RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180280
ทั้งหมด:13491514
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เมื่อเมืองพัทยาจะมีระบบรถไฟฟ้าบ้าง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เมื่อเมืองพัทยาจะมีระบบรถไฟฟ้าบ้าง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2020 3:02 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เศรษฐกิจ
Thailandplus
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พศ. 2563

– แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย

แนวเส้นทางที่ 1 HSR ชลบุรี – เมืองชลบุรี – (นิคมฯ อมตะซิตี้ชลบุรี)
แนวเส้นทางที่ 2 HSR ชลบุรี – บางแสน/ตัดช่วง HSR ชลบุรี – หนองมน
แนวเส้นทางที่ 3 HSR ชลบุรี – บ้านบึง – EECi
แนวเส้นทางที่ 4 HSR ศรีราชา – แหลมฉบัง
แนวเส้นทางที่ 5 HSR ศรีราชา – EECd
แนวเส้นทางที่ 6 เมืองศรีราชา – HSR ศรีราชา – นิคมฯ อมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง)
แนวเส้นทางที่ 7 HSR พัทยา – แหลมบาลีฮาย
แนวเส้นทางที่ 8 HSR พัทยา – สวนนงนุช
โดย สนข. ได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่ 6 เมืองศรีราชา-HSR ศรีราชา-นิคมฯ อมตะซิตี้ระยอง (ปลวกแดง) เป็นโครงการนำร่อง แต่รถไฟฟ้า monorail พัทยา สาย HSR พัทยา – แหลมบาลีฮาย ก็ยังดำเนินต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2020 11:20 am    Post subject: Reply with quote

“โมโนเรล” มาชัวร์หลังผลศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าพัทยา คืบหน้ากว่า 80%
หน้าภูมิภาค - ภาคกลาง-ตะวันออก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2563 เวลา 16:28
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2563 เวลา 17:05

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ใกล้แล้ว !โครงการรถไฟฟ้าพัทยา หลังผลศึกษาความเหมาะสมและการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียคืบหน้ากว่า 80% ระบุชัดรูปแบบ “โมโนเรล” ดีสุด พร้อมวางเส้นทางสายสีเขียว 13 สถานี ระยะ 9 กม. ภายใต้งบลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาท

วันนี้ (17 ก.ค.) นายสุธรรม เพ็ชรเกตุ รองปลัดเมืองพัทยา รักษาราชการแทนปลัดเมืองพัทยา ได้นำคณะหัวหน้าส่วนราชการและตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง เข้าร่วมประชุมและพิจารณารายงานผลการศึกษาเพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อ.บางละมุง โดยมี นายพงศ์ทวี เลิศปัญญาวิทย์ ผู้จัดโครงการฯ ร่วมชี้แจงและบรรยายสรุป ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี

ทั้งนี้ ตัวแทนบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสม ระบุว่า จากนโยบายของคณะกรรมการ EEC ที่มีเป้าหมายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ด้วยการสนับสนุนให้มีทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการพัฒนาระบบขนส่งทุกรูปแบบ รวมทั้งการผลักดันให้เมืองพัทยาเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลกนั้น

ในส่วนของการศึกษาความเหมาะสมเพื่อจัดทำระบบขนส่งสาธารณะแบบรถไฟฟ้าในเมืองพัทยา ได้กำหนดรูปแบบไว้ 3 ประเภท คือ แบบบนพื้นถนน หรือ Tram แบบยกระดับ หรือ BTS และ Monorail รวมทั้งแบบใต้ดินหรืออุโมงค์ ซึ่งผลจากการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจำนวน 2 ครั้ง

ไม่นับรวมการประชุมย่อยที่มีการวิเคราะห์ปัจจัยหลักทางด้านกายภาพ สภาพถนนเดิม เส้นทาง และการเวนคืนที่ดิน รวมทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและงบประมาณการลงทุน



พบว่า โครงสร้างรถไฟฟ้าแบบคร่อมรางยกระดับ หรือระบบ Monorial มีความเหมาะสมกับพื้นที่เมืองพัทยามากที่สุด จึงได้เร่งดำเนินการออกแบบและวางแผนเส้นทาง สถานีรับส่ง สถานีจอด และศูนย์ซ่อม โดยเน้นการพิจารณาในเรื่องผลกระทบด้านการเดินทาง และทัศนียภาพ รวมถึงการเวนคืนเป็นหลัก

"ซึ่งผลการเสนอแนะจาก 4 เส้นทางการเดินรถเสียงส่วนใหญ่สนับสนุนให้ใช้สีเขียว ระยะทางรวม 8.3 กม. และอีก 1.8 กม.เพื่อมุ่งสู่ท่าเรือแหลมบาลีฮาย จาก 13 สถานีจอด โดยจะวิ่งตามเส้นทางจากสถานีรถไฟพัทยาที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าความเร็วสูง มาตามถนนสายมอเตอร์เวย์ เข้าถนนพัทยาเหนือไปถึงวงเวียนปลาโลมา ก่อนจะเลี้ยวเข้าถนนพัทยาสายสอง ไปจนถึงแยกทัพพระยา และมุ่งตรงสู่ท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย"

โดยเส้นทางดังกล่าวมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารแรกที่ 16 บาท และ กม.ต่อไปอีกคิด กม.ละ 2.80 บาท แต่ไม่เกิน 45 บาทตลอดเส้นทางในรูปแบบเดียวกับรถไฟฟ้า BTS เพียงแต่อาจมีอัตราที่สูงกว่าเล็กน้อย เนื่องจากอัตราค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานใน จ.ชลบุรี สูงกว่า กทม.หรืออยู่ที่ 336 บาทต่อวัน ขณะที่ กทม.อยู่ที่ 331 บาทต่อวัน



ตัวแทนบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมยังระบุอีกว่า ในส่วนของแผนการดำเนินงานจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระหว่างปี 2563-2564 ซึ่งจะกำหนดเส้นทางเดินรถที่ครอบคลุม

ระยะกลางช่วงที่ 1 ระหว่างปี 2565-2569 จะพัฒนารถไฟฟ้าสายสีเขียวและเส้นทางสายสีเหลือง ซึ่งเป็นระบบรถไฟรางคู่สายชลบุรี-สัตหีบ

ส่วนช่วงที่ 2 ระหว่างปี 2570-2574 จะพัฒนารถไฟฟ้าสายสีม่วง วิ่งจากเทศบาลเมืองหนองปรือเข้าสู่ถนนพัทยาใต้ มุ่งหน้าสู่สถานีพักรถบริเวณโรงเรียนเมืองพัทยา 8 ที่จะจัดทำเป็น Station หรือจุดเชื่อมโยงระหว่างกัน

ขณะที่แผนระยะยาว ระหว่างปี 2575-2579 จะพัฒนารถไฟฟ้าสายสีแดง ที่วิ่งจากซอยชัยพฤกษ์ 2 เข้าสู่ถนนจอมเทียนสายสอง ถนนพัทยาสาย 2 และวงเวียนปลาโลมา

สำหรับรถไฟฟ้าระบบ “โนโนเรล” จะมีลักษณะเป็น 2 รางวิ่งสวนกันบนสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ยกสูงกว่าระดับถนนเดิมประมาณ 18 เมตร การก่อสร้างจะเน้นใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเป็นหลัก หรือแนวถนนที่มีผลกระทบน้อย เพราะจะมีเพียงพื้นที่ก่อสร้างตอม่อ หรือ Pier ที่กว้างเพียง 1.8 เมตรเท่านั้น

โดยโครงการดังกล่าวจะทำการเวนคืนที่ดินไม่มากนัก แต่จะใช้งบประมาณลงทุนประมาณ 20,805 ล้านบาท รวมถึงการจัดทำอาคารจอดและจร หรือ TOD ในพื้นที่กว่า 40 ไร่ ที่จะมีทั้งส่วนชอปปิ้งมอลล์ โรงแรม คอนโดมิเนียม และสกายพาร์ค ในเนื้อที่กว่า 3.8 แสน ตร.ม.ที่มีมูลค่าการลงทุนอีก 8.7 พันล้านบาท

ขณะที่แนวทางการลงทุนจะได้มีการนำเสนอทั้งในรูปแบบของ PSC หรือ PPP ในลักษณะการร่วมทุนกับภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ร่างรายงานการศึกษานี้จะมีการปัจฉิมนิเทศเพื่อเสนอผลการศึกษาอีกครั้งภายในเดือน ส.ค.นี้
https://www.facebook.com/Thfutu/photos/a.105677750798573/313085960057750/?type=3&__tn__=H-R
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3212878742092382&set=a.2073045072742427&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2020 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

[Realist Post] เปิดแผนพัฒนา Monorail พัทยา โครงการนำร่อง วิ่งสถานีรถไฟพัทยา-พัทยาเหนือ-พัทยาสาย 2 - แหลมบาลีฮาย เริ่มดำเนินการ 2565
.
พัทยา เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับโลกของไทย ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและเศรฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ในปัจจุบันได้มีการประสบปัญหาเรื่อง”การจราจรที่ติดขัดในพื้นที่” เนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้เมืองพัทยา ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ ระบบขนส่งสาธารณะภายในตัวเมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
.
จากผลการศึกษานั้น ได้มีผลว่า “รถไฟฟ้ารางเดี่ยว” หรือ “Monorail” เป็นระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่า “เป็นระบบที่สามารถผสานเข้ากับลักษณะทางกายภาพและโค้งของถนนขนาดเล็กได้ดี (เขตทางน้อยกว่า 20 ม.) และโครงสร้างทางวิ่งกระทบกับผิวจราจรทางบกน้อย” โดยโครงสร้างนั้นจะเป็นแบบโครงสร้างยกระดับ (Elevated)
.
แนวเส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะสายหลักของเมืองพัทยานั้น จะประกอบได้ด้วย 4 เส้นทางหลัก
สายสีเขียว - วิ่งจากสถานีรถไฟพัทยา - ถ.พัทยาสาย 2 - แหลมบาลีฮาย ระยะทางรวม 8.13 กม.
สายสีเหลือง (รถไฟทางคู่) - วิ่งขนานกับ ถ.สุขุมวิท เริ่มจาก สถานีชุมทางรถไฟศรีราชา จนสิ้นสุดที่ สถานีรถไฟท่าเรือสัตหีบ ระยะทางรวม 68.0 กม.
สายสีม่วง - วิ่งเชื่อมต่อ อ.หนองปรือ กับตัวเมืองพัทยา เริ่มจากแยกทัพพระยา วิ่งผ่าน ถ.พัทยาสาย 3 จนเลี้ยวเข้าสู่ ถ.พัทยาใต้ ระยะทางรวม 7.6 กม.
สายสีแดง - วิ่งจาก วงเวียนปลาโลมา บน ถ.พัทยาสาย 2 เรื่อยมาจนถึง ถ.ทัพพระยา ไปจนถึง ถ.จอมเทียนสาย 2 และไปสิ้นสุดที่สนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก ระยะทางรวม 10.40 กม.
.
ด้าน Timeline การพัฒนาของโครงการนี้จะแบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้
ช่วงที่ 1 (2566-2570) จะเน้นไปที่การพัฒนาระบบ เพื่อรองรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง 3 สนามบิน และ EEC
พัฒนาระบบขนส่งหลัก สายสีเขียว และ สายสีเหลือง (รถไฟชานเมือง)

ช่วงที่ 2 ปี (2571-2575) เน้นการพัฒนาระบบโครงข่ายให้เชื่อมโยงกับช่วงที่ผ่านมา
พัฒนาระบบขนส่งสายสีม่วง

แผนระยะยาว (2576-2580) เน้นพัฒนาโครงข่ายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และรองรับการขยายตัวของเมือง
พัฒนาระบบขนส่งสายสีแดง
.
ทั้งนี้เส้นสายที่ถูกยกมาเป็นโครงการนำร่องได้แก่ สายสีเขียว โดยตลอดเส้นทางจะมีสถานีทั้งหมด 13 สถานี แต่ละห่างกันประมาณ 650-700 ม.
https://www.facebook.com/realist.co.th/posts/2932758596832995?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2020 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

ประชุมรับฟังความคิดเห็น (ครั้งสุดท้าย สรุปโครงการ) โครงการรถไฟฟ้า Monorail สายสีเขียว พัทยา (สถานีรถไฟ- พัทยาสาย 2 -แหลมบาลีฮาย) วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ที่ศูนย์ประชุมมหาไถ่ พัทยา 8:30-12:00 น.
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 18 สิงหาคม 2563

วันนี้มาแจ้งข่าวให้กับพี่ๆน้องๆ ชาวพัทยากันอีกที รอบนี้เป็นโครงการแผนแม่บทขนส่งมวลชนเมืองพัทยา และ รถไฟฟ้า Monorail สายสีเขียว เส้นทาง สถานีรถไฟ- พัทยาสาย 2 -แหลมบาลีฮาย

ซึ่งจะมีการสรุปปิดโครงการ โดยจะวางแผนแม่บท และจัดแผนในการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน หลักและรอง ในอนาคต ตามช่วงเวลา และเส้นทาง

พร้อมกับจัดทำ TOR เพื่อให้เอกชนเข้ามาประมูลก่อสร้าง ร่วมทุน (PPP) กับเมืองพัทยาในอนาคต

รายละเอียดในแผนแม่บท

- เส้นทางหลัก (Main line) ทั้งหมด 4 เส้นคือ
1. สายสีเขียว สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา - แหลมบาลีฮาย
2. สายสีเหลือง บนทางรถไฟทางไกลของ รฟท เป็น โครงการรถไฟชานเมืองพัทยา เชื่อม ศรีราชา-พัทยา-อู่ตะเภา
3. สายสีม่วง แยกทัพพระยา - หนองปรือ (เชื่อมต่อถนนผังเมือง ง1)
4. สายสีแดง วงเวียนปลาโลมา(พัทยาเหนือ) - แยกทัพพระยา(ท้บกับสายสีเขียว)- จอมเทียน - สนามกีฬาแห่งชาติ ภาคตะวันออก

- เส้นทางสายรอง (Feeder line) มีทั้งหมด 22 เส้น

—————————
ในแผนการพัฒนาในเบื้องต้นดึงเอาเส้นทางสายหลัก สายสีเขียว มาศึกษาในรายละเอียด และก่อสร้างโครงการนำร่อง

เส้นทาง สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา-เมืองพัทยา-แยกทัพพระยา-แหลมบาลีฮาย

ระยะทาง 8.15 กิโลเมตร

ซึ่งต้นทางสถานีรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน และเป็นพื้นที่ TOD สถานีพัทยา ที่พึ่งได้ชี้แจงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ซึ่งพอเลือกเส้นทางนำร่องได้ก็มีการศึกษาต่อในรายละเอียดคือ

- รูปแบบรถไฟฟ้าที่จะใช้ในโครงการ เป็นรูปแบบ Monorail (แบบคร่อมหรือแขวน) เพื่อความสอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสาร

- รูปแบบทางวิ่ง เป็นรูปแบบยกระดับนตลอดเส้นทาง

- ศึกษาเส้นทางในรายละเอียด โครงการเลือกถนนพัทยาสาย 2 เป็นจุดก่อสร้างโครงการ เพราะไม่บดบังทัศนียภาพของหาดพัทยา และมีถนนซอยเชื่อมระหว่างสาย 1 และ 2 เป็นจำนวนมาก เพื่อความสะดวกของประชาชนและนักท่องเที่ยว

- มีสถานีทั้งหมด 13 สถานี ได้แก่

1. สถานีรถไฟพัทยา
2. สถานีสุขุมวิท
3. สถานีขนส่งพัทยา
4. สถานีพัทยาสาย 3
5. สถานีศาลากลางพัทยา
6. สถานีวงเวียนปลาโลมา
7. สถานีอัลคาซ่า
8. สถานีพัทยากลาง
9. สถานีไนท์บาซาร์
10. สถานี ตม. พัทยา
11. สถานีพัทยาใต้
12. สถานีทัพพระยา
13. สถานีบาลีฮาย

- ความพิเศษ ของโครงการนี่ซึ่งทางที่ปรึกษาต้องการจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองพัทยาให้เป็นโครงสร้างเดียวกับรถไฟฟ้า โดยการทำเป็นสวนลอยฟ้าคร่อมเหนือทางวิ่งรถไฟฟ้าตลอดโครงการ เพื่อจะทำเป็น Green Belt กลางเมือง พร้อมกับเป็น Landmark ใหม่ของเมืองพัทยาร่วมด้วย

- ศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าอยู่บริเวณ ถนนทัพพระยา ซอย 3 ใช้พื้นที่ 29 ไร่

รายละเพิ่มเติมดูจากเว็บไซต์โครงการครับ

http://pattayalrt.com

——————————
พี่ๆน้องๆ ที่อยู่พัทยาก็อย่าลืมไปออกเสียงให้กับเมืองของท่านนะครับ พัทยาจะเปลี่ยนแปลงเมืองได้มั้ย ก็อยู่ตรงนี้แหละ ถ้าไม่ทำตอนนี้ คงไม่มีโอกาศได้ทำอีกแล้วแหละครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2020 10:23 am    Post subject: Reply with quote

Monorail พร้อมสวนลอยฟ้าที่แรกของโลกในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมืองพัทยา
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
20 สิงหาคม 2563

วันนี้มีงานประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นโครงการแผนแม่บทพัฒนา และโครงการรถไฟฟ้านำร่อง Monorail สายสีเขียว เมืองพัทยา

ผมเลยขอเอารายละเอียดจากในคลิปและสไลด์ประชาสัมพันธ์โครงการจากทางที่ปรึกษามาลงรายละเอียดให้ชมกันนะครับ

เดี๋ยวคลิปผมจะมาโพสต์อีกทีครับ
————————
มาดูกันที่รายละเอียด โครงการรถไฟฟ้า Monorail สายสีเขียว ของเมืองพัทยากันก่อน

จากแผนแม่บทที่ทำการศึกษา จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าหลักทั้งหมด 4 สาย

1. สายสีเขียว สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา - แหลมบาลีฮาย
2. สายสีเหลือง บนทางรถไฟทางไกลของ รฟท เป็น โครงการรถไฟชานเมืองพัทยา เชื่อม ศรีราชา-พัทยา-อู่ตะเภา
3. สายสีม่วง แยกทัพพระยา - หนองปรือ (เชื่อมต่อถนนผังเมือง ง1)
4. สายสีแดง วงเวียนปลาโลมา(พัทยาเหนือ) - แยกทัพพระยา(ท้บกับสายสีเขียว)- จอมเทียน - สนามกีฬาแห่งชาติ ภาคตะวันออก

โดยแบ่งแผนการก่อสร้างเป็น 3 ช่วงคือ

ระยะเร่งด่วน ปี 63-65 ปรับปรุงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในเมืองพัทยา (รถสองแถว ,รถเมล์)

ระยะกลาง ช่วงที่ 1 ปี 65-69 ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว และเหลือง

ระยะกลาง ช่วงที่ 2 ปี 70-74 ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง

ระยะยาว ปี 75-79 ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายแดง

————————
รูปแบบก่อสร้างรถสายสีเขียว เมืองพัทยา

เป็นรูปแบบ Monorail ยกระดับ แบบ Straddle หรือแบบคร่อม เหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพู

เส้นทางยาว 9.9 กิโลเมตร

แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

- Main line หรือ เส้นหลัก เป็นทางคู่สวนกัน 8.3 กิโลเมตร จาก สถานีรถไฟพัทยา - สถานีทัพพระยาซอย 3 (ศูนย์ซ่อมบำรุง)

- Spur line หรือเส้นทางกิ่ง เป็นทางเดี่ยว 1.6 กิโลเมตร จาก สถานีทัพพระยาซอย 3 (ศูนย์ซ่อมบำรุง) - แหลมบาลีฮาย

มีทั้งหมด 13 สถานี คือ

- สถานีพัทยา
- มอเตอร์เวย์
- ขนส่ง
- แยกสายสาม
- ศาลากลาง
- วงเวียนปลาโลมา
- พัทยาซอย 5
- สาย 2 ซอย 6
- ซอยเมดอินไทยแลนด์
- สำนักงานหนังสือเดินทาง
- พัทยานุกูล
- ทัพพระยาซอย 3
- แหลมบาลีฮาย

โครงสร้างทางวิ่ง Monorail แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

ช่วงถนนพัทยาเหนือ โครงสร้างเสาจะวางอยู่บนเกากลางถนนพัทยาเหนือ

ช่วงถนนพัทยาสาย 2 ซึ่งปัจจุบันมีเขตทาง 3 ช่องจราจร จะวางเสาแบบไม่สมมาตร ชิดด้านตะวันตกของถนน ชิดตึกด้านหนึ่ง เพื่อเว้นช่องจราจรด้านล่างให้มีช่องจราจร 2 ช่องเดินทางได้

ช่วงถนนพัทยาสาย 3 เข้าแหลมบาลีฮาย ติดสะพาน จะเป็นรูปแบบคร่อมสะพานข้ามแยก

————————
แต่ความพิเศษของโครงการรถไฟฟ้า Monorail เมืองพัทยา คือการทำ Monorail เหนือทางวิ่ง Monorail เพื่อเป็นการพัฒนาพื้นที่สีเขียวกลางเมือง ที่แรกของโลก

โดยใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด และเปลี่ยนพื้นที่บนฟ้าให้มีมูลค่าสูงสุด โดยจะเป็นสวนลอยฟ้าและทางเดินลอยฟ้าเปิดให้คนเข้าใช้ได้อย่างเสรี พร้อมกับเชื่อมต่อกับอาคาร เหมือนเป็น Skywalk กับ สวนลอยฟ้าร่วมกัน

ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับอาคารข้างโครงการให้มีทางเข้า-ออก อาคารเพิ่มขึ้น เหมือนเราได้ Roof top skywalk ยาว 9.9 กิโลเมตร ตลอดระยะโครงการ

————————
นอกจากนั้น โครงการจะมีการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าอยู่ติดกับสถานีทัพพระยาซอย 3

แต่ความพิเศษคือการพัฒนาอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง ร่วมกับการพัฒนาพื้นที่ TOD เพื่อเป็นอาคารจุดเชื่อมต่อการเดินทาง กับราง และอาคารจอดแล้วจรของโครงการ

ซึ่งเป็น Model เดียวกับอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง หมอชิตของ BTS ที่ธนารักษ์พยายามทำมา ร่วม 20 ปี แต่ก็ไม่สำเร็จซักที

และโครงการนี้จะเชื่อมโยงกับ TOD สถานีพัทยา ที่ศึกษาอยู่เช่นกัน ตามลิ้งค์นี้

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/997618537343292/

———————
ส่วนตัวผมขอชื่นชมไอเดียของที่ปรึกษาซึ่งกล้าจะวางแผนสวนลอยฟ้าร่วมกับโครงการ monorail ซึ่งเป็นที่แรกของโลกเลย

แต่ก็ต้องรอดูในรายละเอียดอีกที ว่าประชาชนในพื้นที่โอเคมั้ยและมูลค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจะกระทบกับ ผลตอบแทนของโครงการทำให้เอกชนชนใจหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2020 11:17 am    Post subject: Reply with quote

ปี 67 สร้างแน่ ! รถไฟฟ้าโมโนเรลพัทยา หลังเสียง ปชช.พื้นที่กว่า 80% หนุน
หน้าภูมิภาค ภาคกลาง-ตะวันออก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 สิงหาคม 2563 เวลา 10:11



ศูนย์ข่าวศรีราชา – อิงเสียงส่วนใหญ่ชาวพัทยากว่า 80 % หนุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล แก้ปัญหาจราจร-ยกระดับขนส่งรับ EEC คาดเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 ภายใต้มูลค่าลงทุน 26,000 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี

วานนี้ ( 20 ส.ค.) นายเกียรติศักดิ์ ศรีวงษ์ชัย รองปลัดเมือง เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน และประชาชนที่มีส่วนได้เสียจาก โครงการศึกษาความเหมาะสมออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมมหาไถ่ พัทยา โดยมี นายพงศ์ทวี เลิศปัญญาวิทย์ ผู้จัดโครงการฯ ร่วมชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินงาน

ขณะที่ นายพงศ์ทวี ผู้จัดโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ โครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า บอกว่าการจัดประชุมรับฟังความเห็นทั้ง 3 ครั้งก็เพื่อนำเสนอผลการศึกษาทางด้านวิศวกรรม และผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อคิดเห็นในการแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการศึกษาให้มีความครบถ้วน ก่อนส่งให้เมืองพัทยาพิจารณา

โดยการจัดรับฟังความคิดเห็นใน 2 ครั้งที่ผ่านมา พบว่าประชาชนในพื้นที่มากถึง 80% เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้าระบบรถรางเบา หรือโมโนเรล แต่ก็มีประชาชนบางส่วนที่เกิดความกังวลใจในเรื่องพื้นที่การก่อสร้าง เนื่องจากถนนพัทยาสาย 2 มีความคับแคบ ดังนั้นหากมีการก่อสร้างโครงการใหญ่เกรงว่าจะส่งผลกระทบกับการจราจรและอาจจะทำให้สภาพภูมิทัศน์ของเมืองพัทยาไม่สวยงาม



บริษัทที่ปรึกษา จึงได้นำขอคิดเห็นดังกล่าวมาปรับปรุงแก้ไขจนออกมาเป็นรูปแบบที่นำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งสุดท้าย พร้อมนำเสนอรูปแบบรถไฟฟ้าแบบโมโนเรล ที่เป็นระบบเดียวกับที่มีการดำเนินงานในกรุงเทพฯ ทั้งสายสีชมพูและสายสีเหลือง

ทั้งนี้ รถไฟฟ้า ระบบโมโนเรล จะมีรูปแบบเป็นโครงสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่สูงกว่าระดับถนนเดิม ซึ่งจะทำให้การก่อสร้างมีผลกระทบน้อยเนื่องจากมีเพียงพื้นที่ก่อสร้างตอม่อ หรือ Pier ที่กว้างเพียง 1.8 เมตร ขณะที่งบการลงทุนน้อยกว่าระบบอื่นๆ

ที่สำคัญเหมาะกับพื้นที่ผิวถนนเดิมของเมืองพัทยาที่มีความกว้างไม่มาก ซึ่ง ระบบโมโนเรล ถือว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดและส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด



สำหรับเส้นทางโครงการนำร่องจะอยู่บนถนนพัทยาสายสอง เนื่องจากไม่มีอาคารที่มีความสูงเกิน 4 ชั้น จึงทำให้การยกระดับไม่จำเป็นต้องใช้ความสูงที่อาจส่งผลต่องบประมาณในการลงทุน โดยการจัดทำสถานีจอดบริเวณเส้นทางนี้อาจต้องมีการเวนคืนที่ดินบ้าง เช่น ริมถนนมอร์เตอร์เวย์ด้านทิศใต้เลียบรั้วตลอดแนว เพื่อไม่ให้รบกวนเส้นทางหลัก

ส่วนจุดที่ 2 คือบริเวณหน้าห้าง Terminal 21 และ 3.บริเวณแยกทัพพระยา ตลอดเส้นทางจะมีจุดจอดรวม 13 จุด และการจัดทำแผนดำเนินการหลังผ่านการรับฟังความคิดเห็นและกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมไปแล้วก็จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการฯ

โดยคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างได้ในปี 2566-2567 และจะเปิดให้บริการในช่วงปี 2570 ภายใต้มูลค่าการลงทุนรวม 26,000 ล้านบาท ในระยะเวลาสัมปทานรวม 30 ปี



รองนายกเมืองพัทยา ย้ำการพัฒนาระบบขนส่งมีความจำเป็น

ด้าน นายเกียรติศักดิ์ ศรีวงษ์ชัย รองปลัดเมือง กล่าวว่าเมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันกลับประสบปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนัก โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมืองซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตของเมือง

และยังพบว่าสาเหตุหลักของปัญหาการจราจรในเมืองพัทยา คือการขนส่งสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงพอ จึงให้ประชาชนในพื้นที่เลือกเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนตัวจนเกิดปัญหาการจราจรติดขัดและมลพิษทางอากาศ

X

วันนี้ เมืองพัทยา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อรองรับการเดินทางให้ครอบคลุมที่พักอาศัยและแหล่งกิจกรรมต่าง รองรับจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่ม มากยิ่งขึ้น และยังจะต้องเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เพื่อยกระดับเมืองพัทยาให้เป็นเมืองเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ



และที่ผ่านมาได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสมออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยา ที่นอกจากจะเป็นการจัดทำแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและโครงข่ายในเขตพื้นที่เมืองพัทยาและเชื่อมต่อกับพื้นที่โดยรอบแล้ว

ยังเป็นการเชื่อต่อระบบโดยสารจากสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพให้เกิดการเชื่อมต่อในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านการคมนาคม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

โดยเฉพาะการศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดของโครงการนำร่องของระบบขนส่งสาธารณะในรูปภาพรถไฟรางเบา หรือระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพ และศึกษาถึงประโยชน์ผลดี-ผลเสีย และผลกระทบต่อประชาชนรวมทั้งสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2020 11:17 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
ซี.พี.อัพเกรด 'แอร์พอร์ตลิงก์' ต.ค.นี้ ย้ายสถานีไฮสปีด 'พัทยา' ลากเข้าเมืองใหม่ 600 ไร่
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่ครับ ซี.พี. อัพเกรดแอร์พอร์ตลิงก์ ย้ายสถานีไฮสปีด “พัทยา” เข้าเมืองใหม่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 31 สิงหาคม 2563 - 17:45 น.
https://www.prachachat.net/property/news-513977


พอรู้ร่าซีพีคิดจะสร้างสถานีพัทยาสำหรับรถไฟความไวสูง ที่บ้านห้วยขวางซึ่งห่างจากสถานีรถไฟพัทยาลงไปทางใต้ 13.2 กิโลเมตร ก็เลยเกิดเรื่องต้องจัดการทำรถไฟฟ้าโมโนเรลกันใหม่ดังนี้:

นายกเมืองพัทยา ชี้หลัง “ซีพี” ขอย้ายฐานที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงออกจากพัทยา อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนโครงการรถไฟรางเบา เตรียมจับมือ 2 เทศบาลศึกษาแนวทางให้บริการโครงการรถไฟรางเบารองรับใหม่
บริษัท โสภณ เคเบิ้ล ที.วี.และสื่อสาร พัทยา จำกัด
3 กันยายน 2563


นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เปิดเผยถึงกรณีที่ปัจจุบันมีกระแสว่าทาง “ซีพี” เป็นผู้รับสัมป ทานโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ว่าจะมีการขอย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยาจากบริเวณใกล้ทางด่วนสาย 7 ตอน 7 ถนนเลียบทางรถไฟ ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ว่าสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้นพบว่าในสัญญาระหว่างผู้ที่ได้รับสัมปทานกับรัฐบาลมีในเรื่องของการเปิดช่องในการเสนอปรับเปลี่ยนการย้ายสถานี โดยที่ผ่านมทาเมืองพัทยาทราบมาแต่ต้นแล้วในเรื่องของสัญญาและได้มีการติดตามมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้เตรียมความการหากมีการย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูงในเบื้องต้นไว้เช่นเดียวกัน แม้ในเรื่องของการศึกษาโครงการรถไฟรางเบาของเมืองพัทยา ที่ผ่านมาจะเป็นการศึกษาตามแผน TOR เดิมที่มีไว้ หลังทราบว่ามีสัญญาที่ได้มีการเปิดช่องไว้สำหรับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง เมืองพัทยาก็ได้มีการเตรียมการไว้หากมีการปรับเปลี่ยนสถานี โดยขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าสถานมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สถานีที่ศรีราชาและพัทยาจะมีการปรับเปลี่ยนทำให้การดำเนินการโครงการรถไฟรางเบาจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในการรองรับที่จะย้ายสถานีจากเมืองพัทยาออกไปยังพื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตเมืองพัทยาซึ่งจะทำให้การดำเนินการระหว่างเมืองพัทยาและหน่วยงานอื่นๆมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ทางเทศบาลตำบลห้วยใหญ่และเทศบาลตำนาจอมเทียน จะได้ร่วมกับเมืองพัทยาเพื่อศึกษาการดำเนินการของโครงการรถไฟรางเบา และเตรียมศึกษาเพิ่มเตรียมส่วนให้ บริการให้ครอบคลุมมายังพื้นที่เมืองพัทยาให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ใช้ประโยชน์จากรถไฟรางเบาของเมืองพัทยาได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการศึกษาการเชื่อมโยงระบบขนสงมวลชนท้องถิ่นให้เกิดเป็นรูปธรรม ทั้งรถสองแถว แท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง หลังที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นไปแล้วเพื่อร่วมกันปรับแผนให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง
นายกเมืองพัทยา เปิดเผยต่ออีกว่าทั้งนี้หากจะให้พูดถึงว่าการย้ายสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงระทบต่อโครงการรถไฟรางเบาของเมืองพัทยาหรือไม่นั้นคงเป็นจะเป็นเรื่องของที่ตั้งสถานี คือการที่มีสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงอยู่กลางเมืองกับการการที่มีสถานีอยู่นอกเมือง โดยมุมมองจะมีผลกระทบในเรื่องการลงทุน หากมีการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงในเมืองพัทยาหรือในพื้นที่ เมืองพัทยาก็สามารถดำเนินการรถไฟรางเบาได้ง่ายและสะดวกกว่าแต่ตามกฎหมายก็มีช่องให้มีการขอดำเนินการนอกเขตพื้นที่เมืองพัทยาได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อง 3 สนามบิน จะส่งผลดีเมืองพัทยาอย่างแน่นอนเพียงแค่เมืองพัทยาจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟรางเบา เพื่อให้เกิดการสอดรับกับการพัฒนาในอนาคตต่อไปเท่า นั้น...
https://www.facebook.com/STVPattaya/posts/3492658700755039
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/09/2020 7:23 am    Post subject: Reply with quote

พัทยาจับมือ2เทศบาลปรับแผน"โมโนเรล" หลังซีพีขอย้ายฐานที่ตั้งรถไฟความเร็วสูง
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

ศูนย์ข่าวศรีราชา - เมืองพัทยาเตรียมจับมือ 2 เทศบาลศึกษาแนวทางบริการโครงการรถไฟรางเบา หรือโมโนเรล หลัง "ซีพี" ขอย้ายฐานที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินออกจากเมืองพัทยา

จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่ากลุ่มซีพี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความ เร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา จะขอย้ายสถานีจอดออกจากเมืองพัทยา ไปยังบริเวณใกล้ถนนมอเตอร์เวย์สาย 7 ตอน 7 ถนนเลียบทางรถไฟ ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี นั้น

นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ได้ ออกมาเปิดเผยว่า จากการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พบว่าในสัญญาระหว่างผู้ที่ได้รับสัมปทานกับรัฐบาลมีการเปิดช่องสำหรับการเสนอปรับเปลี่ยนและย้ายสถานีจอดได้ ซึ่งเมืองพัทยาได้มีการติดตามเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และได้เตรียมความพร้อมในกรณีที่จะมีการย้ายสถานีจอดรถไฟความเร็วสูงในเบื้องต้นไว้แล้วเช่นกัน

ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมาการศึกษาและออกแบบโครงการรถไฟรางเบาเมืองพัทยา ที่จะรองรับการเกิดขึ้นของโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเป็นการศึกษาตามแผน TOR เดิม

แต่หลังทราบว่าในสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมีการเปิดช่องสำหรับการปรับเปลี่ยนสถานีจอดและขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าจะปรับเปลี่ยนสถานีจอดที่ศรีราชาและพัทยาอย่างแน่นอน

"วันนี้ เมืองพัทยาจึงจะต้องทำการปรับเปลี่ยนแผนพัฒนาโครงการรถไฟรางเบา หรือ โมโนเรล ด้วยการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการขนส่ง มวลชนขนาดใหญ่เพื่อรองรับการย้ายสถานีจอดจากเมืองพัทยาออกไปยัง ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง ซึ่งอยู่นอกเขตเมืองพัทยา ที่จะทำให้การดำเนินการระหว่างเมืองพัทยาและหน่วยงานอื่นๆ มีเพิ่มมากขึ้น"

เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ และเทศบาลตำบลนาจอมเทียน จะร่วมกับเมืองพัทยา ศึกษาการเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนท้องถิ่นให้เกิดเป็นรูปธรรมทั้งรถสองแถว แท็กซี่ และรถจักรยานยนต์ รับจ้าง หลังได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นไปแล้วเพื่อร่วมกันปรับแผนให้เป็นไปตามการเปลี่ยน แปลงของสัญญาสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง

นายสนธยา ยังบอกอีกว่า หากจะให้พูดถึงเรื่องการย้ายสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงว่าจะกระทบต่อโครงการรถไฟรางเบาเมืองพัทยาหรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องของที่ตั้งสถานี กล่าวคือ การที่มีสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงอยู่กลางเมืองกับการที่มีสถานีอยู่นอกเมือง ย่อมส่งผลกระทบต่อมุมมองการลงทุนที่แตกต่างกัน คือหากมีการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงในเมืองพัทยาหรือในพื้นที่เมืองพัทยาก็สามารถดำเนินการรถไฟรางเบาได้ง่ายและสะดวกกว่า

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะส่งผลดีต่อเมืองพัทยาอย่างแน่นอน เพียงแค่เมืองพัทยาจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟรางเบา เพื่อให้สอดรับต่อการพัฒนาในอนาคตเท่านั้น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2020 10:12 am    Post subject: Reply with quote

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
17 กันยายน 2563 เวลา 09:51 น.
วันนี้มีงาน Market Sounding โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Monorail) พัทยา ครับ
ใครสนใจอย่าลืมเข้าร่วมด้วยนะครับ (ขอโทษที่แชร์ช้าครับ)

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1024284001343412
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2020 6:09 am    Post subject: Reply with quote

ชลบุรี-120 นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ เข้าร่วมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวพัทยา การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองพัทยา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา
24 กันยายน 2563






ที่ โรงแรมพูลแมน พัทยาโฮเทล จี เมืองพัทยา จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวพัทยา การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองพัทยา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram Way) อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยมี เรือตรีปราโมทย์ ทับทิม ปลัดเมืองพัทยา เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา ท่ามกลางนักลงทุน 120 คน ทั้งไทยและต่างชาติ เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาในครั้งนี้อย่างพร้อมเพรียง






เรือตรีปราโมทย์ ทับทิม ปลัดเมืองพัทยา กล่าวว่า ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ส่งผลให้พื้นที่ รวมทั้งเมืองพัทยา เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดปัญหาการสัญจรและการเดินทางของประชาชน เนื่องจากระบบขนส่ง สาธารณะในปัจจุบันยังไม่ได้มาตรฐาน เมืองพัทยาจึงจัดทำโครงการศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อ.บางละมุง จ.ชลบุรี และได้วางแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2579 คือ แผนระยะสั้น แผนระยะกลาง แผนระยะยาว โดยแผนพัฒนาได้กำหนดเส้นทางไว้ 19 เส้นทาง โดยมีเส้นทางหลัก 4 เส้นทาง และระบบขนส่งเสริมครอบคลุม 15 เส้นทาง






โดยมีเส้นทางนำร่องคือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตั้งแต่สถานีรถไฟ ความเร็วสูงพัทยา จนถึงแหลมบาลีฮาย ประกอบด้วยสถานีรถไฟฟ้า 13 สถานี และมีระยะห่างแต่ละสถานีประมาณ 650 – 700 เมตรสูงจากระดับถนนเดิมประมาณ 18 เมตร การก่อสร้างจะเน้นใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเป็นหลักและมีองค์ประกอบอื่น ที่สำคัญ เช่น สถานีซ่อมบำรุง จุดจอด และพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ หรือ TOD ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนรวมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมทั้งสิ้น 26,923 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกคือการก่อสร้างโครงการนี้รวม 16,485 ล้านบาท ช่วงที่สองเป็นช่วงเปิดให้บริการรวม 10,438 ล้านบาท






ด้านนายพงศ์ทวี เลิศปัญญาวิทย์ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า ในการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวพัทยา การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองพัทยา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram Way) ในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเข้าร่วมรับฟัง 120 คน ซึ่งมาจากหลากหลายประเทศ ทั้งนักลงทุนจากจีน เกาหลี ตัวแทนสถานทูตอังกฤษ และนักลงทุนชาวไทย ทั้งนี้พบว่ามีนักลงทุนบางรายที่สนใจจะเข้าลงทุนในโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองพัทยา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram Way)

ภาพ/ข่าว-ฐานภัทร อะเวลา ( เอก ชลนิวส์) สัมภาษณ์ บริบูรณ์ ผู้อำนวยการชลนิวส์ ทีวี online รายงานจากศูนย์ข่าวชลนิวส์ ทีวี online 8/68 ม.2 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี โทร 087-6142444
https://www.youtube.com/watch?v=Li-zU-cKFZw
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 7 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©