Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258361
ทั้งหมด:13569638
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2020 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

20มี.ค.เช็กพลัง”แทรมภูเก็ต”อีกรอบ
*รฟม.จะไปต่อหรือพอแค่นี้?
*บอร์ดไม่กล้าเคาะกลัวไม่คุ้ม
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2533163320238504?__tn__=-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2020 1:28 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ผุดโมเดลฝรั่งเศส บูมแทรมภูเก็ต
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2563 เวลา 15:53 น.

“คมนาคม” เดินหน้าชูโมเดลฝรั่งเศส พัฒนาเมือง-รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต หวังคงเอกลักษณ์เมืองท่องเที่ยวและวิถีชุมชนในพื้นที่ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นประชาชนปลายเดือน ส.ค.นี้ คาดเปิดประมูลภายในปี 2564

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองและการรักษามรดกชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (SUTRHE) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต ว่า ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าโครงการฯ เบื้องต้นอยู่ระหว่างการศึกษาแผนการพัฒนาเมืองควบคู่โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งให้มีแนวทางการเดินรถฟีดเดอร์ เพื่อรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาโมเดลของประเทศฝรั่งเศสทั้งรูปแบบการบริหารจัดการในการพัฒนาเมืองและการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในเมืองให้สะดวกมากขึ้น หลังจากนั้นนำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งถัดไป



นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งเสียงส่วนใหญ่จากประชาชนเห็นด้วยที่จะพัฒนาเมืองโดยนำรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตเข้ามา เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ขณะเดียวกันเสียงจากประชาชนเสนอให้มีแนวเส้นทางรถฟีดเดอร์เชื่อมต่อเพื่อเดินทางได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้มีข้อเรียกร้องให้รถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตเดินรถบนถนน ไม่ควรเดินรถแบบลอยฟ้า เพราะต้องการให้สอดคล้องกับสภาพชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต “หากมีการเดินรถแทรมภูเก็ตแล้ว ไม่ควรมีพื้นที่จอดรถบริเวณ 2 ข้างทางริมถนน เพราะจะทำให้ช่องทางจราจรบริเวณทางเท้าลดลง โดยประชาชนที่ต้องการเดินทางเข้าเมืองสามารถจอดรถบริเวณพื้นที่นอกเมืองและเดินทางโดยแทรมเข้ามาได้ โดยจะนำโมเดลนี้เสนอต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งถัดไป ในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้”ริ่มรงการฯสะดุด ม่จำเป้นที่ต้องขับรถเข้ามาในเมือง พอไม่มีรถเข้ามาในเมื

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานฯ – ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร โดยเริ่มจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปตามทางหลวงหมายเลข 4031 (แยกศาลาแดง-แยกหมากปรก) เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4036 (แยกเหนือคลอง-แหลมกรวด) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 (โคกกลอย-เมืองภูเก็ต) เพื่อเข้าเมืองภูเก็ต จากนั้นผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร ข้ามสะพานสารสิน มุ่งหน้าสถานีปลายทางท่าเรือฉลอง ทั้งนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดโครงสร้างองค์กรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตเพิ่มเติม ทั้งด้านการพัฒนาเมืองและการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนควบคู่พร้อมกัน เพื่อไม่ให้โครงการฯ สะดุด คาดว่าจะเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตในรูปแบบการลงทุนให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ภายในปี 2564

คมนาคมเร่งศึกษาพื้นที่รอบแทรมภูเก็ต หวังพัฒนาเมืองควบคู่การขนส่ง
13 สิงหาคม 2563

“คมนาคม” ดันพัฒนาพื้นที่โดยรอบรถไฟฟ้าแทรมภูเก็ต เร่งศึกษาก่อนประสานเอกชนและท้องถิ่นร่วมพัฒนา ด้าน รฟม.เตรียมลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็น ก่อนลุยประมูลสร้างรถไฟฟ้าปี 2564

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการรักษามรดกชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดภูเก็ต (Phuket Sustainable Urban Transport and Heritage Project : SUTRHE) โดยระบุว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองในโครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) จังหวัดภูเก็ต

โดยส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยกับการดำเนินโครงการพัฒนาแทรม แต่มีข้อเสนอแนะให้สนับสนุนระบบการเดินทางต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงระบบขนส่งรอง (ฟีดเดอร์) ระหว่างสองข้างทาง ตลอดเส้นทางที่แทรมวิ่งผ่าน ซึ่งอาจเป็นระบบขนส่งเดิมที่มีอยู่ อาทิ รถสองแถว เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการเชื่อมต่อการเดินทางไปยังชุมชนต่างๆ ที่อยู่สองข้างทางแทรมได้อย่างสะดวกและคล่องตัว รวมถึงการจัดพื้นที่จอดรถนอกเมืองรองรับการใช้บริการแทรม



นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าโครงการแทรมต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในแต่ละพื้นที่ และต้องพัฒนาพื้นที่เชิงอนุรักษ์ให้เสน่ห์ภูเก็ตยังคงอยู่ เพื่อรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ตเอาไว้ เช่น ย่านเมืองเก่าภูเก็ตที่มีตึกโบราณเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส วิถีชุมชนเชิงพื้นที่ป่าตอง และถลาง เป็นต้น

ทั้งนี้ที่ประชุมจึงมอบการบ้านให้คณะทำงานไปศึกษารูปแบบการพัฒนาเมืองอย่างมีแบบแผน และให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม โดยดูระบบการบริหารจัดการพัฒนาเมืองของประเทศฝรั่งเศสเป็นตัวอย่าง เพื่อพัฒนาพื้นที่สองข้างทางแทรมตลอดเส้นทางในเชิงพาณิชย์ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นต้น รวมถึงจัดทำสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมพักผ่อนหรือออกกำลังด้วย เมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วก็จะส่งมอบให้ท้องถิ่นภูเก็ตนำไปใช้ดำเนินการพัฒนาเมืองต่อไป

นายชัยวัฒน์ ยังกล่าวอีกว่า ความคืบหน้าของโครงการแทรม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องรอการพัฒนาเมืองเพราะจะทำให้โครงการสะดุด ซึ่งในสิ้นเดือน ส.ค.นี้ รฟม.จะลงพื้นที่เปิดรับฟังความเห็นประชาชน และตามแผนคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2564 เพื่อเปิดให้บริการได้ในปี 2567
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2020 11:46 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็น โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง ในวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องภูเก็ต แกรนด์ บอลรูม 1-2 ชั้น 2 โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2585389465011105/?type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2020 3:26 pm    Post subject: Reply with quote

เลื่อนเปิดให้บริการ “แทรมภูเก็ต” เป็นปี 69
*รฟม.ฟังเสียงประชาชน-เอกชนอีกรอบ
*คาดชงเข้า ครม.กลางปี 64 ประมูลปี 65
*แทรมเส้นแรกของไทยช้ากว่าแผนเดิม2ปี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2688893861332115


ยังไม่สะเด็ดน้ำ! รถไฟฟ้าภูเก็ต 3.5 หมื่นล้าน เชื่อม “สนามบิน-ห้าแยกฉลอง”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 สิงหาคม 2563 - 13:56 น.
Click on the image for full size

วันที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00-12.00 น. นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับ นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ณ โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

สำหรับการจัดประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ ตัวแทนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้สนใจในจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการ

โดยรูปแบบของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตนั้น ถูกออกแบบให้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง มีระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 21 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี และระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ มีระยะทางประมาณ 16.5 กิโลเมตร





ซึ่ง รฟม.จะเริ่มดำเนินการระยะที่ 1 ก่อน เพราะมีผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ 13.11% มีกรอบวงเงินลงทุนโครงการเบื้องต้น 35,201 ล้านบาท กำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดประมาณ 35-140 บาทต่อเที่ยว

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

รวมถึงได้ดำเนินการจัดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้วทั้งสิ้น 4 ครั้ง ก่อนที่กระทรวงคมนาคมจะมอบหมายให้ รฟม. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการต่อไป โดย รฟม. ได้ดำเนินการจัดงานสัมมนาทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) จำนวนทั้งสิ้น 2 ครั้ง ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งได้ทบทวนผลการศึกษาเดิมของ สนข. และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงรูปแบบโครงการให้เป็นปัจจุบัน

โดยหลังจากนี้ รฟม. จะนำข้อมูลและข้อคิดเห็นจากการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ไปประกอบการเสนอเห็นชอบหลักการและผลการศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบราวกลางปี 2564 รวมถึงประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2565 เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการและสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/08/2020 7:41 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ยังไม่สะเด็ดน้ำ! รถไฟฟ้าภูเก็ต 3.5 หมื่นล้าน เชื่อม “สนามบิน-ห้าแยกฉลอง”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 สิงหาคม 2563 - 13:56 น.

เปิดประมูลแน่ปี’65!! รถไฟรางเบาภูเก็ตเฟสแรก 3.5 หมื่นล้าน
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 24 ส.ค. 2563 เวลา 14:45 น.

รฟม.เปิดไทม์ไลน์ รถไฟรางเบาภูเก็ตเฟส1 ช่วงสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง รออีเอไอไฟเขียว จ่อดึงเอกชนร่วมลงทุนปี’65 เคาะค่าโดยสารเริ่มต้น 35 บาท คาดเปิดให้บริการได้ปี’69

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ส.ค.ได้ร่วมกับ นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง

ทั้งนี้การจัดประชุมดังกล่าวเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ ตัวแทนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้สนใจในจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำไป ใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการ

สำหรับรูปแบบของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตนั้น ถูกออกแบบให้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง มีระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร(กม.) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 21 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี

ส่วนระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่ มีระยะทางประมาณ 16.5 กม. ซึ่ง รฟม. จะเริ่มดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ก่อน โดยมีกรอบวงเงินลงทุนโครงการเบื้องต้นประมาณ 35,201 ล้านบาท กำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดประมาณ 35 – 140 บาทต่อเที่ยว ซึ่งจาก ผลการศึกษาพบว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ให้ผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ประมาณ ร้อยละ 13.11

ทุนใหญ่แห่ซื้อซองแข่งประมูลสายสีส้ม10 ราย ลงทุนกว่า 1.2 แสนล้าน
สั่งผู้รับเหมาโครงการรถไฟฟ้า เคลียร์พื้นผิวจราจร รองรับเดินทางช่วงหยุดยาว

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

รวมถึงได้ดำเนินการจัดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้วทั้งสิ้น 4 ครั้ง ก่อนที่กระทรวงคมนาคมจะมอบหมายให้ รฟม. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการต่อไป โดยที่ผ่านมา รฟม. ได้ดำเนินการจัดงานสัมมนาทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) จำนวนทั้งสิ้น 2 ครั้ง ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งได้ทบทวนผลการศึกษาเดิมของ สนข. และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงรูปแบบโครงการให้เป็นปัจจุบัน

ทางรฟม.จะนำข้อมูลและข้อคิดเห็นจากการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ไปประกอบการเสนอเห็นชอบหลักการและผลการศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเห็นชอบประมาณกลางปี 2564 และประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2565 เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการและสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2020 6:32 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ยังไม่สะเด็ดน้ำ! รถไฟฟ้าภูเก็ต 3.5 หมื่นล้าน เชื่อม “สนามบิน-ห้าแยกฉลอง”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 สิงหาคม 2563 - 13:56 น.

เปิดประมูลแน่ปี’65!! รถไฟรางเบาภูเก็ตเฟสแรก 3.5 หมื่นล้าน
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 24 ส.ค. 2563 เวลา 14:45 น.



สั่งลุย! รถไฟฟ้า“รางเบา”ภูเก็ต
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 18:25 น.

“รฟม. –ภูเก็ต” ลุย จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น “รถไฟฟ้ารางเบา “ ภูเก็ต เฟสแรก ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง เปิดให้บริการได้ ปี 69

การประชุมรับฟังความคิดเห็น รถไฟฟ้ารางเบา ภูเก็ต หรือ โครงการ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้ ข้อยุติ ประชาชน ภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นด้วย และต่างผลักดันให้ รถไฟฟ้าเส้นนี้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเมือง กระจายความเจริญเข้าสู่พื้นที่ ตลอดแนวเส้นทาง เชื่อมโยงการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว ร่นระยะเวลาเดินทางจากแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนใหญ่ เข้าสู่สนามบินนานาชาติ ลัดฟ้าเข้าสู่เมืองหลวง ย่านธุรกิจสำคัญได้อย่างรวดเร็ว

ขณะ เดียวกันยัง แก้ปัญหาความแออัดในพื้นที่ เมืองภูเก็ต ลดการใช้รถยนต์ ลดพลังงาน ลดปัญหามลพิษ และหันไปใช้ระบบรางขนคนคราวละมากๆ วิ่งสู่เป้าหมายได้โดยเร็วทดแทน เช่นเดียวกับอีกหลายหัวเมืองเศรษฐกิจ ที่ต้องมี โครงข่ายระบบราง เชื่อมโยง ไม่ต่างจากมหานครเมืองหลวงอย่างกรุงเทพ ฯ ที่คนนับวันจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ หัวเมืองภูเก็ต ประเมินว่า อีกไม่เกิน 2ปี จะเริ่ม ดำเนินการ ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการรัฐ ตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ร่วมทุน ปี2562 เนื่องจาก นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และ นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ได้ร่วมกันเป็นประธาน จัดประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ ตัวแทนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้สนใจในจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำไป ใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการ โดยรูปแบบของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตนั้น ถูกออกแบบให้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง มีระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 21 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี และ
ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่ มีระยะทางประมาณ 16.5 กิโลเมตร

ซึ่ง รฟม. จะเริ่มดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ก่อน โดยมีกรอบวงเงินลงทุนโครงการเบื้องต้นประมาณ 35,201 ล้านบาท โดยได้มีการกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดประมาณ 35 – 140 บาทต่อเที่ยว ซึ่งจาก ผลการศึกษาพบว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ให้ผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ประมาณ ร้อยละ 13.11
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2589869301229788
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2020 10:38 am    Post subject: Reply with quote

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง
Click on the image for full size
แนวเส้นทาง

แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต โดยแนวเส้นทางช่วงผ่านอำเภอถลางจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน มีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร(อนุสาวรีย์วีรสตรี) สถานีขนส่ง เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ผ่านถนนภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศรีสินธุ์ (สะพานข้ามคลองเกาะผี) เพื่อเข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก (ทางหลวงหมายเลข 4021) และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร

โครงสร้างทางวิ่ง

ทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) บางช่วงเป็นทางวิ่งลอดใต้ดิน (Underground) และทางวิ่งยกระดับ (Elevated) บริเวณสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต

ระบบรถไฟฟ้า

เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบาชนิด Tram แบบพื้นต่ำ (Low Floor Tram) มีระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ (Overhead Contact Line) และมีระบบแบตเตอรี่สำรองสามารถวิ่งได้ในระยะสั้น วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะเวลาการวิ่งตั้งแต่สถานีต้นทางไปยังปลายทาง สถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-สถานีห้าแยกฉลอง จะใช้เวลาวิ่งประมาณ 1.30 ชม. โดยที่จากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่2 จังหวัดภูเก็ต จะใช้เวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น
สถานี

ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 21 สถานี ประกอบด้วย สถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี

1.สถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต (สถานีลอยฟ้า)
2.สถานีเมืองใหม่ (อนาคตแยกไปท่านุ่น)
3.สถานีโรงเรียนเมืองถลาง
4.สถานีถลาง
5.สถานีท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร
6.สถานีเกาะแก้ว
7.สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่2 จังหวัดภูเก็ต
8.สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
9.สถานีทุ่งค่า
10.สถานีเมืองเก่า
11.สถานีหอนาฬิกา
12.สถานีบางเหนียว
13.สถานีห้องสมุดประชาชน
14.สถานีสะพานหิน
15.สถานีศักดิเดชน์
16.สถานีดาวรุ่ง
17.สถานีวิชิต
18.สถานีเจ้าฟ้าตะวันออก
19.สถานีป่าหล่าย
20.สถานีโคกโตนด
21. สถานีห้าแยกฉลอง

สำหรับ #ค่าโดยสาร 💵 ในเบื้องต้น จะมีการคิดตามระยะทาง โดยค่าโดยสารตั้งแต่ สถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – สถานีห้าแยกฉลอง อยู่ที่ 140 บาท

ศูนย์ซ่อมบำรุง

ตำแหน่งที่ตั้งของโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการฯ จะอยู่บริเวณริมทางหลวงหมายเลข 402
ฝั่งขาเข้าเมืองภูเก็ตบริเวณ กม. 31+400 – 31+600 ใกล้กับห้างโลตัสถลาง โดยตั้งอยู่ระหว่างสถานีโรงเรียนเมืองถลาง
และสถานีถลางมีขนาดพื้นที่ประมาณ 38 ไร่ ซึ่งจะให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงขบวนรถเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การสนับสนุนการทำงานประจำวัน การบำรุงรักษาประจำเพื่อตรวจสอบป้องกันและแก้ไขสิ่งผิดปกติ (Preventive and Corrective Maintenance) การยกเครื่อง (Overhaul) และ การซ่อมใหญ่ในช่วงกลางของอายุการใช้งาน (Mid-life Refurbishment) ศูนย์ซ่อมบำรุงจะเป็นที่ตั้งของศูนย์ควบคุมกลาง (Operation Control Centre, OCC) มีระบบการจัดการโครงข่ายของระบบ (รวมถึงเรื่องความปลอดภัย ระบบการให้ข้อมูลผู้โดยสาร เป็นต้น)

จุดจอดแล้วจร

อาคารจอดแล้วจรจะตั้งอยู่ที่สถานีฉลองซึ่งเป็นสถานีปลายทาง โดยสามารถรองรับการจอดรถจักรยานยนต์และรถยนต์ได้ประมาณ 200 – 300 คัน

วงเงินลงทุน
1. ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,499.00 ล้านบาท
2. ค่าก่อสร้างงานโยธา 24,774.00 ล้านบาท
3. ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,514.00 ล้านบาท
4. ค่าขบวนรถไฟฟ้า 2,921.00 ล้านบาท
5. ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 1,065.00 ล้านบาท
6. Provisional Sum 1428.00 ล้านบาท
รวมทั้งสิ้น 35,201.00 ล้านบาท

#สำหรับแผนการดำเนินการล่าสุดของ รฟม. จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเห็นชอบเรื่องการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ภายในปี 2564 จากนั้นก็จะมีการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมคัดเลือกผู้ร่วมลงทุน แล้วนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบและลงนามในสัญญา ซึ่งมีแผนจะให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 เมื่อได้ผู้ร่วมลงทุนแล้ว ก็จะเริ่มการก่อสร้างโดยดำเนินการระหว่างปี 2566-2569 และมีเป้าหมายจะเปิดให้บริการปี 2569

ในอนาคตจะทำทางจาก สถานีเมืองใหม่ ไปที่ท่านุ่น ระยะทาง 16.8 กิโลเมตรโดยจะมีสถานีที่ประตูเมืองภูเก็ต และ ท่าฉัตรไชย ก่อนสุดปลายทาง ที่ท่านุ่น เสียดายที่ไม่มี สถานีแถวตำบลไม้ขาว
https://www.facebook.com/phuket.pkcd/posts/4259800274061416
https://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/regional-major-cities/phuket
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2020 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต
Aug 26, 2020
PR MRTA Official

การประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น 24 สิงหาคม 2563


https://www.youtube.com/watch?v=oOBtFeNrJVc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2020 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต
Aug 26, 2020
PR MRTA Official

การประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น 24 สิงหาคม 2563

https://www.youtube.com/watch?v=oOBtFeNrJVc


ข้อมูลจากโบรชัวร์มาแล้ว:
รายละเอียด รถไฟฟ้า LRT ภูเก็ต (รถราง) จากการรับฟังความคิดเห็น ครั้งล่าสุด 24 สิงหาคม 2563 และข้อเสนอเพิ่มเติม
26 สิงหาคม 2563
วันนี้ขอมาสรุปรายละเอียด ของโครงการรถไฟฟ้า LRT ภูเก็ต (รถราง) ช่วง สนามบิน-ห้าแยกฉลอง มาให้เพื่อนๆฟัง และวิเคราะห์โครงการไปด้วยกันครับ และผมก็มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเผื่อจะช่วยแก้ปัญหาที่น่าจะเป็นประเด็นกับทางคนในพื้นที่ด้วยครับ
ใครอยากอ่านสไลด์เต็มๆ ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
https://drive.google.com/file/d/1FYHTo5oaoXzEkIldliDCnsE6cL4ZuC9z/view?usp=drivesdk

ข้อเสนอแนะอยู่ล่างสุดเลย ถ้ามีใครพอจะส่งให้ที่ปรึกษาโครงการได้ รบกวนช่วยฝากส่งให้ด้วยนะครับ
ปล. ยาวมาก ให้มือถืออ่านให้ฟังดีกว่านะครับ
—————————
เรามาตลุย รายละเอียดโครงการรถไฟฟ้า LRT ภูเก็ตกันเลย (พูดอย่างกับตลุยข้อสอบแอดมิชชันเลย อิอิ)
ก่อนอื่น เราต้องมาดูกันก่อนว่า ภูเก็ตมีแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักอะไรในพื้นที่บ้าง
- สนามบินนานาชาติภูเก็ต ซึ่งพึ่งขยายไป ก่อน Covid ก็ใกล้จะเต็มอีกแล้ว
- ทางรถไฟทางคู่สายใหม่ สุราษฎร์ธานี (คีรีรัฐนิคม) - พังงา - ภูเก็ต (ท่านุ่น)
แล้วภูเก็ตเองก็ถูก ระบุให้เป็นเมือง Smart city และ Mice City (เมืองการประชุมและจัดแสดงสินค้า)
เลยต้องทำแผนเพื่อรองรับการพัฒนาต่างๆในอนาคต
ดังนั้นจึงมีการทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองภูเก็ต แบ่งเป็น 3 สายคือ
- ท่านุ่น (พังงา) ต่อกับทางรถไฟสายใหม่ - สนามบินภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง
- เมืองภูเก็ต - ป่าตอง
- ห้าแยกฉลอง - ราไวย์

ซึ่งตอนนี้ โครงการได้นำเส้นทางแรก ท่านุ่น (พังงา) - สนามบินภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง
แต่ตัดส่วน สนามบินภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง มาพัฒนาก่อน ส่วนต่อขยายท่านุ่น จะทำเมื่อทางรถไฟสายใหม่แล้วเสร็จ
ซึ่งภายในโครงการ ได้ผ่านพื้นที่สำคัญ เช่น สนามบิน สถานีขนส่งภูเก็ต แห่งที่ 2 ท่าเทียบเรือฉลอง ชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ชุมชนเทพกระษัตรี ชุมชนศรีสุนทร เทศบาลนครภูเก็ต พร้อมทั้งผ่านสถานศึกษา และ โรงพยาบาล อีกหลายแห่ง
ในโครงการมีสถานีทั้งหมด 21 สถานี ระยะทางรวม 42 สถานี แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ
- สถานียกระดับ ได้แก่ สถานีสนามบินภูเก็ต
- สถานีใต้ดิน ได้แก่สถานีถลาง พร้อมเชื่อมต่อกับ ศูนย์ซ่อมบำรุง
- สถานีระดับดิน ช่วงนอกเมือง แบบ Exclusive lane ได้แก่ สถานีเมืองใหม่, โรงเรียนเมืองถลาง, อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร, เกาะแก้ว, สถานีขนส่งภูเก็ต เชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจร, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต,
- สถานีระดับดิน ช่วงในเมือง แบบ Share lane
ได้แก่สถานีทุ่งคา, เมืองเก่า, หอนาฬิกา, บางเหนียว, หอสมุดประชาชน, สะพานหิน, ศักดิเดชน์, ดาวรุ่ง, วิชิต, เจ้าฟ้าตะวันออก, ป้าหล่าย, โคกโตนด และสถานีฉลอง เชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจร
ซึ่งในโครงการจะมีรูปแบบทางวิ่งเป็น 2 ช่วงคือ
- ช่วงนอกเมือง จะมี 3 รูปแบบคือ
** การทำทางยกระดับ ช่วงสนามบิน และช่วงจุดตัด ถนน 402 ก่อนเข้าสนามบิน
** อุโมงค์ทางลอด เป็นช่วงๆ บนถนน 402 เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดกับแยกต่างๆ และทางกลับรถ 5 จุดคือ
1. ทางลอดก่อนถึงโรงเรียนเมืองถลาง 1.1 กิโลเมตร
2. ทางลอดแยกมุดตอกขาว 1.1 กิโลเมตร
3. ทางลอดเมืองถลาง บริเวณสถานีถลาง (สถานีใต้ดิน) พร้อมทางแยกเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง 3.2 กิโลเมตร
4. ทางลอดหน้าเทศบาลศรีสุนทร 1.1 กิโลเมตร
5. ลางลอดแยกเกาะแก้ว-บางคู 2.6 กิโลเมตร
รวมทั้งสิ้น 9.1 กิโลเมตร
** ทางที่เหลือเป็นทางระดับดินแบบแยกอิสระ (Exclusive lane) พร้อมขอบทางกั้น ไม่ให้มีรถอื่นเข้ามาใช้ทางร่วมกัน
- ช่วงในเมือง มี 2 รูปแบบคือ
** ทางระดับดิน แบบ Exclusive lane ในเลนสวน ผสมกับ Share lane บนเลนตามทางปรกติ บนถนนที่เดินรถทางเดียว บนถนนภูเก็ต ช่วงแยกดีบุก จนถึงแยกรัษฏา
** ช่วงทางระดับดิน share lane ส่วนที่เหลือทั้งหมดของเขตในเมืองตั้งแต่สถานีราชภัฏภูเก็ต จนถึงสถานีห้าแยกฉลอง
—————————
รูปแบบระบบรถไฟฟ้า เป็นรถไฟฟ้า LRT รูปแบบรถราง (Tram) ซึ่งสามารถเดินรถร่วมกับรถยนต์แบบอื่นบนถนนได้
Spec รถรางเบื้องต้น
- เป็นรถรางแบบชานต่ำ
- ความกว้าง 2.4-2.65 เมตร ยาว 30-40 เมตร
- ความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 80 กม/ชม
- เป็นรูปแบบล้อเหล็กหรือล้อยางก็ได้
- ใช้รูปแบบจ่ายไฟฟ้าแบบสายส่งไฟฟ้าเหนือหัว (OCS) พร้อมกับระบบแบตเตอรี่สำรองหรือวางวางจ่ายไฟฟ้าที่พื้น แบบปลอดภัย เพื่อเดินสามารถรถในรูปแบบไร้สายส่งไฟฟ้า (Catenary free) ได้

ซึ่งในโครงการจะมีช่วงที่เป็น รถรางไร้สาย (Catenary free) 2 ช่วงคือ
- ช่วงทางลอดถลาง ถึง อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร
- ช่วงทุ่งคา ถึง หอนาฬิกา
ทั้ง 2 ช่วงเป็นช่วงกลางเมือง และมีอนุสาวรีย์ที่สำคัญ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ถ้ามีสายไฟมาบดบังทัศนียภาพก็คงไม่งาม
ส่วนด้านราง ถ้าใช้ล้อเหล็กจะมีประเด็นเรื่องแรงสั่นสะเทือนของ ซึ่งจะต้องมีการออกแบบหมอนรางรถไฟให้มีการใส่ตัวรองรับแรงสั่นสะเทือน ในหลายรูปแบบ เพื่อลดผลกระทบสู่บ้านเรือนข้างเคียง
ในโครงการจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุม 1 แห่ง ที่บริเวณแยกถลาง ใกล้กับโลตัสถลาง
รูปแบบอาณัติสัญญาณ เป็นรูปแบบ Manual โดยใช้สัญญาณไฟ ให้ผู้ควาบคุมรถเป็นผู้ควบคุมการเดินรถตามความเร็วที่กำหนด และสัญญาณไฟ
ในโครงการจะมีอาคารจอดแล้วจรอยู่ 2 ที่ คือ
- สถานีขนส่ง ซึ่งจะเชื่อมต่อกับสถานีขนส่ง แห่งที่ 2 พร้อมกับการมีศูนย์เปลี่ยนถ่ายการขนส่งอยู่ในอาคารเดียวกัน
- สถานีฉลอง
—————————
รูปแบบการเดินรถจัดการเดินรถเป็น 3 แบบคือ
เดินรถเต็มสาย สนามบิน-ห้าแยกฉลอง ใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 29 นาที ความถี่ 15 นาที/ขบวน ใช้รถ 12 ขบวน
เดินรถย่อย ช่วงสนามบิน-สถานีขนส่ง ใช้เวลา 28 นาที ความถี่ 30 นาที/ขบวน ใช้รถ 3 ขบวน
เดินรถย่อย อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร - สถานีฉลอง ความถี่ 30 นาที/ขบวน ใช้รถ 5 ขบวน
ความเร็วการให้บริการแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงนอกเมือง สนามบิน-สถานีขนส่ง ใช้ความเร็ว 30-70 กม/ชม
ช่วงในเมือง สถานีขนส่ง-ห้าแยกฉลอง ใช้ความเร็ว 8-35 กม/ชม
มูลค่าโครงการรวม 35,200 ล้านบาท
ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์
EIRR = 13.11%
B/C = 1.12
NPV = 2,319 ล้านบาท
Payback period = 12 ปี
———————
ค่าโดยสาร แบ่งเป็น 2 ช่วง
- ช่วงนอกเมือง ค่าแรกเข้า 30 บาท ค่าโดยสาร 2.83 บาท/กม
- ช่วงในเมือง ค่าแรกเข้า 20 บาท ค่าโดยสาร 2.83 บาท/กม
เส้นทาง ช่วงสนามบิน - สถานีทุ่งคา ราคา 100 บาท ถือว่าราคาเหมาะสมเทียบเท่ากับ Airport link
ส่วนช่วงในเมือง
สถานีเมืองเก่า - สถานีวิชิต ราคา 35 บาท
สถานีเมืองเก่า - สถานีฉลอง ราคา 55 บาท
ผมคิดว่าก็เหมาะสมครับ
—————————
*** ข้อเสนอแนะ ***
1. จากข้อมูลในสไลด์ ผมเห็นว่ามีการทำอุโมงค์ทางลอดช่วงนอกเมือง ขึ้นๆ ลงๆ ถึง 5 จุด และผ่านจุดสำคัญเช่น อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทรเพราะไม่อยากให้มีผลกระทบกับทัศนวิสัยของเมือง และอนุสาวรีย์
ผมเลยอยากจะเสนอให้ทำยกระดับ ช่วงนอกเมือง พร้อมกับการทำสถานืยกระดับ ช่วงสนามบิน - สถานีขนส่ง เพื่อลดผลกระทบ และแก้ปัญหาทางตัดและถนนต่างๆได้ขาดไปเลย
ซึ่งค่าใช้จ่ายของการทำยกระดับไปเลย น่าจะไม่ต่างจากการทำทางลอด 9 กิโลเมตร นะครับ แล้วไม่มีผลกระทบกับถนนเดิมในช่วงก่อสร้างเหมือนการทางลอดด้วย
2. ทางวิ่งในเมืองช่วงบนถนนภูเก็ต ช่วงแยกดีบุก จนถึงแยกรัษฏา ซึ่งเป็นการเดินรถทางเดียว ทางโครงการจึงมีการทำเส้นทาง Exclusive สำหรับเส้นทางสวนกับทางเดินรถ และทำอีกทางในด้านตามทางเดินรถ เป็นรูปแบบ Share lane
ผมขอเสนอเป็นการทำทางเดี่ยว Exclusive lane โดยใช้รางซ้อน 2 ร่อง โดยไม่ต้องมีการสับราง แบบที่ใช้ที่ Amsterdam ตามรูปด้านล่าง
เพราะยังไงเราก็มีที่ให้ทำ Exclusive lane อยู่แล้ว ก็ทำไปเลย แล้วใช้การจัดการเดินรถแทน ซึ่งให้รถรออยู่บริเวณสถานีหอนาฬิกา และสถานีทุ่งคา ก่อนจะเข้ามาในช่วงที่เป็นทางเดี่ยว
ตัวสถานี เป็นแบบชิดริมฟุตบาท ให้ผู้โดยสารสามารถเดินขึ้นได้จากริมฟุตบาทเลย
3. รูปแบบสถานีในเมือง ผมไม่เห็นด้วยที่จะทำให้เลนส่วนที่ Share lane บริเวณสถานี ขณะที่รถรางจอด มีตัวรถทับกับพื้นที่ถนนปรกติ นอกพื้นที่ Share lane เพื่อไม่ให้ติดไปทั้งถนนจากการจอดรถราง ตามตัวอย่างสถานีทุ่งคา
ผมเสนอให้ มีการเคลียร์ฟุตบาท หรือเวนคืน พื้นที่สถานีให้มีการปรับแนวถนนนอก Share lane สามารถอ้อมจุดจอดรถรางไปได้
โดยตัวอย่างของสถานีทุ่งคาสามารถทำได้ง่ายที่สุด เพราะมีคลองอยู่หน้าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย คือ ขยายแนวฟุตบาท ให้ออกไปในคลอง แล้ว ทำแนวถนนให้อ้อม ทับฟุตบาทเดิม
ซึ่งจะสามารถทำจุดจอดรถรางได้โดยไม่กระทบกับเขตทางถนนนอก Share lane ได้
ขอฝากที่ปรึกษาโครงการ หรือใครที่พอส่งต่อให้ที่ปรึกษาได้ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1007264576378688
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มมีหวัง!! บอร์ด รฟม. ไฟเขียว “แทรมภูเก็ต”
*ยังรออีกยาวคาดชงเข้าครม. ต.ค.64
*ประมูลต้นปี 65 ได้ใช้ปี 69 ล่าช้า 2 ปี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2743285115892989
บอร์ด รฟม.ไฟเขียว “แทรมป์ภูเก็ต” วงเงิน 3.5 หมื่นล้าน ประมูลหาเอกชนร่วมทุนฯ ปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 21 ตุลาคม 2563 -17:08

บอร์ด รฟม. เคาะ “รถไฟฟ้าภูเก็ต” 3.5 หมื่นล้าน ดึงเอกชนลงทุน PPP 30 ปี
ข่าว อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 21 ตุลาคม 2563 - 20:36 น.

บอร์ดรฟม.เคาะ “แทรมภูเก็ต” 3.5 หมื่นล้าน กางไทม์ไลน์ชง “คมนาคม-สคร.-บอร์ด PPP” ก่อนเสนอครม.ใน 1 ปี หรือประมาณต.ค. 64 ก่อนเปิดประมูลต้นปี 65

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.วันที่ 21 ต.ค. 2563 เห็นชอบโครงการระบบขนส่งมวลชนจ.ภูเก็ต ช่วงสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 35,201 ล้านบาทแล้ว

ขั้นตอนต่อไป จะนำเรื่องนี้ส่งกลับไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอต่อให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) เพื่อจัดลำดับเป็นโครงการที่ประมูลแบบ PPP ก่อนที่จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ โดยกระบวนการนี้คาดว่าจะใข้เวลา 1 ปี หรือจะเสนอครม.ได้ในเดือน ต.ค. 2564 นี้

หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการดำเนินงานร่วมลงทุนเอกชน (PPP) คือตั้งคณะกรรมการมาตรา 36 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 คาดว่าจะเปิดประมูลคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนได้ในช่วงต้นปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2569

“ส่วนรายงาน EIA (รานงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม) ยังอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาคู่ขนานไปกับการออกแบบโครงการ โดยช่วงที่เคยเป็นปัญหากับกรมทางหลวง (ทล.) ก็ให้แชร์เลนร่วมกับรถบนถนน ไม่ทำแบบแบ่งเลนไว้สำหรับระบบรถไฟฟ้ารางเบาแบบเดิมแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบกับเลนจราจรของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (โคกกลอย-เมืองภูเก็ต) ของ ทล. ซึ่งได้ข้อสรุปตั้งสมัยนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นรมช.คมนาคมแล้ว” นายภคพงศ์กล่าว

สำหรับโครงการนี้ มีวงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,499 ล้านบาท, ค่าก่อสร้างงานโยธา 24,774 ล้านบาท, ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท, ค่าขบวนรถไฟฟ้า 2,921ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 1,065 ล้านบาท และ Provisional Sum 1,428 ล้านบาท

แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสนามบินภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต โดยแนวเส้นทางช่วงผ่านอ.ถลางจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน มีระยะทางประมาณ 3 กม. จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร(อนุสาวรีย์วีรสตรี) สถานีขนส่ง

เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ผ่านถ.ภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศรีสินธุ์ (สะพานข้ามคลองเกาะผี) เพื่อเข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก (ทางหลวงหมายเลข 4021) และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทางรวมประมาณ 42 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 25, 26, 27  Next
Page 20 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©