RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181478
ทั้งหมด:13492716
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2020 4:53 pm    Post subject: Reply with quote

โคราชรับฟังความคิดเห็นรถไฟสายสีเขียว
INN News 15 พฤษภาคม 2020 - 15:36

โคราชจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น โครงการระบบขนส่งมวลชน รถไฟสายสีเขียว เส้นทางตลาดเซฟวัน-บ้านนารีสวัสดิ์

Click on the image for full size

ที่หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะข้อมูลโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ข้อมูลการออกแบบก่อสร้างการสร้างทางรถไฟสายสีเขียว ตลาดเซฟวัน-บ้านนารีสวัสดิ์ และชี้แจงรูปแบบการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดรถไฟรางคู่ บริเวณสะพานสีมาธานี ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นทางไกล ร่วมกับ ส่วนราชการที่กรุงเทพฯ , ผู้แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) , กรมขนส่งทางราง , การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมทางหลวง โดยมีส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้กอบการร้านค้า และประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา ที่อยู่บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ เข้าร่วมประชุม ฯ

Click on the image for full size

ซึ่งครั้งนี้ เป็นการนําเสนอข้อมูลโครงการฯ แผนการดําเนินงาน และแนวคิดการออกแบบรูปแบบโครงการ ตลอดจน แนวทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดําเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบข้อมูล พร้อมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนําไปเป็นแนวทางปรับปรุงโครงการต่อไป

Click on the image for full size

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา รวมระยะทางประมาณ 11.17 กิโลเมตร มีสถานีจํานวน 20 สถานี ผ่านสถานที่สําคัญ เช่น ตลาดนัดเซฟวัน , สํานักงานคุมประพฤติจังหวัดฯ , สวนภูมิรักษ์ , เทศบาลนครนครราชสีมา , อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ,โรงเรียนสุรนารีวิทยา ,มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ เป็นต้น

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ารางเบาLRTยังไม่จบ ..วันนี้โคราชประชุมข้อเสนอแนวเส้นทาง

จังหวัดนครราชสีมา โดย ผู้ว่าฯวิเชียร จันทรโณทัย เชิญชาวโคราชประชุมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนวเส้นทาง โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา “รถไฟฟ้ารางเบา LRT” ในวันพฤหัสฯที่ 9 กรกฎาคม 63 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลาง จ.นครราชสีมา
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/3138971216181496
https://www.facebook.com/jpaiboonsurakarn/videos/vb.100000195053087/3634241369925662/?type=2&theater


Last edited by Wisarut on 13/07/2020 12:19 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2020 12:15 am    Post subject: Reply with quote

สุดเดือด!!! ประชุมโครงการ LRT โคราช เสนอปรับแนวเส้นทางใหม่ ประชาชนลั่น "ผู้ว่าฯ โลๆ เลๆ เป็นไม้หลักปักขี้เลน ควรลาออก"

ส่วนรายละเอียดข่าว ติดตามได้เร็วๆ นี้

Korat Daily

10 กรกฎาคม 2563 เวลา 14:18 น. ·
https://www.facebook.com/KoratDaily/videos/929260604254684/
https://www.facebook.com/groups/723683684330792/permalink/3581617635204035/

รถไฟฟ้าโคราช เส้นทางไหนเหมาะสุด
https://www.facebook.com/watchparty/281876916463335/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2020 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

งานรับฟังความคิดเห็น และ Market Soundings โครงการรถไฟฟ้าโคราช สายสีเขียว ตลาดเซฟวัน-บ้านนารีสวัสดิ์ วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่โรงแรมสีมาธานี


วันนี้มาชวนพี่ๆน้องๆ ชาวโคราช มาเข้าร่วมงานรับฟังความคิดเห็น กันอีกครั้ง แล้วครั้งนี้มีงานทดสอบความสนใจของภาคเอกชนผู้ลงทุน (Market Sounding) พร้อมกันด้วย

ซึ่งงานจะมีวันที่ 26 สิงหาคม 63 นี้ จัดที่โรงแรมสีมาธานี

โดยช่วงเช้า 08:30-12:00 น. เป็นงานรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ เพื่อหาข้อสรุปของโครงการ

ช่วงบ่าย 13:00-16:30 น. เป็นงานทดสอบความสนใจของภาคเอกชนผู้ลงทุน (Market Sounding) เพื่อรับฟังความคิดเห็น ว่าภาคเอกชนสนใจโครงการหรือไม่ และโครงการจะออกมาในรูปแบบไหน

คลิปประชาสัมพันธ์โครงการ


ขอทำความเข้าใจกับคนโคราชก่อนว่า รถไฟฟ้าที่กำลังทำการศึกษาอยู่นี้ คือรถราง (LRT) วิ่งระดับดิน

โดยบางส่วนที่วิ่งอยู่บนถนนขนาดใหญ่ (ถนนมิตรภาพ) จะแยกทางวิ่งกับถนน ไม่ให้รถยนต์เข้ามาวิ่งบนทางวิ่งรถราง

บางส่วนจะวิ่งร่วมกับถนนเดิมร่วมกับรถยนต์ทั่วไป (เขตชั้นใน ตั้งแต่ถนนมุขมนตรีไปจนเข้าเขตถนน 205)

ซึ่งตรงนี้ต้องพูดกันให้เคลียร์ๆ ว่ายอมรับที่จะสละถนนบางส่วน และใช้ร่วมกับรถราง (LRT) ได้มั้ย ถ้าทุกคนบอกว่าโอเค ยอมสละได้ ผมก็สนับสนุนเต็มที่

แต่ถ้าไม่ได้ก็ควรพูดมาตั้งแต่ตอนนี้ เพราะมันยังอยู่ในช่วงที่แก้ไขรายละเอียดได้ เพราะถ้าไม่มีการจัดการที่ดีโครงการออกมาไม่ตรงตามความต้องการและการใช้งานจริงของประชาชนเมืองโครงการ

โครงการร่วมหมื่นล้านก็ไม่มีประโยชน์แล้วพาลจะให้รูปแบบการลงทุนรถราง LRT จะโดนพับในโครงการอื่นไปด้วย

Note: ความเห็นส่วนตัว

อยากให้ทาง อบจ. และทีมที่ปรึกษาโครงการ ศึกษาเพิ่มเติมถึงระบบรถเมล์ ซึ่งจะมาต่อเนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าเพี่อเป็น Feeder มาตรฐานจริงๆ ควบคุมเวลา และความถี่ได้จริงๆ เพื่อปรับพฤติกรรมของผู้โดยสาร รวมถึงการพัฒนาจุดศูนย์กลางเมืองให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น

เพื่อสร้างความเหมาะสมกับการทำรถไฟฟ้าต่อไป เหมือนรถเมล์เป็นหนังตัวอย่างของรถไฟฟ้า เพราะขาดทุนรถเมล์มันไม่หนักเท่ารถไฟฟ้าหรอกครับ ลงทุนหลักร้อยล้าน ทำโครงข่ายได้มากกว่ากันหลายเท่าตัว

ถ้าลองเทียบกับจังหวัดอื่นๆที่ศึกษาทำรถไฟฟ้าอยู่เหมือนกันเช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต ทุกจังหวัดก็เริ่มมีการเดินรถเมล์บนเส้นทางมาตรฐานกันหมดแล้ว
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/996818447423301
https://www.youtube.com/v/9nX93JS4ipc

รฟม.ทดสอบความสนใจเอกชนลงทุนรถไฟฟ้าโคราช 7 พันล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 12 สิงหาคม 2563 - 17:05 น.

รฟม.จัด Market Sounding รถไฟฟ้าโคราช 31 ส.ค.นี้ ยึดโมเดลลงทุน PPP 30 ปี-คาดเปิดใช้ปี 2568

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2563 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกประกาศ เรื่อง การทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) โดยมีกำหนดจัดงาน Market Sounding ในวันที่ 31 ส.ค.นี้

ร่วมทุน PPP 30 ปี
สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ จะเป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) มีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนถนน (ระดับดิน) มีระยะทาง 11.15 กม. มีสถานีทั้งสิ้น 21 สถานี รูปแบบโครงการอยู่ในลักษณะเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ระยะเวลา 30 ปี

วงเงินรวมของโครงการอยู่ที่ 7,115.48 ล้านบาท แบ่งเป็นค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,180.21 ล้านบาท, ค่างานก่อสร้างงานโยธา 2,254.70 ล้านบาท, ค่างานระบบรถไฟฟ้า 2,260.36 ล้านบาท, ค่างานจัดหาขบวนรถไฟฟ้า 995.54 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง 176.59 ล้านบาท และ Provisional Sum 248.08 ล้านบาท)



เสนอ ครม. พ.ค.64/ก่อสร้าง 65/เสร็จ 68
ส่วนระยะเวลาดำเนินการ หากรวมตั้งแต่ขั้นตอนศึกษารายละเอียดความเหมาะสมออกแบบ และจัดทํารายงาน EIA จนถึงช่วงเปิดให้บริการ จะมีระยะเวลาดำเนินการรวม 6 ปี 5 เดือน แบ่งเป็น

1. ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดทํารายงาน EIA (มิ.ย. 2562–ก.ย. 2563)
2. ครม.เห็นชอบรูปแบบการลงทุน (ต.ค. 2563–พ.ค. 2564)
3. คัดเลือกเอกชน (ก.ค. 2564–ก.ค. 2565)
4. สํารวจ/จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (มี.ค.2565–เม.ย.2568)
5. เริ่มงานก่อสร้าง (ส.ค. 2565 )
และ 6. เปิดให้บริการ ในเดือน พ.ย. 2568 โดยคาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารเริ่มต้นที่ 9,920 คน-เที่ยว/วัน และจะจัดเก็บค่าโดยสารที่ 11-21 บาท/คน/เที่ยว

โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นที่ตลาดเซฟวัน (ถ.มิตรภาพ) ฝั่งมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองนครราชสีมา โดยออกแบบโครงสร้างเป็นทางวิ่งระดับดิน วิ่งไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัย แล้วเบี่ยงขวาตามทางรถไฟ มุ่งหน้าตาม ถ.สืบศิริซอย 6 เลี้ยวซ้ายผ่านทางรถไฟไปตามแนว ถ.สืบศิริ จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบริเวณวัดใหม่อัมพวัน ไปตามแนว ถ.มุขมนตรี ผ่านสวนภูมิรักษ์และตลาด 100 ปี โรงเรียนมารีย์วิทยา สถานีรถไฟนครราชสีมา ห้าแยกหัวรถไฟ

บริเวณนี้แนวเส้นทางแยกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางขาไปตาม ถ.โพธิ์กลาง จนถึงบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตาม ถ.ราชดําเนินฝั่งคูเมือง จนถึงแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (บริเวณ ถ.ราชดําเนินตัดกับทางหลวงหมายเลข 224) แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 224 ผ่านโรงเรียนเมืองนครราชสีมา วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา โรงเรียนสุรนารีวิทยา และวัดสามัคคี แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกประปา (ทางหลวงหมายเลข 224 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 205) มุ่งหน้าไปตาม ถ.สุรนารายณ์ ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2020 8:54 pm    Post subject: Reply with quote

Series จักรวาลขนส่งมวลชน EP.3.3 รถรางแบบไร้สาย (Catinary Free System) ที่จะใช้ในโครงการ LRT โคราช สายสีเขียว ตลาดเซฟวัน-บ้านนารีสวัสดิ์ คืออะไร ทำงานอย่างไร ???
17 สิงหาคม 2563

วันนี้มา Update โครงการรถราง (LRT) สายเสีเขียว ของโคราช หน่อยครับ

ซึ่งจะมีงานรับฟังความคิดเห็น และ Market Sounding ในวันที่ 26 สิงหาคม 63 นี้ ที่โรงแรมสีมาธานี

รายละเอียดตามลิ้งค์นี้ =>งานรับฟังความคิดเห็น และ Market Sounding ในวันที่ 26 สิงหาคม 63 นี้ ที่โรงแรมสีมาธานี


————————
ในโครงการนี้ต้องชื่นชมมากๆเลยคือเค้าปล่อยเอกสารที่จะใช้ในการนำเสนอโครงการมาให้ศึกษาก่อนการประชุม

ผมเลยเจอการเปลี่ยนระบบรถราง (LRT) เป็นรูปแบบรถรางไร้สาย (Catinary Free System)

ซึ่งในไทยยังไม่มีโครงการไหนที่นำเสนอใช้ระบบนี้ โคราชจะนำเสนอเป็นที่แรกของประเทศ แก้ไขจากรายละเอียดเดิมที่ชี้แจงไปรอบก่อนหน้านี้ ที่เป็นระบบรถรางใช้สายแบบทั่วไป

เพราะมีข้อกังวลจากทางกรมศิลปากร และประชาชนบางส่วนที่เป็นห่วงว่าสายส่งไฟฟ้าจะเกะกะสายตา และบังในพื้นที่เมืองเก่า

รถรางไร้สาย (Catinary Free System) นี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่มากไม่ใช่แค่ในไทย (บ้านเรารถยังไม่มีรถรางสมัยใหม่ใช้เลย) แต่ใหม่ระดับโลกเลย เลยต้องมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังหน่อย เผื่อจะได้นำไปศึกษาและนำเสนอต่อในโครงการ อื่นๆ ที่จะเกิดในอนาคต

ใครอยากอ่านรายละเอียดเอกสารรับฟังความคิดเห็นตัวเต็มอ่านได้จากลิ้งค์นี้ครับ => Korat Transit


——————————
รถรางไร้สาย (Catinary Free System) คืออะไร

ตามชื่อเลยครับ เป็นรถรางไม่มีสายส่งไฟฟ้าเหนือหัว (Overhead contact system : OCS)

เหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และ Airport link ซึ่งเป็นรูปแบบรถไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ในรถรางระดับดิน เพราะความปลอดภัยของคน และรถยนต์ที่ใช้ถนนร่วมกัน

ซึ่งจะใช้พลังงานในรูปแบบอื่น มี 3 รูปแบบคือ

1. มีราง 3 (รางจ่ายไฟฟ้า) บนพื้นเพื่อจ่ายไฟให้กับรถรางเป็นช่วงๆ โดยจะจ่ายไฟเมื่อรถรางผ่านเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยจากผู้ร่วมใช้ถนน

2. ใช้จุดชาร์จไฟฟ้า ตามสถานีรถราง พร้อมกับมีแบตเตอรี่ หรือ Super Capacitor ซึ่งช๊าตได้รวดเร็ว เติมไฟเพื่อเดินทางระหว่างสถานี

3. ใช้ระบบ Hybrid ซึ่งมีเครื่องยนต์ติดตั้งอยู่ในรถราง ถ้าอยู่นอกระบบจ่ายไฟฟ้าจะใช้เครื่องยนต์ในการปั่นไฟเพื่อขับเคลื่อนรถราง

โดยทั้ง 3 ระบบที่ว่ามานี้ สามารถใช้ร่วมกับระบบสายส่งไฟฟ้า (OCS) ทั่วไปได้ ถ้าอยู่ในเขตนอกเมืองซึ่งไม่มีข้อจำกัดทางด้านมลพิษทางสายตา และผลกระทบกับเมืองเก่า

ใครอยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จากลิ้งค์นี้เลยครับ

https://link.springer.com/article/10.1007/s40864-019-00118-y

https://www.dcstreetcar.com/wp-content/uploads/2014/04/UStG-Propulsion-Study.1-45.pdf

————————
ผมเลยขอยกคลิปรถรางไร้สาย (Catinary Free System) ของ Alstom มาให้ชมกันครับ


ผมเลยขอยกคลิปรถรางไร้สาย (Catinary Free System) ของ Alstom มาให้ชมกันครับ

ลิ้งค์คลิป
https://www.youtube.com/watch?v=9XZfC-QP398

ในคลิปของ Alstom มีรถรางไร้สาย (Catinary Free System) 2 รูปแบบคือ แบบราง 3 และแบบชาร์จแบตเตอรี่ตามสถานี

เริ่มต้นจากระบบราง 3 ของ Alstom เรียกว่า ระบบ APS

รายละเอียดเรื่อง APS => APS System by Alstom


ซึ่งจะสามารถใช้ร่วมกับระบบ OCS ธรรมดาโดย เมื่อสุดเขต OCS เข้าเขต ราง 3 จะทำการลด เสารับไฟฟ้า (Pantograph) ลง และปล่อยตัวรับไฟฟ้าจากราง 3 ลงมาแทน เพื่อรับไฟฟ้าจากราง 3

โดยราง 3 นี้จะไม่จ่ายกระแสไฟฟ้าตลอดเส้นทางเหมือนกับราง 3 ของรถไฟฟ้า Metro แบบ BTS หรือ MRT แต่จะจ่ายเป็นช่วงๆ เมื่อรถรางผ่าน โดยมีอุปกรณ์รับสัญญาณอยู่ที่พื้น

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับคนเดินเท้า เพราะตัวจ่ายไฟฟ้าอยู่ระดับพื้น

แบบที่ 2 คือแบบชาร์จแบตเตอรี่ตามสถานี ของ Alstom เรียกว่า Citadis Ecopack &SRS

รายละเอียดเรื่อง Citadis Ecopack &SRS => CITADIS


ซึ่งแบบที่ 2 นี้จะซับซ้อนมากกว่า โดยจะมีการจ่ายไฟฟ้าตามจุดสถานี ซึ่งจุดชาร์จ จะเป็นรูปแบบราง 3 อยู่ที่พื้น เมื่อรถรางผ่านมาสงสัญญา ก็จะจ่ายไฟให้ พร้อมกับที่ตัวรถรางจะปล่อยตัวรับไฟฟ้าแตะที่จุดจ่ายไฟฟ้า

ซึ่งจะใช้เวลาชาร์จ/สถานี ไม่เกิน 20 วินาที ซึ่งจะถูกเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่แบบ Super Capacitor ซึ่งจะชาร์จได้เร็วกว่า และเก็บพลังงานได้มาก เพียงพอในการเดินรถระหว่างสถานี ที่สำคัญคืออายุการใช้งานของ Super Capacitor ใช้ได้ถึง 15 ปี

เมื่อแบตเตอรี่เต็ม ก็สามารถเดินทางได้ต่อ โดยการยกตัวรับไฟฟ้าขึ้น และวิ่งต่อได้

ในระบบการเดินรถก็จัดเก็บพลังงานจากการเบรค (Regenerate) กลับมาที่แบตเตอรี่ด้วย

ถ้าเจอรถติด หรือรถต้องจอด ระบบจะให้แอร์ทำงานต่อได้ 3 นาที และหลังจากนั้น จะปิดแอร์ เปิดไฟและเปิดระบบระบายอากาศต่อได้อีก 17 นาที เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานของรถยนต์เพื่อมีพลังงานไปช๊าตที่สถานีต่อไป

ซึ่งแบบ Citadis Ecopack &SRS นี้ไม่แน่ใจว่าจะเหมาะกับโคราชรึเปล่า เพราะมีส่วนกลางเมืองใช้ถนนร่วมกับรถยนต์ค่อนข้างเยอะ อาจจะมีความเสี่ยงในการเจอรถติด แล้วแบตหมดกลางถนนได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2020 10:56 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เช็กเงินลงทุน “แทรมโคราช” 8 พันล้าน
*เอกชนสนมั้ย?? เจอกัน 26,31 ส.ค.นี้
*สรุปผล ก.ย.เริ่มสร้างปี 65 เปิดปี 68
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2683501275204707
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2020 10:25 am    Post subject: Reply with quote

Live งานรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โคราช
https://www.facebook.com/108236970514773/videos/930566834131038/
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2591409847742400
https://www.facebook.com/108236970514773/videos/328524051893996/

รฟม. เช็กเสียงชาวบ้านรอบ 2 สร้าง “แทรมโคราช”
*โชว์มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม-จราจร
*ก่อสร้างเสียงดังได้แค่ 8 โมงเช้า-5 โมงเย็น
*ขนอุปกรณ์นอกเวลาเร่งด่วน/พร้อมสร้างปี65
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2690651041156397


รฟม. ดึงเอกชนลงทุน 8 พันล้าน ผุดรถไฟฟ้าสายแรก “เมืองย่าโม” ตอกเข็มปี’65
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 26 สิงหาคม 2563 - 14:44 น.

Click on the image for full size


รฟม.ดึงเอกชนลงทุน 8 พันล้าน ผุดรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายแรก “เมืองย่าโม” จากตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ตอกเข็มปี 2565

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2

สรุปผลการศึกษาของโครงการ งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว จากตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

ซึ่งออกแบบเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) ลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่ง หรือ รางบนถนน รูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้า MRT ที่ใช้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่มีขนาดเล็กกว่า รวมระยะทางประมาณ 11.15 กม.

มี 21 สถานี ได้แก่
สถานีมิตรภาพ 1
สถานีสามแยกปักธงชัย
สถานีมิตรภาพ 2
สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
สถานีสวนภูมิรักษ์
สถานีหัวรถไฟ => (ใกล้สถานีรถไฟนครราชสีมา)
สถานีเทศบาลนคร
สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง
สถานีโพธิ์กลาง
สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
สถานีแยกประปา
สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา
สถานีราชภัฏฯ
สถานีราชมงคล
สถานีบ้านเมตตา
สถานีบ้านนารีสวัสดิ์
สถานีชุมพล
สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์
สถานีวัดแจ้งใน และ
สถานีดับเพลิง

ทั้งนี้ รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยให้ดำเนินการก่อสร้าง ครั้งละ 1 เส้นทาง เริ่มจาก สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรก

หลังประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 รฟม. จะดำเนินการต่อเนื่องในการจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชน และ/หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) ครั้งที่ 1 ในวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่นครราชสีมาและ ครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 ที่กรุงเทพฯ

เพื่อทดสอบความสนใจจากภาคเอกชน นักลงทุน ตัวแทนผู้ผลิต/จำหน่ายรถไฟฟ้า และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสถานทูตประเทศต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานราชการส่วนกลาง และสถาบันการเงิน ซึ่งจะนำไปประกอบในการจัดทำแนวทางการร่วมลงทุนของโครงการต่อไป ในรูปแบบPPP เงินลงทุน 7,914 ล้านบาท

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ นับเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี โดยคาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างได้ในปี 2565 และสามารถเปิดให้บริการในปี 2568

เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2020 10:43 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Live งานรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โคราช
https://www.facebook.com/108236970514773/videos/930566834131038/
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2591409847742400
https://www.facebook.com/108236970514773/videos/328524051893996/

รฟม. เช็กเสียงชาวบ้านรอบ 2 สร้าง “แทรมโคราช”
*โชว์มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม-จราจร
*ก่อสร้างเสียงดังได้แค่ 8 โมงเช้า-5 โมงเย็น
*ขนอุปกรณ์นอกเวลาเร่งด่วน/พร้อมสร้างปี65
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2690651041156397


รฟม. ดึงเอกชนลงทุน 8 พันล้าน ผุดรถไฟฟ้าสายแรก “เมืองย่าโม” ตอกเข็มปี’65
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 14:44 น.


ได้ใช้ปี 68! รฟม.เปิดฟังความคิดเห็นโครงการรถรางไฟฟ้าโคราช ประเดิมสายแรก 7,000 ล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 16:05
รฟม.ลุยรถไฟฟ้าโคราช ตีปี๊บดึงคนลงทุน/ลุ้นเปิดบริการปี’68
วันพฤหัสบดี ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 06.00 น.


ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - รฟม. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ปชช.ครั้งที่ 2 สรุปผลการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนโคราชประเภทระบบรถรางไฟฟ้า Tram สายแรกสีเขียว มูลค่า 7,000 ล้าน ระบุเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุน PPP ก่อสร้าง 4 ปี เริ่มปี 65 เปิดให้บริการปี 68 ชี้เพิ่มทางเลือกการเดินทางที่มีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัยให้ชาวโคราชและนักท่องเที่ยว

วันนี้ (26 ส.ค.) นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ร่วมเป็นประธานพิธีเปิด โครงการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ) งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)



ภายในงานมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจ รวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วมการประชุมกว่า 250 คน ที่ห้องสีมาธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาแนวเส้นทาง สถานี รูปแบบโครงการ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบผลการศึกษา พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในลำดับต่อไป

สำหรับผลการศึกษาโดยสรุป คือ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นประเภทระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) มีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนถนน มีรูปแบบที่คล้ายกับรถไฟฟ้า MRT แต่มีขนาดเล็กกว่า รวมระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร 21 สถานี ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯ สถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง



ในด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นกรณีมีการพัฒนาโครงการ ได้แก่ ผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เสียงและความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมในระยะก่อสร้างของโครงการ รวมทั้งปัญหาด้านการจราจรที่มีการรบกวนผิวจราจรปัจจุบัน ซึ่งโครงการได้มีการพิจารณาและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยจัดให้มีมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบอย่างเต็มที่ เช่น ฉีดพรมน้ำในบริเวณที่อาจเกิดฝุ่นละออง ฟุ้งกระจาย กำหนดช่วงเวลาที่อนุญาตให้มีกิจกรรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงดังผิดปกติเฉพาะช่วงเวลา 08.00-17.00 น.

ทั้งนี้ หากมีกิจกรรมการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดเสียงที่มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการนอกช่วงเวลาดังกล่าว จะต้องมีการประกาศแจ้งให้สาธารณชนทราบล่วงหน้า รวมถึงควบคุม/จำกัดความเร็ว และตรวจสอบน้ำหนักบรรทุกของรถบรรทุกให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และมีการจัดเตรียมแผนการจัดการจราจรให้สอดคล้องกับแผนงานก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนฯ นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและเผยแพร่แผนการจัดการจราจรให้ประชาชนทั่วไปและผู้ใช้เส้นทางที่เกี่ยวข้องทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง อีกทั้งกำหนดช่วงเวลาในการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ของโครงการนอกช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น



ทั้งนี้ รฟม.ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยให้ดำเนินการก่อสร้างครั้งละ 1 เส้นทาง เริ่มจากสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรกจากทั้งหมด 3 สาย คือ สายสีเขียว สีม่วง และสีส้ม ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาของโครงการ)

รฟม.จะจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชน และ/หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) ครั้งที่ 1 ในวันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องสีมาธานี แกรนด์ บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบความสนใจจากภาคเอกชน นักลงทุน ตัวแทนผู้ผลิต/จำหน่ายรถไฟฟ้า และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสถานทูตประเทศต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานราชการส่วนกลาง และสถาบันการเงิน ซึ่งจะนำไปประกอบในการจัดทำแนวทางการร่วมลงทุนของโครงการต่อไป



สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว นับเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกของจังหวัดนครราชสีมา งบประมาณ 7,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี โดยเริ่มงานก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2565 และสามารถเปิดให้บริการ พ.ศ. 2568 ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน จึงช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2020 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

“รถไฟรางเบา LRT”สายแรกฉลุย ชาวโคราชไฟเขียวไร้คัดค้าน รฟม.เดินหน้าเริ่มสร้างปี 2565 เสร็จ 2568
26 สิงหาคม 2563

รฟม.พร้อมเดินหน้าสานฝันชาวโคราช พร้อมลุย “รถไฟรางเบา LRT” หรือ “แทรมโคราช” มูลค่า 7,200 ล้าน เริ่มสายแรกสีเขียวจากเซฟวัน-บ้านนารีสวัสดิ์ แก้ปัญหาจราจรและฟื้นฟูเมืองเก่า ค่าก่อสร้างกิโลเมตรละ 600 ล้านบาท สตาร์ทค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท คาดเริ่มสร้างปี 2565 ได้ใช้ 2568



เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รอง ผวจ.นครราชสีมา พร้อมนายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 งานสรุปผลการศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)



โดยมีนายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา นายชัชวาล วงจร ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เภสัชกรจักริน เชิดฉาย อดีตปธ.หอการค้าฯ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนจำนวน 500 คน รับฟังผู้แทนบริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาโครงการชี้แจงผลการศึกษา มาตรการป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม แผนการดำเนินงานการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป



นายสาโรจน์ ผช.ผว.รฟม. เปิดเผยว่า ผลการศึกษาโดยสรุประบุ รถรางไฟฟ้า (แทรมโคราช) มีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนถนน มีรูปแบบคล้ายรถไฟฟ้า MRT แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้เส้นทางสายสีเขียว รวมระยะทางประมาณ 11.17 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่ง จำนวน 21 สถานี ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สามแยกปักธงชัย มิตรภาพ 2 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สวนภูมิรักษ์ หัวรถไฟ เทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา ศาลเจ้าวัดแจ้ง โพธิ์กลาง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี แยกประปา โรงเรียนสุรนารีวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์





ส่วนขากลับ เมื่อผ่านลานย่าโม ใช้แนวเส้นทาง ถ.ชุมพล ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา เข้าสู่ ถ.จอมสุรางค์ยาตร์ ผ่านที่ทำการไปรษณีย์จอมสุรางค์ยาตร์ วัดแจ้งในและดับเพลิง เพื่อลดปัญหาช่วงผ่าน ถ.โพธิ์กลาง ซึ่งมีพื้นผิวจราจรไม่เหมาะกับระบบรางคู่ จากนั้นเข้าสู่เส้นทางเดิมผ่านสถานีหัวรถไฟ อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท และเพิ่ม 1 บาท คิดจากจำนวนสถานีปลายทาง

หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบและผ่านกระบวนการประชาพิจารณ์ขั้นตอนต่อไปเป็นการคัดเลือกผู้รับจ้างในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและอนุมัติ เบื้องต้นประมาณการกิโลเมตรละ 600 ล้านบาท รวมมูลค่า 7,200 ล้านบาท สามารถดำเนินก่อสร้างโครงการปี 2565 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี ประมาณช่วงปลายปี 2568 ชาวโคราชจะได้ใช้รถรางไฟฟ้าสายสีเขียว


นายสุรวุฒิ นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เปิดเผยในฐานะตัวแทนชาวโคราชว่า “สิ่งสำคัญของการดำเนินโครงการต้องการแก้ไขปัญหาจราจรหรือฟื้นฟูตัวเมืองเก่า หากปรับเปลี่ยนเส้นทางตามความเหมาะสมกับบริบทของลักษณะกายภาพ และตอบโจทย์ให้ครอบคลุมรวมทั้งลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อเสนอแนะบริษัทที่ปรึกษาใช้แนวเส้นทาง ถ.มิตรภาพ เป็นหลัก ผ่านวัดโคกพรม ห้างเดอะมอลล์ฯลฯ”


“ซึ่งเทศบาลนครนครราชสีมา มีรถบัสชานต่ำที่ให้บริการรับ-ส่ง นักเรียน จำนวน 4 สถาบัน ช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเป็นประจำ โดยยินดีให้นำมาทดลองวิ่ง เพื่อหาผลการศึกษา นำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น”
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/3275610745850875
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2020 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.สานฝันชาวโคราชชงรถรางไฟฟ้า
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

หอการค้าแนะระบบล้อยาง

นครราชสีมา - นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวในตอนหนึ่งการร่วมจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 งานสรุปผลการศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ผลการศึกษาสรุปว่า รถรางไฟฟ้าวิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนถนน มีรูปแบบคล้ายรถไฟฟ้า เอ็มอาร์ที แต่ขนาดเล็กกว่า รวมระยะทางประมาณ 11.17 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่ง 21 สถานีได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สามแยกปักธงชัย มิตรภาพ 2 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สวนภูมิรักษ์ หัวรถไฟ เทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา ศาลเจ้าวัดแจ้ง โพธิ์กลาง อนุสาวรีย์ย่าโม แยกประปา โรงเรียนสุรนารีวิทยา มรภ.นครราชสีมา มทร.อีสาน สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ขากลับ ผ่านลานย่าโม เส้นทาง ถ.ชุมพล ศาลากลางจังหวัด เข้าสู่ ถ.จอมสุรางค์ยาตร์ ไปรษณีย์จอมสุรางค์ยาตร์ วัดแจ้ง ในและดับเพลิง ข้าสู่เส้นทางเดิมผ่านสถานีหัวรถไฟ ค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท เพิ่ม 1 บาท คิดจากจำนวนสถานีปลายทาง หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบและผ่านประชาพิจารณ์ ขั้นตอนต่อไปเป็นการคัดเลือกผู้รับจ้างรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) กิโลเมตรละ 600 ล้านบาท รวมมูลค่า 7,200 ล้านบาท ก่อสร้างโครงการปี 2565 ปลายปี 2568 ได้ใช้

ด้านนายชัชวาลย์ วงจร ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การปรับรูปแบบรถรางไฟฟ้าที่ต้องก่อสร้างรางคู่บนพื้นผิวถนน ทำให้มูลค่าดำเนินโครงการสูงและไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้หากมีปัญหาภายหลัง หากใช้รถระบบล้อยางต้นทุนต่ำและสามารถปรับเส้นทางได้ นำส่วนต่างมาเพิ่มเส้นทางต่างให้บริการครอบคลุมทั้งเมืองจะตอบโจทย์ได้ชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 6 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©