RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181377
ทั้งหมด:13492612
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 218, 219, 220 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/07/2020 7:57 pm    Post subject: Reply with quote

“BTS” ชี้ลงทุนช่วงโควิดเหมาะสุด มั่นใจชิง “สายสีส้ม” เร่งสายสีเขียวเปิดถึงคูคต ธ.ค. นี้
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 - 19:46 น.

นายสุรพงศ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวในงานสัมมนา “ลงทุน 2020 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างชาติ สร้างงาน” จัดโดยเครือมติชนว่า ในช่วงโควิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเหมาะสมที่สุด เพราะใช้เวลาก่อสร้างนาน ซึ่งคาดว่าเมื่อก่อสร้างแล้ว การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดก็จะสร่างซาลงไป และทำให้เรามีความพร้อมมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
ในส่วนของบีทีเอส ช่วงโควิดที่ผ่านมาเร่งการลงทุนตลอด โดยมีโครงการในมือ ประกอบด้วย รถไฟฟ้า 4 เส้นทาง เริ่มที่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งให้บริการมา 20 ปี และส่วนต่อก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ส่วนขยายทั้งด้านใต้และด้านเหนือทยอยเสร็ตทั้งหมดแล้ว โดยช่วงสายใต้ ช่วงแบริ่ง – สมึทรปราการ เปิดให้บริการเต็มรูปแบบมาประมาณ 1 ปีแล้ว ส่วนสายเหนือช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ปัจจุบันเปิดไปถึงสถานีวัดพระศรีฯ คาดว่าในเดือนธ.ค.นี้จะเปิดถึงสถานีคูคต

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย – มีนบุรี และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความคืบหน้าในการก่อสร้างแล้ว 50% โดยทั้งสองสายถือเป็นโมโรเรลสายแรกของไทย ซึ่งบีทีเอสพยายามเร่งรัดการดำเนินการอยู่ โดยคาดว่าช่วงปลายปี 2564 จะเปิดให้บริการได้ แต่ช่วงสายสีชมพูอาจจะเปิดได้เป็นช่วงๆไปก่อน เพราะติดปัญหาส่งมอบพื้นที่ล่าช้า


ส่วนรถไฟฟ้าสายสีทองช่วงกรุงธนบุรี – คลองสาน เป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็กแบบเดียวกับที่ใช้ในสนามบิน มีระยะทาง 1.8 กม. แนวเส้นทางจากสถานีรถไฟฟ้า BTS กรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าถ.เจริญนคร ผ่านไอคอนสยาม ไปสิ้นสุดที่รพ.ตากสิน ความคืบหน้าของโครงการงานโยธานขณะนี้ก้าวหน้าแล้ว 96% ส่วนงานระบบมีความคืบหน้า 84% โดยเมื่อการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดปัญหาการนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาในไซส์งงาน กำลังเร่งแก้ไขอยู่ คาดว่าเดือน ต.ค.นี้จะเปิดให้บริการ

ขณะที่งานด้านอื่นๆ ก็มีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงิน 290,000 ล้านบาท โดยครั้งนี้ร่วมกับ บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) บมจ. ซิโน-ไทย (STEC) โดยเซ็นสัญญาโครงการไปเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาแล้ว คาดว่าอีกประมาณ 4 ปีครึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จ ถือเป็นการมาช่วยทอท.แบ่งเบาภาระการรองรับศักยภาพผู้โดยสารในประเทศไทย และถือเป็นสนามบินหลักแห่งที่ 3 ของประเทศ

อีกงานหนึ่งคือ งานติดตั้งระบบ O&M มอเตอร์เวย์บางใหญ่ – กาญจนบุรี และมอเตอร์เวย์บางปะอิน – นครราชสีมา วงเงิน 39,138 ล้านบาท ร่วมบมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์, ซิโน-ไทย และบมจ.ราชกรุ๊ป ล่าสุดผ่านการพิจารณาของครม.แล้ว คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ในเดือน ส.ค.นี้ โดยสายบางปะอินจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีเสร็จ ทั้งนี้บีทีเอสยินดีให้ความร่วมมือถ้ารัฐบาลจะให้เปิดบริการบางส่วนก่อน ส่วนช่วงบางใหญ่จะใช้เวลา 4 ปีในการก่อสร้าง เพราะเพิ่งเคลียร์เวนคืนได้ไม่นาน

ส่วนโครงการที่สนใจลงทุนในอนาคต เป็นโครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นส่วนใหญ่ เริ่มที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 142,789 ล้านบาท โดยได้เข้าซื้อซองประมูลกับ รฟม.แล้วเมื่อวันที่ 10 ก.ค.และพร้อมจะยื่นซองประมูล‪ในวันที่ 23 ก.ย.‬นี้แน่อน และยังมีอีกหลายโครงการที่รัฐบาลต้องการให้เอกชนเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งเราต้องการเข้ามาช่วยภาครัฐ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุดและได้ของที่ดีที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2020 10:30 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเตรียมประมูลปี 2564
ผังเมือง กทม. ใหม่หนุนืเพิ่มพื้นที่สีส้ม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3219440798102843&set=a.2794025613977699&type=3&theater


เร่ง EIA ดันประมูลด่วนN2 พ่วงตอม่อสีน้ำตาล- ส.ค.คุย ม. เกษตรฯเคลียร์โมเดล N1
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 - 19:53

Click on the image for full size
Click on the image for full size

กทพ.ทบทวนรายงาน EIA ทางด่วน N2 เชื่อมวงแหวนฯ 11.3 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล. คาดเปิดประมูล ปี64 พร้อมก่อสร้างตอม่อรถไฟฟ้าสีน้ำตาลให้ด้วย คาดส.ค. นี้ ม.เกษตรพร้อม ถกโมเดลโดมครอบทางด่วน ตอนN1

นายวิชาญ เอกรินทรากุล ที่ปรึกษาผู้ว่าการ (ด้านการบริหาร) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานจัดทำรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (สายเหนือและสายใต้) ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก ระยะทาง 11.3 กม.ว่า สาเหตุที่มีการศึกษาทบทวน เนื่องจาก EIA เดิม ทำไว้เมื่อ 20 ปีแล้วพร้อมกับโครงการก่อสร้างถนนเกษตร-นวมินทร์ ขณะที่ปัจจุบันกทพ.จะก่อสร้างทางด่วน. ตอน N2 ซึ่งมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย-มีนบุรี(บึงกุ่ม)ร่วมแนวเส้นทางด้วย ประกอบกับเวลาและสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้ต้องปรับปรุงรายงาน EIA เดิม

ซึ่งกทพ.จ้างที่ปรึกษา ทบทวนรายงาน EIA เป็นเวลา 10 เดือน วงเงิน 14.3 ล้านบาท สัญญาสิ้นสุด 16 ก.ย. 2563 โดยขยายจากเดิม 55 วันจากผลกระทบโควิด-19 จากนั้นจะสรุปเสนอ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(กก.วล.)

สำหรับทางด่วน N2 มีค่าก่อสร้าง 17,000 ล้าน ใช้เงินจากกองทุน TFF คาดว่าจะเร่ิมก่อสร้างปี 2565 ใช้เวลา 36 เดือน จัดเก็บค่าผ่านทาง 20/40/60 บาท สำหรับรถ4/6-10/มากกว่า10 ล้อ คาดว่าปีแรก มีปริมาณจราจร 70,000- 80,000 เที่ยว/วัน

@ คาดส.ค. ถกม.เกษตร ฯ โมเดลโดมครอบทางด่วน

นายชาตรี ตันศิริ รักษาการรองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้าง กทพ. กล่าวว่า กทพ. จะประมูลก่อสร้างทางด่วนN2 วงเงิน 17,000 ล้านบาทโดยมีเนื้องานในการก่อสร้างฐานรากและตอม่อรถไฟฟ้าสีน้ำตาลวงเงิน 1,500 ล้านบาทร่วมเข้าไปด้วย ซึ่งการรถไฟฟ้าชนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้กทพ.ดำเนินการก่อสร้างไปพร้อมกัน เพื่อลดผลกระทบ โดยรถไฟฟ้าสีน้ำตาลจะอยู่ใต้โครงสร้างทางด่วน ระยะทางประมาณ 6.97 กม. มีเสารถไฟฟ้า 280 ต้น ก่อสร้างประมาณ 1 ปีครึ่ง ส่วนโครงสร้างที่เหลือรฟม.จะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน PPP

ซึ่งการประมูลนั้นจะหารือกับกรมบัญชีกลาง เนื่องจาก ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปี 2560 หน่วยงานสามารถประกวดราคาร่วมกันได้ และหารือกับรฟม. ในเรื่องการควบคุมงาน ว่าจะให้กทพ.ดำเนินการ เบ็ดเสร็จหรือรฟม.ส่งทีมเข้ามาร่วมทำงานด้วย

ส่วนความคืบหน้าทางด่วนขั้นที่3 ตอนN1 ซึ่งจะใช้แนวเส้นทางเดิม ไปตามถนนงามวงศ์วาน ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้ามถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวซ้ายไปเชื่อมกับทางพิเศษศรีรัช บริเวณบางซื่อ โดยทำโดมครอบช่วงผ่านม.เกษตร ป้องกันเสียง ฝุ่น และมลพิษต่างๆ ค่าก่อสร้างประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งได้ส่งข้อมูลให้ ม.เกษตรพิจารณาแล้ว คาดว่าจะมีการประชุมร่วมกับม.เกษตรได้ช่วงต้นเดือนส.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม โครงการทางด่วนขั้นที่3 สายเหนือ (N1และN2 )นั้นเป็นโครงการเดียวกัน ซึ่งคจร. มีมติให้ดำเนินการพร้อมกัน แต่ก่อสร้างเป็นเฟสได้ ขณะที่การขออนุมัติส่วนของ N2 จึงต้องรอให้ช่วง N1 มีความชัดเจนเรื่องแนวเส้นทางก่อน. คาดว่าจะเสนอขออนุมัติช่วง N2 ได้ช่วงปลายปีนี้ และเปิดประมูลไม่เกินปลายปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2020 6:54 pm    Post subject: Reply with quote

“ทางด่วน-รถไฟฟ้า”เริ่มฟื้น BEM ลุยประมูลงานใหม่เพิ่ม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 - 09:45 น.

BEMไม่สะเทือนโควิด โกยรายได้ปี’62 กว่า 1.6 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 5.4 พันล้าน ผนึก ช.การช่าง ชิงรถไฟฟ้า “สีส้ม-สีม่วงใต้” ดัน BMN ลุย “จุดพักรถ-สื่อโฆษณาทางด่วน”

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) กล่าวในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 วันที่ 20 ก.ค. ในปี 2562 มีรายได้รวม 16,107 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 492 ล้านบาท คิดเป็น 3.2% และกำไรสุทธิ 5,435 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 118 ล้านบาท คิดเป็น 2.2% แยกเป็นรายได้จากธุรกิจทางด่วน 10,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 128 ล้านบาท คิดเป็น 1.3% จากการเติบโตของการใช้บริการทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ส่วนรายได้จากธุรกิจระบบรางอยู่ที่ 5,022 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 286 ล้านบาท คิดเป็น 6% จากการเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารช่วงส่วนต่อขยายที่เปิดบริการ และรายได้จากการบริหารธุรกิจเชิงพาณิชย์ 783 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73 ล้านบาท คิดเป็น 11.1%

ด้านฐานะทางการเงิน ณ สิ้นปี 2562 มีสินทรัพย์รวม 111,697 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% จากงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และมีหนี้สิน 72,874 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.8% จากเงินกู้ที่ใช้ก่อสร้างสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

ทั้งนี้บริษัทสามารถยุติข้อพิพาทสัมปทานทางด่วนกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 ทำให้สัญญาทางด่วน 3 เส้นทาง ได้แก่ ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน A, B, ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน C, D และทางด่วนอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) หมดอายุพร้อมกันปี 2578 และเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ทำให้ฐานรายได้ของบริษัทมั่นคงขึ้น



นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล กรรมการบริหาร BEM กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 กระทบกับบริษัทน้อย ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มมาตรการในประเด็นการรักษาความสะอาดมากกว่า เพราะโครงการที่มีในขณะนี้อย่างสายสีน้ำเงินก็เปิดบริการครบโครงข่ายแล้ว

ส่วนค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้รับผลกระทบบ้าง ช่วงก่อนเปิดส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วงอยู่ที่ 7-8 ล้านบาท/วัน และคาดการณ์เมื่อเปิดส่วนต่อขยายรายได้เพิ่มเป็น 10-12 ล้านบาท/วัน แต่มีโควิด-19 ทำให้รายได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้หายไป 80-90% หรือ 2-3 ล้านบาท/วัน จากมาตรการ social distancing ของรัฐบาล

และเมื่อเริ่มผ่อนคลายมาตรการ ตอนนี้ยอดผู้โดยสารทยอยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 300,000 เที่ยวคน/วัน คิดเป็น 70-80% ของจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการในช่วงปกติ ขณะที่ทางด่วนผู้ใช้ทางลดลงกว่า 50% แต่ตอนนี้ตัวเลขกลับมา 100%

ด้านการดำเนินงานของบริษัทลูกบจ.แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ (BMN) จะขยายธุรกิจเพิ่ม หลังยุติข้อพิพาทร่วมกับ กทพ.ทำให้ BEM พัฒนาป้ายโฆษณาและจุดพักรถ (rest area) บนทางด่วนได้ จึงมีแนวคิดจะให้ BMN เข้าพัฒนาพื้นที่ ปลายปีนี้จะเห็นความชัดเจน”

นายพงษ์สฤษดิ์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ BEM ยังเตรียมเข้าประมูลโครงการของรัฐบาลในครึ่งปีหลัง โดยร่วมกับ ช.การช่าง บริษัทแม่ มี 2 โครงการคือ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 124,959 ล้านบาท และสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 142,789 ล้านบาท ที่รัฐจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost

“สายสีม่วงใต้อยู่ระหว่างที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งรัดเปิดประกวดราคา ศึกษารูปแบบ PPP การเดินรถ คาดว่าจะประมูลงานโยธาปีนี้ ส่วนงานเดินรถน่าจะเป็นปีหน้า” พงษ์สฤษดิ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2020 9:14 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

"ขนส่งทางราง" ชงขอ "รถไฟฟ้า 2 สาย" คืนจาก กทม.

"ขนส่งทางราง" จ่อชงคจร.-คมนาคมทบทวนแผนรถไฟฟ้าระยะที่ 2 โดยเร่งสร้างรถไฟฟ้าเพิ่ม 5 สายทางในปี 64-73 พร้อมเสนอดึงกลับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ท่าพระ และสายสีเขียวต่อขยายทิศใต้ ช่วงสมุทรปราการ-บางปู จาก กทม.มาให้ รฟม.สร้างเองเพราะไม่มีความคืบหน้า คาดเมื่อระบบรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ ทั้งระยะที่ 1-ระยะที่ 2 ในปี 75 จะมีคนใช้บริการเพิ่มเป็น 30% ของระบบขนส่งรวม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวถึงนโยบายแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคมว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายชัดเจนที่จะขับเคลื่อนการลงทุนระบบรางอย่างเต็มที่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและใช้ระบบรางในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ ลดค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชนในอนาคต โดยระบบรางสามารถครอบคลุมการเดินทางทั้งหมด ซึ่งขณะนี้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ศึกษารายละเอียดและความจำเป็นที่จะพัฒนาระบบรางให้ครอบคลุมและขยายเส้นทางเพื่อตอบสนองการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้น

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า จากนโยบายของกระทรวงคมนาคม ภายใต้การดำเนินการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พบว่าได้ก่อสร้างรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมไปแล้วกว่า 14 สายทางระยะทางรวม 553.41 กม. มีสถานีให้บริการทั้งสิ้น 367 สถานี และจะทยอยเปิดให้บริการจนครบทุกสายถึงปี 70 นั้น

"ขณะนี้ ขร.มีแนวคิดที่จะทบทวนแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 จากผลศึกษาของไจก้าตามแนวคิด M-Map 2 ที่ศึกษาไว้โดยสรุปจะมีการก่อสร้างขนส่งสาธารณะระบบราง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าในระยะที่ 2 อีก 5 สายทางระยะทางรวม 130 กม. ตามผลการศึกษาเดิมที่มีแผนจะเริ่มดำเนินการในปี 64-65 และแล้วเสร็จในปี 72-73 ประกอบด้วยสายทางที่ 1 สายแม่น้ำทางรถไฟสายเก่า-บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ 2.สายสีเทา วัชรพล-รามอินทรา-ลำลูกกา 3.ส่วนต่อขยายสีแดง รังสิต-ธัญบุรี 4.สายใหม่ สถานีขนส่งสายใต้-หลักสี่ และ 5.สายใหม่ บางหว้า-บางกะปิ"

ขณะที่จะมีการเสนอขอทบทวนความรับผิดชอบการก่อสร้างในบางสายทาง ว่าใครมีความพร้อมที่จะเข้ามาดำเนินการก่อสร้างมากที่สุด จากเดิม กทม.เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานหรือ รฟม. ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงรามอินทรา-ลำลูกกา และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ซึ่งแนวคิดดังกล่าว ขร.อยู่ระหว่างการรวบรวมรายละเอียดทั้งหมดและพิจารณาความเหมาะสม ก่อนนำเสนอนายศักดิ์สยามชิดชอบ รมว.คมนาคม เห็นชอบก่อนเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาเห็นชอบการทบทวนแผน M-Map 2 ต่อไป

ทั้งนี้ ตามแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 นี้ ผลการศึกษามีเป้าหมายที่จะขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมรัศมีจากการให้บริการรถไฟฟ้าเดิมออกไปอีกรัศมี 20 กม. รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายทางรางตาม M-Map ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดเพื่อตอบโจทย์การขยายตัวของเมืองที่ปัจจุบันขยายมากขึ้นโดยมีการคาดการณ์ว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 นี้ จะเพิ่มผู้ใช้ระบบ MRT จาก 6.2% เป็น 15% เมื่อเทียบกับระบบขนส่งอื่น

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการทบทวนแผนพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 เนื่องจากปัจจุบัน รถไฟฟ้าหลายสายทางที่ได้มีการโอนความรับผิดชอบให้ กทม.แต่การดำเนินการยังไม่มีความคืบหน้า ประกอบกับภารกิจของ รฟม.ที่ดำเนินการในแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 1 แล้วเสร็จตามแผน จึงมีแนวคิดที่จะขอกลับมาให้ รฟม.ดำเนินการ โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ท่าพระ ซึ่งแนวคิดของ ขร.หากมาให้ รฟม.ดำเนินการช่วงวัชรพล-สถานีรามคำแหง เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนต่อขยายฝั่งตะวันออก ของ รฟม.ก่อนจะช่วยขนถ่ายประชาชนฝั่งตะวันออกเชื่อมต่อทิศเหนือของ กทม.ได้ดี

ขณะที่ในส่วนของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวทิศใต้จากเดิม หมอชิต-สมุทรปราการ ซึ่งตามแผนจะต้องต่อขยายจากสมุทรปราการ-บางปู ทาง กทม.ยังไม่มีความชัดเจนเช่นกัน หาก รฟม.นำมาดำเนินการเองจะทำให้การเชื่อมต่อขนส่งผู้โดยสารจากทิศใต้ กทม.ไปยังทิศเหนือกทม.ชัดเจนขึ้น

"ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้ลงทุนระบบขนส่งทางรางทุกโครงการแล้วกว่า 1.3 ล้านล้านบาท มีผู้โดยสารใช้บริการกว่า 6% ของการเดินทางทั้งหมดที่มีคนเดินทางเฉลี่ย 20 ล้านคน/เที่ยว/วัน และจากการศึกษาคาดการณ์ว่าในอนาคตหากมีการพัฒนาระบบโครงข่ายระบบรางครบทุกเส้นทางจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเดินทางในระบบรางเพิ่มขึ้นอีกกว่า 30% ในปี 75".


Last edited by Mongwin on 29/07/2020 2:49 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2020 9:48 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ Line ทาง
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
นายสปีด
transport@dailynews.co.th

ว่ากันด้วย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือ ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า สนข. หน่วยงานที่ทั้ง รมว.คมนาคม ศักดิ์สยาม ชิดชอบ คนปัจจุบัน และอดีตรมว.คมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ มุ่งหวังให้เป็นคลังสมองของกระทรวงคมนาคม ให้ชื่อชั้นเทียบ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. จะเป็นคลังสมองของกระทรวงคมนาคมได้หรือไม่?? ขอเก็บไว้ในใจ ข้าม ๆ ไปดีกว่าให้ผู้อ่านตัดสินกันเอาเอง

แต่ที่อยากให้สนข. ช่วยชี้แจงคือข้อสงสัยเรื่องการศึกษาระบบตั๋วร่วม ล่าสุดได้ข้อมูลมาว่า ในปีงบประมาณ 63 สนข. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา 5 โครงการ งบฯรวม 140,088,100 บาท...ส่วนตัวไม่แปลกใจเพราะที่ผ่านมาก็เห็นสนข. จ้างหน่วยงานภายนอกศึกษาทั้งนั้น งบแต่ละปีจ้างศึกษา 99% (หรือไม่??) หน่วยงานทำหน้าที่แค่กำกับผลการศึกษา

สำหรับ 5 โครงการประกอบด้วย 1.ค่าจ้างศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จ.ระนอง งบฯ 22,492,400 บาท

2.ค่าจ้างศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลและการเชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบอื่น งบฯ 35,360,100 บาท 3.ค่าจ้างศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล งบฯ 22,141,000 บาท

4.ค่าจ้างศึกษาการพัฒนานวัตกรรมระบบวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เพื่อการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก และการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 1 งบฯ 25,552,600 บาท

และ 5.ค่าจ้างศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม งบฯ 34,542,000 บาท จำได้ว่า สนข. ศึกษาตั๋วร่วมมากว่า 20 ปีแล้ว (ข้อมูลนี้อดีตผู้บริหารสนข. ตั้งแต่เป็นสจร. เคยให้สัมภาษณ์และเคยให้ข้อมูล)

การศึกษาที่ผ่านมาได้วัดประสิทธิภาพประสิทธิผลหรือไม่?? ว่าสามารถใช้ประโยชน์นำ ไปต่อยอดหรือหน่วยงานผู้ปฏิบัติได้นำไปใช้ประโยชน์หรือดัดแปลงผลการศึกษาหรือบูรณาการนำไปใช้งาน

สนข. เปิดตัวบัตรแมงมุมเมื่อปี 59 เป็นตั๋วร่วมที่ใช้สัญลักษณ์ใยแมงมุมมุ่งหวังใช้เดินทางได้ทุกระบบเชื่อมโยงทุกโหมดแต่จนป่านนี้ก็ยังเชื่อมต่อกันไม่สำเร็จและยังว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาต่ออีก

เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 31-4/2563 เพื่อติดตามผลการพัฒนาตั๋วร่วม ซึ่งตั้งเป้าหมายล่าสุดว่าวันที่ 1 ต.ค. 63 จะเริ่มใช้ตั๋วร่วมข้ามระบบกับรถไฟฟ้า 3 สายได้แก่ บัตรแรบบิทของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว บัตรแมงมุม และบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน แต่ที่ประชุมได้รับรายงานว่าอาจไม่ทันตามเป้าหมายต้องเลื่อนออกไปไม่เกินสิ้นปีนี้อีก...ว่าง ๆ สนข. ลองอ่านคอมเมนต์ในเพจข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์สิจ๊ะ ว่าฟีดแบ็กของประชาชนต่อตั๋วร่วมและสนข. เป็นอย่างไร??
Arrow https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2664127637142071
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2020 9:52 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์
28 ก.ค. 63·
Arrow https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2664127637142071

ตั๋วร่วมทุกโหมดเดินทางย่ำอยู่กับที่! สนข.ศึกษาแล้วศึกษาอีก
*ประชุมตามงาน31ครั้งยังใช้ข้ามระบบรถไฟฟ้าไม่ได้
*จ้างเก่งแต่ไม่เก่งจ้างผลศึกษาเอามาใช้จริงได้หรือไม่?

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า ในปีงบประมาณ 63 สนข. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา 5 โครงการ งบฯรวม 140,088,100 บาท ได้ที่ปรึกษาครบแล้ว เริ่มศึกษา ก.ค. นี้ จะแล้วเสร็จไม่เกินปีงบฯ64 หรือภายใน ก.ย.64

สำหรับ 5 โครงการประกอบด้วย 1.ค่าจ้างศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาพตะวันออก (อีอีซี) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จ.ระนอง งบฯ 22,492,400 บาท

เพื่อวางแผนและศึกษาความเหมาะสมของการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่ภาตใต้ (SEC) เชื่อมโยงสินค้าการผลิตในพื้นที่อีอีซี เพื่อส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC (บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน ) หรือตะวันออกลาง ยุโรป

2.ค่าจ้างศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลและการเชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบอื่น งบฯ 35,360,100 3.ค่าจ้างศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล งบฯ 22,141,000 บาท

4.ค่าจ้างศึกษาการพัฒนานวัตกรรมระบบวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) เพื่อการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก และการเดินทางของคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 1 งบฯ 25,552,600 บาท

และ 5.ค่าจ้างศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม งบฯ 34,542,000 บาท เพื่อให้มีแผนการกำกับการบริหารจัดการะบบตั๋วร่วม ใช้เป็นแนวทางกำกับดูแล ติดตามและประเมินผล การบริหารติดตามระบบตั๋วร่วม รวมทั้งให้มีระบบโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม และอัตราค่าธรรมเนียมทางการเงินที่เหมาะสม และเป็นธรรมกับผู้ประกอบการขนส่งมวลชนสาธารณะทุกรูปแบบและประชาชน

รวมทั้งให้ได้แนวทางรูปแบบการจัดการเงินทุนที่นำมาชดเชยรายได้จากค่าโดยสารร่วมและสนับสนุนดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ให้ได้กฎหมายในการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเดินทางและค่าโดยสาร สำหรับการประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายและการวางแผนการพัฒนาระบบตั๋วร่วม

ผู้สื่อข่าวขอตั้งข้อสังเกตว่า สนข. ศึกษาระบบตั๋วร่วมมานานกว่า 20 ปีและเปิดตัวบัตรแมงมุมเมื่อปี 59 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใยแมงมุมที่มุ่งหวังใช้เดินทางได้ทุกระบบเชื่อมโยงทุกโหมดแต่จนป่านนี้ก็ยังเชื่อมต่อกันไม่สำเร็จและยังว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาต่ออีก

ทั้งนี้เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 31-4/2563 เพื่อติดตามผลการพัฒนาตั๋วร่วม ซึ่งตั้งเป้าหมายล่าสุดไว้ว่าวันที่ 1 ต.ค.63 จะเริ่มใช้ตั๋วร่วมข้ามระบบกับรถไฟฟ้า3สาย ได้แก่ บัตรแรบบิทของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว บัตรแมงมุม และบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน แต่ที่ประชุมได้รับรายงานว่าอาจไม่ทันตามเป้าหมายต้องเลื่อนออกไปไม่เกินสิ้นปีนี้อีก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2020 11:52 am    Post subject: Reply with quote

จากใจ “สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข” บ๊ายบายรฟม.ไปผู้ว่าฯกทพ.
*รถไฟฟ้า3สีสร้างลิ่วสานต่อได้ทันทีเปิดบริการปี64
*พร้อมลอกท่อ3โปรเจ็กท์ยักษ์ทางด่วนทะลวงรถติด
ช่วงที่ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ รฟม. ได้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง อยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร(กม.) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ระยะทาง 30 กม. ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว(โมโนเรล) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม.

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันทั้ง 3 โครงการกำลังเดินหน้าก่อสร้าง ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง มั่นใจว่าผู้ที่จะมารับผิดชอบงานในส่วนนี้ต่อจะเดินงานต่อเนื่องได้ทันที ไม่มีสะดุดแน่นอน เพราะที่ผ่านมาการทำงานจะทำเป็นทีม มีการวางระบบไว้อย่างดี ทุกคนจะช่วยกัน และรู้ขั้นตอนการทำงานทั้งหมด ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น การก่อสร้างคืบหน้ากว่า 65% เร็วกว่าแผนประมาณ 2%

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีชมพู และเหลือง คืบหน้าประมาณ 58% ทาง รฟม. ได้ขยายเวลาการก่อสร้างให้ผู้รับเหมาออกไปอีกประมาณ 1 ปี จากเดิมสิ้นสุดสัญญาเดือน ต.ค.64 เป็นเดือน ต.ค.65 เนื่องจากติดปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้งานก่อสร้างล่าช้าออกไปจากเดิม แต่ยังยืนยันว่าจะเปิดให้บริการทั้งสายสีชมพู และเหลืองได้ในเดือน ต.ค.64 โดยจะทยอยเปิดบางสถานีก่อน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2664967140391454
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2020 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดแผนสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ท่าพระ สีเขียวด้านใต้ ช่วงสมุทรปราการ-บางปู และ สาย สายแม่น้ำทางรถไฟสายเก่า-บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ นั้น กทม. ไม่ยอมปล่อยเด็ดขาด

ส่วนต่อขยายสีแดง รังสิต-ธัญบุรี นั้นงานนี้กู้ญี่ปุ่นอีกหนก็ได้นะ แต่ต้องไปถึงองครักษ์จึงจะดี

ส่วน สายใหม่ บางหว้า-บางกะปิ นี่ ดูอย่างไรก็ไม่พ้น รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีน้ำตาลแน่ๆ แต่ ช่วงจากแคราย ไปบางหว้านี่สิจะว่ากระไร ถ้าทำเป็นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสก็จะแพงเอาเรื่อง
ส่วน สายใหม่ สถานีขนส่งสายใต้-หลักสี่ เดายากแท้ ว่าจะทำทางกันอีท่าไหน


Last edited by Wisarut on 07/08/2020 11:37 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2020 12:59 pm    Post subject: Reply with quote

แผนแม่บทการพัฒนา TOD ในกรุงเทพ 5 พื้นที่ ตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่สถานีประตูน้ำ
2 สิงหาคม 2563
วันนี้ขอมาพูดเรื่องการพัฒนาพื้นที่เมือง และ TOD หรือการพัฒนาเมืองจากศูนย์กลางการเดินทางกันบ้าง

ผมเคยพูดเรื่อง TOD มาหลายครั้งแต่เป็นในส่วนภูมิภาค ซึ่งจะมีจังหวัดนำร่องคือ ขอนแก่น, อยุธยา และชลบุรี(พัทยา)

แต่วันนี้เรามาพูดเรื่องของกรุงเทพกันบ้าง ซึ่งได้มีการศึกษาพื้นที่การทำ TOD แยกกัน โดยจับจุดเปลี่ยนถ่ายของสถานีรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมถึงรูปแบบการเดินทางแบบอื่น เช่นเรือ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ Traffic ผู้โดยสารในแต่ละรูปแบบการเดินทาง

ซึ่งจากการศึกษาและคัดเลือกพื้นที่ ตามศักยภาพจากแผนแม่บท และการพัฒนาในอนาคต ได้เลือกพื้นที่สถานีมาทั้งหมด 5 พื้นที่คือ

- สถานีประตูน้ำ (สายสีส้ม + เรือคลองแสนแสบ)
- สถานีวงเวียนใหญ่ (ม่วงตัดแดง และ เขียว)
- สถานีเตาปูน (ม่วงตัดน้ำเงิน)
- สถานีลำสาลี (ส้มตัดเหลือง + เรือคลองแสนแสบ)
- สถานีบางขุนพรหม (สายสีม่วง + เรือด่วนเจ้าพระยา)

ซึ่งฟังจากชื่อก็น่าจะรู้เลยว่าแต่ละที่เป็นพื้นที่สำคัญและมีความหนาแน่นสูง รวมถึงมีการเปลี่ยนถ่ายระหว่างสายรถไฟฟ้า และเรือในหลายเส้นหลายรูปแบบ

เช่นของประตูน้ำในระยะ 800 เมตร จะมีทั้งรถไฟฟ้าสายสีส้ม, รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ราชเทวี, พญาไท และสยาม), รถไฟฟ้า Airport link (3 สนามบินในอนาคต), รถไฟสายสีแดง Missing link และเรือด่วนคลองแสนแสบ

จากโครงการ TOD ทั้ง 5 โครงการ มาเขียนทั้งหมดคงไม่ไหว เลยขอยกตัวอย่างผลการศึกษาเบื้องต้นมาพื้นที่นึงคือ

** สถานีประตูน้ำ **

โดยพื้นที่การศึกษา จะศึกษาในระยะ 800 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้มสถานีประตูน้ำบริเวณหน้าพันธ์ทิพย์ ประตูน้ำ

โดยจะพัฒนาพื้นที่เป็นองค์รวม โดยเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างเมืองเดินได้ ในพื้นที่นี้

ในโครงการได้ทำการเปรียบเทียบกับย่านพื้นที่ลักษณะคล้ายกันในระดับโลก ได้แก่ Shibuya และ Shinjuku ใน Tokyo และ Myeong Dong ในเกาหลี มาเป็นต้นแบบการพัฒนา

จากการศึกษาได้มีการออกแบบ และปรับปรุงหลักๆคือ ทางเท้าเพื่อสร้างทางเท้าเดินได้ (Walkable) คือ

- กำจัด (สิ่งกีดขวาง)
- ปรับระดับ (เพื่อการรองรับผู้คนในหลายรูปแบบ หลายสภาพร่างกาย หรือ Universal design)
- สร้างความปลอดภัย (ติดตั้งไฟส่องสว่าง และกล้องวงจรปิดให้ครอบคลุมพื้นที่
- ขยายทางเท้า (ส่งเสริมการเดิน ลดปริมาณจราจร)
- เชื่อมต่อระหว่างการขนส่งแต่ละ Mode (รถไฟฟ้า, เรือ และรถเมล์)
- กำหนดวัตถุประสงค์การใช้งานพื้นที่ พร้อมติดตั้งสาธารณูปโภคให้สอดคล้องกับการใช้งาน

การปรับปรุงสาธารณูปโภคในพื้นที่เดิม ได้แก่

- ระบบไฟฟ้า : นำสายไฟฟ้าลงใต้ดินทั้งหมด
- ระบบประปา : ขยายความสามารถในการรองรับประชาชนที่เพิ่มขึ้น และลดการศูนย์เสียน้ำ
- ระบบบำบัดน้ำเสีย : วางท่อรับน้ำเสียตลอดเส้นทางถนนเพชรบุรี และพญาไท เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของพื้นที่

โดยโครงการได้ทำการศึกษารูปแบบถนนปัจจุบัน และแนวทางการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง โดยจะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิต และบริบทของพื้นที่

จากการศึกษาได้สรุป Charactor ของพื้นที่ออกมา เพื่อจะนำไปใช้ในพื้นที่ TOD ทั้งหมด

- รูปแบบ Charactor ของพื้นที่เป็นเส้นคล้ายเส้นผ้า ซึ่งมีสีสันฉูดฉาดเข้ากับการเป็นแหล่งแฟชั่น และค้าส่งผ้าระดับอาเซียน

โดยพื้นที่ที่จะพัฒนาหลักๆ คือ

- แนวถนนเพชรบุรี เป็นแกนหลัก
- แนวซอยเพชรบุรี 15
- แนวซอยย่อยของ ซอยเพชรบุรี 15
- เชื่อมต่อกับสวนปทุมวานุรักษ์
- พัฒนาพื้นที่ริมคลองแสนแสบ
- พัฒนาพื้นที่ริมทางรถไฟสายตะวันออก

จากการศึกษาการพัฒนาในพื้นที่ประตูน้ำมีดังนี้

- ปรับปรุงทางเท้า ทางจักรยาน และภูมิทัศน์เมืองรอบพื้นที่สถานีประตูน้ำและริมถนนเพชรบุรี

โดยการปรับปรุงทางเท้า ปรับปรุงป้ายรถเมล์เพื่อให้มีอัตลักษณ์ของพื้นที่

เพิ่ม Faclity ให้เข้ากับ Lifestyle ผู้สัญจรและคนใช้งานในพื้นที่ เช่นติดตั้งจุดชาร์จแบตเตอรี่ ไฟส่องสว่าง ทำ Green roof และ Green wall ในพื้นที่เพื่อลดมลพิษและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

- ก่อสร้างท่าเรือและปรับปรุงสวนปทุมวนานุรักษ์เพื่อรองรับการเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายของโครงการ TOD ระหว่าง เรือ <=> รถไฟฟ้า

โดยมีการปรับปรุงทางเท้าริมคลองแสนแสบ สร้างสะพานเชื่อมใหม่ พร้อมทำเป็นพื้นที่สีเขียว

- ปรับปรุงโครงข่ายทางเดินเท้าในพื้นที่โครงการ

- ขยายเขตทาง (ซอยเพชรบุรี 15) ให้มีพื้นที่สำหรับคนเดินถนน พร้อมการสร้างทางเท้า เพื่อเป็นการสร้างย่านการเดินใหม่ นอกจากแกนถนนเพชรบุรี

—————————
อ่านรายละเอียดจากการศึกษาแล้วก็ดีใจที่อย่างน้อยเรามีการคิดเพื่อรองรับอนาคตและสร้างเมืองอย่างสร้างสรรค์ และสร้างมูลค่าจากการพัฒนาขนส่งมวลชนซักที

เพราะเราก็เสียโอกาสให้การพัฒนาแบบตามมีตามเกิดไร้การควบคุมมานานมากๆ แล้ว

หวังว่าโครงการจะเกิดและพี่น้องบริเวณประตูน้ำจะเห็นด้วยกับโครงการครับ
ใครอยากอ่านรายละเอียดตัวเต็มของโครงการดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ : เอกสารประกอบการประชุมสัมนาครั้งที่ 2
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

“สุรเชษฐ์” ลุยแก้ปมร้อนถก ม.เกษตรฯ เคลียร์แบบ N1 - เร่งจัดทัพตั้ง 3 รองผู้ว่าฯ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 3 สิงหาคม 2563 - 14:07



กทพ.เซ็นจ้าง “สุรเชษฐ์” ผู้ว่าฯ คนใหม่ เร่งงานด่วน ถก ม.เกษตรฯ หาทางออก “ด่วน N1 “ และเคลียร์ประมูล 2 สัญญา ด่วนพระราม 3 ยอมรับหนักใจ เป็นคนนอก ขอปรับตัว 3 เดือน เร่งจัดทัพตั้งรองผู้ว่าฯ กทพ.ช่วยงาน

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามในสัญญาจ้างนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข เป็นผู้ว่าการ กทพ.คนใหม่ วานนี้ (3 ส.ค.) ว่า นโยบายเร่งด่วนของบอร์ด ได้แก่ การปรับโครงสร้างองค์กร และการแต่งตั้งรองผู้ว่าฯกทพ.ซึ่งปัจจุบันว่าง 2 ตำแหน่งและจะเกษียณอายุในวันที่ 30 ก.ย.อีก 1 ตำแหน่ง, เร่งรัดโครงการทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกกรุงเทพมหานคร ที่การประมูลยังไม่สรุปอีก 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับจากแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เซ็นทรัลพระราม 2 ระยะทาง 6.4 กม. และสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางยกระดับจากโรงพยาบาลบางปะกอก 9-ด่านดาวคะนอง ระยะทาง 5 กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการตีความเรื่องคุณสมบัติ ผลงานผู้รับเหมา ตามระเบียบพัสดุ ตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ จากกรมบัญชีกลาง

เร่งรัดโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1, โครงการทางเชื่อมต่อทางด่วนบูรพาวิถีและถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี, โครงการเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) กับทางด่วนสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) และโครงการทางด่วนสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี, ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง เป็นต้น รวมถึงการแก้ปัญหาจราจร และคอขวดบนทางด่วนทั้งระบบ

“ผู้ว่าการ กทพ.จะเป็นผู้นำที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งจากประสบการณ์ในสายงานวิศวกรก่อสร้าง และมีความเข้าใจในองค์กรรัฐวิสาหกิจ และเคยเป็นสหภาพฯ มาก่อน เชื่อว่าจะนำพา กทพ.ไปสู่เป้าหมายในทำงานตามนโยบายและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพกับประชาชน”

นัดถก ม.เกษตรฯ เร่งสรุปแบบด่วน N1

ด้านนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ.กล่าวว่า จะเร่งหาข้อสรุปสัญญาที่ 1, 3 ทางด่วนสายพระราม 3- ดาวคะนอง-วงแหวนฯ ซึ่งจะหาทางออกโดยเร็ว ส่วนโครงการทางด่วน N1 ซึ่งตามข้อมูลผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ค่อนข้างต่ำ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ดีมาก เป็นเส้นทางระบายจราจรด้านตะวันตกและตะวันออกที่มีความจำเป็น กทพ.ออกแบบตั้งแต่ปี 2538 ผ่านมา 20 ปียังทำไม่ได้ จะนัดหารือในรายละเอียดในข้อเท็จจริงทั้งหมดกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขณะนี้มีทางเลือก 2 แนวทาง คือ ไม่ทำ หรือเปลี่ยนวิธีใหม่เพื่อให้โครงการไปต่อได้ แต่ไม่ใช่เปลี่ยนแนวใหม่ หาข้อยุติร่วมกันให้ได้

ส่วนการแก้ไขปัญหาจราจรบนทางด่วนตามนโยบายกระทรวงคมนาคม โดยยกเลิกไม้กั้นรูปแบบเดียวกับมอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวงนั้น ในส่วนของ กทพ.จะต้องทำตามนโยบาย ซึ่งจะมีช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะแจ้งกับพนักงาน กทพ.ให้เตรียมพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง กทพ.พนักงานจัดเก็บค่าผ่านทางจำนวนมาก ไม่มีนโยบายเลิกจ้าง ดังนั้นจะต้องปรับโยกไปหน้าที่อื่นแทน

ด้านนโยบายการเพิ่มรายได้ให้ กทพ.มี 3 ส่วน คือ การขยายโครงข่ายระบบทางด่วน เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับผู้ใช้รถ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น กระบวนการซ่อมบำรุงต่างๆ ที่สูงเกินไปหรือไม่ และพัฒนาพื้นที่เขตทางเชิงพาณิชย์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเต็มเม็ดเต็มหน่วย

เตรียมจัดทัพผู้บริหาร เร่งตั้ง 3 รองผู้ว่าฯ ช่วยทำงาน

ส่วนการแต่งตั้งรองผู้ว่าการ กทพ.ที่ว่าง 3 ตำแหน่งนั้น นายสุรเชษฐ์กล่าวว่า ตนเป็นคนนอก ดังนั้น เป็นธรรมดาที่ต้องการมีมือไม้ที่ไว้ใจได้ช่วยทำงาน แต่ในขณะเดียวกันจะต้องไม่ให้คนในรู้สึกไม่ดี ดังนั้น หลักการบริหารจะต้องผสมผสานคนทำงานทั้งคนนอกที่จะเข้ามาหรือคนในที่จะปรับเลื่อนตำแหน่งให้มีความพอดีไม่มีปัญหากัน

“ยอมรับว่าหนักใจ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้พูดคยกับพนักงาน กทพ.บ้างแล้ว ยังมีหลายเรื่องที่เห็นไม่ตรงกัน แต่เชื่อมั่นในความตั้งใจจริงใจ ผมเป็นคนรุ่นใหม่ เริ่มต้นทำงานจากวิศวกรระดับ 5 ที่ รฟม. ทำงานผ่านมาทุกขั้นตอน เป็นคนดื้อ คิดว่าอะไรทำได้ต้องทำให้ได้ เช่น ตอนสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีประเด็นปิดแยกรัชโยธิน ตอนนั้นรัฐบาลไม่ยอมเพราะเกรงผลกระทบสูง แต่ผมก็ทำได้ ซึ่งใน กทพ.ผมไม่รู้จักใคร ไม่มีพวก แต่จะพยายามทำงาน เพื่อสร้างผลงาน และทำให้ กทพ.เป็นรัฐวิสาหกิจแถวหน้าของประเทศ โดยขอเวลาปรับตัว 3 เดือน น่าจะมีความชัดเจน”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 218, 219, 220 ... 277, 278, 279  Next
Page 219 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©