RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179747
ทั้งหมด:13490979
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 382, 383, 384 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 6:48 pm    Post subject: Reply with quote


ว้าว!!!! แบบร่างล่าสุด สถานีรถไฟความเร็วสูงบนบ้านไผ่ โครงการรถไฟความเร็วสูง สายอิสาน ส่วนต่อขยายช่วง โคราช-หนองคาย

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 14 กันยายน 2563 เวลา 18:42 น.

ต่อเนื่องจากเมื่อวาน ที่เอาแบบใหม่ของ สถานีรถไฟความเร็วสูงบัวใหญ่ มาให้ชม วันนี้ขอเอาแบบร่างใหม่ของสถานีรถไฟความเร็วสูงบ้านไผ่ มาให้ชมกันต่อ
ซึ่งจากที่ผมเอารายละเอียดแบบร่างแรกของ สถานีรถไฟความเร็วสูงบ้านไผ่ มาให้ชม ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/991362061302273/

มี Feedback ว่าไม่มีการดึงเอาอัตลักษณ์ ของท้องถิ่นออกมาเลย แล้วแต่ละสถานีมีลักษณะคล้ายกันไปหมด
ทางที่ปรึกษาเลยเอาคอมเมนท์ต่างๆ ไปใช้ในการปรับปรุงแบบให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ตามที่เหมาะสม
————————
รายละเอียดการปรับปรุงสถานี
รอบนี้ในแบบร่างล่าสุด ดึงเอาอัตลักษณ์ ที่สำคัญของบ้านไผ่ คือ ไผ่ มาเป็นเอกลักษณ์หลักของสถานี
ซึ่งนอกจากจะดึงไผ่มาเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังดึงไปถึงรูปแบบการแปรรูปใช้งานไผ่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ลายเครื่องจักรสานจากไผ่ และ รูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นจากไผ่ เอามาเป็นโครงสร้างหลักของสถานี
รับรองว่าเห็นสถานี แค่บางส่วนต้องรู้เลยว่าเป็นสถานีบ้านไผ่แน่นอน
- เริ่มจาหลักคาคุมจุดขึ้น-ลง รถยนต์ ด้านหน้าสถานี
เปลี่ยนจากจั่วด้านหน้าตามแบบเดิม เปลี่ยนเป็นโครงสร้างหลังคาโค้ง และมีเสาโครงสร้างรับน้ำหนักโค้ง เหมือนปล้องไผ่รับน้ำหนัก และต้นไผ่แตกแขนงจากกอไผ่
- ส่วนฟาซาดอาคารหลัก ทำเป็นลายจักรสาน ซ้อนทับไปมา และเว้นช่อง เพื่อให้เห็นถึงความเป็นงาน handmade ที่ไม่เป็น Pattern มากเกินไป
- ส่วนการตกแต่งภายในยังคล้ายจากแบบเดิม ซึ่งใช้สีและลายของไผ่ในการตกแต่ง
- รูปแบบสถานีมี 3 ชั้น
ชั้น 1 เป็นชั้นขายตั๋ว จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างระบบ และพื้นที่จอดรถ
ชั้น 2 เป็นโถงพักคอยผู้โดยสาร ก่อนขึ้นรถไฟ ซึ่งจะมีทั้งห้องติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร รวมถึงเป็นพื้นที่ติดตั้งงานระบบของสถานีรถไฟ
ชั้น 3 เป็นชานชาลา มี 2 ชานชาลาข้าง แต่มีทางรถไฟ 4 ทาง เพื่อให้มีทางรถไฟรองรับรถไฟด่วนผ่านสถานี
- รูปแบบทางรถไฟในบ้านไผ่
เนื่องจากตัวสถานีรถไฟทางคู่เดิมในเส้นทางนี้ก็เป็นสถานียกระดับ ในโครงการก็จะยกระดับคล้ายกัน
จากข้อมูลทางรถไฟความเร็วสูงจะยกระดับตั้งแต่จฺดตัดกับทางหลวงสาย 23 และลงระดับดินอีกครั้งในพื้นที่ใกล้เคียงกับของทางคู่
—————————
ตอนนี้ยังมีการรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยในพื้นที่ขอนแก่น เพื่อนๆที่ต้องการแสดงความคิดเห็น สามารถติดตามและเข้าร่วมได้ตามรายละเอียดในลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1021442388294240/?extid=2AdIHlcgRa8hEgqm&d=n
เสนอแนะเพิ่มเติมได้ในเพจ โครงการรถไฟความ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2020 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

เจาะคันทางรถไฟไฮสปีดทน100ปี
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

3.5กม.เสร็จ100%พร้อมส่งมอบ เปิดใจนายช่างทำไมสร้าง2ปีครึ่ง

ผู้สื่อข่าว "เดลินิวส์" ได้ขอสัมภาษณ์ นายสาธิต อินนามเพ็ง ผู้ช่วยนายช่างโครงการก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) สัญญาที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ของกรมทางหลวง (ทล.) ซึ่งเป็นโครงการตามความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาท โดยนายสาธิต เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ก่อสร้างคันทางรถไฟไฮสปีดเสร็จ 100% อยู่ระหว่างเก็บรายละเอียดเล็กน้อยเท่านั้น เช่น งานตีเส้นจราจร โดยวันที่ 17 ก.ย.นี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจีนจะเข้าตรวจสอบการก่อสร้าง ซึ่งได้เข้าตรวจสอบเป็นระยะอยู่แล้ว จากนั้นภายในสิ้นเดือน ก.ย.นี้พร้อมส่งมอบงานก่อสร้างให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการต่อในสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) ต่อไป

นายสาธิต กล่าวต่อว่า งานที่จะส่งมอบ รฟท. มี 2 ส่วนคือ คันทางรถไฟความเร็วสูงจาก กม.150+500-กม. 154+000 ระยะทาง 3.5 กม. และงานถนนคู่ขนานเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ระยะทาง 4 กม.ขนาด 2 ช่องกว้าง 6 เมตร ที่ ทล. ลงนามบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยูกับ รฟท.เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 61-2 ก.ย. 61 ให้ก่อสร้างเสร็จภายใน 6 เดือน แต่ได้ขยายเอ็มโอยูอีก 3 ครั้งคือ วันที่ 2 ก.ย. 61-30 เม.ย. 62 วันที่ 30 เม.ย. 62-30 ก.ย. 62 วันที่ 30 ก.ย. 62-30 ก.ย. 63 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณระหว่าง 2 หน่วยงานรวมทั้งต้องใช้เวลาเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างจากฝ่ายจีนด้วย

ส่วนตัวยอมรับว่าเกิดปัญหาจาก 2 ส่วนนี้ในสัดส่วนประมาณ 60/40 แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าแค่ 3.5 กม. แต่ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 2 ปีครึ่งแต่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงทุกคนที่มาเรียนรู้ประมาณ 230 คนก็พยายามเต็มที่แล้ว ทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้ก่อสร้างคันทางไฮสปีดเป็นครั้งแรก ถือเป็นการเปิดประสบการณ์งานทางครั้งใหม่และเป็นครั้งสำคัญเพื่อนำความรู้ไปปรับใช้กับการก่อสร้างงานทางหลวงในอนาคตซึ่งได้จัดทำคู่มือส่งมอบให้ รฟท.และพร้อมถ่ายทอดให้เพื่อน ๆ ในทล. รวมทั้งบุคคลภายนอกด้วย

นายสาธิต กล่าวด้วยว่า การก่อสร้างงานทางถนนกับงานทางรถไฟไฮสปีดมีความแตกต่างกันมาก อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆคือการก่อสร้างงานถนนทางหลวงจะมี 4-5 ขั้นตอน เริ่มจากการเคลียร์พื้นที่และเศษวัสดุ เช่น ถางหญ้าตัดต้นไม้ และบดอัดชั้นดินเดิม 2. ขั้นตอนทดสอบชั้นดินเดิม เพื่อดูการรับน้ำหนักและการบดอัดดูการยุบตัว ต่อด้วยการใช้วัสดุคัดเลือกบดอัด 15-20 ซม. จากนั้นบดอัดชั้นลูกรังอีก 15-20 ซม. ต่อด้วยชั้นหินคลุกอีก 15-20 ซม. ซึ่งเป็นชั้นที่แข็งแรงที่สุดก่อนจะปูยางมะตอยหรือเทคอนกรีต มีความหนารวมกันแล้วประมาณ 50-60 ซม. รับน้ำหนักได้ที่ประมาณ 25-30 ตัน อายุการใช้งานถนนลาดยางประมาณ 7-15 ปี

นายสาธิต กล่าวต่อว่า ขณะที่คันทางรถไฟความเร็วสูงมีความหนาถึง 3 เมตร เป็นฐานในการวางรางและหมอนรถไฟ ต้องมีอายุการใช้งานที่ 100 ปี รับความเร็วของรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่ 250 กม.ต่อชม.และสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 280 กม.ต่อชม. ต้องใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างจากการคัดวัสดุของกรมทางหลวง ซึ่งหากเป็นชั้นวัสดุของกรมทางหลวงจะใช้ค่าการทดสอบ C.B.R (California Bearing Ratio) เป็นการทดสอบเพื่อหากำลังรับน้ำหนักของดินที่บดอัดแล้ว สำหรับชั้นคันทาง (Sub grade) ชั้นรองพื้นทาง (Sub base) และชั้นพื้นทาง (Base) ส่วนชั้นวัสดุของคันทางรถไฟความเร็วสูง จะใช้วิธีการแยกวัสดุโดยใช้คุณสมบัติและขนาดคละของวัสดุเป็นเกณฑ์ในการแยกประเภท โดยที่ชั้นคันทาง Embankment (Group C soil) เทียบได้กับชั้นดินถมของงานทาง ชั้น Bottom Layer (Group A&B Soil) ความหนา 2.30 เมตร (สำหรับหน้าตัดที่ไม่ต้องมีชั้นทราย) และความหนา 2.10 เมตร (สำหรับหน้าตัดต้องมีชั้นทราย) เทียบได้กับชั้นรองพื้นทางและชั้นพื้นทาง

สำหรับชั้นที่สำคัญที่สุดคือชั้นที่เรียกว่า Top layer หรือชั้น Sub Ballast (Grade Broken stone) เทียบได้กับชั้นผิวทางของงานทาง ซึ่งจะต้องใช้การผลิตโดยใช้เครื่องผสม ผสมหินถึง 3 ชนิดคือหิน 2" (19%) หิน 1/2" (9%) และหินฝุ่น (72%) นำมาผสมกันโดยผสมน้ำในอัตราส่วน 5% และนำมาปูที่หน้างาน ความหนา 70 ซม. ระหว่างชั้น Bottom Layer และ ชั้น Top Layer นี้ในหน้าตัดที่เป็นงานดินขุดที่มีโอกาสเกิดแรงดันน้ำก็จะมีชั้นทราย และผ้าพลาสติกกันความชื้น ป้องกันน้ำซึมจากด้านบนลงด้านล่าง และป้องกันน้ำซึมจากด้านล่างขึ้นด้านบน หลังจากนั้นถึงจะเป็นขั้นตอนการวางรางและหินโรยทางต่อไป (Ballast)

"ช่วงแรก ๆ พวกเราต้องลองผิดลองถูกกว่าจะสื่อสารและทำความเข้าใจกับมาตรฐานของฝ่ายจีน ต้องใช้เวลาอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นใช้เวลานานถึง 6 เดือน กว่าจะสรุป Mix Design สำหรับงานคอนกรีตได้ จากปัญหาเรื่องการสื่อสารและต้องใช้เวลาเรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ การคัดเลือกวัสดุ การผสมวัสดุ และรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ซึ่งต้องยกนิ้วให้ฝ่ายจีนในเรื่องมาตรฐานการใช้วัสดุสูงมาก โดยคิดถึงองค์ประกอบรวมทั้งหมด รวมทั้งเรื่องการควบคุมแหล่งที่มาของวัสดุ ผมจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปปรับ ใช้และต่อยอดเข้ากับการก่อสร้างทางหลวงต่อไป" นาย สาธิต กล่าวปิดท้าย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2020 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เจาะคันทางรถไฟไฮสปีดทน100ปี
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563


เย้!! เสร็จ100%คันทางรถไฟไฮสปีดสายแรกอยู่ทน100ปี
*3.5 กม.ทางหลวงพร้อมส่งมอบรฟท.สิ้นเดือนนี้จ้า
*”บันทึกประวัติศาสตร์ความภูมิใจคนไทยก็ทำได้”
*นายช่างเปิดเบื้องลึกทำไมสร้างนานจังตั้ง2ปีครึ่ง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2712432662311568

กรมทางหลวง ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ช่วงที่ 1 กลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. แล้วเสร็จ ชูเป็นต้นแบบของโครงการในช่วงต่อๆไป
กรมทางหลวง
23 กันยายน 2563 เวลา 07:51 น.
ก.ย. นี้ส่งมอบรถไฟไทยจีันเฟสแรก
23 กันยายน 2563 เวลา 18:16 น.

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย รองอธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่กรมทางหลวงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ช่วงที่ 1 กลางดง – ปางอโศก กม.150+500 – 154+000 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นไปตามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมทางหลวง กับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างให้ ประกอบด้วยงานหลักๆ 5 งาน ได้แก่ งานย้ายรางรถไฟเดิม งานดินตัดและงานถมวัสดุในหน้าตัดคันทางรถไฟความเร็วสูง งานชั้นวัสดุ Top Layerหรืองานบดอัดวัสดุก่อนงานวางรางและหินโรยทาง งานคอนกรีตประกอบคันทางรถไฟความเร็วสูง และงานถนนบริการขนานกับคันทางรถไฟความเร็วสูง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร นั้น
ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ 100%และคาดว่าจะส่งมอบงานให้การรถไฟแห่งประเทศไทยภายในเดือนกันยายน 2563 โดยโครงการนี้จะถือเป็นต้นแบบในการดำเนินงานในช่วงต่อไปของโครงการรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการทำงาน คุณภาพของวัสดุ ทำให้สามารถใช้วัสดุภายในประเทศให้มากที่สุด ซึ่งกรมทางหลวงได้ปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น คอนกรีต เหล็กเส้น และงานชั้นวัสดุ Top Layer ให้มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูง
รองอธิบดีกรมทางหลวง กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ช่วงที่ 1 กลางดง – ปางอโศกใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 2 ปี 6 เดือน ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องใช้กระบวนการทำงานของกรมทางหลวงเองมาประยุกต์ให้เข้ากับกระบวนการทำงานของรถไฟความเร็วสูงโดยผู้ควบคุมงานจากประเทศจีน ซึ่งทางกรมทางหลวงได้ทำงานควบคู่กับการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้วัสดุภายในประเทศให้ได้มากที่สุดและที่ผ่านมาได้นำเข้าวัสดุจากประเทศจีน 2 รายการ ได้แก่ ผ้าใบกันความชื้น และสายดิน คิดเป็น 2% ของมูลค่าก่อสร้างรวมทั้งหมด นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังได้จัดทำคู่มือการก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูงตามประสบการณ์การทำงานกับผู้ควบคุมจากประเทศจีน เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจหรือผู้รับจ้างอื่นๆต่อไป
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง จะช่วยเสริมสร้างโครงข่ายการคมนาคมของประเทศรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการคมนาคมขนส่งถึงประเทศจีน อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อเดินหน้าประเทศไทยอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน


Last edited by Wisarut on 25/09/2020 2:44 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2020 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
10 ปีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ รอวันเปลี่ยนผ่าน พิสูจน์ฝีมือเดินรถสายสีแดง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 16 กันยายน 2563 เวลา 08:30 น.


“แอร์พอร์ตลิงก์” ฝ่าวิกฤต 10 ปี! “รถพัง-ระบบรวน-รอนาน” ลุยภารกิจสุดท้ายเซตระบบส่งต่อ “ซี.พี.”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 08:51



รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดมาถึง 10 ปีแล้วนับจากวันแรกที่เปิดให้บริการ 23 ส.ค. 2553 “แอร์พอร์ตลิงก์” ต้องเจอกับปัญหา อุปสรรคมากมายในการให้บริการ เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาสภาพรถ จำนวนรถน้อย ปัญหาระบบการจัดซื้อจัดหาอะไหล่ การซ่อมบำรุง ตลอด 10 ปี แม้ผู้ใช้บริการจะตกอยู่ในสภาพ ”ใช้ไป...บ่นไป” ด้วยความอดทน แต่! ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้แอร์พอร์ตลิงก์กลายเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักที่มีความสำคัญในการเดินทางของคนเมืองไปแล้ว โดยมีสถิติจำนวนผู้โดยสารสูงสุดเกือบแสนคน/วัน

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรืออีกชื่อ “โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง” มีระยะทาง 28.6 กม. มูลค่า 25,900 ล้านบาท แรกเริ่มแนวเส้นทางนี้เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟสายสีแดง (ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน) แต่ยุครัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” โดยมี สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รมว.คมนาคม ต้องการเร่งรัดเพื่อให้เป็นระบบรถไฟเชื่อมระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิกับเมือง จึงมีการแยกโครงการออกมาก่อสร้างก่อน และเริ่มโครงการเมื่อปี 2547
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการ ได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธา จัดซื้อขบวนรถ 2 แบบ คือ ขบวนรถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) มี 5 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ ขบวนรถไฟฟ้าด่วน (Express) มี 4 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ ซึ่ง 1 ใน 4 เป็นตู้ที่ติดตั้งระบบจัดเก็บสัมภาระที่ไม่สามารถให้คนโดยสารได้ และกลายเป็นตู้ที่ต้องพ่วงวิ่งไปวิ่งมาโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจนถึงทุกวันนี้...
ว่ากันว่าการก่อสร้าง การซื้อรถ เกิดมหกรรม...รุมทึ้งผลประโยชน์ และทำให้บางกลุ่ม...บางพวก กระเป๋าตุงกันไป

ในส่วนของการเดินรถ รฟท.ได้ตั้งบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นบริษัทลูก โดย รฟท.ถือหุ้น 100% รับค่าจ้างเป็นรายปี โดยจัดส่งรายได้จากค่าโดยสารให้ รฟท. ขณะที่การจัดซื้อจัดหาอะไหล่ การซ่อมบำรุง จะต้องให้ รฟท.เป็นผู้อนุมัติและดำเนินการ ซึ่งกระบวนการที่มา และขั้นตอนล่าช้า ทำให้เกิดปัญหา และกลายเป็น...วิบากกรรมของแอร์พอร์ตลิงก์

อาการหนักสุด ช่วงรถ 4 ขบวนจอดรอซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) ตามวงรอบวิ่งครบ 1.32 ล้านกิโลเมตร แต่ติดปัญหาไม่มีอะไหล่ซ่อม การจัดจ้าง และสั่งซื้ออุปกรณ์อะไหล่ล่าช้า ส่วนอีก 5 ขบวนก็ต้องวิ่งไปลุ้นไป เพราะไม่รู้จะเดี้ยงเมื่อไรก็ได้

“รถเสียรายวัน...รถพังเป็นปกติ” แผนซื้อรถใหม่ 7 ขบวน วงเงิน 4,400 ล้านบาท ไม่คืบหน้า เพราะติดหล่มปัญหาทุจริต”

ทำให้มีการตั้งเพจ “วันนี้แอร์พอร์ตลิงก์เป็นอะไร” เกิดขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางให้ผู้ใช้บริการได้แจ้งข้อมูลการใช้บริการระหว่างกัน ซึ่งแน่นอน เสียงตำหนิ ติเตียน ถึงบริการที่สุดแย่...แต่ก็ต้องทนใช้บริการเพราะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถสาธารณะอื่นที่ต้องเจอปัญหาจราจรที่วิกฤตกว่า
ต้องยอมรับว่าตลอดระยะเวลาในการให้บริการ พนักงานแอร์พอร์ตลิงก์ต้องซ่อมบำรุงเอง ทำให้ผ่านการเรียนรู้ ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และวิกฤตอันหนักหน่วง ถือว่าไม่เป็นสองรองใคร

“สุเทพ พันธุ์เพ็ง” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด กล่าวว่า ในปี 2564 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์จะให้บริการครบ 1 ทศวรรษ ซึ่งตลอดระยะเวลา 10 ปีบริษัทฯ ได้ดำเนินงานยกระดับการให้บริการแก่ผู้โดยสารตามมาตรฐานสากล และตามวิสัยทัศน์ขององค์กร โดยบริษัทฯ ได้นำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 มาใช้ในการดำเนินงาน ทั้งการซ่อมบำรุง และการปฏิบัติการเดินรถ การบริการอย่างต่อเนื่อง จนผ่านการรับรอง ISO 9001 : 2015 ขอบเขต : วิศวกรรมและซ่อมบำรุง และขอบเขต : งานปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้า จาก BV (Bureau Veritas) ทำให้การดำเนินงานของบริษัทมีมาตรฐาน และประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในงานช่อมบำรุง และการให้บริการ โดยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงสามารถซ่อมบำรุงใหญ่ขบวนรถไฟฟ้า (Overhaul) และซ่อมบำรุงทั่วไป จนสามารถกลับมาให้บริการรถไฟฟ้าได้เต็มจำนวน 9 ขบวน รวมถึงปรับเปลี่ยนภายในขบวนรถไฟฟ้าด่วน (Express) ปรับที่นั่งทำให้สามารถอำนวยความสะดวก และรองรับจำนวนผู้โดยสารได้เพิ่มมากขึ้น

ส่วนงานบริการ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยภายในสถานีตามหลักการ Universal Design หรือการออกแบบเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่มในสังคม มีการสร้างลิฟต์ บันไดเลื่อนเพิ่มเติมรวมทั้งหมด 140 ตัว นอกจากนั้นยังได้สร้างราวกั้นชั้นชานชาลา และยางปิดช่องว่างระหว่างขอบชานชาลา และประตูรถไฟฟ้า (Platform Gap Filler) เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการของผู้โดยสาร รวมถึงจัดหาอุปกรณ์ทางพาดพับได้สำหรับรถเข็นวีลแชร์ (Potable wheelchair ramp) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ทุพพลภาพ และคนพิการให้สามารถข้าสู่ขบวนรถไฟฟ้าได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

@ ชงบอร์ด รฟท.ต่อมาตรการลดค่าตั๋วช่วงนอกเวลาเร่งด่วน

สำหรับมาตรการลดค่าโดยสาร เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชนนั้น ได้ดำเนินการลดราคานอกช่วงเวลาเร่งด่วน (Off Peak Hour) วันจันทร์-วันศุกร์ ใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 05.30-07.00 น., 10.00-17.00 น. และ 20.00-24.00 น. ให้แก่ผู้โดยสารที่ถือบัตรสมาร์ทพาสประเภทบุคคลทั่วไป Adult Card จากอัตราค่าโดยสารปกติ 15-45 บาท เหลือ 15-25 บาท โดยจะคิดอัตราค่าโดยสารสถานีแรก 15 บาท สถานีที่สอง 20 บาท และสถานีที่ 3 เป็นต้นไปคิดค่าโดยสาร 25 บาท ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มี.ค. สิ้นสุดไปเมื่อ 30 มิ.ย. 2563 โดยขณะนี้ได้ทำหนังสือไปยัง รฟท.เพื่อขอจัดทำมาตรการลดค่าโดยสารอีกครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน คาดว่าจะได้รับอนุมัติและเริ่มมาตรการได้ตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค. 2563

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มอบสิทธิพิเศษให้แก่ผู้โดยสารมากมาย ทั้งสิทธิ์เดินทางฟรี และจัดแคมเปญพิเศษในวันสำคัญต่างๆ จัดกิจกรรมด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมให้ผู้โดยสารกระจายการใช้บริการ เพื่อลดความแออัดในช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น มอบส่วนลดในการเดินทาง, มอบบัตรชมภาพยนตร์ และเสิร์ฟอาหารเช้า เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจความพึงพอใจผู้โดยสารประจำปี 2563 ซึ่งมีการเก็บรวบรวมถึง 2 ครั้ง ปรากฏว่าผู้โดยสารมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดีมาก โดยคะแนนเต็ม 5 แบ่งเป็น ด้านความปลอดภัย เฉลี่ยอยู่ที่ 4.36, ด้านความน่าเชื่อถือของการเดินรถเฉลี่ยอยู่ที่ 4.23, ด้านการให้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33, ด้านคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกบนสถานี และในขบวนรถเฉลี่ยอยู่ที่ 4.23, ด้านบัตรโดยสาร และการตลาดเฉลี่ยอยู่ที่ 4.19 และด้านการประชาสัมพันธ์ และการให้ข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 4.17

@ผู้โดยสารรวมจ่อทะลุ 200 ล้านคน

ซีอีโอแอร์พอร์ตลิงก์ระบุว่า จำนวนผู้โดยสารรวมนับตั้งแต่เปิดให้บริการถึงปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 185 ล้านคนแล้ว คาดว่าจะทะลุ 200 ล้านคนในปี 2564 แน่นอน โดยหลังจากเปลี่ยนเบาะที่นั่งขบวนรถด่วน ทำให้รองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 150 คน/ขบวนเป็น 750 คน/ขบวน หรือเพิ่มความจุในการรับผู้โดยสารจาก 50,000 คน/วัน เป็น 90,000 คน/วัน

จากปีแรกที่เปิดมีผู้โดยสารเฉลี่ยไม่ถึง 30,000 คน/วัน ขณะที่การเติบโต 11-12% ทุกปี ซึ่งช่วงแรกที่เกิดไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด ผู้โดยสารลดลงเหลือไม่ถึง 10,000 คน/วัน ล่าสุดเมื่อมีการผ่อนปรนมาตรการ ผู้โดยสารเริ่มเพิ่มขึ้น ล่าสุดมีถึง 57,100 คน/วันแล้ว โดยบริษัทยังคงให้ความสำคัญต่อมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 เช่นเดิมเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยและปลอดเชื้อแก่ผู้โดยสาร

@ ปีที่ 10 กับภารกิจพิเศษ “เซตระบบส่งต่อ ซี.พี.-ทดลองเดินรถสีแดง”
ล่าสุดบริษัทฯ ได้รับภารกิจจาก รฟท.ในการทดสอบการเดินรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต บางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยจะต้องเตรียมบุคลากร ขณะนี้ได้เปิดรับสมัครพนักงานจำนวน 158 คนแบบชั่วคราว เพื่อฝึกอบรมและเตรียมการทดสอบเดินรถสายสีแดงเสมือนจริงช่วงกลางปี 2564 ซึ่งจะมีพนักงานของแอร์พอร์ตลิงก์ 98 คนที่มีประสบการณ์เป็นครูฝึก เป้าหมายคือการเปิดเดินรถไฟสายสีแดงเต็มรูปแบบในเดือน พ.ย. 2564

ในการเดินรถไฟสายสีแดงต้องการพนักงานทั้งหมดประมาณ 800 คน ขณะที่บริษัทฯ มีพนักงานจำนวน 530 คน ดังนั้นอย่างน้อยต้องรับพนักงานเพิ่ม 256 คน

นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการส่งมอบงานให้กับ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือกลุ่ม ซี.พี. ซึ่งได้จัดทีมเข้ามาประสานงาน ตรวจสอบระบบงาน ซึ่งทาง ซี.พี.เองจะต้องเตรียมความพร้อมในการรับเดินรถต่อโดยที่ไม่เกิดการสะดุด

บริษัทฯ ได้ให้ข้อมูลในสิ่งที่ต้องเตรียมล่วงหน้า เช่น การสั่งซื้ออะไหล่ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการสั่งซื้อประมาณ 12 เดือน, การซ่อมบำรุงใหญ่ขบวนรถไฟฟ้า (Overhaul) ตามวงรอบการวิ่งครบ 3.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งคาดการณ์ว่าจะครบประมาณต้นปี 2565 ดังนั้น ซี.พี.ต้องเตรียมกระบวนการสำหรับ Overhaul และต้องเตรียมเงินลงทุน 300-400 ล้านบาทไว้ให้พร้อม โดยบริษัทฯ และ ซี.พี มีการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกอย่างพร้อมและไม่เกิดปัญหาการเดินรถในช่วงที่เป็นรอยต่อ

ในส่วนของขบวนรถที่มี 9 ขบวนนั้น ช่วงแรก ซี.พี.มีแนวคิดที่จะปรับปรุงตู้จัดเก็บสัมภาระจำนวน 4 ตู้ โดยติดตั้งเบาะที่นั่งให้สามารถรับผู้โดยสารได้ โดยจะปรับปรุง 1 ตู้แรกให้เสร็จก่อน ต.ค. 2564 จะต้องมีการวางแผนปรับปรุงช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่มีผู้โดยสารไม่มากเพื่อไม่ให้กระทบต่อการให้บริการ เนื่องจากตู้สัมภาระพ่วงติดกับขบวนรถไม่สามารถหยุดวิ่งทั้งขบวนเพื่อนำไปปรับปรุงได้

จากบริการ และจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้แอร์พอร์ตลิงก์มีรายได้จากค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยช่วงก่อนเกิดโควิด-19 มีรายได้จากค่าโดยสารถึงกว่า 800 ล้านบาท เฉลี่ย 60 ล้านบาท/เดือน ตั้งแต่โควิด-19 ระบาดจนถึงปัจจุบัน รายได้ลดลงไปกว่า 40% ซึ่งจัดส่งรายได้เข้ารฟท.โดยตรง นอกจากนี้ยังมีรายได้จากค่าสัมปทานพื้นที่เชิงพาณิชย์อีกประมาณ 40 ล้านบาท/ปี ซึ่งส่วนนี้เอกชนทำสัญญาตรงกับ รฟท.

ขณะที่ รฟท.จ่ายค่าจ้างในการบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ให้บริษัทฯ ประมาณ 300 ล้านบาท/ปี

ตลอด 10 ปีแอร์พอร์ตลิงก์ไม่เคยปรับขึ้นค่าโดยสารเลย โดยยังคงจัดเก็บบุคคลทั่วไปที่อัตราเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท นักเรียน นักศึกษา ได้ส่วนลด 20% ผู้สูงอายุ ได้ส่วนลด 50%

แต่เมื่อส่งมอบให้เอกชนเข้ามาบริหารแทนภายใต้สัญญาสัมปทาน โดยจะต้องจ่ายเงินอีก 10,671 ล้านบาท ค่าโดยสารคงมีการปรับขึ้นตามเงื่อนไขการลงทุน ซึ่งผู้โดยสารก็ต้องรับสภาพ และอาจจะไม่มีมาตรการลดราคา ลดค่าครองชีพ เหมือนตอนที่อยู่ในความดูแลของ รฟท.อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปีที่ 10 ของแอร์พอร์ตลิงก์ กับ 3 ภารกิจสำคัญ
1. ทดสอบเดินรถสายสีแดง
2. ให้บริการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์
3. ประสาน ซี.พี.เพื่อส่งมอบตามสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อไม่ให้กระทบบริการ ...ถือเป็นความท้าทายสุดท้ายของแอร์พอร์ตลิงก์ ก่อนส่งไม้ต่อให้กลุ่ม ซี.พี.
https://www.facebook.com/HST.DSU/posts/1459704940888662
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2020 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
20 กันยายน 2563 เวลา 13:11 น.
การรถไฟแห่งประเทศไทย ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจ ร่วมประชุมกลุ่มย่อย “โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย” ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2563 โดยในวันที่ 21 – 25 กันยายน 2563 จะจัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี
ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจ ร่วมรับฟังข้อมูลโครงการ และให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาออกแบบโครงการต่อไป ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2763 2828 ต่อ 4087 หรือ อีเมล hsrne2@gmail.com
https://www.facebook.com/hsrkorattonongkhai/posts/199827424897280
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1027747270997085
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2020 9:58 am    Post subject: Reply with quote

สร้าง 2 ปี 6 เดือน คันทางไฮสปีดไทย-จีน ช่วง “กลางดง-ปางอโศก” 3.5 กม.
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 09:52 น.

ก.ย. นี้ส่งมอบรถไฟไทยจีนเฟสแรก
วันที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 18:16 น.

กรมทางหลวงดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. แล้วเสร็จ ใช้เวลา 2 ปี 6 เดือน ส่งมอบให้รถไฟ ก.ย.นี้ ชูเป็นต้นแบบของโครงการในช่วงต่อๆ ไป

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย รองอธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่กรมทางหลวงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก กม.150+500 – 154+000 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นไปตามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมทางหลวง กับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างให้

ประกอบด้วยงานหลักๆ 5 งาน ได้แก่ งานย้ายรางรถไฟเดิม งานดินตัดและงานถมวัสดุในหน้าตัดคันทางรถไฟความเร็วสูง งานชั้นวัสดุ Top Layer หรืองานบดอัดวัสดุก่อนงานวางรางและหินโรยทาง งานคอนกรีตประกอบคันทางรถไฟความเร็วสูง และงานถนนบริการขนานกับคันทางรถไฟความเร็วสูง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร นั้น

ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ 100% และคาดว่าจะส่งมอบงานให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ภายในเดือนกันยายน 2563 โดยโครงการนี้จะถือเป็นต้นแบบในการดำเนินงานในช่วงต่อไปของโครงการรถไฟความเร็วสูง


เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการทำงาน คุณภาพของวัสดุ ทำให้สามารถใช้วัสดุภายในประเทศให้มากที่สุด ซึ่งกรมทางหลวงได้ปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น คอนกรีต เหล็กเส้น และงานชั้นวัสดุ Top Layer ให้มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูง

รองอธิบดีกรมทางหลวง กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 2 ปี 6 เดือน ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องใช้กระบวนการทำงานของกรมทางหลวงเองมาประยุกต์ให้เข้ากับกระบวนการทำงานของรถไฟความเร็วสูง โดยผู้ควบคุมงานจากประเทศจีน

ซึ่งทางกรมทางหลวงได้ทำงานควบคู่กับการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้วัสดุภายในประเทศให้ได้มากที่สุด และที่ผ่านมาได้นำเข้าวัสดุจากประเทศจีน 2 รายการ ได้แก่ ผ้าใบกันความชื้น และสายดิน คิดเป็น 2% ของมูลค่าก่อสร้างรวมทั้งหมด

นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังได้จัดทำคู่มือการก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูง ตามประสบการณ์การทำงานกับผู้ควบคุมจากประเทศจีน เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจหรือผู้รับจ้างอื่นๆ ต่อไป

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง จะช่วยเสริมสร้างโครงข่ายการคมนาคมของประเทศรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการคมนาคมขนส่งถึงประเทศจีน อีกทั้งยังเป็นการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อเดินหน้าประเทศไทยอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

เสร็จแล้ว! รถไฟไทย-จีน 3.5 กม.แรก ก่อสร้างมาราธอน 2 ปี 6 ด.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 09:45



กรมทางหลวง เผยก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ช่วง กลางดง - ปางอโศก 3.5 กม. เสร็จแล้ว พร้อมส่งมอบรฟท. ในก.ย.นี้ ใช้เวลารวม 2 ปี 6 ด. เหตุต้องเรียนรู้ ทำคู่มือต้นแบบสร้างคันทาง

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมทางหลวงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ช่วงที่ 1 กลางดง – ปางอโศก กม.150+500 – 154+000 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร แล้วเสร็จ 100%และคาดว่าจะส่งมอบงานให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายในเดือนก.ย. 2563

โดยงานก่อสร้างดังกล่าว เป็นไปตามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมทางหลวง กับ รฟท. โดยให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างให้ ประกอบด้วยงานหลักๆ 5 งาน ได้แก่ งานย้ายรางรถไฟเดิม งานดินตัดและงานถมวัสดุในหน้าตัดคันทางรถไฟความเร็วสูง งานชั้นวัสดุ Top Layerหรืองานบดอัดวัสดุก่อนงานวางรางและหินโรยทาง งานคอนกรีตประกอบคันทางรถไฟความเร็วสูง และงานถนนบริการขนานกับคันทางรถไฟความเร็วสูง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

โดยโครงการนี้จะถือเป็นต้นแบบในการดำเนินงานในช่วงต่อไปของโครงการรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการทำงาน คุณภาพของวัสดุ ทำให้สามารถใช้วัสดุภายในประเทศให้มากที่สุด ซึ่งกรมทางหลวงได้ปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น คอนกรีต เหล็กเส้น และงานชั้นวัสดุ Top Layer ให้มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูง

สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ช่วงที่ 1 กลางดง – ปางอโศกใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 2 ปี 6 เดือน ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องใช้กระบวนการทำงานของกรมทางหลวงเองมาประยุกต์ให้เข้ากับกระบวนการทำงานของรถไฟความเร็วสูงโดยผู้ควบคุมงานจากประเทศจีน ซึ่งทางกรมทางหลวงได้ทำงานควบคู่กับการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้วัสดุภายในประเทศให้ได้มากที่สุดและที่ผ่านมาได้นำเข้าวัสดุจากประเทศจีน 2 รายการ ได้แก่ ผ้าใบกันความชื้น และสายดิน คิดเป็น 2% ของมูลค่าก่อสร้างรวมทั้งหมด

นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังได้จัดทำคู่มือการก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูงตามประสบการณ์การทำงานกับผู้ควบคุมจากประเทศจีน เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่สนใจหรือผู้รับจ้างอื่นๆต่อไป

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง จะช่วยเสริมสร้างโครงข่ายการคมนาคมของประเทศรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการคมนาคมขนส่งถึงประเทศจีน อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อเดินหน้าประเทศไทยอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน


Last edited by Wisarut on 24/09/2020 10:42 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2020 12:26 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ไล่เคลียร์บุกรุก 302 หลัง-ยกเลิก104 สัญญาเช่า เปิดพื้นที่สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 19:49

รฟท.ไล่เช็คพื้นที่บุกรุก 302 หลัง เคลียร์ทางสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เร่งยกเลิก 104 สัญญาเช่าเสร็จในธ.ค. 63 มั่นใจออก NTP เริ่มงานมี.ค.64 ลุ้นโอนแอร์พอร์ตลิงก์ทัน ต.ค. 64 หรือไม่ หลังผู้เชี่ยวชาญอิตาลียังมาไทยไม่ได้ เหตุ”โควิด”

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน” ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ว่า ได้ติดตามความก้าวหน้าในการเตรียมพื้นที่เพื่อส่งมอบให้ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) เริ่มดำเนินการก่อสร้าง โดยในส่วนของ ความก้าวหน้าในการโยกย้ายผู้บุกรุก ซึ่งการสำรวจตลอดแนวเส้นทางตั้งแต่ลาดกระบัง- เขาชีจรรย์ มีจำนวน 302 หลัง โดยได้รื้อย้ายแล้ว จำนวน 208 หลัง เจรจาแล้วรอรื้อย้าย จำนวน 43 หลัง ,ไกล่เกลี่ยแล้วรอขึ้นศาล จำนวน 5 หลัง ,รอการเจรจาจำนวน 46 หลัง โดยรฟท.ระบุว่าจะเจรจาเสร็จในเดือนต.ค. 2563

ส่วนพื้นที่เช่าที่มีทั้งหมด 213 สัญญา มีผลกระทบต่อโครงการจำนวน 104 สัญญา โดยอยู่ในช่วงดอนเมือง-พญาไท 100 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาที่ไม่กระทบต่อโครงการ 49 สัญญา สัญญาที่กระทบต่อโครงการ 51 สัญญา ซึ่งจะต้องยกเลิกสัญญาทั้งหมด โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนธ.ค. 2563

ช่วง ลาดกระบัง-อูตะเภา มีจำนวน 113 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาที่ไม่กระทบต่อโครงการ 59 สัญญา สัญญาที่กระทบต่อโครงการ 53 สัญญา(กำลังตรวจสอบอีก 1 สัญญา) ซึ่งจะดำเนินการยกเลิกสัญญา แล้วเสร็จในเดือนก.ย. 2563

สำหรับการเวนคืน เบื้องต้นได้จัดทำตารางแผนการดำเนินงานโดยกำหนดจะส่งมอบพื้นที่เวนคืนให้เอกชนคู่สัญญา กรณีที่ผู้ถูกเวนคืนมาทำสัญญาตั้งแต่เดือนม.ค. 2564 – เดือนมี.ค.2564 และส่งมอบพื้นที่เวนคืนชุดสุดท้าย ในเดือนส.ค.-ก.ย. 2564 โดยคาดว่าจะออกหนังสือเริ่มงาน(NTP) ให้เอกชนคู่สัญญาภายในเดือนมี.ค. 64

ส่วนการโอนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ภายใน 2 ปี หลังการลงนามในสัญญา หรือภายในเดือนต.ค. 2564นั้น นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ขณะนี้การตรวจสอบทรัพย์สินและระบบรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตเรลลิงก์ อาจจะล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย เนื่องจากติดปัญหา ผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลี ยังเดินทางมาประเทศไทยไม่ได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะต้องมาดู เพื่อทำแผนในการปรับปรุงระบบ ของแอร์พอร์ตลิงก์ให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ทางกลุ่มบริษัท รถไฟเชื่อมสามสนามบินจะสามารถรับโอนและบริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้ตามกำหนด


รถไฟเคลียร์ “เวนคืน-ผู้บุกรุก-ผู้เช่า” ไม่จบเลื่อนส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบิน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 23 กันยายน 2563 - 21:14 น.


ไฮสปีด 3 สนามบินรออีกยาว “ปลัดคมนาคม” เผยสารพัดปัญหาจุกจิก “เวนคืน-บุกรุก-ยกเลิกสัญญาเช่า-รื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค” เหนื่อยเจองานเข้าพื้นที่ “เจ้าท่า-กรมชลฯ” เพิ่มอีก 83 จุด เผย “ซี.พี.” ขอเวลามาร์คจุดสถานีศรีราชา-พัทยาใหม่ ส่วนมักกะสันพร้อมส่งมอบปี’66

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 ก.ย.2563 คณะทำงานได้ตรวจสอบการดำเนินการใน 4 กลุ่มงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ประกอบด้วย การเวนคืน การจัดการผู้บุกรุก การยกเลิกสัญญาเช่า และการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่กีดขวางแนวเส้นทาง

เลื่อนการเวนคืนที่ดิน
ในส่วนของการเวนคืน ได้วางแผนดำเนินการไว้ว่าในช่วงเดือนต.ค.นี้จะเริ่มประชุมคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น จากนั้นในช่วงเดือน ส.ค.-พ.ย.นี้จะเริ่มงานรังวัดแบ่งแปลง ซึ่งเผื่อความล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนไปจนถึงเดือน ม.ค. 2564 ต่อมาจะเป็นการสรุปรายละเอียดค่าทดแทนทั้งหมด

โดยคาดว่าจะทำเสร็จภายในเดือน ต.ค. นี้ และเผื่อความล่าช้าจากแผนไปถึงเดือน พ.ย. 2563 จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนและจ่ายค่าทดแทน ตามแผนจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้ และเผื่อความล่าช้าจากแผนไปถึงเดือน ม.ค. 2564 และจะเข้าสู่ขั้นตอนการส่งมอบพื้นที่เวนคืนทั้งหมดให้คู่สัญญา

ในขั้นตอนนี้จะวางไว้ 2 กรณี กรณีแรกเรียกผู้ถูกเวนคืนมาทำสัญญา กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค. 2564 และเผื่อความล่าช้าจากแผนไปถึงเดือน เม.ย. 2564 และกรณีที่ 2 เมื่อไม่มาทำสัญญา จะดำเนินการส่งมอบภายในเดือน ส.ค. 2564 และเผื่อความล่าช้าจากแผนไปถึงเดือน ก.ย. 2564

ผงะผู้บุกรุกสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา
ขณะที่ความก้าวหน้าของการแก้ปัญหาผู้บุกรุก พบว่าช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา เป็นช่วงที่มีผู้บุกรุกที่กระทบกับโครงการมากที่สุด ขณะนี้พบจำนวนผู้บุกรุกรวม 571 หลัง เป็นผู้บุกรุกที่กระทบกับโครงการ 302 หลัง และไม่กระทบกับโครงการ 269 หลัง ดำเนินการฟ้องร้อง 245 หลัง ไม่ฟ้องร้อง 11 หลัง รื้อย้ายแล้ว 208 หลัง เจรจารอรื้อย้าย 43 หลัง ไกล่เกลี่ยรอขึ้นศาล 5 หลังและรอเจรจาอีก 46 หลัง

โดยในช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา พบว่าจุดที่มีผู้บุกรุกอยู่อาศัยและกระทบกับโครงการมากที่สุดอยู่บริเวณบางละมุงจำนวน 173 หลัง ถัดมาเป็นช่วงพัทยา – บ้านห้วยขวาง 83 หลัง , ช่วงเขาพระบาท 28 หลัง และช่วงเขาชีจรรย์ 7 หลัง

ติดสัญญาเช่าเบี้ยหัวแตก213 สัญญา
ส่วนเนื้องานด้านการยกเลิกสัญญาเช่า เบื้องต้นตามแนวเส้นทางมีสัญญาเช่ารวม 213 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาเช่า 59 สัญญาและสัญญาใช้สิทธิ์เหนือพื้นดิน 154 สัญญา โดยสัญญาเช่าในพื้นที่ไม่มีผู้เช่าที่เป็นรายใหญ่ มีเพียงรายย่อยที่เช่าไปทำที่จอดรถ อู่ซ่อมรถขนาดเล็ก ปลูกพืช เป็นต้น ซึ่งการบอกเลิกสัญญาน่าจะไม่ยาก

สำหรับการบอกเลิกสัญญาเช่าที่กระทบกับโครงการจะอยู่ในช่วงดอนเมือง – พญาไท 100 สัญญา เป็นสัญญาที่กระทบโครงการ51 สัญญา คาดว่าจะยกเลิกแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.2563 และอีกส่วนหนึ่งจะอยู่ในช่วงลาดกระบัง – อู่ตะเภา จำนวน 113 สัญญา เป็นสัญญาที่มีผลกระทบกับโครงการ 53 สัญญา คาดว่าจะยกเลิกสัญญาแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย. 2563

รื้อย้ายเพิ่ม10จุด
ด้านงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคยังไม่พบปัญหาเพิ่มเติม เพียงแต่มีข้อมูลขัดกับกองทัพเรือ (ทร.) ที่ ทร.เห็นว่ามีแค่ 3 จุดเท่านั้นที่ต้องรื้อย้าย แต่คณะทำงานบอกว่ามี 10 จุด จึงให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปดำเนินการหารือมาให้เรียบร้อย

ส่วนเรื่องงบประมาณ มีบางหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคตรวจพบสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมในพื้นที่เวนคืนและจำเป็นต้องใช้งบประมาณดำเนินการเพิ่มเติม หากงานที่เพิ่มดังกล่าวมีมากกว่าวงเงินที่เคยให้ไว้ ก็ให้ใช้เงินเหลือจ่ายของงบประมาณปี 2564 หากไม่พออีกจึงค่อยทำเรื่องของบกลางต่อไป

โดยรายละเอียดของเนื้องานที่ขอเพิ่มยังไม่ทราบ ให้แต่ละหน่วยงานไปตรวจสอบเพิ่มเติม นอกจากนี้ ให้ทำแผนปฏิบัติการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคกลับมาในการประชุมครั้งหน้าด้วย

“ตามกำหนดแล้วการส่งมอบพื้นที่จะต้องทำให้เสร็จ 100% ภายในเดือน ต.ค. 2564 แต่จะพยายามส่งมอบพื้นที่ให้เร็วกว่านั้น แต่ตอนนี้ดีเลย์มาเดือน มี.ค. 2564 ก็ตั้งใจจะให้ออก NTP ให้ได้ภายในเดือนมี.ค. 2564 ” นายชัยวัฒน์กล่าว

เจอตอพื้นที่ “เจ้าท่า-กรมชลฯ” 83 จุด
นอกจากนี้ยังมีการขอเข้าใช้พื้นที่ของหน่วยงานอื่นเพิ่มเติม โดยเป็นพื้นที่ที่เกี่ยวกับกรมเจ้าท่า (จท.) และกรมชลประทาน ซึ่งมีการพบแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ของทั้ง 2 หน่วยงานจำนวน 83 จุด จึงให้ ร.ฟ.ท.ไปหารือกับ 2 หน่วยงานดังกล่าว เพื่อสรุปความรับผิดชอบต่อ 83 จุดดังกล่าวว่า เป็นอำนาจของหน่วยใดบ้าง และเงื่อนไขการอนุญาตใช้พื้นที่มีอะไรบ้าง แล้วให้กลับมารายงานปัญหาทั้งหมดอีกครั้งในการประชุมครั้งหน้า หากพบความยุ่งยากในการเข้าพื้นที่ทั้ง 83 จุดจึงค่อยหารือถึงการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในลำดับถัดไป

ส่งมอบแอร์พอร์ตลิงก์ต.ค.64
ขณะที่ความคืบหน้าของการรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ไปบริหารของ บจ. รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (กลุ่มซี.พี.) ยังติดปัญหาด้านผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากต่างประเทศซึ่งยังเข้ามาประเทศไทยไม่ได้

เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะเป็นผู้ตรวจสอบระบบและโครงสร้างต่างๆ ทำให้ตอนนี้ทางซี.พี.ทำได้แค่เพียงส่งภาพถ่ายไปยังผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ต่างประเทศเท่านั้น แต่ทั้งนี้ จะไม่กระทบกับการรับมอบแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ซึ่งมีกำหนดรับมอบในเดือน ต.ค. 2564 แต่อย่างใด เพราะทางซี.พี.ได้ทำไทม์ไลน์โครงการไว้แล้ว

ซี.พี.ขอเวลามาร์คจุด2สถานีใหม่
ผู้สื่อข่าวถาม กรณีที่กลุ่มซี.พี.ต้องการย้ายตำแหน่งสถานีพัทยาและสถานีศรีราชาไปแห่งใหม่ เพื่อให้มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานี หรือ TOD ได้มากขึ้น มีการหารือในที่ประชุมหรือไม่ นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ยังไม่ได้หารือในเรื่องนี้ เพราะกลุ่มซี.พี.ต้องการกำหนดจุดตั้งสถานีให้แน่นอนก่อน

จึงได้แจ้งกับกลุ่มซี.พี.ว่า หากต้องการย้ายสถานีใหม่ ให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว เพราะมีผลกับการเวนคืน การรื้อย้ายสาธารณูปโภค อาจจะมีเพิ่มเติมได้และทำให้กำหนดส่งมอบพื้นที่ต้องเลื่อนออกไปอีก

ส่วนแผนการพัฒนา TOD ก็ได้แนะนำให้ซี.พี.นำผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่ศึกษาการทำ TOD สถานีพัทยาไว้ไปใช้ด้วย ซึ่งในการประชุมครั้งหน้าก็ได้กำชับถึงคอนเซ็ปการพัฒนา TOD ด้วย

ส่งมอบมักกะสันรอยาวถึงปี 66
ขณะที่พื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ พื้นที่มักกะสัน 140 ไร่ กลุ่มซี.พี.ได้ลงพื้นที่สำรวจเรียบร้อยแล้ว กำลังทำผังพัฒนาพื้นที่ให้ชัดเจน แต่ยังไม่กำหนดให้ส่งกลับมาเร็วๆนี้ เพราะการส่งมอบพื้นที่มักกะสันยังติดขัดในการรื้อย้ายพวงรางโรงซ่อมหัวรถจักรเก่า

ซึ่งการส่งมอบพื้นที่มักกะสันจะรวมอยู่ในการส่งมอบพื้นที่ระยะที่ 2 ช่วงดอนเมือง – สุวรรณภูมิ กำหนดไทม์ไลน์ 4 ปี หรือประมาณปี 2566 ส่วนพื้นที่ศรีราชา 25 ไร่ยังไม่ได้พูดถึงในการประชุมครั้งนี้
https://www.facebook.com/photo/?fbid=3413126672067587&set=a.2081528948560706

ผู้บุกรุกย้ายแล้ว 208 หลัง!! สร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
*ส่งมอบพื้นที่”สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”ต้องจบ มี.ค.64
*จี้ซีพีเร่งวางจุด”สถานีพัทยา”หวั่นกระทบโครงการ

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2717607398460761


Last edited by Wisarut on 24/09/2020 12:30 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2020 12:28 am    Post subject: Reply with quote

แบบร่างล่าสุด สถานีรถไฟความเร็วสูงขอนแก่น โครงการรถไฟความเร็วสูง สายอิสาน ช่วงที่ 2 โคราช-หนองคาย พื้นที่ ขอนแก่น และ อุดรธานี สามารถเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยได้ 21-25 กันยายน 2563

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
เผยแพร่: วันที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 21:23 น.

วันนี้เอารายละเอียดความคืบหน้าของ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จากงานประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่ ขอนแก่น และ อุดรธานี ช่วงสัปดาห์นี้มาฝากครับ
ใครสนใจเข้าร่วมงานประชุมกลุ่มย่อย ดูรายละเอียดได้จากลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/111266057086751/posts/199827424897280/?extid=GQH8e5aEeQOkmeQX&d=n
————————————
ตอนนี้มีความคืบหน้า และรายละเอียดเพิ่มเติม ของสถานีรถไฟความเร็วสูงขอนแก่น ซึ่งปรับอัตลักษณ์ ให้สอดคล้องกับท้องถิ่นมากขึ้น ถ้าเทียบจากแบบแรกที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสถานี แบบนี้สร้างความแตกต่างมากๆครับ
แบบแรกตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/999163853855427/?extid=bOk0W4Ba2l1K8L6A&d=n
- การตกแต่งภายนอก
ในแบบร่างใหม่นี้ได้มีการปรับรูปลักษณ์ซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้าสถานีใหม่
เป็นทรงจั่วสูง มีลายคล้ายรัศมี ออกจากป้ายชื่อสถานี พร้อมกับทำหลังคา ลาดต่อเนื่อง ตลอดช่วงหน้าสถานี
ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก
- สิมอิสาน หรือหน้าจั่วประตูโบสถ์
- ลายตะเว็น ซึ่งเป็นลายหน้าจั่วบ้านในท้องถิ่นอิสานและขอนแก่น
ส่วนตัวฟาซาดอาคาร มีรูปแบบ เป็นลายจักรสาน ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก เครื่องจักรสานไม้ไผ่ และลายผ้าทออิสาน
นอกจากนั้น โครงการได้มีการ ประสานงานและออกแบบร่วมกับโครงการพัฒนาเมือง TOD ต้นแบบของขอนแก่น และโคราชรถไฟฟ้าในเมือง (LRT) ของเมืองขอนแก่น
พร้อมกับมีการก่อสร้างทางเดิน Skywalk เชื่อมต่อจากตัวอาคารสถานี ไปที่สถานีรถไฟฟ้า LRT ด้วย
- การตกแต่งภายในภายใน จะคล้ายของเดิม ซึ่งสวยอยู่แล้ว
จะใช้ลักษณะของ แคน ลายผ้าทอ เช่น ลายประจำจังหวัด ลายแคนแก่นคูน ลายผ้าทออิสาน มาเป็นรูปแบบในการออกแบบภายใน
————————————
ตำแหน่งสถานีขอนแก่น จะอยู่ด้านหลังสถานีรถไฟทางคู่ขอนแก่น ด้านคลังน้ำมัน
โดยจะมีการเวนคืนเพื่อทำทางเข้าสถานีจากทางด้านถนนมิตรภาพใหม่
โดยตัวสถานีจะเป็นสถานียกระดับ 3 ชั้น
ชั้นชานชาลารถไฟ จะอยู่ชั้น 3 น่าจะสูงระดับเดียวกับสถานีรถไฟทางคู่ขอนแก่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2020 11:10 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท.ไล่เคลียร์บุกรุก 302 หลัง-ยกเลิก104 สัญญาเช่า เปิดพื้นที่สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 19:49

รถไฟเคลียร์ “เวนคืน-ผู้บุกรุก-ผู้เช่า” ไม่จบเลื่อนส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบิน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 21:14 น.
https://www.facebook.com/photo/?fbid=3413126672067587&set=a.2081528948560706

ผู้บุกรุกย้ายแล้ว 208 หลัง!! สร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
*ส่งมอบพื้นที่”สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”ต้องจบ มี.ค.64
*จี้ซีพีเร่งวางจุด”สถานีพัทยา”หวั่นกระทบโครงการ

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2717607398460761

จี้ซีพีเร่งปักหมุดสถานีพัทยา
วันที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 15:49 น.
คมนาคม จี้ซีพีเร่งเลือกจุดตั้งสถานีพัทยา รถไฟความเร็วสูง หวั่นแผนส่งมอบพื้นที่ล่าช้า
ข่าวอัพเดต
วันที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 01:20 น.

คมนาคม จี้ซีพีเลือกจุดตั้งสถานีพัทยา รถไฟความเร็วสูง หวั่นกระทบแผนส่งมอบพื้นที่สร้างรถไฟเร็วสูง 3 สนามบิน ล่าช้า

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เฟส 1 ช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า ขณะนี้สามารถแก้ปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 วงเงิน 4.1 พันล้านบาท ที่จะนำมาใช้ในการรื้อย้ายสาธารณูปโภคออกจากพื้นที่ เพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูงให้ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร)ได้แล้ว เนื่องจากงบดังกล่าว ได้รับการพิจารณาอนุมัติทั้งหมดแล้ว จากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จะต้องเร่งออกประกาศเชิญชวนจัดจ้างรื้อย้ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.63

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้มอบให้หน่วยที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบงานรื้อย้ายเพิ่มเติม หากมีให้ใช้งบประมาณเหลือจ่ายปี 64 และหากไม่พอ จึงจะขอใช้งบกลางปี 64 ได้ คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ และออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP)ได้ตามเป้าหมาย ในเดือน มี.ค.64 โดยต้องเร่งรัดเรื่องเวนคืนที่ดิน ย้ายผู้บุกรุก รื้อย้ายสาธารณูปโภค ยกเลิกสัญญาเช่า และการขอใช้พื้นที่จากหน่วยงานรัฐเพิ่มเติม โดยในส่วนของการเวนคืนที่ดินขณะนี้จัดทำภาพถ่ายทางอากาศเสร็จแล้ว และเดือน ต.ค.จะทำรังวัดแบ่งแปลงเพื่อทำสัญญาซื้อขาย

ส่วนเรื่องการย้ายผู้บุกรุก 302 หลังคาเรือนออกจากพื้นที่นั้น ขณะนี้รื้อย้ายแล้ว 208 หลัง รอรื้อย้าย 43 หลัง ขึ้นศาลไกล่เกลี่ย 5 หลัง รอเจรจาอีก 46 หลังคาเรือน โดย รฟท. คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมด ต.ค.63 ส่วนการยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่ ขณะนี้ รฟท. ยังไม่ได้ยกเลิกสัญญา 104 สัญญา โดยช่วงดอนเมือง-พญาไท คาดว่าจะเร่งยกเลิกสัญญาเสร็จ ธ.ค.63 ส่วนช่วงลาดกระบัง-อู่ตะเภาแล้วเสร็จเดือน ต.ค.63


นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ส่วนการขอใช้พื้นที่จากหน่วยงานรัฐเพิ่มเติมพบว่าต้องขอใช้พื้นที่จากกรมเจ้าท่า และกรมชลประทาน รวม83 จุด ซึ่งที่ประชุมมอบให้ 2 หน่วยงานไปจัดทำรายละเอียดที่พื้นที่ และขั้นตอนการขออนุญาตให้ชัดเจน เพื่อนำมาเสนอที่ประชุมครั้งหน้าในเดือน ต.ค.นี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เร่งรัดให้ กลุ่มซีพี เร่งพิจารณาเลือกจุดที่จะใช้ก่อสร้างเป็นสถานีพัทยา พร้อมกับทำแผนการพัฒนาเมืองรอบสถานี (TOD) ให้ชัดเจน และให้นำมาเสนอในการประชุมครั้งหน้า โดยเสนอให้นำผลการศึกษาการพัฒนา TOD ของ สนข. มาเป็นแนวคิดในการพัฒนาของซีพี

“ซีพีต้องเร่งสรุปจุดสถานีพัทยาให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินงานภาพรวม เพราะการย้ายจุดก่อสร้างสถานีพัทยา จะต้องใช้เวลา เพราะต้องมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งต้องมีการออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน และต้องรื้อย้ายสาธารณูปโภค หากตัดสินใจล่าช้า จะส่งผลกระทบต่อการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ล่าช้าได้ ส่วนการส่งมอบพื้นที่สถานีมักกะสัน 140 ไร่นั้น ขณะนี้ซีพีได้ลงสำรวจพื้นที่ทั้งหมดแล้ว อยู่ระหว่างจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่” นายชัยวัฒน์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 2:32 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท.ไล่เคลียร์บุกรุก 302 หลัง-ยกเลิก104 สัญญาเช่า เปิดพื้นที่สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 19:49




รถไฟเคลียร์ “เวนคืน-ผู้บุกรุก-ผู้เช่า” ไม่จบเลื่อนส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบิน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 23 กันยายน 2563 - 21:14 น.
https://www.facebook.com/photo/?fbid=3413126672067587&set=a.2081528948560706

ผู้บุกรุกย้ายแล้ว 208 หลัง!! สร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
*ส่งมอบพื้นที่”สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”ต้องจบ มี.ค.64
*จี้ซีพีเร่งวางจุด”สถานีพัทยา”หวั่นกระทบโครงการ

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2717607398460761


เส้นตาย 31 ต.ค. ไล่บุกรุกพ้นแนวไฮสปีดซีพี
เผยแพร่: วันที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 14:18 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 382, 383, 384 ... 542, 543, 544  Next
Page 383 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©