Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180092
ทั้งหมด:13491324
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 376, 377, 378 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2020 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยไฮสปีด เฟส 2 บูมระยอง-จันทบุรี-ตราด
หน้าเศรษฐกิจมหภาค
24 กรกฎาคม 2563 เวลา 14:44 น.


รฟท.เผยจัดมาร์เก็ตซาวดิ้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เฟส 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด หนุนผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ 5.39% จ่อดึงเอกชนร่วมทุนพีพีพีในปี 2567

นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับการประชุมเพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน (มาร์เก็ต​ ซาวดิ้ง​) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ขณะนี้ทาง รฟท.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมเศรษฐกิจ สังคม การเงิน แนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ออกแบบและประมาณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในโครงการดังกล่าว เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการจัดตั้งระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินทางและการขนส่งสินค้า​ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก




สำหรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เฟส 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด มีจุดเริ่มต้นของการเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนถนนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยอง-บ้านค่าย)​ ห่างจากสี่แยกเกาะกลอยประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลงเข้าสู่สถานีเกลงซึ่งตั้งอยู่บนถนนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง)​ ห่างจากสามแยกแกลงประมาณ 2 กิโลเมตร วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่ บริเวณแยกเขาไร่ยา อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เข้าอำเภอเขาสมิง และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบนทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท)​ ห่างจากสามแยกตราดประมาณ 2 กิโลเมตร รวมเส้นทางประมาณ 190 กิโลเมตร




การประชุมเพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน
โครงการวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้น
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง – จันทบุรี – ตราด

https://www.facebook.com/RenderThailand/videos/979378022517112/


การรถไฟฯ เปิดเวที Market sounding ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ชวนเอกชนลงทุน เพิ่มศักยภาพคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
24 กรกฎาคม 2563

วันนี้ (24 ก.ค. 63) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเวิลด์ บอลรูม บี ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมการเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด เพื่อเป็นการระดมความเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน สำหรับการสรุปรูปแบบการร่วมลงทุนพัฒนาโครงการ โดยมี ตัวแทนหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธนาคาร กลุ่มนักลงทุน สมาคมการค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมงานจำนวนมาก

นายสุชีพ สุขสว่าง เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน แนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ออกแบบและประมาณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น และการมีส่วนร่วมของประชาชน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัด ระยอง-จันทบุรี-ตราด เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินทางและการขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัด ระยอง-จันทบุรี-ตราด มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3574
(ระยอง- บ้านค่าย) ห่างจากสี่แยกเกาะลอยประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง เข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ห่างจากสามแยกแกลง ประมาณ 2 กิโลเมตร วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา ผ่านอำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เข้าอำเภอเขาสมิง และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนทางหลวงหมายเลข 3 (ถ.สุขุมวิท) ห่างจากสามแยกตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาหากก่อสร้างสถานีระยอง แกลง จันทบุรี และตราด แล้วเสร็จ พร้อมเปิดดำเนินการภายในปี 2571 จะมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 5.39 % ส่วนรูปแบบการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้น เบื้องต้น การรถไฟฯ ได้เสนอรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน แบบ PPP Net Cost โดยเสนอเป็น 3 แนวทางเลือก คือ แบบที่ 1 เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ทั้งงานโยธา งานระบบ ขบวนรถ และ งาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน แบบที่ 2 เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานเฉพาะงานระบบและตัวรถ และ งาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน และงานโยธา และแบบที่ 3 เอกชนเป็นผู้ดำเนินการเฉพาะงาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน งานโยธา งานระบบ และขบวนรถ

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้จัดการประชุมครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและนักลงทุนที่มีความสนใจ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินการโครงการ เพื่อนำไปสู่การสรุปแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุนก่อนนำเสนอขออนุมัติโครงการ จากนั้นจึงดำเนินการคัดเลือกเอกชนผู้ร่วมลงทุนต่อไป

มาแล้วว!!ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินเฟส 2 นั่งฟินยาวถึงตราด
*ข้าม 3 จังหวัด 190 กม.วิ่งฉิวแค่ 1 ชั่วโมง
*ค่าตั๋ว 494 บาท/เคาะผลศึกษาฯ ส.ค.นี้

ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์
25 กรกฎาคม 2563


Last edited by Wisarut on 29/07/2020 12:55 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2020 6:35 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ลุยไฮสปีด เฟส 2 บูมระยอง-จันทบุรี-ตราด
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
24 กรกฎาคม 2563 เวลา 14:44 น.


https://www.facebook.com/RenderThailand/videos/979378022517112/


การรถไฟฯ เปิดเวที Market sounding ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ชวนเอกชนลงทุน เพิ่มศักยภาพคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
24 กรกฎาคม 2563


มาแล้วว!!ไฮสปีดเชื่อม3สนามบินเฟส2 นั่งฟินยาวถึงตราด
ศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 15.42 น.

เปิดเส้นทาง ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินเฟส 2 นั่งฟินยาวถึงตราด ข้าม 3 จังหวัด 190 กม. วิ่งฉิวแค่ 1 ชั่วโมง ค่าตั๋ว 494 บาท เคาะผลศึกษาฯ ส.ค.นี้


เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมการเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม

ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยาย จังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 190 กิโลเมตร(กม.) ซึ่งมีผู้แทนจากภาครัฐ และเอกชนทั้งไทย และต่างประเทศเข้าร่วมกว่า 200 คน ว่า การรับฟังความคิดเห็นของเอกชนครั้งนี้ จะนำไปสู่การสรุปแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุน ทั้งนี้คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.63

นายสุชีพ กล่าวต่อว่า จากนั้น รฟท.จะทำเรื่องเสนอขออนุมัติการดำเนินโครงการ โดยคาดว่าจะเสนอให้กระทรวงคมนาคม, คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (อีอีซี) และคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเห็นชอบในปี 64 ก่อนจะจัดเตรียมเอกสารการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) ในปี 65 และหาผู้ลงทุนรวมทั้งออกแบบก่อสร้างในปี 67


อย่างไรก็ตามจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 71 สำหรับโครงการไฮสปีดส่วนต่อขยายฯ วงเงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท เบื้องต้นรูปแบบการลงทุนเป็นรูปแบบ PPP Net Cost โดยตามกฎหมาย PPP ให้อายุสัมปทานได้สูงสุดถึง 50 ปี ซึ่งโครงการนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะกำหนดอายุสัมปทานที่เท่าใด



นายสุชีพ กล่าวอีกว่า สำหรับการร่วมลงทุน รฟท. ได้เสนอ 3 ทางเลือก คือ 1. เอกชนลงทุนทั้งหมด ทั้งงานโยธา งานระบบ ขบวนรถ และ งาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐจัดหาที่ดิน 2. เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานเฉพาะงานระบบและตัวรถ และงาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐจัดหาที่ดิน และงานโยธา และ 3. เอกชนดำเนินการเฉพาะงาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐจัดหาที่ดิน งานโยธา งานระบบ และขบวนรถ

อย่างไรก็ตาม สำหรับอัตราโดยสารกำหนดค่าแรกเข้าไว้ที่ 95 บาท และคิดเพิ่ม 2.1 บาทต่อกม. หรือตลอดเส้นประมาณ 494 บาท คาดว่าในปี 71 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้บริการปีแรก จะมีผู้โดยสาร 7,429 คน-เที่ยวต่อวัน โดยจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.08 หมื่นคน-เที่ยวต่อวันในปี 81 และจะเพิ่มเป็น 1.95 หมื่นคน-เที่ยวต่อวันในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยการเดินทางตลอดเส้นทางจะใช้เวลาเดินรถรวม 64 นาที  ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 250 กม.ต่อชม.

นายสุชีพ กล่าวด้วยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัด ระยอง-จันทบุรี-ตราด มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยเริ่มจากฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยอง- บ้านค่าย) ห่างจากสี่แยกเกาะลอยประมาณ 3 กม. จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่ อ.แกลง เข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ห่างจากสามแยกแกลง ประมาณ 2 กม.



จากนั้นวิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่าน อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา ผ่าน อ.เมืองจันทบุรี อ.มะขาม อ.ขลุง จ.จันทบุรี เข้า อ.เขาสมิง จ.ตราด อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินทาง และการขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า โครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้งบประมาณในการเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทางราว 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีชาวบ้านได้รับผลกระทบประมาณ 2-3 พันหลังคาเรือน อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นสรุปชัดเจนว่า หากมีการดำเนินโครงการพร้อมกันทั้งเส้นทาง จากจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางรวม 190 กม. ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ 5.3% ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่รับกำหนด 12% มาก



ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ รฟท. อาจจะก่อสร้างระยะ(เฟส) แรกก่อน คือต่อขยายจากสถานีอู่ตะเภา ไปยังสถานีระยอง และสถานีแกลง รวมระยะทางประมาณ 100 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งคุ้มค่ากว่าการสร้างตลอดทั้งเส้นทาง ส่วนช่วง จากสถานี อ.แกลง ไปยังสถานีจันทบุรีและสถานีตราด อาจจะพิจารณาในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลมีงบประมาณจำกัด.

รฟท.ลุยหยั่งเสียงนักลงทุน “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” เฟส 2

24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14:55 น.
รฟท.ศึกษา PPP “ไฮสปีด 3 สนามบินเฟส 2” คาดลงทุนแสนล้าน ขยายเชื่อมระยอง-ตราด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา16:49

Click on the image for full size

24 ก.ค.63-นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม “เพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด” ว่า รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน แนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ออกแบบและประมาณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการดังกล่าว เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินทางและการขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัด ระยอง-จันทบุรี-ตราด มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยอง-บ้านค่าย) ห่างจากสี่แยกเกาะลอยประมาณ 3 กิโลเมตร (กม.) จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง เข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ห่างจากสามแยกแกลง ประมาณ 2 กม.

นอกจากนี้ วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา ผ่านอำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เข้าอำเภอเขาสมิง และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนทางหลวงหมายเลข 3 (ถ.สุขุมวิท) ห่างจากสามแยกตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 190 กม.

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาหากก่อสร้างสถานีระยอง แกลง จันทบุรี และตราด แล้วเสร็จ พร้อมเปิดดำเนินการภายในปี 2571 จะมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 5.39 % ส่วนรูปแบบการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้น เบื้องต้น รฟท.ได้เสนอรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน แบบ PPP Net Cost โดยเสนอเป็น 3 แนวทางเลือก คือ

แบบที่ 1 เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ทั้งงานโยธา งานระบบ ขบวนรถ และ งาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน

แบบที่ 2 เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานเฉพาะงานระบบและตัวรถ และงาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน และงานโยธา

แบบที่ 3 เอกชนเป็นผู้ดำเนินการเฉพาะงาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน งานโยธา งานระบบ และขบวนรถ

“การประชุมฯในครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและนักลงทุนที่มีความสนใจ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินการโครงการ เพื่อนำไปสู่การสรุปแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุนก่อนนำเสนอขออนุมัติโครงการ จากนั้นจึงดำเนินการคัดเลือกเอกชนผู้ร่วมลงทุนต่อไป” นายสุชีพ กล่าว

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่า แผนการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 190 กม.นั้น จะศึกษาแล้วเสร็จภายใน ส.ค. 2563 ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เห็นชอบ และส่งต่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติในปี 2564 จากนั้นจะจัดเตรียมเอกสาร PPP รวมถึงรายงานผลกระทบและวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ในปี 2565 นำไปสู่การหาผู้ลงทุนพร้อมทั้งออกแบบและก่อสร้างในปี 2567 ก่อนที่จะทดสอบระบบและเปิดให้บริการในปี 2571

ทั้งนี้ เส้นทางของโครงการดังกล่าว จะผ่าน 11 อำเภอ 3 จังหวัด โดยมีจำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งอยู่ที่จังหวัดระยอง ในด้านการเดินรถนั้น ใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 250 กม./ชั่วโมง (ชม.) ในส่วนของระยะเวลาในการเดินทางนั้น ช่วงสถานีดอนเมืองถึงสถานีตราด จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชม. 14 นาที (จอดเฉพาะสถานีหลัก) กรณีจอดทุกสถานีใช้เวลาเดินทาง 2 ชม. 54 นาที ขณะที่ช่วงสถานีอู่ตะเภาถึงสถานีตราด จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 64 นาที

ในส่วนของจำนวนผู้โดยสารรถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายจากสถานีอู่ตะเภาถึงสถานีตราด คาดการณ์ว่าในปี 2571 จะมีผู้โดยสาร 7,429 คนต่อวัน, ปี 2581 มีผู้โดยสาร 10,896 คนต่อวัน, ปี 2591 มีผู้โดยสาร 15,251 คนต่อวัน และปี 2601 มีผู้โดยสาร 19,575 คนต่อวัน ขณะที่อัตราค่าโดยสารนั้น จะอยู่ที่ 95 บาท (แรกเข้า)+2.10 บาท/กม. (ปี 2571)

สำหรับแนวคิดในการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงในโครงการดังกล่าว จะคำนึงถึงความสะดวกสบายในการใช้บริการของผู้โดยสาร รวมทั้งความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชนน้อยที่สุด นอกจากนี้ จะส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ด้วยการนำรูปทรงผลไม้ที่โดดเด่นในแต่ละพื้นที่ มาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตย์ เพื่อส่งเสริมนโยบายการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก สร้างการจดจำให้แก่ผู้มาเยือน รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจให้กับประชาชนในท้องถิ่น และยังสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกด้วย


Last edited by Wisarut on 27/07/2020 12:35 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2020 9:03 pm    Post subject: Reply with quote

รายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินส่วนต่อขยาย ระยอง-แกลง-จันทบุรี-ตราด จากงาน Market Sounding
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
24 กรกฎาคม 2563

เอาล่ะครับ หลังจากที่เมื่อตอนบ่าย เอารูปสถานีรถไฟระยอง แกลง จันทบุรี ตราด ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ส่วนต่อขยาย มาให้ชม เย็นนี้เลยเอารายละเอียดโครงการจากสไลด์ในงานมาให้ชมครับ

ใครอยากโหลดรายละเอียดไฟล์ตัวเต็มดูได้จากในลิ้งค์นี้ครับ : งาน Market Sounding



————————
เรามาเข้าเรื่องรายละเอียดโครงการกันดีกว่า

จากที่ผมเคยประชาสัมพันธ์ไปว่าจะมีงาน Market Sounding ของโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินส่วนต่อขยาย วันนี้ เลยมาสรุปรายละเอียดให้ฟังคร่าวๆ ตามนี้ครับ

- โครงการมีระยะทางทั้งหมด 190 กิโลเมตร
ทางยกระดับ 164 กิโลเมตร
ทางระดับดิน 26 กิโลเมตร

- ผ่าน 3 จังหวัดคือ ระยอง จันทบุรี ตราด

มีทั้งหมด 4 สถานี คือ
- ระยอง
อยู่บริเวณวัดน้ำคอกเก่า ห่างจากเมืองระยองประมาณ 5 กิโลเมตร - ซึ่งจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ (Depot) อยู่ในบริเวณเดียวกัน

- แกลง
อยู่บริเวณแยกหมอเปลี่ยน ห่างจากเมืองแกลงประมาณ 2 กิโลเมตร

- จันทบุรี
อยู่บริเวณใกล้กับแยกเขาไร่ยา จุดตัดกับถนนสุขุมวิท เพื่อต่อกับถนน 316 เพื่อเข้ากลางเมืองจันทบุรี ห่างจากเมืองจันทบุรีประมาณ 8 กิโลเมตร

- ตราด
อยู่บริเวณใกล้กับสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตราด บนถนนสุขุมวิท ห่างจากเมืองตราด 2 กิโลเมตร

————————
จุดเริ่มต้นโครงการจะอยู่บริเวณหัวโค้งก่อนเข้าสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งจะแยกเป็นชุมทางตัว T เหมือนกับที่จะทำทางแยกบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ

โดยจะทำเป็นทางคู่ตรงจากโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินตรงไประยองได้เลย หรือจะเข้าอู่ตะเภาแล้วออกจากอู่ตะเภาไประยองก็ได้

ในโครงการจะมีศูนย์ซ่อมบำรุง(Depot) ของรถไฟความเร็วสูงอยู่ 1 จุดคือใกล้กับสถานีระยอง ซึ่งจะสนับสนุนการทำโครงการแบบเป็นเฟส ซึ่งจะเริ่มแค่ระยองแล้วค่อยขยายไปตราด

จะใช้พื้นที่สร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 144 ไร่

ระยะเวลาการเดินทาง
- อู่ตะเภา-ตราด 64 นาที
- ดอนเมือง-ตราด 110 นาที

มาตรฐานการออกแบบรถไฟความเร็วสูง
- ขนาดราง 1.435 เมตร
- ความเร็วสูงสุดในการให้บริการ 250 กม/ชม
- ระบบอาณัติสัญญาณ ETCS L2 ,CTCS L3 หรือ Digital ATC ซึ่งเน้นเป็นระบบอาณัติสัญญาณ Wireless

—————————
การศึกษาปริมาณผู้โดยสารในโครงการแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ
- การศึกษาโครงการ เต็ม อู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด
- การศึกษาการก่อสร้างเป็นช่วงๆ ตามปริมาณผู้โดยสาร

- จากการศึกษาโครงการเต็มแผน

ในปีแรก โครงการจะมีผู้โดยสาร 7,429 คน/วัน ในอีก 30 ปีจะขึ้นไปที่ 19,575 คน/วัน

- มีการลงทุนรวม 101,000 ล้านบาท
- ค่าบริหารโครงการตลอด 30 ปี 57,383 ล้านบาท
- EIRR 5.39%
- FIRR -2.88%
- NPV -118,149 ล้านบาท
- B/C 0.16

- การศึกษาการเปิดเป็นช่วงๆ ซึ่งแบ่งเป็นทั้งหมด
4 แผน คือ

- อู่ตะเภา-ระยอง
- อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง
- อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง-จันทบุรี
- อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง-จันทบุรี-ตราด (เต็มแผนตามแบบแรก)

ซึ่งจากข้อมูลสรุปความน่าสนใจของโครงการจะเป็น

ช่วง อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง เป็นช่วงแรกของส่วนต่อขยาย
ซึ่งจะมีความคุ้มค่าทางการเงิน สูงสุด คือ -1.12%

มีปริมาณผู้โดยสารก้าวกระโดดจากระยอง เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4000 คน จาก 2,874 เป็น 6,447 คน/วัน เพราะทางที่ปรึกษาประเมินว่า จะมีผู้โดยสารมาจากจันทบุรีมาขึ้นที่สถานีแกลง

แต่เมื่อขยายไปจันทบุรีก็จะได้ลูกค้ากลุ่มเดิม แต่ต้องลงทุนเพิ่มถึง 30,000 ล้านบาท

โดยช่วง อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง มีความคุ้มค่าของโครงการคือ

- มีการลงทุนรวม 40,951 ล้านบาท
- ค่าบริหารโครงการตลอด 30 ปี 30,498 ล้านบาท
- EIRR 7.25%
- FIRR -1.12%
- NPV -39,487 ล้านบาท
- B/C 0.25

ในงาน Market Sounding มีการสอบถามความสนใจของเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนในหลายๆรูปแบบ คือ
- รัฐลงทุนแค่การเวนคืนที่ดินเหมือน โครงการรถไฟ 3 สนามบิน
- รัฐลงทุนงานโยธา แบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- รัฐลงทุนทั้งหมด ให้เอกชนมาแค่เดินรถ
ใน 3 ประเด็นนี้ก็จะมาดูว่าเอกชนพร้อมจะเดินรถแบบไหนคือ
- PPP Net Cost (แบบ BTS,3 สนามบิน)
- PPP Gross Cost (แบบสายสีม่วง)
- PPP Modify Gross cost
————————————
สำหรับผม มองเป็น 2 option คือ

ถ้าเราอยากจะดันให้เส้นทางนี้ปลายทางไปต่อก็ต้องลองเปิดประมูลถ้ามีผลประโยชน์และการอุดหนุนของรัฐบาลที่เหมาะสมก็อาจจะมีคนสนใจ (แต่เงินอุดหนุนต้องเยอะพอให้ FIRR + 3-5% ให้ได้)

หรืออีกทาง ให้ไปเจรจากับ CP Holding ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ 3 สนามบินให้ขยายโครงการมา ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายด้านการสร้าง Depot ใหม่ และขบวนรถใหม่ของส่วนต่อขยาย เพราะสามารถใช้รถร่วมกันกับส่วนแรกได้

หวังว่าโครงการนี้จะเดินหน้าได้จริงๆ ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/07/2020 8:42 am    Post subject: Reply with quote

ซี.พี.ตอกเข็มไฮสปีดก.พ.64 ประเดิมเฟสแรก 'สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ปลัดคมนาคมเร่งเคลียร์ส่งมอบพื้นที่ ปักตอม่อ "ไฮสปีด 3 สนามบิน" ก.พ. ปีหน้าช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ดีเลย์สุด "พญาไท-ดอนเมือง" ส่อลากยาวถึงปี'66 ด้าน "ซี.พี." ย้ำเป้าเดินรถ "แอร์พอร์ตลิงก์" ต.ค. 64

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้กับเอกชนคู่สัญญา บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) ขณะนี้การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคทุกอย่างยังเป็นไปตามแผน ซึ่งสำนัก งบประมาณได้ตรวจสอบรายละเอียดครบถ้วนแล้ว และแบ่งให้โครงการมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสนอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน ส่วนโครงการวงเงินไม่ถึงจะเป็นอำนาจของผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณพิจารณาเอง

การเวนคืนที่ดินและไล่รื้อผู้บุกรุกจะดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในส่วนของการเวนคืนได้กำหนดจัดประชุมกับผู้ถูกเวนคืน สำรวจสิ่ง ปลูกสร้าง และจัดตั้งคณะกรรมการกำกับ ราคาเบื้องต้น เพื่อกำหนดราคาค่าเวนคืน และค่าทดแทนให้ชัดเจน ตามแผนจะใช้การเจรจาเป็นหลัก คาดว่าในเดือน พ.ย.นี้จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนและเริ่มจ่ายค่าทดแทน และรับมอบที่ดิน รวมถึงจะส่งมอบที่ดินให้กลุ่ม ซี.พี.ส่วนแรกสุวรรณภูมิ- อู่ตะเภาภายในเดือน ก.พ. 2564 หากมีกรณีที่ผู้ถูกเวนคืนทักท้วงและยื่นเรื่องสู่กระบวนการยุติธรรม จะเคลียร์ให้จบในเดือน ส.ค. 2564

"ยอดผู้บุกรุกที่มีผลกระทบกับโครงการ ปัจจุบันมีผู้บุกรุกรวม 569 หลังคาเรือน แบ่งเป็นช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ มีผู้บุกรุก 267 หลังคาเรือน และช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาอีก 302 หลังคาเรือน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการฟ้องศาลเพื่อขับไล่ ผู้บุกรุกทั้งหมดแล้ว ส่วนการยกเลิกสัญญาเช่าของ ร.ฟ.ท.ที่ทับซ้อนกับแนวเส้นทาง มีการยกเลิกรวม 213 สัญญา อยู่ช่วงดอนเมือง-พญาไท 100 สัญญา จะทยอยให้เสร็จเดือน ธ.ค.นี้ และช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จำนวน 113 สัญญา จะทยอยยกเลิกเดือน ต.ค.นี้"

ร.ฟ.ท.ยังได้รายงานการขอเข้าใช้พื้นที่ของหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อดำเนินการก่อสร้าง เช่น พื้นที่ของกรมทางหลวง (ทล.) มีหน่วยงานยื่นขอใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้าง 8 หน่วยงาน ยังมีพื้นที่ของหน่วยอื่น ๆ ที่กำลังทยอยอนุญาตให้เข้าพื้นที่ เช่น กรมทางหลวงชนบท และกรมเจ้าท่า อนุญาตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เข้าใช้พื้นที่แล้ว, และกรุงเทพมหานคร (กทม.) อนุญาตให้การประปานครหลวง เข้าพื้นที่แล้ว 9 จุด ยังมีหน่วยอื่น ๆ ที่ทยอยขออนุญาตเข้าพื้นที่

ในส่วนของการขอขยายเขตทางตามที่กลุ่ม ซี.พี.ยื่นเสนอ จะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่ม 6 จุด ได้แก่ 1.ช่วงสถานีลาดกระบัง 2.ทางออกสนามบินสุวรรณภูมิ 3.ช่วงประตูระบายน้ำของกรมชลประทาน จ.ฉะเชิงเทรา 4.ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง 5.อุโมงค์เขาชีจรรย์ และ 6.ทางเข้าสนามบินอู่ตะเภา มีผู้ได้รับผล กระทบเพิ่ม 48 ราย เป็นจำนวน 63 แปลง อยู่ระหว่างสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จะทำให้เสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้ จากนั้นเดือน ส.ค.สรุปข้อมูลความคิดเห็น พร้อมกับสั่งให้ ร.ฟ.ท.ดูว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายงาน EIA หรือไม่ เพราะเมื่อมีการขยายเขตทางต้องเวนคืนเพิ่ม

นอกจากนี้กลุ่ม ซี.พี.รายงานความก้าวหน้าการรับมอบโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ อยู่ระหว่างตรวจสอบระบบทางเทคนิคและปรับปรุงเนื้องานต่าง ๆ อีก 4 รายการ ได้แก่ 1.การตกแต่งสถานี ให้สวยงามขึ้น 2.เพิ่มไฟส่องสว่าง 3.ปรับปรุงสภาพทรัพย์สินเดิม เช่น อาคารสถานีให้แข็งแรงขึ้น และ 4.ระบบเดินรถ จะเสร็จเดือน ก.ค.นี้ และเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถ จะใช้เวลา 16 เดือน หรือไปสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2564 และจะรับมอบแอร์พอร์ตเรลลิงก์เดือน ต.ค. 2564 ตามเดิม โดยประชาชนจะต้องได้รับบริการที่ต่อเนื่อง ไม่มีรอยต่อ

ปัญหาการรับมอบแอร์พอร์ตลิงก์ก็มีอยู่ เพราะกลุ่ม ซี.พี.ใช้ทีมที่ปรึกษาจาก ต่างประเทศ เช่น อิตาลี มาดำเนินการสำรวจตรวจสอบและวางแผนพัฒนา แต่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ ติดปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 จึงต้องใช้ช่องทางอีเมล์ในการติดต่อสื่อสารแทน จึงให้ ซี.พี.ศึกษากฎระเบียบของ ศบค.ให้ชัดเจน แล้วดำเนินการทำเรื่องขอนำตัวที่ปรึกษาเข้าประเทศ แต่จะต้องกักตัว 14 วันตามระเบียบของรัฐ

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างจะทยอยเป็นส่วน ๆ ในเดือน ก.พ. 2564 ส่งมอบช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาก่อน เร็วขึ้น 1 เดือน, ช่วงสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ติดปัญหาทับซ้อนสายสีแดง จะส่งมอบใน 2 ปี 3 เดือน แต่ช่วงที่มีปัญหามากที่สุดคือพญาไท-ดอนเมือง เพราะมีโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคมาก กำลังเร่งรัดเร็วที่สุดเดือน ม.ค. 2565 แต่หากเกิดกรณียืดเยื้อ เช่น ติดรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ผู้บุกรุก และเวนคืน อาจจะส่งมอบเดือน ต.ค. 2566

ทั้งนี้ สิ่งที่กำลังเร่งรัดคือขอใช้ งบประมาณที่อีอีซีอนุมัติไป 2 ส่วน คืองบฯเปิดหน้าดินรื้อย้ายชั่วคราว 490 ล้านบาท เพื่อให้ ซี.พี.เข้าพืนที่ก่อสร้างให้ได้ก่อน จะเป็นการใช้งบฯกลางปี 2563 ยังไม่ได้ รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณ อีกส่วนเป็นงบฯรื้อย้ายแบบถาวร วงเงิน 4,103 ล้านบาท ยังไม่มีการยื่นขอ

บรรยายใต้ภาพ
เริ่มปีหน้า - รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลัง ซี.พี.เซ็นสัญญา 24 ต.ค.62 รัฐกำลังเร่งส่งมอบพื้นที่ให้เริ่มงานก่อสร้าง ภายในต้นปี 2564 เข้าพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ช้าสุดช่วงพญาไท-ดอนเมือง ทับซ้อนรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟไทย-จีน (ดูรูป)

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2020 12:23 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งผุดไฮสปีดเทรนต่อขยาย 3 สนามบินต่อยาวไปถึงตราด วงเงินแสนล้าน คาดเปิดปี’71 ค่าโดยสาร 494 บาท
เศรษฐกิจ

วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563- 15:38 น.

เล็งผุดไฮสปีดเทรนต่อขยาย 3 สนามบินต่อยาวไปถึงตราด วงเงินแสนล้าน ระยะทาง 190 กิโล จอด 4 สถานี ระยอง-แกลง-จันทบุรี-ตราด คาดเปิดบริการปี’71 ค่าโดยสาร 494 บาท
เล็งผุดไฮสปีดยาวถึงตราด - นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน โครงการศึกษาความเหมาะสม โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด วงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาท

ว่า รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน แนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ออกแบบและประมาณราคาค่าก่อสร้าง โดยผลการศึกษาจะแล้วเสร็จ เดือนส.ค. 2563

เบื้องต้นจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนกับภาครัฐในรูปแบบพีพีพี คาดว่าจะเสนอผลการศึกษาให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ในปี 2564 เริ่มจัดทำแผนพีพีพี ช่วงปี 2565 หาผู้ลงทุนและออกแบบก่อสร้างในปี 2567 และทดสอบรถและเปิดให้บริการได้ในปี 2571

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าโครงการดังกล่าวมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) เพียง 5.39% มีระยะก่อสร้างทางรวม 190 กิโลเมตร (ก.ม.) ความเร็วรถ 250 ก.ม./ชม. ใช้ระยะเวลาเดินรถรวม 64 นาที โดยมีอัตราค่าโดยสารแรกเข้า 95 บาท และบวกเพิ่มอีก ก.ม.ละ 2.1 บาทตลอดเส้นทาง หรือคิดเป็นอัตราค่าโดยสารตลอดเส้นทางรวม 494 บาท

ส่วนจำนวนผู้โดยสารนั้นคาดการณ์ว่าปีแรกที่เปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารวันละ 7,429 คน และในปี 2581, 2591 และ 2601 จะเพิ่มเป็นในวันละ 10,896 คน 15,251 คน และ 19,575 คน ตามลำดับ

นายสุชีพ กล่าวอีกว่า ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นจะเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เบื้องต้น รฟท. ได้เสนอรูปแบบร่วม แบบ PPP Net Cost โดยเสนอเป็น 3 แนวทางเลือก คือ

แบบที่ 1 เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ทั้งงานโยธา งานระบบ ขบวนรถ และ งาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน

แบบที่ 2 เอกชนเป็น ผู้ดำเนินงานเฉพาะงานระบบและตัวรถ และ งาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน และงานโยธา

และแบบที่ 3 เอกชนเป็นผู้ดำเนินการเฉพาะงาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน งานโยธา งานระบบ และขบวนรถ

สำหรับโครงการดังกล่าวพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินทางและการขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก


ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภา ผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยอง-บ้านค่าย) ห่างจากสี่แยกเกาะลอยประมาณ 3 กิโลเมตร

จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง เข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ห่างจากสามแยกแกลง ประมาณ 2 กิโลเมตร วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา ผ่านอำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เข้าอำเภอเขาสมิง

และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนทางหลวงหมายเลข 3 (ถ.สุขุมวิท) ห่างจากสามแยกตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตรโดยมีสถานีรวมทั้งสิ้น 4 สถานี คือ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า สำหรับโครงการดังกล่าวคาดว่าจะต้องดำเนินการเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างรวมประมาณ 2-3 พันหลังคาเรือน คาดว่าจะใช้งบประมาณในการเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทางราว 1.3 หมื่นล้านบาท

ส่วนอายุสัมปทานตามกฎหมายพีพีพี ระบุให้ไม่เกิน 50 ปี ส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีนั้น เอกชนจะต้องลงทุนจัดหาพื้นที่เองเนื่องจาก รฟท. ไม่มีพื้นที่รอบสถานีเพียงพอที่จะให้พัฒนาเชิงพาณิชย์

รายงานข่าวจากรฟท. แจ้งว่า จากผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นสรุปชัดเจน หากมีการดำเนินโครงการพร้อมกันทั้งเส้นทาง จากจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางรวม 190 ก.ม. ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ 5.3% ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่รับกำหนด 12% มาก

ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ รฟท. อาจจะก่อสร้างระยะแรกก่อน คือต่อขยายจากสถานีอู่ตะเภา ไปยังสถานีระยองและสถานีแกลง รวมระยะทางประมาณ 100 ก.ม. วงเงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ 9% ซึ่งคุ้มค่ากว่าการสร้างตลอดทั้งเส้นทาง

ส่วนช่วงจากสถานีอำเภอแกลง ไปยังสถานีจันทบุรีและสถานีตราด อาจจะพิจารณาในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลมีงบประมาณจำกัด

อย่างไรก็ตาม การประชุมดังกล่าวได้รับความสนใจจากภาคเอกชนทั้งไทยและต่าประเทศจำนวนมาก ทั้งจากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภาคธานคารและภาคการก่อสร้าง อาทิ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จำกัด,

บริษัท มารูเบนิ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน), กลุ่มบริษัทซีพี, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารแห่งชาติจีน และตัวแทนจากสถานทูตญี่ปุ่น แคนาดา รัสเซีย และอังกฤษ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2020 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งผุดไฮสปีดเทรนต่อขยาย 3 สนามบินต่อยาวไปถึงตราด วงเงินแสนล้าน คาดเปิดปี’71 ค่าโดยสาร 494 บาท
เศรษฐกิจ

วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563- 15:38 น.

เล็งผุดไฮสปีดเทรนต่อขยาย 3 สนามบินต่อยาวไปถึงตราด วงเงินแสนล้าน ระยะทาง 190 กิโล จอด 4 สถานี ระยอง-แกลง-จันทบุรี-ตราด คาดเปิดบริการปี’71 ค่าโดยสาร 494 บาท
เล็งผุดไฮสปีดยาวถึงตราด - นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน โครงการศึกษาความเหมาะสม โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด วงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาท

ว่า รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน แนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ออกแบบและประมาณราคาค่าก่อสร้าง โดยผลการศึกษาจะแล้วเสร็จ เดือนส.ค. 2563

เบื้องต้นจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนกับภาครัฐในรูปแบบพีพีพี คาดว่าจะเสนอผลการศึกษาให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ในปี 2564 เริ่มจัดทำแผนพีพีพี ช่วงปี 2565 หาผู้ลงทุนและออกแบบก่อสร้างในปี 2567 และทดสอบรถและเปิดให้บริการได้ในปี 2571

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าโครงการดังกล่าวมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) เพียง 5.39% มีระยะก่อสร้างทางรวม 190 กิโลเมตร (ก.ม.) ความเร็วรถ 250 ก.ม./ชม. ใช้ระยะเวลาเดินรถรวม 64 นาที โดยมีอัตราค่าโดยสารแรกเข้า 95 บาท และบวกเพิ่มอีก ก.ม.ละ 2.1 บาทตลอดเส้นทาง หรือคิดเป็นอัตราค่าโดยสารตลอดเส้นทางรวม 494 บาท

ส่วนจำนวนผู้โดยสารนั้นคาดการณ์ว่าปีแรกที่เปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารวันละ 7,429 คน และในปี 2581, 2591 และ 2601 จะเพิ่มเป็นในวันละ 10,896 คน 15,251 คน และ 19,575 คน ตามลำดับ

นายสุชีพ กล่าวอีกว่า ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นจะเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เบื้องต้น รฟท. ได้เสนอรูปแบบร่วม แบบ PPP Net Cost โดยเสนอเป็น 3 แนวทางเลือก คือ

แบบที่ 1 เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ทั้งงานโยธา งานระบบ ขบวนรถ และ งาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน

แบบที่ 2 เอกชนเป็น ผู้ดำเนินงานเฉพาะงานระบบและตัวรถ และ งาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน และงานโยธา

และแบบที่ 3 เอกชนเป็นผู้ดำเนินการเฉพาะงาน Operation & Maintenance โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน งานโยธา งานระบบ และขบวนรถ

สำหรับโครงการดังกล่าวพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินทางและการขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก


ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภา ผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยอง-บ้านค่าย) ห่างจากสี่แยกเกาะลอยประมาณ 3 กิโลเมตร

จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง เข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ห่างจากสามแยกแกลง ประมาณ 2 กิโลเมตร วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา ผ่านอำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เข้าอำเภอเขาสมิง

และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนทางหลวงหมายเลข 3 (ถ.สุขุมวิท) ห่างจากสามแยกตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตรโดยมีสถานีรวมทั้งสิ้น 4 สถานี คือ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า สำหรับโครงการดังกล่าวคาดว่าจะต้องดำเนินการเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างรวมประมาณ 2-3 พันหลังคาเรือน คาดว่าจะใช้งบประมาณในการเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทางราว 1.3 หมื่นล้านบาท

ส่วนอายุสัมปทานตามกฎหมายพีพีพี ระบุให้ไม่เกิน 50 ปี ส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีนั้น เอกชนจะต้องลงทุนจัดหาพื้นที่เองเนื่องจาก รฟท. ไม่มีพื้นที่รอบสถานีเพียงพอที่จะให้พัฒนาเชิงพาณิชย์

รายงานข่าวจากรฟท. แจ้งว่า จากผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นสรุปชัดเจน หากมีการดำเนินโครงการพร้อมกันทั้งเส้นทาง จากจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางรวม 190 ก.ม. ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ 5.3% ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่รับกำหนด 12% มาก

ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ รฟท. อาจจะก่อสร้างระยะแรกก่อน คือต่อขยายจากสถานีอู่ตะเภา ไปยังสถานีระยองและสถานีแกลง รวมระยะทางประมาณ 100 ก.ม. วงเงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ 9% ซึ่งคุ้มค่ากว่าการสร้างตลอดทั้งเส้นทาง

ส่วนช่วงจากสถานีอำเภอแกลง ไปยังสถานีจันทบุรีและสถานีตราด อาจจะพิจารณาในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลมีงบประมาณจำกัด

อย่างไรก็ตาม การประชุมดังกล่าวได้รับความสนใจจากภาคเอกชนทั้งไทยและต่าประเทศจำนวนมาก ทั้งจากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภาคธานคารและภาคการก่อสร้าง อาทิ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จำกัด,

บริษัท มารูเบนิ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน), กลุ่มบริษัทซีพี, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารแห่งชาติจีน และตัวแทนจากสถานทูตญี่ปุ่น แคนาดา รัสเซีย และอังกฤษ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2020 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

“ไฮสปีดเฟส 2” เชื่อมระยอง-ตราดรายได้ไม่คุ้ม-รฟท.เปิดทางเลือกสร้างทีละสถานี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10:47

กางผลศึกษา “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ระยะ 2 เชื่อมระยอง-จันทบุรี-ตราด ลงทุนสูงกว่า 1 แสนล้าน ผลตอบแทนสุดต่ำ เอกชนชี้ปัญหาเพียบเหตุแนวใหม่ค่าเวนคืน 1.3 หมื่นล้านแต่พัฒนาเชิงพาณิชย์ไม่ได้ ด้านรถไฟวางสัญญา 50 ปี เปิดทางเลือกทยอยสร้างทีละสถานี

นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.กล่าวว่าจัดประชุมเพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 190 กม. โดยจะสรุปผลการศึกษาในเดือน ส.ค. จากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

คาดว่าจะเปิดประมูลส่วนต่อขยายนี้ในช่วงที่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาก่อสร้าง เพื่อให้แล้วเสร็จและทยอยเปิดในเวลาใกล้เคียงกัน โดยจะใช้รูปแบบการลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนแบบ PPP Net Cost

ในการศึกษา พบว่ากรณีลงทุนตลอดเส้นทาง 4 สถานี ระยอง-แกลง-จันทบุรี-ตราด วงเงินประมาณ 101,728 ล้านบาท ค่าเวนคืน 12,999 ล้านาท งานโยธา 69,148 ล้านบาท ค่าระบบ E&M 12,088 ล้านบาท Rolloing Stock 4,664 ล้านบาท) ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 5.39% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -44,956 ล้านบาท

โดยมีการเปรียบเทียบกรณีทยอยก่อสร้างทีละสถานี หรือแบ่งเป็นเฟส เช่น จากสถานีอู่ตะเภา-ระยอง ค่าลงทุนอยู่ที่ 20,510 ล้านบาท (ค่าเวนคืน 1,837 ล้านาท งานโยธา 13,845 ล้านบาท ค่าระบบ E&M 2,025 ล้านบาท Rolloing Stock 2,330 ล้านบาท) EIRR 9.38% NPV -4,803 ล้านบาท

ก่อสร้างถึงสถานีแกลง จะมีค่าลงทุนอยู่ที่ 40,951 ล้านบาท EIRR 7.25% NPV -15,282 ล้านบาท (ค่าเวนคืน 4,740 ล้านาท งานโยธา 27,080 ล้านบาท ค่าระบบ E&M 4,502 ล้านบาท Rolloing Stock 3,498 ล้านบาท) EIRR 7.25% NPV -15,282 ล้านบาท

ก่อสร้างถีงสถานีจันทบุรี จะมีค่าลงทุนอยู่ที่ 71,013 ล้านบาท EIRR 5.57% NPV -32,067 ล้านบาท (ค่าเวนคืน 8,459 ล้านาท งานโยธา 49,194 ล้านบาท ค่าระบบ E&M 7,893 ล้านบาท Rolloing Stock 3,498 ล้านบาท) EIRR 5.57% NPV -32,067 ล้านบาท

ขณะที่ตัวชี้วัดของประเทศ กำหนด EIRR ที่ 12% กรณี EIRR ไม่ถึง จึงอยู่ที่สภาพัฒน์จะพิจารณาว่าโครงการจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐมากแค่ไหน ซึ่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนปี 62 ให้รับสัญญาได้ 50 ปี

@ เอกชนหวั่นปัญหาเวนคืน-ขอพัฒนาเชิงพาณิชย์ช่วย

ทั้งนี้ นักลงทุนได้แสดงความเป็นห่วงปัญหาเวนคืน การบุกรุกพื้นที่ที่อาจจะทำให้โครงการล่าช้า การจัดทำ EIA ที่ต้องใช้เวลา การพัฒนาโครงการอื่นๆ ในอีอีซีที่จะทำให้เกิดการจ้างงานและการเดินทาง ซึ่งจะมีผลต่อโครงการ รูปแบบการเดินรถเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะแรก รวมถึงกฎหมายที่จะใช้เนื่องจากโครงการยังไม่ได้บรรจุในโครงการของอีอีซี

นอกจากนี้ กรณีแบ่งเฟสก่อสร้างทีละสถานี เอกชนมีข้อกังวลถึงค่าลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตตามอัตราเงินเฟ้อ และมีผลต่อระยะเวลาสัมปทานในการเดินรถของสถานีที่เสร็จภายหลัง และเอกชนต้องลงทุนเพิ่มในการหาที่ดินรอบสถานีมาพัฒนาเชิงพาณิชย์อีก เพราะที่ดินรัฐเวนคืนนำมาให้เอกชนพัฒนาไม่ได้

ขณะที่ผู้แทนสภาหอการค้าเห็นว่ารัฐควรพิจารณาถึงความจำเป็นของรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ เพราะการท่องเที่ยวมีเป็นฤดูกาล ไม่แน่ใจผู้โดยสารมีตามเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งในแนวนี้รถไฟมีโครงการทางคู่สายใหม่ ศรีราชา-มาบตาพุด ซึ่งจะขนส่งทั้งคนและสินค้า สนับสนุนโลจิสติกส์ได้ครบวงจร ขณะที่ลงทุนน้อยกว่า และอยากให้มองถึงการเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย

อย่างไรก็ตาม จากแผนงาน ส.ค.นี้จะสรุปการศึกษาและนำเสนอบอร์ดอีอีซีตามขั้นตอน ขณะที่ในปี 2564 จะทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะได้รับอนุมัติในปี 2565 และทำการประมูลได้ตัวผู้รับสัมปทานในปี 2567 เปิดเดินรถในปี 2571

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ผ่าน 11 อำเภอ 3 จังหวัด มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี สถานีตราด มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งที่ระยอง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 64 นาที คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 7,429 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2571 ที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 10,896 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2581 และเพิ่มเป็น 15,251 คน-เที่ยว/วันในปี 2591 และเพิ่มเป็น 19,575 คน-เที่ยว/วันในปี 2601 กำหนดอัตราค่าโดยสาร 95 บาท (แรกเข้า) +2.1 บาท/กม.


บิ๊กทุนแจม‘ไฮสปีดเฟส 2’
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 17:15 น.
ตีพิมพ์ในหน้า 11
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,594 วันที่ 23 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


บิ๊กทุน ไทย-เทศ ฝ่าโควิด ขอแจม ไฮสปีดอีอีซี ต่อขยาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด พร้อมรถไฟทางคู่ รวมแสนล้าน เปิด Market Sounding ร่วมทุนพีพีพี 24 ก.ค.นี้ แย้มมี ยักษ์จีนไชน่าเรลเวย์ หอการค้าฝรั่งเศส ดอยซ์แบงก์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศษ ญี่ปุ่น เกาหลี สนพรึบ ด้านฝั่งไทยมาครบซิโน-โทย บีทีเอส ช.การช่าง บีอีเอ็ม กลุ่มซีพี

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่าจ้างกลุ่ม บริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัททีม คอลซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด(มหาชน) บริษัททีแอลที คอนซัลแตนส์จำกัด บริษัทวิศวกรรมธรณีและฐานรากจำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัทดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ให้ดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาความเหมาะสม ด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจสังคมการเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะเวลา 240 วันนั้น ล่าสุด ร่างผลการศึกษาแล้วเสร็จ เปิดประชุมประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชนหรือ Market Sounding วันที่ 24 กรกฎาคม พร้อมเปิดรับความคิดเห็นข้อเสนอแนะอย่างรอบด้านจากภาครัฐ เอกชนและประชาชนที่เกี่ยวข้อง
แหล่งข่าวจาก บริษัท ดาวฤกษ์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บริษัท ส่งแบบตอบรับเพื่อประเมินความสนใจเบื้องต้นภาคเอกชน (Market Sounding) กรณีร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินระยะที่2ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 200 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะทาง 260 กิโลเมตร มูลค่าราวกว่า1แสนล้านบาท ปรากฎว่ามีเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ ให้ความสนใจตอบรับเข้าร่วม รับฟัง ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ จำนวน 150 ราย จาก 300 กลุ่มนักลงทุนทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2563)

สำหรับ กลุ่มเอกชน ต่างชาติ มีหอการค้าจำนวน 36 ประเทศ บริษัทผู้รับเหมารายใหญ่ สถาบันการเงิน ที่ตอบรับเข้าร่วม อย่าง ประเทศจีน บริษัทไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) กลุ่มทุนญี่ปุ่น เกาหลี หอการค้าฝรั่งเศส ทูตฝรั่งเศส ดอยซ์แบงก์ สถาบันการเงินระดับโลกจากเนเธอร์แลนด์ ขณะประเทศไทย บริษัทรับเหมารายใหญ่และผู้รับสัมปทาน โครงการขนาดใหญ่ระบบราง-โครงสร้างพื้นฐานรัฐ อาทิ บริษัท ซิโน-โทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บีทีเอสกรุ๊ป บมจ. ช.การช่าง บีอีเอ็ม ยูนิค อิตาเลียนไทย ส่วนเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ได้สัมปทานไฮสปีดอีอีซีระยะแรก อยู่ระหว่างตอบรับ ขณะที่สถาบันการเงิน ได้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนชาติ เกียรตินาคิน ฯลฯภาครัฐที่เข้าร่วมมีหลายหน่วยงาน รวมถึงกระทรวงการคลัง เป็นต้น


“ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมีสูง ช่วยกระจายความเจริญออกสู่ภาคตะวันออก เชื่อมประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุนความเป็นมหานครผลไม้ การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าจาก กรุงเทพมหานคร ถึงชายแดน จังหวัดตราด ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาและยังเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนด้านตะวันออกอีกด้วย”ขณะที่มูลค่าโครงการที่ศึกษาไว้ 44,900 ล้านบาทไม่รวมค่าเวนคืน ซึ่งอาจมีการปรับราคา ตามความเป็นจริง ณ เวลาปัจจุบัน ทั้งนี้หากก่อสร้างจะเริ่มจาก ปี 2571-2612 คาดว่าจะมีผู้โดยสารปี 2571 จำนวน 7,429 คนต่อเที่ยวต่อวัน ปี 2581 จำนวน 10,896 คนต่อเที่ยวต่อวัน ปี 2591 จำนวน 15,251 คนต่อเที่ยวต่อวันนอกจากนี้ จะพัฒนารถไฟทางคู่ คู่ขนานกันไปกับไฮสปีดอีอีซีเฟส2 จาก ระยอง ต่อจากสถานีมาบตาพุด-ด่านพรมแดนคลองใหญ่จังหวัด ตราด ตลอดแนวเวนคืนเปิดหน้าดินใหม่ทั้งหมด เขตทางกว้าง 50 เมตร ระยะทาง 260 กิโลเมตร เพื่อเป็นทางเลือก ต่อเชื่อมเส้นทางกับไฮสปีดล่าสุดได้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นแล้ว โดยใช้งบลงทุน 9 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2020 12:14 am    Post subject: Reply with quote

ซี.พี. ตอกเข็มไฮสปีด ก.พ. 64 ประเดิมเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 กรกฎาคม 2563 - 16:44 น.



ปลัดคมนาคมเร่งเคลียร์ส่งมอบพื้นที่ ปักตอม่อ “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ก.พ.ปีหน้าช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ดีเลย์สุด “พญาไท-ดอนเมือง” ส่อลากยาวถึงปี”66 ด้าน “ซี.พี.” ย้ำเป้าเดินรถ “แอร์พอร์ตลิงก์” ต.ค. 64
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้กับเอกชนคู่สัญญา บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) ขณะนี้การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคทุกอย่างยังเป็นไปตามแผน ซึ่งสำนัก

งบประมาณได้ตรวจสอบรายละเอียดครบถ้วนแล้ว และแบ่งให้โครงการมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสนอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน ส่วนโครงการวงเงินไม่ถึงจะเป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงบประมาณพิจารณาเอง

การเวนคืนที่ดินและไล่รื้อผู้บุกรุกจะดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในส่วนของการเวนคืนได้กำหนดจัดประชุมกับผู้ถูกเวนคืน สำรวจสิ่งปลูกสร้าง และจัดตั้งคณะกรรมการกำกับราคาเบื้องต้น เพื่อกำหนดราคาค่าเวนคืนและค่าทดแทนให้ชัดเจน ตามแผนจะใช้การเจรจาเป็นหลัก คาดว่าในเดือน พ.ย.นี้จะทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนและเริ่มจ่ายค่าทดแทน และรับมอบที่ดิน รวมถึงจะส่งมอบที่ดินให้กลุ่ม ซี.พี.ส่วนแรกสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาภายในเดือน ก.พ. 2564 หากมีกรณีที่ผู้ถูกเวนคืนทักท้วงและยื่นเรื่องสู่กระบวนการยุติธรรม จะเคลียร์ให้จบในเดือน ส.ค. 2564

“ยอดผู้บุกรุกที่มีผลกระทบกับโครงการ ปัจจุบันมีผู้บุกรุกรวม 569 หลังคาเรือน แบ่งเป็นช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ มีผู้บุกรุก 267 หลังคาเรือน และช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาอีก 302 หลังคาเรือน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการฟ้องศาลเพื่อขับไล่ผู้บุกรุกทั้งหมดแล้ว ส่วนการยกเลิกสัญญาเช่าของ ร.ฟ.ท.ที่ทับซ้อนกับแนวเส้นทาง มีการยกเลิกรวม 213 สัญญา อยู่ช่วงดอนเมือง-พญาไท 100 สัญญา จะทยอยให้เสร็จเดือน ธ.ค.นี้ และช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จำนวน 113 สัญญา จะทยอยยกเลิกเดือน ต.ค.นี้”

ร.ฟ.ท.ยังได้รายงานการขอเข้าใช้พื้นที่ของหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อดำเนินการก่อสร้าง เช่น พื้นที่ของกรมทางหลวง (ทล.) มีหน่วยงานยื่นขอใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้าง 8 หน่วยงาน ยังมีพื้นที่ของหน่วยอื่น ๆ ที่กำลังทยอยอนุญาตให้เข้าพื้นที่ เช่น กรมทางหลวงชนบท และกรมเจ้าท่า อนุญาตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เข้าใช้พื้นที่แล้ว, และกรุงเทพมหานคร (กทม.) อนุญาตให้การประปานครหลวงเข้าพื้นที่แล้ว 9 จุด ยังมีหน่วยอื่น ๆ ที่ทยอยขออนุญาตเข้าพื้นที่


ในส่วนของการขอขยายเขตทางตามที่กลุ่ม ซี.พี.ยื่นเสนอ จะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่ม 6 จุด ได้แก่ 1.ช่วงสถานีลาดกระบัง 2.ทางออกสนามบินสุวรรณภูมิ 3.ช่วงประตูระบายน้ำของกรมชลประทาน จ.ฉะเชิงเทรา 4.ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง 5.อุโมงค์เขาชีจรรย์ และ6.ทางเข้าสนามบินอู่ตะเภา มีผู้ได้รับผลกระทบเพิ่ม 48 ราย เป็นจำนวน 63 แปลง

อยู่ระหว่างสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จะทำให้เสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้ จากนั้นเดือน ส.ค.สรุปข้อมูลความคิดเห็น พร้อมกับสั่งให้ ร.ฟ.ท.ดูว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายงาน EIA หรือไม่ เพราะเมื่อมีการขยายเขตทางต้องเวนคืนเพิ่ม

นอกจากนี้กลุ่ม ซี.พี.รายงานความก้าวหน้าการรับมอบโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ อยู่ระหว่างตรวจสอบระบบทางเทคนิคและปรับปรุงเนื้องานต่าง ๆ อีก 4 รายการ ได้แก่ 1.การตกแต่งสถานี

ให้สวยงามขึ้น 2.เพิ่มไฟส่องสว่าง 3.ปรับปรุงสภาพทรัพย์สินเดิม เช่น อาคารสถานีให้แข็งแรงขึ้น และ 4.ระบบเดินรถ จะเสร็จเดือน ก.ค.นี้ และเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถ จะใช้เวลา 16 เดือน หรือไปสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2564 และจะรับมอบแอร์พอร์ตเรลลิงก์เดือน ต.ค. 2564 ตามเดิม โดยประชาชนจะต้องได้รับบริการที่ต่อเนื่อง ไม่มีรอยต่อ

ปัญหาการรับมอบแอร์พอร์ตลิงก์ก็มีอยู่ เพราะกลุ่ม ซี.พี.ใช้ทีมที่ปรึกษาจากต่างประเทศ เช่น อิตาลี มาดำเนินการสำรวจตรวจสอบและวางแผนพัฒนา แต่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ติดปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 จึงต้องใช้ช่องทางอีเมล์ในการติดต่อสื่อสารแทน จึงให้ ซี.พี.ศึกษากฎระเบียบของ ศบค.ให้ชัดเจน แล้วดำเนินการทำเรื่องขอนำตัวที่ปรึกษาเข้าประเทศ แต่จะต้องกักตัว 14 วันตามระเบียบของรัฐ

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างจะทยอยเป็นส่วน ๆ ในเดือน ก.พ. 2564 ส่งมอบช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาก่อน เร็วขึ้น 1 เดือน, ช่วงสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ติดปัญหาทับซ้อนสายสีแดง จะส่งมอบใน 2 ปี 3 เดือน แต่ช่วงที่มีปัญหามากที่สุดคือพญาไท-ดอนเมือง เพราะมีโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคมาก กำลังเร่งรัดเร็วที่สุดเดือน ม.ค. 2565 แต่หากเกิดกรณียืดเยื้อ เช่น ติดรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ผู้บุกรุก และเวนคืน อาจจะส่งมอบเดือน ต.ค. 2566

ทั้งนี้ สิ่งที่กำลังเร่งรัดคือขอใช้งบประมาณที่อีอีซีอนุมัติไป 2 ส่วน คืองบฯเปิดหน้าดินรื้อย้ายชั่วคราว 490 ล้านบาท เพื่อให้ ซี.พี.เข้าพืนที่ก่อสร้างให้ได้ก่อน จะเป็นการใช้งบฯกลางปี 2563 ยังไม่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณ อีกส่วนเป็นงบฯรื้อย้ายแบบถาวร วงเงิน 4,103 ล้านบาท ยังไม่มีการยื่นขอ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2020 9:18 am    Post subject: Reply with quote

'CP-เจริญ-เซ็นทรัล'ตีปีกรับ ส่วนต่อขยายไฮสปีดระยอง
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ร.ฟ.ท.จัด market sounding ทดสอบความสนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกส่วนต่อขยาย "ระยอง-จันทบุรี-ตราด" 1.2 แสนล้าน ดึงเอกชนร่วมทุน PPP สัมปทาน 30-50 ปี เร่งเฟสแรก "อู่ตะเภาระยอง" ระยะทาง 20 กม. ลงทุน 2 หมื่นล้าน หนุนไฮสปีด EEC เมืองการบิน ปี'65 กดปุ่มประมูล บิ๊กเอกชนไทย-เทศ สนใจ จับตากลุ่ม CP แต้มต่อคู่แข่ง

นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2563 ร.ฟ.ท.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น (market sounding) จากภาคเอกชนที่สนใจโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายระยองจันทบุรี-ตราด เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ การลงทุน PPP ที่เหมาะสมก่อนเปิดประมูล คัดเลือกเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน คาดว่าจะสามารถสรุปผลการศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ จากนั้นจะดำเนินการขออนุมัติโครงการตามขั้นตอนต่อไป

PPP 50 ปีลงทุน 1.2 แสนล้าน

เบื้องต้นกำหนดการลงทุนรูปแบบ PPP net cost สัมปทาน 30-50 ปี มี 3 ทางเลือก 1.เอกชนลงทุนทั้งหมด ทั้งงานโยธา ระบบ ขบวนรถ บริหารเดินรถ และซ่อมบำรุง รัฐจัดหาที่ดิน 2.เอกชนดำเนินงานเฉพาะงานระบบและตัวรถ บริหารเดินรถและซ่อมบำรุง รัฐเป็นผู้จัดหา ที่ดินและงานโยธา และ 3.เอกชนเป็นผู้ดำเนินการเฉพาะบริหารงานเดินรถและซ่อมบำรุง รัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน งานโยธา ระบบ และขบวนรถ

โดยโครงการนี้จะใช้เงินลงทุน 122,238 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 14,836 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 3,300 ล้านบาท ค่างานโยธา 82,339 ล้านบาท งานระบบ 14,113 ล้านบาท และซื้อขบวนรถ 6,996 ล้านบาท จะแบ่งก่อสร้างออกเป็น 4 เฟส

เริ่มเฟสแรกอู่ตะเภา-ระยอง

นายสุชีพกล่าวว่า สำหรับโครงการระยะแรกจะก่อสร้างจากสนามบินอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทางประมาณ 20 กม. วงเงินลงทุน 20,510 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 1,837 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 471 ล้านบาท ค่างานโยธา 13,845 ล้านบาท ค่างานระบบ 2,025 ล้านบาท ซื้อขบวนรถ 2,332 ล้านบาท ส่วนเฟสที่ 2 ช่วงระยอง-แกลง เงินลงทุน 40,951 ล้านบาท เฟสที่ 3 ระยอง-จันทบุรี เงินลงทุน 71,013 ล้านบาท และเฟสที่ 4 จันทบุรี-ตราด เงินลงทุน 101,728 ล้านบาท

"โครงการนี้เป็นส่วนต่อขยายไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินที่กลุ่ม ซี.พี.เป็นผู้รับสัมปทาน แต่ถ้า ซี.พี.มีความสนใจก็เข้าประมูลได้ และมีความได้เปรียบคู่แข่งอยู่แล้ว เพราะเป็นผู้รับสัมปทานโครงการที่วิ่งเข้ากรุงเทพฯไปถึงดอนเมือง ต้นทุนต่าง ๆ จะถูกกว่าคู่แข่ง และเฟสแรกใช้เงินลงทุนไม่มาก 2 หมื่นกว่าล้าน"

ปรับแนวใหม่ไม่เข้ามาบตาพุด

สำหรับแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน บริเวณฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนถนน 3574 ระยอง-บ้านค่าย ห่างจากสี่แยกเกาะลอย 3 กม. จากนั้นมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง เข้าสู่สถานีแกลง ตั้งอยู่บนถนน 344 ชลบุรี-แกลง ห่างสามแยก แกลง 2 กม.

จากนั้นวิ่งตามแนวรถไฟทางคู่ช่วงมาบตาพุด-บ้านฉางบางช่วง ผ่าน อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ตั้งอยู่แยกเขาไร่ยา ผ่าน อ.เมืองจันทบุรี อ.มะขาม อ.ขลุง จ.จันทบุรี เข้า อ.เขาสมิง สิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ตั้งอยู่ ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนถนนสายสุขุมวิท ห่างสามแยกตราด 2 กม. รวมระยะทาง 190 กม.

"มีปรับแนวใหม่จากเคยศึกษาไว้เดิมกรุงเทพฯ-ระยอง ก่อนที่จะปรับเป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะพาดผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่มีการคัดค้าน จึงปรับใหม่ฉีกไปทางบ้านฉาง แล้วตรงไปยังถนนสาย 36 แทน และปรับตำแหน่งสถานีระยองใหม่ จากเดิมจะอยู่ติดศูนย์การค้าเซ็นทรัล แนวใหม่จะอยู่ห่างออกไปประมาณ 2-3 กม."

เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินทางและการขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

บิ๊กเอกชนไทย-ต่างชาติคึก

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับรายชื่อเอกชนที่เข้ามาร่วมรับฟัง มาจากหลากหลายบริษัทวงการรับเหมาก่อสร้าง พัฒนาที่ดิน ระบบรถไฟฟ้า การเงิน ทั้งในไทยและต่างประเทศ อาทิ บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เชื่อมสามสนามบิน (ซี.พี.), บมจ.ยูนิเวนเจอร์ (กลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ฤทธา, บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN), บมจ.ราชกรุ๊ป เป็นต้น

ส่วนต่างประเทศ เช่น ฮิตาชิ เอเชีย (ญี่ปุ่น), ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ป (จีน), ซิโนไฮโดร, ซูมิโตโม และ Bank of China เป็นต้น

คาดเริ่มประมูลปี'65

ข้อมูลโครงการทางที่ปรึกษาเปิดเผยไทม์ไลน์ หากได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปี 2564 คาดว่าจะศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรูปแบบการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) ภายในปี 2565 จากนั้นเข้าสู่การหาเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าเริ่มก่อสร้างปี 2567 แล้วเสร็จปี 2571 มี 4 สถานี คือ สถานีระยอง แกลง จันทบุรี และสถานีตราด คาดการณ์ผู้โดยสารเริ่มต้น 7,429 เที่ยวคน/วัน ค่าโดยสารเริ่มต้นอยู่ที่ 95 บาท โดยอัตราค่าโดยสารจะคิดเพิ่ม 2.1 บาท/กม.

เอกชนขอพัฒนาที่ดิน

สำหรับประเด็นที่เอกชนที่มาฟังตั้งคำถามเป็นจำนวนมาก คือ พื้นที่พัฒนารอบ ๆ สถานีรถไฟ (TOD) โดยส่วนใหญ่ตั้งข้อสังเกตว่า ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีแผนพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชาจูงใจนักลงทุน แต่โครงการนี้กลับไม่มีการพัฒนาที่ดิน TOD จึงอยากให้เพิ่มแผนพัฒนา TOD ซึ่งที่ปรึกษาได้แจงว่าการเวนคืนเพื่อทำ TOD นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะติดข้อกฎหมายตาม พ.ร.บ.เวนคืน 2562 ห้ามนำที่ดินเวนคืนไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หากนักลงทุนสนใจจะพัฒนา TOD ต้องซื้อที่ดินเอง

ยังถามถึงการพัฒนาโครงการนี้จะเข้า EEC track หรือไม่ หรือดำเนินการตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ. PPP 2562 ตามปกติ ที่ปรึกษาแจงว่าจากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบลงทุนทั้ง 2 แบบนั้น พบว่า EEC จะใช้เวลาดำเนินการน้อยกว่า โดยจะใช้เวลาดำเนินโครงการ 16-20 เดือน ส่วนกระบวนการตาม พ.ร.บ. PPP จะใช้เวลาทั้งหมด 22-30 เดือน ซึ่งไม่ได้ต่างกันมากนัก แต่การจะดำเนินการตามรูปแบบใดขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก

หวั่นโครงการไม่คุ้มต่อการลงทุน

ขณะที่ตัวแทนเอกชน เช่น บริษัท โจนส์แลงลาซาลล์อินคอร์ปอเรท บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เข้ามาร่วมงานให้ความเห็นว่า ตัวโครงการผลตอบแทนต่ำ และความเสี่ยงสูงมาก แถมไม่มีนโยบายการพัฒนาพื้นที่ TOD อีกทั้งทำให้เอกชนต้อง wait and see ก่อนว่า ทาง ร.ฟ.ท.จะมีอะไรดึงดูดความสนใจในการลงทุนโครงการนี้เพิ่มขึ้น เพราะหากมีการเพิ่ม TOD เข้ามาในโครงการ จะช่วยให้โครงการมีความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2020 10:15 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'CP-เจริญ-เซ็นทรัล'ตีปีกรับ ส่วนต่อขยายไฮสปีดระยอง
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์มาแล้วครับ

“CP-เจริญ-เซ็นทรัล”ตีปีกรับ ส่วนต่อขยายไฮสปีดระยอง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - 19:30 น.
https://www.prachachat.net/property/news-498364
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 376, 377, 378 ... 542, 543, 544  Next
Page 377 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©