Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179811
ทั้งหมด:13491043
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 108, 109, 110 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2020 10:38 am    Post subject: Reply with quote

เปิด PPP 1.4 หมื่นล้าน “รถแทรม-เมล์ไฟฟ้า” นำร่อง 3 สายเชื่อม EEC
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 10:10 น.


เคาะโครงการนำร่องแล้ว สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) หลัง “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม รูปแบบการลงทุน

โดยภาพรวมการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะมี 3 ระบบ ได้แก่ 1.ระบบขนส่งสาธารณะหลัก เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างภูมิภาค และโครงสร้างพื้นฐาน 2.ระบบขนส่งสาธารณะรอง เชื่อมโยงระบบหลักและแหล่งกิจกรรมสำคัญระหว่างเมืองในเขตเมือง และ 3.ระบบขนส่งสาธารณะเสริม เชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมย่อยในเขตเมืองหรือพื้นที่อยู่อาศัยเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะสายรอง

สำหรับรูปแบบของรถโดยสารจะเป็นรถโดยสารไฟฟ้า EV bus รถโดยสารขนาดเล็ก EV minibus และรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus โดยการลงทุนรัฐบาลจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และบริษัทเอกชน รูปแบบ PPP

จากการศึกษาเบื้องต้นได้ประเมินมูลค่าลงทุนไว้ 14,400 ล้านบาท แยกเป็น 2 ช่วง ในช่วงก่อสร้าง มีค่าเวนคืนที่ดิน ค่างานโยธา จัดซื้อขบวนรถโดยสารและงานระบบ รวมมูลค่าลงทุน 7,600 ล้านบาท

และช่วงเปิดบริการ มีค่าดำเนินการ 3,900 ล้านบาท และค่าบำรุงรักษา 2,900 ล้านบาท แยกเป็น จ.ฉะเชิงเทรา 1,207 ล้านบาท ชลบุรี 2,832 ล้านบาท และระยอง 3,543 ล้านบาท

ขณะที่แนวเส้นทาง สนข.เคาะเส้นทางนำร่องของทั้ง 3 จังหวัดแล้ว โดย “จ.ฉะเชิงเทรา” เลือกแนวเส้นทางจากสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา-โรงเรียนเบญจมฯ-ตะวันออกคอมเพล็กซ์ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีฉะเชิงเทรา มุ่งตรงไปทางทิศใต้บนถนนสุวินทวงศ์จากนั้นเลี้ยวซ้าย เข้าสู่ถนนศุขประยูร ผ่านแม่น้ำบางปะกงจนถึงสี่แยกคอมเพล็กซ์ บริเวณ กม.75+150



จากนั้นแนวเส้นทางเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางหลวงหมายเลข 365 จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางโครงการ ที่บริเวณตะวันออกคอมเพล็กซ์ ระยะทาง 7.97 กม.

มี 13 สถานี 3 ลานจอดแล้วจร รองรับได้ 225 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง และ ITF บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา เป็นระบบรถโดยสารไฟฟ้า EV bus ค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย เปิดบริการปี 2567 ผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2,700 เที่ยวคน/วัน

“จ.ชลบุรี” เลือกแนวเส้นทางจากเมืองศรีราชา-รถไฟความเร็วสูงศรีราชา-นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) เริ่มต้นที่โรบินสัน ศรีราชา บนถนนสุขุมวิท จากนั้นแนวจะเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่แนวถนนอัสสัมชัญ

ผ่านโรงเรียนอัสสัมชัญ จุดตัดสี่แยกเขาสวนเสือศรีราชา ผ่านอ่างเก็บน้ำหนองค้อ แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่แนวถนนทางหลวง 331 จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้เข้าสู่แนวถนน 331 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่แนวถนนระยอง 3013 แยกปากร่วม จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่บริเวณทางเข้าออก เขตประกอบการอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค รวมระยะทาง 42 กม.

มี 29 สถานี 4 ลานจอดแล้วจร รองรับ 125 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง เป็นระบบรถโดยสารไฟฟ้า EV busราคาค่าโดยสาร กม.ละ 1 บาท เริ่มต้น 10-45 บาท มีผู้โดยสารในปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,900 เที่ยวคน/วัน

“จ.ระยอง” เลือกแนวนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-นิคมอุตสาหกรรม IRPC เริ่มต้นที่ทางเข้า-ออก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด บนถนนสุขุมวิท ผ่านโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง จุดตัดสี่แยกตลาดมาบตาพุด สะพานข้ามคลองน้ำหู กม.214+195

จากนั้นเบี่ยงไปทางทิศตะวันออก ผ่านโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จุดตัดสามแยก บริเวณโรงพยาบาลระยอง ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำระยอง กม.222+306 ผ่านปั๊มน้ำมันไออาร์พีซี สวนสุขภาพ เชิงเนิน ไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ทางเข้า-ออก เขตประกอบการอุตสาหกรรม บมจ.ไออาร์พีซี ระยะทาง 18.89 กม.

มี 22 สถานี 4 ลานจอดรถ รองรับได้ 350 คัน 1 ศูนย์ซ่อมบำรุง เป็นระบบรถไฟฟ้าล้อยาง Trambus ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย มีผู้โดยสารปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 7,000 เที่ยวคน/วัน

เป็นจุดเริ่มต้นที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมในอีก 1-2 ปีนี้ เพื่อรองรับคลื่นคนและการเดินทางที่จะไหลไปยัง 3 จังหวัดพื้นที่อีอีซี ว่าที่ศูนย์กลางการลงทุนแห่งใหม่ของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2020 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เช็ก 1 ปี "คมนาคม...ยูไนเต็ด"
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่ครับ
https://mgronline.com/business/detail/9630000074091
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/07/2020 7:34 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณครับ Very Happy

-----------

คอลัมน์ EEC Analysis: ระบบราง'ภาคตะวันออก'เพิ่ม
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ภาคตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา นั้น นับเป็นพื้นที่ที่มีเสน่ห์ มีคนไปเยือนจำนวนมากทุกปี ทุกเวลา และแทบจะทุกพื้นที่ ด้วยเหตุผลต่างๆ กันไป

โดยพบว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ ไปภาคตะวันออก ในปัจจุบันมีความคับคั่งมาก มีการประเมินว่าหากเปลี่ยนเป็นการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจะทำให้ประหยัดทั้งเวลา พลังงาน และดีต่อสิ่งแวดล้อม

ขนส่งระบบรางจึงเป็นทางเลือก แห่งอนาคต แม้โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินที่กำลังตอกเสาก่อสร้างอยู่นั้น และประเมินว่าจะช่วยลดเวลาการ เดินทางจากเดิม 2-3 ชั่วโมง ลงมาที่ 45 นาที เท่านั้น รถไฟความเร็วสูงจะยังต้องใช้เวลา อีกระยะ แต่ขนส่งระบบรางของไทย โดยรวมปี 2563 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า อยู่มากพอสมควร

รวมถึงในพื้นที่ภาคตะวันออก ที่เดิมขึ้นจาก 699 กิโลเมตร (กม.) อยู่ที่ 805 กม. ส่วนจากภาพรวมประเทศที่มี ระยะทางรางเพิ่มขึ้น เกือบ 300 กม. ในช่วง ระยะเวลา 1 ปี

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2020 9:43 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:


คอลัมน์ EEC Analysis: ระบบราง'ภาคตะวันออก'เพิ่ม
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่ครับ
ระบบราง“ภาคตะวันออก”เพิ่ม
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/890227
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/07/2020 8:47 am    Post subject: Reply with quote

ลงทุน 2020 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เร่งสปีดโครงสร้างพื้นฐาน 4 มิติ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย บวกกับ ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศไทยต้องเร่งปลุกการลงทุน โดยเฉพาะระบบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั่วโลก

"มติชน" จัดสัมมนา "ลงทุน 2020 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างชาติ สร้างงาน" เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจเข้าร่วมฟังการสัมมนาคับคั่ง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ด้วยระบบสาธารณสุขการแพทย์ของประเทศในวันนี้ มั่นใจว่าพร้อมรับมือการระบาดโควิดได้ แม้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่เชื่อว่าการจะฟื้นเศรษฐกิจ สร้างความแข็งแกร่ง และสร้างรายได้จะฟื้นคืนกลับมาโดยเร็ว เพราะมั่นใจในความแข็งแกร่ง และระบบพื้นฐานเศรษฐกิจไทย

ปลอ
ดภัยแบรนด์ใหม่ประเทศไทย
"เราต้องเป็นผู้ชนะ เห็นทางออก เห็นโอกาสในปัญหา ไทยจะไม่เป็นประเทศที่ด้อยโอกาส โควิดจะเป็นโอกาสให้เราสร้างความเชื่อมั่นให้คนในประเทศและทั่วโลก ถ้าต้องการลงทุนขยายฐานการผลิต จะต้องหาประเทศที่นอกจากมีระบบโครงสร้างพื้นฐานระบบท่องเที่ยว บริการยอดเยี่ยมแล้ว ตอนนี้ ประเทศไทยจะมีระบบความปลอดภัยอีกแบรนด์หนึ่ง สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั่วโลก"

การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจำเป็น เพื่อให้เงินหมุนเวียน เศรษฐกิจโต ตนกำกับดูแล 3 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข คมนาคม การท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งได้บูรณาการงานร่วมกันทุกด้าน ภายใต้หลักการ 1.Thai First เน้นว่าทุกอย่างต้องใช้เงินบาท คนไทย ของไทย และคนไทยต้องลงทุนหรือได้ก่อน แต่ไม่ได้ปิดกั้นการลงทุนจากต่างประเทศ

2.การกู้เงิน รัฐไม่ได้สักแต่ว่ากู้ แต่ดอกเบี้ยต่ำก็ต้องกู้ ที่ผ่านมา ผลักดัน 3 โครงการใหญ่ที่เป็นประโยชน์ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนเสนอลงทุนน้อยกว่ากรอบถึง 5 หมื่นล้านบาท สนามบินอู่ตะเภา รัฐได้ผลตอบแทน 3.05 แสนล้านบาท ประมูลงานระบบ (O&M) มอเตอร์เวย์ลดราคาได้กว่า 36%

ลุยครบ "ถนน-ราง-น้ำ-อากาศ"

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่งของไทย 20 ปี (2561-2580) เดินตามยุทธศาสตร์ชาติ หลังโควิด-19 คลี่คลายแล้ว จะเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 4 มิติ ด้านทางบก ขยายโครงข่ายถนนเป็นเสมือนสายเลือดหลักขนส่งคนและสินค้า เชื่อมโยงครอบคลุมทุกพื้นที่ แต่งบฯมีจำกัด จะให้เอกชนมาร่วมงาน O&M (บำรุงรักษา)

ส่วนโครงการอื่น ๆ จะเร่งสร้างมอเตอร์เวย์บางใหญ่กาญจนบุรี บางปะอิน-โคราช เปิดปี 2566 มอเตอร์เวย์ต่อจาก เอกชัย-บ้านแพ้ว ใช้เงินกองทุนมอเตอร์เวย์ 2 หมื่นล้านนครปฐม-ชะอำ จะเร่งเวนคืนที่ดิน จ.เพชรบุรี เริ่มกลางปีหน้า และขยายสายพัทยา-มาบตาพุด เข้าสนามบินอู่ตะเภา

"ขนส่งทางราง" ด้วยภาระหนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้นโยบายกับคณะกรรมการ (บอร์ด) ดูข้อมูลการใช้งานระบบรางทั้งหมด ถ้าทำไม่ได้ จะให้เอกชนเข้าร่วมเดินรถ PPP เร่งสร้างทางคู่ 563,825 ล้านบาท เฟสแรกกำลังสร้าง และเร่งขยายเฟสที่ 2 อีก 9 เส้นทาง จะเห็นผลปี 2568 ลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ เพิ่มขนส่งทางราง 30%

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเปิดครบโครงข่ายเป็นวงแหวน สายสีเขียว สมุทรปราการ-ลำลูกกา สีส้มบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ กำลังสร้าง ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ กำลังขาย TOR ให้เอกชนร่วม PPP net cost 30 ปี วงเงิน 1.4 แสนล้าน ทั้งหมดจะเสร็จปี 2568

สายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต จะเปลี่ยนรูปแบบ การเดินรถให้เอกชน PPP รับภาระค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ยังมี สายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี รถไฟฟ้าหัวเมืองใหญ่ เช่น ขอนแก่น พิษณุโลก เชียงใหม่ ภูเก็ต จะทำทั้งหมด


"การขนส่งทางน้ำ" ด้านตะวันออกหรืออีอีซี กำลังพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เสร็จปี 2568 พร้อมกับสนามบิน อู่ตะเภา และขยายการลงทุนไปพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) จะพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแบบ auto ระนองชุมพร จะให้มีรถไฟทางคู่แบบแลนด์บริดจ์เชื่อมเข้าไป ร่วมกับมอเตอร์เวย์ ระยะทาง 120 กม. ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 2 ชม. เปิดประตูการลงทุนประเทศไทย

สุดท้าย "ด้านทางอากาศ" มี บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) และกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ดูแลสนามบินทั่วประเทศ ทอท.ดูแล 6 สนามบิน ทย. 29 สนามบิน เร็ว ๆ นี้ สนามบินเบตง จ.ยะลา จะเปิดใช้ และต้องเร่งขยายสุวรรณภูมิ เฟส 2 ดอนเมือง เฟส 3 รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นให้ได้ 150 ล้านคน/ปี เที่ยวบินในประเทศเพิ่มเป็น 30 ล้านคน/ปี อีก 28 แห่ง ของ ทย. ต้องดูที่ไหนจะพัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติได้

สนข.ผุดฟีดเดอร์เชื่อมรถไฟฟ้า

นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.ทำหน้าที่ทำแผนเชื่อมโยงนโยบายรัฐบาลมาสู่การวางแผนของคมนาคม บูรณาการโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง บก ราง น้ำ อากาศ ให้ประชาชนเดินทางสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล แก้ปัญหาลดต้นทุนสินค้า การตรงเวลา

"นโยบายคือเปลี่ยนการขนส่งทางถนนมาสู่ระบบราง เดินทาง ในเมืองและระหว่างเมือง ขยายลงทุนทางคู่ รถไฟฟ้าเพิ่มให้ครบ 14 สาย สนข.จะศึกษาระบบฟีดเดอร์รับพฤติกรรมการเดินทาง ในอนาคตเมื่อเน็ตเวิร์กครบ จะเกิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี และเมืองตามแนวเส้นทาง ส่วนทางน้ำจะพัฒนาท่าเรือเชื่อม 2 ฝั่งอันดามัน ให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนโดยแท้จริง"

ดึงเอกชน PPP มอเตอร์เวย์ 6 สาย

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในปี 2563 รวม 107,807 ล้านบาท คิดเป็น 60% ของงบฯทั้งหมดรองรับอีอีซี เขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนโครงการเกิน 2 หมื่นล้าน จะให้เอกชนลงทุน PPP มี 6 โครงการ 297,313 ล้านบาท 1.มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ 79,006 ล้านบาท 2.มอเตอร์เวย์เอกชัย-บ้านแพ้ว 32,187 ล้านบาท 3.ต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ช่วงรังสิต-บางปะอิน 28,000 ล้านบาท 4.มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ชายแดนไทย/มาเลเซีย 42,620 ล้านบาท 5.วงแหวนรอบนอกตะวันตก 78,000 ล้านบาท 6.มอเตอร์เวย์ศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ 37,500 ล้านบาท

BTS ลงทุนรถไฟฟ้า-เมืองการบิน

ขณะที่ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า ปีนี้จะใช้เงินลงทุน 3 หมื่นล้าน หลัก ๆ สร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี สายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง เปิดปลายปี 2564 สายสีทองกรุงธนบุรี-คลองสาน เปิดในเดือน ต.ค.นี้

และร่วมกับพันธมิตรขยายลงทุนสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เซ็นสัญญาแล้ว งานติดตั้งระบบ O&M มอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี บางปะอิน-นครราชสีมา 39,138 ล้านบาท เซ็นสัญญา ส.ค.นี้ และสนใจประมูลสายสีส้ม และอีกหลายโครงการ

ทอท.ลงทุน 3 แสนล้าน พัฒนาสนามบิน

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) กล่าวว่า แม้โควิด-19 ทำให้ ผู้โดยสารใช้สนามบินลดลง แต่ ทอท.ไม่ได้ชะลอลงทุน ยังลงทุน 6 สนามบิน เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ กว่า 3 แสนล้าน คาดว่าอีก 2 ปีจะกลับเป็นปกติเดือน ต.ค. 2565 ระหว่างนี้จะสร้างรายได้ช่องทางอื่น เช่น พัฒนาเมืองการบิน คาร์โก้ ส่วนสุวรรณภูมิเฟส 2 จะเสร็จปี 2565 ปี 2567 รันเวย์ 3 สุวรรณภูมิ และการขยาย north expansion จะแล้วเสร็จ

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2020 9:05 am    Post subject: Reply with quote

ดันประมูล 2 ทางคู่'เหนือ-อีสาน'ปลายปี
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

รฟท.-รฟม.เข็นอีก 3 โปรเจ็กต์ยักษ์ ทางคู่สายเหนืออีสาน รถไฟฟ้าม่วงใต้ กว่า 2แสนล้าน ดันประมูลปลายปี 63 หลัง กดปุ่ม สายสีส้ม ยื่นซองก.ย.ขณะที่แทรมภูเก็ต-เชียงใหม่ ประกาศประมูลต้นปี 64 สายสีแดง เร็วสุด ไตรมาส 2 ปีหน้า ด้านรับเหมาสุดคึก

นอกจากรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์ -มีนบุรี มูลค่า 1.4แสนล้านที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กดปุ่มให้เอกชนยื่นซองประกวดราคาในเดือนกันยายนนี้แล้ว ปลายปีนี้ ถึงคิวสายสีม่วงใต้ มูลค่า 1.2 แสนล้าน และรถไฟทางคู่อีก 2 เส้นทางสายเหนือ-อีสาน มูลค่า กว่า 1 แสนล้านบาท สร้างความคึกคักไม่น้อยให้กับผู้รบเหมา

นายนิรุฒ มณีพันธุ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า รถไฟทางคู่ที่คาดว่าเตรียมเปิดประมูลในปลายปี 2563 มีทั้งหมด 2 โครงการ ประกอบด้วย รถไฟทางคู่สายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราง-เชียงของ วงเงิน 58,110 ล้านบาทและทางคู่สายใหม่บ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 44,648 ล้านบาท

"ทั้ง 2 โครงการที่ประมูลปลายปี 2563 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินการตามกฏหมายส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 อยู่ระหว่างพิจารณาของสภาพัฒน์ ซึ่งเราอยากให้พิจารณาเสร็จโดยเร็ว เพราะต้องการดำเนินการได้เลย"

ด้านการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์ บูรณะ มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมประกาศประกวดราคางานโยธา มูลค่า 1 แสนล้านบาท งานระบบ มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ปลายปีนี้ คาดว่า จะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนมี.ค. 2570

ขณะรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท หลังขายซองประมูลแล้ว โดยกำหนดยื่นซองได้ เดือนกันยายน นี้

ผู้ว่ารฟม. กล่าวต่อว่า สำหรับรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต (แทรม) ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท เริ่มประกวดราคาได้ภายในต้นปี 2564 ส่วนรางเบาเชียงใหม่ ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท เริ่มประกาศประกวดราคาภายในครึ่งปีแรกปี 2564 และ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ช่วงตลาดเซฟวัน- สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ วงเงิน 8 พันล้านบาท เริ่มประกาศประกวดราคาได้ภายในปี 2564 หลังแทรมป์ภูเก็ตและเชียงใหม่เปิดประมูลแล้ว

แหล่งข่าวจากรฟม. กล่าวเสริมว่า ทั้งนี้ แทรมภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร จำนวน 21 สถานี อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการ รฟม. พิจารณาเห็นชอบตามพระราชบัญญัติ (พรบ.)การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569

ส่วนแทรมเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง15.8 กม. 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีบนดิน 9 สถานี สถานีใต้ดิน 7 สถานี ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา เมื่อสิ้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาดำเนินการแล้ว 96% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2571

ด้านรางเบานครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร จำนวน 21 สถานี อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ตั้งแต่เดือนพ.ค. 2563 ขณะนี้คืบหน้าแล้ว 85% คาดว่าพร้อมเปิดบริการได้ปี 2568

สำหรับความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดง นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สายสีแดง ขณะนี้จะดำเนินการลงทุนรูปแบบPPP Net Cost โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนและรับความเสี่ยงเอง ทั้งนี้รฟท.จะเปิดพีพีพีแบบรวมสัญญาของการเดินรถ ทั้งบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟสายสีแดง และงานโยธาสร้างส่วนต่อขยายด้วย

"ที่ผ่านมาบอร์ดได้อนุมัติในหลักการ และสั่งการให้ฝ่ายบริหารไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของการจัดทำพีพีพี โดยต้องระบุว่าเหตุผลของการทำพีพีพีเพราะอะไร มีความคุ้มค่าอย่างไร ก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคม คนร.และครม.ต่อไป คาดว่าจะเปิดประมูลได้เร็วสุดภายในไตรมาส2 ปี2564 หรือช้าสุดในไตรมาส 3 ปี 2564"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2020 1:27 pm    Post subject: Reply with quote

^^^^
หยุดยาว 5 วัน!! คนนั่งรถไฟ-รถไฟฟ้า 3.35 ล้านคน
*เกิดอุบัติเหตุ 5 ครั้ง/ตาย 1 ราย/ขัดข้อง 2 ครั้ง
*ขบวนรถเพียงพอ-ไม่มีผู้โดยสารตกค้างสถานี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2665028240385344
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2020 10:47 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม ส่งการบ้าน‘บิ๊กตู่’
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
ออนไลน์เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 เวลา 07:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 11
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3595 วันที่ 26-29 กรกฎาคม 2563

สนข.-รฟท. ดันรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง 2.6 แสนล้านบาทเข้าครม. ลุยพัฒนาระบบขนส่งคมนาคมระยะ 8 ปี ด้านรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น สาย กาญจนบุรี-อรัญฯ แหลมฉบัง-เชียงใหม่ เร่งหารือรูปแบบการลงทุนกับญี่ปุ่น หลังโควิด-19 พ่นพิษ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการที่สำคัญเพื่อส่งต่อรัฐบาลรุ่นต่อไป โดยให้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนทุกๆ 3 เดือนนั้น ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยพ.ศ.2558-2565 ซึ่งจะเป็นแนว

ทางในการพัฒนาภาคคมนาคมขนส่งของประเทศในระยะเวลา 8 ปี ทั้งนี้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ ประกอบด้วยโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางบก ทางราง ทางนํ้า และทางอากาศ ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจของกระทรวงคมนาคม รวม 111 โครงการ กรอบวงเงินรวม 1.912 ล้านล้านบาท โดยระบบรางถือเป็นหนึ่งในโครงการเร่งด่วนที่ต้องพัฒนา

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เตรียมเสนอโครงการรถไฟทางคู่ 7 เส้นทางมูลค่า 2.6 แสนล้านบาทเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ประกอบด้วยโครงการที่ผ่านการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอแล้ว 2 โครงการ ได้แก่ รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 26,000 ล้านบาทและรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 8,100 ล้านบาท

สำหรับโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่อยู่ระหว่างพิจารณาอีไอเอ จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย
รถไฟทางคู่ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย วงเงิน 57,224 ล้านบาท,
รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,404 ล้านบาท => เคลียร์อีไอเอแล้ว,
รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี วงเงิน 24,294 ล้านบาท,
รถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา วงเงิน 52,273 ล้านบาท และ
5.รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ วงเงิน 55,634 ล้านบาท

ส่วนอีกโครงการ ที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการเป็นรถไฟความเร็วสูง (รถไฟไทย-ญี่ปุ่น) ช่วงกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ระยะทาง 435 ก.ม.ช่วงกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 139 ก.ม.และช่วงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 668 ก.ม. ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือรูปแบบการลงทุนกับทางญี่ปุ่น เนื่องจากปัจจุบันติดสถานการณ์การโควิด-19



ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการเตรียมดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาจัดการประกวดราคา (ทีโออาร์) จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย
1.รถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 58,110 ล้านบาท
2.รถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 44,648 ล้านบาท

สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 5 โครงการ ระยะทางรวม 696 กิโลเมตร ประกอบด้วย
1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 17,081 ล้านบาท
2.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน วงเงิน 16,066 ล้านบาท
3.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 10,239 ล้านบาท
4.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 24,721 ล้านบาท และ
5.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 29,674 ล้านบาท โดยกำหนดเป้าหมายก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2563 -2565

ทั้งนี้ได้สั่งการให้รฟท.เร่งดำเนินโครงการไปสู่การก่อสร้างและโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้แล้วเสร็จเพื่อเปิดให้บริการได้ตามแผนการดำเนินงานและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาในปี 2565 รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานพร้อมปัญหาอุปสรรค เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขต่อไป

แหล่งข่าวจากวงการผู้รับเหมา ระบุว่า หากรัฐบาลเร่งผลักดันรถไฟทางคู่สู่ขั้นตอนการประมูล มองว่าจะช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศให้เดินหน้าไปได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2020 6:32 pm    Post subject: Reply with quote

พลิกโฉมย่าน “สถานีรถไฟขอนแก่น” พัฒนามิกซ์ยูสศูนย์กลางธุรกิจรับไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 - 17:25 น.

วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องบอลรูมประชาสโมสร โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน และการสัมมนาเพื่อลงทุน สรุปผลในพื้นที่เมืองต้นแบบ : จังหวัดขอนแก่น โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง “TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้” เป็นการนำเสนอข้อมูลโครงการเพื่อสรุปผลการศึกษาในพื้นที่เมืองต้นแบบ

โดย ”ขอนแก่น” เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ พาณิชยกรรม และการลงทุนของกลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนา ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด

ส่งผลให้ “ขอนแก่น” เป็น 1 ใน 3 เมือง ที่ได้รับคัดเลือกเป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา TOD และ “สถานีรถไฟขอนแก่น” ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน TOD ศูนย์ภูมิภาค (Regional Center : RC) จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยบทบาทความสำคัญของสถานีรถไฟความเร็วสูง (HSR) สถานีกลางเมืองหลักระดับภูมิภาค และพื้นที่ในรัศมี 500 เมตร โดยรอบสถานีเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทส่งเสริมการพัฒนาเมือง



สำหรับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่อสังหาริมทรัพย์รอบสถานีรถไฟขอนแก่น แบ่งการพัฒนาเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาระยะเร่งด่วน (ปี 2564-2565) ระยะที่ 2 ระยะสั้น (ปี 2566-2570) ระยะที่ 3 การพัฒนาระยะปานกลาง (ปี 2571-2575) และระยะที่ 4 ระยะยาว (ปี 2576-2570)

แบ่งการพัฒนาเป็น 8 โซน โดยโซนที่ 1 ย่านสถานีรถไฟทางคู่และสถานีรถไฟความเร็วสูง เป็นพื้นที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานีรถไฟทางคู่และสถานีรถไฟความเร็วสูง มีส่วนของอาคารสถานี อาคารสำนักงาน ที่พักของเจ้าหน้าที่ รวมถึงชุมชนที่มีสัญญาเช่าในย่านสถานีบางส่วน และการพัฒนาเชิงพาณิชย์


โซนที่ 2 ย่านพาณิชยกรรมและศูนย์กลาง TOD ย่านพาณิชยกรรมและศูนย์กลาง TOD ขอนแก่น จุดเปลี่ยนถ่ายและเชื่อมต่อการเดินทางหน้าสถานี เหมาะแก่การพัฒนาแบบผสมผสานเป็นอาคารศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ตลาดรถไฟ และโรงแรมที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้เดินทางมาติดต่อธุรกิจ

โซนที่ 3 ย่านที่พักอาศัยและส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมให้เป็นย่านที่พักอาศัยคุณภาพแบบ Low-Rise ของคนในเขตมืองและชุมชนเดิมในพื้นที่ เช่น คอนโดมิเนียมที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร หรือ
ไม่เกิน 8 ชั้น ผสมผสานกับพื้นที่พาณิชยกรรมเดิม ส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นที่ด้วยภูมิทัศน์ที่เชื่อมต่อกับ
ส่วนสถานีรถไฟด้วยทางเดินเท้าทางจักรยานที่สะดวกและปลอดภัย

โซนที่ 4 ย่านประตูเมืองขอนแก่น-ศูนย์กลางธุรกิจ และ MICE ด้วยที่ตั้งที่มีศักยภาพเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟ 2 สถานี และเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูง เหมาะแก่การพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานเป็นอาคารสำนักงานชั้นดี ศูนย์ประชุม โรงแรมหรู เพื่อยกระดับเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ อุตสาหกรรม MICE และที่พักอาศัยชั้นดี ส่งเสริมการอยู่อาศัยและการทำงานในพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่

โซนที่ 5 ย่านพัฒนานวัตกรรมและที่พักอาศัยคนรุ่นใหม่ ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรม กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเบา SME และย่านที่พักอาศัยตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมด้วยพื้นที่พาณิชยกรรมและที่พักอาศัยแบบ Low-Rise คอนโดมิเนียม ส่งเสริมการทำงานและใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ด้วยสภาพแวดล้อมที่ดี

โซนที่ 6 ศูนย์กลางพาณิชกรรมระดับภูมิภาค ศูนย์กลางพาณิชยกรรม ทั้งศูนย์การค้าระดับภูมิภาค
ศูนย์ค้าปลีก อาคารสำนักงาน และโรงแรมที่พัก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า
การลงทุน การท่องเที่ยวและบริการแบบครบวงจร

โซนที่ 7 ย่านการศึกษา-พักอาศัยและการพัฒนาแบบผสมผสาน เป็นที่ตั้งสถานศึกษาเดิมในพื้นที่ติดถนน พัฒนาแบบผสมผสานเป็นสำนักงาน พาณิชยกรรม และที่พักอาศัย ที่ส่งเสริมการพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยระบบทางสัญจรที่สะดวก ปลอดภัย และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนของคนในพื้นที่

โซนที่ 8 ย่านชุมชนเมือง เน้นการพัฒนาเป็นที่พักอาศัย ที่มีคุณภาพของชุมชนเมืองและชุมชนเดิม
ในพื้นที่ รองรับการอยู่อาศัยในทุกระดับ สะดวก ปลอดภัย ใกล้สถานีรถไฟ และสถานีรถไฟฟ้า เชื่อมกับพื้นที่การพัฒนาแบบผสมผสานติดถนนมิตรภาพ ทั้งศูนย์การค้า ร้านค้าปลีก สำนักงานและโรงแรมที่พัก

ทั้งนี้ สนข.ได้เปิดเวทีการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนในเมืองต้นแบบอีก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 10 สิงหาคม 2563 และจังหวัดชลบุรี วันที่ 14 สิงหาคม 2563 นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2020 7:10 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
พลิกโฉมย่าน “สถานีรถไฟขอนแก่น” พัฒนามิกซ์ยูสศูนย์กลางธุรกิจรับไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 - 17:25 น.


ฟังเสียงขอนแก่นเมืองต้นแบบTODเด้อค่ะเด้อ!
*ชู “สถานีรถไฟ”ตัวแทนภาคอีสาน
*เปิดแผนพัฒนาพื้นที่อสังหา 8โซน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2666920536862781
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 108, 109, 110 ... 121, 122, 123  Next
Page 109 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©