้านหรู รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ ผังเมืองกทม.ใหม่ จึงส่งเสริม บริเวณนี้เลียบทางด่วน เป็นพื้นที่สีส้มพัฒนาตึกสูง รองรับความเจริญ ลดความแออัดไม่ให้คนกระจุกตัวกลางใจเมืองมากจนเกินไป

จะเห็นได้ว่าพื้นที่ไหนมีรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ผังกทม.จะปรับเป็นพื้นที่สีส้มทั้งหมดรองรับการรวมกลุ่มคนอยู่บนอาคารสูงจำนวนมากๆ เฉกเช่น เวิ้ง ตั้งแต่ลาดพร้าววิ่งเข้าเลียบทางด่วน เลี้ยวเข้าเกษตร-นวมินทร์ รามอินทรา ล้วนเป็นพื้นที่สีส้มแทบทั้งสิ้นและแน่นอนว่า ราคาที่ดินขยับสูง


“ถนนเกษตร-นวมินทร์ ระยะทางกว่า 12 กิโลเมตร เชื่อมเส้นทางสายย่อลาดปลาเค้าเสนา วิ่งเป็นทางตรงเชื่อมถนน สายหลัก อย่างถนนพหลโยธิน ทะลุวิภาวดีฯ ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก วิ่งไปรับกับสนามบินสุวรรณภูมิ เข้าพื้นที่ เชื่อมกับถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา ที่มีจะรถไฟฟ้าสายสีเทาของกทม. เตรียมลงมือก่อสร้าง วิ่งเชื่อม ทั้งสายสีน้ำตาล บริเวณหัวมุม ถนนเกษตร-นวมินทร์กับเลียบด่วนรามอินทรา ไปบรรจบสายสีเหลืองบริเวณถนนลาดพร้าว ก่อนพาผู้โดยสาร ทะลุเข้ากลางใจเมืองไปทองหล่อ (บีทีเอสสายสุขุมวิท) ส่วนปลายทางของสายสีน้ำตาลจะบรรจบสายสีเหลืองที่ย่านบางกะปิ และสายสีส้ม”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/07/2020 8:29 am    Post subject: Reply with quote

เร่งถกโมเดล”โดมครอบทางด่วน” วิ่งยาวไม่มีทางขึ้น-ลงวัดใจ”ม.เกษตร”เลิกต้าน
เผยแพร่: 14 ก.ค. 2563 08:08 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ปลัดคมนาคมมั่นใจ ปรับแบบทางด่วนขั้นที่ 3 ทำโดมครอบพร้อมระบบสเปรย์น้ำ ส่งรถวิ่งยาวข้ามเกษตร ไม่มีทางขึ้นลง ตัดปัญหารถกระจุกตัว คาดยุติแบบได้ก่อนเกษียณ ก.ย.นี้ หากยังไม่ผ่าน คงต้องพับ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าแนวทางการดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 นั้น อยู่ระหว่างการประสานงานกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีข้อกังวลในเรื่อง ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และปัญหาจราจร โดย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เสนอรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับมีหลังคาครอบ พร้อมระบบสเปรย์น้ำ ซึ่งจะแก้ปัญหาด้านฝุ่นละออง. ฝุ่น PM2.5 และมลพิษทางเสียงได้

ส่วนด้านปัญหาจราจร นั้น ได้ออกแบบเป็นทางด่วนขนาด 4 ช่องจราจร ไป/กลับ ถือเป็นทางด่วนขนาดเล็ก และไม่มีทางขึ้น-ลง ที่บริเวณเกษตรฯ เนื่องจากเป้าหมายของทางด่วนสายนี้ ต้องการระบายรถ จากตะวันออก- ตะวันตก ของกทม. โดยทางขึ้นลง จะเชื่อมกับโครงข่ายด้านหัวและท้าย ที่ ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯและทางด่วนอาจณรงค์ ดังนั้น จะไม่ทำให้เกิดปัญหาจราจรแออัดที่แยกเกษตรฯ

ทั้งนี้ ทางด่วนช่วงผ่านม.เกษตร ปรับปรุงแบบให้เหมาะสมที่สุดตอนนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ,กทพ.,การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังหารือกับม.เกษตร ฯ ซึ่งจัดทีมวิศวกร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านโครงสร้างมาคุยกัน เพราะเราต้องการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมให้จบก่อน หากไม่จบก็เท่ากับทางวิศวกรรมเป็นไปไม่ได้ EIA ก็คงไม่ผ่าน เพราะติดเรื่องชุมชนไม่ยอมรับแบบ หากเป็นแบบนั้นก็ต้องหาทางกันใหม่

“เท่าที่ดู แนวโน้มค่อนข้างดี เป็นทางเลือกวิศวกรรมที่ทำได้ รอทางม.เกษตรยอมรับ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม) ม.เกษตร ต้องการจึงไม่มีปัญหาคัดค้าน”

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ตั้งเป้าหมาย ว่า ก่อนครบเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้ จะพยายามหาย้อยุติโครงการที่มีปัญหาคั่งค้างเช่นทางด่วนขั้นที่ สายเหนือ ตอนทดแทน N1 รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล รวมถึงการเปิดประมูลรถไฟฟ้าสีสีส้ม การลงนามสัญญาระบบ รถไฟไทย-จีน (สัญญา2.3) การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน ซึ่งเป็นงานต่อเนื่องที่ตนได้ดูแลมาตั้งแต่แรก หากมีข้อยุติชัดเจน จะทำให้ปลัดคมนาคมคนใหม่เข้ามาทำงานโดยไม่มีภาระ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/07/2020 11:25 am    Post subject: Reply with quote

'ชัยวัฒน์'เร่งเคลียร์บิ๊กโปรเจ็กต์ก่อนเกษียณลุ้นตั้งปลัดใหม่
ไทยโพสต์ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10:59 น.

15 ก.ค.63-นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่ตนเองจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย. 2563 นี้ จึงได้ตั้งเป้าหมายเดินหน้าโครงการต่างๆ ในส่วนที่ได้รับผิดชอบมาอย่างต่อเนื่องให้เสร็จเรียบร้อย อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือทดแทน N1 ที่จะต้องได้ข้อสรุปทั้งหมด เพื่อเดินหน้าดำเนินโครงการต่อไป

นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา สัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท รวมถึงโครงการรถไฟสายสีส้มฝั่งตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่จะมีการเปิดขายซองถึงวันที่ 24 ก.ค. 2563 และเปิดให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 23 ก.ย. 2563

ทั้งนี้จะเดินหน้าดำเนินการในการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งถือเป็นโครงการที่ยังต้องมีการดำเนินการต่อเนื่อง แต่ในส่วนของการดำเนินการเบื้องต้นนั้น จะเร่งดำเนินการให้ครบ เช่น การเวนคืน การรื้อย้ายสาธารณูปโภคฯ เป็นต้น ขณะเดียวกัน จะเร่งผลักดันการเดินหน้าโครงการตั๋วร่วม ที่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่อาจจะความล่าช้าจากแผนเดิมที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา แต่ติดปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จึงทำให้ต้องเลื่อนออกไปอีก

“ผมต้องการเคลียร์งานก่อนที่จะเกษียณ เพราะมีความต่อเนื่อง และผมมีความรู้ของโครงการดังกล่าว ที่เป็นโครงการที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น เพื่อการดำเนินงานมีความต่อเนื่อง จึงอย่างดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อส่งมอบงานให้ปลัดคมนาคมท่านใหม่ต่อไป โดยส่วนตัวก็จะต้องเริ่มเคลียร์งานที่ผูกพันกันมาให้จบ เพื่อที่ปลัดฯท่านใหม่จะได้สบาย และก็ส่งงานที่จะเกิดในช่วงที่ปลัดท่านใหม่มา และได้มีการสั่งการว่าในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ ให้นำงานที่ค้างมาเร่งเคลียร์ให้หมดภายใน 2 เดือนอะไรที่ต้องจบให้จบ” นายชัยวัฒน์ กล่าว

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการเสนอรายชื่อคุณสมบัติของข้าราชการที่มีเหมาะสม จะเข้ามาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่นั้น จะต้องมีการเสนอชื่อผู้บริหารระดับ 10 ในสังกัดกระทรวงคมนาคมให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนที่จะมีการทยอยเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงเดือน ส.ค.นี้ และมีส่งมอบงานต่อไปในช่วง ก.ย. 2563

สำหรับหลักการพิจารณาผู้มีคุณสมบัตินั้น จะคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานทุกด้านของกระทรวงคมนาคมเป็นอันดับแรก จึงค่อยมาพิจารณาประสบการณ์และความอาวุโสเป็นลำดับสุดท้าย แต่ในเบื้องต้นขณะนี้ยังไม่มีพิจารณาบุคคลใดเป็นพิเศษ และยังมีเวลาในการพิจารณาอยู่ เพราะตามปกติแล้วจะต้องนำเสนอรายชื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาก่อนหมดวาระ 1 เดือน และแต่งตั้งคนใหม่ เพื่อจะได้มีเวลาส่งมอบงานและเรียนรู้งาน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมั่นใจว่าผู้บริหารในสังกัดกระทรวงคมนาคมทุกท่านสามารถทำงานได้ทุกคนแต่มีความกังวลในเรื่องของปัญหาบุคลากรขาดช่วง

รายงายข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า สำหรับปี 2563 กระทรวงคมนาคมจะมีผู้บริหารระดับสูงเกษียณอายุราชการ 6 ราย ได้แก่ 1.นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม 2.นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม 3.นายสมัย โชติสกุล 4.นางสาวกอบกุล โมทนา 5.นางอัมพวัน วรรณโก และ 6.นายกมล หมั่นทำ ผู้ตรวจราชการกระทรวง

อย่างไรก็ตามขณะที่ความเคลื่อนไหวภายในกระทรวงคมนาคม มีการคาดการณ์กันว่านายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม เนื่องจากทราบรายละเอียดภาพรวมของกระทรวงคมนาคมเป็นอย่างดี แต่ยังมีอายุราชการเหลืออีก 6 ปี จึงอาจจะยังไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์อีกว่า อาจจะมีการพิจารณาบุคคลภายนอกกระทรวงคมนาคมที่มีอายุราชการเหลือประมาณ 1-2 ปีเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2020 11:25 am    Post subject: Reply with quote

Update ความคืบหน้าระบบรางในเมืองภูมิภาค มาลุ้นว่าจังหวัดไหนจะได้เริ่มก่อสร้างเป็นจังหวัดแรก
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3212911095422480&set=a.2073045072742427&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/07/2020 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

เปิด PPP 1.4 หมื่นล้าน 'รถแทรม-เมล์ไฟฟ้า' นำร่อง 3 สายเชื่อม EEC
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เคาะโครงการนำร่องแล้ว สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) หลัง "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม รูปแบบการลงทุน

โดยภาพรวมการเชื่อมโยงพื้นที่เมือง ด้วยระบบขนส่งสาธารณะมี 3 ระบบ ได้แก่ 1.ระบบขนส่งสาธารณะหลัก เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างภูมิภาค และโครงสร้างพื้นฐาน 2.ระบบขนส่งสาธารณะรอง เชื่อมโยง ระบบหลักและแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างเมืองในเขตเมือง และ 3.ระบบขนส่งสาธารณะเสริม เชื่อมโยง แหล่งกิจกรรมย่อยในเขตเมืองหรือพื้นที่อยู่อาศัยเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะสายรอง

สำหรับรูปแบบของรถโดยสารจะเป็นรถโดยสารไฟฟ้า EV bus รถโดยสารขนาดเล็ก EV minibus และรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus โดยการลงทุนรัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และบริษัทเอกชน รูปแบบ PPP

จากการศึกษาเบื้องต้นได้ประเมินมูลค่าลงทุนไว้ 14,400 ล้านบาท แยกเป็น 2 ช่วง ในช่วงก่อสร้าง มีค่าเวนคืนที่ดิน ค่างานโยธา จัดซื้อ ขบวนรถโดยสารและงานระบบ รวมมูลค่าลงทุน 7,600 ล้านบาท

และช่วงเปิดบริการ มีค่าดำเนินการ 3,900 ล้านบาท และค่าบำรุงรักษา 2,900 ล้านบาท แยกเป็น จ.ฉะเชิงเทรา 1,207 ล้านบาท ชลบุรี 2,832 ล้านบาท และระยอง 3,543 ล้านบาท

ขณะที่แนวเส้นทาง สนข.เคาะ เส้นทางนำร่องของทั้ง 3 จังหวัดแล้ว โดย "จ.ฉะเชิงเทรา" เลือกแนวเส้นทางจากสถานีรถไฟความเร็วสูง ฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ- ตะวันออกคอมเพล็กซ์ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีฉะเชิงเทรา มุ่งตรงไปทาง ทิศใต้บนถนนสุวินทวงศ์

จากนั้นเลี้ยวซ้าย เข้าสู่ถนน ศุขประยูร ผ่านแม่น้ำบางปะกงจนถึง สี่แยกคอมเพล็กซ์ บริเวณ กม.75+150 จากนั้นแนวเส้นทางเลี้ยวขวาเข้าสู่ ถนนทางหลวงหมายเลข 365 จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางโครงการ ที่บริเวณตะวันออกคอมเพล็กซ์ ระยะทาง 7.97 กม.

มี 13 สถานี 3 ลานจอดแล้วจร รองรับได้ 225 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง และ ITF บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง ฉะเชิงเทรา เป็นระบบรถโดยสารไฟฟ้า EV bus ค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย เปิดบริการปี 2567 ผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2,700 เที่ยวคน/วัน

"จ.ชลบุรี" เลือกแนวเส้นทางจากเมืองศรีราชา-รถไฟความเร็วสูงศรีราชา-นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) เริ่มต้นที่โรบินสัน ศรีราชา บนถนนสุขุมวิท จากนั้นแนวจะเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่แนวถนนอัสสัมชัญ

ผ่านโรงเรียนอัสสัมชัญ จุดตัด สี่แยกเขาสวนเสือศรีราชา ผ่านอ่างเก็บน้ำหนองค้อ แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่แนวถนนทางหลวง 331 จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ เข้าสู่แนวถนน 331 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่แนวถนนระยอง 3013 แยกปากร่วม จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่บริเวณทางเข้าออก เขตประกอบการอุตสาหกรรมสยาม อีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค รวม ระยะทาง 42 กม.

มี 29 สถานี 4 ลานจอดแล้วจร รองรับ 125 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง เป็นระบบรถโดยสารไฟฟ้า EV bus ราคาค่าโดยสาร กม.ละ 1 บาท เริ่มต้น 10-45 บาท มีผู้โดยสารในปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,900 เที่ยวคน/วัน

"จ.ระยอง" เลือกแนวนิคมอุตสาห กรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC เริ่มต้นที่ทางเข้า-ออก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด บนถนนสุขุมวิท ผ่านโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง จุดตัดสี่แยกตลาดมาบตาพุด สะพานข้ามคลองน้ำหู กม.214+195

จากนั้นเบี่ยงไปทางทิศตะวันออก ผ่านโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จุดตัดสามแยก บริเวณโรงพยาบาลระยอง ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำระยอง กม.222+306 ผ่านปั๊มน้ำมันไออาร์พีซี สวนสุขภาพ เชิงเนิน ไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ทางเข้า-ออก เขตประกอบการอุตสาหกรรม บมจ.ไออาร์พีซี ระยะทาง 18.89 กม.

มี 22 สถานี 4 ลานจอดรถ รองรับได้ 350 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง เป็นระบบรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย มีผู้โดยสารปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 7,000 เที่ยวคน/วัน

เป็นจุดเริ่มต้นที่ภาครัฐพยายาม ผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมในอีก 1-2 ปีนี้ เพื่อรองรับคลื่นคนและการเดินทางที่จะไหลไปยัง 3 จังหวัดพื้นที่อีอีซี ว่าที่ศูนย์กลางการลงทุนแห่งใหม่ ของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/07/2020 7:45 am    Post subject: Reply with quote

ผุดรถรางไฟฟ้า3จว.อีอีซี
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

"รายงานวันจันทร์"-ขนส่งสาธารณะฉะเชิงเทรา,ชลบุรี,ระยอง

เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ จ.ระยอง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อสนับสนุนและรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะฯ เข้าร่วม

ในการสัมมนา สนข.รายงานผลการศึกษารูปแบบการลงทุน และวิธีการนำไปสู่การปฏิบัติรวมถึงการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะมี 3 ระบบ ได้แก่ 1.ระบบขนส่งสาธารณะหลัก เชื่อมระหว่างภูมิภาค 2.ระบบขนส่งสาธารณะรอง เชื่อมระหว่างเมืองในเขตเมือง และ 3.ระบบขนส่งสาธารณะเสริมเชื่อมพื้นที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ต้องมีความสะดวกเข้าถึงง่าย ปลอดภัย และมีความคุ้มค่า

สำหรับเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีทั้งหมด 5 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางที่ 1 HSR ฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ-ตะวันออกคอมเพล็กซ์ เส้นทางที่ 2 HSR ฉะเชิงเทรา-วัดโสธรฯ เส้นทางที่ 3 รอบเมืองฉะเชิงเทรา เส้นทางที่ 4 HSR ฉะเชิงเทรา-บางคล้า และเส้นทางที่ 5 HSR ฉะเชิงเทรา-บ้านโพธิ์-บางปะกง โดยเส้นทางที่ 1 HSR เหมาะสมทำเป็นโครงการนำร่อง

จังหวัดชลบุรี มี 8 เส้นทางประกอบด้วยเส้นทางที่ 1 HSR ชลบุรี-เมืองชลบุรี-(นิคมฯอมตะซิตี้ชลบุรี) เส้นทางที่ 2 HSR ชลบุรี-บางแสน/ตัดช่วง HSR ชลบุรี-หนองมน เส้นทางที่ 3 HSR ชลบุรี-บ้านบึง-EECi เส้นทางที่ 4 HSR ศรีราชา-แหลมฉบัง เส้นทางที่ 5 HSR ศรีราชา-EECd เส้นทางที่ 6เมืองศรีราชา-HSR ศรีราชา-นิคมฯอมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) เส้นทางที่ 7 HSR พัทยา-แหลมบาลีฮาย และเส้นทางที่ 8 HSR พัทยา-สวนนงนุช โดยคัดเลือกเส้นทางที่ 6 เป็นโครงการนำร่อง

จังหวัดระยอง มี 6 เส้นทางประกอบด้วยเส้นทางที่ 1 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC เส้นทางที่ 2 แหลมเจริญ-สามแยกขนส่ง เส้นทางที่ 3 HSR อู่ตะเภา-ระยอง-บ้านเพ เส้นทางที่ 4 ระยอง-บ้านค่าย-EECi เส้นทางที่ 5 นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมพัฒนา-ปลวกแดง และเส้นทางที่ 6 HSR อู่ตะเภา-ระยอง-EECi โดยคัดเลือกเส้นทางที่1เป็นโครงการนำร่อง

โดยการลงทุนนั้น รัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และบริษัทเอกชนตามความเหมาะสม เบื้องต้นรูปแบบของรถโดยสารจะเป็นรถโดยสารไฟฟ้า EV BUS รถโดยสารขนาดเล็ก EV minibus และรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus โดยมีทั้งใช้ช่องทางเฉพาะ (Exclusive Lane) และช่องทางร่วมกับรถทั่วไป (Shared Lane)

ขณะที่ผู้เข้าร่วมสัมมนามีข้อเสนอแนะต่างๆ อาทิ ให้ขยายเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินอู่ตะเภาไปบ้านเพเกาะเสม็ด และเส้นทางสำหรับประชาชนจากเมืองระยองไปตลาดตะพงมีการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือสัตหีบ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของ EEC รวมทั้งให้พิจารณาแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ประกอบการสหกรณ์เดินรถโดยสารประจำทางเดิมเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการเดินรถใหม่ เป็นต้น โดย สนข.จะจัดทำเป็นรายงานเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2020 11:07 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผุดรถรางไฟฟ้า3จว.อีอีซี
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


เปิด PPP 1.4 หมื่นล้าน “รถแทรม-เมล์ไฟฟ้า” นำร่อง 3 สายเชื่อม EEC
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 10:10 น.


เคาะโครงการนำร่องแล้ว สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) หลัง “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม รูปแบบการลงทุน

โดยภาพรวมการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะมี 3 ระบบ ได้แก่ 1.ระบบขนส่งสาธารณะหลัก เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างภูมิภาค และโครงสร้างพื้นฐาน 2.ระบบขนส่งสาธารณะรอง เชื่อมโยงระบบหลักและแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างเมืองในเขตเมือง และ 3.ระบบขนส่งสาธารณะเสริม เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมย่อยในเขตเมืองหรือพื้นที่อยู่อาศัยเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะสายรอง

สำหรับรูปแบบของรถโดยสารจะเป็นรถโดยสารไฟฟ้า EV bus รถโดยสารขนาดเล็ก EV minibus และรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus โดยการลงทุนรัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และบริษัทเอกชน รูปแบบ PPP

จากการศึกษาเบื้องต้นได้ประเมินมูลค่าลงทุนไว้ 14,400 ล้านบาท แยกเป็น 2 ช่วง ในช่วงก่อสร้าง มีค่าเวนคืนที่ดิน ค่างานโยธา จัดซื้อขบวนรถโดยสารและงานระบบ รวมมูลค่าลงทุน 7,600 ล้านบาท

และช่วงเปิดบริการ มีค่าดำเนินการ 3,900 ล้านบาท และค่าบำรุงรักษา 2,900 ล้านบาท แยกเป็น จ.ฉะเชิงเทรา 1,207 ล้านบาท ชลบุรี 2,832 ล้านบาท และระยอง 3,543 ล้านบาท

ขณะที่แนวเส้นทาง สนข.เคาะเส้นทางนำร่องของทั้ง 3 จังหวัดแล้ว โดย “จ.ฉะเชิงเทรา” เลือกแนวเส้นทางจากสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ-ตะวันออกคอมเพล็กซ์ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีฉะเชิงเทรา มุ่งตรงไปทางทิศใต้บนถนนสุวินทวงศ์จากนั้นเลี้ยวซ้าย เข้าสู่ถนนศุขประยูร ผ่านแม่น้ำบางปะกงจนถึงสี่แยกคอมเพล็กซ์ บริเวณ กม.75+150



จากนั้นแนวเส้นทางเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางหลวงหมายเลข 365 จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางโครงการ ที่บริเวณตะวันออกคอมเพล็กซ์ ระยะทาง 7.97 กม.

มี 13 สถานี 3 ลานจอดแล้วจร รองรับได้ 225 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง และ ITF บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา เป็นระบบรถโดยสารไฟฟ้า EV bus ค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย เปิดบริการปี 2567 ผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2,700 เที่ยวคน/วัน

“จ.ชลบุรี” เลือกแนวเส้นทางจากเมืองศรีราชา-รถไฟความเร็วสูงศรีราชา-นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) เริ่มต้นที่โรบินสัน ศรีราชา บนถนนสุขุมวิท จากนั้นแนวจะเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่แนวถนนอัสสัมชัญ

ผ่านโรงเรียนอัสสัมชัญ จุดตัดสี่แยกเขาสวนเสือศรีราชา ผ่านอ่างเก็บน้ำหนองค้อ แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่แนวถนนทางหลวง 331 จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้เข้าสู่แนวถนน 331 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่แนวถนนระยอง 3013 แยกปากร่วม จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่บริเวณทางเข้าออก เขตประกอบการอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค รวมระยะทาง 42 กม.

มี 29 สถานี 4 ลานจอดแล้วจร รองรับ 125 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง เป็นระบบรถโดยสารไฟฟ้า EV busราคาค่าโดยสาร กม.ละ 1 บาท เริ่มต้น 10-45 บาท มีผู้โดยสารในปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,900 เที่ยวคน/วัน

“จ.ระยอง” เลือกแนวนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC เริ่มต้นที่ทางเข้า-ออก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด บนถนนสุขุมวิท ผ่านโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง จุดตัดสี่แยกตลาดมาบตาพุด สะพานข้ามคลองน้ำหู กม.214+195

จากนั้นเบี่ยงไปทางทิศตะวันออก ผ่านโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จุดตัดสามแยก บริเวณโรงพยาบาลระยอง ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำระยอง กม.222+306 ผ่านปั๊มน้ำมันไออาร์พีซี สวนสุขภาพ เชิงเนิน ไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ทางเข้า-ออก เขตประกอบการอุตสาหกรรม บมจ.ไออาร์พีซี ระยะทาง 18.89 กม.

มี 22 สถานี 4 ลานจอดรถ รองรับได้ 350 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง เป็นระบบรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย มีผู้โดยสารปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 7,000 เที่ยวคน/วัน

เป็นจุดเริ่มต้นที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมในอีก 1-2 ปีนี้ เพื่อรองรับคลื่นคนและการเดินทางที่จะไหลไปยัง 3 จังหวัดพื้นที่อีอีซี ว่าที่ศูนย์กลางการลงทุนแห่งใหม่ของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2020 7:04 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเตรียมประมูลปี 2564
ผังเมือง กทม. ใหม่หนุนืเพิ่มพื้นที่สีส้ม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3219440798102843&set=a.2794025613977699&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2020 10:03 am    Post subject: Reply with quote

BTS ลุยปิดดีล “มอเตอร์เวย์-สัมปทานสายสีเขียว” ชิงเค้กรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.4 แสนล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 20:08 น.



นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) กล่าวชี้แจงผลการดำเนินงานของบริษัทในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2563 โดยระบุว่าผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา(เม.ย.62-มี.ค.63) ถือว่าเป็นปีที่ดีมากของบริษัทมีกำไรสุทธิ 8,161.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 184.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีรายได้รวม

42,203 ล้านบาท ธุรกิจระบบขนส่งมวลชนยังเป็นรายได้หลัก80% สื่อโฆษณา 15% บริการ 4%และอสังหาริมทรัพย์ 1%

“แต่ปีนี้เป็นปีพิเศษมีการระบาดของโควิด-19 กระทบต่อธุรกิจในเครือ ทั้งรถไฟฟ้าที่ความต้องการเดินทางลดลงในช่วงม.ค.-มี.ค.ผู้โดยสารลดลงไป17.5% ตอนนี้เริ่มกลับมาเกือบเป็นปกติแล้วเช่นเดียวกับสื่อโฆษณา ส่วนอสังหาฯที่ลงทุนผ่านยูซิตี้ที่ที่ผ่านพลิกมีกำไร 1,800 ล้านบาท แต่ปีนี้จากโควิดกระทบแน่นอน เพราะมีธุรกิจโรงแรมอยู่ที่ต่างประเทศ”

นายคีรีกล่าวอีกว่า จากกรณีโควิด บริษัทต้องกลับมามองว่าจะต้องปรับเปลี่ยนหรือมีโอกาสยังไงกับภาวะแบบนี้ และหลังจากโควิดคลี่คลายแล้ว ปัจจุบันยังมีโครงการในมือที่ต้องดำเนินการ เช่น ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรงและสีชมพูแคราย-มีนบุรี ถึงขณะนี้ยังคงแผนเดิมจะสร้างเสร็จเปิดใช้ในเดือนต.ค.2564 แม้รัฐจะส่งมอบพื้นที่ให้ล่าช้า

ยังมีสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งโครงการรวม 66 กม. ระยะเวลา 30 ปี ซึ่งบริษัทรับภาระหนี้แทนกรุงเทพมหานคร(กทม.) ประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยกทม.มีเงื่อนไขให้เก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) จากปัจจุบันบีทีเอสมีสัมปทานเดินรถสายสีเขียวอยู่แล้ว 23.5 กม. ยังเหลืออายุสัมปทาน 8 ปี และรับจ้างเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียวให้กทม.ระยะยาว 30 ปี ซึ่งรัฐจะรวมทั้งสัมปทานเก่าและใหม่เป็นสัมปทานเดียวกัน

“แต่เราไม่ได้รีบหากยังไม่อนุมัติในเร็วๆนี้ เพราะมีรายได้จากค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายอยู่แล้วปีละ 5,000 ล้านบาท แต่ถ้ารัฐอนุมัติมีการเซ็นสัญญา จะทำให้เราได้เดินรถสายสีเขียว 38 ปี นับจากวันสิ้นสุดสัปมทานเดิม“

โครงการระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมาและบางใหญ่-กาญจนบุรี เป็นppp gross cost ระยะเวลา 30 ปี รออนุมัติจากครม.คาดว่าจะได้เซ็นสัญญาในเร็วๆนี้ และงานใหญ่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกที่เพิ่งเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา


“อู่ตะเภาเราร่วมทุนกับบางกอกแอร์เวย์ส และซิโน-ไทย ความจริงเราไม่คิดจะเข้าประมูลเพราะไม่มีความรู้ แต่บากกอกแอร์เวย์สเป็นบริษัทเดียวที่ทำธุรกิจสนามบินและสายการบิน แต่เขาไม่เคยทำโครงการขนาดใหญ่เลยมาชวนเรา ก็ช่วยกันคิด จนได้ข้อสรุปอย่างที่เห็น “

“และขอให้เชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นอย่างแน่นอน เพราะเป็นธุรกิจมีกำไรมีเมืองการบิน มีฟรีเทรดโซน เราถึงให้ผลตอบแทนได้สูง 3 แสนล้านบาท ลงทุนเฟสแรกประมาณ 4 หมื่นล้านบาท กำลังเจรจากับกองทัพเรือจะขอนำอาคารผู้โดยสารหลังที่2 มาบริหารจัดการก่อนเพื่อเป็นรายได้ ระหว่างรอการส่งมอบพื้นที่อีก 1 ปีครึ่งนับจากวันเซ็นสัญญา ”

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองเฟสแรกสถานีกรุงธนบุรี-คลองสาน ที่บีทีเอสได้สัมปทานงานระบบและเดินรถจากกทม.กำลังก่อสร้างและทดสอบรถขบวนแรก จะเปิดบริการในเดือนต.ค.2563 นี้

“ถ้าไม่มีโควิด ปีนี้จะเป็นปีที่ดีของเรา แต่เราก็พร้อมเดินหน้าเต็มที่ในทุกโปรเจ็กต์ทั้งที่อยู่ในมือและจะประมูลในอนาคต และเชื่อมั่นว่าอนาคตของกลุ่มบริษัทจะได้รับประโยชน์จากการมีพื้นฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่งจากสัญญาสัมปทานในโครงการต่างๆในระยะยาว”

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(BTSC) กล่าวว่า รายได้ของธุรกิจระบบขนส่งมวลชนอยู่ที่ 32,076 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากค่างานก่อสร้างสายสีชมพูและสีเหลือง ขณะที่รายได้ค่าโดยสารลดลง 2.1% จากผลกระทบโควิด

“ปีนี้รอเซ็นสัญญา 2 โครงการ คือ งานระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 สาย หลังเซ็นสัญญาคาดว่าจะเริ่มงานสายบางปะอิน-โคราชก่อนปลายปีนี้ อีกโครงการสัญญาสัมปทานสายสีเขียว”

สำหรับงานใหม่ในอนาคต จะร่วมกับพันธมิตร เช่น บมจ.ซิโน-ไทยฯ และอาจจะมีบมจ.ราชกรุ๊ป เข้าร่วมประมูลสายสีส้มมูลค่า 1.4 แสนล้านบาทจะยื่นซองประมูลวันที่ 23 ก.ย.นี้

“สายสีส้มเราให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ติดตามมาตลอด ศึกษาข้อมูลมาอย่างดี จะเป็นอีกโครงการที่จะคาดว่าจะได้รับการคัดเลือก เราไปซื้อซองตั้งแต่วันแรก เพราะจะเป็นเส้นทางมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหลายสาย ทั้งสีเขียว สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง”

นอกจากนี้ยังมีอีก 3โครงการเป็นรถไฟฟ้ารางเบาของกทม. มีสายสีเทาวัชพล-ทองหล่อ วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท สายบางนา-สุวรรณภูมิ วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท และสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน วงเงินกว่า 1 หมื่นล้าน จะไปเชื่อมสายสีแดงและสีส้มที่ตลิ่งชัน และยังสนใจรถไฟฟ้าสายสีแดงที่รัฐจะเปิดPPP Net costและมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ จะเขื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรีด้วย

นายสุรยุทธ ทวีกูลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงินบมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีหนี้รวมรวม 105,855 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,676 ล้านบาท จากเงินกู้ยืมระยะยาวในการลงทุนสายสีชมพูและสีเหลือง ส่วนกระแสเงินสดบริษัทอยู่ที่ 17,700 ล้านบาท และมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 1.05 เท่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2020 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

กานต์กนิษฐ์ สส. กทม.ขอฟื้นฟูบริการรถรางเที่ยวชมรอบเกาะรัตนโกสินทร์​ ดึงดูดนักท่องเที่ยว พร้อมขอรถประจำทางผ่านหน้าโรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์​ด้วย
วันที่ 22 กรกฎาคม 2563

นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ส.ส. เขต 1 กทม.​ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หารือประธานสภาฯ ถึงความเดือดร้อนของบุคลากรโรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์​ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย​ กว่า 1,300 คน เนื่องจากบริเวณโรงเรียนมีป้ายรถประจำทาง แต่ไม่มีรถผ่านจนทำให้ต้องเดินกว่า 1 กิโลเมตร​ ไปขึ้นรถที่ป้ายรถประจำทางหัวลำโพง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย​จากมิจฉาชีพ และอุบัติเหตุ​จากการใช้รถใช้ถนน

ทั้งนี้ ยังเคยเกิดเหตุนักเรียนเสียชีวิตมาแล้ว จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันให้รถประจำทาง สาย 29, 34, 113 กลับมาผ่านหน้าโรงเรียนดังเดิม

นางสาวกานต์กนิษฐ์ ยังขอหารือถึงข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการธุรกิจที่พักโรงแรมรอบเกาะรัตนโกสินทร์​ ให้รื้อฟื้น​และสนับสนุนการให้บริการรถรางเที่ยวชมและไกด์นำเที่ยวโดยขอให้ กทม.เป็นเจ้าภาพร่วมกับส่วนที่เกี่ยวข้องดึงดูดนักท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 217, 218, 219 ... 278, 279, 280  Next
Page 218 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©