RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181686
ทั้งหมด:13492924
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 219, 220, 221 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2020 4:29 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดผลสำรวจแบบจุกๆ“59%ไม่ใช้รถไฟฟ้า6สาย”
*บ๊ายบายเบื่อเดินทางหลายต่อราคาแพง!
*รัฐเร่งลดค่าใช้จ่ายจัดระบบเชื่อมต่อด่วน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2672177606337074
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2020 11:40 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แผนแม่บทการพัฒนา TOD ในกรุงเทพ 5 พื้นที่ ตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่สถานีประตูน้ำ
2 สิงหาคม 2563


ตามข่าวนี้ครับ:

กทม.จุดพลุ ‘ย่านนานาชาติ’ ปั้นมิกซ์ยูส 5 สถานีรถไฟฟ้า
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563 04:59 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,598
วันที่ 6 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563

กทม.นำร่อง ทีโอดี จุดพลุ ย่านนานา ชาติ 5 ทำเล รถไฟฟ้า ปั้นประตูน้ำ ชิบุย่า ฮาราจูกุเมืองไทย-วงเวียนใหญ่ ย่าน ยานากะ กินซ่า-บางขุนพรหม ย่านบูกิส สิงคโปร์ ปั้นมิกซ์ยูส เอื้อโรงแรม ห้าง ออฟฟิศ เพิ่มพื้นที่เขียว สกายวอร์ก ดึงคนเข้าพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีรถไฟฟ้าพาดผ่านหลายเส้นทาง ส่งผลให้เกิดสถานีใหม่ 300 แห่ง มีสถานีซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางสำคัญ 50 จุด จุดพลุทำเลทอง ส่งเสริมการพัฒนาเมืองสร้างงานสร้างอาชีพใหม่ในเชิงพาณิชย์ ที่เป็นได้มากกว่าตึกสูงอย่างคอนโดมิเนียม สอดรับกับ การลงทุนระบบราง ดึงคนเข้าพื้นที่ หันมาเดินทางโดยรถไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ทางเศรษฐกิจระยะยาว 10-20 ปี โดยมีผังเมืองกทม.ใหม่ เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนา

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. มีโครงการศึกษาและวางแผนพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพรอบบริเวณสถานีขนส่งมวลชน (TOD) โดยจุดสำคัญของกรุงเทพให้น่าอยู่ ยกระดับเป็นย่านระดับนานาชาติที่ทั้งสะอาด ร่มรื่น และใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า ซึ่งมี 5 สถานีที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานีต้นแบบได้แก่ ประตูน้ำ (สายสีส้ม) วงเวียนใหญ่ (BTS) บางขุนพรหม เตาปูน ลำสาลี การพัฒนาพื้นที่ที่น่าสนใจได้ก็อย่างเช่น ปลูกต้นไม้ ขยายเขตทาง ปรับปรุงทางเดินเท้า สกายวอร์ค การนำสายไฟลงดิน เพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นต้น ดึงดูดความสนใจ ทั้งนักท่องเที่ยว นักลงทุนเข้าพื้นที่ ขณะเดียวกัน ยังเพิ่มศักยภาพแปลงที่ดิน ซึ่งเป็นแปลงเล็กแปลงน้อย สามารถพัฒนาเกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพใหม่ ไม่เพียงแค่เปิดให้เอกชนพัฒนาคอนโดมิเนียมอยู่อาศัยเท่านั้น กทม.ต้องการให้บริเวณนั้น มีทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า เนื่องจากจุดเปลี่ยนถ่ายรถไฟฟ้าสำคัญ รัศมี 800 เมตร สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ทุกประเภท สร้างอาคารสูงอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ได้เกิน 10,000 ตารางเมตร


เริ่มจากย่านประตูน้ำ จุดศูนย์กลางการค้าระดับโลก ร้านค้าขายเสื้อผ้านานาชาติ อนาคตกำลังมีรถฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) วิ่งผ่านหน้าห้างพันธ์ุทิพย์ ส่งเสริมการพัฒนา เชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า สายอื่นๆ แต่โดยหลัก บริเวณประตูน้ำ กทม.เน้นส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากที่ดินบางแปลงเล็กแคบ ทางแคบ จะมีการปรับให้ใช้ประโยชน์ได้ เพิ่มช่องทางทำมาหากินของชาวบ้านนอกจากนักลงทุน โดยรอบสถานีประตูน้ำจะพัฒนาแบบชิบุย่า ฮาราจูกุ มีแผนหลักๆ คือพัฒนาคลองแสนแสบส่วนที่ติดกับสวนแห่งใหม่, พัฒนาซอยเพชรบุรี 15

เช่นเดียวกับรอบสถานีบีทีเอสวงเวียนใหญ่ กทม.มีแผนพัฒนาเทียบชั้นย่านยานากะ กินซ่า ปรับปรุงถนนกรุงธนบุรี, ปรับคลองบางไส้ไก่ให้เป็นทางเดิน รวมทั้งปรับปรุงซอยกรุงธนบุรี 1 ซึ่งสถานีวงเวียนใหญ่ มีศักยภาพสูงมีรถไฟฟ้า 4-5 สาย อย่างบีทีเอส สายสีเขียว สถานีวงเวียนใหญ่-ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินสายสีแดง สถานีลาดหญ้า สายสีม่วงใต้ ระยะทาง 500 เมตร อีกทั้งสายสีทอง สายสีน้ำเงิน มุดจากใต้วัดโพธ์ โผล่ที่สถานีอิสระภาพ ท่าพระ และอนาคตจะมีสายสีเทา ต่อเชื่อมสายสีน้ำเงิน

อย่างไรก็ตามบริเวณนี้มีที่ดินเอกชนเป็นส่วนใหญ่ โดยกทม. มีเป้าหมายให้เป็นศูนย์รวมแหล่งงาน มีทั้งออฟฟิศ โรงแรม ห้างฯ เพื่อดักคนฝั่งธนฯ ไม่ให้เข้าทำงานในเมือง

ส่วนรอบสถานีบางขุนพรหม มีแผนเลี่ยนแบบย่านบูกิส ของสิงคโปร์ ปรับถนนสามเสนให้สะอาดทันสมัย มีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ผ่าน ซึ่งบริเวณนี้เน้นพัฒนาให้คงความเป็นเมืองเก่า ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้าพื้นที่ ชื่นชมศิลปวัฒนธรรม วัดวาอาราม สถานโบราณ วังบางขุนพรหม หรือแบงก์ชาติ ปัจจบัน แต่แฝงไปด้วยความทันสมัย



แหล่งข่าวจากกทม.กล่าวว่า “ย่านบางขุนพรหมย่านเก่า มีรถสายสีม่วงใต้มีสถานีอยู่สามเสนตัดกับถนนวิสุทธิกษัตริย์ มีวัด 7-8 แห่ง เชื่อมพื้นที่ต่อเนื่องจากบางลำพู ข้ามไปยังฝั่งธน ส่งเสริมพัฒนาเมือง ในย่านเก่ารับนักท่องเที่ยวที่อนาคตสามารถเดินทางสะดวกขึ้น”

เช่นเดียวกับเตาปูน จุดเชื่อมต่อสำคัญ 3 สายรถไฟฟ้าสายสีม่วง-สายสีม่วงใต้ และสายสีน้ำเงินเชื่อมการเดินทางแล้วไปฝั่งธนต่อสายสีม่วงใต้ โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่เตาปูน ใกล้ศูนย์คมนาคมตะวันออก มีตลาดเตาปูน รัฐสภาเกียกกายเป็นแม่เหล็กสำคัญ


บริเวณนี้กทม.ต้องการ ให้มีห้าง เพราะไม่เช่นนั้น ระบบรางได้รับผลกระทบแน่ และสุดท้าย ลำสาลี อินเตอร์เชนจ์ สายสีส้ม ตะวันออก สายสีเหลือง และสายสีน้ำตาล ที่มาจากแครายวิ่งมาที่บางกะปิ บริเวณ นี้จะสร้างสกายวอร์คเชื่อม และยกระดับเป็นย่านพาณิชยกรรมให้มากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2020 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าตอบโจทย์! ลดโลกร้อน สนข.ดันเร่งเปิด 10 สายพร้อมฟีดเดอร์เชื่อมต่อสะดวก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563 18:40

สนข.เผยรถไฟฟ้าช่วงลดโลกร้อนลงทุนคุ้มค่า ประเมินหลังเปิดรถไฟฟ้า 6 สายช่วยลดการใช้พลังงานน้ำมัน 224.3 พันตัน ดันแผนเร่งเปิดครบ 10 สายตามแผนแม่บท พร้อมเชื่อมต่อการเดินทางกับขนส่งอื่น และคุมค่าโดยสารเพื่อจูงใจ

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่โครงการ ครั้งที่ 2 โครงการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากมาตรการภาคขนส่งด้วยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน และจราจร ว่า จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (COP-21) เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2558 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงแสดงเจตนารมณ์ว่า

“ประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20-25% จากระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030)”

โดยผลการประชุมมีมติเห็นชอบความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา ภาคคมนาคมขนส่งจึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 สาขาคมนาคมขนส่ง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนที่นำทางลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย และเพื่อเป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ 20% หรือที่ 111 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) ภายในปี 2573 โดยภาคคมนาคมขนส่งได้ทำการประเมินศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 35.42 MtCO2e ภายในปี 2573

ทั้งนี้ สนข.ได้จัดทำโครงการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากมาตรการภาคขนส่งด้วยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคการขนส่ง เพื่อตอบสนองต่อค่าเป้าหมายการลดความเข้มการใช้พลังงาน ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 (EEP 2015) และค่าเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 สาขาคมนาคมขนส่ง

จากการดำเนินโครงการภายใต้แผนการดำเนินงานของโครงการ ระยะเวลา 12 เดือน ผลการประเมินพลังงานที่ลดได้ด้วยการติดตามประเมิน (Tracking) ที่สามารถตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification : MRV) ได้ ในปี 2563 พบว่ามาตรการภาคขนส่งด้วยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า 6 เส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สำโรง, ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ สายสีเขียว ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน สามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้ประมาณ 224.3 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe)
และหากดำเนินการทุกเส้นทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแผนแม่บท M-Map จะสามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้ประมาณ 1,375.5 ktoe ในปี 2579 และหากเปรียบเทียบกับแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 (EEP 2015) ที่คาดการณ์ไว้ที่ 4,823 ktoe ถือว่าผลที่ประเมินได้ค่อนข้างแตกต่างกัน

ขณะที่พบว่าในปี 2563 ที่มีรถไฟฟ้า 6 เส้นทางเปิดให้บริการ สามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 0.64 MtCO2e และในปี 2573 หากสามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าครบ 10 สาย ตามแผนแม่บท M-Map จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 2.65 MtCO2e ซึ่งสูงกว่าแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี 2564-2573 สาขาคมนาคมขนส่งได้เคยประเมินไว้ที่ 1.06 MtCO2e

ทั้งนี้ จากที่บริษัทที่ปรึกษาได้ลงสำรวจข้อมูลพื้นฐานจากประชาชนในพื้นที่ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต กรณีที่ตัดสินใจไม่ใช้รถไฟฟ้า โดยข้อมูลก่อนที่จะมีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้า พบว่าเดินทางโดยรถเมล์ 34.74% รถแท็กซี่ 29.50% รถส่วนตัว 16.13% รถตู้ 6.05% สองแถว สามล้อ 5.55% จักรยานยนต์ 4.54% จักรยานยนต์รับจ้าง 0.05% เดิน 1.93% เรือ 1.06%

หลังเปิดบริการรถไฟฟ้า ประชาชนใช้รถไฟฟ้า 57.89% รถเมล์ 9.94% รถสองแถว สามล้อ 9.68% รถส่วนตัว 7.64% รถจักรยานยนต์ 5.73% เดิน 5.30% รถไฟ 1.90% รถไฟ 1.91% แท็กซี่ 1.27% จักรยานยนต์รับจ้าง 0.64% โดยเหตุผลที่ยังไม่ใช้รถไฟฟ้า ประมาณ 59% เห็นว่าต้องเดินทางต่อหลายระบบกว่าจะถึงปลายทาง และ 18% เห็นว่ามีค่าโดยสารสูง ส่วนกลุ่มที่เปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า ส่วนใหญ่ 63% เห็นว่าช่วยประหยัดเวลา

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์จากการดำเนินงานภายใต้การผลักดันทางด้านนโยบายของภาครัฐ โดยภาครัฐจะมีข้อมูลพื้นฐานและค่าการลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนมากขึ้น และสามารถตัดสินใจหรือวางนโยบายเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม รวมถึงหน่วยงานปฏิบัติมีความพร้อมในการดำเนินงาน สามารถกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและแนวทางในการดำเนินงานโครงการด้านการคมนาคมขนส่งได้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศและการพัฒนาระบบขนส่งที่ยั่งยืนได้ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2020 10:35 am    Post subject: Reply with quote

ยกเครื่อง 29 ท่าเรือเจ้าพระยาปีนี้ประเดิม 'ท่าช้าง-ปิ่นเกล้า'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

"อธิรัฐ" กางแผนปั้นผลงาน "เจ้าท่า" ลุยยกเครื่อง 29 ท่าเรือเจ้าพระยา เป็นสถานีเรือ เชื่อมรถไฟฟ้า ปีนี้นำร่อง 10 ท่า พ่วงนำเรือไฟฟ้าวิ่ง 3 เส้นทางดึง "EA" เปิดตัวเรือต้นแบบ ส่วนคลองแสนแสบยังไม่ชัวร์ เอกชนหวั่นสู้ต้นทุนไม่ไหว

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดกรมเจ้าท่าปรับปรุงท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นสถานีเรือ ตามแผนดำเนินการปี 2562-2566 ใช้ งบประมาณ 1,144 ล้านบาท เมื่อปีที่แล้ว เปิดสถานีท่าสาทรเป็นสถานีต้นแบบ ในปีนี้จะปรับปรุงอีก 7 ท่า ได้แก่ ท่าช้าง, ท่าเตียน, วัดโพธิ์, ราชินี, สาทร, พระราม 5 และพระราม 7 จะเสร็จต้นปี 2564

ยังจะพัฒนาอีก 22 ท่า อยู่ระหว่างของบฯ ปี 2564 จำนวน 2 ท่า คือ ท่าเรือเกียกกาย และท่าเรือบางโพ จะเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน และของบฯ ปี 2565 อีก 10 ท่า คือ ท่าเรือพิบูลสงคราม 3, ท่าเรือเขียวไข่กา, ท่าเรือพายัพ, ท่าเรือสะพานกรุงธน, ท่าเรือเทเวศร์, ท่าเรือปิ่นเกล้า, ท่าเรือพรานนก, ท่าเรือสะพานพุทธ, ท่าเรือราชวงศ์ และท่าเรือสี่พระยา จะเปิดปี 2566

และของบฯ ปี 2566 จำนวน 10 ท่า คือ ท่าเรือปากเกร็ด, ท่าน้ำนนทบุรี, ท่าเรือวัดตึก, ท่าเรือพิบูลสงคราม 1, ท่าเรือวัดสร้อยทอง, ท่าเรือวัดเทพากร, ท่าเรือวัดเทพนารี, ท่าเรือรถไฟ, ท่าเรือโอเรียนเต็ล และท่าเรือวัดเศวตฉัตร จะเปิดบริการปี 2567

สำหรับเรือไฟฟ้าจะนำมาวิ่งบริการ ได้รับความร่วมมือจาก บจ.สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น และ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) โดยสกุลฎ์ซีฯจะออกแบบเรือสำหรับใช้เป็นเรือท่องเที่ยวนำร่องเส้นทางภูเก็ต-อ่าวพังงา ส่วน EA จะสนับสนุนเรือไฟฟ้าใช้ในแนวแม่น้ำเจ้าพระยา

"ปีแรกเอกชนจะผลิต 40 ลำ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและพิจารณาท่าเรือที่เหมาะสมกับการจอดเรือ ขณะที่เรือไฟฟ้า ต้นแบบจะนำมาวิ่งคลองแสนแสบ คาดว่า ส.ค.นี้จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ อยู่ระหว่างให้เอกชนปรับปรุงและพิจารณาปรับเปลี่ยนเรือโดยสารอยู่"

นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การปรับปรุงท่าเรือตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา กรมจะเร่งรัดให้เสร็จในปีนี้ 11 ท่า ได้แก่ ท่าช้าง, ท่าเตียน, ราชินี, วัดโพธิ์, สะพานพุทธ, ราชวงศ์, กรมเจ้าท่า, ท่าเรือสาทร, ท่าเรือพระราม 5, ท่าเรือพระราม 7 และท่าเรือปิ่นเกล้า

เมื่อปรับปรุงเรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการวางระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น GPS, ระบบตั๋วร่วมแบบ e-Ticket และระบบกล้องวงจรปิด และกรมอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แก้มติ ครม.เมื่อ พ.ค. 2536 ให้ใช้ประโยชน์ท่าเรือแบบเชิงพาณิชย์ในบริเวณท่าเรือได้ จะเสนอกระทรวงคมนาคม ส.ค.นี้

ส่วนเรือไฟฟ้าอยู่ระหว่างทดสอบและยังไม่มีกำหนดจะนำมาลงให้บริการจริง โดยเรือไฟฟ้าของสกุลฎ์ซีฯ จะทดลองวิ่งเส้นทางท่องเที่ยวช่วงภูเก็ต-อ่าวพังงา 30 ลำ ด้านเรือไฟฟ้าในคลองแสนแสบ จากผ่านฟ้า-ประตูน้ำ รองรับผู้โดยสารได้ 103 คน ซึ่ง บจ.ครอบครัวขนส่ง (2002) ผู้ประกอบการเดินเรือยังไม่ได้ตอบรับ เนื่องจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงยังคงสูงเพราะใช้ตัวมอเตอร์ไฟฟ้าจากต่างประเทศ จึงต้องเจรจากับบริษัทให้หันมาใช้ โดยประสานกองส่งเสริมการ พาณิชยนาวีช่วยเหลือด้านเงินลงทุน

ขณะที่เรือต้นแบบที่ EA ออกแบบ นำมาบริการแม่น้ำเจ้าพระยา จะเปิดตัว โครงการอย่างเป็นทางการในเดือน ส.ค.นี้ แต่บริษัทยังไม่ตัดสินใจจะนำเรือ เสนอให้ผู้ประกอบการเดิมใช้หรือจะลงทุนเปิดเส้นทางใหม่ ทั้งนี้หาก EA จะเปิดเส้นทางใหม่ กรมมีแผนจะดำเนินการ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย ปทุมธานี-สาทร, สมุทรปราการ-สาทร และปทุมธานี-ปากเกร็ด

บรรยายใต้ภาพ
ลดมลภาวะ - นอกจากจะพัฒนาท่าเรือแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น "สถานีเรือ" กรมเจ้าท่า ยังร่วมกับเอกชนนำเรือใช้ระบบไฟฟ้ามาวิ่งบริการในเส้นทางคลองแสนแสบและแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มปลายปีนี้เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2020 10:45 am    Post subject: Reply with quote

สั่งลุย 3 เมกะโปรเจกต์ ก่อนส่งไม้ต่อว่าที่ 'ปลัดคมนาคม' คนใหม่
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปีกระทรวงคมนาคมจัดงานอำลาก่อนเกษียณ "นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ" มือขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ หลังดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา 1 ปี 10 เดือน ภายใต้กิจกรรม"ใต้ร่มหูกวาง : มุมมองสื่อมวลชน"

ต่อสัญญา "BEM"-วิกฤติบินไทย"

ทั้งนี้ ปลัดคมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า "เราทำงานโดยไม่คิดถึงผลประโยชน์ ต้องตั้งใจทำและเต็มร้อยที่สุด หากเห็นรอยยิ้มประชาชน ถือว่ามีความสุข ที่ผ่านมา มีเมกะโปรเจกต์หลายโครงการที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาสัมปทานทางด่วน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งจะต้องใช้เหตุผลและความสามารถไปเจรจากับคู่สัญญา รวมทั้งปัญหาบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่เข้าขั้นวิกฤตินั้น ต้องศึกษารายละเอียดการขาดทุนเป็นอย่างไร ประสิทธิภาพขององค์กรเป็นอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ดีที่สุดคือการเข้าสู่กระบวนการตามแผนฟื้นฟู ถือเป็นโครงการที่เราพยายามทำและดำเนินการแก้ปัญหาได้สำเร็จ"

ชง "แผนฟื้นฟู ขสมก." เข้า ครม.

หลังจากนี้เหลือเวลาเพียง 2 เดือน วางแผนเร่งดำเนินงานทุกอย่างให้จบ ซึ่งขณะนี้มีหลายโครงการที่เร่งรัดผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็ว อาทิ แผนฟื้นฟูองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำความเข้าใจกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เพื่อชี้แจงถึงประโยชน์ของแผนดังกล่าวให้ชัดเจน เช่น การคิดอัตราค่าโดยสาร ในราคา 30 บาทตลอดวัน ถือเป็นกลไกที่เราคิดเพื่อปฏิรูปเส้นทางเดินรถทั้งระบบขนส่งสาธารณะ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าประชาชนได้ประโยชน์อย่างไร และพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำกำไรให้เป็นบวกได้จริง โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ได้ภายในเดือนกันยายนนี้ แต่ความยากคือหากครม.เห็นชอบแล้วต้องดำเนินการให้ได้ตามแผนที่วางไว้

ตั้งเป้า 2 เดือนจบ "สายสีแดง"

ด้านการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ขณะนี้โครงการมีความล่าช้า เนื่องจากเอกชนขอขยายเวลา 500 วัน ในการก่อสร้างช่วงสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงการบริหารการเดินรถ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP ขณะนี้อยู่ระหว่างการของบประมาณส่วนเพิ่ม Variation Order (VO) วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท จากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นค่างานระบบอาณัติสัญญาณ ค่าจ้างที่ดำเนินการแล้ว ทั้งนี้ต้องตอบ ครม.ให้ได้ว่างบประมาณดังกล่าวจะดำเนินการใช้ในด้านใดบ้าง โดยตั้งเป้าภายใน 2 เดือน (ส.ค.- ก.ย. 2563) ก่อนเกษียณจะเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อสรุป

ดัน "สายสีน้ำตาล-ด่วนขั้น 3"

ขณะความคืบหน้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ซึ่งติดปัญหาเจรจากับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ขณะนี้ทางมก.ยอมรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าแล้ว ซึ่งมีเสาตอม่อบางต้นที่จะต้องปักฐานลงในพื้นที่ของมก. ทั้งนี้ไม่ได้ขัดข้อง เนื่องได้เจรจาฐานะศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย แต่เงื่อนไขกระทรวงฯระบุว่าต้องดำเนินการโครงการสายสีน้ำตาล ควบคู่กับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2

"เราต้องทำให้มก. ยอมรับ การก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือด้วยเช่นกัน เนื่องจากมก.มีความกังวลหลายเรื่อง อย่าง เสียง ฝุ่น อุบัติเหตุ ซึ่งกระทรวงฯ ได้ระบุเทคนิกป้องกัน ซึ่ง มก.อยู่ระหว่างพิจารณา เราอยากให้สายสีน้ำตาลดำเนินควบคู่กับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ซึ่งต้องเจรจาให้จบก่อนเกษียณ"

ส่งต่อปลัดคนใหม่

ภารกิจต่อไปปลัดคมนาคมใหม่ จะสานต่อโครงการสำคัญ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงโค้งสุดท้ายที่มีการเสนอรายชื่อว่าที่ปลัดฯใหม่ จำนวน 8 รายชื่อ โดยผู้ที่ถูกเสนอ รายชื่อนั้น เป็นข้าราชการระดับ 10 อาทิ อธิบดี รองปลัดคมนาคม ผู้ตรวจราชการ เพื่อเสนอต่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณา เบื้องต้นผู้ที่รับหน้าที่เป็นปลัดกระทรวงคมนาคมต้องมีคุณสมบัติทั้งด้านผลงาน ประวัติย้อนหลัง ไม่จำเป็นต้องเก่งเรื่องงานหรือการบริหารคน แต่ต้องเก่งในการบริหารสถานการณ์ต่างๆ

บรรยายใต้ภาพ
ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2020 11:15 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดผลสำรวจแบบจุกๆ“59%ไม่ใช้รถไฟฟ้า6สาย”
*บ๊ายบายเบื่อเดินทางหลายต่อราคาแพง!
*รัฐเร่งลดค่าใช้จ่ายจัดระบบเชื่อมต่อด่วน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2672177606337074


ส่งเสริมคนใช้รถไฟฟ้าเพิ่ม ลดใช้พลังงานลดก๊าซเรือนกระจก
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:17 น.

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำโครงการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากมาตรการภาคขนส่งด้วยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน


โครงการติดตามประเมิน (Tracking) มีรายละเอียดขั้นตอนดำเนินการ อย่างไรและผลที่ได้รับสะท้อนให้เห็นอะไรได้บ้างนั้น “รายงานวันจันทร์” ได้รับการเปิดเผยจาก รองผู้อำนวยการ สนข. วิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์

แฉเล่ห์ถ่วงคดีบอส อยู่วิทยา ใช้ช่องกฎหมายร้องขอความเป็นธรรมกว่า 10 หน
โควิด ยังไม่จบ โลกผวาไวรัสเห็บคืนชีพในจีน ติดจากคนสู่คน อันตรายถึงตาย
'พี่ทหาร' ตีนผีชนแล้วหนี เด็กเจ็บ 5 ราย รู้ตัวแล้วเป็นจ่าทหารเรือ

“โครงการนี้ สนข.จ้างที่ปรึกษาจัดทำโครงการ ระยะเวลา 12 เดือน ผลการประเมิน พบว่า การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ สายสีเขียว สายสีน้ำเงิน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสายสีม่วง สามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้ประมาณ 224.3 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หากดำเนินการครบทุกเส้นทางตามแผนแม่บท M–Map จะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้ประมาณ 1,375.5 ktoe ในปี 2579

“สำหรับการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก ปี 2563 สามารถลดได้ประมาณ 0.64 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) หากดำเนินการครบทุกเส้นทางปี 2573 จะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 2.65 MtCO2e”

ถามว่า ปัจจุบันคนใช้รถไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน
รอง ผอ.สนข.ระบุว่า ผลการสำรวจคนใช้รถไฟฟ้าเส้นทางที่เปิดให้บริการปัจจุบัน โดยสำรวจเส้นทางละ 500 ตัวอย่าง ข้อมูลพื้นฐานคนใช้บริการรถไฟฟ้า พบว่า 32% ช่วงอายุ 23-29 ปี (วัยทำงาน) มีรายได้ 15,001-30,000 บาท ใช้บริการอย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ใน ชม. เร่งด่วน ไป-กลับ จากทำธุระและที่ทำงาน 31% ช่วงอายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 22 ปี (นักเรียน/นักศึกษา) รายได้น้อยกว่า 15,000 บาท/เดือน ใช้บริการ ทุกวันใน ชม.เร่งด่วน ไป-กลับ โรงเรียน และมหาวิทยาลัย



สัดส่วนการใช้พาหนะ ก่อนมีรถไฟฟ้า 28.62% รถเมล์ 22.79% รถยนต์ส่วนบุคคล 25.49% รถแท็กซี่ หลังมีรถไฟฟ้า 67.72% ใช้รถไฟฟ้า 7.71% รถเมล์ 7.34% รถยนต์ส่วนบุคคล

“เหตุผลที่คนเลือกใช้รถไฟฟ้า พบว่า 63% ประหยัดเวลา 19% ควบคุมเวลาเดินทางได้ 8% ประหยัดค่าเดินทาง 6% สะดวกกว่าใช้ขนส่งสาธารณะอื่นๆ และ 4% ปลอดภัย ขณะเดียวกัน เหตุผลคนที่ไม่เลือกใช้รถไฟฟ้า 59% ไม่ถึงจุดหมายปลายทางด้วยระบบเดียว/ต้องเดินทางต่อหลายระบบ 18% ราคาสูง 7% ไม่ชอบคนแน่น 6% และ 4% ไม่มีระบบเชื่อมต่อรอง (ฟีดเดอร์) เข้าถึงระบบรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ ภาครัฐจะศึกษามาตรการเชื่อมต่อการเดินทางเพื่อตอบโจทย์ การไม่เชื่อมต่อจุดหมายปลายทางด้วยระบบเดียว เพื่อส่งเสริมให้คนมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่วนมาตรการส่งเสริมระบบขนส่งรองเชื่อมโยง (Feeder) จะเปลี่ยนเส้นทางรถเมล์ให้เป็น Feeder เข้าถึงระบบรถไฟฟ้า พัฒนา ด้านบริการ เก็บค่าธรรมเนียมการใช้รถยนต์ และใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อลด ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง.

ลุยพัฒนา 6 เส้นทางรถไฟฟ้า ลดก๊าซเรือนกระจก
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:23 น.


สนข.เดินหน้าพัฒนาระบบรถไฟฟ้า 6 เส้นทาง หวังลดก๊าซเรือนกระจก ขณะที่สำรวจเส้นทางรถไฟฟ้า พบ 59% ประชาชนไม่ใช้รถไฟฟ้า เหตุเดินทางต่อหลายระบบ วอนรัฐลดค่าตั๋วโดยสารดันรถไฟฟ้าฟีดเดอร์เชื่อมระบบขนส่งต่อเนื่อง

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยในฐานะประธานเปิดสัมมนาเพื่อเผยแพร่โครงการ ครั้งที่ 2 การศึกษาและรับฟังความคิดเห็น โครงการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากมาตรการภาคขนส่งด้วยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ว่า ขณะนี้ที่ปรึกษาได้เสนอผลดำเนินโครงการการประเมินพลังงานที่ลดได้ด้วยการติดตามประเมินจากรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 6 เส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่
1.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สำโรง
2.สายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ
3.สายสีเขียว ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า
4.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง
5.รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ
6.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน




นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า จากการดำเนินโครงการภายใต้แผนการดำเนินงานของโครงการ ระยะเวลา 12 เดือน พบว่าผลการประเมินพลังงานที่ลดได้ด้วยการติดตามประเมิน (Tracking) ที่สามารถตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification : MRV) ในปี 2563 โดยใช้มาตรการภาคขนส่งด้วยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 6 เส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน สามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้ประมาณ 224.3 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) หากดำเนินการทุกเส้นทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแผนแม่บท M-Map จะสามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้ประมาณ 1,375.5 ktoe ในปี พ.ศ. 2579 และหากเปรียบเทียบกับแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558 – 2579 (EEP 2015) ที่คาดการณ์ไว้ที่ 4,823 ktoe ถือว่าผลที่ประเมินได้ค่อนข้างแตกต่างกัน สำหรับการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ด้วยการติดตามประเมิน (Tracking) ที่สามารถ MRV ได้ พบว่า ในปี พ.ศ. 2563 มาตรการภาคขนส่งด้วยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 6 เส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน สามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 0.64 MtCO2e



นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ อาจารย์วิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะรองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า ได้สำรวจพื้นที่ให้บริการรถไฟฟ้าที่เปิดบริการ 6 เส้นทาง และเส้นทางก่อนเปิดดำเนินการ 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และ 2.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยสำรวจเส้นทางละ 500 ตัวอย่าง พบว่า ช่วงอายุ 23-29 ปี (วัยทำงาน) มีรายได้ 15,001-30,000 บาท ใช้บริการอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ในชม.เร่งด่วน ไป-กลับ จากทำธุระและที่ทำงาน คิดเป็น 32% ขณะที่ช่วงอายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 22 ปี (นักเรียน/นักศึกษา) รายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ใช้บริการทุกวันในชม.เร่งด่วน ไป-กลับ โรงเรียน และมหาวิทยาลัย คิดเป็น 31% เหตุผลที่เลือกใช้รถไฟฟ้าเมื่อเทียบกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ พบว่า ประหยัดเวลา 63% ควบคุมเวลาเดินทางได้ 19% ประหยัดค่าเดินทาง 8% สะดวกกว่าใช้ขนส่งสาธารณะอื่นๆ 6% และ ปลอดภัย 4%


ทั้งนี้สาเหตุที่ไม่เลือกใช้รถไฟฟ้าพบว่าไม่ถึงจุดหมายปลายทางด้วยระบบเดียวหรือต้องเดินทางต่อหลายระบบ 59% ราคาสูง 18% ไม่ชอบคนหนาแน่น 7% เข้าถึงระบบไม่ดีหรือไม่สะดวก 6% และไม่มีระบบเชื่อมต่อรอง (ฟีดเดอร์) เข้าถึงระบบรถไฟฟ้า 4%



“รัฐควรมีนโยบายช่วยลดค่าใช้จ่าย จัดระบบขนส่งรอง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า (ฟีดเดอร์) เช่น รถเมล์ ให้เดินทางสะดวก ส่งเสริมใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ลดใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตามนำความคิดเห็นผู้รับร่วมสัมมนาครั้งนี้มาปรับปรุงผลการศึกษาให้สมบูรณ์ ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงานต่อไป”


Last edited by Wisarut on 11/08/2020 10:40 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2020 1:39 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส จับมือ ลาดกระบัง นำรถไฟฟ้าล้อยาง วิ่งมหา’ลัย-แอร์พอร์ตลิงก์-หัวตะเข้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา 13:26 น.
บีทีเอสเล็งผุดรถแทรมป์! จับมือ “ลาดกระบัง” ศึกษาเปิดบริการ 2 เส้นทาง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา 13:34
บีทีเอสจับมือลาดกระบังศึกษารถไฟฟ้าล้อยางให้บริการนำร่อง2เส้นทาง

11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:44 น.

ลุยศึกษา “รถรางไฟฟ้าล้อยาง” เชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์ลาดกระบัง
วันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา 13:34 น.
Click on the image for full size

ครั้งแรกในไทย! บีทีเอส จับมือ ลาดกระบัง นำรถไฟฟ้าล้อยาง วิ่งมหา’ลัย-แอร์พอร์ตลิงก์-หัวตะเข้

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 10 สิงหาคม 2563 นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายรังสิน กฤตลักษณ์ กรรมการบริหาร และผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร นางสาวรัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด และ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด



โดยมี นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ดร.ชัยศักดิ์ ศรีเศรษฐนิล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอส อินฟราสตรัคเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และรองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารทรัพยากรและบริการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องบอลรูม โรงแรมยู สาทร กรุงเทพฯ

นายกวิน กาญจนพาสน์ กล่าวว่าการร่วมลงนามในครั้งนี้ที่เป็นก้าวสำคัญที่บริษัทฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tram Bus) มาใช้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะระบบรางขนาดรอง เชื่อมต่อพื้นที่ภายในสถาบันการศึกษา กับระบบขนส่งมวลชนหลัก รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีลาดกระบัง

“เป็นการนำความรู้และประสบการณ์ทางระบบรางที่มีมามากกว่า 20 ปี ผนวกกับความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ระบบ E-Payment และ Non-Payment ผ่านบัตรแรบบิท ที่สามารถเชื่อมต่อกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน“


ภายใต้ความร่วมมือนี้จะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ เข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่จากประสบการณ์จริง นอกจากนี้ยังจะเป็นโอกาสอันดี ที่ทางบริษัทฯ จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชน และระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงฟังก์ชันการใช้งานด้านดิจิทัลอื่นๆ กับ สจล. ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ มีผลงานวิจัยมากมาย และยังสามารถนำมาใช้ในการศึกษาเพื่อนำไปสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียนได้อีกด้วย



ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการร่วมมือ กับบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ซึ่งบริษัทฯทั้ง 2 แห่งนี้ที่เป็นเลิศทางด้านธุรกิจระบบขนส่งสาธารณะทางราง สื่อโฆษณาอสังหาริมทรัพย์ และผู้นำทางด้านเทคโนโนโลยี ด้านการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

โดยทั้ง 2 บริษัทฯ จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาให้มีความสะดวกสบาย ทั้งด้านการเดินทาง การใช้ชีวิตประจำวันให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางสัญจรภายในบริเวณสถาบันฯ และเขตชุมชนใกล้เคียง ปัจจุบันเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากมีทางรถไฟวิ่งผ่านกลางสถาบันฯ มีผู้โดยสารเดินทางมาขึ้น-ลงจำนวนมาก ประชาชนนำรถยนต์ส่วนตัวออกมาขับขี่ แทนการใช้ระบบขนส่งมวลชน ทำให้ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น เกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดการสะสมมลพิษ ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมภายในสถาบันฯ สุขภาพของนักศึกษา และประชาชนทั่วไป อีกด้วย

จากปัญหาดังกล่าว บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป ได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาโดยการศึกษาเส้นทาง “ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง” (Tram Bus) เพื่อใช้เป็นระบบขนส่งมวลชน หลักในการเดินทางของนักศึกษา และบุคลากรภายในสถาบันฯ ในการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่มีอยู่ในปัจจุบัน และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว แก้ปัญหาจราจร พร้อมทั้งลดมลพิษ ภายในสถาบันฯให้เป็นไปตามนโยบายของทางภาครัฐ และยังสามารถตอบโจทย์ให้กับนักศึกษาซึ่งเป็นวัยรุ่นยุคใหม่ที่เน้นความรวดเร็ว และสะดวกสบายในการเดินทางเป็นหลัก



นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าสำหรับการศึกษารูปแบบ “ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง” ในเบื้องต้นบริษัทฯได้ศึกษาเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ไว้จำนวน 2 เส้นทาง เส้นทางที่ 1 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จากสถานีลาดกระบัง – หัวตะเข้ ระยะทาง 4 กิโลเมตร ประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่ สถานีพระจอมเกล้า และสถานีหัวตะเข้ เส้นทางที่ 2 วิ่งรอบภายในพื้นที่ของสถาบัน และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

สำหรับรถรางไฟฟ้าล้อยาง เป็นระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ที่ได้รับความนิยมใช้ตามเมืองหลวงต่าง ๆ ในต่างประเทศ มีลักษณะคล้ายรถโดยสารทั่วไปแต่จะทันสมัยกว่า และมีการพ่วงตู้โดยสาร โดยในรถ 1 ขบวนจะมี 3 ตู้ ซึ่งจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 250 คนต่อขบวน ใช้ความเร็วได้สูงสุด 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่มีมลพิษ เนื่องจากใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อน

ทั้งนี้ใน 2 เส้นทางจะต้องใช้รถรางไฟฟ้าล้อยาง จำนวน 4 ขบวน ในการให้บริการซึ่งคาดว่าจะเพียงพอรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่ใช้บริการ ภายในสถาบันฯ และประชาชนทั่วไป โดยรูปแบบการใช้บริการสามารถใช้บัตรแรบบิทในการเดินทาง และสามารถเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และหากสามารถนำไปสู่การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปได้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี โครงการนี้จึงจะเสร็จสมบูรณ์ และเป็นระบบรถรางไฟฟ้าล้อยางแห่งแรก ที่จะวิ่งในสถาบันการศึกษาของประเทศไทย และจะเป็นต้นแบบให้กับโครงการอื่น ๆ ที่จะมีต่อไปในอนาคตได้
https://www.facebook.com/BTSSkyTrain/posts/3283835671662025
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2675787699309398
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2020 3:19 pm    Post subject: Reply with quote

“ ตั๋วร่วม” วัดฝีมือ “ปลัดคมนาคม” ประชุมกว่า 37 ครั้ง
*ความหวังพกบัตรใบเดียว14.2 ล้านคนรอต่อไป
*ทุกหน่วยงานอ้างติดปัญหาสารพัด1ต.ค.จบไม่ลง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2679568885597946
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2020 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับผังเมือง กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ขยายรับรถไฟฟ้าใต้ดิน 3,335 ไร่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 13 สิงหาคม 2563 - 17:47 น.
ทส.ขอใช้งบฯ 2.2 หมื่นล้าน ทำแผนอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์
วันที่ 14 สิงหาคม 2563 - 13:20 น.
ครม. เห็นชอบขยายพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ต่อจากชั้นนอก ครอบคลุม 3,300 ไร่
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 13 สิงหาคม 2563 - 18:47 น.

ครม. เห็นชอบขยายพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่มพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก 3,335.9 ไร่ ขยายรับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีม่วง-สีส้ม-สีน้ำเงิน

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบขยายพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ตามแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ฉบับใหม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ 3 บริเวณ คือ
1.กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน
2.กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และ
3.บริเวณฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่มเป็น 4 บริเวณ

“โดยเพิ่มพื้นที่ส่วนขยาย บริเวณที่ 4 คือ พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก [พื้นที่ระหว่างคลองรอบกรุง (คลองบางลำภู - คลองโอ่งอ่าง) ถึง คลองผดุงกรุงเกษม] และยังได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

น.ส.รัชดากล่าวว่า การขยายพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องจากปัจจุบันมีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เช่น โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีม่วง โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม และโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน รวมทั้งการท่องเที่ยวในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น

“กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ฉบับใหม่ขึ้น โดยผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในชุมชนพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ รวม 9 ครั้ง และคณะกรรมการการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า มีมติเห็นชอบแล้ว”

สาระสำคัญ คือ เป็นการขยายพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ จากเดิม 3 บริเวณ คือ กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์ เป็น 4 บริเวณ

โดยเพิ่ม “พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก” ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,335.9 ไร่ ตั้งแต่แนวกึ่งกลางคลองรอบกรุง (คลองบางลำพูและคลองโอ่งอ่าง) แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือและทิศใต้ และแนวคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตะวันออก ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งมีมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น คลองผดุงกรุงเกษม วัดบางขุนพรหม(ธนาคารแห่งประเทศไทย) และวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

น.ส.รัชดากล่าวว่า ในส่วนของแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ รายสาขา รวมวงเงินประมาณ 22,022.04 ล้านบาท ประกอบด้วย 8 สาขา 18 แผนงาน เช่น สาขามรดกวัฒนธรรม มี 2 แผนงาน คือ การคุ้มครองและบูรณปฏิสังขรณ์แหล่งมรดก และการส่งเสริมฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรม วงเงิน 4,182 ล้านบาท รับผิดชอบโดย กระทรวงวัฒนธรรม และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ในส่วนของงบประมาณ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของแต่ละหน่วยงานเอง

และ 2.ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์รายพื้นที่ เป็นการนำยุทธศาสตร์ฯ รายสาขา มาบูรณาการใน 12 พื้นที่ โดยไม่ใช้งบประมาณเพิ่มเติม ประกอบด้วย 12 พื้นที่ เช่น บริเวณพระบรมมหาราชวัง (กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน) บริเวณ ย่านบางลำพู บริเวณวัดดุสิตาราม-บางยี่ขัน เป็นต้น

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ จะเป็นการบูรณาการการทำงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดำเนินการหลัก

“แผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ จะมีผลบังคับใช้ได้ก็ต่อเมื่อหน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนและจะต้องปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบัน สำนักวางแผนและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายด้านผังเมืองและการควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำสาระสำคัญของแผนแม่บทฯ ในส่วนที่จำเป็นไปบังคับใช้ต่อไป จึงไม่ต้องกังวลเรื่องผลกระทบต่อประชาชน เพราะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านก่อน” น.ส.รัชดากล่าว

https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/27415/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2020 11:00 pm    Post subject: Reply with quote

ปลัดคมนาคมตามคืบหน้าระบบตั๋วร่วม
14 สิงหาคม 2020 - 15:55

ปลัดกระทรวงคมนาคม เรียกประชุมคณะกรรมการตั๋วร่วม ล่าสุดคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างปรับร่างระเบียบ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าและติดตามแนวทาง บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ซึ่งล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ไปร่วมชี้แจงรายละเอียดต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการปรับร่างระเบียบฯ และจะส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ รฟม. อยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการจัดทำคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนสิงหาคม 2563 และนำเสนอคณะกรรมการ รฟม. พิจารณาให้เร็วที่สุด


ทั้งนี้ การพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบจะใช้เวลาดำเนินการ 8 เดือน คาดว่าจะเริ่มปฏิบัติงานได้ภายในเดือนกันยายน 2563 สำหรับ BTS ขณะนี้ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างพัฒนาระบบฯ แล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 คาดว่าจะพัฒนาระบบฯ แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2563 และทดสอบระบบได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งการทดสอบระบบระหว่างกันจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน

ด้านการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ ขณะนี้ สนข. อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาวิเคราะห์อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบที่เหมาะสม คาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้ภายในเดือนกันยายน 2563

อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยยึดถือข้อกฎหมายเป็นสำคัญ

Wisarut wrote:
“ ตั๋วร่วม” วัดฝีมือ “ปลัดคมนาคม” ประชุมกว่า 37 ครั้ง
*ความหวังพกบัตรใบเดียว14.2 ล้านคนรอต่อไป
*ทุกหน่วยงานอ้างติดปัญหาสารพัด1ต.ค.จบไม่ลง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2679568885597946
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 219, 220, 221 ... 277, 278, 279  Next
Page 220 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©