RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181622
ทั้งหมด:13492860
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 65, 66, 67  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

📢สวัสดียามเย็นค่ะ 🙏🏻🥰
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
8 กรกฎาคม 2563 at 4:30 PM ·

น้องทันใจแวะมา Update ภาพรวมการดำเนินงานก่อสร้าง ของโครงการฯ ประจำเดือนมิถุนายน 2563 ให้ได้ชมกันค่ะ มาดูกันค่ะว่าเดือนที่ผ่านมา มีเรื่องราวและการดำเนินงานไหนที่น่าสนใจและน่าติดตามกันบ้างค่ะ 🙏🏻👍🏻⚙️🔧🚝
https://www.facebook.com/CRSTECONYL/videos/1895118387291734/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 3:55 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพอัพเดทการดำเนินงานของสถานีรัชดา ของ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
11 กรกฎาคม 2563
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

สถานีรัชดา ตั้งอยู่บนพื้นที่บนถนนรัชดาภิเษก บริเวณแยกรัชดา - ลาดพร้าว ในอนาคตจะสามารถเดินทางต่อเนื่องไปยัง รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลาดพร้าว ซึ่งเป็นย่านใจกลางเมือง ย่านรัชดาฯ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น อาคารจอดรถ และร้านค้า ร้านอาหาร ฯลฯ
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2555002578049794
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2020 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

ขอเชิญทุกท่านติดตามชมสกู๊ปข่าว “ทำความรู้จักระบบโมโนเรลแห่งแรกในประเทศไทย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง" ในรายการข่าวเช้าไทยรัฐ เสาร์-อาทิตย์ โดยจะออกอากาศในวันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00-11.15 น. ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32 📺
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2559752987574753
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2020 1:14 pm    Post subject: Reply with quote

#โชคชัย4 เขายก I-Girder แล้วนะรู้ยัง??
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
18 กรกฎาคม 2563

วันนี้เราอยู่กันบนถนนลาดพร้าว น้องทันใจพามาชมภาพการดำเนินงานของสถานีโชคชัย 4 ค่ะ

สถานีโชคชัย 4 ตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว บริเวณแยกโชคชัย 4 ซึ่งได้มีการดำเนินงานติดตั้งชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูป (I-Girder , TT-girder) สำหรับชั้นจำหน่วยตั๋ว และชั้นชานชาลา ของสถานี คาดว่าเร็วๆนี้ งานสถานีบนถนนลาดพร้าว จะเริ่มดำเนินงานติดตั้งแผ่นพื้นสถานีและโครงสร้างอาคาร หลังคา ของงานสถานีนั่นเองค่ะ

ครั้งหน้าน้องทันใจจะนำภาพการดำเนินงานของโครงการฯ จุดไหน สถานีใด มาให้ชมกันอีกนั้น โปรดรอติดตามชมกันด้วยนะคะ

#ไม่เห็นหน้าไม่เป็นไรเห็นโครงหลังคาก็ยังดี...
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
17 กรกฎาคม 2563

สวัสดีค่ะ น้องทันใจมาอัพเดทภาพการดำเนินงานก่อสร้างให้ทุกท่านได้ชมกันอีกเช่นเคยค่ะ

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานของสถานีศรีนครินทร์ 38 กันค่ะ
สถานีศรีนครินทร์ 38 ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณซอยศรีนครินทร์ 38 ซึ่งได้มีการดำเนินงานมาจนถึงขั้นตอนของการก่อสร้างโครงสร้างสถานี ติดตั้งโครงหลังคา เตรียมความพร้อมสำหรับติดตั้งหลังคาสถานีกันแล้วนะคะ ครั้งหน้าน้องทันใจจะนำภาพการดำเนินงานของโครงการฯ จุดไหน สถานีใด มาให้ชมกันอีกนั้น โปรดรอติดตามชมกันด้วยนะคะ


#ลาดพร้าว71 เขายก I-Girder แล้วนะรู้ยัง??
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
16 กรกฎาคม 2563



วันนี้เราอยู่กันบนถนนลาดพร้าว น้องทันใจพามาชมภาพการดำเนินงานของสถานีลาดพร้าว 71 ค่ะ

สถานีลาดพร้าว 71 ตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว บริเวณจุดตัดถนนประดิษฐ์มนูธรรม (ซอยลาดพร้าว 71) ซึ่งได้มีการดำเนินงานติดตั้งชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูป (I-Girder , TT-girder) สำหรับชั้นจำหน่วยตั๋ว และชั้นชานชาลา ของสถานี คาดว่าเร็วๆนี้ งานสถานีบนถนนลาดพร้าว จะเข้มข้นและดุเดือดมากๆเลยค่ะ

ครั้งหน้าน้องทันใจจะนำภาพการดำเนินงานของโครงการฯ จุดไหน สถานีใด มาให้ชมกันอีกนั้น โปรดรอติดตามชมกันด้วยนะคะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2020 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย “สายสีเหลือง” สะดุด ชงบอร์ด รฟม.ชี้ขาด
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 - 07:01 น.

โมโนเรลสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย “รัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน” สะดุด หลัง BEM แจงอาจได้รับผลกระทบ รฟม.หวั่นหาข้อสรุปไม่ได้ ชงบอร์ดชี้ขาด 19 ส.ค. ด้านบีทีเอสยืนกรานขอรอดูตัวเลขผู้โดยสาร หลังเปิดบริการจริง พร้อมลงทุนให้รัฐ 100% ระบุไม่ส่งผลเดินรถ “ลาดพร้าว-สำโรง” เปิดใช้พร้อมสายสีชมพู “แคราย-มีนบุรี” ต.ค.ปีหน้า

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติโครงการลงทุนส่วนต่อขยายสายสีเหลือง รัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. ที่กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์-บมจ.ซิโน-ไทยฯ-บมจ.ราชกรุ๊ป) รับสัมปทาน 33 ปี ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เสนอลงทุนเพิ่มวงเงิน 3,779 ล้านบาท จากสถานีลาดพร้าวที่จะเชื่อมต่อสายสีน้ำเงินและสายสีเหลืองตามแนวถนนรัชดาฯ ผ่านศาลอาญา ม.ราชภัฏจันทรเกษม เชื่อมแยกรัชโยธิน ระหว่างสถานีพหลโยธิน 24 กับสถานีรัชโยธิน ของสายสีเขียวหมอชิต-คูคต

หวั่นกระทบผู้โดยสาร
ล่าสุด บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ทำหนังสือถึง รฟม. อ้างอิงสัญญาสัมปทานสายสีน้ำเงินที่ทำไว้ในข้อ 21 ข้อตกลงกระทำการและงดเว้นกระทำการของ รฟม. ใน “ข้อ ข.” ที่ระบุว่า ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขของสัญญานี้ รฟม.รับว่าจะไม่กระทำ และจะต้องงดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจขัดขวางหรือกระทบกระเทือนต่องานหรือการดำเนินการหรือการไหลเวียนของผู้โดยสารเข้าสู่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือการจัดเก็บค่าโดยสารหรืออัตราค่าโดยสารตามสัญญานี้ โดย BEM ขอให้ รฟม.เจรจา BTS ชดเชยรายได้ กรณีที่เกิดผลกระทบสายสีเหลืองส่วนต่อขยายเปิดบริการที่อาจทำให้ผู้โดยสารสายสีน้ำเงินลดลง โดยมองว่าเป็นการแข่งขัน เหมือนกรณีทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ที่ได้สร้างโทลล์เวย์

ทั้งนี้ คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.อนุมัติส่วนต่อขยายสายสีเหลืองไปแล้ว พร้อมแบ่งรายได้ค่าโดยสารตามปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น หากเกิน 30% และ 50% ขึ้นไป จะแบ่งให้ รฟม. 30-50% เป็นรายได้เพิ่มอีกปีละ 250 ล้านบาทในปีที่ 11-30 ซึ่งบอร์ดให้ รฟม.เจรจากับ BEM และ BTS ให้จบเกี่ยวกับประเด็นนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องอนาคต และนำไปสู่การจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ

“ผลศึกษาระบุการสร้างสีเหลืองส่วนต่อขยายเชื่อมทางหลักและสายสีเขียวจะทำให้ผู้โดยสารสายสีน้ำเงินหายไป 6,000 เที่ยวคน/วัน คิดเป็นรายได้ที่สูญตลอดสัมปทานถึงปี 2592 จะอยู่ที่ 900-1,400 ล้านบาท ขึ้นอยู่ที่ว่าจะมีค่าแรกเข้าซ้ำระหว่างรถไฟฟ้าสองสายหรือไม่”

โดย รฟม.ได้เจรจากับบีทีเอสเกี่ยวกับเคสนี้แล้ว และให้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) เป็นเงื่อนไขในสัญญา ล่าสุด BTS ทำหนังสือยืนยันมายัง รฟม. จะไม่ชดเชยรายได้ให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ เนื่องจากเป็นผลกระทบที่ยังไม่เกิดขึ้น จะสามารถพิสูจน์ได้หลังจากเปิดบริการแล้ว


“สองฝ่ายไม่มีใครยอมใคร เจรจาหลายครั้งไม่ยุติ รฟม.ก็ไม่อยากการันตีว่าจะเกิดหรือไม่เกิดเรื่องผลกระทบ ไม่อยากให้เป็นข้อพิพาท ควรมีกรอบเวลาให้เรื่องจบ สายสีเหลืองจะเปิดเต็มรูปแบบเดือน ก.ค. 2565 หากยังไม่ยุติก็ต้องพับโครงการ” แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สายสีเหลืองส่วนต่อขยายพร้อมเดินหน้าก่อสร้าง โดยได้รับอนุมัติ EIA (รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม) และบอร์ด รฟม.อนุมัติผลเจรจาค่าตอบแทนกับบีทีเอสแล้ว แต่ติดประเด็นดังกล่าวทำให้โครงการล่าช้า

ชงบอร์ด รฟม.เคาะ 19 ส.ค.
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า วันที่ 19 ส.ค.นี้ จะเสนอความคืบหน้าให้บอร์ดรฟม.พิจารณาอีกครั้ง เพื่อหาข้อยุติ เนื่องจาก BTS ทำหนังสือมาแล้ว “BTS ระบุว่า ผลกระทบต่อผู้โดยสารสายสีน้ำเงินนั้น อาจมาจากหลายปัจจัยก็ได้ เช่น พฤติกรรมการเดินทางของคนเปลี่ยนไป เพราะมีรถไฟฟ้าให้บริการหลายสาย หรืออาจจะกระทบมากตามผลศึกษา หากมีข้อพิพาทในอนาคตอาจต้องยกเลิกโครงการ ซึ่งอยู่ที่การตัดสินใจของบอร์ด”

ย้ำคุยกันหลังเปิดใช้
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า ส่วนต่อขยายสายสีเหลืองได้รับอนุมัติพร้อมกับส่วนต่อขยายสายสีชมพู แต่เงื่อนไขต่าง ๆ ตั้งขึ้นภายหลัง อยากขอให้รัฐนึกถึงประชาชน หาก รฟม.ไม่ให้สร้างก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเสียเงินลงทุนอีก 3,700 ล้านบาท เพราะมีแค่ 2 สถานี และการทำให้โครงการมีกำไรก็ไม่ได้ง่าย

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า ยืนยันไปยัง รฟม.แล้วจะไม่รับประกันชดเชยรายได้ เนื่องจากบริษัทลงทุนให้รัฐ 100% และแบ่งรายได้ให้ รฟม.เพิ่ม เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการเดินทาง

ตุลาคม’64 ได้นั่งสีชมพู-สีเหลือง
ปัจจุบันสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง คืบหน้าแล้ว 57.90% สายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี คืบหน้า 57.53% ปลายปี 2563 รถขบวนแรกทั้ง 2 สายจะถึงประเทศไทย ส่วนที่เหลือจะทยอยส่งมอบ คาดว่าจะเปิดใช้ในเดือน ต.ค. 2564

สายสีเหลืองมีแนวโน้มจะเปิดได้ตลอดสาย ส่วนสีชมพูอาจเปิดเป็นช่วง ๆ เพราะยังติดเรื่องพื้นที่ ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีชมพูจากศรีรัช-เมืองทองธานี ต้องรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2020 11:26 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.สั่งรับเหมา “ชมพู-เหลือง” หยุดงานติดตั้งคานสถานี เร่งตรวจอุปกรณ์ ขันนอตเหตุถล่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 6 สิงหาคม 2563 - 19:47



รฟม.เรียกผู้รับเหมาโมโนเรล 2 สาย ถกสาเหตุเสาตอม่อรถไฟฟ้าสีชมพูถล่ม โดยสั่งหยุดงานติดตั้งคานสถานีทั้งหมด รวมทั้งสายสีเหลืองด้วย เพื่อเข้าตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ กำชับเข้มงวดควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

วันนี้ (6 ส.ค.) นายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) ได้เรียกประชุมกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCPK และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจี เนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี รวมถึงกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCYL และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EMB) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เพื่อร่วมหารือมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในงานก่อสร้างโครงการ และตรวจสอบข้อเท็จจริงอันเนื่องมาจากกรณีอุบัติเหตุโครงค้ำยันชั่วคราวระหว่างติดตั้งคานสำเร็จรูป เชื่อมกับเสาสถานีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ทรุดตัวลงมาเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. วันที่ 6 ส.ค.

โดยในเบื้องต้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCPK ได้ชี้แจงว่า หลังเกิดเหตุได้สั่งให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ หยุดงานติดตั้งคานสถานี ที่อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งหมดของโครงการโดยทันที และจะเข้าไปตรวจสอบ ทบทวนรายละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทั้งหมด ทั้งในด้านเทคนิควิศวกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การควบคุมงาน และความพร้อมของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในขณะที่เกิดเหตุ

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ซึ่งเป็นงานก่อสร้างระบบโมโนเรลเหมือนกัน และมีงานติดตั้งคานสถานีในลักษณะเดียวกันนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน ทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCYL ได้สั่งให้ผู้รับจ้างก่อสร้างหยุดงานติดตั้งคานสถานีทั้งหมดแล้วเช่นกัน

โดย รฟม.ได้มอบหมายให้ทั้ง 2 โครงการ ร่วมกันทบทวนมาตรฐานความปลอดภัยของงานก่อสร้างเพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีกในอนาคต สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ตลอดจนภาคประชาชน

นอกจากนี้ นายกิตติกรได้เน้นย้ำให้ทั้ง 2 โครงการ มีการควบคุมงานด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในกิจกรรมก่อสร้างต่างๆ ที่ดำเนินการตามปกติอยู่แล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความประมาทขึ้นได้ ทั้งนี้ รฟม.ยังคงมั่นใจว่า การหยุดงานบางส่วนเป็นการชั่วคราวของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ยังไม่กระทบต่อแผนการดำเนินงานก่อสร้างโดยรวม และรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายจะสามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ตามกำหนดเดิม


รฟม. สั่งผู้รับเหมารถไฟฟ้า “สีชมพู-สีเหลือง” หยุดติดตั้งคานชั่วคราวหวั่นตอม่อถล่มซ้ำ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 6 สิงหาคม 2563 - 21:21 น.

วันที่ 6 สิงหาคม 2563 นายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการ รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง เรียกประชุมกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCPK และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี รวมถึงกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCYL และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง
เพื่อร่วมหารือมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในงานก่อสร้างโครงการ และตรวจสอบข้อเท็จจริงอันเนื่องมาจากกรณีอุบัติเหตุโครงค้ำยันชั่วคราวระหว่างติดตั้งคานสำเร็จรูป เชื่อมกับเสาสถานีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ทรุดตัวลงมาเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันเดียวกันนี้


โดยในเบื้องต้น กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCPK ได้ชี้แจงว่า หลังเกิดเหตุได้สั่งให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูหยุดงานติดตั้งคานสถานี ที่อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งหมดของโครงการโดยทันที และจะเข้าไปตรวจสอบ ทบทวนรายละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทั้งหมด ทั้งในด้านเทคนิควิศวกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การควบคุมงาน และความพร้อมของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในขณะที่เกิดเหตุ


นอกจากนี้ ในส่วนของสายสีเหลือง ซึ่งเป็นงานก่อสร้างระบบโมโนเรลเหมือนกัน และมีงานติดตั้งคานสถานีในลักษณะเดียวกันนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน ทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCYL ได้สั่งให้ผู้รับจ้างก่อสร้างหยุดงานติดตั้งคานสถานีทั้งหมดแล้วเช่นกัน

โดย รฟม. ได้มอบหมายให้ทั้ง 2 โครงการ ร่วมกันทบทวนมาตรฐานความปลอดภัยของงานก่อสร้าง เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีกในอนาคต สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ตลอดจนภาคประชาชน

นอกจากนี้ได้เน้นย้ำให้ทั้ง 2 โครงการ มีการควบคุมงานด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในกิจกรรมก่อสร้างต่างๆ ที่ดำเนินการตามปกติอยู่แล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความประมาทขึ้นได้

ทั้งนี้ รฟม. ยังคงมั่นใจว่า การหยุดงานบางส่วนเป็นการชั่วคราวของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองยังไม่กระทบกับแผนการดำเนินงานก่อสร้างโดยรวม และรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย จะสามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ตามกำหนดเดิม

"รฟม." ขันน็อต งานก่อสร้าง 2รถไฟฟ้า "สายสีชมพู-สีเหลือง"
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 6 สิงหาคม 2563 19:00 น.

รฟม. ขันน็อตการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง ไม่ให้ซ้ำรอยเหตุการณ์ตอม่อถล่ม



กรณี เสาตอม่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่อยู่ระหว่างก่อสร้างพังถล่มลงมา บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. วันที่ 6 สิงหาคม 2563 นั้น มีแรงงานได้รับบาดเจ็บตามานั้น

นายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) เรียกประชุมกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCPK และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี รวมถึง กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCYL และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เพื่อร่วมหารือมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในงานก่อสร้างโครงการ และตรวจสอบข้อเท็จจริงอันเนื่องมาจากกรณีอุบัติเหตุโครงค้ำยันชั่วคราวระหว่างติดตั้งคานสำเร็จรูป เชื่อมกับเสาสถานีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ทรุดตัวลงมาเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันเดียวกันนี้ โดยในเบื้องต้น กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCPK ได้ชี้แจงว่า หลังเกิดเหตุได้สั่งให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ หยุดงานติดตั้งคานสถานี ที่อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งหมดของโครงการโดยทันที และจะเข้าไปตรวจสอบ ทบทวนรายละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทั้งหมด ทั้งในด้านเทคนิควิศวกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การควบคุมงาน และความพร้อมของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในขณะที่เกิดเหตุ นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ซึ่งเป็นงานก่อสร้างระบบโมโนเรลเหมือนกัน และมีงานติดตั้งคานสถานีในลักษณะเดียวกันนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน ทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา PCYL ได้สั่งให้ผู้รับจ้างก่อสร้างหยุดงานติดตั้งคานสถานีทั้งหมดแล้วเช่นกัน โดย รฟม. ได้มอบหมายให้ทั้ง 2 โครงการ ร่วมกันทบทวนมาตรฐานความปลอดภัยของงานก่อสร้าง เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีกในอนาคต สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ตลอดจนภาคประชาชน



นอกจากนี้ นายกิตติกรฯ ได้เน้นย้ำให้ทั้ง 2 โครงการ มีการควบคุมงานด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในกิจกรรมก่อสร้างต่างๆ ที่ดำเนินการตามปกติอยู่แล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความประมาทขึ้นได้ ทั้งนี้ รฟม. ยังคงมั่นใจว่า การหยุดงานบางส่วนเป็นการชั่วคราวของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ยังไม่กระทบกับแผนการดำเนินงานก่อสร้างโดยรวม และรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย จะสามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ตามกำหนดเดิม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2020 4:14 pm    Post subject: Reply with quote

สวัสดีค่ะ น้องทันใจมาอัพเดทภาพการดำเนินงานก่อสร้างให้ทุกท่านได้ชมกันอีกเช่นเคยค่ะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
18 สงหาคม 2563

วันนี้มาชมภาพการดำเนินงานของสถานีสวนหลวง ร.9 กันค่ะ

สถานีสวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณหน้าตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์ หรือ อยู่ระหว่างศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ และ ศูนย์การค้าพาราไดซ์ เพลส สถานีนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสถานีที่มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก และได้ดำเนินการมาถึงขั้นตอนของการดำเนินงานติดตั้งโครงหลังคา และงานก่อสร้างโครงสร้างสถานี

ครั้งหน้าน้องทันใจจะนำภาพการดำเนินงานของโครงการฯ จุดไหน สถานีใด มาให้ชมกันอีกนั้น โปรดรอติดตามชมกันด้วยนะคะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2020 12:23 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กเลย!!ไทม์ไลน์เปิดให้บริการ”รถไฟฟ้า”ทั่วไทย
*28 ปี รฟม.สร้างความสุขในการเดินทาง
*ประเดิม“สายสีชมพู-เหลือง”ได้นั่งปี 65
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2686027788285389
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2020 5:28 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เช็กเลย!!ไทม์ไลน์เปิดให้บริการ”รถไฟฟ้า”ทั่วไทย
*28 ปี รฟม.สร้างความสุขในการเดินทาง
*ประเดิม“สายสีชมพู-เหลือง”ได้นั่งปี 65


รฟม.เดินหน้าแผนก่อสร้างรถไฟฟ้า ยันปี 65 เปิด”สีชมพู-เหลือง”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 19:52


เปิดไทม์ไลน์รถไฟฟ้า “เมืองกรุง-หัวเมืองใหญ่” เปิดหวูดยาวถึงปี’71
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 13:55 น.

ครบรอบ 28 ปี ไปเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 “รฟม-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ในยุค “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” นั่งเป็นผู้ว่าการรันภารกิจในการสร้างรถไฟฟ้าสารพัดสีเป็นโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ในภูมิภาค

ปลายปี 2562 รฟม. ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเชื่อมการเดินทาง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแบบวงกลม จาก “สถานีหัวลำโพง” ไปยัง “สถานีหลักสอง” และเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง(คลองบางไผ่-เตาปูน) จาก “สถานีเตาปูน” ไปยัง “สถานีท่าพระ” โดยมีสถานีท่าพระเป็นสถานีร่วม



นอกจากนี้ รฟม. “ได้สร้างสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต แล้วเสร็จ และส่งมอบให้ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยทั้ง2เส้นทางทยอยเปิดบริการไปแล้ว ล่าสุดปลายปีนี้กทม.จะเปิด “ช่วงหมอชิต-คูคต” ตลอดสาย

ยังเร่งรัดโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทยสายสีชมพู “ช่วงแคราย – มีนบุรี” และสายสีเหลือง “ช่วงลาดพร้าว – สำโรง” ทั้ง 2 สายทางจะทยอยเปิดปลายปี2564และมีกำหนดเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบปี 2565




“สายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี ที่สร้างผ่าเมืองเชื่อมการเดินทางกรุงเทพ โซนตะวันออก-ตะวันตกให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยแบ่งสร้าง 2 ช่วง

ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี มีความคืบหน้ากว่า60% มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2567 ส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กำลังเปิดประมูลก่อสร้าง ตามแผนมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2569

ล่าสุดเตรียมผลักดันโครงข่ายใหม่ขยายรอบคลุมพื้นที่มากขึ้น มี “สายสีม่วง” ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ กำลังเร่งประมูลในปีนี้ จะเปิดให้บริการในปี 2570 และ “สายสีน้ำตาล” ช่วงแคราย – ลำสาลี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569



สำหรับการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในเขตภูมิภาค “รฟม.” ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมให้กำกับดูแลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าในเมืองหลักภูมิภาค 4 จังหวัด

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2571

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568

และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วง ม.พิษณุโลก – ห้างเซ็นทรัลฯ พิษณุโลก คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2571

ทั้งหมดเป็นภารกิจของ “รฟม.” ที่ดำเนินการมากว่า 2 ทศวรรษ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2020 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นค่าโง่ สั่ง รฟม.เจรจา “BTS-BEM” ปมชดเชยรายได้ “สีน้ำเงิน-เหลืองต่อขยาย”
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 31 สิงหาคม 2563 - 12:00 น.



ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีเหลืองเชื่อม ”รัชดา-รัชโยธิน” สะดุดยาว ถมปมชดเชยราย ”สายสีน้ำเงิน”ไม่ลงตัว บอร์ดสั่ง รฟม. เจรจา BTS-BEM ให้จบ หวั่นเกิดค่าโง่ ส่วน ”สายสีส้ม” บอร์ดปล่อยเป็นอำนาจกรรมการมาตรา 36 พิจารณาเองปรับเกณฑ์พิจารณาผู้แพ้-ชนะ รฟม.ยืนกรานยืนซอง 6 พ.ย.นี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2563 คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้มีการพิจารณารายงานผลเจรจาส่วนขยายสายสีเหลือง ช่วงรัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. ที่กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์-บมจ.ซิโน-ไทยฯ-บมจ.ราชกรุ๊ป) ผู้รับสัมปทาน 33 ปี ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เสนอลงทุนเพิ่ม 3,779 ล้านบาท ยืนยันจะไม่เกี่ยวข้องด้วยกรณีชดเชยรายได้ให้กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

“บอร์ดรับทราบผลเจรจาและให้ รฟม.เจรจากับกลุ่มบีทีเอส และ BEM เพราะมองว่าเป็นประเด็นสำคัญของการที่จะต้องปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่ง รฟม.ต้องการแค่ให้กลุ่มบีทีเอสยอมรับให้กำหนดไว้ในสัญญาเปิดให้เจรจากันในอนาคต เพราะผลกระทบรายได้ BEM ต้องไปพิสูจน์เท่าไหร่ และต้องมาพิสูจน์กันอีก ยังมีเวลาเจรจาไปจนกว่าสายสีเหลือเส้นทางหลังลาดพร้าว-สำโรงจะเปิดบริการตลอดสายในเดือน ก.ค.2565”

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ รฟม.ได้สอบถามประเด็นปัญหาดังกล่าวไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ซึ่งระบุว่าหลักของการเยียวยา จะต้องเกิดขึ้นจริงก่อน ถึงจะนำตัวเลขมาพิจารณากันว่ามีมูลค่าความเสียหายเท่าไหร่ จะเยียวยากันแบบไหน ในสัดส่วนเท่าไหร่ ทั้งนี้ในเมื่อปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขชัดเจน แต่ รฟม.มองว่ามีโอกาสที่จะเกิดสูง ก็อยากจะเปิดสัญญาให้เจรจาได้ในอนาคต

นอกจากนี้ บอร์ดยังรับทราบการขยายเวลายื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนนท์-มีนบุรี จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost 30 ปี วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ออกไปอีก 45 วันจากเดิมยื่นข้อเสนอวันที่ 23 ก.ย. เป็นวันที่ 6 พ.ย. 2563 หลังจากมีเอกชนยื่นหนังสือให้ปรับเกณฑ์การพิจารณาผู้ชนะประมูล โดยพิจารณาซองเทคนิคและซองราคาพร้อมกัน โดยนำคะแนนเทคนิค 30% พิจารณารวมกับซองราคา 70% โดยผู้ชนะจะเป็นผู้ที่ให้ผลตอบแทนรัฐสูงสุด

“บอร์ดพิจารณาแล้วเป็นอำนาจของกรรมการมาตรา 36 ส่วนกรณีที่บีทีเอสมายื่นหนังสือให้บอร์ดพิจารณาคัดค้านการเปลี่ยนเกณฑ์การพิจารณาใหม่ ซึ่งเป็นรายละเอียดเดียวกับที่ยื่นต่อคณะกรรมมาตรา 36 เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทุกประเด็นได้มีการพิจารณาไปแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการมาตรา 36 จะอนุมัติให้ปรับเกณฑ์ใหม่ได้ ซึ่งบอร์ดให้ รฟม. และคณะกรรมการ 36 พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ต่อกันเอง”

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ รฟม.ขอย้ำว่า การปรับเปลี่ยนเกณฑ์ดังกล่าวมองไม่เห็นว่าจะเอื้อประโยชน์ให้ใคร และตามกฎหมายให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพราะยังไม่มีการยื่นข้อเสนอ และขยายเวลาให้อีก 45 วัน ผู้ซื้อเอกสารมีเวลาทำเอกสารปรับปรุงไม่น้อยกว่า 70 วัน มากกว่ากำหนดไว้แต่แรก 60 วัน

“เรามองว่าไม่ได้เอื้อประโยชน์ใคร และไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบและเสียเปรียบกัน เพราะรถไฟฟ้าถึงแม้จะมีอายุสัมปทาน 30 ปี แต่การใช้งาน 50 ปี ขณะที่โครงสร้างมีอายุใช้งาน 100 ปี รฟม.ต้องจัดหาอุปกรณ์ งานระบบ งานโยธา ที่มีคุณภาพสูง เพราะเป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องการเทคโนโลยีเฉพาะในการดำเนินการ เป็นหลักเดียวกับที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ที่ระบุเป็นการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยึเฉพาะ ให้มีการคัดเลือกโดยนำเรื่องของทางเทคนิคประกอบการพิจารณาคัดเลือกด้วย“

ยืดโมโนเรล “สีเหลือง” ติดล็อกปมชดเชย MRT-บอร์ด รฟม.ยันความเสี่ยง-ต้องเปิดช่องเจรจา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 31 สิงหาคม 2563 - 06:12



บอร์ด รฟม.สั่งเจรจา EBM ขยาย “สีเหลือง” เชื่อมสีเขียว สัญญาต้องเปิดให้เจรจาชดเชยผลกระทบ MRT ชี้เป็นความเสี่ยง ให้เวลาถึงเปิดเดินรถ ก.ค. 65 และเห็นชอบตั้งเผื่อหนี้สูญ 97 ล้าน ปมคดีทางเชื่อม “คอนโด แอชตัน”

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ได้รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธานเมื่อวันที่ 28 ส.ค. ถึงผลการเจรจาเงื่อนไขการต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน กับ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทาน กรณีผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งทาง EBM ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับกรณีมีการชดเชยให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน กรณีที่การต่อขยายสายสีเหลืองส่งผลกระทบต่อรายได้และผู้โดยสารของ MRT สายสีน้ำเงิน

ทั้งนี้ บอร์ดเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงมีมติให้ รฟม.เจรจาต่อไป ซึ่ง รฟม.ต้องการให้สัญญาเปิดให้มีการเจรจากันได้ในอนาคตเท่านั้น จึงให้ทาง EBM ยอมรับในการเจรจากันภายหลัง กรณีที่เกิดผลกระทบต่อสายสีน้ำเงิน และการขาดรายได้ โดยส่วนของ BEM มีภาระที่จะต้องพิสูจน์ว่าผลกระทบเกิดขึ้นจากการต่อขยายสายสีเหลืองเป็นเท่าไร

“รฟม.ได้สอบถามอัยการแล้ว ซึ่งอัยการระบุว่าหลักของการเยียวยาความเสียหายต้องเกิดขึ้นจริงก่อนถึงจะนำตัวเลขนั้นมาพิจารณามูลค่าความเสียหาย วันนี้เราเห็นว่ามีโอกาสที่เกิดความเสียหายสูง จึงต้องการให้เปิดสัญญาไว้เพื่อให้เจรจากันได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีเวลาเจรจาไปจนกว่าจะเปิดเดินรถสายสีเหลืองส่วนหลักครบตลอดสายในเดือน ก.ค. 2565”

รายงานข่าวแจ้งว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลืองตามแผนแม่บทกำหนดเส้นทางช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสีน้ำเงินที่สถานีลาดพร้าวอยู่แล้ว แต่เมื่อเปิดประมูล ทาง EBM เสนอขอต่อขยายสายสีเหลืองไปอีก 2.6 กม. จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนรัชดาภิเษกเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีพหลโยธิน 24 โดยรับผิดชอบออกค่าก่อสร้าง ค่าเวนคืนราว 3,000-4,000 ล้านบาทเอง และยืนยันว่าไม่มีหน้าที่ชดเชยกรณีผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ลดลง

@ตั้งหนี้สูญ 97 ล้าน ปมคดีทางเชื่อม “คอนโด แอชตัน”

นอกจากนี้ บอร์ด รฟม.ยังอนุมัติตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ กรณีทางเชื่อมคอนโดมิเนียม แอชตัน อโศกของ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ กับสถานีสุขุมวิท ประมาณ 97 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าต่อเชื่อม และค่าเสียโอกาส ที่ทำให้ลานจอดรถ รฟม.เปิดให้บริการไม่ได้ประมาณ 4 ปี เนื่องจากทางเอกชนมีปัญหาฟ้องร้องกับ กทม. เรื่องการขออนุญาตเปิดใช้อาคาร ปัจจุบันคดียังไม่สิ้นสุด ขณะเดียวกัน สตง.ได้เข้ามาตรวจสอบเรื่องการอนุญาตทำทางเชื่อมอาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งทางอนันดามีการวางแบงก์การันตีไว้ แต่ทางหลักบัญชีหากครบ 1 ปีแล้วยังไม่เรียกเก็บต้องตั้งเป็นหนี้เผื่อสงสัยจะสูญไว้ก่อน

นายภคพงศ์กล่าวว่า บอร์ด รฟม.ยังมีมติเห็นชอบตามที่ รฟม.เสนอการปรับปรุงตัวชี้วัดเรื่องรายได้ ปริมาณผู้โดยสาร ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 จากเดิมปริมาณผู้โดยสารตั้งเป้าตัวชี้วัดเพิ่มขึ้น 5-7% ขณะนี้ยังต่ำกว่าเป้าเดิมก่อนเกิดโควิด-19 รวมถึงแผนงานโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาคที่ล่าช้า บอร์ดให้เสนอคมนาคมและ สคร.เห็นชอบตามลำดับ

และเห็นชอบการออกข้อบังคับ รฟม.ว่าด้วยการจัดเก็บค่าที่จอดรถใหม่ จากเดิมจะออกข้อบังคับแยกโครงการรถไฟฟ้าแต่ละสาย โดยจะรวมเป็นฉบับเดียวใช้บังคับรถไฟฟ้าทุกเส้นทาง ส่วนอัตราค่าที่จอดจะแตกต่างกันตามพื้นที่เขตในเมืองกับชานเมือง ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 15, 16, 17 ... 65, 66, 67  Next
Page 16 of 67

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©