RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179564
ทั้งหมด:13490796
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 220, 221, 222 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2020 11:34 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้นบอร์ด รฟม. เคาะ “ตั๋วร่วมข้ามระบบ” ก.ย. เชื่อม BTS รอ พ.ย.นี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 สิงหาคม 2563 - 17:48 น.

วันที่ 14 สิงหาคม 2563 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมรับทราบความคืบหน้าและติดตามแนวทาง บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สรุปดังนี้

1.ความคืบหน้าการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการตั๋วร่วม พ.ศ. …. ล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ไปร่วมชี้แจงรายละเอียดต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการปรับร่างระเบียบฯ และจะส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป

2.ความคืบหน้าการการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า อยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการจัดทำคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (Variation Order : VO)

ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ
ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ
คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือน ส.ค.นี้ และนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ การพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบจะใช้เวลาดำเนินการ 8 เดือน คาดว่าจะเริ่มปฏิบัติงานได้ภายในเดือน ก.ย.นี้


สำหรับ BTS ขณะนี้ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างพัฒนาระบบฯ แล้วเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา คาดว่าจะพัฒนาระบบฯ แล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.นี้ และทดสอบระบบได้ภายในเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งการทดสอบระบบระหว่างกันจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน

3.การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ ขณะนี้ สนข. อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาวิเคราะห์อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบที่เหมาะสม คาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้ภายในเดือน ก.ย.นี้

4.ความคืบหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบตั๋วร่วม

4.1 บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ได้ว่าจ้างพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) รองรับโครงการตั๋วร่วม ซึ่งผู้รับจ้างยังไม่สามารถส่งมอบแผนงานและส่งมอบงานจ้างพัฒนาระบบฯ ได้ตามสัญญา และยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ โดยผู้รับจ้างอ้างว่าประสบปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ รฟฟท. เร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด และให้ดำเนินการต่าง ๆ โดยยึดสัญญาเป็นหลัก

4.2 กรมเจ้าท่า (จท.) ได้ดำเนินการพัฒนาท่าเรือที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 17 ท่า ปัจจุบันมีท่าเรือที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ จำนวน 8 ท่า พร้อมรองรับการดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการรายใดมีความพร้อมดำเนินการ จท. พร้อมจะสนับสนุน

ทั้งนี้ ได้กำชับให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยยึดถือข้อกฎหมายเป็นสำคัญ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2020 10:47 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนทะลวงรถติดแจ้งวัฒนะ 'ผุดฟีดเดอร์-สกายวอล์ก' เชื่อมศูนย์ราชการ 4 สถานีรถไฟฟ้า
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ร่วม 13 ปีที่ "ธพส.-บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด" บริษัทลูกของกรมธนารักษ์ ใช้เวลาพัฒนาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะหลังจากเปิดใช้อาคารโซน A และโซน B ไปแล้ว

ล่าสุดกำลังเร่งขยายโซน C บนเนื้อที่ 81 ไร่ สุดท้ายในพิมพ์เขียวทั้งก่อสร้างอาคารใหม่และปรับปรุงพื้นที่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยเม็ดเงิน 20,000 ล้านบาท

สำหรับส่วนต่อขยายโซน C ตั้งอยู่ในซอยแจ้งวัฒนะ 7 ติดกับ สโมสรราชพฤกษ์ และโรงพยาบาล จุฬาภรณ์ ออกแบบเป็นอาคารสำนักงานของส่วนราชการ สูง 11 ชั้น และใต้ดิน 2 ชั้น รวม 5 อาคาร มีพื้นที่ใช้สอย 660,000 ตร.ม.ประกอบด้วย สำนักงาน 3 อาคาร ส่วน เอเทรียมและศูนย์ประชุม 2 อาคาร มีที่จอดรถ 4,600 คัน พร้อมมี พื้นที่สีเขียวระดับดินและบนหลังคาอาคาร พื้นที่สันทนาการ 50%

ความคืบหน้าล่าสุด "นาฬิกอติภัค แสงสนิท" เอ็มดี ธพส. ที่เข้ามาบริหาร งานได้ 1 ปีกล่าวว่า การพัฒนาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะส่วนสุดท้ายนี้ ใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ โดยทยอยกู้เป็นรายปี ในปี 2562 กู้ธนาคารออมสิน 1,500 ล้านบาท ปี 2563 กู้ธนาคารกรุงไทย 4,300 ล้านบาท ในปี 2564 มีแผนจะกู้อีก 4,800 ล้านบาท ทั้งโครงการจะใช้เวลาก่อสร้าง 60 เดือน แล้วเสร็จในปี 2567 รองรับข้าราชการและประชาชนมาใช้บริการประมาณ 30,000 คน/วัน

ได้แก่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน ภาครัฐ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และศาลปกครองสูงสุด

ปัจจุบันกำลังดำเนินการงานเสาเข็ม จะเสร็จในเดือน ก.ย.นี้ และงานก่อสร้างชั้นใต้ดิน ขณะที่งานอาคารอยู่ระหว่างออกแบบ จะทยอยดำเนินการในรูปแบบเทิร์นคีย์หรือออกแบบไปก่อสร้างไป ในเดือน ธ.ค.นี้จะเปิดประมูลอาคารด้านทิศเหนือ ค่าก่อสร้างประมาณ 6,800-7,000 ล้านบาท จากนั้นประมาณเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2564 จะประมูลก่อสร้างอาคาร ส่วนที่เหลือ

"ความกังวลเรื่องการจราจร จากปัจจุบันที่ประสบปัญหารถติดอยู่แล้ว หากสร้างอาคารแห่งใหม่จะมีคน มาใช้บริการเพิ่มอีกเป็น 30,000 คน จะมีวางผังการพัฒนา จัดระบบการจราจรภายในโครงการและเชื่อมต่อไปยังถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีฯ ถนนประชาชื่น และรถไฟฟ้า 4 สถานีของสายสีแดงที่สถานีทุ่งสองห้อง และสถานีหลักสี่ และสายสีชมพูที่ สถานีศูนย์ราชการและสถานีทีโอที เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว"

โดย "นาฬิกอติภัค" ขยายความว่า จะมีระบบขนส่งมวลชนรูปแบบรถเมล์ไฟฟ้าเป็นฟีดเดอร์รับส่งคนภายในศูนย์ราชการเชื่อมการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้า ขณะนี้มีการเปิดเดินรถแล้ว 1 เส้นทาง สาย 1551 วิ่งบริการไปยังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จะเจรจากับบริษัทเอกชนให้ลงทุนเพิ่ม จะมีการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) พร้อมที่จอดรถ 1,600 คัน ด้านหลังศาลปกครองสูงสุดและซื้อรถเพิ่ม 12 คัน รับสัมปทานวิ่งบริการ 3 เส้นทาง

นอกจากนี้ ยังมีแผนจะสร้างทางเดินเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู และมีโครงการก่อสร้างถนนหมายเลข 10 เชื่อมถนนประชาชื่น ระยะทาง 1.6 กม. และถนนหมายเลข 11 เป็นการปรับปรุงถนนประชาชื่นจากเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจรของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่ง ธพส.จะไปเจรจากับการประปานครหลวง (กปน.) เพื่อขอตัดถนนผ่านพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงจะเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ติดสัญญาณไฟจราจรตรงแยกถนนสาย 8 จะไปเชื่อมกับถนนวิภาวดีฯ

ทั้งหมดมีแผนงานโครงการไว้อยู่แล้วเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เริ่มวางผังพัฒนาศูนย์ราชการเพื่อเป็นการระบายการจราจร คาดว่าภายในปีนี้ จะได้ข้อยุติทั้งหมด แต่ที่ล่าช้าเพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องขอจัดสรรงบประมาณมาก่อสร้าง ซึ่งถนนสาย 8 กว่าจะได้สร้างทาง กทม. ใช้เวลากว่า 10 ปี

ขณะที่การป้องกันน้ำท่วมทางกรมทางหลวงมีแผนปรับปรุงระบบระบายน้ำบนถนนแจ้งวัฒนะ และ กทม.ยังมีแผนจะก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากรอีก ด้านการจัดการขยะมูลฝอยจะให้มีการคัดแยกขยะแต่ละประเภท

ทุกอย่างไม่ได้อยู่ที่ ธพส.ฝ่ายเดียว ต้องบูรณาการร่วมกับทุกฝ่าย

บรรยายใต้ภาพ
นาฬิกอติภัค แสงสนิท

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2020 10:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ลุ้นบอร์ด รฟม. เคาะ “ตั๋วร่วมข้ามระบบ” ก.ย. เชื่อม BTS รอ พ.ย.นี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 สิงหาคม 2563 - 17:48 น.


ตั๋วร่วมยังอืด! “คมนาคม” จี้ รฟม.เร่งปรับระบบเชื่อม MRT-BTS
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 14 สิงหาคม 2563 -16:24



“คมนาคม” เข็นใช้ “ตั๋วร่วมข้ามระบบ” เร่งสรุปอัตราค่าธรรมเนียมใน ก.ย. จี้ รฟม.ชงบอร์ดอนุมัติปรับปรุงหัวอ่าน ด้าน BTS ระบุ พ.ย.เริ่มทดสอบได้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถายหลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 32-5/2563 ว่าที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าและติดตามการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ที่จะมีการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System) โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม.) อยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการจัดทำคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (Variation Order : VO) คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนสิงหาคม 2563 และนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มปฏิบัติงานได้ภายในเดือนกันยายน 2563 ซึ่งการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบจะใช้เวลาดำเนินการ 8 เดือน

สำหรับ รถไฟฟ้า BTS ได้มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างพัฒนาระบบฯ แล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 คาดว่าจะพัฒนาระบบฯ แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2563 และทดสอบระบบได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 ส่วนการทดสอบระบบเพื่อใช้ระหว่างกันแบบข้ามระบบจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
สำหรับ การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาวิเคราะห์อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบที่เหมาะสม คาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้ภายในเดือนกันยายน 2563
นายชัยวัฒน์กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบตั๋วร่วมว่า ในส่วนของรถไฟฟ้าแร์พอร์ตเรลลิงก์ ทาง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ได้ว่าจ้างบริษัทฯเข้ามาพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) รองรับโครงการตั๋วร่วม ซึ่งปรากฏว่าผู้รับจ้างยังไม่สามารถส่งมอบแผนงานและส่งมอบงานจ้างพัฒนาระบบฯ ได้ตามสัญญา และยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ โดยผู้รับจ้างอ้างว่าประสบปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ รฟฟท. เร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด และให้ดำเนินการต่างๆ โดยยึดสัญญาเป็นหลัก
สำหรับกรมเจ้าท่า (จท.) ได้ดำเนินการพัฒนาท่าเรือที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 17 ท่า ปัจจุบันมีท่าเรือที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ จำนวน 8 ท่า พร้อมรองรับการดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการรายใดมีความพร้อมดำเนินการ จท. พร้อมจะสนับสนุน
อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้หน่วยงานต่างๆ เร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยยึดถือข้อกฎหมายเป็นสำคัญ


ส่วนความคืบหน้าการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการตั๋วร่วม พ.ศ. ... ล่าสุด สนข.ได้ไปร่วมชี้แจงรายละเอียดต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการปรับร่างระเบียบฯ และจะส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2020 11:56 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมคาดทดสอบใช้งานตั๋วร่วมระบบรถไฟฟ้าพ.ย.63
วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2563 เวลา 02:25 น.

ปลัดคมนาคม คาดทดสอบใช้งานตั๋วร่วมระบบรถไฟฟ้าได้ในเดือนพฤศจิกายน 63

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ได้รับทราบความคืบหน้าและติดตามการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ที่จะมีการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System) โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการจัดทำคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนส.ค.63 และนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาให้เร็วที่สุ


ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มปฏิบัติงานได้ภายในเดือนก.ย.63 ซึ่งการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบจะใช้เวลาดำเนินการ 8 เดือน

สำหรับรถไฟฟ้า BTS ได้มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างพัฒนาระบบฯ แล้วเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.63 คาดว่าจะพัฒนาระบบฯ แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.63 และทดสอบระบบได้ภายในเดือนพ.ย.63 ส่วนการทดสอบระบบเพื่อใช้ระหว่างกันแบบข้ามระบบจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาวิเคราะห์อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบที่เหมาะสม คาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้ภายในเดือนก.ย.63

นายชัยวัฒน์ กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบตั๋วร่วมว่า ในส่วนของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์นั้น บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ได้ว่าจ้างบริษัทฯ เข้ามาพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC) รองรับโครงการตั๋วร่วม ซึ่งปรากฎว่า ผู้รับจ้างยังไม่สามารถส่งมอบแผนงานและส่งมอบงานจ้างพัฒนาระบบฯ ได้ตามสัญญา และยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ โดยผู้รับจ้างอ้างว่าประสบปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ รฟฟท. เร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้ดำเนินการต่าง ๆ โดยยึดสัญญาเป็นหลัก

สำหรับกรมเจ้าท่า (จท.) ได้ดำเนินการพัฒนาท่าเรือที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวน 17 ท่า ปัจจุบันมีท่าเรือที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ 8 ท่า พร้อมรองรับการดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการรายใดมีความพร้อมดำเนินการ จท. พร้อมจะสนับสนุน

"ได้กำชับให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด โดยยึดถือข้อกฎหมายเป็นสำคัญ" นายชัยวัฒน์ระบุ

ส่วนความคืบหน้าการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการตั๋วร่วม พ.ศ. .... ล่าสุด สนข.ได้ไปร่วมชี้แจงรายละเอียดต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการปรับร่างระเบียบฯ และจะส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2020 10:32 am    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคมจัดสัมมนาระดมความคิดเห็น โครงการศึกษาสำรวจเพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะและความปลอดภัยในการเดินทางทางถนนเพื่อเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 4
ประชาสัมพันธ์ กระทรวงคมนาคม
วันที่ 18 สิงหาคม 2563

..วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 - 12.00น. นายวัลลภ งามสอน รักษาการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาระดมความคิดเห็น โครงการศึกษา สำรวจเพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะและความปลอดภัยในการเดินทางทางถนนเพื่อเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 4 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและการออกแบบของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำมาประกอบศึกษา ออกแบบ และปรับปรุงแผนฯ โดยมี นางสาวขนิษฐา พัวพันธ์พงษ์ ผู้อำนวยการกองกลางกล่าวรายงาน ผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ สมาคมคนพิการ ผู้สูงอายุ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนา ณ โรงแรม สีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา
กระทรวงคมนาคมจัดการสัมมนาระดมความคิดเห็น โครงการศึกษา สำรวจเพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะและความปลอดภัยในการเดินทางทางถนนเพื่อเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยที่ผ่านมาแบ่งการดำเนินงานเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ดำเนินการในพื้นที่ 9 จังหวัด ในภาคตะวันออก กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และตราด ระยะที่ 2 ดำเนินการในพื้นที่ 10 จังหวัด ในภาคตะวันตก และภาคใต้ ได้แก่ สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง และ สงขลา ระยะที่ 3 ดำเนินการในพื้นที่ 15 จังหวัด ในภาคเหนือและภาคกลาง ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สุพรรณบุรี และ ลพบุรี และระยะที่ 4 ดำเนินการศึกษาและสำรวจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุดรธานี ศรีสะเกษ นครพนม สกลนคร หนองคาย และมุกดาหาร ทั้งนี้ ผลการศึกษาระยะ 1 - 3 พบว่า หน่วยงานที่ให้บริการสาธารณะทั้งทางบก ทางราง ทางอากาศ ทางน้ำ ได้พัฒนาและให้ความสำคัญในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุอย่างมาก ซึ่งเป็นการดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆ แต่จุดเชื่อมต่อของระบบขนส่งสาธารณะจากระบบขนส่งหนึ่งไปยังระบบขนส่งหนึ่งหรือจากหน่วยงานหนึ่งไปยังหน่วยงานหนึ่ง ยังไม่มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบ จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาและจัดทำแผนงานโครงการที่จะช่วยบูรณาการการเชื่อมโยงการเดินทางของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การเดินทางของคนพิการ และผู้สูงอายุเป็นระบบสามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง จากระบบขนส่งหนึ่งไปยังอีกระบบขนส่งหนึ่งได้อย่างไม่มีอุปสรรค และเอื้อต่อการเดินทาง ให้มีความเสมอภาค และเท่าเทียมกับประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ อย่างไม่เลือกปฏิบัติ กระทรวงคมนาคมจึงตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วม อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงานโครงการให้ประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน จึงได้จัดให้มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็นขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและการออกแบบของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาประกอบศึกษา ออกแบบ และปรับปรุงแผนฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในเรื่องการเดินทางของคนพิการและผู้สูงอายุให้เกิดความเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design: UD) ต่อไป

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3301454989901423&set=a.1969348579778744
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2020 11:45 am    Post subject: Reply with quote

ดัน"รถไฟฟ้า " แสนล้าน บูม 7 เมืองใหญ่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:20 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,602
วันที่ 20 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563


รฟม .-อบจ. ดัน รถไฟฟ้ารางเบา บูม 7 เมืองใหญ่ แสนล้าน แก้จราจร เปิดพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ โฟกัส เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา และภูเก็ต ขอนแก่น อุดรธานี และสงขลา

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมอบหมายดำเนิน โครงการระบบขนส่งมวลชน ทางราง หรือ รถไฟฟ้ารางเบา ภูมิภาค จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา และภูเก็ต ขณะที่ อีก 3 จังหวัดอยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี และสงขลา ไล่ตั้งแต่โครงการขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองฯ บ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี วงเงินลงทุน 7,914.48 ล้านบาท มีความพร้อม มีลักษณะโครงสร้างแบบระดับพื้นดิน ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้า (Light Rail) ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียดรูปแบบการลงทุน PPP ในช่วงมิ.ย.63-ม.ค.64 หลังจากนั้นเตรียมคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ภายในเดือน มี.ค.-มี.ค.65 โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนเม.ย.65-มิ.ย.68 ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ในปี 68



ขณะที่โครงการขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก ช่วงมหาวิทยาลัยนเรศวร-เซ็นทรัลพิษณุโลก สายสีแดง เฟส1 ระยะทาง 12.6กิโลเมตร จำนวน 15 สถานี วงเงินลงทุน 1,666.76 ล้านบาท มีลักษณะโครงสร้างแบบระดับพื้นดิน ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้า (Auto Tram) ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างการศึกษาแผนแม่บทของเส้นทางสายดังกล่าว โดยเลือกสายสีแดงเป็นเส้นทางที่สมควรดำเนินการเป็นเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจะดำเนินการขออนุมัติรูปแบบการลงทุน ในเดือน พ.ค.64-มี.ค.65 และเตรียมคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนรูปแบบ PPP ภายในเดือน ก.ย.65-ก.ย.66 โดยจะก่อสร้างในเดือน ต.ค.66-พ.ย.69 ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในเดือน ธ.ค.69

นอกจากนี้โครงการขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร จำนวน 21 สถานี วงเงินลงทุน 35,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้า (LRT/Tram) ความคืบหน้าปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2562 หลังจากนั้นเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เห็นชอบ และเสนอต่อคณะกรรมการ PPP หากผ่านความเห็นชอบจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือน มี.ค. 68

สำหรับรูปแบบโครงการขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ นั้นเป็นระบบรถรางไฟฟ้า

(LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน โดยแบ่งเป็นระบบ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี 2.สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่-แยกศรีบัวเงินพัฒนา 3.สายสีเขียว ช่วงแยกรวมโชคมีชัย-ท่าอากาศยานเชียงใหม่

ความคืบหน้าอยู่ระหว่าง ออกแบบ ศึกษาความเหมาะสมและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาตามแผนเมื่อการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีประมาณกลางปี 2564 และเริ่มก่อสร้างภายในปี 2565 คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะเพิ่มอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางสะดวก รวดเร็วปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้

ขณะที่ผ่านมา รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุนเอกชน พบว่ามีกลุ่มผู้ประกอบการและนักธุรกิจท้องถิ่นให้ความสนใจลงทุนโครงการนี้ เบื้องต้นมีกลุ่มธนาคารจากประเทศจีนที่สนใจสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน รวมถึงนักลงทุนต่างประเทศภาคเอกชน สนใจที่จะลงทุนในส่วนของซัพพลายเออร์และงานระบบ ส่วนด้านการเดินรถนักธุรกิจท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากเป็นสัญญาระยะยาว ซึ่งคล้ายกับการเดินรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ


นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการสำนักการช่าง องศ์การบริหารบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สะท้อนถึงแผนลงทุนระบบขนส่งทางรางในจังหวัดว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเชียงใหม่ประสบปัญหาด้านการจราจรหนาแน่นทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น เนื่องจากเป็นเมืองท่อง มีรายได้ ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทต่อปี หากมีรถแทรมป์เข้ามาพัฒนาด้านขนส่งมวลชนสารธารณะ จะช่วยให้การเดินทางสำหรับประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่มีความสะดวกมากขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า

นายสมชาย เอื้อวงษ์วงษ์ชัย กรรมการเลขาธิการหอการค้าเชียงใหม่ กล่าวว่า หากโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่จะสมบูรณ์ได้ทั้งระบบนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งรัดโครงการดังกล่าวทั้ง 3 เส้นทางสามารถเดินหน้าไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันทำให้ราคาที่ดินของภาคอสังหาฯ ปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต หลังจากที่ซบเซาในช่วงที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2020 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

ทะลวงรถติดแจ้งวัฒนะ ผุดสกายวอล์ก เชื่อมศูนย์ราชการ 4 สถานีรถไฟฟ้า
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 19 สิงหาคม 2563 - 11:55 น.



ร่วม 13 ปีที่ “ธพส.-บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด” บริษัทลูกของกรมธนารักษ์ ใช้เวลาพัฒนาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะหลังจากเปิดใช้อาคารโซน A และโซน B ไปแล้ว

ล่าสุดกำลังเร่งขยายโซน C บนเนื้อที่ 81 ไร่ สุดท้ายในพิมพ์เขียวทั้งก่อสร้างอาคารใหม่และปรับปรุงพื้นที่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยเม็ดเงิน 20,000 ล้านบาท

สำหรับส่วนต่อขยายโซน C ตั้งอยู่ในซอยแจ้งวัฒนะ 7 ติดกับสโมสรราชพฤกษ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ออกแบบเป็นอาคารสำนักงานของส่วนราชการ สูง 11 ชั้น และใต้ดิน 2 ชั้น รวม 5 อาคาร มีพื้นที่ใช้สอย 660,000 ตร.ม.ประกอบด้วย สำนักงาน 3 อาคาร ส่วนเอเทรียมและศูนย์ประชุม 2 อาคาร มีที่จอดรถ 4,600 คัน พร้อมมีพื้นที่สีเขียวระดับดินและบนหลังคาอาคาร พื้นที่สันทนาการ 50%

ความคืบหน้าล่าสุด “นาฬิกอติภัค แสงสนิท” เอ็มดี ธพส. ที่เข้ามาบริหารงานได้ 1 ปีกล่าวว่า การพัฒนาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะส่วนสุดท้ายนี้ ใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ โดยทยอยกู้เป็นรายปี ในปี 2562 กู้ธนาคารออมสิน 1,500 ล้านบาท ปี 2563 กู้ธนาคารกรุงไทย 4,300 ล้านบาท ในปี 2564 มีแผนจะกู้อีก 4,800 ล้านบาท ทั้งโครงการจะใช้เวลาก่อสร้าง 60 เดือน แล้วเสร็จในปี 2567 รองรับข้าราชการและประชาชนมาใช้บริการประมาณ 30,000 คน/วัน

ได้แก่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และศาลปกครองสูงสุด


ปัจจุบันกำลังดำเนินการงานเสาเข็มจะเสร็จในเดือน ก.ย.นี้ และงานก่อสร้างชั้นใต้ดิน ขณะที่งานอาคารอยู่ระหว่างออกแบบ จะทยอยดำเนินการในรูปแบบเทิร์นคีย์หรือออกแบบไปก่อสร้างไป ในเดือน ธ.ค.นี้จะเปิดประมูลอาคารด้านทิศเหนือ ค่าก่อสร้างประมาณ 6,800-7,000 ล้านบาท จากนั้นประมาณเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2564 จะประมูลก่อสร้างอาคารส่วนที่เหลือ

“ความกังวลเรื่องการจราจร จากปัจจุบันที่ประสบปัญหารถติดอยู่แล้ว หากสร้างอาคารแห่งใหม่จะมีคนมาใช้บริการเพิ่มอีกเป็น 30,000 คน จะมีวางผังการพัฒนา จัดระบบการจราจรภายในโครงการและเชื่อมต่อไปยังถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีฯ ถนนประชาชื่น และรถไฟฟ้า 4 สถานีของสายสีแดงที่สถานีทุ่งสองห้อง และสถานีหลักสี่ และสายสีชมพูที่สถานีศูนย์ราชการและสถานีทีโอที เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว”

โดย “นาฬิกอติภัค” ขยายความว่า จะมีระบบขนส่งมวลชนรูปแบบรถเมล์ไฟฟ้าเป็นฟีดเดอร์รับส่งคนภายในศูนย์ราชการเชื่อมการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้า ขณะนี้มีการเปิดเดินรถแล้ว 1 เส้นทาง สาย 1551 วิ่งบริการไปยังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จะเจรจากับบริษัทเอกชนให้ลงทุนเพิ่ม จะมีการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) พร้อมที่จอดรถ 1,600 คัน ด้านหลังศาลปกครองสูงสุดและซื้อรถเพิ่ม 12 คัน รับสัมปทานวิ่งบริการ 3 เส้นทาง

นอกจากนี้ ยังมีแผนจะสร้างทางเดินเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู และมีโครงการก่อสร้างถนนหมายเลข 10 เชื่อมถนนประชาชื่น ระยะทาง 1.6 กม. และถนนหมายเลข 11 เป็นการปรับปรุงถนนประชาชื่นจากเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจรของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่ง ธพส.จะไปเจรจากับการประปานครหลวง (กปน.) เพื่อขอตัดถนนผ่านพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงจะเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ติดสัญญาณไฟจราจรตรงแยกถนนสาย 8 จะไปเชื่อมกับถนนวิภาวดีฯ

ทั้งหมดมีแผนงานโครงการไว้อยู่แล้วเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เริ่มวางผังพัฒนาศูนย์ราชการเพื่อเป็นการระบายการจราจร คาดว่าภายในปีนี้จะได้ข้อยุติทั้งหมด แต่ที่ล่าช้าเพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องขอจัดสรรงบประมาณมาก่อสร้าง ซึ่งถนนสาย 8 กว่าจะได้สร้างทาง กทม.ใช้เวลากว่า 10 ปี

ขณะที่การป้องกันน้ำท่วมทางกรมทางหลวงมีแผนปรับปรุงระบบระบายน้ำบนถนนแจ้งวัฒนะ และ กทม.ยังมีแผนจะก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากรอีก ด้านการจัดการขยะมูลฝอยจะให้มีการคัดแยกขยะแต่ละประเภท

ทุกอย่างไม่ได้อยู่ที่ ธพส. ฝ่ายเดียว ต้องบูรณาการร่วมกับทุกฝ่าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2020 10:26 am    Post subject: Reply with quote

ตุลาคมนี้ ได้ใช้ ตั๋วร่วม รถไฟฟ้า
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 12:08 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า7
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,602
วันที่ 20 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563


"คมนาคม" เร่งคลอด ระบบตั๋วร่วม รถไฟฟ้า 1.2แสนใบ ภายใน ต.ค. นี้ เชื่อม ข้ามระบบ บีทีเอส-ใต้ดินของเอ็มอาร์ที อำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการใช้ระบบตั๋วร่วม ขณะนี้ติดปัญหาด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยี เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดความล่าช้า โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ในระยะแรกจะเร่งดำเนินการพัฒนาข้ามระบบเพื่อเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าของบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินของเอ็มอาร์ที ปัจจุบันมีบัตรโดยสารของบีทีเอส จำนวน 1 ล้านใบ ส่วนบัตรโดยสารของ BEM จำนวน กว่า 2 แสนใบ โดยจะเร่งดำเนินการให้ทันภายในเดือน ต.ค.2563 โดยตั้งเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 ทั้งนี้ในระยะที่สองจะดำเนินการพัฒนาระบบโดยใช้บัตรเดบิต วีซ่า โดยภาคธนาคารจะเข้าร่วมด้วย ซึ่งเป็นระบบเปิดกว้างที่สามารถให้ชาวต่างชาติที่เดินทางในไทยสามารถใช้บัตรดังกล่าวแตะกับระบบเพื่อเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส เอ็มอาร์ที เรือ แท็กซี่ ซึ่งระยะที่สองจะต้องใช้ระยะเวลาหารือเพื่อดำเนินการพอสมควร โดยจะเร่งดำเนินการในระยะแรก ให้แล้วเสร็จก่อน

ทั้งนี้ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ได้ติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาตั๋วของระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่างๆ ให้สามารถใช้ข้ามระบบกันได้ โดยจะเริ่มใช้ตั๋วร่วมข้ามระบบกับรถไฟฟ้า 3 สาย ประกอบด้วย บัตรแรบบิทของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว บัตรแมงมุม และบัตร MRT plus ที่ใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน


แม้ว่าจะรับรายงานก่อนหน้านี้ว่า อาจไม่ทันตามเป้าหมายที่กำหนด วันที่ 1 ต.ค.63 ขณะเดียวกันบริษัทในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้รับจ้างพัฒนาระบบของบีอีเอส และ MRT ไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้ไม่สามารถเดินทางไปทดสอบระบบในแล็ปได้ ทำให้ เกิดความล่าช้า ทั้งนี้ได้สั่งการให้บีอีเอสและMRT ต่อรองกับผู้พัฒนาระบบให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2020 10:34 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ดัน"รถไฟฟ้า " แสนล้าน บูม 7 เมืองใหญ่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:20 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,602
วันที่ 20 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563



เปิดไทม์ไลน์รถไฟฟ้า “เมืองกรุง-หัวเมืองใหญ่” เปิดหวูดยาวถึงปี’71
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13:55 น.




ครบรอบ 28 ปี ไปเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 “รฟม-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ในยุค “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” นั่งเป็นผู้ว่าการรันภารกิจในการสร้างรถไฟฟ้าสารพัดสีเป็นโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ในภูมิภาค

ปลายปี 2562 รฟม. ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเชื่อมการเดินทาง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแบบวงกลม จาก “สถานีหัวลำโพง” ไปยัง “สถานีหลักสอง” และเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง(คลองบางไผ่-เตาปูน) จาก “สถานีเตาปูน” ไปยัง “สถานีท่าพระ” โดยมีสถานีท่าพระเป็นสถานีร่วม



นอกจากนี้ รฟม. “ได้สร้างสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต แล้วเสร็จ และส่งมอบให้ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยทั้ง2เส้นทางทยอยเปิดบริการไปแล้ว ล่าสุดปลายปีนี้กทม.จะเปิด “ช่วงหมอชิต-คูคต” ตลอดสาย

ยังเร่งรัดโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทยสายสีชมพู “ช่วงแคราย – มีนบุรี” และสายสีเหลือง “ช่วงลาดพร้าว – สำโรง” ทั้ง 2 สายทางจะทยอยเปิดปลายปี2564และมีกำหนดเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบปี 2565

“สายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี ที่สร้างผ่าเมืองเชื่อมการเดินทางกรุงเทพ โซนตะวันออก-ตะวันตกให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยแบ่งสร้าง 2 ช่วง

ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี มีความคืบหน้ากว่า60% มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2567 ส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กำลังเปิดประมูลก่อสร้าง ตามแผนมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2569

ล่าสุดเตรียมผลักดันโครงข่ายใหม่ขยายรอบคลุมพื้นที่มากขึ้น มี “สายสีม่วง” ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ กำลังเร่งประมูลในปีนี้ จะเปิดให้บริการในปี 2570 และ “สายสีน้ำตาล” ช่วงแคราย – ลำสาลี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569



สำหรับการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในเขตภูมิภาค “รฟม.” ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมให้กำกับดูแลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าในเมืองหลักภูมิภาค 4 จังหวัด

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2571

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568

และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วง ม.พิษณุโลก – ห้างเซ็นทรัลฯ พิษณุโลก คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2571

ทั้งหมดเป็นภารกิจของ “รฟม.” ที่ดำเนินการมากว่า 2 ทศวรรษ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2020 7:35 am    Post subject: Reply with quote

ได้ใช้ปี'68!รถรางไฟฟ้าโคราช รฟม.เปิดประเดิมสายแรก7,000ล้าน
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - รฟม. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ปชช.ครั้งที่ 2 สรุปผลการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนโคราชประเภทระบบรถรางไฟฟ้า Tram สายแรกสีเขียว มูลค่า7,000 ล้าน ระบุเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุน PPP ก่อสร้าง 4 ปี เริ่มปี'65 เปิดให้บริการปี'68 ชี้เพิ่มทางเลือกการเดินทางที่มีประสิทธิภาพสะดวกรวดเร็วปลอดภัยให้ชาวโคราชและนักท่องเที่ยว

วานนี้ (26 ส.ค.) นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นประธานพิธีเปิด โครงการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)

ภายในงานมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจรวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน ที่ห้องสีมาธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาแนวเส้นทาง สถานี รูปแบบโครงการ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบผลการศึกษา พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในลำดับต่อไป

สำหรับผลการศึกษาโดยสรุป คือ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สาย สีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นประเภทระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) มีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนถนน มีรูปแบบที่คล้ายกับรถไฟฟ้า MRT แต่มีขนาดเล็กกว่า รวมระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร

ทั้งนี้ มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร 21 สถานี ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารี วิทยา สถานีราชภัฏฯ สถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง

ในด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น กรณีมีการพัฒนาโครงการ ได้แก่ ผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เสียงและความสั่นสะเทือน จากกิจกรรมในระยะก่อสร้างของโครงการ รวมทั้งปัญหาด้านการจราจรที่มีการรบกวนผิวจราจรปัจจุบัน ซึ่งโครงการได้มีการพิจารณาและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยจัดให้มีมาตรการป้องกันและบรรเทา ผลกระทบอย่างเต็มที่ อาทิ ฉีดพรมน้ำในบริเวณที่อาจเกิดฝุ่นละออง ฟุ้งกระจาย กำหนดช่วงเวลาที่อนุญาตให้มีกิจกรรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงดังผิดปกติเฉพาะช่วงเวลา 08.00-17.00 น.

อย่างไรก็ตาม หากมีกิจกรรมการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงที่มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการ นอกช่วงเวลาดังกล่าว จะต้องมีการประกาศแจ้งให้สาธารณชนทราบล่วงหน้า รวมถึงควบคุม/จำกัด ความเร็ว และตรวจสอบน้ำหนักบรรทุกของรถบรรทุกให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และมีการจัดเตรียมแผนการจัดการจราจรให้สอดคล้องกับแผนงานก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนฯ นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและเผยแพร่แผนการจัดการจราจรให้ประชาชนทั่วไปและผู้ใช้เส้นทางที่เกี่ยวข้องทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง อีกทั้งกำหนดช่วงเวลาในการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ของโครงการ นอกช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าเย็น

ทั้งนี้ รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ จัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยให้ดำเนินการก่อสร้าง ครั้งละ 1 เส้นทาง เริ่มจากสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรกจากทั้งหมด 3 สาย คือ สายสีเขียว สีม่วงและสีส้ม ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ)

รฟม. จะจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชน และ/หรือ องค์กรครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) ครั้งที่ 1 ในวันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องสีมาธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และ ครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความสนใจจากภาคเอกชน นักลงทุน ตัวแทนผู้ผลิต/จำหน่ายรถไฟฟ้า และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสถานทูตประเทศต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานราชการส่วนกลาง และสถาบันการเงิน ซึ่งจะนำไปประกอบในการจัดทำแนวทางการร่วมลงทุนของโครงการต่อไป

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว นับเป็นโครงการรถไฟฟ้า สายแรกของจังหวัดนครราชสีมา งบประมาณ 7,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี โดยเริ่มงานก่อสร้างได้ ในปี พ.ศ. 2565 และสามารถเปิดให้บริการ พ.ศ. 2568

เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนนจึงช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 220, 221, 222 ... 277, 278, 279  Next
Page 221 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©