Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269469
ทั้งหมด:13580756
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 39, 40, 41 ... 77, 78, 79  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2020 5:26 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จ่อประมูลรถไฟทางคู่2เส้น มูลค่ารวมกว่า 1.52 แสนล้านภายในปีนี้
ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

“ร.ฟ.ท.” มั่นใจปีนี้เปิดประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้น วงเงินกว่า 1.52 แสนล้านบาท เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 8.5 หมื่นล้านบาท และบ้านไผ่-นครพนม 6.6 หมื่นล้านบาท ล่าสุดผ่าน EIA-ออกพ.ร.ฎ.เวนคืนแล้ว พร้อมเร่งประมูลทางคู่เฟส 2 ที่ค้างท่ออีก 7 เส้นทาง รอ “สศช.” พิจารณาก่อนชง “ครม.”

นายนิรุต มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ภายในปีนี้ ร.ฟ.ท.จะเปิดประกวดราคารถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง วงเงินรวม 152,193.33 ล้านบาท คือ 1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323.10 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 85,345 ล้านบาท โดยมีค่าเวนคืนที่ดิน 10,660 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 1,764 ล้านบาท ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.จะนำส่งรายละเอียดโครงการนี้กลับไปยังที่ประชุม ครม.เพื่อรับทราบว่าร.ฟ.ท.ยืนยันจะแบ่งดำเนินโครงการเป็น 3 สัญญา เนื่องจากก่อนหน้านี้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เคยพิจารณาให้แยกมากกว่า 3 สัญญา แต่ร.ฟ.ท.เห็นตามครม.ว่าแยกเพียง 3 สัญญามีความเหมาะสมแล้ว คือ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. วงเงิน 26,704 ล้านบาท สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. วงเงิน 28,735 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 17,482 ล้านบาท

2.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท (เป็นวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 10,255.33 ล้านบาท) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากครม.เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 โดยจะแบ่งดำเนินโครงการ 2 สัญญา ซึ่งทางคู่สายใหม่ทั้ง 2 สายทางนี้ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนแล้ว

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เฟส 2 ซึ่งยังเหลืออีก 7 สายทางนั้น ล่าสุดอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งได้ให้ร.ฟ.ท.ไปชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการจัดหารถ แผนธุรกิจ ประกอบด้วย 1.สายขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. วงเงิน 26,654.36 ล้านบาท 2.สายชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. วงเงิน 37,523.61 ล้านบาท 3.สายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 8,120.12 ล้านบาท 4.สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท 5.สายสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 324 กม. วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท 6.สายปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 62,883.55 ล้านบาท และ 7.สายเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 56,837.78 ล้านบาท

นายนิรุต กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ช่วงบางซื่อ-รังสิตว่า ล่าสุดทางผู้รับงานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งมีกลุ่มกิจการค้าร่วม เอ็มเอชเอสซี (บริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด / บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และ บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น) เป็นผู้รับงาน ได้ยื่นหนังสือขอขยายเวลาออกไปอีก 512 วัน ซึ่งล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องดังกล่าวร่วมกับร.ฟ.ท. ขณะที่ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติขยายเวลาไปแล้ว 87 วัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) การเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต รวมทั้งสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 ช่วง คือ ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7,469.43 ล้านบาท ตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท และรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570 ล้านบาท ซึ่งครม.เห็นชอบโครงการแล้ว แต่ยังมิได้เปิดประกวดราคา ขณะที่กระทรวงคมนาคมเคยมีนโยบายว่าอาจให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนเดินรถสายสีแดง พร้อมก่อสร้างและเดินรถสายสีแดงส่วนต่อขยายด้วย ซึ่งคาดว่าร.ฟ.ท.จะสรุปผลการศึกษาได้ภายใน 2 เดือนนี้

นายนิรุต กล่าวต่อถึงแนวทางบริหารจัดการที่ดินของร.ฟ.ท.ว่า ปัจจุบันร.ฟ.ท.มีที่ดินทั่วประเทศรวมพื้นที่เขตทาง 2.4 แสนไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 20,000 ไร่ และมีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่แค่ 2,000 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ซึ่งเป็นรายได้ที่ต่ำมาก และจากการลงพื้นที่พบว่าสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเกิดการรั่วไหลในการเก็บค่าเช่า ล่าสุดตนจึงได้หารือกับผู้บริหารธนาคารกรุงไทย เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้ผู้เช่าพื้นที่ชำระค่าเช่าผ่านแอปพลิเคชันนี้แทนการจ่ายค่าเช่าแบบเดิม เพื่อให้ได้รายได้ครบถ้วนถูกต้อง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2020 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

ผลการศึกษาจะมีเวนคืน 4 จังหวัด แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย โดยแนวเส้นทางจะเริ่มต้น ที่สถานีเด่นชัย จ.แพร่
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 ต่างก็ดีใจและเตรียมใจโดยเฉพาะพื้นที่จะได้รับการเวนคืน โดยแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ได้เผยแพร่ ผลการศึกษาจะมีเวนคืน 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย โดยแนวเส้นทางจะเริ่มต้นที่สถานีเด่นชัย จ.แพร่ มุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่าน จ.ลำปาง พะเยา และเชียงราย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนเชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งพื้นที่เวนคืนจะมีเขตทางกว้าง 50 เมตร มีทั้งหมด 7,292 แปลง และที่ดิน 9,661 ไร่ ได้แก่



จ.แพร่ มี อ.เด่นชัย 2 ตำบล ที่ ต.เด่นชัย ต.ปงป่าหวาย, อ.สูงเม่น 6 ตำบล มี ต.น้ำชำ ต.สูงเม่น ต.พระหลวง ต.สบสาย ต.ดอนมูล ต.ร่องกาศ, อ.เมืองแพร่ มี 7 ตำบล มี ต.นาจักร ต.กาญจนา ต.เหมืองหม้อ ต.ทุ่งกวาว ต.ทุ่งโฮ้ง ต.แม่หล่าย ต.แม่คำมี, อ.สอง มี ต.หัวเมือง ต.แดนชุมพล ต.ทุ่งน้าว ต.ห้วยหม้าย ต.บ้านหนุน ต.บ้านกลาง, อ.หนองม่วงไข่ มี ต.หนองม่วงไข่,

จ.ลำปาง อ.งาว มี 7 ตำบล มี ต.แม่ตีบ ต.หลวงใต้ ต.บ้านแหง ต.หลวงเหนือ ต.นาแก ต.ปงเตา และ ต.บ้านร้อง,

จ.พะเยา มี อ.เมืองพะเยา มี 4 ตำบล คือ ต.แม่กา ต.จำป่าหวาย ต.แม่ต๋ำ และ ต.ท่าวังทอง, อ.ดอกคำใต้ มี 2 ตำบล คือ ต.ดอกคำใต้ ต.ห้วยลาน, อ.ภูกามยาว มี 3 ตำบล คือ ต.แม่อิง ต.ดงเจน ต.ห้วยแก้ว

และ จ.เชียงราย อ.ป่าแดด มี 4 ตำบล คือ ต.สันมะค่า ต.ป่าแดด ต.โรงช้าง และ ต.ป่าแงะ, อ.เทิง ที่ ต.เชียงเคียน, อ.เมืองเชียงราย มี 4 ตำบล คือ ต.ดอยลาน ต.ห้วยสัก ต.ท่าสาย และ ต.รอบเวียง,อ.เวียงชัย มี 3 ตำบล คือ ต.เวียงชัย ต.เวียงเหนือ ต.เมืองชุม, อ.เวียงเชียงรุ้ง มี 2 ตำบล ที่ ต.ทุ่งก่อ ต.ป่าซาง, อ.ดอยหลวง ที่ ต.โชคชัย และ อ.เชียงของ มี 4 ตำบล คือ ต.ห้วยซ้อ ต.ศรีดอนชัย ต.สถาน ต.เวียง ตลอดเส้นทางมี 26 สถานี ลานขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง ลานกองเก็บตู้สินค้า 1 แห่ง ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 4 อุโมงค์ ก่อสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 102 แห่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2020 9:28 am    Post subject: Reply with quote

"ล้านนาตะวันออก"รวมพล เร่งรฟท.ขับเคลื่อนทางคู่ "เด่นชัย เชียงราย เชียงของ"
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กลุ่มล้านนาตะวันออกรวมพลคนรักไฟเชิงสัญลักษณ์ขับเคลื่อนรถไฟทางคู่เด่นชัย เชียงราย เชียงของ เสวนาโต๊ะกลมหลังกังวลใจความล่าช้า เหตุในโรดแมป รฟท.เคยแจกเอกสารแจ้งชาวบ้านเริ่มสร้างปี 63 จนถึงขณะนี้ยังไม่เวนคืน ด้านผู้ว่ารฟท.ยันปลายปีนี้ประมูลแน่

เอกสารเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 มูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาทเคยระบุว่า การก่อสร้างจะเริ่มต้นได้ในปี2563 แต่ปัจจุบัน ยังไม่เริ่มแม้แต่การเวนคืนที่ดิน สร้างความเสียหายต่อการขยายธุรกิจอย่างมากเพราะที่ดินถูกล็อกในแนวเขตทาง

นายบุญชู กมุทมาโนชญ์ เลขาธิการสมาพันธ์ SMEไทยภาคเหนือได้เชิญชวนผู้ประกอบการ SME และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมเสวนาโต๊ะกลม เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 จังหวัดพะเยา เครือข่ายคนรักรถไฟได้พร้อมใจกันมาติดตามข่าวสารการสร้างทางรถไฟทางคู่ดังกล่าวและได้เปิดแสดงความคิดเห็นหลากหลาย ผู้ร่วมประชุมหลายคนกังวลใจเกี่ยวกับความล่าช้าของโครงการฯเพราะในแผนแม่บท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เคยแจกเอกสารว่าจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2563 ขณะนี้ยังไม่เข้าสู่การเวนคืนที่ดินอันเนื่องมาจากความล่าช้าของการเดินเอกสารต่างๆ และขั้นตอนของระบบราชการ จึงได้ขอความวิงวอน

ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนแบบบูรณาการหลังจากที่โควิด 19 เริ่มคลี่คลาย ผู้ประกอบการ SMEและประชาชนได้รับผลกระทบอย่างแสนสาหัส จากพิษเศรษฐกิจ จึงมีแนวความคิดว่าระบบโลจิสติกส์ทางรางเป็นส่วนสำคัญของการเพิ่มธุรกิจเข้ามาในท้องถิ่น

การขนส่งสินจากระเบียงเศรษฐกิจ นอร์ท อีส คอริดอร์ สู่ทุกภูมิภาคการขนคน รวมทั้งการเติบโตของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นดัชนีสำคัญของการเพิ่ม GDP ของชุมชนที่มีเส้นรถไฟพาดผ่าน โครงการรถไฟดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ ปี 2503 เมื่อ 60 ปีที่แล้ว การเว้นช่วงประหนึ่งเป็นการตอนความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มพื้นสังคมชายขอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประชาชนภูมิภาคล้านนาตะวันออกจึงได้รวมตัวกัน เพื่อเป็นนัยสำคัญที่จะสื่อสารมายังภาครัฐ ได้เชื่อมโยงงานเอกสารอย่างบูรณาการ มติที่ประชุมได้มีแนวความคิดที่จะติดป้ายประชาสัมพันธ์ในทุกจังหวัด ยืนยันว่าเป็นโครงการที่ประชาชนเฝ้ารอมา 60 ปี แม้ว่า รฟท.ยังไม่เริ่มการก่อสร้างฯ นักธุรกิจได้เริ่มมาหาช่องทางการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับโลจิสติกส์ทางราง

"ผู้ประกอบการสร้างบ้านขายโดน 2 เด้งจากพิษโควิดนอนซมซด น้ำข้าวต้ม ซ้ำร้ายพื้นที่โครงการอยู่ในแนวเวนคืนยิ่งกว่าตายทั้งเป็นถึงแม้ พระราชกฤษฎีกา (พรฎ) เวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังไม่บังคับใช้ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้างในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้การเสวนาโต๊ะกลมในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของประชาชน ล้านนาตะวันออก 4 จังหวัด และเป็นการขอบคุณภาครัฐและทุกองคาพยพ ร่วมขับเคลื่อนโครงรถไฟสายประวัติศาสตร์นี้ ให้ทันในช่วงชีวิตคนรุ่นนี้

ด้านนายนิรุฒ มณีพันธุ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่าโครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงรายเชียงของ คาดว่าเตรียมเปิดประมูลได้ในปลายปี 2563 สอดคล้องกับ แหล่งข่าวรฟท. ยืนยันว่า หากบริษัทลงนามในสัญญา สามารถลงสำรวจพื้นที่เพื่อเวนคืนได้ทันที ภายในปีนี้

บรรยายใต้ภาพ
บุญชู กมุทมาโนชญ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2020 8:47 am    Post subject: Reply with quote

15ปีสั้นเกินไปไม่จูงใจร่วมลงทุนเอกชนสะท้อน'ศูนย์เชียงของ'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยหลังเป็นประธานงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนต่อร่างประกาศเชิญชวนร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ว่า ศูนย์ฯมีพื้นที่ 336 ไร่ มูลค่ารวม 2,139 ล้านบาทแบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 1,360 ล้านบาท และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 779 ล้านบาท กรมฯอยู่ระหว่างก่อสร้างระยะที่ 1 รองรับการขนส่งสินค้าทางบกคืบหน้ากว่า 90% จะแล้วเสร็จปลายปี 63 โดย ขบ. จะเข้าบริหารก่อนระหว่างรอเอกชน ได้เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ไว้แล้วคาดว่าจะมีรถสินค้าทยอยมาใช้บริการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะผลไม้ เช่น ทุเรียน

นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า จะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP NetCost โดยภาครัฐลงทุนค่าเวนคืนที่ดินและค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดส่วนเอกชนลงทุนค่าเครื่องมืออุปกรณ์ยกขน และงานระบบบริหารจัดการด้าน โลจิสติกส์และรับผิดชอบบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M) ตลอดระยะเวลาร่วมลงทุน 15 ปี ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ให้ความเห็นชอบรูปแบบการร่วมลงทุนแล้วอยู่ในขั้นตอนการเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนคัดเลือกเอกชนตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯต่อไป การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีภาคเอกชนให้ความสนใจ 19 รายเป็นผู้ประกอบการไทยทั้งหมดด้านรถบรรทุก และเดินเรือ จะนำข้อคิดเห็นไปประกอบการพิจารณาต่อไป คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนได้กลางปี 64 และลงนามสัญญาร่วมลงทุนช่วงต้นปี 65 และให้เข้าบริหารต่อไป

นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า ด่านเชียงของมีมูลค่าการนำ เข้าและส่งออก 28,000 ล้านบาท รองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศบนเส้นทาง R3A เชื่อมต่อไทย-สปป.ลาว-จีนผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของห้วยทราย) รวมถึงรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งระหว่างทางถนนกับทางรางผ่านแนวรถไฟทางคู่สายเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ ที่เตรียมเปิดประมูลคาดว่าจะเปิดบริการปี 68 ส่วนระยะที่ 2 วงเงิน 600 กว่าล้านบาท จะเริ่มก่อสร้าง ปี 68 กระจายสินค้าจากหัวรถลากมาสู่ระบบรถไฟและเปลี่ยนจากระบบรถไฟมาเป็นหัวรถลากขนส่งไปยังจีนได้ ทำให้ อ.เชียงของเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล

ด้านผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็นอยากให้ทบทวนอายุสัญญา 15 ปี มองว่าสั้นเกินไป การลงทุนเชียงของขณะนี้ยังไม่คุ้ม เพราะยังขนส่งได้แค่ทางบก ต่างจาก จ.หนองคาย ที่รองรับทั้งทางบกและทางรางเพราะช่วงปลายปี 64 จะเปิดบริการรถไฟจากประเทศจีนมาเชื่อมเวียงจันทน์ สปป.ลาวรวมทั้งให้พิจารณาเรื่องคุณสมบัติของทุน จดทะเบียนให้เหมาะสม นอกจากนี้สินค้ากลุ่มเทกองมีแร่บางชนิดนำเข้าจากลาวได้ ปลายทางส่งออกท่าเรือแหลมฉบังหรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนบนและกลุ่มพืชผักผลไม้ ดังนั้นการจัดเตรียมพื้นที่ในการเปลี่ยนถ่ายต้องไม่ให้เกิดความเสียหายกับเอกชนด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2020 9:51 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
15ปีสั้นเกินไปไม่จูงใจร่วมลงทุนเอกชนสะท้อน'ศูนย์เชียงของ'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


จ่อเปิดประมูล “ศูนย์เปลี่ยนถ่ายขนส่งสินค้าเชียงของ”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13:35 น.


ขบ. จับมือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับฟังความคิดเห็นเอกชน ดัน“ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ” หลังเตรียมเอกสารประมูล ดึงเอกชนร่วมทุนพีพีพี กลางปี 2564 บูมรถไฟทางคู่คู่สายเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ


นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นหนึ่งในโครงการตามแผนการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศ บนเส้นทาง R3A เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย - สปป.ลาว - สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) รวมถึงรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift) ระหว่างทางถนนกับทางราง ผ่านแนวรถไฟทางคู่สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจะทำให้อำเภอเชียงของหนึ่งในศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ หรือ Logistic Hub ที่มีความสำคัญ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล




ส่วนของการบริหารจัดการโครงการฯ ขบ.ได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบพีพีพี ( PPP Net Cost) โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าเวนคืนที่ดิน และค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ส่วนเอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าเครื่องมืออุปกรณ์ยกขน และงานระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และรับผิดชอบในส่วนของการบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M) ตลอดระยะเวลาร่วมลงทุน 15 ปี โดยปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ได้ให้ความเห็นชอบรูปแบบการร่วมลงทุนในโครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ก่อนดำเนินการคัดเลือกเอกชนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

ขนส่งฯจ่อดึงเอกชนร่วมลงทุน PPP ศูนย์เปลี่ยนถ่ายขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14:09 น.

29 ก.ค.63-นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธานในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนต่อร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ อ.เชียงของ จ.เชียงรายว่า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของอยู่บนเนื้อที่ 336 ไร่ มูลค่ารวม 2,139 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินก่อสร้าง 1,360 ล้านบาท และ วงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 779 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างระยะที่ 1 คืบหน้ากว่า 90% แล้วเสร็จปลายปี 2563 หลังจากนั้น ขบ. จะเข้าบริหารก่อน ขณะนี้ได้เตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้กระบวนการทำงานเรียบร้อย หลังจากเปิดให้บริการต้องให้ศูนย์ขนส่งเป็นที่รู้จักก่อน จากนั้นคาดว่าจะมีรถสินค้าทยอยมาใช้อย่างต่อเนื่อง เพราะสะดวก เนื่องจากปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าผลไม้เป็นจำนวนมาก เช่น ทุเรียน เป็นต้น

นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า ซึ่งการที่ ขบ. บริหารก่อน 1 ปีนั้น เนื่องจากการบริหารจัดการโครงการ ขบ. อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าเวนคืนที่ดิน และค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ส่วนเอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าเครื่องมืออุปกรณ์ยกขน และงานระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และรับผิดชอบในส่วนของการบริหารจัดการและบำรุงรักษา (0&M) ตลอดระยะเวลาร่วมลงทุน 15 ปี

“ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ได้ให้ความเห็นชอบรูปแบบการร่วมลงทุนในโครงการตาม พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนดำเนินการคัดเลือกเอกชนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562”นายจิรุตม์ กล่าว

นายจิรุตม์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นจึงจัดสัมมนาดังกล่าวขึ้นครั้งนี้ มีภาคเอกชนให้ความสนใจ 19 ราย ส่วนมากเป็นผู้ประกอบการด้านรถบรรทุก และผู้ประกอบการเดินเรือและเป็นผู้ประกอบการคนไทยทั้งหมด เพื่อให้ดำเนินการสอดคล้องกับความสนใจของภาคเอกชนและผู้สนใจร่วมลงทุนอย่างแท้จริงอย่างไรก็ตามกระบวนการ PPP คาดการณ์ว่าสามารถออกประกาศเชิญชวนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุนได้ในช่วงกลางปี 64 และลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนได้ในช่วงต้นปี 65 เข้าบริหารต่อไป

สำหรับโครงการดังกล่าวจะสามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษได้ เพราะพบว่าด่านเชียงของมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออก 28,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพของประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามโครงการนี้ตามแผนการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) ของ ขบ. ซึ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศ บนเส้นทาง R3A เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย-สปป.ลาว-สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)

รวมถึงรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift) ระหว่างทางถนนกับทางรางผ่านแนวรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ปัจจุบันเตรียมเปิดประมูล และอยู่ระหว่างจัดจ้างที่ปรึกษาสำรวจจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อไป คาดว่าจะเปิดบริการปี 68 ซึ่งทำให้เชียงของเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ (Logstic Hub) ที่มีความสำคัญ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลได้

ส่วนระยะที่ 2 วงเงิน 600 กว่าบาท เริ่มดำเนินการได้ในปี 68 เพื่อกระจายสินค้า และเปลี่ยนถ่ายที่แท้จริง เปลี่ยนจากหัวรถลากมาสู่ระบบรถไฟ และเปลี่ยนจากระบบรถไฟมาเป็นหัวรถลากขนส่งไปยังจีนได้ ทั้งนี้ ขบ. ยังมีแผนจะสร้าง โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนในอนาคตที่มีค่าตอบแทนสูงอีก ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี และ อ.แม่สอด จ.ตาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 1:02 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’ คาดรถไฟทางคู่ 2 เส้นทาง เข้าครม.ภายใน ส.ค.นี้
ข่าวเศรษฐกิจ

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 11:24


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร มูลค่าลงทุนราว 8.5 หมื่นล้านบาท และ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 6.8 หมื่นล้านบาท คาดจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้ในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อขออนุมัติโครงการและออกพรฎ.เวนคืนด้วย โดยทั้งสองเส้นทางนี้เป็นโครงการเส้นทางใหม่
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการโครงการถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ได้ให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และคณะกรรมการ รฟท. จะมีการดำเนินการได้ตามแผนได้หรือไม่ที่จะมีการเดินรถเสมือนจริง มี.ค.64 และเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ พ.ย.64 เนื่องจากได้รับแจ้งว่า โครงการนี้มีงานเพิ่มขึ้นมา ซึ่งทำให้งบดำเนินการเพิ่มอีก 10,345 ล้านบาท จากก่อนหน้าได้ปรับเพิ่มวงเงินโครงการตั้งแต่ 5.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มเป็น 9.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ซึ่งคาดว่าใน 2 สัปดาห์นี้จะได้ข้อสรุป



รมว.คมนาคม ยังกล่าวว่า โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงยังต้องใช้งบประมาณลงทุนในส่วนต่อขยายอีก 4 ช่วง และส่วนที่เพิ่มของช่วงบางซื่อ-รังสิต หรือส่วนที่ 5 ทำให้รัฐต้องลงทุนรวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท ขณะที่งบประมาณแผ่นดินมีอยู่จำกัด จึงเห็นว่าควรให้มีการลงทุนในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนภาครัฐ (PPP) โดยรัฐจะให้สัมปทานการเดินรถ 30 ปี พร้อมให้ลงทุนงานโยธา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการถไฟทางคู่ ระยะ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ซึ่งขอข้อมูลนำไปวิเคราะห์พิจารณาความคุ้มค่าของโครงการ โดยจะลำดับความสำคัญแต่ละโครงการซึ่งการดำเนินการโครงการรถไฟทางคู่ระยะ 2 ให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 โดยขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังข้อมูลสนับสนุนให้กับสภาพัฒน์

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (03 ส.ค. 63)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/08/2020 10:44 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘ศักดิ์สยาม’ คาดรถไฟทางคู่ 2 เส้นทาง เข้าครม.ภายใน ส.ค.นี้
ข่าวเศรษฐกิจ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 11:24

คมนาคมลุยเข็นรถไฟทางคู่สองสายเข้า ครม.ส.ค.นี้
ไทยโพสต์ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:48 น.

5 ส.ค. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านคมนาคมขนส่ง ยึดหลักการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และนโยบายรัฐบาล ให้ความสำคัญกับทุกนโยบาย ในส่วนของโครงการความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตรวงเงินลงทุน 85,345 ล้านบาท และ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตรวงเงินลงทุน 66,848ล้านบาทว่า คาดว่าภายในเดือนสิงหาคมนี้จะเสนอทั้ง 2 โครงการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาขออนุมัติโครงการเพื่ออก พรฎ.เวนคืนที่ดิน และเริ่มก่อสร้าง

สำหรับความคืบหน้า โครงการถไฟทางคู่ ระยะ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ซึ่งขอข้อมูลนำไปวิเคราะห์พิจารณาความคุ้มค่าของโครงการ โดยจะลำดับความสำคัญแต่ละโครงการซึ่งการดำเนินการโครงการรถไฟทางคู่ระยะ 2 ให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 โดยกระทรวงคมนาคมกำลังข้อมูลสนับสนุนให้กับสภาพัฒน์ฯ

อย่างไรก็ตามสำหรับการลงทุนสร้างส่วนต่อขยายมอเตอร์เวย์สาย 7 พัทยา-มาบตาพุด ที่จะเชิญพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเปิดบริการอย่างเป็นทางการในเดือน ก.ย.นี้แล้ว มีแผนจะสร้างเชื่อมสนามบินอู่ตะเภารับเมืองการบินภาคตะวันออก และต่อขยายทางยกระดับพระราม 2 จากเอกชัย-บ้านแพ้ว ที่มีแผนจะให้เอกชนมาบริหารเก็บค่าผ่านทางและปรับเป็นมอเตอร์เวย์ในอนาคต และเร่งสร้างสายนครปฐม-ชะอำเชื่อมต่อกับบางใหญ่-กาญจนบุรี เสริมการเดินทางพื้นที่ภาคใต้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2020 7:54 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสัมปทาน 15 ปี “สถานีขนส่งสินค้าเชียงของ” เอกชนหวั่นร้าง-รายได้ไม่คุ้ม
อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 5 สิงหาคม 2563 - 13:30 น.

ตอกเสาเข็มไปเมื่อปี 2561 โครงการ Truck Terminal หรือศูนย์เปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าเชียงของ เนื้อที่ 335 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ ต.เวียง อ.เชียงของ มี “ขบ.-กรมการขนส่งทางบก” เป็นผู้รับผิดชอบการลงทุน 2,193 ล้านบาท

เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การขนส่งสินค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ด่านเชียงของ มีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย เป็นจุดเชื่อมต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ ใน 3 ประเทศ จากไทย ทะลุลาว และจีนตอนใต้



เฟสแรกเปิดบริการสิ้นปีนี้
ความคืบหน้าล่าสุด “จิรุตม์ วิศาลจิตร” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ปัจจุบันการก่อสร้างระยะที่ 1 ใช้เงินลงทุน 2,193 ล้านบาท มีค่าเวนคืน 779 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 1,360 ล้านบาท คืบหน้าแล้ว 90.728% จะเสร็จเปิดบริการภายในปี 2563 นี้ จะรองรับปริมาณสินค้าได้ 270,000 TEU

ประกอบด้วย 1.อาคารคลังสินค้าศุลกากร 2.อาคารหอพัก 3.อาคารคลังสินค้าทัณฑ์บน 4.อาคารบริหารงานส่วนกลาง 5.ลานจอดรถและเปลี่ยนหัวลาก-หางลาก 6.ลานจอดรถ 7.โรงอาหารส่วนบริหารงานกลาง 8.อาคารซ่อมบำรุงส่วนบริหารงานกลาง และ 9.อาคาร CFS หลังที่ 1

ขณะที่การลงทุนในเฟสที่ 2 จะเริ่มในปี 2568 หลังรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สร้างแล้วเสร็จ โดยกรมจะใช้งบฯก่อสร้างอีก 660.43 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.อาคารคลังสินค้าขาออก 2.อาคาร CFS หลังที่ 2 3.อาคารสำนักงานฝ่ายปฏิบัติการ 4.อาคารคลังสินค้าขาเข้า 5.ลานกองตู้คอนเทนเนอร์ 6.โรงอาหารส่วนปฏิบัติงาน 7.อาคารซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล 8.อาคาร CCA และ 9.อาคาร X-ray เมื่อสร้างเสร็จจะทำให้ศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 440,000 TEU

“เฟส 1 สร้างเสร็จแล้ว ในช่วงแรกกรมจะเข้าไปบริหารงานก่อน 1 ปี ระหว่างรอประมูลหาเอกชนร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุน 2562 ในการบริหารศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี คาดว่าจะได้เอกชนมาดำเนินการปลายปี 2564 และเข้าบริหารในช่วงปี 2565”

ดึงเอกชน PPP 787 ล้าน
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า โครงการนี้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ระยะเวลา 15 ปี โดยเอกชนต้องเข้ามารับผิดชอบการบริหารการเดินระบบและซ่อมบำรุง (O&M) ทั้งหมด และต้องส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ของโครงการที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนกลับมาให้กรมการขนส่งทางบก เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ

“รัฐจะลงทุนค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ เอกชนจะลงทุน 787 ล้านบาท ในระยะแรก 29 ล้านบาท ค่าดำเนินการ 410 ล้านบาท และค่าซ่อมบำรุง 348 ล้านบาท”

หลังจากนี้ จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ จะเร่งร่างกำหนดขอบเขตงาน (TOR) ให้เสร็จต้นปี 2564 คาดว่าได้เอกชนปลายปีและเซ็นสัญญาไตรมาส 1 ปี 2565 ตลอดอายุสัญญา รัฐจะได้รับผลตอบแทน 147 ล้านบาท จากค่าสัมปทานปีที่ 1-5 จ่าย 8 ล้านบาท/ปี

ปีที่ 6-10 จ่าย 9.2 ล้านบาท/ปี และปีที่ 11-15 จ่าย 10.58 ล้านบาท/ปี ยังไม่รวมส่วนแบ่งรายได้ที่เอกชนต้องให้รัฐอีก



เปิดสเป็กเอกชน
สำหรับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอมีทั้งนิติบุคคลรายเดียวและกิจการร่วมค้า โดยเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลไทยถือหุ้นรวมกันมากกว่า 50% ส่วนกิจการร่วมค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ หากได้รับการคัดเลือกต้องจดทะเบียนให้เสร็จใน 30 วัน นับจากวันที่ ครม.เห็นชอบ และมีทุนจดทะเบียนชำระเต็มมากกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป

ส่วนประสบการณ์และผลงานต้องเคยบริหารใน 9 กิจการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ได้แก่ ศูนย์ขนส่งหรือศูนย์กระจายสินค้า, สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง, สถานีขนส่ง, คลังสินค้า, ลานวางกองสินค้า, บริการขนถ่ายสินค้า, บริการขนส่งบริการรับจัดการขนส่ง, ย่านกองเก็บตู้สินค้า ลานวางกองตู้สินค้า โรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้า

และบรรจุของขาออกที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์นอกเขตทำเนียบท่าเรือและการพัฒนาพื้นที่ให้บริการศูนย์โลจิสติกส์ มีวงเงินไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท หรือมีรายรับไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท

หวั่นลงทุนไม่คุ้ม
อย่างไรก็ตาม ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของเอกชนเมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา มีเอกชนมาร่วมรับฟังและแสดงความเห็นประมาณ 20 ราย อาทิ บจ.ไทยแสง จันทบุรี โลจิสติกส์, บจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติก ในเครือ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี, บจ.ดอนเมืองพัฒนา ผู้บริหารตลาดสี่มุมเมือง, บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) และ บจ.อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล เป็นต้น

เอกชนกังวล 3 เรื่อง คือ 1.ทุนจดทะเบียนนิติบุคคลที่สูงเกินไป ซึ่งตัวแทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า กำหนดทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท จะได้เฉพาะเอกชนที่มีขนาดธุรกิจในระดับกลางและใหญ่ เอกชนรายย่อยเข้าไม่ถึงประกอบกับบริเวณที่ตั้งของศูนย์เปลี่ยนถ่ายไม่มีดีมานด์มากพอ มีแค่โครงการถนน R3A เชื่อมประเทศจีน และ สปป.ลาว ทำให้ความน่าสนใจไม่มากพอ เมื่อเทียบกับศูนย์เปลี่ยนขนส่งสินค้า จ.นครพนม ที่มีรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวมาเชื่อมปี 2564

2.การก่อสร้างรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดความน่าสนใจการลงทุน โดยตัวแทนจากเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ กล่าวว่า แม้ว่าตามแผนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระบุจะเปิดให้บริการในปี 2568 แต่มีความเป็นไปได้สูงที่แผนจะเลื่อนอีก ส่งผลต่อเอกชนที่จะเข้ามาบริหารเพราะอาจจะต้องรอมากกว่า 3 ปี กว่ารถไฟทางคู่จะมา เป็นความเสี่ยงชนิดหนึ่งจึงควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อลดความเสี่ยง

และ 3.ควรให้มี exit cost (ค่าบอกเลิกสัญญา) เป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญา โดยสภาพการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ผันผวนสูง ระยะเวลาบริหาร 15 ปี จึงนานไปจะทำให้เอกชนมีความเสี่ยงสูง หากเอกชนรับภาระของโครงการไม่ไหว จึงควรให้มีการระบุถึงการจ่ายค่า exit cost เมื่อยกเลิกสัญญาก่อนสิ้นสุดอายุสัมปทาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2020 6:48 pm    Post subject: Reply with quote

ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและรายงานผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ข่าวการเมือง วันที่ 13 สิงหาคม 2563 18:45 —
มติคณะรัฐมนตรี

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 สิงหาคม 2563

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเห็นชอบการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

1. ในส่วนข้อที่ 1 ที่เดิมกำหนดว่า “อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (โครงการฯ) ตามที่ คค. เสนอและตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอเพิ่มเติมทั้ง 3 ข้อ ...” โดยให้ยกเลิกความเห็นเพิ่มเติมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมข้อที่ 1 ที่ขอให้โครงการฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (คกจ.) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 11/2560 (เรื่อง การกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ) เพื่อให้ การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการฯ มีความโปร่งใสและเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล เนื่องจาก คกจ. ได้สิ้นสภาพลง และแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวอาจเป็นประเด็นในเรื่องประสิทธิภาพของการบริหารจัดการโครงการตามที่ รฟท. เสนอมา

2. ในส่วนข้อที่ 6 ที่เดิมกำหนดว่า “ในส่วนของการประกวดราคาจ้างก่อสร้างเพื่อดำเนินโครงการฯ ให้ คค. (รฟท.) เสนอ คกจ. ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2560 (เรื่อง การกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ) เพื่อพิจารณาวิธีการประกวดราคาโครงการฯ ที่เหมาะสม ...” โดยให้ยกเลิกมติในข้อดังกล่าว เนื่องจาก คกจ. ได้สิ้นสภาพลง โดยขั้นตอนของการประกวดราคาจ้างก่อสร้าง เห็นชอบให้ รฟท. ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

คค. รายงานว่า
1. ภายหลังจากที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 รฟท. ได้เสนอประธาน คกจ. พิจารณาเปลี่ยนแปลงแนวทางการแบ่งสัญญาโครงการฯ ไปจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ โดยแบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการฯ ออกเป็น 7 สัญญา ประกอบด้วยสัญญางานโยธาฯ จำนวน 6 สัญญา และสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ จำนวน 1 สัญญา *

2. ต่อมา คกจ. ได้แจ้งผลการพิจารณาไปยัง รฟท. ว่า เห็นชอบตามแนวทางดังกล่าวที่ รฟท. เสนอ โดย คกจ. มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น รฟท. ควรปรับแผนการดำเนินงานให้กระชับขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 75 เดือน โดยงานส่วนใดที่สามารถดำเนินการได้ก่อนควรเร่งดำเนินการเพื่อจะได้เปิดให้บริการ แก่ประชาชนได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม คกจ. ยังไม่ได้รายงานผลการพิจารณาแนวทางการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ ดังเช่นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 5 โครงการ (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560) อย่างที่ผ่านมา เนื่องจากหัวหน้า คสช. ได้มีคำสั่ง ที่ 9/2562 (เรื่อง การยกเลิกประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. บางฉบับที่หมดความจำเป็น) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ส่งผลให้ คกจ. ถูกยกเลิกไปด้วย



3. รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาและจัดการประกวดราคาก่อสร้างโครงการฯ และได้ทบทวนแนวทางการแบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการฯ ระหว่างแบ่งเป็น 3 สัญญา โดยรวมงานโยธาฯ และงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ในแต่ละสัญญาตามที่เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการฯ จากคณะรัฐมนตรี เปรียบเทียบกับแบ่งเป็น 7 สัญญา โดยแยกงานโยธาฯ และงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากกันตามที่ คกจ. เห็นชอบเพื่อนำเสนอคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการ รฟท.) พิจารณาแนวทางการดำเนินงานเนื่องจาก คกจ. ได้สิ้นสภาพแล้ว โดยมีผลการทบทวน ดังนี้

หัวข้อ - กรณี 3 สัญญา(ตามข้อเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการฯ)

1. ด้านบริหารสัญญา - บริหารโครงการได้ง่าย ไม่มีปัญหา ข้อโต้แย้งระหว่างผู้รับเหมาแต่ละรายสามารถเร่งรัดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



2. ด้านงบประมาณ - ค่าดำเนินการไม่เพิ่ม เนื่องจากสามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรร่วมกันได้ - ไม่ต้องจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ (PMC)

3. ด้านระยะเวลา - สามารถเปิดเดินรถได้ตามแผนเนื่องจากสามารถควบคุมการดำเนินงานภายใต้สัญญาเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อ - กรณี 7 สัญญา(ตามความเห็น คกจ.)

1. ด้านบริหารสัญญา- มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาข้อโต้แย้งเนื่องจากมีการทำงานที่ซับซ้อน ไม่สามารถเร่งรัดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ด้านงบประมาณ- ค่าดำเนินการเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรร่วมกันได้ - ต้องจ้าง PMC มาบริหาร เนื่องจากมีหลายสัญญา



3. ด้านระยะเวลา- ไม่สามารถเปิดการเดินรถได้ตามแผน เนื่องจากไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากการแยกสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากงานโยธาฯ เช่น เกิดข้อพิพาทจากการทำงานบนพื้นที่ที่ทับซ้อนกัน

4. คณะกรรมการ รฟท. ในการประชุมครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ได้พิจารณาผลการทบทวนแนวการแบ่งสัญญาก่อสร้างโครงการฯ เปรียบเทียบกับกรณีที่ รฟท. ได้เคยดำเนินการมาแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยมีผลการดำเนินงานในแต่ละแนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ 1: รวมสัญญางานโยธาฯ และสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ในแต่ละสัญญา(คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561)

(1) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย

ผลการดำเนินงาน

ขยายสัญญาเพิ่ม 7 เดือน เนื่องจากปัญหาผู้บุกรุกและการเวนคืน (ปัจจัยภายนอก)

(2) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น

ผลการดำเนินงาน

ขยายสัญญาเพิ่ม 6 เดือน เนื่องจากการปรับรูปแบบงานก่อสร้างสถานีรถไฟบ้านไผ่ (ปัจจัยภายนอก)

แนวทางที่ 2: แยกสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากสัญญางานโยธาฯ (ตามที่ คกจ. เห็นชอบ)



โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 5 โครงการ

(1) โครงการทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ

(2) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ

(3) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน

(4) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์

(5) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

ผลการดำเนินงาน

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีแนวโน้มว่าโครงการจะมีความล่าช้ากว่าแผนงานประมาณ 1-2 ปี เนื่องจากปัญหาการเชื่อมประสานระหว่างงานโยธาฯ กับงานระบบอาณัติสัญญาณฯ

คค. พิจารณาแล้วเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการ รฟท. โดยเห็นว่า การรวมสัญญางานโยธาฯ และงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ไว้ในแต่ละสัญญา (3 สัญญา) จะทำให้การบริหารสัญญามีความคล่องตัวก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านการควบคุมงานและบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิผลมากกว่าการแยกสัญญางานโยธาฯ ออกจากสัญญางานระบบอาณัติสัญญาณฯ (7 สัญญา) เนื่องจากการบริหารโครงการก่อสร้างที่มีผู้รับจ้างหลายรายจะมีความซับซ้อนมากขึ้น ขาดความยืดหยุ่นในการบริหารสัญญา และอาจทำให้มูลค่าโครงการโดยรวมเพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (PMC) เพิ่มขึ้น ค่าก่อสร้างในการวางรางเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องสร้างโรงเชื่อมรางเพิ่มตามจำนวนของสัญญา และอาจมีความเสี่ยงที่โครงการจะล่าช้ากว่าแผนงานประมาณ 1-2 ปี เนื่องจากปัญหาเรื่องการเชื่อมประสานระหว่างขอบเขตงานโยธาฯ และงานระบบอาณัติสัญญาณฯ รวมถึงหากการก่อสร้างสัญญาใดมีความล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการในภาพรวม เพราะต้องรอให้สัญญางานโยธาฯ แล้วเสร็จและส่งมอบพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถดำเนินงานระบบอาณัติสัญญาณฯ ได้ เพราะหากมีการดำเนินการสองสัญญาพร้อมกันในพื้นที่เดียวกันจะมีความยุ่งยากในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก

สาเหตุที่ รฟท. เสนอ คกจ. มีข้อเสนอในลักษณะดังกล่าว เนื่องจาก รฟท. ยึดแนวทางการแบ่งสัญญาตามที่ คกจ. ได้เคยพิจารณาในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ซึ่งกำหนดให้มีการแบ่งสัญญางานโยธาฯ และระบบอาณัติสัญญาณฯ ออกจากกัน



13 ส.ค. 63 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเห็นชอบการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

1. ในส่วนข้อที่ 1 ที่เดิมกำหนดว่า “อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการ
ก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (โครงการฯ) ตามที่ คค. เสนอและตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอเพิ่มเติมทั้ง 3 ข้อ ...” โดยให้ยกเลิกความเห็นเพิ่มเติมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมข้อที่ 1 ที่ขอให้โครงการฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (คกจ.) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะ
รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 11/2560 (เรื่อง การก ากับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ) เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการฯ มีความโปร่งใสและเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล เนื่องจาก คกจ. ได้สิ้นสภาพลง และแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวอาจเป็นประเด็นในเรื่องประสิทธิภาพของการบริหารจัดการโครงการ
ตามที่ รฟท. เสนอมา
2. ในส่วนข้อที่ 6 ที่เดิมกำหนดว่า “ในส่วนของการประกวดราคาจ้างก่อสร้างเพื่อดำเนินโครงการฯ
ให้ คค. (รฟท.) เสนอ คกจ. ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2560 (เรื่อง การกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ) เพื่อพิจารณาวิธีการประกวดราคาโครงการฯ ที่เหมาะสม ...” โดยให้ยกเลิกมติในข้อดังกล่าว เนื่องจาก คกจ. ได้สิ้นสภาพลง โดยขั้นตอนของการประกวดราคาจ้างก่อสร้าง เห็นชอบให้ รฟท. ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ต่อไป

Note: ผลจากคณะรัฐมนตรีดังกล่าวทำให้ เปิดประมูลโดยแบ่งเป็น สามสัญญา โดยทั้งสามสัญญาได้รวมทั้งงานโยธาและงานติดตั้งระบบสัญญาณ ตามที่ การรถไฟต้องการได้ เพราะ คณะกรรมการผู้เสนอการแบ่งสัญญา เจ็ดส่วน โดยเป็นงานโยธาหกส่วนและงานระบบสัญญาณ หนึ่งส่วน นั้นเลิกไปแล้ว และ ตัดค่าโสหุ้ยในการจ้าที่ปรึกษาโครงการไปได้ และตัดค่าดำเนินการออกไปด้วย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3287175011329421&set=a.2805255826188011&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2020 8:45 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวแบ่ง 3 สัญญา สร้างทางคู่ ”เด่นชัย – เชียงของ” 8.5 หมื่นล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 13 สิงหาคม 2563 - 20:25 น.


นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 13 ส.ค. 2563 มีมติรับทราบผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 8.5 หมื่นล้านบาท และเห็นชอบการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2561 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

ยกเลิกมติเดิมปี’61
โดยเห็นชอบให้มีการตัดข้อความโดยให้ยกเลิกที่เป็นความเห็นเพิ่มเติมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมข้อที่ 1 ที่ขอให้โครงการอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (ซุปเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 11/2560 เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการมีความโปร่งใสและเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล เนื่องจากซุปเปอร์บอร์ดได้สิ้นสภาพลงแล้ว และให้ขั้นตอนของการประกวดราคาจ้างก่อสร้างเป็นหน้าที่ของ ร.ฟ.ท. และให้ดำเนินการตามพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ต่อไป

รวบงานโยธา-ระบบเป็นสัญญาเดียว
รวมถึงให้กลับมาแบ่งสัญญาของโครงการให้เป็น 3 สัญญาตามเดิม โดยรวมงานก่อสร้างและงานระบบอานัติสัญญาณไว้ด้วยกัน จากเดิมที่ซุปเปอร์บอร์ดเคยเสนอให้แบ่งงานออกเป็น 7 สัญญา แยกวานโยธาและงานระบบ เนื่องจากการบริหารสัญญาจะมีความคล่องตัวและก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านการควบคุมงาน

รวมถึงการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิผลมากกว่าการแยกสัญญา และทำให้ต้นทุนบางอย่างไม่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (PMC), ค่าก่อสร้างในการวางรางเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องสร้างโรงเชื่อมรางเพิ่มตามจำนวนของสัญญา เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 39, 40, 41 ... 77, 78, 79  Next
Page 40 of 79

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©