RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181338
ทั้งหมด:13492573
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 377, 378, 379 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2020 3:22 pm    Post subject: Reply with quote

เพจ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย มาแล้วจ้า
https://www.facebook.com/hsrkorattonongkhai/
https://www.hsrkorat-nongkhai.com/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2020 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

Series สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง โคราช-หนองคาย EP.1 สถานีบัวใหญ่
30 กรกฎาคม 2563

วันนี้ขอมาต่อ Series สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง โคราช-หนองคาย ที่เปิดจั่วไว้
————————
จากที่พูดถึงภาพรวมโครงการแล้ว เรามาดูในรายละเอียดของสถานีรถไฟรายทางกันบ้าง เรียงตามเส้นทางเลย

ขอเริ่มที่สถานีบัวใหญ่

สถานีรถไฟความเร็วสูงบัวใหญ่ เป็นสถานีแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอิสานส่วนต่อขยาย ช่วงโคราช-หนองคาย ต่อจากสถานีโคราช

ตำแหน่งตั้งสถานีจะอยู่บนสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่เดิม ทิศใต้ของสถานีรถไฟรถไฟทางคู่ (หลังใหม่)

ซึ่งจุดนี้เป็นลานกว้างด้านหน้าสถานี ซึ่งเป็นลานจอดรถ และมีตึกพาณิชยกรรม ตั้งอยู่รอบลาน (อย่างกับจตุรัสกลางเมืองของยุโรปเลย)

ถ้าพัฒนาเป็นพื้นที่สร้างสรรค์คงจะสวยและส่งเสริมการพัฒนาเมืองควบคู่กับการพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงแน่ๆ

โดยจะมีการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟทางคู่บริเวณชั้น 1 ทางด้านเหนือของสถานี เพื่อรองรับการเป็น Feeder ขึ้น-ลงสถานีย่อยรายทางต่อเนื่อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน

- รูปแบบสถานีมี 3 ชั้น

ชั้น 1 เป็นชั้นขายตั๋ว จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างระบบ และพื้นที่จอดรถ

ชั้น 2 เป็นโถงพักคอยผู้โดยสาร ก่อนขึ้นรถไฟ ซึ่งจะมีทั้งห้องติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร รวมถึงเป็นพื้นที่ติดตั้งงานระบบของสถานีรถไฟ

ชั้น 3 เป็นชานชาลา มี 2 ชานชาลาข้าง แต่มีทางรถไฟ 4 ทาง เพื่อให้มีทางรถไฟรองรับรถไฟด่วนผ่านสถานี

- สถาปัตยกรรมภายนอกสถานี

โครงสร้างหลักคล้ายกันทั้งโครงการแต่มีการใส่รายละเอียดให้แตกต่างกัน โดยสถานีบัวใหญ่ จะใช้รูปบัวเป็น รายละเอียดภายในสถานี

ซึ่งโครงหลักโครงการอยากให้ล้อตามโครงการรถไฟทางคู่ที่มีการก่อสร้างไปแล้ว แต่มีเสียงสะท้อนกลับมาเยอะ คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยมากขึ้น

โดยเฉพาะจั่วที่หลายๆคนติงว่าจั่วอะไรมากมาย แต่ส่วนตัวมองว่าถ้าตัดจั่วออก แล้วปรับรูปแบบจุดเข้าสถานีใหม่ตัวอาคารก็ดูดีอยู่นะครับ

- สถาปัตยกรรมภายในสถานี

จะใช้รูปบัว เป็นรูปแบบหลักภายในสถานีด้วยเช่นกัน และใส่สัญลักษณ์ของภาคอิสานเช่นลายผ้าทอต่างๆ ภายในสถานีด้วย

สำหรับภาพภายในสถานี ผมให้ผ่านครับ ดูดี ดูแลรักษาง่าย เรียบหรู

- รูปแบบทางรถไฟในบัวใหญ่

เนื่องจากพื้นที่เมืองบัวใหญ่เป็นเมืองใหญ่ และมีจุดตัดภายในเมือง (แก้ไปแล้วกับทางคู่)

และเนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงมีความสามารถในการไต่ทางชันได้มากกว่ารถไฟดีเซลในทางคู่

ทางโครงการเลยทำทางยกระดับช่วงผ่ากลางเมืองก่อนเข้าสถานีเพื่อลดผลกระทบกับเมือง ทั้งเรื่องจุดตัด และเสียงที่จะมีผลกระทบภายในเมืองด้วย

ดังนั้นจึงทำเป็นทางยกระดับตั้งแต่ สถานีหัวระหัด ไปจนถึงจุดตัดทางหลวง 202

—————————
หวังว่าข้อมูลน่าจะมีประโยชน์ กับพี่ๆน้องๆ ในพื้นที่นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2020 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
พลิกโฉมย่าน “สถานีรถไฟขอนแก่น” พัฒนามิกซ์ยูสศูนย์กลางธุรกิจรับไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 - 17:25 น.


ฟังเสียงขอนแก่นเมืองต้นแบบTODเด้อค่ะเด้อ!
*ชู “สถานีรถไฟ”ตัวแทนภาคอีสาน
*เปิดแผนพัฒนาพื้นที่อสังหา 8โซน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2666920536862781
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2020 8:48 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไฮสปีด-อู่ตะเภา อีอีซี ไม่สะดุด “ครม.ประยุทธ์ 2/2” ปักหมุดแน่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 - 10:50 น.

รัฐบาลยืนยันโครงการอีอีซีไม่สะดุด ปรับ ครม. ไม่กระทบ เดินหน้าตามแผน รอลงนามเอกชนสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมแหลมฉบังระยะ 3 เร็วๆ นี้

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงกรณีข้อกังวลว่าการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาจมีผลต่อความต่อเนื่องของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสําคัญในอีอีซี มีความคืบหน้าไปมาก โดยมีสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นผู้ติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงาน โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสําคัญได้ลงนามกับคู่สัญญาไปเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างเดินหน้าต่ออย่างเดียวไม่ต้องมีข้อกังวลใดๆ ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ลงนามสัญญาร่วมลงทุนวันที่ 24 ต.ค. 2562 ปัจจุบันการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภค อยู่ระหว่างเตรียมดําเนินการรื้อย้าย โดยรถไฟความเร็วสูงสายนี้ เข้าเชื่อมโยง 3 สนามบิน ยกระดับสนามบินอู่ตะเภา มาเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 อีกทั้งเป็นการสร้างพื้นที่ต่อขยายของเมืองให้กับกรุงเทพฯ และพื้นที่อีอีซี (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง)

2. โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ช่วงที่ 1 ลงนามสัญญาร่วมลงทุน วันที่ 1 ต.ค. 2562 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแล และคณะกรรมการบริหารสัญญา โดย สกพอ. และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อสนับสนุนคณะกรรมการบริหารสัญญาและหน่วยงานเจ้าของโครงการ ในการควบคุมและกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาตามที่กําหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อดําเนินการก่อสร้าง


3. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชนเมื่อ 19 มิ.ย. 2563 ถือเป็นหนึ่งในโครงการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานหลักของอีอีซี เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น “สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพ” เชื่อมสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทําให้ 3 สนามบิน สามารถรองรับผู้โดยสาร รวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation รวมทั้งเป็น “มหานครการบินภาคตะวันออก” ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย

4. โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F ปัจจุบันคณะกรรมการคัดเลือก ได้เร่งเจรจาผลตอบแทน และร่างสัญญากับ กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC (ประกอบด้วยบริษัท พีทีที แทงค์เทอร์มินัล จํากัด ในกลุ่ม บมจ.ปตท (PTT) บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวล ลอปเมนท์ (GULF) บริษัท China Harbour Engineering Commpany Limited) ที่เป็นเอกชนผู้รับการคัดเลือก คาดว่าจะได้ผลการคัดเลือกเอกชน และลงนามสัญญาได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้



ทั้งนี้ ยังมีโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทําร่างเอกสารคัดเลือกเอกชนเพื่อรับฟังความเห็นอีกครั้ง ก่อนสรุปผลการดําเนินงานต่อคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อพิจารณาแนวทางการดําเนินงานโครงการต่อไป นางสาวรัชดายังกล่าวด้วยว่า แม้จะมีการยื่นขอการลงทุนในอีอีซีลดลงในช่วง เม.ย.-มิ.ย. เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นจากนี้เป็นต้นไป เพราะยังมีนักลงทุนที่ต้องการย้ายการลงทุนสืบเนื่องจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐ และ 3 อันดับแรกของประเทศที่เข้ามาลงทุนประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

“ขอให้ประชาชนและภาคเอกชนสบายใจและมั่นใจได้ว่า ท่านนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้ความสำคัญขับเคลื่อนการลงทุนในไทยและในพื้นที่อีอีซี ผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี สกพอ.ที่เป็นหน่วยงานหลักในการติดตามดูแลการดำเนินงานโครงการอีอีซี การปรับ ครม.จึงไม่กระทบต่อความต่อเนื่องของโครงการแต่อย่างใด และนอกจากความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างพื้นฐาน สกพอ.ได้ เดินหน้าควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรร่วมกับสถาบันการศึกษาและเอกชน เพื่อรองรับการจ้างงานในอีอีซี เป้าหมาย จำนวนหลักแสนอัตรา ระยะเวลา 2562-2566” น.ส.รัชดากล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/08/2020 11:09 am    Post subject: Reply with quote

อิตาเลียนไทยปักหมุดงานใหญ่แสนล้านรื้อลงทุน 'ทวายโปรเจ็กต์' 8 พันไร่แบ่งพัฒนา 5 เฟส
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ครึ่งปีหลัง "อิตาเลียนไทย" ลุยเซ็นงานใหญ่ ไฮสปีด 3 สนามบิน รถไฟไทย-จีน ทางด่วนพระราม 3 ฟลัดเวย์ บางบาล-บางไทร ศูนย์การค้า ดันรายได้ ปีนี้พุ่ง 6.7 หมื่นล้าน งานในมือทะยาน 5 แสนล้าน ทยอยรับรู้รายได้ 4 ปี ส.ค.เตรียมนำเข้าแรงงานต่างด้าว 1.5 หมื่นคน แก้ปัญหาขาดแคลน เจรจาพันธมิตรชิงดำประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ผ่าทางตัน "ทวายโปรเจ็กต์" รัฐบาลเมียนมา เดินหน้าประมูลสร้างถนนเชื่อมชายแดนไทย 4.5 พันล้าน ตัดแบ่งพื้นที่ใหม่ 8 พันไร่ ซอยย่อย 5 เฟส นำร่องเฟสแรก 500 ไร่ ลงทุน 1.5 พันล้าน หวังปลดล็อกเงินทุน หลังหยุดไซต์ 4 ปี

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันสถานการณ์ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างภายในประเทศมีการแข่งขันสูง ทั้งคู่แข่งจากบริษัทรับเหมาในประเทศและต่างประเทศ มีการยื่นเสนอราคาประมูลต่ำ ขณะเดียวกันประสบปัญหาความผันผวนของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการก่อสร้าง ส่งผลต่อมูลค่างานก่อสร้าง ทำให้กำไรต่อโครงการลดลงจากปกติทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 5-7%

"ผมเองก็เครียด ที่บางงานมีการ ผิดพลาดหลาย ๆ เรื่องทำให้ขาดทุนมาก ๆ แต่ก็ถัวเฉลี่ยกันไป ยังมีกำไรอยู่บ้าง ถึงจะน้อยลงก็ตาม ต่อไปเราจะปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ ต้องระมัดระวังการยื่นประมูลโครงการที่มีความเสี่ยงสูง เลือกรับงานที่ไม่เสี่ยงมาก ถึงจะมี กำไรน้อยก็ตาม"

นายเปรมชัยกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาด มาต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ยังส่งผลกระทบต่อการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทำให้เกิดภาวะขาดแคลน โดยบริษัทมีความต้องการแรงงานต่างด้าวประมาณ 15,000 คน โดยเป็นแรงงานจากประเทศเมียนมาเป็นหลัก จากที่มีอยู่ในระบบประมาณ 40,000-50,000 คน กระจายตามไซต์ก่อสร้างทั่วประเทศ

"ในเดือน ส.ค.นี้ ภาครัฐจะผ่อนปรนมาตรการให้สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวได้ เราจะทยอยนำเข้ามา ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของภาครัฐ กักตัว 14 วัน เราจะรับภาระค่าใช้จ่ายการตรวจเชื้อโรคให้ อย่างไรก็ตามจะเจรจาว่าเรามีที่พัก มีอาหารให้พร้อม แต่ยังไม่ขอจ่ายค่าแรง จนกว่าจะเริ่มงาน คาดว่า ส.ค.นี้ สถานการณ์จะบรรเทาลง เพราะในช่วงครึ่งปีหลังงานก่อสร้างที่รอเซ็นสัญญาจะเริ่มงานก่อสร้างอีกหลายโครงการต่อเนื่องถึงต้นปีหน้า ต้องเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน"

นายเปรมชัยกล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษัทในปีนี้ คาดว่าจะมีงานในมือที่เป็นงานก่อสร้างและสัมปทานเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 300,000 ล้านบาท เป็น 500,000 ล้านบาท จะสามารถรับรู้รายได้อีกประมาณ 4 ปี เฉลี่ยปีละ 70,000-80,000 ล้านบาท

โดยมีงานใหม่ที่เซ็นสัญญาแล้ว 18,328 ล้านบาท มีงานเสนอราคา ต่ำสุดรอเซ็นสัญญาอีก 168,463 ล้านบาท เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่บริษัทจะเป็นผู้ก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด 95,880 ล้านบาท รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 4 สัญญา รวม 29,749 ล้านบาท

ทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนองวงแหวนรอบนอกตะวันตกสัญญา 3 วงเงิน 6,284 ล้ายบาท โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร สัญญา 2 วงเงิน 2,612 ล้านบาท งานโครงสร้างใต้ดินโครงการบางกอกมอลล์ วงเงิน 1,640 ล้านบาท ทางต่างระดับจุดตัดแยกสนามบิน จ.สุราษฎร์ธานี 1,238 ล้านบาท

และยังมีงานใหม่ที่กำลังจะเปิดประมูลส่วนใหญ่เป็นงานภาครัฐ มีมูลค่าร่วม 500,000 ล้านบาท จะทยอยเปิดประมูลในช่วงไตรมาส 3 ต่อเนื่องถึงต้นปีหน้า เช่น รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ และสายบ้านไผ่-นครพนม รถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ที่ซื้อซองประมูลแล้วอยู่ระหว่างเจรจาหาพันธมิตรร่วมลงทุน ยังมีรถไฟฟ้าสาย สีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สายสีแดง ส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ และตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา เป็นต้น จากสถิติที่ผ่านมาบริษัทจะได้งานคิดเป็นสัดส่วน 30% ของมูลค่างานที่ออกมาทั้งหมด หรืออยู่ที่ประมาณ 150,000 ล้านบาท

"ภาพรวมปีนี้งานในประเทศดีเลย์ เซ็นสัญญาช้า แต่อีก 1-2 เดือน คาดว่าจะเริ่มทยอยเซ็นสัญญาและรับรู้รายได้ ส่วนงานต่างประเทศต้องรอสถานการณ์โควิดคลี่คลาย โดยปีนี้บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 67,000 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วมีรายได้รวม 63,007 ล้านบาท และเรายังครองส่วนแบ่งการตลาดมากสุดอยู่ที่ 30% และปีหน้ารายได้จะสูงขึ้นอีก เพราะจะเริ่มงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ล่าสุดเราได้เตรียมความพร้อมด้านการก่อสร้างไว้แล้ว"

นายเปรมชัยยังกล่าวถึงโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายที่เข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมาว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้ใช้เงินลงทุนสำหรับจ่ายค่าสิทธิเช่าที่ดินและพัฒนาโครงการในปี 2561 จำนวน 7,738 ล้านบาท และปี 2562 จำนวน 7,804 ล้านบาท ขณะนี้โครงการหยุดการก่อสร้างไปร่วม 4 ปี เนื่องจากรอความชัดเจนเรื่องการก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างชายแดนไทยที่บ้านพุน้ำร้อนกับโครงการทวาย

ล่าสุดได้ข้อสรุปร่วมกันแล้วจะเดินหน้าก่อสร้างถนนขนาด 2 ช่องจราจร ระยะทาง 148 กม. ค่าก่อสร้าง 4,500 ล้านบาท โดยจะเปิดประมูลปลายปีนี้ คาดว่าจะสร้างเสร็จใน 2 ปี หรือในปี 2565 โดยรัฐบาลเมียนมาเห็นชอบในหลักการและเงื่อนไขเงินกู้เงื่อนไขแบบผ่อนปรนพิเศษจากรัฐบาลไทยแล้ว

"ที่ต้องหยุดก่อสร้างเพื่อรอความชัดเจน เพราะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งเราในฐานะผู้ลงทุนก็ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยต่าง ๆ ตลอดเวลาที่ผ่านมา แต่ก็ได้อธิบายกับธนาคารที่ปล่อยกู้ว่าโครงการมีผลตอบแทนในระยะยาว เพียงแต่รอการอนุมัติให้โครงการเดินหน้าต่อ เมื่อได้รับไฟเขียวเราพร้อมเดินหน้าในทันที ซึ่งได้เจรจากับธนาคารเจ้าหนี้ให้ยืดการชำระหนี้ให้บ้าง"

ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการได้เดินหน้าต่อโดยเร็ว ทางรัฐบาลเมียนมาได้แบ่งการพัฒนาโครงการใหม่ มีพื้นที่ 8,000 ไร่ ใช้เงินพัฒนาประมาณ 20,000 ล้านบาท ยังไม่รวมค่าก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการ โดยแบ่งพื้นที่ให้มีขนาดเล็กลง แบ่งการพัฒนาเป็น 5 เฟส โดยเฟสแรก จะพัฒนา 500 ไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,500 ล้านบาท เมื่อขายพื้นที่นิคม ได้ 60% ถึงจะพัฒนาเฟสที่ 2 อีก 1,500 ไร่

"เฟสแรกใช้เวลาพัฒนา 5 ปี ยังมีการแบ่งย่อยพัฒนาลงไปอีก เพื่อให้บริหารจัดการเงินลงทุนได้ง่าย ซึ่งโครงการนี้เรารอมาหลายปี เมื่อโครงการถนนซึ่งเป็นหัวใจหลักของโครงการได้เดินหน้า จะทำให้ดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุน จากนั้น จะเริ่มทำการตลาดขายพื้นที่พัฒนาให้กับนักลงทุน เราเป็นผู้ก่อสร้าง ส่วนโรจนะ จะเป็นผู้ทำการขายพื้นที่"

สำหรับโครงการทวายได้ลงนามสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2559 พัฒนาพื้นที่ 27 ตร.กม. ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมเฟสแรกและถนน 2 ช่องจราจรเชื่อมชายแดนไทย, ท่าเรือขนาดเล็ก, เขตที่อยู่อาศัย, อ่างเก็บน้ำและระบบประปา, โรงไฟฟ้าชั่วคราว, โรงไฟฟ้า, ระบบโทรคมนาคมและท่าเรือ LNG แต่จากความล่าช้าของโครงการทำให้ที่ผ่านมาโครงการทวายจัดอยู่ในปัจจัยความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจบริษัท

บรรยายใต้ภาพ
งานในมือทะลัก - ปีนี้ บมจ.อิตาเลียนไทยฯพี่ใหญ่วงการรับเหมาก่อสร้างยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง 30% ขณะที่งานในมือปีนี้มีล้นทะลักจาก 3 แสนล้านบาทเป็น 5 แสนล้านบาท จากงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟไทย-จีน ทางด่วน ถนน อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า จะเริ่มเซ็นสัญญาในครึ่งปีหลังเป็นต้นไป
เปรมชัย กรรณสูต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/08/2020 11:19 am    Post subject: Reply with quote

เวนคืน 3,000 หลัง ลากไฮสปีด 'อู่ตะเภา-แกลง'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

"รฟท." เคาะ ช่วงแรกไฮสปีดอีอีซีเฟส 2 "อู่ตะเภา-แกลง"100 กม. เวนคืนกระอัก 2-3 พันหลังคาเรือน 4 หมื่นล้าน ส่วน สถานีจันทบุรี-ตราด รอระยะถัดไป

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนส่งมอบพื้นที่ ก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอูตะเภา ) ระยะแรก 220 กิโลเมตร ช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้กับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือกลุ่มซีพี และพันธมิตร ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ล่าสุดรฟท. เดินหน้าประชุมประเมินความสนใจเบื้องต้นของภาคเอกชน (มาร์เก็ต ซาวดิ้ง) ไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ต่อเนื่องทันที

ขณะผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น สรุปชัดเจนว่า หากมีการดำเนินโครงการพร้อมกันทั้งเส้นทาง จากจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 190 กิโลเมตร ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ 5.3% ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่รับกำหนด 12% มาก ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่ รฟท. อาจก่อสร้างช่วงแรกก่อน คือต่อขยายจากสถานีอู่ตะเภา ไปยังสถานีระยองและสถานีแกลง รวมระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ 9% ซึ่งคุ้มค่ากว่าการสร้างตลอดทั้งเส้นทาง ส่วนช่วงจากสถานี อ.แกลง ไปยังสถานีจันทบุรีและสถานีตราด อาจจะพิจารณาในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลมีงบประมาณจำกัด

อย่างไรก็ตาม หากดำเนินการช่วงอู่ตะเภา-อำเภอแกลง จังหวัดระยอง คาดว่าจะต้องเวนคืนที่ดินประมาณ 2-3 พันหลังคาเรือน งบประมาณจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ราว 4 หมื่นล้านบาท อายุสัมปทานตามกฎหมายพีพีพี ระบุให้ไม่เกิน 50 ปี ส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีนั้น เอกชนจะต้องลงทุนจัดหาพื้นที่เอง เนื่องจาก รฟท.ไม่มีพื้นที่รอบสถานีเพียงพอที่จะให้พัฒนาเชิงพาณิชย์

นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. ระบุว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยองจันทบุรีตราด มีเป้าหมายรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินทางการขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

"เราจะไม่เปลี่ยนแนวเส้นทาง เพราะเป็นแนวเส้นทางที่เหมาะสมทั้งด้านเงินทุนและผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับแนวเส้นทางอื่นๆ ที่เคยศึกษาในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันมีอีก 2 โครงการที่อยู่บริเวณพื้นที่เดียวกันทั้งเส้นทางช่วงมาบตาพุด-บ้านฉาง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีโครงการรถไฟทางคู่ส่วนต่อขยาย ช่วงมาบตาพุดบ้านฉาง และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หากมีความเป็นไปได้อยากให้อยู่ในบริเวณแนวเส้นทางเดียวกัน จะได้เวนคืนพร้อมกันทีเดียว ทั้งนี้คาดว่าจะทยอยดำเนินการแบ่งออกเป็นแต่ละเฟสตามความเหมาะสม กรณีที่รฟท.ศึกษาแล้วเสร็จ จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพื่อให้ทันไฮสปีดอีอีซีเฟสแรก ที่จะเริ่มก่อสร้างอีก 2 ปี ข้างหน้า หากดำเนินการได้สำเร็จจะทำให้ประชาชนที่ต้องการเดินทางจากกรุงเทพฯ-ระยอง ใช้เวลาเดินทางเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น"

สำหรับส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนถนนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยองบ้านค่าย) ห่างจากสี่แยกเกาะกลอยประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลงเข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ห่างจากสามแยกแกลงประมาณ 2 กิโลเมตร วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เข้าอำเภอเขาสมิง และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบนทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ห่างจากสามแยกตราดประมาณ 2 กิโลเมตร รวมเส้นทางประมาณ 190 กิโลเมตร

เป้าหมายรองรับอีอีซี และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2020 9:26 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เพจ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย มาแล้วจ้า
https://www.facebook.com/hsrkorattonongkhai/
https://www.hsrkorat-nongkhai.com/



ลุย"รถไฟไทย-จีน"เฟส2 เปิดเวทีฟังเสียงชาวบ้าน 4จว.อีสาน
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 12:02 น.


การรถไฟฯ เดินหน้า เปิดเวทีรับฟังเสียงประชาชน 4 จังหวัดภาคอีสาน ศึกษา รถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วง นครราชสีมา - หนองคาย

ช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เดินสายจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด

นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ตามแนวเส้นทางโครงการ เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูล แผนการดำเนินโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการก่อสร้างโครงการ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมาก


ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียดของงานโยธาในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย มีเส้นทางครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย โครงการดังกล่าวมีระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟ จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า จำนวน 1 แห่ง คือ พื้นที่บริเวณสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์ซ่อมบำรุงเบาที่นาทา จังหวัดหนองคาย พร้อมด้วยหน่วยซ่อมบำรุงทางอีก 4 แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จังหวัดนครราชสีมา สถานีหนองเม็ก จังหวัดขอนแก่น สถานีโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี และสถานีนาทา จังหวัดหนองคาย การออกแบบขนาดรางที่มีความกว้างขนาด 1.435 เมตร มีจุดตัดทางรถไฟ 241 แห่ง ใช้ระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงหนองคายประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที

การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ซึ่งมีแนวคิดการออกแบบโครงสร้างสถานี มีแผนการดำเนินงานเป็นรูปแบบผสมผสานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นของภาคอีสาน รวมทั้งให้สอดคล้องกับสถานีรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา และสถานีรถไฟทางคู่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นการออกแบบตามมาตรฐานระบบรถไฟความเร็วสูงของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ อาจทำให้รายละเอียดของโครงการระยะที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่นำเสนอไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดทำไว้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทบทวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปพร้อมทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดให้มีการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียตามกระบวนการมีส่วนร่วมในครั้งนี้

สำหรับการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 4 จังหวัด ให้ความสนใจและร่วมแสดงความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งประเด็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางการดำเนินโครงการ แต่ยังมีข้อกังวลบางประเด็นที่ต้องการให้โครงการดำเนินการปรับปรุงแก้ เช่น ปัญหาจุดตัดทางรถไฟตามแนวเส้นทางโครงการ การเวนคืนพื้นที่ การออกแบบอัตลักษณ์สถานี และการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานี โดยให้คำนึงถึงการใช้งานของกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังต้องการทราบแนวทางการป้องกันปัญหาผลกระทบด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจตามมาขณะดำเนินการก่อสร้างโครงการ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสามารถอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง ทำให้มีความรวดเร็วในการเดินทาง และความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งเกิดการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทางให้เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค นอกจากนั้นเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมต่อการค้าการลงทุนของไทย กับ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในขณะดำเนินการก่อสร้างโครงการยังสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ จะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอีกครั้ง เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการฯ ในขั้นตอนต่อไปให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ www.hsrkorat-nongkhai.com หรือทางแฟนเพจ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย “โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2020 7:22 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เวนคืน 3,000 หลัง ลากไฮสปีด 'อู่ตะเภา-แกลง'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่ครับ:

เวนคืน 3,000หลัง ลากไฮสปีด ‘อู่ตะเภา-แกลง’
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 06:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7 ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,597 วันที่ 2 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 256
https://www.thansettakij.com/content/property/444029
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

แนะรัฐบาลเร่งก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง “โคราช-หนองคาย”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13:24

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้า ปชป.แนะรัฐบาลเร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วง“โคราช-หนองคาย” รองรับรถไฟลาว-จีนถึงไทย ตามเส้นทางสายไหม Belt and Road Initiative

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)ได้ออกมาเสนอแนะรัฐบาลผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว โดยระบุว่า “ชาวเน็ตทุกวัยคงได้ยลโฉมรถไฟลาว-จีน ที่ถูกแชร์ว่อนในโลกออนไลน์ ให้เราชาวไทยร้องว้าววว! ว่าจริงหรือนี่ที่ลาวแซงหน้าไทยไปหลายช่วงตัว?

โดยแนวคิดการก่อสร้างรถไฟลาว-จีนมีมานานตั้งแต่ปี 2544 หลังจากเจรจากันลงตัวแล้ว บริษัทร่วมทุนลาว-จีนก็ลงมือก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากบ่อเต็นของลาวซึ่งอยู่ชายแดนลาว-จีน เข้าสู่อุดมไชย หลวงพระบาง วังเวียง จนถึงเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 414 กิโลเมตร เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างลาวกับจีน โดยลาวลงทุน 30% จีนลงทุน 70% มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 190,000 ล้านบาท หรือกิโลเมตรละ 459 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างในปลายปี 2559 คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2564 ผมมีโอกาสได้ไปดูการก่อสร้างบางตอนในเดือนสิงหาคม 2560



รถไฟสายนี้ จะเชื่อมโยงคุนหมิงของจีนกับกรุงเวียงจันทน์ของลาว ใช้รางกว้าง 1.435 เมตร เป็นทางเดี่ยว (มีเหล็กรางรถไฟ 2 เส้น) ทำให้รถไฟไม่สามารถวิ่งสวนทางกันได้ ต้องรอหลีกทาง จึงวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ทั้งนี้ เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า รถไฟความเร็วสูงจะต้องเป็นรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป ด้วยเหตุนี้ รถไฟลาว-จีนจึงไม่ถือว่าเป็นรถไฟความเร็วสูงเพราะวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดไม่ถึง 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง หากในอนาคตมีการก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มอีก 1 ทาง เป็นรถไฟทางคู่ (มีเหล็กรางรถไฟ 4 เส้น) รถไฟสามารถวิ่งสวนทางกันได้ ไม่ต้องรอหลีกทาง จึงสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง รถไฟลาว-จีนก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นรถไฟความเร็วสูง



หันมาดูที่รถไฟไทย หลังจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2557 ก็มุ่งมั่นจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ใช้รางกว้าง 1.435 เมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง อนึ่ง ปัจจุบันรางรถไฟไทยกว้าง 1 เมตร ส่วนใหญ่เป็นทางเดี่ยว วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง
การก่อสร้างรถไฟไทย-จีนดังกล่าว ตอนเริ่มต้นจะมีการลงทุนร่วมกันระหว่างไทยกับจีน จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน โดยได้เจรจากันหลายสิบครั้งใช้เวลานาน จนในที่สุดเปลี่ยนมาเป็นรถไฟความเร็วสูง ทางคู่ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยไทยตัดสินใจลงทุนเองทั้งหมด และได้แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นการก่อสร้างจากกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง 252 กิโลเมตร วงเงิน 176,002 ล้านบาท หรือกิโลเมตรละ 698 ล้านบาท (เป็นทางคู่ ราคาจึงสูงกว่าของลาวซึ่งเป็นทางเดี่ยว) เริ่มก่อสร้างช่วงแรกปลายปี 2560 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ถึงเวลานี้งานโยธาของช่วงนี้เกือบแล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 13 สัญญา มีการประมูลแล้วทั้งหมด แต่มีการเซ็นสัญญาเพียงสัญญาเดียวเท่านั้น



ระยะที่ 2 ช่วงโคราช-หนองคาย ระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร อยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียดจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของไทยมีความล่าช้า ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ หากเราสามารถเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคายได้ จะทำให้รถไฟไทยช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative) ได้ในอีกไม่นาน ซึ่งจะเสริมสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยในการขนส่งเชื่อมโยงกับนานาประเทศ



ด้วยเหตุนี้ ตนจึงอยากให้รัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ โดยเฉพาะช่วงโคราช-หนองคาย โดยเริ่มก่อสร้างจากหนองคายมาโคราช ซึ่งจะเป็นการขยายเส้นทางรถไฟลาว-จีนมาถึงไทย และเป็นการเตรียมการรองรับผู้โดยสารจากจีนและลาวที่จะเดินทางมาไทยด้วยรถไฟลาว-จีน ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการในปลายปี 2564



โดยสรุป แม้ว่ารถไฟลาว-จีนไม่ได้เป็นรถไฟความเร็วสูงก็ตาม แต่รถไฟลาว-จีนก็จะวิ่งได้เร็วกว่ารถไฟไทย หรือวิ่งแซงหน้ารถไฟไทยในปัจจุบัน กล่าวคือรถไฟลาว-จีน วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในขณะที่รถไฟไทยในปัจจุบันวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ดังนั้น เราต้องมาร่วมมือร่วมแรงช่วยกันผลักดันรถไฟไทยให้วิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้น หมดยุค “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” เสียที



ผู้สื่อข่าวรายงาน ล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าการ การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ว่า ในส่วนของสัญญา 2.3 คาดว่าจะมีการลงนามในช่วง ต.ค. 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อิตาเลียนไทยปักหมุดงานใหญ่แสนล้านรื้อลงทุน 'ทวายโปรเจ็กต์' 8 พันไร่แบ่งพัฒนา 5 เฟส
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่ครับ: อิตาเลียนไทยปักหมุดงานใหญ่แสนล้านรื้อลงทุน 'ทวายโปรเจ็กต์' 8 พันไร่แบ่งพัฒนา 5 เฟส
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 17:30 น.

https://www.prachachat.net/property/news-499592
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 377, 378, 379 ... 542, 543, 544  Next
Page 378 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©