RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179751
ทั้งหมด:13490983
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2020 5:16 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.แก้ทีโออาร์”สายสีส้ม” เปลี่ยนใช้รวมคะแนน”เทคนิค-การเงิน”ตัดสิน เพื่อประโยชน์สูงสุด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 18:29


รถไฟฟ้าสายสีส้ม เลื่อนยื่นซอง 45 วัน รฟม.รื้อเกณฑ์ประมูลใหม่
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 17:48 น.


รถไฟฟ้าสายสีส้ม เลื่อนยื่นซอง 45 วัน รฟม.รื้อเกณฑ์ประมูลใหม่ มัดรวม “เทคนิค-การเงิน”

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 คณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มีมติอนุมัติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้นำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ประเมินรวมกับการเงินด้วยในสัดส่วน 30% เนื่องจากโครงการเป็นการก่อสร้างที่ใช้เทคนิคขั้นสูง ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ตลอดเส้นทาง ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ภาครัฐจะต้องได้โครงสร้างที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ในระยะยาว

โดยการพิจารณานี้ทางคณะกรรมการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่องรายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน 2563 ข้อ 4 (8) ที่กำหนดให้ ระบุหลักเกณฑ์และวิธีการในการตัดสินให้ชัดเจนเป็นคะแนนในด้านต่าง ๆ โดยข้อเสนอผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับและการขอสนับสนุนทางการเงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะต้องระบุให้ชัดเจนเป็นคะแนน

ชี้รื้อเกณฑ์ใหม่ได้ของดีมีคุณภาพ
“ยังคงยื่นข้อเสนอ 4 ซอง คือ คุณสมบัติ เทคนิค การเงินและขัอเสนอเพิ่มเติม แต่จะนำคะแนนข้อเสนอเทคนิค ไปพิจารณารวมกับซองการเงินด้วย30% เดิมเราอาจจะคิดไม่ครบถ้วน แต่มีการสงวนสิทธิ์ให้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ แม้ว่าจะเปิดขายซองทีโออาร์ไปแล้วก็ตาม ซึ่งบริษัทอิตาเลียนไทยฯ มีหนังสือร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ถึงการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนว่าโครงการมีความเสี่ยงสูง จึงไม่ควรพิจารณาข้อเสนอการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวมที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ทางคณะกรรมการฯได้นำมาพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์กับรัฐมากสุด”

อย่างไรก็ตาม คงจะไม่สามารถนำการประมูลสายสีส้มไปเทียบเคียงกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและเมืองการบินอู่ตะเภาได้ ที่พิจารณาผู้ที่ให้รัฐอุดหนุนค่างานโยธาต่ำสุด และเสนอผลตอบแทนให้รัฐมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะประมูล สำหรับสายสีส้มจะพิจารณาเป็นภาพรวม ”ผู้มีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับรัฐมากที่สุด” มากกว่า ดูการเดินรถเป็นหลัก เทคนิค และการเงินจะดูเรื่องส่วนแบ่งรายได้ที่จะได้รับตลอดอายุสัญญา ค่าก่อสร้างที่รัฐจะสนับสนุนไม่เกินค่างานโยธา 90,000 ล้านบาท

ตอกกลับ BTS ไม่เป็นธรรมตรงไหน
“กรณี บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ บีทีเอส ทำหนังสือมีความคิดเห็นว่า การปรับเกณฑ์ดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับบริษัทนั้น ต้องดูว่าไม่เป็นธรรมตรงไหน เพราะการทำแบบนี้รัฐได้ประโยชน์ มีข้อดี คือ ได้โครงสร้างรถไฟฟ้าที่ออกแบบมีคุณภาพ มีความปลอดภัย เพราะโครงสร้างต้องอยู่กับเราตลอด 30 ปี และเป็นการบริหารขนส่งสาธารณะให้กับประชาชนด้วย ซึ่งในการพิจารณาหากผู้ที่แพ้คะแนนเทคนิคแต่การเงินได้คะแนนมากกว่าก็เป็นผู้ชนะอยู่แล้ว“ นายภคพงศ์กล่าวและว่า

ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เวลาเอกชนมาซื้อซองประมูลมีเวลาทำข้อเสนอตามเงื่อนไขใหม่ คณะกรรมการคัดเลือกมีมติขยายเวลายื่นซองออกไปอีก 45 วัน จากเดิมวันที่ 23 ก.ย. เป็นวันที่ 6 พ.ย.นี้ ซึ่งจะทำให้การเซ็นสัญญาล่าช้าออกไปอีกประมาณ 1 เดือนครึ่ง

บิ๊กบีทีเอสชี้ไม่ส่อทุจริต
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอสซี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 ได้ออกจดหมายด่วนถึงนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จากการที่มีผู้ซื้อเอกสารทีโออาร์รายหนึ่งต้องการให้ปรับเปลี่ยนการประเมินข้อเสนอเกี่ยวกับผู้ที่ชนะการคัดเลือก โดยเสนอว่า ไม่ควรเอาข้อเสนอทางการเงินเป็นเกณฑ์ตัดสินใจเพียงอย่างเดียว แต่ควรเอาข้อเสนอทางเทคนิคร่วมพิจารณาด้วย

ทาง BTSC จึงมีข้อสอบถามข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เนื่องจากหากเป็นความจริง ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญเลย และไม่เคยมีการดำเนินการในลักษณะนี้กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) มาก่อน

นอกจากนั้น บริษัทเห็นว่าผู้ที่ยื่นข้อเสนอในโครงการนี้จะต้องผ่านเกณฑ์ต่างๆ ของ รฟม. ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทหรือกลุ่มบริษัทที่มีศักยภาพและความเป็นไปได้ในการดำเนินการสูง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทที่ผ่านเกณฑ์จะไม่ทำตามข้อเสนอที่ได้ยื่นต่อ รฟม. อีกทั้งบริษัทที่ยื่นข้อเสนอยังต้องมีภาระรับผิดชอบค้ำประกันต่อ รฟม. ด้วย

ที่สำคัญการพิจารณาผู้ชนะการคัดเลือกโดยใช้ข้อเสนอทางเทคนิค ทั้งๆ ที่ได้มีการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ชนะการคัดเลือกมาแล้ว จะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางทุจริต ไม่เป็นธรรม และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้

การพิจารณาผู้เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดให้กับรัฐให้เป็นผู้ชนาการประมูล จึงจะเป็นการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐโดยแท้ และมีความโปร่งใสเป็นธรรมมากที่สุด

บริษัทจึงเห็นว่าเป็นการไม่สมควรถ้าจะมีการปรับแก้วิธีประเมินข้อเสนอดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทเห็นว่าแม้การร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้ จะไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐ แต่การยื่นต่อคณะกรรมการในข้อเท็จจริงข้างต้นเทียบเคียงได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ ซึ่งแม้ไม่ได้มีกำหนดไว้ในกฎหมายร่วมลงทุนก็ตาม คณะกรรมการคัดเลือกควรต้องนำกฏกระทรวงการคลังกำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐที่ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ.2560 (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลมและถือเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่สามารถกระทำได้


สำหรับ 10 บริษัท ซื้อซองประมูล ได้แก่
1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

10 บริษัทซื้อซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “วรนิทัศน์” ปิดท้าย ยื่นซอง 23 ก.ย.นี้
อนึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวม 128,128 ล้านบาท

โดยรัฐจ่ายค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท มีพื้นที่รวม 505 แปลง หรือ 41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง และสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แบ่งเป็นส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี ปัจจุบันกำลังก่อสร้างคืบหน้าแล้วกว่า 60% จะเสร็จเปิดบริการในปี 2567

และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นใต้ดินตลอดสาย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี โดยคาดว่าจะเปิดบริการตลอดสายในปี 2569

//------------------------------------------------------------


รฟม.ปรับทีโออาร์สีส้มเน้นประโยชน์สูงสุด ป้องกันฟันราคาแล้วได้ของไม่ดี
ข่าวเศรษฐกิจ มติชน
วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 19:15

รฟม.ปรับทีโออาร์สีส้มเน้นประโยชน์สูงสุด ป้องกันฟันราคาแล้วได้ของไม่ดี
ผู้ว่ารฟม. ระบุสาเหตุในการปรับทีโออาร์โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มัดรวม “เทคนิค-การเงิน” เน้นประโยชน์สูงสุด ทั้งราคา-เทคนิค-คุณภาพ ป้องกันฟันราคาแล้วได้ของไม่ดี


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563 คณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มีมติอนุมัติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้นำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ประเมินรวมกับการเงินด้วยในสัดส่วน 30% เนื่องจากโครงการเป็นการก่อสร้างที่ใช้เทคนิคขั้นสูง ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ตลอดเส้นทาง ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ภาครัฐจะต้องได้โครงสร้างที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ในระยะยาว




โดยการพิจารณานี้ทางคณะกรรมการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่องรายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน 2563 ข้อ 4 (8) ที่กำหนดให้ ระบุหลักเกณฑ์และวิธีการในการตัดสินให้ชัดเจนเป็นคะแนนในด้านต่าง ๆ โดยข้อเสนอผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับและการขอสนับสนุนทางการเงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะต้องระบุให้ชัดเจนเป็นคะแนน



“ยังคงยื่นข้อเสนอ 4 ซอง คือ คุณสมบัติ เทคนิค การเงินและขัอเสนอเพิ่มเติม แต่จะนำคะแนนข้อเสนอเทคนิค ไปพิจารณารวมกับซองการเงินด้วย30% เดิมเราอาจจะคิดไม่ครบถ้วน แต่มีการสงวนสิทธิ์ให้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ แม้ว่าจะเปิดขายซองทีโออาร์ไปแล้วก็ตาม ซึ่งบริษัทอิตาเลียนไทยฯ มีหนังสือร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ถึงการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนว่าโครงการมีความเสี่ยงสูง จึงไม่ควรพิจารณาข้อเสนอการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวมที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ทางคณะกรรมการฯได้นำมาพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์กับรัฐมากสุด” นายภคพงศ์ กล่าว




อย่างไรก็ตาม คงจะไม่สามารถนำการประมูลสายสีส้มไปเทียบเคียงกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและเมืองการบินอู่ตะเภาได้ ที่พิจารณาผู้ที่ให้รัฐอุดหนุนค่างานโยธาต่ำสุด และเสนอผลตอบแทนให้รัฐมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะประมูล สำหรับสายสีส้มจะพิจารณาเป็นภาพรวม ”ผู้มีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับรัฐมากที่สุด” มากกว่า ดูการเดินรถเป็นหลัก เทคนิค และการเงินจะดูเรื่องส่วนแบ่งรายได้ที่จะได้รับตลอดอายุสัญญา ค่าก่อสร้างที่รัฐจะสนับสนุนไม่เกินค่างานโยธา 90,000 ล้านบาท



“กรณี บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ บีทีเอส ทำหนังสือมีความคิดเห็นว่า การปรับเกณฑ์ดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับบริษัทนั้น ต้องดูว่าไม่เป็นธรรมตรงไหน เพราะการทำแบบนี้รัฐได้ประโยชน์ มีข้อดี คือ ได้โครงสร้างรถไฟฟ้าที่ออกแบบมีคุณภาพ มีความปลอดภัย เพราะโครงสร้างต้องอยู่กับเราตลอด 30 ปี และเป็นการบริหารขนส่งสาธารณะให้กับประชาชนด้วย ซึ่งในการพิจารณาหากผู้ที่แพ้คะแนนเทคนิคแต่การเงินได้คะแนนมากกว่าก็เป็นผู้ชนะอยู่แล้ว“ นายภคพงศ์กล่าว และว่า เพื่อเป็นการให้เวลาเอกชนมาซื้อซองประมูลมีเวลาทำข้อเสนอตามเงื่อนไขใหม่ คณะกรรมการคัดเลือกมีมติขยายเวลายื่นซองออกไปอีก 45 วัน จากเดิมวันที่ 23 ก.ย. เป็นวันที่ 6 พ.ย.นี้ ซึ่งจะทำให้การเซ็นสัญญาล่าช้าออกไปอีกประมาณ 1 เดือนครึ่ง



รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับ 10 บริษัท ซื้อซองประมูล ได้แก่


1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด


สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวม 128,128 ล้านบาท โดยรัฐจ่ายค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท มีพื้นที่รวม 505 แปลง หรือ 41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง และสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แบ่งเป็นส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี ปัจจุบันกำลังก่อสร้างคืบหน้าแล้วกว่า 60% จะเสร็จเปิดบริการในปี 2567 และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นใต้ดินตลอดสาย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี โดยคาดว่าจะเปิดบริการตลอดสายในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2020 5:27 am    Post subject: Reply with quote

ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม1.4แสนล้าน กลิ่นตุๆ NEWSROOM 21-08-63
หน้า News Room : ห้องข่าวเศรษฐกิจ
ศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 14:23 น.



NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ 21/08/63 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.15-12.20 น. เจาะลึก ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม1.4แสนล้าน กลิ่นตุๆ เป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ
https://www.youtube.com/watch?v=P8kbhD89XW4

จับตากินคำโต รถไฟสายสีส้ม
คอลัมน์ห้ามเขียน
โดย... พรานบุญ
ออนไลน์เมื่อ ศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 17:23 น.
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3603 หน้า 20
ระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2563

อีเห็น...เศร้าหมองมาสองสามวัน เมื่อไปเจอผู้รับเหมาเกรด A ต่างซุบซิบกันทั้งบาง ถึงความไม่ชอบมาพากลในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท ว่ามีมือที่มองไม่เห็นกำลังล้วงตับ หาเงินก้อนโตไปใช้ในทางการเมือง

โครงการนี้เป็นการสร้างรถไฟฟ้าผ่าใจกลางเมือง มีทั้งโครงสร้างใต้ดิน บนดิน ทางยกระดับ มีแนวเส้นทางเชื่อมการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก - ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร

จุดเริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟสายสายธนบุรี (ทางรถไฟสายใต้เดิม) ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่า ย่านใจกลางเมืองก่อนออกไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์ ออกสู่ย่านชานเมืองถนนรามคำแหง มาสิ้นสุดเส้นทางที่ชานเมืองด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ บริเวณจุดตัดถนนรามคำแหงกับถนนสุวินทวงศ์
ช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากบริเวณด้านใต้สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในแนวตัดขวางกับถนนจรัญสนิทวงศ์ จากนั้นวิ่งเข้าอาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช โรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่เขตพื้นที่อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ และลอดใต้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต และเลี้ยวขวาลอดใต้โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ ทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษก ลอดใต้ศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย



อีเห็นบอกว่า ค่าก่อสร้างงานโยธา สายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) 1.1 แสนล้านบาท ค่างานระบบเดินรถทั้งเส้นทางอีกกว่า 3 หมื่นล้านบาท ที่มีเอกชนซื้อซองประกวดราคามากถึง 10 ราย ล้วนแต่เป็นยักษ์ใหญ่

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด

10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด



นังบ่างถามว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นนี้มีการประมูลเพื่อหาเอกชนมาลงทุน PPP Net Cost และติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวม 128,128 ล้านบาท โดยรัฐจ่ายค่าเวนคืน14,611 ล้านบาท มีพื้นที่รวม 505 แปลง หรือ41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง และสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี มิใช่รึ แล้วจะบริโภคกันอย่างไร

อีเห็นบอกว่า ตอนนี้ป้องปากซุบซิบกันว่า มีนักการเมือง กับอดีตนักการเมืองขาใหญ่ ผู้นิยมทำอะไรแบบลึกลับ ฉบับที่ผู้คนคาดไม่ถึง ชวนผู้รับเหมาโครงการนี้ที่น่าจะชิงดำกันมาจับเข่าคุย เพื่อจัดการในบางอย่าง ที่ประชาชนคนไทยคิดไม่ถึง แต่เป็นเรื่อง การแบ่งงาน แบ่งเงินกัน...



เขาทำกันขนาดว่า จะแบ่งให้ขาใหญ่รายเดียวกินรวบทั้งโครงการ แล้วแบ่งงานให้รายอื่นสร้างบ้าง

เขาทำกันขนาดว่า ผู้ที่จะประมูลไม่ต้องแข่งราคากันมาก ขอให้พิจารณาทางเทคนิกมาเป็นส่วนผสมในการพิจารณาผลผู้ชนะการประมูลเชียวละ

ไม่เชื่อไปพิจารณาจากหนังสือล่าสุดที่ทำให้คณะกรรมการในมาตรา 36 ต้องเรียกประชุมเพื่อแก้ไข ทีโออาร์การประมูลที่จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนนี้เสียด้วยสิ

นักการเมืองผู้นี้ และอดีตนักการเมืองผู้นั้น บารมีเหลือร้าย ใครๆ พากันเกรงใจมาเจรจา แต่พอมีการบอกว่าจะแบ่งงานซอยย่อยงานกัน เรียกว่าแบ่งกันกิน ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องจ่าย เท่าใดเท่านั้นหลายคนอึดอัด

และการจ่ายรอบนี้มิใช่ก้อนน้อยๆ แต่จ่ายเงินเข้าพรรคการเมืองด้วย...หึหึ

อย่าถามว่าเท่าใด!

มิใช่ร้อย แต่เป็นพัน มิใช่ร้อยบาท มิใช่พันบาทแน่นอน...

ลุงตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เจ้าขา ท่านเสนาบดี ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเจ้าค่ะ ท่านอย่าให้เขากินกันคำโตจากเงินภาษีประชาชนนะเจ้าค่ะ

อกอีเห็นจะระเบิดตาย!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2020 10:02 am    Post subject: Reply with quote

ประธานบอร์ด รฟม. ยันรื้อเกณฑ์เฟ้นเอกชนได้
*อำนาจ ม.36 คัดร่วมทุนสายสีส้ม!!
*”บีทีเอส”ระดมพันธมิตรเร่งแก้เกม
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2689097621311739
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2020 4:21 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ไม่ติดใจแก้เกณฑ์ประมูลสีส้ม-ชี้ไม่ถูกต้องยังยกเลิกได้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 สิงหาคม 2563 เวลา 12:25



“ศักดิ์สยาม” ไม่ติดใจ รฟม.ปรับเกณฑ์ประมูล “สีส้ม” ย้ำต้องเป็นไปตาม RFP และไม่เอื้อเอกชน ชี้เป็นอำนาจ กก.มาตรา 36 ที่แก้ไขได้ ด้าน รฟม.ยันแข่งขันเป็นธรรม

จากกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทางบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ได้สรุปปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกใหม่ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาโดยรวมคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค (สัดส่วน 30 คะแนน) และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงิน (สัดส่วน 70 คะแนน) นั้น

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับรายงานเป็นทางการ แต่ในการดำเนินงานได้มอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตาม RFP และข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด และถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีความไม่ถูกต้องสามารถยกเลิกได้ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการยื่นข้อเสนอการประมูล

"เรื่องนี้ไม่ต้องกังวล ผมให้ทำงานด้วยหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานบอร์ด รฟม.ช่วยตรวจสอบอย่างดี และได้ให้นโยบายชัดเจนว่าต้องไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชน" นายศักดิ์สยามกล่าว

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ได้กำชับนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม.ให้ พิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียดรอบคอบ ต้องมีข้อระเบียบกฎหมายที่ให้ดำเนินการได้ ส่วนวิธีพิจารณาแบบใหม่เป็นธรรมหรือไม่ เบื้องต้นผู้ว่าฯ รฟม.ยืนยันว่าจะทำให้เกิดการแข่งขันดีขึ้น

และในประกาศ RFP มีข้อที่ระบุว่า หากมีการปรับเปลี่ยนในระหว่างที่ยังไม่มีการยื่นเอกสารข้อเสนอ สามารถทำได้ โดยจะต้องขยายระยะเวลาให้ผู้ซื้อเอกสารได้มีเวลาในการจัดทำรายละเอียด ซึ่ง รฟม.ได้ขยายเวลาให้ทำรายละเอียดข้อเสนอเพิ่มอีก 45 วัน จึงเห็นว่ามีเหตุมีผล

"ยอมรับว่าขณะนี้มีทั้งความเห็นว่าวิธีพิจารณาแบบใหม่เป็นธรรม กับวิธีแบบเดิมเป็นธรรม ซึ่งในฐานะประธานบอร์ด รฟม.เมื่อมีประเด็นเกิดขึ้นจึงได้กำชับให้พิจารณาการดำเนินการให้ถูกต้อง"

อย่างไรก็ตาม การพิจารณารายละเอียดเรื่องนี้อยู่ที่คณะกรรมการมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน ปี 62 ซึ่ง เรื่องยังไม่ได้เสนอมาที่บอร์ด รฟม.แต่อย่างใด และขณะนี้คณะกรรมการมาตรา 36 ยังไม่ได้ทำผิดอะไรเพราะยังอยู่ในอำนาจที่สามารถทำได้

"ผู้ว่าฯ รฟมได้ชี้แจงว่า ในการพัฒนารูปแบบที่รวมคะแนนเทคนิคและการเงินนั้นจะทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ในขณะที่ยังไม่สามารถพิจารณาได้เพราะอยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 36" นายสราวุธกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2020 11:18 am    Post subject: Reply with quote

BTS-BEM สู้ยิบตาชิงรถไฟฟ้าสายสีส้ม สำนักงบฯข้องใจ รื้อทีโออาร์เพิ่มหนี้ให้รัฐ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 สิงหาคม 2563 - 07:02 น.

จับตาประมูล PPP สายสีส้ม 1.28 แสนล้านพลิก หลังเปลี่ยนประธานบอร์ดคัดเลือกร่วมทุน รื้อเกณฑ์ TOR รวบคะแนนเทคนิคพิจารณารวมข้อเสนอด้านราคา-ผลตอบแทน ปิดทางผู้ยื่นเสนอราคาต่ำสุด วงในเผย 2 บิ๊กรถไฟฟ้า BTS-BEM เดินเกมชิงโปรเจ็กต์ สำนักงบฯหวั่นเพิ่มหนี้ระยะยาว ข้องใจใช้เกณฑ์ไม่เหมือนโครงการอื่น

วันที่ 27 สิงหาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ที่เปิดให้เอกชนลงทุน PPP net cost สร้างช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม จัดหาระบบ รับสัมปทานเดินรถตลอดสาย 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท รัฐจ่ายค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท และสนับสนุนค่าโยธา 96,012 ล้านบาท มี 10 บริษัทซื้อเอกสาร กำหนดยื่นซอง 23 ก.ย. เปิดข้อเสนอ 30 ก.ย.นี้

แต่หลังเปลี่ยนประธานคณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ 2562 ประกอบกับอิตาเลียนไทยฯ ทำหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ไม่ให้พิจารณาเฉพาะผลประโยชน์การเงินสูงสุด ให้พิจารณาผู้ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวม เช่น ด้านเทคนิค ความน่าเชื่อถือ ศักยภาพและความสามารถ ขณะที่บีทีเอสทำหนังสือถึง รฟม.คัดค้านการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ล่าสุดวันที่ 21 ส.ค. 2563 คณะกรรมการตามมาตรา 36 อนุมัติให้ปรับปรุงเกณฑ์ผู้ชนะใหม่ และขยายเวลายื่นซองเป็น 6 พ.ย. 2563



นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า ยังคงยืน 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การลงทุนและผลตอบแทนการเงิน และข้อเสนออื่น ๆ แต่จะนำคะแนนเทคนิค 30% มาประเมินรวมกับซองการลงทุนและผลตอบแทนการเงินด้วย จากเดิมผู้ผ่านคุณสมบัติต้องผ่านเทคนิค 85% จะได้เปิดซองราคา

โดยการประเมินใหม่จะนำคะแนนเทคนิคถอดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวมกับซองราคาและดูว่าเอกชนรายไหนเสนอผลตอบแทนให้รัฐสูงสุดจะชนะ และยืนยันว่าวิธีประเมินใหม่ ยังคงเป็นส่วนสำคัญใช้ตัดสินหาผู้ชนะ จึงมิได้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่ง รฟม.จะออกเอกสารเพิ่มเติมตามเกณฑ์ใหม่ไม่เกินวันที่ 28 ส.ค.นี้ และขยายวันยื่นซอง 45 วันให้มีเวลาทำเอกสารตามที่ปรับใหม่”

ตั้งข้อสงสัย “ไม่เหมือนโครงการอื่น”
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการคัดเลือก เปิดเผยว่า กรรมการยังมีความเห็นแตกต่างกัน เช่น ผู้แทนสำนักงบประมาณ ยืนยันต้องดูการเงินและเลือกเอกชนที่ให้ผลตอบแทนกับรัฐสูงสุดเป็นผู้ชนะไม่ให้เป็นภาระงบประมาณระยะยาว เพราะรัฐต้องสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธากว่า 90,000 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7 ปี นับจากเริ่มสร้าง 2 ปี หากรายไหนให้รัฐสนับสนุนน้อย จะลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 40,000 ล้านบาทได้ และตั้งข้อสงสัยว่าทำไมใช้เกณฑ์พิจารณาไม่เหมือนโครงการอื่น

ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้าง กล่าวว่า เป็นการเดินเกมช่วงชิงของ 2 กลุ่มทุนใหญ่ คือ กลุ่ม BTS ที่จะร่วมกับกัลฟ์ฯ-ซิโน-ไทยฯ-ราช กรุ๊ป และอาจจะเป็นซิโนไฮโดรฯ กับ BEM ร่วมกับ ช.การช่าง ส่วนอิตาเลียนไทยฯคาดว่าจะเป็นซับคอนแทร็กเตอร์ให้ BEM

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ยังไม่ได้รับรายงานกรณีเปลี่ยนเกณฑ์ TOR สายสีส้ม แต่ให้ยึดตาม TOR และระเบียบกฎหมาย หากไม่ถูกต้องก็ยกเลิก ขอให้เชื่อมั่นการทำงานของคมนาคมว่าโปร่งใส ตรวจสอบได้ส่วนนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่าทำหนังสือถึง รฟม.เพื่อให้พิจารณาถึงความถูกต้อง ยุติธรรม จากการปรับเกณฑ์ใหม่ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในโครงการ PPP ทั้งนี้บีทีเอสคงเข้าร่วมประมูล หากมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ต้องสู้เต็มที่ อย่างมากก็แพ้

Note: งานนี้สำนักงบประมาณ กับ รฟม. เปิดศึกกันแน่นอน ส่วนผู้รับเหมาเองก็เปิดศึก เพราะ เชื่อว่า BEM คงไม่ยอมให้ BTS ได้สายสีส้มแน่ๆ


ยัน TOR รถไฟฟ้า "สายสีส้ม" เพิ่มเทคนิค ‘แฟร์เกม’
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 27 สิงหาคม 2563 - 10:04 น.

"รฟม." ยัน มีอำนาจรื้อเกณฑ์ เน้นตรวจสอบประมูล ด้านเทคนิค ควบคู่ราคา รถไฟฟ้า สายสีส้ม 1.4 แสนล้าน ตามข้อเรียกร้อง อิตาเลียนไทย ตราบใดยังไม่เปิดยื่นซอง พร้อมเปิดทางเอกชน เสนอเทคนิค ชั้นสูงสู้ ยันเงื่อนไขปรับปรุงทีโออาร์ โปร่งใส




ข้อเรียกร้อง บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์จำกัด (มหาชน) “ให้นำเกณฑ์ด้านเทคนิคมาพิจารณา หาผู้ชนะประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มากกว่าพิจารณา ด้านราคา” กลายเป็นชนวนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปลี่ยนแปลงเกณฑ์ทีโออาร์ใหม่ ใช้รูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา ในสัดส่วน ด้านเทคนิค 30% และราคา 70% จากที่ผ่านมาหากผ่านซองเทคนิคแล้ว พบว่ามีคะแนนเท่ากันให้ตัดสินที่ซองราคา


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอสำหรับการร่วมลงทุนสายสีส้ม กรณีการยึดรูปแบบพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา มีความเหมาะสม รฟม.สามารถใช้อำนาจปรับเปลี่ยนเกณฑ์ได้ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน สายสีส้ม ข้อ 12 ตราบใด ที่ยังไม่ถึงวันเวลายื่นซองประกวดราคา ขณะเดียวกัน การขยายระยะเวลายื่นซองออกไป 45 วัน ส่วนใหญ่เป็นข้อเรียกร้องเอกชน


ที่ผ่านมาเอกชนจะมีเทคนิคไม่ต่างกัน และมักผ่านเกณฑ์จนถึงการตัดสินด้านราคา แต่ครั้งนี้หากใครมีเทคโนโลยีที่ดีกว่ารฟม.เปิดเต็มที่ให้นำมาแข่งขันกันเพื่อรัฐตลอดจนประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันยังให้ความสำคัญกับราคา ไม่เปลี่ยนแปลง

แหล่งข่าวจากรฟม.เสริมว่า การแก้ไขทีโออาร์ครั้งนี้ เนื่องจากสายสีส้ม เป็นโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่มีความซับซ้อนและความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการออกแบบและก่อสร้าง รวมถึงการเดินรถไฟฟ้าชั้นสูง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนตามแนวสายทางที่จะได้มีการก่อสร้างในด้านต่างๆ อาทิเช่น การก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตกซึ่งเป็นโครงสร้างสถานีและอุโมงค์ใต้ดินตลอดทั้งสาย ต้องมีการปรับปรุงสภาพดินเพื่อป้องกันการทรุดตัว (Ground Improvement) มีการก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและแม่น้ำเจ้าพระยา มีการใช้เทคนิคการก่อสร้างสถานีโดยไม่เปิดหน้าดินแบบ Pipe Roof ในบริเวณพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีโบราณสถาน สถานที่สำคัญหลายแห่ง รวมไปถึงการใช้เทคนิคการค้ำยันพิเศษแบบ Underpinning สำหรับการก่อสร้างอุโมงค์และสถานีใต้โครงสร้างสะพาน หรือทางยกระดับ
ดอนเมืองโทลเวย์


ตลอดจนการก่อสร้างที่พาดผ่านพื้นที่ชุมชน อาคารบ้านเรือน ประชาชนที่ต้องใช้เทคนิคการออกแบบ อุปกรณ์ วิธีการก่อสร้างชั้นสูงที่ยืนยันได้ว่าสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ มีความปลอดภัยสูงสุด ตามนโยบายของรฟม. ที่ให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัย ความสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ เป็นต้น

ขณะการออกแบบและจัดหาระบบรถไฟฟ้าที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น NFPA130 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ไม่ลามไฟ ไม่ก่อให้เกิดควันพิษ เป็นต้น เพื่อให้ระบบรถไฟฟ้ามีความพร้อมใช้งาน ตรงต่อเวลา เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน และมีระบบสำรองเพียงพอในกรณีเกิดเหตุขัดข้อง ไม่ต่างจากการให้บริการเดินรถไฟฟ้าที่ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานและกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีบุคลากรที่เพียงพอ ได้รับการฝึกอบรมจนมีความชำนาญ เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างปลอดภัย ต่อเนื่อง สามารถบริหารจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยตลอดระยะเวลาการร่วมลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2020 11:52 am    Post subject: Reply with quote

รื้อทีโออาร์สายสีส้ม รัฐแผ้วถางทาง...เพื่อใคร? :
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ 26 สิงหาคม 2563 เวลา 07:25 น.
ตีพืมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3604 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 27-29 สิงหาคม 2563


ขณะที่การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท กำลังเข้มข้น ความขัดแย้งทางการเมืองคุกรุ่น การลงทุนภาครัฐผ่านการประมูลงานของหน่วยงานต่างๆ ก็กำลังถูกผู้บริหาร “แผ้วถางทางสะดวก” กันอย่างคึกคักและครึกโครม

ผมไม่ได้บอกว่า การแผ้วถางทางสะดวกนั้น...เพื่ออะไร ...เพื่อใคร แต่รัฐบาลไทย ผู้คนสามารถใช้วิจารณญาณและสืบค้นเอาก็จะรู้ถึงความเป็นจริง

ในทางธรรม และหลักกฎหมายเขาว่า... "เจตนาหํ กมฺมํ วทามิ" หรือ "intention may be inferred from a person's action" แปลง่ายๆ ว่า "เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"


มาดูการกระทำที่บ่งบอกถึงเจตนาบางประการ...ที่ท่านอาจจะตาสว่าง

การกระทำที่บ่งบอกเจตนาเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.2-1.4 แสนล้านบาท แก่เอกชนที่สนใจไปแล้ว 10 ราย ได้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ของพ.ร.บ.ร่วมทุนภาครัฐและเอกชน แล้วมีมติให้ปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกหรือทีโออาร์ใหม่ ท่ามกลางข้อกังขาว่าเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปจะเข้าทางใครเป็นพิเศษหรือไม่?

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) กับช่วงส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)วงเงินกว่า 1.2 แสนล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี โดยรัฐสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

การประมูลโครงการนี้ เอกชนจะลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์ - สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ) รวมถึงงานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า งานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดเส้นทางโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2020 10:21 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส ยื่นหนังสือบอร์ด รฟม. ค้านรื้อเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 28 สิงหาคม 2563 เวลา 16:17 น.

จับตาบอร์ด รฟม. รับไม่รับข้อเสนอ “บีทีเอส” ยื่นหนังสือค้าน รฟม. เปลี่ยน TOR นำเทคนิคพิจารณารวมกับราคา ชี้ขาดผู้ชนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ”บางขุนนนท์-มีนบุรี”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 28 ส.ค. 2563 มีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เป็นประธาน ซึ่งวันนี้มีวาระเรื่องการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) มูลค่าโครงการ 1.4 แสนล้านบาท ให้บอร์ดรับทราบด้วย

หลัง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ยื่นหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ถึงการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนว่าโครงการมีความเสี่ยงสูง จึงไม่ควรพิจารณาข้อเสนอการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวมที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

ต่อมาวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 ได้นำมาพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์กับรัฐมากสุด


ทั้งนี้มีผู้แทนจาก บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ยื่นหนังสือต่อบอร์ดเพื่อคัดค้านการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลผลผู้ชนะประมูลโครงการ หลังคณะกรรมการมาตรา 36 ปรับเกณฑ์การพิจารณาใหม่ให้นำคะแนนเทคนิค 30 คะแนนมารวมกับซองข้อเสนอด้านการเงินและผลตอบแทนอีก 70 คะแนน ด้วย

โดยทาง BTSC ขอให้ รฟม.ยึดตามหลักเกณฑ์เดิม ให้พิจารณาที่ละซอง ได้แก่ ซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองการเงินและผลตอบแทน และซองข้อเสนออื่นๆ โดยผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดและให้ผลตอบแทนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ ไม่ใช่มีผู้ยื่นคำร้องแล้วมาเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่ ทั้งที่มีการเปิดขาย TOR ไปแล้ว

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม. จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวม 128,128 ล้านบาท

โดยรัฐจ่ายค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท มีพื้นที่รวม 505 แปลง หรือ 41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง และสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แบ่งเป็นส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี ปัจจุบันกำลังก่อสร้างคืบหน้าแล้วกว่า 60% จะเสร็จเปิดบริการในปี 2567
และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นใต้ดินตลอดสาย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี โดยคาดว่าจะเปิดบริการตลอดสายในปี 2569

BTS-BEM สู้ยิบตาชิงรถไฟฟ้าสายสีส้ม สำนักงบฯข้องใจ รื้อทีโออาร์เพิ่มหนี้ให้รัฐ
โดยมี 10 บริษัท ซื้อเอกสารประกวดราคา ได้แก่
1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

ทั้งนี้มีการคาดการณ์กันว่าจะมีผู้ยื่นซองประมูล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบีทีเอส จะรวมกับพันธมิตรคือ ซิโน-ไทยฯ -กัลฟ์-ราชกรุ๊ป และอาจจะมีซิโนไฮโดร กับกลุ่ม BEM และ ช.การช่าง

บีทีเอส บุก รฟม. ยื่นหนังสือค้าน ประมูลสายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม 2563 เวลา 06:32 น.

บอร์ดรฟม.โยนบอร์ดมาตรา 36 ตัดสิน เหตุบีทีเอสยื่นหนังสือค้านยึดเกณฑ์เดิม. หลังรื้อแก้ทีโออาร์ประมูลสายสีส้ม มูลค่า 1.4 แสนล้าน

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. เมื่อวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้รับทราบมติของคณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่มีมติปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการฯ โดยให้นำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ประเมินรวมกับการเงินด้วยในสัดส่วน 30% แต่ทั้งนี้ในที่ประชุมไม่ได้มีการสั่งการใดๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการคัดค้านของกลุ่มบีทีเอส เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 36


รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งด้วยว่า ก่อนการประชุมบอร์ด รฟม. ได้มีผู้แทนจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน ) หรือ บีทีเอสซี ได้ยื่นหนังสือต่อบอร์ด เพื่อคัดค้านการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูลดังกล่าว ที่ได้ให้นำคะแนนด้านเทคนิค 30 คะแนนมารวมกับคะแนนด้านการเงินและผลตอบแทนอีก 70 คะแนน ทั้งนี้ทางบีทีเอสซี ได้ขอให้ รฟม.ยึดหลักเกณฑ์ตามเดิม โดยผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดและให้ผลตอบแทนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวของคณะกรรมการมาตรา 36 ได้ขยายเวลายื่นซองข้อเสนอออกไปอีก 45 วัน จากเดิมวันที่ ‪23 ก.ย.‬ เป็นวันที่ ‪6 พ.ย.‬63 เพื่อให้เอกชนที่มาซื้อซองประมูลมีเวลาทำข้อเสนอตามเงื่อนไขใหม่ ทั้งนี้การขยายเวลาครั้งนี้จะทำให้การเซ็นสัญญาล่าช้าออกไปอีกประมาณ 1 เดือนครึ่ง

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.4 แสนล้านบาท.

ประมูล รถไฟฟ้า สายสีส้ม ป่วน! หลังปรับแก้ ทีโออาร์ วุ่น
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม 2563 เวลา 11:49 น.

ประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม ส่อล่าช้า หลังรื้อเกณฑ์ทีโออาร์ วุ่น "บอร์ดรฟม." ย้ำ ปรับ ดึงเทค นิค-ราคา ประเมินคู่กัน ไม่ผิดพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2562 “ศักดิ์สยาม” ลั่น ไม่ถูกต้อง ยกเลิกได้ ด้านสคร.เผยเอกชนมีสิทธิ์ยื่นค้าน ขณะที่บีทีเอสโวยไม่เห็น

ยังคงเป็นข้อกังขาเอกชนผู้ซื้อเอกสารร่วมทุน สำหรับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ หรือเกณฑ์ประมูลโครงรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวิทวงศ์) อาจ ส่งผลให้การประมูลล่าช้า ขณะการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ยืนยันสามารถแก้ไขตามความเหมาะสมได้เนื่องจาก เป็นโครงการขนาดใหญ่มีส่วนงานใต้ดินค่อนข้างมาก ต้องใช้ทักษะ เทคนิคชั้นสูง


นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มีมติปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการฯ โดยให้นำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ประเมินรวมกับการเงินด้วยในสัดส่วน 30% ด้วยว่า การปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว เป็นกระบวนการที่ไม่ต้องเสนอให้บอร์ด รฟม. พิจารณา แต่จากการสอบถามเบื้องต้นกับนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ยืนยันว่า สามารถดำเนินการได้ เพราะอยู่ในขอบเขตอำนาจของรฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า สำหรับการปรับหลักเกณฑ์นั้น หลังจากนี้ทางรฟม.ต้องชี้แจงต่อเอกชนทั้ง 10 รายที่ยื่นซื้อซองประมูล เบื้องต้นมีการขยายระยะเวลา 45 วัน ส่งผลให้การยื่นซองประมูลโครงการฯ ล่าช้าออกไป ขณะเดียวกันการปรับหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ผิดต่อพ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 หรือไม่นั้น เป็นเพียงความคิดเห็นบางส่วนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยขึ้นอยู่กับการตีความ ส่วนเอกชนจะยื่นซองประมูลโครงการฯ หรือไม่ เป็นสิทธิ์ของเขาหรือจะคัดค้านเขาก็มีสิทธ์ได้เช่นกัน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการตามมาตรา 36 มีมติปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น ล่าสุดทางบีทีเอสได้ยื่นหนังสือคัดค้านต่อรฟม.เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมา “การที่เรายื่นหนังสือคัดค้านในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาจจะเกิดความไม่โปร่งใสได้ ซึ่งเราต้องการให้เกิดความชัดเจน ขณะเดียวกันทุกโครงการที่ผ่านมาจะประมูลด้วยเรื่องราคาเป็นหลัก แต่การดึงด้านเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ร่วมกับด้านราคา ซึ่งต้องผ่านกระบวนการที่เข้มข้นอยู่แล้ว เพราะบริษัทที่ยื่นซื้อซองประมูลมีแต่เอกชนรายใหญ่ทั้งนั้น เบื้องต้นจะขอรอพิจารณารายละเอียดการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวก่อน ว่าเกณฑ์ดังกล่าวสามารถทำได้หรือไม่ตามปกติแล้วหากมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการพิจารณาคัดเลือกฯ ทาง รฟม.จะต้องทำหนังสือแจ้งผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการเข้าร่วมลงทุนทุกราย โดยจะมีการขยายเวลาการยื่นซองประมูลสายสีส้มออกไป 45 วัน ทั้งนี้ยืนยันจะเข้าร่วมประมูลในโครงการฯ ซึ่งจุดแข็งของเราสามารถดำเนินการทั้งรถไฟฟ้าบนดินหรือใต้ดินมา 20 ปีแล้ว ทุกครั้งที่เราเข้าประมูลเราก็คาดหวังในการชนะการประมูลในราคาที่เราสู้ได้” นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น ตามระเบียบกฎหมายต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ถ้าไม่ถูกต้องก็ยกเลิก เนื่องจากขณะนี้ยังไม่ได้เปิดประมูล วันนี้การทำงานของกระทรวงคมนาคมมีธรรมมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีส่วนร่วม ได้ให้นโยบายอย่างชัดเจนว่าต้องทำตามระเบียบกฎหมาย รายงานข่าวจากรฟม. ระบุว่า สำหรับการปรับหลักเกณฑ์ที่ได้ปรับปรุงจะกำหนดให้คะแนนซองข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน คิดเป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนน ทั้งนี้ซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนจึงยังคงเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการตัดสินหาผู้ชนะการคัดเลือก การปรับปรุงวิธีการประเมินดังกล่าวจึงไม่ได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอรายใดรายหนึ่ง นอกจากนี้ รฟม.ได้ดำเนินการขยายระยะเวลาการยื่นข้อเสนอของเอกชนออกไปอีก 45 วัน นับเป็นระยะเวลาในการจัดทำข้อเสนอการร่วมลงทุนของเอกชนประมาณ 70 วัน เพื่อให้ผู้ซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนทุกรายได้มีเวลาเพิ่มเติมในการศึกษาเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน ซึ่งรวมถึงวิธีการประเมินข้อเสนอที่ได้ปรับปรุงด้วย


Last edited by Wisarut on 30/08/2020 10:35 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2020 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

“ชุมชนประชาสงเคราะห์” หนุนรถไฟฟ้า สายสีส้ม ใช้ “หัวเจาะอุโมงค์”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 20:56 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,605
วันที่ 30 สิงหาคม - 2 กันยายน พ.ศ. 2563


ชาวชุมชน ประชาสงเคราะห์ แม่เนี้ยว แยก 3 หนุน รฟม. ปรับหลักเกณฑ์ประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม ใช้เทคนิคชั้นสูง หัวเจาะอุโมงค์แทนเปิดหน้าดิน ลดกระทบเวนคืน บ้าน 500 หลัง เผย พิจารณาเทคนิคร่วม กับราคา ไม่ขัดนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

การปรับหลักเกณฑ์ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ -มีนบุรี(สุวินทวงศ์) พิจารณเทคนิคร่วมกับราคา เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 และขอสงวนสิทธิ์ของ รฟม. ที่เอกชนผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายได้รับทราบก่อนการซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) ตามเอกสารประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการดังกล่าว ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่การจ้างออกแบบและก่อสร้างที่มีความซับซ้อน มีเทคโนโลยีสูง หรือมีเทคนิคเฉพาะสามารถใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นได้


นายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนแม่เนี้ยว แยก 3 แกนนำชุมชนประชาสงเคราะห์ ระบุว่า ทางชุมชนฯเห็นว่า การที่ทาง รฟม. จัดให้มีการให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนทางด้านราคา 70% นั้น เป็นเรื่องที่ดีมาก เนื่องจากทางชุมชนต้องการให้การสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มบริเวณประชา สงเคราะห์ ที่กระทบต่อประชาชน ใช้วิธีการสร้างแบบใช้หัวเจาะอุโมงค์ ประชาชนที่อยู่ด้านบนสามารถอยู่อาศัยได้ตามปกติ

กระทบมากที่สุดคือการรอนสิทธิ์ ตามแนวที่รถไฟฟ้าผ่านเท่านั้น


เนื่องจากที่ผ่านมา รฟม. นำเสนอวิธีแบบเก่าให้กับทางชุมชน คือใช้วิธีการเปิดหน้าดิน ซึ่งการเปิดหน้าดิน และสร้างเสร็จจึงกลบกลับ ถือเป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบเก่า สร้างผลกระทบต่อชุมชนมหาศาลกว่า 500 หลังคาเรือน ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่ง ทางชุมชนจึงอยากสนับสนุนผู้รับเหมารายใดก็ตามที่สามารถสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีส้ม บริเวณประชาสงเคราะห์ ได้ โดยไม่ต้องเปิดหน้าดิน ให้ได้รับเลือกให้เป็นผู้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนตามนโยบายที่ทาง รฟม. ได้ประกาศออกมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2020 10:33 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดโยนแก้ทีโออาร์สีส้ม เป็นอำนาจคณะ กก.ม.36-สั่งถกเชื่อมเหลือง-น้ำเงินอีก
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 07:39 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. วันที่ 28 ส.ค. รฟม.ได้รายงานบอร์ดเพื่อทราบการขยายระยะเวลาการยื่นซองประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ออกไปอีก 70 วัน จากเดิมวันที่ 23 ก.ย.63 เป็นวันที่ 6 พ.ย.63 ส่วนเรื่องการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขการประกวดราคา บอร์ดพิจารณาแล้วเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรา 36 พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ส่วนข้อเสนอของบริษัท ระบบขนส่งมวลชน จำกัด หรือ BTSC ที่มายื่นหนังสือ บอร์ดได้พิจารณาแล้วได้มอบให้ รฟม.และคณะกรรมการมาตรา 36 ไปพิจารณากันเอง เพราะเป็นอำนาจของคณะกรรมการมาตรา 36


นอกจากนี้ บอร์ดได้พิจารณาเรื่องผลการเจรจารถไฟฟ้าสายสีเหลือง สำโรง-ลาดพร้าว ส่วนต่อขยายจากรัชดา-ลาดพร้าว ไปแยกรัชโยธิน ที่บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทานสายสีเหลือง ระบุว่า จะไม่เกี่ยวข้องกับการจ่ายชดเชยให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้า จำกัด (BEM) อย่างไรก็ตาม รฟม.ต้องการแค่ให้ EBM ยอมรับการเจรจาในภายหลัง ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขแค่ต้องการให้สัญญาเปิดให้มีการเจรจาในอนาคตเท่านั้น บอร์ดจึงมีมติให้ รฟม.เจรจากับ EBM ต่อไป โดยให้เปิดสัญญาไว้ ตอนนี้ยังมีเวลาจนกว่าจะเปิดเดินรถไฟฟ้าตลอดสายเดือนกรกฎาคม 2565

นายภคพงศ์กล่าวว่า นอกจากนี้ บอร์ดมีมติเห็นชอบตามที่ รฟม.เสนอการปรับปรุงตัวชี้วัดเรื่องรายได้ ปริมาณผู้โดยสาร ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 จากเดิมปริมาณผู้โดยสารตั้งเป้าตัวชี้วัดเพิ่มขึ้น 5-7% ขณะนี้ยังต่ำกว่าเป้าเดิมก่อนเกิดโควิด-19 รวมถึงแผนงานโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาคที่ล่าช้า บอร์ดให้เสนอคมนาคมและ สคร.เห็นชอบตามลำดับ รวมถึงขออนุมัติตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากบริษัท อนันดา ผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม ขออนุญาตทำทางเชื่อมสถานีสุขุมวิท คิดเป็นเงินค่าต่อทางเชื่อมและค่าเสียโอกาส เพราะการก่อสร้างทำให้ลานจอดรถ รฟม.เปิดให้บริการไม่ได้ประมาณ 4 ปี คิดเป็นจำนวนเงิน 97 ล้านบาท ภายหลังก่อสร้างแล้วเสร็จทางบริษัทมีปัญหาร้องฟ้องกับ กทม. เรื่องการขออนุญาตเปิดใช้อาคาร ซึ่งทางศาลขอให้ รฟม.เป็นผู้ร้องสอดร่วมด้วย ปัจจุบันคดียังไม่สิ้นสุด ขณะนี้เดียวกัน สตง.ได้เข้ามาตรวจสอบเรื่องการอนุญาตทำทางเชื่อมอาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย จึงยังไม่มีการรับเงินจำนวนดังกล่าว รฟม.จึงตั้งเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ก่อน.

บีทีเอสยื่นเสนอบอร์ด รฟม. รื้อเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:21 น.



เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม. มีการประชุมบอร์ด รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวงเป็นประธาน โดยก่อนการประชุม ได้มีผู้แทนจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC ยื่นหนังสือต่อบอร์ดเพื่อคัดค้านการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หลังคณะกรรมการมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 มีมติปรับเกณฑ์การพิจารณาใหม่ให้นำคะแนนเทคนิค 30 คะแนนมารวมกับซองข้อเสนอด้านการเงินและผลตอบแทนอื่นอีก 70 คะแนน ด้วย โดยทาง BTSC ขอให้ รฟม.ยึดตามหลักเกณฑ์เดิมที่ให้พิจารณาที่ละซอง ได้แก่ ซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองการเงินและผลตอบแทนและซองข้อเสนออื่นๆ โดยผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดและให้ผลตอบแทนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ ไม่ใช่มีผู้ยื่นคำร้องแล้วมาเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่ ทั้งที่มีการเปิดขาย TOR ไปแล้ว โดยก่อนหน้านี้ ได้ยื่นเอกสารคัดค้านต่อคณะกรรมการ มาตรา 36 ไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับคำชี้แจงใดๆ


รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost โดยก่อสร้าง, ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าและรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี มี 10 บริษัท ซื้อเอกสารประกวดราคา ได้แก่
1.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4.บริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6.บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8.บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2020 1:44 pm    Post subject: Reply with quote

อีกความWoww! แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีส้ม
*จุดเชื่อมต่อสถานีใต้ดินไต่ระดับขึ้นเสียดฟ้า
*อิตาเลียนไทยฯ งานดีเปิดภาพความสำเร็จ
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14:03 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2694503477437820
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 89, 90, 91  Next
Page 34 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©