RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180326
ทั้งหมด:13491560
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 379, 380, 381 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/08/2020 9:00 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.กางแผน'ไฮสปีดเทรน' หนุนระเบียงผลไม้ตะวันออก
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563
วรรณิกา จิตตินรากร

Click on the image for full size

จากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ถือเป็นอีกหนึ่ง กลไกสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จึงเดินหน้าศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยาย จ.ระยอง-จันทบุรี-ตราด เพื่อผลักดันโอกาสในการขยายเมือง ส่งเสริมอุตสาหกรรม การค้า และการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

สุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน แนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ออกแบบและ ประมาณราคาค่าก่อสร้าง โดยผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้

หลังจากนั้นจะเสนอโครงการให้ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอได้ภายในปี 2564 และคาดว่าจะเริ่มจัดทำรายละเอียดเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) ในได้ช่วงปี 2565 ก่อนจัดหาผู้ลงทุน และออกแบบการก่อสร้างในปี 2567 ทดสอบรถ และเปิดให้บริการในปี 2571

ล่าสุด ร.ฟ.ท.ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการ (การประชุมใหญ่ระดับจังหวัด) ในพื้นที่ จ.ตราด เมื่อวันที่ 4-6 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า เสียงของประชาชน และภาคเอกชนส่วนใหญ่ สนับสนุนเนื่องจากเล็งเห็นว่าจะเป็นส่วน ส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลการศึกษาโครงการในเบื้องต้น จะแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนการลงทุน ทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เพียง 5% โดยหากคุ้มค่าจะต้องมี EIRR สูงถึง 12% แต่หากมองภาพรวมผลบวก ไฮสปีด สายดังกล่าวจะเข้ามาสนับสนุนการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวในพื้นที่

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า จาก การศึกษาในเบื้องต้นพบว่า หากจะมีการพัฒนาโครงการในเส้นทางระยอง-ตราด ต้องใช้งบประมาณลงทุนโครงการอยู่ที่ 1.59 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 1.01 แสนล้านบาท ค่าดำเนินโครงการ 5.73 หมื่นล้านบาท ขณะที่การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) อยู่ที่ 5.39% มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ติดลบอยู่ที่ 4.49 หมื่นล้านบาท และสัดส่วนผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย(Benefit-Cost Ratio หรือ B/C Ratio) อยู่ที่ 0.45

ส่วนการวิเคราะห์แนวเส้นทางระยองจันทบุรี พบว่าค่าลงทุนโครงการ จะอยู่ที่ 1.15 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 7.10 หมื่นล้านบาท ค่าดำเนินโครงการ 4.43 หมื่นล้านบาท EIRR 5.57% NPV ติดลบ 3.20 หมื่นล้านบาท และ B/C Ratio อยู่ที่ 0.45

ขณะที่แนวเส้นทางระยอง-แกลง ประเมินว่าต้องใช้ค่าลงทุนโครงการ 7.14 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 4.09 หมื่นล้านบาท ค่าดำเนินโครงการ 3.04 หมื่นล้านบาท EIRR 7.25% NPV ติดลบ 1.52 หมื่นล้าน บาท และ B/C Ratio อยู่ที่ 0.57

และแนวเส้นทางเฉพาะการก่อสร้างสถานีระยอง คาดว่าจะใช้ค่าลงทุนโครงการ 3.93 หมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็นค่าก่อสร้าง 2.05 หมื่นล้านบาท ค่าดำเนินโครงการ 1.88 หมื่นล้านบาท EIRR 9.38% NPV ติดลบ 4.8 พันล้านบาท และ B/C Ratio อยู่ที่ 0.57

"มีความเป็นไปได้ที่จะเปิดประมูลและก่อสร้างระยะแรกก่อน เฉพาะช่วงต่อขยาย จากสถานีอู่ตะเภา ไปยังสถานีระยอง และ สถานีแกลง รวมระยะทางประมาณ 100 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เพราะอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 9% คุ้มค่ากว่าการสร้างตลอดทั้งเส้นทาง"

อย่างไรก็ดี การพัฒนาส่วนต่อขยาย ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินนี้ ร.ฟ.ท.มุ่งหวัง ให้รองรับอีอีซี และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor) รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมโยงโครงข่าย คมนาคมขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการด้านการเดินทางและการขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

โดย ร.ฟ.ท.ได้ออกแบบแนวคิด การพัฒนาสถานีทั้ง 4 สถานี ให้สอดรับกับ นโยบายระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก สำหรับสถานีระยอง มีแนวคิดพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยว การพักผ่อนชายทะเล สถาปัตยกรรมภายในสถานีจะเน้นลวดลาย และโทนสี จากมังคุด เพื่อสอดรับไปกับ ผลไม้ดังในท้องถิ่น

ส่วนสถานีแกลง ออกแบบภายใต้แนวคิด อนุสาวรีย์สุนทรภู่ นิราศเมืองแกลง โดยเน้นลวดลาย และโทนสีจากสับปะรด เพื่อเพิ่มความสดใส ด้านสถานีจันทบุรี มีแนวคิดจาก ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระมาลา) เน้นลวดลายและโทนสีจากทุเรียน และสถานีตราด มีแนวคิดจากป้อมปราการ ประภาคาร เน้นลวดลายและโทนสีจากระกำ
รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า ร.ฟ.ท.ได้ศึกษา รูปแบบสถานีและการเชื่อมต่อระหว่างสถานีในเบื้องต้น โดยรูปแบบของสถานีระยอง จะพัฒนาเป็นสถานีขนาดกลาง เป็น สถานียกระดับ 2 ชั้น สามารถเชื่อมต่อกับ สถานีรถไฟทางคู่ได้ ส่วนสถานีแถลง จะพัฒนาเป็นสถานีขนาดเล็ก เนื่องจากชุมชนโดยรอบไม่ใหญ่นัก แต่ยังคงพัฒนาเป็นสถานียกระดับ 2 ชั้น และเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟทางคู่ได้

ด้านสถานีจันทบุรี เบื้องต้นมีการออกแบบ ให้เป็นสถานีขนาดกลาง เพราะเป็นหัวเมืองใหญ่ ที่มีประชาชนอาศัยอยู่มาก อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการปลูกผลไม้ ซึ่งคาดว่า ไฮสปีดจะรองการขนส่งสินค้าเกษตร ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดยยังคงออกแบบให้เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟทางคู่ ส่วน สถานีปลายทาง สถานีตราด ออกแบบให้เป็น สถานีขนาดเล็ก ยกระดับ 2 ชั้น เพื่อใช้สำหรับรองรับการท่องเที่ยว แต่ไม่เชื่อมต่อ กับสถานีรถไฟทางคู่


ไฮสปีดเทรน ร.ฟ.ท.มุ่งหวังให้รองรับอีอีซี และการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก
สุชีพ สุขสว่าง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2020 11:17 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ดูรูปการณ์แล้วรถไฟความไวสูงท่าจะไปได้แค่แกลงไปก่อน จากนั้น รถไฟทางคู่จากบ้านฉางผ่านระยองแกลง จันทบุรี ตราด ไปคลองใหญ่ก็จะช่วยป้อนให้แทน
รฟท.จ่อเคาะผลศึกษาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เฟส2 คาดแล้วเสร็จปี 71
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 16:15 น.



รฟท.เดินหน้ารับฟังเสียงประชาชน 3 จังหวัดภาคตะวันออก เตรียมเคาะผลศึกษาโครงการไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบินเฟส 2 ลดระยะทางกรุงเทพฯ เชื่อมตราดเพียง 2 ชม.

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 4-6 ส.ค.2563 ได้เดินสายจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการสรุปผลการศึกษาโครงการ (การประชุมใหญ่ระดับจังหวัด) งานจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงินและแนวทาง การลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง – จันทบุรี - ตราด ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เพิ่มศักยภาพคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการ ทางด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัด ระยอง - จันทบุรี - ตราด ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัดบริษัททีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด โดยมีแนวเส้นทางโครงการที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ 11 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ประกอบด้วย สถานีรถไฟ จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด และมีศูนย์ซ่อมบำรุงจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ซ่อมบำรุงจังหวัดระยอง มีระยะทางรวมประมาณ 190 กิโลเมตร

สำหรับ โครงการดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยอง- บ้านค่าย) ห่างจากสี่แยกเกาะลอยประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง เข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี - แกลง) ห่างจากสามแยกแกลง ประมาณ 2 กิโลเมตร วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา ผ่านอำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เข้าอำเภอเขาสมิง และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ห่างจากสามแยกตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร การออกแบบขนาดรางที่มีความกว้างขนาด 1.435 เมตร มีจุดตัดทางรถไฟ 303 แห่ง

ทั้งนี้แนวคิดหลักในการออกแบบแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ คือ แนวเส้นทางรถไฟใหม่ของการรถไฟฯ ทั้งหมดจะต้องเป็นระบบปิด มีการจำกัดการเข้า – ออก ที่มีประสิทธิภาพ และปราศจากจุดตัดที่ระดับเดียวกันกับระบบขนส่งทางถนนและระบบอื่นๆ พร้อมทั้งมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟ และทำการก่อสร้างรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ส่วนรูปแบบแนวคิดการออกแบบสถานี ได้คำนึงถึงความสะดวกสบายในการใช้บริการ ที่ตั้งสถานีสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งที่หลากหลายในพื้นที่ได้สะดวก นอกจากนี้ได้ออกแบบให้มีการผสมผสานแสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยการนำรูปทรงผลไม้ที่โดดเด่นในแต่ละพื้นที่ มาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตย์ เพื่อส่งเสริมนโยบายการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก คาดว่าโครงการจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี 2571 อย่างไรก็ตามหากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะสามารถช่วยประหยัดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดตราดประมาณ 2 ชั่วโมง 15 นาที (กรณีจอดเฉพาะสถานีหลัก) ขณะเดียวกัน รฟท. ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมโดยได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในทุกจังหวัดตามแนวเส้นทางโครงการ จะดำเนินการรวบรวม ข้อคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากประชาชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โครงการฯ นำมาประกอบผลการศึกษาโครงการต่อไป

https://www.youtube.com/watch?v=U8EMH7SE8fo


Last edited by Wisarut on 10/08/2020 6:47 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2020 8:36 pm    Post subject: Reply with quote



ความก้าวหน้า ทางรถไฟความไวสูงช่วงกลางดง - ปางอโศก
https://www.youtube.com/watch?v=DNS3uX5_Rh4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2020 12:08 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Series สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง โคราช-หนองคาย EP.1 สถานีบัวใหญ่
30 กรกฎาคม 2563


Series สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง โคราช-หนองคาย EP.2 สถานีบ้านไผ่
7 สิงหาคม 2563

มาถึง Ep.2 ของ Series สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูง โคราช-หนองคาย สถานีบ้านไผ่

เรามาดูรายละเอียดสถานีบ้านไผ่กันดีกว่า

สถานีรถไฟความเร็วสูงบ้านไผ่ เป็นสถานีที่ 2 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอิสานส่วนต่อขยาย ช่วงโคราช-หนองคาย ต่อจากสถานีบัวใหญ่

ตำแหน่งตั้งสถานีจะอยู่ด้านหลังของสถานีรถไฟทางคู่บ้านไผ่หลังใหม่ ซึ่งเป็นสถานียกระดับ

ซึ่งด้านฝั่งนี้จะเป็นด้านนอกเมืองของเมืองบ้านไผ่ แต่สามารถเข้าถึงผ่านสถานีรถไฟทางคู่ในปัจจุบันเข้ามาในเขตสถานีรถไฟความเร็วสูงผ่านชั้น 1 ได้เลย

แต่ในโครงการเนื่องจากสถานีรถไฟบ้านไผ่เป็นสถานีรถไฟยกระดับอยู่แล้ว จะมีการทำถนนรอบสถานี ทั้งทางคู่และความเร็วสูง เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อ และเปิดพื้นที่เพื่อการพัฒนาเมืองทั้ง 2 ด้านของทางรถไฟ

พร้อมกับสร้างจุดเปลี่ยนถ่ายการโดยสาร (ITF ) ไว้ทางด้านทิศใต้ของสถานีรถไฟเพื่อเป็นสถานีขนส่งย่อยๆ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟความเร็วสูง

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของสถานีบ้านไผ่ คือจะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารแยกไปที่โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม

เพื่อจะส่งคนไปตามทางรถไฟสายนี้ และจะสอดคล้องกับแผนการเดินรถไฟสาย บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เช่นกัน

- รูปแบบสถานีมี 3 ชั้น

ชั้น 1 เป็นชั้นขายตั๋ว จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างระบบ และพื้นที่จอดรถ

ชั้น 2 เป็นโถงพักคอยผู้โดยสาร ก่อนขึ้นรถไฟ ซึ่งจะมีทั้งห้องติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร รวมถึงเป็นพื้นที่ติดตั้งงานระบบของสถานีรถไฟ

ชั้น 3 เป็นชานชาลา มี 2 ชานชาลาข้าง แต่มีทางรถไฟ 4 ทาง เพื่อให้มีทางรถไฟรองรับรถไฟด่วนผ่านสถานี

ซึ่งในระบบออกแบบตามมาตรฐาน Universal Design เพื่อความเข้าถึงของคนทุกกลุ่ม

- สถาปัตยกรรมภายนอกสถานี

โครงสร้างหลักคล้ายกันทั้งโครงการแต่มีการใส่รายละเอียดให้แตกต่างกัน โดยสถานีบ้านไผ่ จะใช้ลายหน้าบันบ้านทรงไทย มารายละเอียดภายในสถานี

แต่มีเสียงสะท้อนกลับมาเยอะ คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยมากขึ้น

- สถาปัตยกรรมภายในสถานี

จะใช้รูปลักษณะไม้ไผ่ เป็นรูปแบบหลักภายในสถานีด้วยโถงสถานีรูปไม้ไผ่ ลายสานไม้ไผ่ และใส่สัญลักษณ์ของภาคอิสานเช่นลายผ้าทอต่างๆ ภายในสถานีด้วย

สำหรับภาพภายในสถานี ดูสวยดีครับ

- รูปแบบทางรถไฟในบ้านไผ่

เนื่องจากตัวสถานีรถไฟทางคู่เดิมในเส้นทางนี้ก็เป็นสถานียกระดับ ในโครงการก็จะยกระดับคล้ายกัน

จากข้อมูลทางรถไฟความเร็วสูงจะยกระดับตั้งแต่จฺดตัดกับทางหลวงสาย 23 และลงระดับดินอีกครั้งในพื้นที่ใกล้เคียงกับของทางคู่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2020 10:31 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ เดินหน้ารับฟังเสียงประชาชน 3 จังหวัดภาคตะวันออก สรุปผลศึกษาโครงการไฮสปีดเทรน เชื่อมสามสนามบิน ระยะ 2
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 8 สิงหาคม 2563

เมื่อวันที่ 4 – 6 สิงหาคม 2563 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เดินสายจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการสรุปผลการศึกษาโครงการ (การประชุมใหญ่ระดับจังหวัด) งานจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงินและแนวทาง การลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง – จันทบุรี - ตราด ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เพิ่มศักยภาพคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการ ทางด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัด ระยอง - จันทบุรี - ตราด ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัดบริษัททีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด โดยมีแนวเส้นทางโครงการที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ 11 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ประกอบด้วย สถานีรถไฟ จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด และมีศูนย์ซ่อมบำรุงจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ซ่อมบำรุงจังหวัดระยอง มีระยะทางรวมประมาณ 190 กิโลเมตร

สำหรับ โครงการดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยอง- บ้านค่าย) ห่างจากสี่แยกเกาะลอยประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง เข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี - แกลง) ห่างจากสามแยกแกลง ประมาณ 2 กิโลเมตร วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วง ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา ผ่านอำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
เข้าอำเภอเขาสมิง และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ห่างจากสามแยกตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร การออกแบบขนาดรางที่มีความกว้างขนาด 1.435 เมตร มีจุดตัดทางรถไฟ 303 แห่ง โดยมีแนวคิดหลักในการออกแบบแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ คือ แนวเส้นทางรถไฟใหม่ของการรถไฟฯ ทั้งหมดจะต้องเป็นระบบปิด มีการจำกัดการเข้า – ออก ที่มีประสิทธิภาพ และปราศจากจุดตัดที่ระดับเดียวกันกับระบบขนส่งทางถนนและระบบอื่นๆ พร้อมทั้งมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟ และทำการก่อสร้างรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ส่วนรูปแบบแนวคิดการออกแบบสถานี ได้คำนึงถึงความสะดวกสบายในการใช้บริการ ที่ตั้งสถานีสามารถเชื่อมต่อการเดินทาง
กับระบบขนส่งที่หลากหลายในพื้นที่ได้สะดวก นอกจากนี้ได้ออกแบบให้มีการผสมผสานแสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยการนำรูปทรงผลไม้ที่โดดเด่นในแต่ละพื้นที่ มาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตย์ เพื่อส่งเสริมนโยบายการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก คาดว่าโครงการจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี 2571 ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ
จะสามารถช่วยประหยัดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดตราดประมาณ 2 ชั่วโมง 15 นาที (กรณีจอดเฉพาะสถานีหลัก)

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมโดยได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในทุกจังหวัดตามแนวเส้นทางโครงการ จะดำเนินการรวบรวม ข้อคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากประชาชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โครงการฯ นำมาประกอบผลการศึกษาโครงการต่อไป ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ www.hsrrayongchantrat.com
https://www.youtube.com/watch?v=U8EMH7SE8fo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2020 8:31 pm    Post subject: Reply with quote


ถ้าสถานีอยุธยายังไม่ผ่านด่านกรมศิลปากรณ์ ก็หมดท่าแน่ๆ
https://www.youtube.com/watch?v=1DCEzvExZZI
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/08/2020 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

ตราด-จันทบุรีดันไฮสปีดเฟส 2 หนุนรัฐมองข้ามจุดคุ้มทุน-เชื่อม CVTEC
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เมื่อวันที่ 4-6 สิงหาคม 2563 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นโครงการวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายระยอง-จันทบุรี-ตราด ในเวที 3 จังหวัด ก่อนนำข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนประกอบผลการศึกษาเสนอ ร.ฟ.ท.เพื่อขออนุมัติโครงการตามขั้นตอนต่อไป หาก ครม.อนุมัติภายในปี 2564 คาดว่าจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรูปแบบการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) ภายในปี 2565 จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการหาเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2567 และ 4 ปี แล้วเสร็จปี 2571

ตราดชี้มองข้ามจุดคุ้มทุนดัน ศก.

นายวศิน พงษ์ศิริ ที่ปรึกษา อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแก้ปัญหา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า จังหวัดตราดแม้จะมีประชากร 200,000 คนเศษ แต่เป็นจังหวัดท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวปีละ 2 ล้านคน และ ติดชายแดนเชื่อม 3 จังหวัดของกัมพูชา เกาะกง โพธิสัตว์ พระตะบอง มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน การทำโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโอกาสการค้า การลงทุนและสร้างคุณภาพชีวิต

นายสุรศักดิ์ ภูติภัทร์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การสร้างโครงการมาถึงจังหวัดตราดนั้นอยากให้มองข้ามจุดคุ้มทุนที่คิดจากจำนวนผู้โดยสารของแต่ละจังหวัด อู่ตะเภา-ตราดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 5.39% ต่ำกว่า ค่ามาตรฐาน 12% เทียบไม่ได้กับ อู่ตะเภา-ระยอง อัตรา 9.38% แต่ควรออกแบบเพื่อเตรียมรองรับไว้ก่อน โดยเฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืนเส้นทางทั้งหมดคราวเดียวกัน คือ รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่หรือถนนมอเตอร์เวย์เป็นการแชร์ ต้นทุนการขนส่งไม่ใช่การแข่งขัน และภาครัฐควรเปลี่ยนความคิดมองจังหวัดตราดเป็นประตูที่เปิดรับต่างประเทศไม่ใช่จังหวัดปิดสุดท้าย โดยการสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างเศรษฐกิจแนวชายแดนปีละประมาณ 30,000 ล้านบาท แต่นำเข้าเพียง 5,000 ล้านบาท และส่งเสริม ฮับด้านสุขภาพให้ลูกค้ากัมพูชาและจีนมาใช้บริการ เพราะตราดติดกับกัมพูชา 3 จังหวัด คือ เกาะกง พระตะบอง โพธิสัตว์ มีประชากรรวมกันกว่า 2 ล้านคน และมีคนจีนเข้ามาลงทุน 30,000-40,000 คน การสร้างระบบการขนส่ง ที่สะดวกจะเชื่อมโยงท่องเที่ยวทางน้ำจากเวียดนาม กัมพูชา ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจการค้าชายแดนเกษตรกรรม

สอดคล้องกับ นายสมชาย กลิ่นอยู่ รองประธานหอการค้าจังหวัดตราด ด้านการค้าชายแดนเห็นว่า จังหวัดตราดสามารถทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงได้ทั้งทางบก ทางน้ำ กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรัฐบาลมีโครงการเพื่อความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจกัมพูชา เวียดนาม ไทย (CVTEC) อยู่แล้ว จุดคุ้มทุนน่าจะเกิดขึ้น และลักษณะการลงทุนภาคเอกชนร่วมลงทุนจะลดภาระกับรัฐบาล

ทางด้าน นายจตุพัฒน์ ฤกษ์สหกุล ประธาน YEC จ.ตราด และ นายสุทธิลักษณ์ คุ้มครองรักษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.ตราด เห็นตรงกันว่า ตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ควรอยู่ร่วมกันเช่นเดียวกับระยองและแกลง สถานีรถไฟความเร็วสูงห่างจากตัวเมือง 2 กิโลเมตร และติดป่าชายเลน โอกาสจะขยายต่อเชื่อมกับรถไฟทางคู่ยาก ซึ่งเส้นทางรถไฟทางคู่ที่ได้สำรวจไปแล้วห่างจากตัวเมือง 5-6 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางเชื่อมไปถึงคลองใหญ่ที่มีท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ที่โครงการ CVTEC จะใช้ท่าเรือนี้เป็นเส้นทางเชื่อมโยง การท่องเที่ยวทางน้ำ การใช้สถานีร่วมกันสามารถฟรีดเดอร์ผู้โดยสารส่งต่อกันได้ ซึ่งราคาค่าเวนคืนนอกเมืองจะถูกกว่าในเมือง และยังรองรับการเปิดด่านถาวรบ้านท่าเส้น-บ้านทมอดาที่อยู่ห่างไม่ถึง 30 กิโลเมตรอีกด้วย

จันท์หนุนเชื่อมเส้นทางสายไหม

นายสมบัติ สุขคีรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.มาบไพ อ.ขลุง จ.จันทบุรี ระบุว่า ผลการศึกษาแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะพาดผ่าน อ.ขลุง มีผลกระทบกับชาวบ้าน ต.มาบไพ จำนวน 4 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 5 หมู่บ้าน และ ต.วังสรรพรส 2 หมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการ คือ 1) การเวนคืนที่ดิน ชาวบ้าน 100% มีอาชีพทำสวนทุเรียน มังคุด ทำกินมานาน ไม่ต้องการโยกย้ายไปทำมาหากินแหล่งอื่น และใกล้แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร หรือบางรายที่มีพื้นที่ทำสวนขนาดใหญ่การ ตัดพาดผ่านผ่ากลางที่ดินสวนทำให้การเดินทางไม่สะดวก เจ้าของที่ดินยังไม่รู้พื้นที่ที่ปลูกทุเรียนที่มีมูลค่าสูงจะได้รับเงินชดเชยอย่างไร ควรแจ้งเจ้าของที่ดินมารับรู้ก่อน หากอยู่ในขั้นตอน EIA อาจจะแก้ไขไม่ได้ และ 3) ชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์จากการให้บริการรถไฟความเร็วสูง อัตราค่าโดยสารจากดอนเมือง-จันทบุรี คนละ 825 บาท จากสุวรรณภูมิ 720 บาท ไม่ตอบโจทย์การเดินทางเพราะการเดินทางด้วยรถยนต์ถูกกว่า

ด้าน นายจอมศักดิ์ ภูติรัตน์ กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และอดีตประธานกรรมการหอการค้า จ.จันทบุรี เห็นด้วยกับโครงการรถไฟความเร็วสูง จะช่วยให้การเดินทางและการเชื่อมโยงเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศสะดวกขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่อกับเส้นทาง One Belt One Road ของจีนในอนาคต แม้อัตราค่าโดยสารสูงแต่อีก 8 ปีข้างหน้า เมื่อสนามบินอู่ตะเภาแห่งที่ 3 อยู่ใกล้ จันทบุรีเสร็จ นักท่องเที่ยว 200 กว่าล้านคน มีกำลังซื้อสูงเดินทางเข้ามาในประเทศไทย หาก 5-10% เดินทางไปภาคตะวันออกคนในพื้นที่ได้ประโยชน์ การค้าชายแดนมูลค่าจะเพิ่มขึ้น ต่อไปภาคตะวันออกจะเป็นเมืองท่าที่ 2 เป็นการต่อท่อ EEC ให้ถึงจันทบุรีและตราด

ระยองหวั่นปัญหาเวนคืนที่ดิน

นายนพดล ตั้งทรงเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากรับฟังข้อมูลแล้วคาดว่ารูปธรรมในการเกิด โครงการไฮสปีดเทรน ระยะที่ 2 ยังมีความเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก 1.ผลการศึกษาแนวเส้นทางโครงการกว้างและไม่มีความชัดเจน ทั้งที่ควรศึกษาให้ละเอียดชัดเจน เนื่องจากรัฐบาลอนุมัติงบประมาณให้ ร.ฟ.ท.ศึกษาจำกัดเพียง 37 ล้านบาท ในพื้นที่ 3 จังหวัด จากที่หอการค้าระยองได้เคยเสนอขอ งบประมาณศึกษาโครงการดังกล่าวไว้ในการประชุม ครม.สัญจรจันทบุรีเมื่อปี 2561 จำนวน 200 ล้านบาท โดยเฉพาะจุดที่จะก่อตั้งสถานีระยอง และทำศูนย์ซ่อมรถไฟจะใช้พื้นที่ 100 ไร่ บอกแต่เพียงว่าอยู่บริเวณบ้านหนองสะพาน หรือเดิมเรียกว่า บ้านน้ำคอก เลยโครงการศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ออกไป 1-2 กม. ไปทางบ้านค่าย ไม่ได้ลงตรงบริเวณห้างเซ็นทรัลเดิมแล้ว 2.เรื่องการเวนคืนที่ดิน เส้นทางจากสถานีอู่ตะเภามาถึงสถานีระยองต้องเวนคืนที่ดินเกือบทั้งหมดเพราะไม่มีแนวเส้นทางรถไฟเก่า จึงเป็นห่วงว่าโอกาสที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2571 จะเป็นไปได้ยาก ยังไม่นับรวมเส้นทางที่จะยาวไปถึงจังหวัดตราด แม้จะมีการเสนอว่าจะใช้แนวเส้นทางเดียวกับรถไฟทางคู่ แต่ต้องเวนคืนเช่นกัน และ 3.ความคุ้มค่าในการลงทุนของเอกชน ถ้าก่อสร้างเฉพาะในจังหวัดระยองมีความเป็นไปได้ แต่ถ้าไปไกลกว่านั้นยังไม่คุ้มค่า ในการลงทุน

'ทีม' เกรงคนปั่นราคาที่ดินพุ่ง

นายสาธิต มาลัยธรรม ผู้จัดการโครงการบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า จุดคุ้มทุนของโครงการการก่อสร้าง การซื้อรถ การซ่อมบำรุง รวมมูลค่า 160,000 ล้านบาท หากพิจารณา EIRR 5.39% น้อยกว่าค่ามาตรฐาน 12% เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากอู่ตะเภาฉีกออกจากนิคมอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด 90 กม.ต้องเวนคืนเขตทาง 60 เมตร และในเส้นทางที่คู่กับรถไฟทางคู่ต้องเวนคืนเขตทาง 75 เมตร ซึ่งตาม พ.ร.บ.เวนคืนที่ดิน พ.ศ. 2562 อยู่ในขั้นตอนจัดทำเอกสาร PPP และ EIA หลัง ครม.อนุมัติให้ก่อสร้างแล้วปี 2564-65 จะเวนคืนปี 2567 เมื่อได้ ผู้ลงทุนวิธีการเวนคืนมีรายละเอียด การตกลงราคาโดยมีคณะกรรมการพิจารณาโดยเจ้าของที่ดินมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนดำเนินการก่อสร้าง

"ตอนนี้สามารถดูเส้นทางได้ในแผนที่กูเกิลแมป ยอมรับว่ามีจุดอ่อนในการสื่อสารให้เข้าถึงเจ้าของที่ดิน ที่ผ่านมาได้เชิญผู้นำชุมชนผ่านอำเภอมาประชุมชี้แจงไม่ได้แจ้งเจ้าของที่ดินทุกคน เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนที่เสนอ ครม.จะอนุมัติให้สร้าง เกรงจะมีเรื่องการปั่นราคาที่ดินได้ ส่วนที่จันทบุรีใช้เส้นทางบางช่วงมากับรถไฟทางคู่ ส่วนจุดตัดถนนหลักจะทำรางลอยข้าม ส่วนถนนเล็ก ๆ ถ้ามีจุดตัดถี่มาก ๆ รวมให้กลับรถใต้ทางรถไฟ แต่มีเขตรั้วบอกทางป้องกันการเข้าถึงโครงการ ส่วน จุดคุ้มทุนผลตอบแทนไม่คุ้มค่านั้น เอกชนผู้ร่วมลงทุนจะพิจารณาจากผลการศึกษา รูปแบบการลงทุนดูผลตอบแทน ที่สูงขึ้น ค่าลงทุนที่ต่ำลง เช่น เส้นทางจากอู่ตะเภา-ระยอง จุดคุ้มทุน 9.36% อย่างไรก็ตาม ประชาชนมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นเพิ่มเติมในแบบฟอร์มได้ว่าไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการโครงการนี้เพื่อนำไปประมวลผลในรายงานฉบับสมบูรณ์" นายสาธิตกล่าวรายงานจากผลการศึกษาและวิเคราะห์ของโครงการระบุว่า ระยะเวลา 30 ปีตลอดแนวเส้นทางจังหวัดระยอง-ตราด หากรัฐเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดจะไม่คุ้ม ซึ่งถ้าเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ทางเอกชนอาจมีวิธีที่ดีกว่า เพื่อให้การลงทุนเกิดความคุ้มค่า ค่าลงทุนทางโครงการประมาณ 160,000 ล้านบาท EIRR 5.39% ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -44,956 ล้านบาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) 0.45

ทั้งนี้ พื้นที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงพาดผ่านที่ต้องเวนคืนจำนวน 8,018 ไร่ คือ ระยอง พาดผ่านพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านฉาง อ.เมืองระยอง อ.บ้านค่าย และ อ.แกลง พื้นที่เวนคืนโดยประมาณ 4,032 ไร่ จันทบุรีพาดผ่านพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่ อ.เมืองจันทบุรี อ.มะขาม และ อ.ขลุง พื้นที่เวนคืนประมาณ 2,496 ไร่ และจังหวัดตราดพาดผ่านพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เขาสมิง และ อ.เมืองตราด พื้นที่เวนคืนประมาณ 1,490 ไร่ และบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบตลอดแนวเส้นทางโครงการประมาณ 914 หลังคาเรือน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ ก่อนที่จะทำการก่อสร้างจริงต้องสำรวจรายละเอียดอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/08/2020 9:04 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไฮสปีดกทม.-โคราชช้า6เดือน
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

อัพเดท14สัญญาสร้างแล้วแค่2 เลื่อนเปิดบริการจากปี66เป็น67

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 14 สัญญา วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาทว่า อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 สัญญา, รอลงนาม 7 สัญญา, รอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. พิจารณา 3 สัญญา, กำลัง ตรวจสอบ และต่อรองราคาเอกชน 1 สัญญาและรอเปิดประมูล 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 14 บางซื่อ-ดอนเมือง อยู่ระหว่างหารือเรื่องพื้นที่กับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า สำหรับสัญญาที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้น มีความคืบหน้าต่อเนื่อง โดยสัญญาที่ 1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.)เป็นผู้ก่อสร้างคันทางรถไฟคืบหน้าประมาณ 95% เตรียมส่งมอบงานให้ รฟท. เร็ว ๆ นี้ จากนั้นต้องรอลงนามสัญญาที่ 2.3 จ้างงาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดอบรมบุคลากร กับประเทศจีนก่อนจึงจะเดินหน้าต่อไปได้ คาดว่าจะลงนามได้ในเดือน ต.ค.นี้

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า ส่วนสัญญาที่ 2 สีคิ้ว-กุดจิกระยะทาง 11 กม. คืบหน้าประมาณ 30% ล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย เนื่องจากช่วงแรกใช้เวลาไปกับการเตรียมงานใน รายละเอียดต่าง ๆ เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย จึง ใช้เวลานานเล็กน้อย แต่เวลานี้เริ่มเข้าที่แล้วงานก่อสร้าง คงจะเร็วขึ้น ส่วนที่รอลงนาม 7 สัญญานั้น ต้องรอให้รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ก่อน โดยตั้งแต่ช่วงภาชี-โคราชผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว น่าจะเสนอ กก.วล. เดือน ก.ย.นี้ และ ลงนามได้อีกหลายสัญญา ส่วนช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี อยู่ระหว่างหารือกรมศิลปากรในประเด็นของสถานีอยุธยา

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า ยอมรับว่าภาพรวมโครงการ รถไฟไฮสปีดไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. มีความล่าช้าจากแผนที่วางไว้ประมาณ 6 เดือนแล้ว เนื่องจากติดปัญหาเพิ่มเติมในส่วนของอีไอเอทำให้ยังไม่สามารถลงนามสัญญา กับเอกชนเพื่อก่อสร้างได้ซึ่งตามแผนเดิมตั้งเป้าหมาย จะเปิดบริการได้ในปี 66 เวลานี้อาจต้องเลื่อนเปิดบริการ เป็นปี 67.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2020 10:39 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟไฮสปีดกทม.-โคราชช้า6เดือน
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

อัพเดท14สัญญาสร้างแล้วแค่2 เลื่อนเปิดบริการจากปี66เป็น67

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3286953708018218&set=a.3033691060011152&type=3&theater
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2678526235702211
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2020 8:44 am    Post subject: Reply with quote

3.5กม.สัญญา6เดือนปิดจ๊อบ2ปีครึ่ง
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563
Arrow https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2679408602280641

รอไชโยๆๆทล.สร้างคันทางไฮสปีดเสร็จ

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. 14 สัญญา วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาท ซึ่ง ทล. รับผิดชอบสัญญาที่ 1 ก่อสร้างคันทางรถไฟช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ได้ผลงานรวม 96% อยู่ระหว่างเก็บรายละเอียด เช่น เทคอนกรีตปิดไหล่คันทางและวางฝารางเคเบิล สัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับงบฯ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 17 ล้านบาท เพื่อปูผิวแอสฟัลต์คอนกรีตถนนบริการและตีเส้นจราจรถนนคู่ขนานเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 4 กม. ขนาด 2 ช่องกว้าง 6 เมตร ยังเหลือเบิกงบฯ จาก รฟท.อีกราว 3-4 ล้าน เพื่อเก็บรายละเอียดและบริหารงานโครงการ คาดว่าการก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้ รฟท. 100% ภายในสิ้นเดือน ส.ค.นี้ เพื่อให้ รฟท. ดำเนินงานในสัญญาที่ 2.3 กับจีน งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟต่อไป

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ทล.ได้ประสานคณะทำงานโครงการจากประเทศจีน เข้าตรวจสอบงานก่อสร้างตามมาตรฐานที่กำหนดเพราะทีมจีนค่อนข้างจริงจังเรื่องงานระดับชั้นคันทาง เนื่องจากรถไฟไฮสปีดใช้ความเร็วประมาณ 250 กม. ต่อ ชม. ดังนั้นต้องตรวจสอบการทรุดตัวคันทางอย่างรอบคอบรวมทั้งความเรียบร้อยของงานคอนกรีตด้วย ที่ผ่านมา ทล. ได้ส่งมอบงานให้ทีมจีนเข้ามาตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง โดย ทล.ต้องเก็บค่าระดับการทรุดตัวของคันทางไปจนถึงเดือน พ.ย. 63 ซึ่งทีมสำรวจตั้งกล้องวัดตั้งแต่เริ่มก่อสร้างปี 61-ปัจจุบัน 2 ปี 5 เดือนแล้วราบรื่นดี หากพบปัญหาทาง รฟท. ทล. และทีมจีนต้องหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาปฏิรูปแห่งชาติจีน ร่วมทำพิธีเริ่มก่อสร้างคันทางรถไฟสายนี้เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 60

จากนั้น ทล.ลงนามบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยูกับ รฟท.เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 61 ให้ก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน คือ 2 ก.ย. 61 แต่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบฯ ระหว่าง 2 หน่วยงาน ทำให้การก่อสร้างล่าช้าไปมากต้องขยายเอ็มโอยูอีก 3 ครั้งคือ วันที่ 2 ก.ย. 61-30 เม.ย. 62 วันที่ 30 เม.ย. 62-30 ก.ย. 62 และวันที่ 30 ก.ย. 62-30 ก.ย. 63 จากที่ต้องใช้เวลาก่อสร้าง 6 เดือน กลายเป็น 2 ปีครึ่งอยู่ในขณะนี้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 379, 380, 381 ... 542, 543, 544  Next
Page 380 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©