RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180504
ทั้งหมด:13491738
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 109, 110, 111 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2020 9:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ดันประมูล 2 ทางคู่'เหนือ-อีสาน'ปลายปี
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่
"การรถไฟ" ดันประมูล2ทางคู่‘เหนือ-อีสาน’ปลายปี
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 11
ฉบับที่ 3,596 วันที่ 30 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563

https://www.thansettakij.com/content/443503
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2020 7:13 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณครับ

-------------------

1ปี'คมนาคมยูไนเต็ด'เต็มสิบหักกี่คะแนนพูด!!
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

"คมนาคมยูไนเต็ด" สโลแกนการทำงานของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีคมนาคม ที่มาจากโควตาพรรคภูมิใจไทย ครบ 1 ปีเต็มหลังจากเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2562 งานนี้ ศักดิ์สยาม ควงนาย อธิรัฐ รัตนเศรษฐ และ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง และผู้อำนวยการสำนักกองที่รับผิดชอบด้านนโยบายและแผนงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กว่า 200 คน ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมสู่การปฏิบัติ" ที่ โรงแรมอมารี พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา

บรรยากาศการประชุมในวันนั้นได้แบ่งกลุ่มสัมมนาตามภารกิจ ทั้งทางบก น้ำ ราง และอากาศ ท้ายที่สุด ผู้กุมบังเหียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้สรุปประเด็นแถลงกับสื่อมวลชน แยกออกมา ดังนี้ 1.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานทางถนน โฟกัสกันที่โครงการก่อสร้าง บนถนนพระราม 2 บอกว่าได้เร่งรัดการก่อสร้างแล้ว นอกจากนี้จะเร่งแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากรถบรรทุก และรถโดยสารสาธารณะ ส่วนปรับอัตราความเร็วรถทุกประเภทบนถนน 4 ช่องทางจราจรขึ้นไป ให้ใช้อัตราความเร็วได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) ขณะนี้ร่างกฎกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน ก.ย. 2563 คาดว่าประกาศใช้เดือน พ.ย. 2563 ในระยะที่ 1 จะเริ่มบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเซีย) ช่วงบริเวณหมวดทางหลวงบางปะอิน-ทางต่างระดับอ่างทอง กม.ที่ 4+100-50+000 รวมระยะทาง 45.9 กม.

ขณะที่นโยบายยกเลิกไม้กั้นที่ด่านเก็บเงินทางพิเศษ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) จะ นำร่องใช้จริงบนถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก บริเวณด่านทับช้าง โดยจะเริ่มงานติดตั้งระบบ M-Flow ด้วยเทคโนโลยี Video Tolling ซึ่งเป็นระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ โดยผู้ใช้งานไม่ต้องชะลอความเร็วเมื่อเข้าสู่ด่านจ่ายเงิน ทั้งนี้จะเป็นระบบชำระเงินแบบ Post Paid หรือขึ้นก่อนจ่ายทีหลัง คาดว่าจะติดตั้งระบบแล้วเสร็จ และเปิดใช้งานได้จริงภายในปลายปี 2563

โครงการการนำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้าง และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยบนถนน ได้แก่ เสาหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) วงเงิน 1,402 ล้านบาท และแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต หรือแบริเออร์หุ้มยางพารา (RFB)วงเงิน 2,376 ล้านบาท ในวันที่ 24 ส.ค.นี้ จะเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานคิกออฟโครงการฯ ในการผลิตเสาหลัก และแผ่นยาง ที่ จ.จันทบุรี

ส่วนกลุ่มที่ 2.กลุ่มการขนส่งทางบก การแก้ไขปัญหาเพื่อฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ซึ่งขณะนี้แผนฟื้นฟูฯ อยู่ระหว่างการชี้แจงและตอบข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง คาดว่าภายในเดือน ส.ค.นี้ จะได้ข้อสรุปและเสนอ ครม. หากเห็นชอบภายในปี 2565 จะมีรถเมล์ปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาให้บริการประชาชน ทั้งนี้จะใช้ แผนฟื้นฟู ขสมก. เป็นตัวแบบในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ด้วย

ด้านนโยบายการให้บริการรถรับจ้างโดยสารสาธารณะผ่าน แอพพลิเคชั่น อาทิ Grab ที่ถูกต้องตามกฎหมาย อยู่ระหว่างจัดทำ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้ในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารผ่านแอพพลิเคชั่น คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีนี้

เข้าสู่กลุ่มที่ 3.

กลุ่มการขนส่งทางราง (ขร.) ต้องเอ่ยถึงความสำเร็จก่อน ผลงานของรัฐมนตรีว่าการชื่อ "ศักดิ์สยาม" ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า เพื่อช่วยลดค่าครองชีพในการเดินทางให้แก่ประชาชนได้สำเร็จ ส่วนการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่, รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าทั้งในกรุงเทพฯ-ภูมิภาค ทุกโครงการยังเดินหน้าตามแผนที่วางไว้

สำหรับ โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต มอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม หารือร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.), และ รฟท. เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการตามแผนเดิมที่ รฟท. วางไว้ โดยจะทดลองเดินรถเสมือนจริงในเดือน มี.ค. 2564 และเดินรถแบบเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 2564 ได้หรือไม่ ฟันธงต้องให้ได้ข้อสรุปภายในวันที่ 17 ส.ค.นี้

โครงการที่ประชาชนฟังดูแล้วง่ายแต่เมื่อปล่อยให้ราชการ ทำยากมาก คือ พัฒนาระบบตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาระบบหัวอ่าน ให้สามารถอ่านข้อมูลบัตรรถไฟฟ้าระบบอื่นได้ โดยได้เร่งรัดให้ใช้บริการได้ในเดือน ต.ค.นี้ให้ได้ ซึ่งจะเริ่มจากการใช้ตั๋วร่วมระหว่างบัตรแรบบิทของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว บัตรแมงมุม และบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง/สายสีน้ำเงินได้ก่อน ส่วนระบบขนส่งอื่น ๆ จะใช้ร่วมกันได้ในปี 2564 (ใช้ได้จริง ๆ นะ) และจะใช้เป็นแบบบัตร EMV (บัตรเครดิต) ได้ภายในปลายปี 2565

ต่อกันที่ข้อ 4. กลุ่มการขนส่งทางน้ำ โดยในวันสถาปนา กรมเจ้าท่า วันที่ 5 ส.ค.นี้ จะเปิดตัวเรือไฟฟ้าลำแรกที่จะให้บริการ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเรือไฟฟ้าต้นแบบที่จะให้บริการในคลอง แสนแสบ อยู่ระหว่างการทดลอง

และ 5.กลุ่มการขนส่งทางอากาศมีแผนจะเชิญชวนเอกชนมาร่วมกับ ทย. เพื่อพัฒนาศักยภาพท่าอากาศยาน นอกจากนี้ ยังมีแผนก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ เพื่อเตรียมวางแผนเพิ่มขีดความสามารถรองรับเที่ยวบิน 1.2 ล้านเที่ยวบินในอนาคต ซึ่งจะมีผู้โดยสารประมาณ 240 ล้านคนต่อปี อย่างไรก็ตามสำหรับปี 2563 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวนผู้โดยสารน่าจะอยู่ที่ประมาณ 41 ล้านคน ซึ่งลดลงต่ำมากเมื่อเทียบกับปี 62 ซึ่งผู้โดยสารอยู่ที่ 165 ล้านคน

"1 ปีที่ผ่านมา ผมคงประเมินการทำงานของตนเองไม่ได้ว่าได้คะแนนเท่าไหร่ แต่คิดว่านโยบายสามารถแปรไปสู่การปฏิบัติได้หลายเรื่อง และการดำเนินงานทั้งหมดเป็นไปตามกรอบนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา และตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการ" นายศักดิ์สยามเอ่ยด้วยน้ำเสียงเรียบ ๆวาทะสวย ๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนเดิม ย้ำกับทุกหน่วยงานใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม คือ "ทลายทุกข้อจำกัดเพื่อแก้ปัญหาให้กับปากท้องประชาชน" ก้าวสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ ความสุขของประชาชนคนไทยทุกคน พร้อมระบุว่า ภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณปี 63 เกินกว่า 50% และมั่นใจว่าภายในเดือน ก.ย.นี้ ทุกหน่วยงานจะเบิกจ่ายได้ตามแผน 100%

"คมนาคมยูไนเต็ด" คะแนนเต็มสิบหักออกเท่าไรดี???
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2020 10:33 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ขอบคุณครับ

-------------------

1ปี'คมนาคมยูไนเต็ด'เต็มสิบหักกี่คะแนนพูด!!
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง




“คมนาคม” ทลายทุกข้อจำกัดแก้ปากท้องประชาชน
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 12:24 น.

“คมนาคม” สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทลายทุกข้อจำกัดเพื่อแก้ปัญหาให้กับปากท้องประชาชน ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ” โดยมีข้าราชการ บุคคลากรด้านนโยบายแผนงานและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 200 คน วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ โรงแรมอมารี พัทยาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเร่งรัดดำเนินงานตามภารกิจให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายรัฐบาลโดยเฉพาะการพัฒนาด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ประชาชนต้องได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัย ประหยัด ในการเดินทางทุกรูปแบบ ด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งปัจจุบันการดำเนินงานตามนโยบายครบรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา นับเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ติดตามการดำเนินงานของแผนงาน โครงการต่าง ๆ ของทุกหน่วยงาน กำหนดแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างบูรณาการ ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และภายหลังการสัมมนาจะต้องถอดบทเรียนและทบทวนผลการดำเนินงานของทุกหน่วยงาน เพื่อทบทวนและเตรียมการสำหรับแผนงานและโครงการในอนาคต เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ ความสุขของประชาชนคนไทยทุกคน "ทลายทุกข้อจำกัดเพื่อแก้ปัญหาให้กับปากท้องประชาชน"

นอกจากนี้ มอบหน่วยงานในสังกัดทบทวนผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เสริมสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน โดย แบ่งกลุ่มสัมมนา ฯ ตามกลุ่มภารกิจ (ทางบก ทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ) ดังนี้ 1. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานทางถนนประกอบด้วย กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) 2. กลุ่มการขนส่งทางบกประกอบด้วย กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) องค์การขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ขสมก.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และสนข. 3. กลุ่มการขนส่งทางรางประกอบด้วย กรมการขนส่งทางราง (ขร.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) และสนข. 4. กลุ่มการขนส่งทางน้ำประกอบด้วย กรมเจ้าท่า (จท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และสนข. 5. กลุ่มการขนส่งทางอากาศประกอบด้วย สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) และสนข.


โดยสรุปผลการประชุมสัมมนา ดังนี้1. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานทางถนน โดยมี ทล. (หัวหน้ากลุ่ม) ทช. กทพ. สนข. ได้แก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างล่าช้าที่ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด เช่น โครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 การแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากรถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะ โดยการตรวจสอบสภาพรถ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การกำหนดอัตราความเร็วถนน 4 ช่องทางจราจรขึ้นไป ให้ใช้อัตราความเร็วได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อระบายการจราจรให้คล่องตัวยิ่งขึ้น โดยจะต้องมีการบูรณาการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป รวมทั้งศึกษาและจัดทำแผนแก้ปัญหาด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) ให้รถสามารถผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางฯ ได้อย่างรวดเร็ว ลดความแออัดของรถบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางฯ การศึกษาแนวทางการปรับลดค่าผ่านทางพิเศษทุกประเภท (ทางพิเศษ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โทลล์เวย์)

ตั้งแต่ 5 - 10 บาท โดยต้องไม่มีผลกระทบต่อสัญญากับเอกชน และส่งเสริมการใช้วัสดุทดแทนที่ผลิตจากยางพาราในโครงการต่างๆ เช่น วัสดุกั้นถนน หลักเขตบอกทาง หมอนรางรถไฟ เพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และยกระดับราคายางพารา แก้ปัญหารายได้ของเกษตรกรชาวสวนยาง

2. กลุ่มการขนส่งทางบก โดยมี ขบ. (หัวหน้ากลุ่ม) ขสมก. บขส. สนข. ได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ด้านการขนส่งสินค้า มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาระบบการขนส่งทางถนน ของประเทศตามแผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนการขนส่งสินค้า การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

แผนงานที่จะดำเนินการในปี 2564 – 2565 ที่สำคัญ คือ โครงการศึกษาบูรณาการแบบการพัฒนาสถานีเปลี่ยนถ่ายและกระจายสินค้าของประเทศเชื่อมต่อการขนส่งหลายรูปแบบ เพื่อขยายสถานีขนส่งสินค้าชานเมือง ด้านการขนส่งผู้โดยสาร การเปลี่ยนรถตู้เป็นรถมินิบัส โดย ขบ. ได้มีการศึกษาทั้งด้านความปลอดภัยและความคุ้มค่า และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เห็นควรให้รถตู้โดยสารมีอายุไม่เกิน 10 ปี สำหรับรถโดยสารประจำทางสายยาวและระหว่างจังหวัด (หมวด 2 หมวด 3) ส่วนการเปลี่ยนรถตู้เป็นรถมินิบัสในเมือง (หมวด 1 หมวด 4) เป็นภาคสมัครใจ ยกระดับการใช้บริการรถแท็กซี่เพื่อไปสู่การเป็น Smart Taxi โครงการยกระดับ Smart Bus Terminal เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ การบริการรถโดยสารเชื่อมต่อระบบ Feeder Services และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ด้านการความปลอดภัย ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยมีเป้าหมายในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน โดยจัดให้มีผู้จัดการความปลอดภัยด้านการขนส่งทางถนน (Transport Safety Manager) มาตรการ Check คน Check รถ Checking Point ต่อยอดระบบ GPS ในรถสาธารณะและรถบรรทุกขนาดใหญ่ และการพัฒนาศูนย์ขับรถจำลอง (Bus Simulator) ของ บขส. ผลงานด้านการเสริมสร้างความยั่งยืนของประเทศ เป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การเป็นสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ การลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ยกระดับสถานตรวจสภาพรถของรัฐและเอกชน การปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานเครื่องยนต์ การส่งเสริมการเดินทางด้วยรถสาธารณะมาตรการด้านภาษีประจำปีสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผลงานการเป็นรัฐบาลดิจิทัล หน่วยงานได้พัฒนาระบบการกำกับดูแล และพัฒนาการให้บริการประชาชนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามนโยบายรัฐบาล และเป็นการดำเนินการรูปแบบใหม่ (New Normal) โดยมีการอบรมผ่านระบบ e-learning สำหรับผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ และการจองคิวการดำเนินการผ่าน DLT Smart Queue การแสดงใบอนุญาตขับรถได้เสมือนจริง (DLT QR Licence) รวมทั้งได้มีการพัฒนาการชำระภาษีรถประจำปีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยแอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax การพัฒนาระบบ e-Service การพัฒนาระบบสำรองที่นั่งและจำหน่ายตั๋วโดยสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของ บขส.

3. กลุ่มการขนส่งทางราง โดยมี ขร. (หัวหน้ากลุ่ม) รฟม. รฟท. รฟฟท. สนข. ได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านการขนส่งทางราง ซึ่งมีแผนงานโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการรถไฟระหว่างเมือง เพื่อขับเคลื่อนทางคู่และทางสายใหม่ การลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน สำหรับผลงานในปี 2563 ด้านการบริหารจัดการรถไฟระหว่างเมือง การก่อสร้างที่หยุดรถไฟวุฒากาศ สายวงเวียนใหญ่ – มหาชัย การรักษาระดับการให้บริการในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการใช้บริการ รวมถึงการลดอัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีม่วง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ และการตรึงราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จนถึงสิ้นปี 2563 การพัฒนาการเชื่อมต่อการเข้าถึงของคนทุกกลุ่ม/ทุกระบบ ล้อ ราง จํานวน 13 สถานี การพัฒาระบบตั๋วร่วมแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะสั้น แมงมุม/ MRT Plus/Rabbit รองรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน – สีม่วง - สีเขียว ภายในปลายปี 2563 และบัตรแมงมุม/MRT Plus รองรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ ภายในปลายปี 2563 บัตร EMV (บัตรเครดิต) และเชื่อมโยงกับการเดินทางทุกระบบ ภายในปลายปี 2565 การเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถ ในปี 2564 คาดว่าจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้บางส่วน และลงนามสัญญาและก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์ การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ และการ คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การศึกษาแผนแม่บทรถไฟฟ้า ฉบับที่ 2 (M-MAP2) การศึกษาแผนแม่บทการเชื่อมรถไฟกับนิคมอุตสาหกรรม

4. กลุ่มการขนส่งทางน้ำ โดยมี จท. (หัวหน้ากลุ่ม) กทท. สนข. สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาศักยภาพการขนส่งสินค้าทางน้ำมีการดำเนินงาน ได้แก่ การพัฒนายกระดับมาตรฐานท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีความสะดวก ปลอดภัย เตรียมความพร้อมเพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่ง พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เพื่อเป็นประตูการขนส่งสินค้าสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับสินค้า การพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Single Rail Transfer Operation) และท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) สนับสนุนท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมทางน้ำ ร่องน้ำและการเดินเรือภายในประเทศ เช่น การพัฒนาร่องน้ำป่าสักให้การเดินเรือในลำน้ำภายในประเทศ การขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำเศรษฐกิจ และในปี 2564 กระทรวงคมนาคมจะผลักดันโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และในปี 2564 - 2565 พัฒนาท่าเรือเกียกกาย ท่าบางโพ รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนาท่าเรือเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) และการขุดลอกร่องน้ำเพื่อการขุดลอกฟื้นคืนสภาพร่องน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง สำหรับการพัฒนาสถานี/เรือไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยา คลองแสนแสบ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้นําร่องพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ท่าเรือพระราม 5 ท่าเรือพระราม 7 ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้มีความทันสมัย ปลอดภัย หรือที่เรียกว่า ท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของกรมเจ้าท่า (MD digital Service) และการเชื่อมโยง Data Logistic Chain และโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย (Smart Community)

5. กลุ่มการขนส่งทางอากาศ โดยมี กพท. (หัวหน้ากลุ่ม) ทย. ทอท. บวท. สบพ. รทส. สนข. สรุปผลการดำเนินงานและแผนงาน/โครงการสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูมิภาคให้สามารถรองรับผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 150 ล้านคนต่อปี โครงการพัฒนาสนามบินหลัก โครงการพัฒนาสนามบินภูมิภาค โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแห่งใหม่ ทอท. มีแผนการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบิน จำนวน 2 เชียงใหม่แห่งที่ 2 สนับสนุนสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airlines) ให้สามารถบริการประชาชนในภูมิภาคได้เพิ่มขึ้นโดยจะมีการตรวจสอบ ควบคุม เพื่อให้คุณภาพการให้บริการตามมาตรฐานสากล ได้แก่ สายการบินต้นทุนต่ำเปิดบริการในเส้นทางบินใหม่ ดังนี้ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช / นครศรีธรรมราช - ขอนแก่น / อุดรธานี - สุราษฎร์ธานี / หัวหิน - อุดรธานี / หัวหิน - เชียงใหม่ และการขับเคลื่อนสู่อนาคต การเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน 1.2 ล้านเที่ยวบิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสนามบิน การบริการการเดินอากาศ และการจัดสรรเวลาการบิน และการรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย เพื่อเป็นที่ยอมรับของสากล

การจัดสัมมนาในวันนี้ จึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ติดตามการดำเนินงานของแผนงาน โครงการต่าง ๆ ของทุกหน่วยงาน รวมทั้งร่วมกันถอดบทเรียน ทบทวนผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคที่ผ่านมา เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างบูรณาการ เกิดการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงคมนาคมไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อก้าวไป สู่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ ความสุขของประชาชนคนไทยทุกคน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2020 7:51 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”ปักธงแผนลงทุนปี 64 อัดฉีด1ล้านล้านลุยเมกะโปรเจ็กต์ "ทางคู่สายใหม่-มอเตอร์เวย์-PPPสีส้ม”
เผยแพร่: 6 ส.ค. 2563 06:54 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ก้าวสู่ปีที่ 2 ในฐานะกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกรด A “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” พร้อมด้วย “อธิรัฐ รัตนเศรษฐ์” และ “ถาวร เสนเนียม” 2 รมช.คมนาคม ร่วมกันกับ หัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ “คมนาคม” นับร้อยชีวิต จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมสู่การปฏิบัติ” เพื่อสรุปผลการทำงานในห้วงเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา จากที่ให้นโยบายและงานที่ต่อเนื่องจากรัฐบาลเดิม ซึ่งแผนงาน “บก-ราง-น้ำ-อากาศ” ในรอบปี ถือว่า สามารถขับเคลื่อนไปได้ตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา...

งานนี้มีเป้าหมายเพื่อ ระดมความคิดเห็นและติดตามการดำเนินงานของแผนงาน ของทุกโครงการ...ทุกหน่วยงาน ถอดบทเรียน ปัญหา อุปสรรค ให้เห็นภาพชัดๆ เพื่อแก้ไข และทำให้ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หลังจากนี้

หากจะไล่เรียงงาน ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา อาจจะยังไม่เห็นผลงานเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไรนักแม้หลายโครงการ จะมีการ กำหนดเป้าหมายงานเร่งด่วน 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน ... เช่น นโยบายที่เป็นท็อกออฟเดอะทาวน์คือ ปลดล็อกความเร็ว 120 กม./ชม. ,แกร๊บถูกกฎหมาย , เปลี่ยนรถตู้เป็นไมโครบัส,ปรับเวลารถบรรทุก10 ล้อเข้าเมือง ,แก้ปัญหาจราจร, แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ฯลฯ

“ผ่าน 1 ปี ยังไม่มีเรื่องไหนสำเร็จ”

ส่วนที่ทำได้จริงและได้เสียงชมเบา..เบา เห็นจะเป็นเรื่อง การลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงและแอร์พอร์เรลลิงก์

คมนาคม มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมา เมกะโปรเจ็กต์ “คมนาคม” มีส่วนช่วยขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก โดย ในปีงบประมาณ 2563 มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เม็ดเงินกว่า 1.7 แสนล้านบาท

@ชงครม. เคาะแบ่งสัญญา เข็นประมูลทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง วงเงิน 1.52 แสนล.

สำหรับปีที่ 2 จะมีการขับเคลื่อนการลงทุน แบ่งเป็น ด้านราง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จะดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ สายใหม่ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท เตรียมเสนอ ครม. เพื่อพิจารณกำหนดสัญญาก่อสร้าง จำนวน 3 สัญญา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินโครงการ

เส้นทาง บ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท อยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาเพื่อเวนคืนที่ดินและจัดทำเอกสารประกวดราคา

พร้อมกันนี้ จะเร่งรัดงานก่อสร้างทางคู่ 5 เส้นทาง วงเงิน 8.9 หมื่นล้าน พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ วงเงินกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 700 กม. ให้เป็นไปตามแผน ได้แก่ เส้นทาง มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กม. เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. เส้นทางนครปฐม-หัวหิน 169 กม. เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 84 กม. เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม.

“ซึ่งหากไม่มีข้อติดขัด ปี 64 น่าจะเปิดประมูล”

ส่วนรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.73 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ต่อสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แก่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย, เด่นชัย-เชียงใหม่, ขอนแก่น-หนองคาย, ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา และชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์

ทางคู่เฟส 2 อาจจะยังไม่ได้รับการอนุมัติในปีนี้ เพราะโครงการใช้เงินลงทุนสูง ในขณะที่ ช่วงนี้ประเทศต้องใช้งบประมาณ สำหรับแก้ปัญหา และเยียวยาผลกระทบโรคโควิด-19 ดังนั้น สศช.ต้องวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะความคุ้มค่าในการลงทุนและจัดลำดับความสำคัญ และอาจจะพิจารณาเป็นรายโครงการที่เห็นว่าจำเป็นต้องทำเพื่อให้ต่อเนื่องกับทางคู่เฟสแรก

@เปิดรถไฟฟ้า สีน้ำเงินและสีเขียว วิ่งเพิ่มอีก 36.2 กม.

สำหรับรถไฟฟ้านั้น ปี2562 ต่อเนื่อง 2563 มีการเปิดให้บริการรวม 3 สาย ได้แก่ สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค(หลักสอง) และเตาปูน-ท่าพระ ,สายสีเขียวต่อขยาย เปิดช่วงหมอชิต-วัดพระศรมหาธาตุ รวม 36.2 กม. ทำให้ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าในกทม.และปริมณฑล เปิดให้บริการแล้ว159 กม.

ส่วนรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะต้องเร่งรัดในปี 2564 คือ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต 26.3 กม. สัญญา 1 งานโยธา สถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง คืบหน้า 99.80% (ล่าช้า 0.20%) สัญญา 2 งานโยธาทางรถไฟ บางซื่อ-รังสิต เสร็จแล้ว สัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าเครื่องกลและตู้ถไฟฟ้า ผลงาน 83.72% (ล่าช้า 16.28%)

ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) คาดว่าสายสีแดงจะเสร็จปี 2564 และเปิดทดลองเดินรถได้

ทั้งนี้ นโยบายใหม่ ต้องการให้เปิดPPP สายสีแดง ดึงเอกชนลงทุนเดินรถและก่อสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต - ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา 14.80 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช 5.70 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาทและ สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง 25.90 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาm

ตามการศึกษาของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ระบุว่า นอกจากเอกชนจะต้องลงทุนงานโยธาส่วนต่อขยายแล้ว จะต้องจ่ายคืนค่างานเดินรถเดิมที่รฟท.ลงทุนไปแล้ว แลกกับสิทธิ์เดินรถ 30 ปี โดยรฟท.ได้ศึกษาพบว่า มีข้อดี คือทำให้รฟท.ประหยัดไม่ต้องลงทุนก่อสร้างเพิ่ม 64,691 ล้านบาท ขณะที่จะมีผลตอบแทน/ส่วนแบ่งรายได้ กำหนดจากการเดินรถ การพัฒนาพื้นที่ 28 สถานีตามแนวสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ TOD

“มุ่งหวังว่า รูปแบบ PPP สายสีแดงนี้จะลดภาระหนี้ ไม่ก่อหนี้เพิ่ม สอดคล้องกับแผนฟื้นฟูรฟท. ที่มีหนี้กว่า 167,824 ล้านบาทในปัจจุบัน”

ส่วนโปรเจ็กต์ข้ามชาติ อย่าง โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท งานโยธา 14 สัญญา วงเงินประมาณ 110,241 ล้านบาท ก่อสร้างไปแล้วเพียง 2 สัญญา อีก 9 สัญญารอลงนาม ซึ่งติดปัญหา EIA ช่วงสถานีอยุธยา อยู่ระหว่างหารือกับกรมศิลปากรเพื่อสรุปรูปแบบสถานี และผลักดัน EIA ช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมา ขออนุมัติ สผ.ต่อไป

ส่วนสัญญา 2.3 งานวางราง ระบบการเดินรถ อาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ วงเงิน 50,633 ล้านบาท คาดว่าจะเซ็นสัญญากับฝ่ายจีนได้ในเดือน ต.ค.นี้

ด้านการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดินหน้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 34.50 กม. ผลงานรวมคืบหน้า 57.53% แบ่งเป็นงานโยธา ก้าวหน้า 60.31% งานระบบไฟฟ้าและเดินรถ ก้าวหน้า 53.91% เป้าหมายเปิดเดินรถปี 2565

สายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) 30.40 กม. ผลงานรวมคืบหน้า 57.90% แบ่งเป็นงานโยธา ก้าวหน้า 60.94% งานระบบไฟฟ้าและเดินรถ ก้าวหน้า 53.51% เป้าหมายเปิดเดินรถปี 2565

ขณะที่ ส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี 3 กม. และสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว 2.60 กม. รฟม.ยังอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเสนอร่างสัญญาร่วมลงทุนฯฉบับแก้ไข

@เซ็นสัญญา สายสีส้ม กว่าแสนล.ช่วยกระตุ้นศก.และจ้างงาน

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งรฟม.อยู่ระหว่างเปิดประมูลร่วมลงทุน PPP Net Cost ก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวม 128,128 ล้านบาท คาดว่าจะได้เซ็นสัญญาในต้นปี 2564 ซึ่งจะเป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเกิดการจ้างงานได้แน่นอน

@ทล.อัดลงทุน ต่อมอเตอร์เวย์เอกชัย-บ้านแพ้ว และPPP สายนครปฐม-ชะอำ

โครงสร้างพื้นฐานทางถนนนั้น กรมทางหลวง(ทล.) ผลักดัน3 โครงการ ได้แก่ มอเตอร์เวย์ (M82) ต่อขยาย ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 15 กม. ขณะนี้ออกแบบรายละเอียดและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เสร็จแล้ว ค่างานโยธา 20,000 ล้านบาท ซึ่งทล.จะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์มาก่อสร้างเอง คาดว่าจะเสนอครม.และเปิดประมูลในเดือนต.ค. 2563เริ่มก่อสร้างในปี 2564-2566 แล้วเสร็จในปี 2567

ส่วนงานระบบบริหารและบำรุงรักษา (O&M) ตั้งแต่ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กม. วงเงิน 1,850 ล้านบาท จะลงทุนร่วมเอกชน (PPP Gross Cost) จะสรุปผลศึกษา PPP เสนอคมนาคมในต.ค. 2563 เพื่อเสนอคณะกรรมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) และครม.ในช่วงก.พ. 2564 และเปิดประมูลได้ในส.ค. 2564 ติดตั้งปี 2565-2567 ดำเนินการสัญญา ปี 2567-2596 ระยะเวลา 30 ปี

มอเตอร์เวย์ (M8) สาย นครปฐม – ชะอำ ระยะทาง 109 กม. วงเงินลงทุน 79,006 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานโยธา 55,805 ล้านบาท ค่างานระบบ 4,014 ล้านบาท ค่าควบคุมงาน 897 ล้านบาท ค่าเวนคืน 18.290 ล้านบาทเนื่องจากมีปัญหาอุปสรรคและประชาชนยังคัดค้านการเวนคืน ดังนั้นต้องเร่งแก้ไข

โครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่เชื่อมต่อสามแยกวังมะนาวกับทางหลวงหมายเลข 3510 ที่บริเวณอ.หนองหญ้าปล้อง ปรับจาก 3 แยกวังมะนาวและ 4 แยกวังมะนาว ซึ่งจะมีการก่อสร้างถนนใหม่ขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 14.8 กม. วงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท นั้น ทล.จะศึกษาสำรวจและออกแบบรายละเอียดในปี 2564 และจะตั้งงบประมาณก่อสร้างในปี 2566 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี

@ทอท.และทย. ทุ่มขยายสนามบิน ทั่วปท.รองรับการบินฟื้นปี 65

สำหรับแผนพัฒนาขนส่งทางอากาศระยะ15 ปี (2562-2576) ในการเพิ่มขีดความสามารถรองรับเที่ยวบินที่1.2 ล้านเที่ยวบิน ซึ่งจะมีผู้โดยสารเข้ามาถึง240 ล้านคน/ ปี

ซึ่ง การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับชอบ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. และกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ยังดำเนินการไปตามแผนแม่บท และนโยบายของรัฐบาล โดย. ทอท. เตรียมลงนามสัญญากับผู้รับจ้าง โครงการงานจ้างก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินประมาณ 21,794 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จในปี2567

ส่วนโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารส่วนต่อ ขยายด้านทิศเหนือ(North Expansion) มูลค่า 42,000 ล้านบาท ได้เสนอไปยัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ​(สศช.) เพื่อพิจารณาแล้วสำหรับการพัฒนาดอนเมืองเฟส 3 มูลค่า 37,590 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ซึ่งตามแผนจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2569

สำหรับสนามบินภูมิภาคในความรับผิดชอบของทย. จำนวน 29 แห่ง “ถาวร เสนเนียม”รมข.คมนาคม ยืนยันเดินหน้า แผนก่อสร้างขยายขีดความสามารถเต็มสูบ ...ไม่ชะลอ ไม่เบรก ทั้งนี้ เนื่องจากตามที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาตา)คาดว่า โรคโควิดจะยุติในอีก 2-3 ปี หรือในปี2565-2566 สถานการณ์โลก การบินการเดินทางต่างๆ จะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนปี 2562. และอีก2ปีต่อไป หรือปี2568 ทุกอย่างจะเป็นปกติ ดังนั้น แผนการก่อสร้างขยายศักยภาพสนามบิน ทย. ทั้งหมดจะแล้วเสร็จพอดีกับที่ การบินจะกลับมาเติบโตตามปกติ

โดยในปี 2564 กรมท่าอากาศยานเสนอของบประมาณ 5,800 ล้านบาท โดย มีแผนลงทุนก่อสร้างขยายสนามบินราว 3,992.14 ล้านบาท เช่น ก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่งพร้อมระบบไฟฟ้าสนามบินสนามบินบุรีรัมย์ และตรัง. เป็นต้น ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ ที่อยู่ระหว่างศึกษา ได้แก่ มุกดาหาร นครปฐม พัทลุง สตูล บึงกาฬ พะเยา และกาฬสินธุ์. และการใช้ประโยชน์พื้นที่สนามบินตาก หัวหิน เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา.

@ดันปิดจ๊อบประมูล แหลมฉบังเฟส 3

ด้านคมนาคมทางน้ำ จะสามารถสรุปผลการประมูลโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ในปี 2563 และเสนอครม.เห็นชอบได้ ขณะที่โครงการมีงบประมาณโครงการ 114,046.93 ล้านบาท แบ่งการลงทุนเป็น 2 ส่วนคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ลงทุนเอง 53,489.58 ล้านบาท เช่น งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานพร้อมจัดหาและติดตั้งเครื่องมือยกขนหลัก และเอกชนลงทุน 60,557.35 ล้านบาท

นอกจากนี้ ท่าเรือแหลมฉบัง ยังมีโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Single Rail Transfer Operation) ที่จะประมูลจัดหาเครื่องมือยกขน วงเงิน 913.780 ล้านบาท

ส่วนกรมเจ้าท่า จะมีการเพิ่มประสิทธิภาพ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น พัฒนาท่าเรือเกียกกาย ท่าบางโพ รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนาท่าเรือเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) และการขุดลอกร่องน้ำเพื่อการขุดลอกฟื้นคืนสภาพร่องน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง สำหรับการพัฒนาสถานี/เรือไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยา คลองแสนแสบ โดยนำร่องพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ท่าเรือพระราม 5 ท่าเรือพระราม 7 ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้มีความทันสมัย ปลอดภัย หรือที่เรียกว่า ท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของกรมเจ้าท่า (MD digital Service) และการเชื่อมโยง Data Logistic Chain และโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย (Smart Community)

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อหว่านเม็ดเงินเข้าระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจ ในยุค ที่โควิดระบาด และประเทศมีข้อจำกัดมากมายในการใช้จ่ายงบประมาณ ขณะที่เศรษฐกิจก็ตกต่ำ GDP ติดลบ...อาจจะยาก แต่เชื่อว่า จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ไม่มากก็น้อย ...

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2020 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

UNIQ ลั่นยื่นประมูลทุกโครงการใหญ่ภาครัฐชิงเค้กกว่าแสนลบ.หลังตุน backlog-งานรอเซ็นฯกว่า 2.9 หมื่นลบ.
ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday August 6, 2020 11:59 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย ประธานกรรมการ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมพร้อมเข้าประมูลงานโครงการขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐทุกโครงการที่จะทยอยเปิดประมูลออกมา โดยคาดว่าหลังจากนี้จะมีปริมาณงานที่จะเปิดประมูลมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท อาทิ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ท่าเรือแหลมฉบัง และ อื่นๆ

ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog) มูลค่าราว 17,000 ล้านบาท ได้แก่ งานโครงการรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าสายสีส้ม และรถไฟฟ้าสายสีแดง ขณะเดียวกันบริษัทยังมีงานโครงการที่ชนะการประมูลและอยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาอีกมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีต่อจากนี้

ขณะที่บริษัทคาดว่ารายได้ในปีนี้จะยังทรงตัว จากปีก่อนที่มีรายได้ 12,137.94 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมางานโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่ออกมาค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหลังจากนี้จะมีงายภาครัฐทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง

"ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารายได้ของบริษัททรงตัวอยู่เท่าๆเดิมเนื่องจากงานโครงการใหญ่ๆของภาครัฐที่ออกมาค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามหากงานของภาครัฐออกมามากขึ้น และบริษัทสามารถประมูลงานมาได้ก็จะช่วยเสิรมให้มีการเติบโตของรายได้มากขึ้นด้วย"นายประสงค์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2020 11:56 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
พลิกโฉมย่าน “สถานีรถไฟขอนแก่น” พัฒนามิกซ์ยูสศูนย์กลางธุรกิจรับไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 - 17:25 น.


ฟังเสียงขอนแก่นเมืองต้นแบบTODเด้อค่ะเด้อ!
*ชู “สถานีรถไฟ”ตัวแทนภาคอีสาน
*เปิดแผนพัฒนาพื้นที่อสังหา 8โซน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2666920536862781


แผนพัฒนา TOD ต้นแบบเมืองขอนแก่น
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
7 สิงหาคม 2563
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 63 ที่ผ่านมา มีการรับฟังความคิดเห็น โครงการพัฒนาเมืองตามหลัก TOD นำร่องในเขตพื้นที่เมืองขอนแก่น


ผมเลยขอมาสรุปรายละเอียดโครงการให้เพื่อนๆฟังหน่อยครับ
https://www.youtube.com/watch?v=dIQJfZb78UA

ใครอยากดูคลิบรายละเอียดโครงการได้ตามลิ้งค์นี้ครับ

วันนี้เรามาดูรายละเอียดจากการศึกษาโครงการ TOD ขอนแก่นกันหน่อย

- TOD คืออะไร

TOD คือการพัฒนาเมืองตามการจุดศูนย์กลางคมนาคม เช่น สถานีรถไฟ ท่าเรือ สถานีขนส่ง ซึ่งจะคล้ายกับการพัฒนาเมืองในสมัยก่อน ยุคที่มีสถานีรถไฟเป็นการขนส่งหลัก ทำให้เราเกิดเมืองเป็นกลุ่มก้อน ตามสถานีต่างๆ ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า

แต่ในยุคนั้นก็ขาดการวางผังเมืองที่ดี และไม่ได้พัฒนาเป็นระบบ จึงทำให้ไม่สามารถรองรับการพัฒนา ในอนาคตได้

รวมไปถึงในยุคถัดไป เราได้พัฒนาทางถนนเป็นหลัก จึงทำให้เกิดเมืองตามถนน ตลอดเส้นทาง และกระจายการเจริญเติบโตของเมืองแบบไร้การควบคุม

แต่ในปัจจุบันเรากลับมาโหมพัฒนาระบบรางอีกครั้ง ซึ่งเราต้องการรีดศักยภาพจากระบบรางให้เต็มที่ เราจึงต้องมีการวางแผน และผังเมืองเพื่อพัฒนาเมืองไปคู่กับสถานีรถไฟ

- โครงการเมืองนำร่องตามโครงการ TOD ได้คัดเลือก 3 สถานีมาเป็นสถานีนำร่องคือ

1. สถานีอยุธยา ซึ่งจุดศูนย์กลางเป็นสถานีของโครงการรถไฟทางคู่ (สายเดิม) และโครงการรถความเร็วสูงสายอิสานช่วงที่ 1
2. สถานีพัทยา ซึ่งจุดศูนย์กลางเป็นสถานีรถไฟทางคู่(สายเดิม) และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
3. สถานีขอนแก่น ที่เราจะพูดในโพสต์นี้ ซึ่งจุดศูนย์กลางเป็นสถานีรถไฟทางคู่ (สายใหม่) และโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอิสานช่วงที่ 2

พื้นที่พัฒนา TOD เมืองขอนแก่น

จะอยู่บริเวณรอบสถานีรถไฟขอนแก่น

- ทางด้านเหนือ ติดถนนศรีจันทร์ ติดกับเซ็นทรัลขอนแก่น และศาลหลักเมืองขอนแก่น
- ทิศใต้ ติดถนนบ้านกอก
- ทิศตะวันออก ติดถนนวุฒาราม และถนนประชาสำราญ
- ทิศตะวันตก ติดมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะมีการก่อสร้างถนนใหม่ตามผังเมือง เชื่อมถนนบ้านกอก และถนนศรีจันทร์

อีกจุดสำคัญของโครงการนี้คือ แกนโครงการรถไฟฟ้า LRT สายสีแดงขอนแก่น ซึ่งจะวิ่งบนถนนมิตรภาพ คู่ขนานกับโครงการรถทางคู่

ซึ่งภายในพื้นที่ จะมีการออกแบบการใช้พื้นที่ให้มีแกนเขียว เพื่อเชื่อมโยงเมืองและส่วนต่างๆของเมืองด้วยสวน

- ภายในพื้นที่ TOD แบ่งเป็น 10 Function คือ

1. ย่านพื้นที่การใช้งานตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟ
2. ย่านการพัฒนาการศึกษาและศูนย์วิจัย
3. พื้นที่โล่งเพื่อการนันทนาการ (Green Belt)
4. ย่านการพัฒนานวัตกรรมและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
5. ย่านศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า (MICE)
6. ย่านการพัฒนาผสมผสาน
7. ย่านสำนักงาน
8. ย่านที่อยู่อาศัย
9. ย่านการค้าระดับภูมิภาค
10. ย่านสถาบันการศึกษา

ซึ่งจะมีการพัฒนาพื้นที่จะมีการก่อสร้างถนนภายในพื้นที่เพื่อเชื่อมและเปิดพื้นที่ภายใน โครงการ TOD ซึ่งจะมีการพัฒนาทางจักรยานร่วมกับถนนภายในพื้นที่ด้วย

นอกจากนั้นจะมีสะพานลอย เพื่อรองรับทางจักรยาน และคนเดินถนน รวมถึงทำ Skywalk เชื่อมจากสถานีรถไฟ ไปสู่แกนถนนมิตรภาพ และเชื่อมกับโครงการ LRT ขอนแก่น

อีกจุดที่น่าสนใจของโครงการนี้คือมีการจัดรูปแบบอัตลักษณ์ของพื้นที่

โดยใช้ลายของผ้าไหม ทั้งอุปกรณ์ และรูปแบบอาคาร เช่น ไม้นั่ง กรอบป้าย ฟาซาดอาคาร และป้ายรถเมล์ภายในพื้นที่ เพื่อสร้างรูปแบบอัตลักษณ์เดียวกันของพื้นที่

ในพื้นที่จะแบ่งเฟส การพัฒนาเป็น 4 เฟส คือ
- ระยะเร่งด่วนในปี 2564-2565
- ระยะสั้น ในปี 2566-2570
- ระยะกลาง ในปี 2571-2575
- ระยะยาว ในปี 2576-2580

—————————
ภายในโครงการจะมีการทำระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อจากพื้นที่ TOD ไปสู่จุดต่างที่สำคัญภายในเขตเมืองขอนแก่น เช่น สถานีขนส่ง, บึงแก่นนคร, ม.ขอนแก่น, หอประชุม มข., ม.ราชมงคล และตลาดจอมพล ทั้งหมด 6 สาย ซึ่งบางสายเป็นสายที่รถเมล์ RTC อยู่แล้ว ได้แก่

1. สนามบิน-สถานีรถไฟ-ศรีจันทร์
2. บึงหนองโคตร-สถานีรถไฟ-ประชาสาราญ
3. สถานีรถไฟ-จอมพล
4. สถานีรถไฟ-รอบเมือง
5. แก่นนคร-สถานีรถไฟ-สถานีขนส่งแห่งที่ 3
6. ม.ขอนแก่น-สถานีรถไฟ

พร้อมกับการทำป้ายรถเมล์ที่มีอัตลักษณ์ ของพื้นที่ให้เหมาะสม

—————————
จากในแผนที่เห็น ขอชื่นชมว่าสวยและเป็นรูปแบบที่ดีกมาครับ เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องของประเทศ ถ้าเมื่อไหร่โครงการรถไฟความเร็วสูง เต็มเส้น คงจะพัฒนาไปอีกขั้นเลยครับ

แต่อยากจะเพิ่มรายละเอียดอีกจุดหนึ่งคือ ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการทำอุโมงค์ทางลอดใต้สถานีจากถนนรื่นรมย์ ไปออกบนถนนเส้นใหม่หน้าสถานีเพื่อจะไปเชื่อมต่อกับถนนมิตรภาพ เพื่อเปิดการจราจรเชื่อม 2 ด้านของสถานี
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/992164877888658
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2020 12:01 am    Post subject: Reply with quote

แผนพัฒนา TOD นำร่อง เมืองอยุธยา เนื่องจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เช่น รถไฟความเร็วสูง และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
10 สิงหาคม 2562

วันนี้ขอเอาข้อมูลการศึกษา โครงการพัฒนา TOD นำร่อง เมือง อยุธยา ซึ่งเป็นหนึ่งใน 2 เมืองที่ถูกเลือกให้เป็นเมืองนำร่องการพัฒนา TOD ซึ่งอีกเมืองคือ TOD เมืองขอนแก่น

สำหรับคนที่ไม่รู้จัก TOD จะขออธิบายให้ฟังง่ายๆ อย่างนี้ครับ

TOD คือการพัฒนาเมือง โดยเอาจุดศูนย์กลางทางการขนส่ง เป็นศูนย์กลางเมือง และมีการจัดผังเมืองเฉพาะให้เหมาะสมกับการใช้งานและพัฒนาของเมืองในอนาคต

ตัวอย่างง่ายๆ และลูกทุ่งหน่อย ก็คือการที่มีเมืองเกิดขึ้นตามสถานีรถไฟ ส่วนมากจะมีตลาด และหมู่บ้านเกิดขึ้นเป็นลักษณะรัศมี ออกจากตัวสถานีรถไฟ ซึ่งตอนนี้จะเห็นได้เฉพาะสถานีขนาดเล็กมากๆ เพราะ ถ้าเป็นสถานีใหญ่ มีถนนใหญ่เข้าถึง ก็จะเปลี่ยนลักษณะของเมืองไปเป็นการเจริญตามแนวถนนแทน

Concept การพัฒนา TOD เมืองอยุธยา

**เมืองมรดกโลก**

-พัฒนาเพื่อเกิดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
-ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมนุม
-เชื่อมโยงระหว่างชุมชนเก่า เข้ากับระบบขนส่งมวลชน
-เชื่อมโยงการเดินทาง ระหว่าง รถ ราง เรือ
-การใช้งานที่ดินภายในย่ายอย่างเหมาะสม

ซึ่งมีการปรับปรุงผังเมืองอยุธยาใหม่ที่กำลังจะประกาศไวๆนี้ จะ เน้นการให้ความสำคัญกับพื้นที่โดยรอบสถานี ภายในระยะ 500 เมตร ซึ่งจะเน้นการพัฒนา อาคารในฝั่งสถานี เป็นหลัก เพื่อไม่ให้กระทบกับแหล่งโบราณสถาน ในเกาะเมืองอยุธยา

การขนส่งที่จะผ่านสถานีรถไฟอยุธยา ปัจจุบัน คือรถไฟเดิมทุกศักดิ์ จะจอดที่สถานีอยุธยา

ในอนาคต จะมีรถไฟความเร็วสูงสายอิสาน และ เหนือ ผ่านสถานีนี้ด้วยเช่นกัน อีกระบบที่มีความสำคัญ คือรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งจะเป็นตัวซอยส่งคนในระยะใกล้ ที่ลงจากรถไฟความเร็วสูง มาต่อรถไฟชานเมืองอีกที

ทางด้านถนน ก็จะมีแผนการพัฒนามอเตอร์เวย์สายเหนือ บางปะอิน-นครสวรรค์ และทางด่วนอุดรรัถยา ส่วนต่อขยาย วงแหวนตะวันตก-บางปะหัน

ซึ่งอยุธยาก็จะเป็นทางแยกของทางรถไฟ และทางผ่านของมอเตอร์เวย์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญอีกจุดหนึ่งเลย

รูปแบบการพัฒนา TOD แบ่งเป็น 3 ระดับคือ

1.การพัฒนาแบบปรกติ (ตามีตามเกิด)

หมายถึง ภาครัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดิน ให้ชาวบ้านและเองชนทำกันเอง รัฐเพียงมีหน้าที่ทำสถานีไปลงบริเวณนั้น แต่พื้นที่โดยรอบไม่ได้รับการพัฒนาอะไรเพิ่มเติมอย่างเป็นระบบ

ซึ่งรูปแบบนี้คือการทำงานแบบเดิมๆของระบบราชการไทยทำกับทุกที่ ตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้า ยันสถานีบขส เลยครับ ดูสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงรังสิตดูก็ได้

2.การพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป

จะมีการจัดการระบบขนส่งมวลชนจากสถานีรถไฟ ไปถึงแหล่งท่องเที่ยว และอุทยานประวัติศาสตร์ ต่างๆ พร้อมทำระบบเชื่อมต่อ รถ เรือ รถไฟ

มีการเพิ่มถนนเข้าถึงโครงการ

พัฒนาพื้นที่พาณิชย์ ย่านที่อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่ TOD

3.การพัฒนาขั้นสุด

มีการเชื่อมโยงการเดินทางแบบสมบูรณ์แบบ พร้อมทำสะพานครเดินข้ามแม่น้ำจากหน้าสถานี เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ เข้ากับตัวสถานีได้ง่ายยิ่งขึ้น

สร้างสถานีขนส่งย่อยอยู่ใกล้สถานีรถไฟ เพื่อความสะดวกในการเดินทางของผู้โดยสารเปลี่ยนรถ

ทำจุดจอดแล้วจร และพื้นที่จอดรถสาธารณะ ให้พร้อมเพื่อความสะดวกในการเดินทางต่อ

พัฒนาพื้นที่โดยรอบให้มีการพัฒนาเป็นศูนย์ประชุมและสัมมนา เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม MICE

พัฒนาภูมิทัศน์ และทางเดินในการเดินทางระหว่างสถานีเข้าสู่ชุมนุมเดิม และพื้นที่ท่องเที่ยว

จริงๆ ผมว่าทุกคนก็คงอย่างเห็นในรูปแบบที่ 3 กันทั้งนั้น แต่ก็ต้องไปดูความต้องการของคนพื้นที่ เพราะการทำมาก ก็จะหมายถึงมีผลกระทบมาก เช่นกันครับ

ในรายละเอียดการศึกษา ก็ได้นำตัวอย่างของสถานีรถไฟ ที่ได้พัฒนา TOD และเป็นรูปแบบสถานี ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ประวัติศาสตร์เหมือนกันกับอยุธยา ได้แก่

1. สถานีนากาโน่
2. สถานีนาระ
3. สถานีฮิเมจิ

ซึ่งทั้ง 3 สถานีเป็น Case Study ที่น่าสนใจมากครับ

ใครที่อยากได้รายละเอียดของสไลด์นี้ โหลดได้ในลิ้งค์นี้ครับ
http://www.thailandtod.com/files/Ayutthaya/250762/1.pdf
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/718483315256817/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2020 11:27 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แผนพัฒนา TOD นำร่อง เมืองอยุธยา เนื่องจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เช่น รถไฟความเร็วสูง และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
10 สิงหาคม 2562



รายละเอียดแผนพัฒนา TOD ต้นแบบสถานีอยุธยา “Future of history
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
10 สิงหาคม 2562



วันชวนเพื่อนๆมาดูรายละเอียดโครงการพัฒนาเมือง ตามหลัก TOD (เมืองศูนย์กลางคมนาคม) ซึ่งวันนี้ได้มีการชี้แจงรายละเอียด และรับฟังความคิดเห็น จากประชาชน และนักลงทุนกันไป

ผมเลยขอเอารายละเอียดจากสไลด์ประชาสัมพันธ์ของโครงการ TOD สถานีอยุธยามาสรุปและอื่นๆเล่าให้เพื่อนๆ ฟังครับ

อย่างที่เคยโพสต์เรื่อง TOD ก่อนหน้านี้ไป ว่าประเทศเรามีแผนการพัฒนา TOD ในเมืองนำร่อง 3 เมือง คือ

1.ขอนแก่น

2.อยุธยา

3.พัทยา

ซึ่งวันนี้เป็นคิวของการชี้แจงรายละเอียด และปิดโครงการศึกษาเพื่อออกแบบ และวางแผนการพัฒนา TOD อยุธยา

เริ่มต้นจากเขตพื้นที่ในการศึกษา TOD สถานีอยุธยา

แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. ส่วนเกาะเมืองอยุธยา จะอยู่ในพื้นที่เมืองอยู่อาศัยบนเกาะเมือง

ทิศเหนือ ชนถนนป่ามะพร้าว
ทิศใต้ ชนถนนโรจนะ
ทิศตะวันตก ชนถนนชีกุน
ทิศตะวันออก ติดแม่น้ำป่าสัก

ซึ่งส่วนในเกาะเมืองแทบไม่ได้มีการมาก่อสร้างอะไร นอกจาะจะทำการเชื่อมโยงโดยใช้สะพานข้ามแม่น้ำตรงจากสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยามาโดยตรง

2. ส่วนเทศบาลเมืองอโยธา (ด้านตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก)

ทิศเหนือ ชนวัดอโยธยา (วัดเดิม) ไปบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก
ทิศใต้ ชนถนนโรจนะ
ทิศตะวันตก ชนแม่น้ำปาสัก
ตะวันออก ชนถนนเทศบาลเมืองอโยธา

ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดหลักในการพัฒนาโครงการ TOD โดยใช้หลักการเปิดพื้นที่ปิด และจัดรูปที่ดิน สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ที่ดินตาบอด

—————————
Concept การออกแบบการใช้งาน พื้นที่ TOD สถานีอยุธยา

- การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมมรดกโลก
- ศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคม ระดับจังหวัด และภูมิภาค
- เมืองน่าอยู่

ซึ่งจะรวมเป็น Concept “Future of History”

เป้าหมาย

- เชื่อมต่อสถานที่ท่องเที่ยวด้วยการเดินเท้า, จักรยาน และขนส่งสาธารณะ
- สร้างทางเดินเท้า ตามมาตรฐาน Universal Design พร้อมหลังคากันแดดกันฝน
- มีทางเดินเชื่อม 2 ฝั่งแม่น้ำ
- มีพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอ พร้อมกับครอบคลุมด้วยเส้นทางจักรยาน
- ออกแบบสิ่งก่อสร้างใหม่ให้กลมกลืนกับของเก่า

—————————
แผนการพัฒนาโครงการ
จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
- สาธารณูปโภค ที่ภาครัฐลงทุน ในระยะสั้น ซึ่งทำในปี 2565-2570 ได้แก่ การพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบส่งไฟฟ้า, พัฒนาโครอข่ายถนนในพื้นที่, พัฒนาพื้นที่สีเขียว และการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนน

- การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ แบ่งเป็น 3 ระยะคือ

1. ระยะสั้น ในปี 2566-2570 ในพื้นที่จัดรูปที่ดินใหม่ มีพื้นที่พัฒนาทั้งหมด 274,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่อาคารสำนักงาน ห้างร้าน และศูนย์ประชุม

2. ระยะกลาง ในปี 2571-2575 เป็นพื้นที่พักอาศัยและ โรงแรม

3. ระยะยาว ในปี 2576-2580 เป็นพื้นทื่ริมถนนโรจนะ พัฒนาเป็นเป็นพื้นที่พักอาศัยและ โรงแรม

————————

ซึ่งจุดน่าสนใจของการพัฒนาพื้นที่ TOD นี้คือ

1. การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสำหรับคนข้าม เชื่อมจากท่าน้ำด้านฝั่งสถานีรถไฟอยุธยา ข้ามไปต่อกับหัวถนนบางเอียน

โดยจะเป็นการเชื่อมต่อ จากฝั่งด้านตะวันออกของสถานีรถไฟ มาด้านหน้าหน้าสถานี และข้ามแม่น้ำป่าสักเข้าเกาะเมืองได้โดยตรง

เพื่อเป็นการเชื่อมการพัฒนาเมือง และการท่องเที่ยว

2. การพัฒนาพื้นที่ปิด และตาบอดด้านตะวันออกของสถานี ซึ่งในปัจจุบันด้านหลังสถานีรถไฟ ให้เป็นป่าหญ้าขาดการพัฒนา และมูลค่าของที่ดินต่ำ

ซึ่งจะพลิกพื้นที่หลังสถานีรถไฟ เป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาพื้นที่ TOD เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายรถโดยสารสาธารณะ และย่านการค้าและบริการของเมือง TOD

ซึ่งจะมี สัญลักษณ์หลักเป็นโดมประตู คล้ายประตูวังโบราณ กลางวงเวียน ซึ่งเป็นรูปแบบ ศิลปะไทยโมเดิร์น ที่สวยมาก

3. พัฒนาพื้นที่ด้านหน้าสถานีในปัจจุบันให้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร (Transit Hub) ท่าเรือโดยสาร เรือข้ามฟาก และจุดข้ามสะพานไปยังเกาะเมือง ซึ่งพัฒนาในพื้นที่รถไฟปัจจุบัน

————————
การพัฒนาพื้นที่ใน TOD จะเน้นการดึงศักยภาพของที่ดินเดิมให้เต็มศักยภาพ โดยเน้นที่การจัดรูปที่ดิน และการทำถนนเชื่อมโยงเข้าพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยการทำถนนรูปแบบตาราง มีแนวถนนหลัก และถนนรอง เช่น

- การสร้างถนนหลักของโครงการ กว้าง 25 และ 22 เมตร ขนาด 4 เลน พร้อมเลนจักรยาน และฟุตบาทขนาดใหญ่ จากถนนเทศบาลอโยธยา เข้ามาถึงวงเวียนด้านตะวันตกของสถานี

- การสร้างถนนรองของโครงการ กว้าง 13.50 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร พร้อมเลนจักรยาน และฟุตบาทขนาดใหญ่ ในด้านแกนรอง

- ปรับปรุงถนนเดิมในพื้นที่

———————————
ที่มากกว่านั้นคือ ในโครงการก็มีการพัฒนาเส้นทางรถสาธารณะ Feeder เชื่อมโยง เข้าสู่พื้นที่ TOD ทั้งหมด 6 สาย คือ

1. สถานีรถไฟ-นิคมโรจนะ
2. ตลาดเจ้าพรหม-สถานีรถไฟ-ศูนย์ราชการ
3. รอบเกาะเมืองอยุธยา
4. ตลาดเจ้าพรหม-อุทยานประวัติศาสตร์-โรงพยาบาลอยุธยา
5. ตลาดเจ้าพรหม-ราชภัฏอยุธยา
6. สถานีรถไฟ-ตลาดน้ำอยุธยา

ซึ่งขอเลยว่าทำเถอะครับ มีประโยชน์กับคนในเมืองแน่ๆ
————————
ผมเห็นภาพ และรายละเอียด บอกเลยว่าสวย และควรทำมากๆ ใคนจะค้านมาดูรายละเอียดให้ดีก่อนนะครับ เค้าตั้งใจพัฒนาเมืองจริงๆ

ถ้าไม่ทำตอนนี้ อยุธยาคงไม่มีโอกาสจะพลิกเมืองอีกแล้วล่ะครับ เพราะถ้าไม่มีโครงข่าย และปล่อยให้พัฒนาแบบไม่มีแนวทาง จะเกินเยียวยาแล้วครับ


https://www.youtube.com/watch?v=ELEGivS-tpc
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/994510920987387

ชู 5 โซนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟอยุธยา
*บูมเศรษฐกิจ-ดันเที่ยวเมืองมรดกโลกเก๋ๆ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2675820589306109
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2020 10:06 am    Post subject: Reply with quote

สนข.ลุยพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟอยุธยา

11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:52 น.

11 ส.ค. 2563 นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สนข. เปิดเผยภายหลังงานสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน และการสัมมนาเพื่อลงทุน สรุปผลในพื้นที่เมืองต้นแบบ : จ.พระนครศรีอยุธยา โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง “TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้”ว่า จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นอีกพื้นที่ที่มีศักยภาพและความพร้อมพัฒนาเป็น เมืองมรดกล้ำค่า แหล่งอุตสาหกรรมชั้นนำ อู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด


อย่างไรก็ตามส่งผลให้ จ.พระนครศรีอยุธยาเป็น 1 ใน 3 เมืองที่ได้รับคัดเลือกเป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา TOD และสถานีรถไฟอยุธยาได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน TOD ประเภทศูนย์กลางเมือง (Urban Center: UC) จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ ด้วยความสำคัญของสถานีรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่ในรัศมี 500 เมตรโดยรอบสถานีเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทส่งเสริมการพัฒนาเมือง

ทั้งนี้แนวคิดพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟอยุธยา ส่งเสริมเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง เพื่อพัฒนาพื้นที่เมืองท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมระดับโลก ใช้ประโยชน์ที่ดินผสมผสานและสร้างสรรค์กิจกรรมภายในเมืองที่เป็นเอกลักษณ์
เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่เกาะเมือง และฝั่งสถานีรถไฟด้วยสะพานทางเดินข้ามแม่น้ำ ท่าเรือข้ามฟาก และระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เชื่อมพื้นที่สาธารณะภายในเมืองด้วยโครงข่ายพื้นที่สีเขียว ทางจักรยาน ทางเท้า และทางยกระดับ วางแผนและบริหารจัดการด้วยความยืดหยุ่นและรองรับการพัฒนาในอนาคต


สำหรับแนวคิดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์พื้นที่รอบสถานีรถไฟอยุธยา แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน (ปี64-65) ระยะสั้น (66-70) ระยะกลาง (71-75) และระยะยาว (76-80) โดยพัฒนาพื้นที่ TOD เป็น 5 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 ย่านสถานีรถไฟทางคู่และสถานีรถไฟความเร็วสูง พื้นที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานีรถไฟทางคู่และสถานีรถไฟความเร็วสูง รวมถึงส่วนของอาคารสถานี อาคารสำนักงาน และที่พักของเจ้าหน้าที่

โซนที่ 2 ย่านพาณิชยกรรมรองรับการค้าและบริการขนาดใหญ่ริมถนนโรจนะ พื้นที่พัฒนาแบบผสมผสานพาณิชยกรรม รองรับการค้าและบริการขนาดใหญ่ริมถนนโรจนะ โดยมีอาคารสูงได้ไม่เกิน 30 เมตร เช่น ศูนย์การค้าหรือศูนย์ค้าปลีก อาคารสำนักงาน โรงแรม ศูนย์การประชุมสัมมนา และคอนโดมิเนียม

โซนที่ 3 ย่านผสมผสานพาณิชยกรรมรองรับศูนย์กลางการค้าและบริการท่องเที่ยว พื้นที่พัฒนาแบบผสมผสานพาณิชยกรรม รองรับศูนย์กลางการค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้สถานี เช่น ศูนย์การค้า ร้านค้าริมถนน อาคารสำนักงาน โรงแรม และอพาร์ทเมนท์ให้เช่า เพื่อบริการนักท่องเที่ยวและผู้เดินทางมาติดต่อธุรกิจ

โซนที่ 4 ย่านผสมผสานพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย พื้นที่พัฒนาแบบผสมผสานพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัย เช่น คอนโดมิเนียมระดับกลาง คอนโดมิเนียมคุณภาพสูง และศูนย์การค้าหรือศูนย์ค้าปลีก เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของชุมชนโดยรอบสถานี และ โซนที่ 5 ย่านที่พักอาศัยชั้นดี พื้นที่พัฒนาที่อยู่อาศัยชั้นดีเพื่อตอบสนองผู้อยู่อาศัย หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนอยู่อาศัยในอยุธยาระยะยาว

ทั้งนี้หากไม่มีพัฒนา TOD ทำให้เกิดปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างกระจัดกระจาย เนื่องจากขาดการวางแผนพัฒนาเมืองที่ดี ใช้ประโยชน์พื้นที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น ปล่อยทิ้งพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่ตาบอด หรือพัฒนาพื้นที่รอบศูนย์คมนาคมขนส่งเบาบางกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้เมืองขาดความกระชับ ขาดการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบ และโครงข่ายรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต สภาพจราจรหนาแน่นและใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลมากกว่าระบบขนส่งสาธารณะ ขาดระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ขาดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ ทั้งทางเท้า ทางจักรยาน และพื้นที่สีเขียวรวมทั้งเกิดปัญหามลภาวะในเมืองและคุณภาพชีวิตของคนเมืองลดลง

อย่างไรก็ตาม หากพัฒนาพื้นที่ตามหลักการ TODทำให้ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ มีประสิทธิภาพ และหลากหลาย มีระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่ชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ มีโครงข่ายพื้นที่สีเขียว ทางเท้า และทางจักรยานเชื่อมโยงพื้นที่สาธารณะ และเดินทางภายในเมือง เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่โดยรอบสถานี TOD อยุธยา ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่พักอาศัยระยะยาว อย่างไรก็ตาม สนข. จะจัดเปิดเวทีสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนในเมืองต้นแบบ จ.ชลบุรี วันที่ 14 ส.ค.63
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2020 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

บูม“บึงกาฬ” เมืองเศรษฐกิจใหม่ จี้รัฐเทลงทุนถนน-รถไฟ-สนามบิน
ออนไลนเมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 11:11 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 17
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,599 วันที่ 9 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เอกชนบึงกาฬเร่งรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง จากสะพานข้ามโขง 5 ขอรถไฟเชื่อมนครพนม ต่อถึงเลย เดินหน้าคลัสเตอร์ยาง สนามบิน ถนนสายใหม่ตรงเข้าอุดรธานี และตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

บึงกาฬขอรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมต่อเนื่อง ทั้งถนน ทางรถไฟ สนามบิน พร้อมเดินหน้าคลัสเตอร์ยางพารา และตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อบูมเศรษฐกิจ




นายเจตน์ เกตุจำนงค์ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ และประธานสหกรณ์การเกษตรเครือข่ายสภาเกษตรกรจังหวัดบึงกาฬ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า พิษโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจบึงกาฬลงกว่าครึ่ง แม้รัฐผ่อนมาตรการแต่ภาวะการค้า การลงทุน การค้าชายแดนยังไม่ฟื้น คาดต้องใช้เวลาอีกนานจึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ



ด่านชายแดนไทย-สปป.ลาวในพื้นที่ยังไม่เปิดให้ติดต่อค้าขายระหว่างกันได้ ขณะสินค้าหลักของบึงกาฬ คือ ยางพารา ซึ่งมีพื้นที่ปลูกถึง 1.2 ล้านไร่ มากสุดของอีสาน และเป็นอันดับ 6 ของประเทศ โดยมีผลผลิตปีละประมาณ 8 แสนตัน จากเกษตรกรที่เกี่ยวข้องหลายหมื่นครัวเรือน เวลานี้จึงเดือดร้อนมาก หลายรายตัดสินใจโค่นยางหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นบ้างแล้ว



บึงกาฬยังโชคดีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และเชิงนิเวศจำนวนมาก เช่น น้ำตกต่างๆ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว วัดภูทอก บึงโขงหลง ภูสิงห์ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ที่ทะยอยเข้ามาในพื้นที่หลังผ่อนคลายภายใต้มาตรฐานวิถีปกติใหม่ (นิวนอร์มอล) ช่วยให้เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเริ่มหมุนเวียนได้ระดับหนึ่ง



นายเจตน์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามบึงกาฬมีศักยภาพในการพัฒนาอยู่อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงบึงกาฬสู่เครือข่ายคมนาคมขนส่งของภูมิภาค ที่ภาครัฐควรเร่งรัดการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน หรือลงทุนเพิ่มเติมให้ครบ ประกอบด้วย

1. การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ระหว่างบึงกาฬ-เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว และโครงข่ายระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ วงเงิน 3,930 ล้านบาท ซึ่งมีการอนุมัติลงนามใน MOU ความร่วมมือของประเทศไทย-ประเทศ สปป.ลาวเรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มลงมือดำเนินการในปลายปี 2563 นี้ กำหนดแล้วเสร็จใน 3 ปี ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพโครงข่ายสะพานข้ามน้ำโขงที่มีอยู่เดิม ทำให้การคมนาคมขนส่งและการสัญจร 2 ประเทศสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น



“ทางการสปป.ลาวยังมีแผนก่อสร้างทางด่วน สายเวียงจันทน์-ฮานอย หากสามารถผนวกโครงข่ายสะพานข้ามน้ำโขงที่มีอยู่เข้าไป จะเสริมศักยภาพสะพานแห่งที่ 5 นี้เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้จากบึงกาฬข้ามไปปากซัน สามารถเดินทางไปถึงท่าเรือน้ำลึกว่งอ๋างของเวียดนาม ด้วยระยะทางเพียง 150-160 กิโลเมตร สินค้าทะเลสดๆ จากทะเลจีนใต้สามารถขนส่งถึงอีสานตอนบนได้ในครึ่งวัน ในทางกลับกันพืชผลเกษตรของไทยก็สามารถไปถึงจุดหมายรวมถึงจีนตอนใต้ได้เร็วขึ้น”



อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผุดโปรเจค500ไร่สร้าง “แลนด์มาร์ค”บึงกาฬ

เปิดเที่ยว"หินสามวาฬ"1ก.ค.นี้

เวนคืน บ้าน100หลังที่นา200แปลง ตอกเข็มสะพานมิตรภาพ ‘บึงกาฬ - บอลิคำไซ’





เรื่องอื้อฉาว! เพื่อให้ภรรยาลดน้ำหนักสามีจึงแอบใส่ในปากของเธอ...
BKK Delivery

“เนตร นาคสุข” ผู้เซ็นสั่งไม่ฟ้อง “บอส อยู่วิทยา” ยื่นหนังสือลาออกเเล้ว
2กกต.เดือดอัด“มท.1”ยันพร้อม“เลือกตั้งท้องถิ่น”
เร่งตรวจสอบสถานะเยียวยาเกษตรกรกลุ่มตกหล่น โอนเงินรวดเดียว 15,000 บาท









2.บึงกาฬสนับสนุนคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)กลุ่มจังหวัด ที่เสนอกรอ.ส่วนกลางพิจารณาข้อเสนอ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่นครพนมเลียบน้ำโขงผ่านบึงกาฬถึงหนองคาย เพื่อเชื่อมโครงข่ายทางรถไฟให้ครบ โดยต่อจากทางรถไฟสายใหม่ขอนแก่น-มหาสารคาม-มุกดาหาร-นครพนม ที่อนุมัติก่อสร้างแล้ว นอกจากนี้่ประชุมครม.สัญจรที่เพชรบูรณ์ เห็นชอบข้อเสนอกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 โครงการก่อสร้างทางรถไฟจากจังหวัดเลย-หนองบัวลำภู-หนองคาย เป็นการเติมเต็มส่วนที่ยังขาดอยู่คือ ระหว่างหนองคาย-บึงกาฬ-นครพนม จะทำให้ระบบขนส่งทางรางมีความสมบูรณ์ครบวงจร และจะทำให้การขนส่งผลผลิตยางพาราจากบึงกาฬและจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสานตอนบนออกไปสู่ตลาดได้มากขึ้น และลดต้นทุนการขนส่งได้อย่างมหาศาล



“โครงการสร้างทางรถไฟนครพนม-หนองคายนั้น จะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของจังหวัดบึงกาฬ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวน และจะเป็นสร้างระบบเครือข่ายทางรถไฟให้เต็มรูปแบบ และสำคัญที่สุดคือจะเป็นการเสริมศักยภาพของภาคอีสานตอนบน และจังหวัดตามแนวชายแดนได้ตลอดแนวชายแดน” นายเจตน์ฯกล่าว

3.การเดินหน้าสานต่อโครงการนิคมรับเบอร์ซิตี้ จังหวัดบึงกาฬ หรือ Rubber Economic Cluster โดยสามารถใช้งบประมาณจากวงเงินกู้ 4 แสนล้าน ฟื้นเศรษฐกิจและสังคมได้ เพื่อแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ เวลานี้เหลือกิโลกรัมละ 17-19 บาทเท่านั้น โครงการนี้จะใช้พื้นที่อำเภอเซกาเป็นที่ตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น หมอนยางพารา การทำน้ำยางข้น ตั้งศูนย์การทำยางแห้งด้วยการเพิ่มเทคนิคอัดรีด เพื่อลดต้นทุนลดมลภาวะด้านกลิ่น การจัดตั้งศูนย์รับรองคุณภาพน้ำยางข้นตามมาตรฐาน FSC. เพื่อให้สามารถส่งน้ำยางข้นไปขายให้ลูกค้าในรูปของน้ำยางข้นได้ เป็นการช่วยยกระดับราคายางให้สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่แข็งแกร่งขึ้น



4.แผนการศึกษาก่อสร้างสนามบินบึงกาฬในพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ เนื้อที่ 4,700 ไร่



เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงกับตกใจเมื่อเจอกับสิ่งนี้ที่สนามบิน!เธออายุ 93 แล้ว
Women'sbeauty



5. การก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินเส้นใหม่ บึงกาฬ-อุดรธานี ระยะทาง 139 กิโลเมตร เพื่อช่วยลดระยะทางจากปัจจุบันที่ต้องผ่านหนองคาย รวมระยะทางกว่า 200 กิโลเมตรลง ทำให้อุดรธานีไปถึงชายทะเลเวียดนามระยะทางเพียง 300 กิโลเมตรใกล้กว่าไปชายทะเลภาคตะวันออกเสียอีก



นายเจตน์ฯได้กล่าวอีกว่า ประการที่ 6. อยากขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล กำหนดพื้นที่จังหวัดบึงกาฬเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพื่อที่จะได้สิทธิประโยชน์ในการดำเนินด้านต่างๆ โดยได้เสนอเรื่องสู่กรอ.กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 แล้ว เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหายางพารา โดยบึงกาฬเป็นจังหวัดชายแดนแห่งเดียวที่ยังไม่ไดัรับการสนับสนุนจากรัฐ





จังหวัดบึงกาฬ ตั้งเมื่อปี 2554 โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จากจังหวัดหนองคาย ออกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่ อยู่ริมแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามคือเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 109, 110, 111 ... 121, 122, 123  Next
Page 110 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©