RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180142
ทั้งหมด:13491376
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/08/2020 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

8 บิ๊กแคนดิเดตชิงดำ ว่าที่"ปลัดคมนาคม" ประสบการณ์แน่นทุกสาย
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

"ชัยวัฒน์" จ่อชง คมนาคม ดัน 8 รายชื่อ ชิงดำนั่งปลัดคมนาคมคนใหม่ ให้ ศักด์สยามเลือก พร้อมชง ครม.ภายในเดือนส.ค.นี้ จับตา 4 ตัวเต็ง กรมทางหลวง-กรมขนส่งทางบก-สนข. -รองปลัดฯ วงในมั่นใจรายชื่อที่ถูกเสนอมีความสามารถทุกด้าน ประสบการณ์แน่นทุกสาย

ถึงยุคผลัดใบ ฤดูกาลโยกย้าย ก่อนสิ้นปีงบประมาณปี 2563 กระทรวงเกรดA อย่าง คมนาคม ถูกจับตามองอย่างมาก เมื่อเบอร์หนึ่งฝ่ายข้าราชการพลเรือนเกษียณอายุราชการ การเฟ้นหามือดีมีคุณสมบัติแน่นๆ มาสานต่อโครงการขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมองว่า ข้าราชการระดับบิ๊ก หลายรายต่างมีลุ้น แต่ใครผลงานถูกใจข้าราชการการเมือง และเก่งแก้สถานการณ์วิกฤติต่างๆในยามนี้ได้ ย่อมได้เปรียบ

ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับข้าราชการที่เข้าดำรงตำแหน่งว่าที่ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่นั้นจะต้องมีความเหมาะสม โดยผู้ที่ถูกเสนอรายชื่อนั้น เป็นข้าราชการระดับ 10 อาทิ ระดับอธิบดี รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้ตรวจราชการ หากผ่าน การพิจารณาจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้ว จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อส่งมอบงานว่าที่ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ภายในเดือน ก.ย.นี้

"ช่วงนี้อยู่ในช่วงโค้งสุดท้ายที่มีการเสนอรายชื่อว่าที่ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ จำนวน 8 รายชื่อ เพื่อเสนอต่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณา เบื้องต้นผู้ที่รับหน้าที่เป็นปลัดกระทรวงคมนาคมนั้นต้องมีคุณสมบัติทั้งด้านผลงาน ประวัติย้อนหลัง ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องเก่งเรื่องงานหรือการบริหารคน แต่ต้องเก่งในการบริหารสถานการณ์ต่างๆ"

ขณะเดียวกันเกณฑ์การพิจารณาผู้มีคุณสมบัติเป็นปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ จะคัดเลือกจากผู้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานด้านกระทรวงคมนาคม รวมทั้งประสบการณ์และความอาวุโส ตามลำดับ ทั้งนี้ยังมีความกังวลด้านบุคลากรขาดช่วง ซึ่งทุกคนล้วนมีความสามารถทำงานได้ทุกคน

สำหรับผู้บริหารระดับ 10 ที่มีโอกาสในการถูกเสนอชื่อเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย 1.นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศินมีกำหนดเกษียณในปี 2567 2.นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เกษียณปี 2565 3.นางสาวดุจดาว เจริญผล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม 4.นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เกษียณปี 2567 5.นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เกษียณปี 2565 6.นายจิรุตม์ วิศาลจิตรอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เกษียณปี 2568 7.นายวิทยายาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เกษียณปี 2568 8.นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เกษียณปี 2569 9.นายทวี เกศิสำอาง อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เกษียณปี 2564 10.นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) อธิบดีอายุน้อยที่สุดเพียง 48 ปี ดังนั้นจะมีกำหนดเกษียณอายุในอีกปี 12 ปี หรือปี 2575 แต่วงในระบุว่าเนื่องจาก นางสาวดุจดาวและนายสรพงศ์ ยังเหลืออายุราชการอีกมาก มองว่ายังไม่น่าได้รับการเสนอชื่อในครั้งนี้

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุอีกว่า สำหรับรายชื่อแคนดิเดตปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ที่ถูกจับตามองล้วนเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจาก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อย่างใกล้ชิด อาทิ นายสราวุธ ทรงศิวิไล ที่คว้าตำแหน่งเก้าอี้อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในปัจจุบัน ซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับฝ่ายนโยบาย แค่มองตาก็รู้ใจ โดยเฉพาะงานประมูลของ ทล. ที่ได้งบประมาณปีละกว่า 1 แสนล้านบาท จนล่าสุดเร่งผลักดันเมกะโปรเจ็กต์แล้วเสร็จหลายโครงการ อาทิ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) M7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด และโครงการที่เร่งสปีดต่อเนื่องอย่าง โครงการโอแอนด์เอ็มมอเตอร์เวย์ ช่วงบางปะอิน-นครราชสีมา และโครงการโอแอนด์เอ็มมอเตอร์เวย์ ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี จนควบหลายตำแหน่ง ทั้งประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่อยู่ระหว่างการประมูลงานใหญ่รถไฟฟ้าสายสีส้มมูลค่า 1.4 แสนล้านบาท และประธานบอร์ดการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่เร่งรัดงานก่อสร้างทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก รวมถึงการเจรจากับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เพื่อก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ควบคู่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ซึ่งปัจจุบันได้ นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข เข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการ กทพ.คนใหม่เรียบร้อย

ขณะเดียวกันรายชื่อที่เข้าชิงที่มีคะแนนสูสีไม่แพ้กัน คือ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่ช่วยผลักดันแกร็บถูกกฎหมาย จนได้รับความไว้วางใจให้นั่งเป็นประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อเคลียร์ปมค่าโง่โฮปเวลล์ และเร่งรัดโครงการรถไฟไทย-จีน โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รวมทั้ง 1 ในคณะกรรมการ (บอร์ด) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ล่าสุดเพิ่งปิดดีลเจรจาท่าเรือแหลมฉบังเฟส3 ไม่นาน

ด้านายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีอายุราชการเหลืออีก 4 ปี ที่ปัจจุบันเร่งสางปัญหาค่าโง่โฮปเวลล์ ซึ่งอยู่ระหว่างการสู้คดีในการยื่นเรื่องจดทะเบียนของบริษัทโฮปเวลล์ ประเทศไทย จำกัด ไม่ถูกต้องต่อศาลปกครอง เพื่อหาข้อยุติให้ได้ทั้ง 2 ฝ่าย

นอกจากนี้มีการคาดว่านายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อาจจะเช้าชิงตำแหน่งนี้ด้วย เนื่องจากทราบรายละเอียดโครงการต่างๆเกี่ยวกับกระทรวงคมนาคมเป็นอย่างดี อีกทั้งมีอายุราชการเหลืออีก 6 ปี ที่สามารถสานต่องานกระทรวงได้ไม่สะดุด

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นแคนดิเดตรายชื่อว่าที่ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นว่าที่ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่นั้นถือว่าแต่ละท่านมีความสามารถและความเหมาะสมทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือรองปลัดกระทรวงคมนาคม เชื่อว่าทุกท่านเคยผ่านงานมาหลากหลายและเหมาะสมทุกคน ซึ่งแต่ละท่านมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอยู่แล้ว กว่าจะมาถึงจุดๆ นี้ก็ต้องผ่านงานต่างๆ ในหลายรูปแบบ

ขณะผู้บริหารระดับ 10 ที่จะเกษียณอายุ 30 ก.ย.นี้ จำนวน 6 ราย ได้แก่ 1.นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม 2.นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวง 3.นายสมัย โชติสกุล4.นางสาวกอบกุล โมทนา 5.นางอัมพวัน วรรณโก 6.นายกมล หมั่นทำ ผู้ตรวจราชการกระทรวง

เชื่อว่าทุกท่านเคยผ่านงานมาหลากหลายและเหมาะสมทุกคน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2020 11:41 pm    Post subject: Reply with quote

ประชุมชี้แจง โครงการ TOD นำร่อง สถานีรถไฟพัทยา วันที่ 14 สิงหาคม 2563 โรงแรมพาลาซโซ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 12 สิงหาคม 2563


ช่วงเช้า ชี้แจงประชาชน ช่วงบ่าย Market Sounding

วันนี้มาชวนพี่ๆน้องๆ ชาวพัทยา และหนองปรือ มารับฟังรายละเอียดโครงการพัฒนาพื้นที่ TOD รอบสถานีพัทยา

ซึ่งตัวสถานีพัทยา จะมีเป็นสถานีของโครงการรถไฟพัทยาทางคู่ในปัจจุบัน (อาจจะมีโครงการรถไฟชานเมือง EEC) และโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน

โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ และชี้แจงรายละเอียดโครงการ ในวันที่ 14 สิงหาคม 2563 โรงแรมพาลาซโซ

ช่วงเช้า 8:00-12:00 น. จะเป็นการชี้แจงรายละเอียดและการพัฒนาของโครงการในพื้นที่

ช่วงบ่าย 13:00-17:00 น. จะเป็นการรับฟังความสนใจของเอกชน (Market Sounding)

————————
รายละเอียดเบื้องต้นของโครงการ TOD พัทยา

พื้นที่พัฒนาโครงการ TOD

ทิศเหนือติด Motorways สาย 7 ช่วงแยกเข้าพัทยาเหนือ
ทิศใต้ติด ถนนพรประภานิมิตร
ทิศตะวันออกติด ถนนสุขุมวิท
ทิศตะวันตกติด ถนนพรประภานิมิตร ซอย 7

ซึ่งโครงการจะมีการจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองใหม่ รอบสถานี และสอดคล้องกับแผนการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต

ที่สำคัญของโครงการคือการจัดรูปที่ดิน ซึ่งด้านหลังสถานีรถไฟพัทยา ยังมีพื้นที่ๆไม่ได้พัฒนาอยู่แปลงใหญ่ ซึ่งโครงการได้ดึงมาศึกษาและจัดรูปที่ดินเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของโครงการ

โดยเปิดพื้นที่เป็นจุดพัฒนาหลักของโครงการ พร้อมกับการจัดทำถนนเพื่อวางผังการพัฒนาใหม่ และถนนเดิม เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต

นอกจากนั้นจะมีการทำระบบขนส่งมวลชนเพิ่มเพื่อเชื่อมโยงจาก TOD เข้าสู่เมืองพัทยา ทั้งหมด 6 เส้นคือ

1. สถานีรถไฟพัทยา-แหลมบาลีฮาย (เมืองพัทยาศึกษาอยู่)
2. สถานีรถไฟพัทยา-พัทยากลาง-พัทยาใต้
3. สถานีรถไฟพัทยา-หาดจอมเทียน
4. สถานีรถไฟพัทยา-เนินพลับหวาน-พรประภานิมิตร
5. สถานีรถไฟพัทยา-เขาตาโล-บุญสัมพันธ์
6. ภายใน TOD

————————
ตอนนี้เป็นเวลาของคุณที่จะได้ออกเสียง และรับรู้รายละเอียดของการพัฒนา จะได้คุยกันให้รู้เรื่องตั้งแต่เริ่ม ไม่มีปัญหาตามมาตอนที่เริ่มโครงการไปแล้ว มาฟังรายละเอียด กันเยอะนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/08/2020 9:16 am    Post subject: Reply with quote

ขันน็อตงานอืด!“ศักดิ์สยาม”เตรียมตั้งคณะทำงาน เร่งบิ๊กโปรเจ็กต์ขับเคลื่อนงบปี64 กว่า 2.3 แสนล.
เผยแพร่: 13 ส.ค. 2563 08:00 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม”เตรียมตั้งคณะทำงานฯติดตามเร่งรัดโครงการมูลค่าเกิน1 พันล. แก้ปัญหาล่าช้าทาบ”ชัยวัฒน์”หัวหน้าทีม ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนปี 64 ภายใต้กรอบงบรายจ่าย 2.3 แสนล.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการดำเนินโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีการลงทุนโครงการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 1ปีที่ผ่านมา ตนได้ติดตามการทำงานทั้งโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและโครงการที่เตรียมเสนอขออนุมัติเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคมาโดยตลอด โดยเฉพาะโครงการที่มีมูลค่า1,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานความคืบหน้าทุกเดือนแต่ยังพบว่ามีปัญหาอุปสรรค ข้อติดขัดหลายประเด็น รวมถึงได้รับการร้องเรียน จากประชาชนเข้ามา

ดังนั้น ตนจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อช่วยติดตามเร่งรัด แก้ปัญหาโครงการลงทุนของกระทรวงคมนาคม โดย จะเริ่มตั้งแต่เดือนต.ค. 63 หรือไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
2564 ซึ่งได้ทาบทามนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมซึ่งจะเกษียณอายุราชการมาเป็นประธานคณะทำงานฯ เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ในงานของกระทรวงคมนาคมและการบูรณาการระบบโลจิสติกส์ ส่วนคณะทำงานจะเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะเกษียณอายุในปีนี้ หลายคนที่เป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์

“หน่วยงานที่มีงบประมาณลงทุนหลัก ๆ ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทและรัฐวิสาหกิจ หลายแห่งก็มีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่เช่นกัน ที่ผ่านมาผมติดตามงานทุกเดือนแต่มีการรายงานสรุปความก้าวหน้าเป็นภาพรวม เป็นตัวเลขเฉลี่ยแต่ไม่ได้ ลงไปในรายละเอียด ซึ่งจะมี งานย่อยๆ ที่มีปัญหา ติดขัดล่าช้า คณะทำงานฯจะช่วยดูตรงนี้และหาทางแก้ไขให้จบตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ต้องไปตามแก้ไขในภายหลัง เพราะจะแก้ได้ยาก”

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ในปี2564 จะผลักดันโครงการลงทุนต่างๆ ซึ่งจะเน้นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน(PPP) โดยโครงการได้เสนอไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้ว ได้แก่ รถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทางได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท

และที่กำลังเร่งสรุปข้อมูล เพื่อเสนอครม.คือมอเตอร์เวย์
(M82) ช่วงต่อขยาย เอกชัย-บ้านแพ้ว วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยทล.จะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ก่อสร้าง ,มอเตอร์เวย์ (M8) สาย นครปฐม – ชะอำ ระยะทาง 109 กม. วงเงินลงทุน 79,006 ล้านบาท อยู่ระหว่างเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน

นอกจากนี้จะผลักดัน โครงการรถไฟทางคู่ระยะ2 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.73 แสนล้านบาท

ส่วนการคมนาคมขนส่งทางอากาศนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า แผนพัฒนาศักยภาพ อาจจะยังไม่บูรณาการเท่าที่ควร ทำให้การไปสู่เป้าหมาย หรือ Action Plan ยังไม่ชัดเจน จึงอยากให้ทำแผนและวิธีการปฎิบัติอย่างละเอียด เพราะสนามบินนั้นเป็นประตูใหญ่ของประเทศ หากมีศักยภาพ มีความพร้อม จะช่วยด้านเศรษฐกิจของประเทศได้มาก ซึ่งหลังจากนี้จะต้องนำมาแผนมาบูรณาการและทำAction Plan ร่วมกัน ต่อไป

ทั้งนี้ ร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.2564 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการนั้น กระทรวงคมนาคม ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564
วงเงิน 231,924.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.64% เมื่อเทียบกับงบประมาณปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2020 1:01 am    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม"วาง 131 โครงการวงเงิน 3.86 แสนล. พัฒนา EEC เฟส 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2563 เวลา 19:14

“คมนาคม”เขย่าแผนโครงสร้างพื้นฐานใน EEC เฟส 2 จำนวน 131 โครงการ วงเงิน 3.86 แสนล.เพิ่มระบบรางและขนส่งสาธารณะฟีดเดอร์เชื่อมเมือง แบบไร้รอยต่อ ดันอีอีซีศูนย์กลางขนส่งในภูมิภาค

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะที่ 2 ครั้งที่2/2563 ว่า

ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อให้การดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะที่ 2 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดความต่อเนื่อง

โดยโครงการที่จะอยู่ในแผนระยะที่2 นั้นมีจำนวน 131 โครงการ วงเงิน 386,565 ล้านบาทจะเป็นโครงการจากแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระยะที่ 1 (ปี 2560-2564 ) ที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ มีประมาณจำนวน 40โครงการ จากทั้งหมดจำนวน 168 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ อยู่ระหว่างออกแบบ อยู่ในขั้นตอนศึกษาและเสนอขออนุมัติ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เป็นต้น

นอกจากนี้ จะเป็นโครงการใหม่ที่เติมเต็ม โครงการจากแผนในระยะที่ 1 เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ และอีกส่วนคือ โครงการเพิ่มเติมที่มีความสำคัญ ซึ่งเป็นข้อมูลจากที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนท้องถิ่น นำข้อคิดเห็นมาปรับแผนให้เหมาะสม

โดยวงเงิน 386,565 ล้านบาท จะมีสัดส่วนการลงทุนระบบระบบรางและขนส่งสาธารณะสูงสุด ประมาณ 43% ขณะที่ จะใช้งบประมาณแผ่นดิน 40% ในการดำเนินโครงการ และงบประมาณเพิ่มเติม 32% ร่วมลงทุนเอกชน PPP 27% งบรัฐวิสาหกิจ1%

“เป็นการประชุมครั้งที่2 ในการจัดทำแผนระยะที่ 2 ซึ่งมีวันถุประสงค์เพื่อเพิ่มโครงข่ายระบบโลจิสติกส์ และระบบขนส่งสาธารณะ ให้ไร้รอยต่อ เช่น ในแผนระยะที่1 มีโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นแกนหลัก ส่วนระยะที่2 จะมีระบบขนส่งที่เชื่อมรถไฟความเร็วสูง ไปยังเมือง และชุมชน เช่น รถแทรมป์ รถเมล์ มีการนำเทคโนโลยีและระบบไอที มาใช้ เป็นต้น”



โดยเมื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว คาดว่าจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ EEC ลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างพื้นที่หลักและพื้นที่ส่วนต่อขยายในภาพรวม 10 %ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่หลักและพื้นที่ส่วนต่อขยาย 5 %เพิ่มสัดส่วนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะแบบไร้รอยต่อ สะดวกรวดเร็ว เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางและเรือชายฝั่งในพื้นที่ภาคตะวันออก ยกระดับให้ National Gateway มีความจุเพียงพอกับความต้องการและเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานระบบราง รวมทั้งเพิ่มความสนใจในการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการไปยังระบบราง มีสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/09/2020 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เค้นผลงานคมนาคมสนองรัฐบาล เร่งปรับแผนรับงบปี’64 ล่าช้า
วันที่ 23 กันยายน 2563 - 11:27 น.

“ศักดิ์สยาม” โค้ชชิ่ง “คมนาคม” เค้นผลงาน เร่งแผนรับงบปี 64 กระทุ้งเบิกจ่ายงบปี 63 ย้ำหมุดมติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง “แผน ศบศ.-พ.ร.ฎ.เวนคืน จ.นครศรีฯ” จี้รถไฟ-กรมรางลุยแลนด์บริดจ์-โปรเจ็กต์ไฮสปีดไทยจีน-สายสีแดง สั่ง “ทางหลวง-การทาง” ศึกษาเว้นค่าผ่านทาง รับหยุดยาว พ.ย.-ธ.ค.นี้ ปลื้มนายกฯชมเปาะผลงาน 1 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมหัวหน้าหน่วยงานทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงคมนาคมร่วมกันประชุมหารือถึงข้อสั่งการและสรุปมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

@เร่งทำแผนรับงบ 64 – เร่งรัดเบิกจ่ายงบ 63
นายศักดิ์สยามเริ่มต้นในประเด็นความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 โดยกระทรวงคมนาคมได้รับการจัดสรร 231,924 ล้านบาท ภายหลังจากที่ประชุมวุฒิสภา (ส.ว.) ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว ขั้นตอนหลังจากจะส่งร่าง พ.ร.บ.งบปี 2564 กลับมาที่ ครม.เพื่อทูลเกล้าฯต่อไป คาดว่างบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 จะมีผลล่าช้าจากกำหนดเดิมประมาณ 1 เดือน

“มอบหมายให้หน่วยงานทั้งหมดตรวจสอบแผนงานและโครงการที่ได้รับการอนุมัติตาม พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี 2564 ว่ามีอะไรบ้างและมีความพร้อมของการเตรียมเอกสารประกวดราคา (TOR) และให้ทำ Action Plan ด้วย และอย่าให้มีปัญหาเรื่องการปรับแก้และหารือกับสำนักงบประมาณอีก”

นอกจากนี้ให้ตรวจสอบการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ที่กำลังจะหมดลงในวันที่ 30 ก.ย.นี้ด้วยว่า แต่ละหน่วยมีการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นอย่างไรบ้างแล้ว โดยเฉพาะการผูกพันงบประมาณข้ามปีและการใช้เงินจากงบกลาง

@ครม.ทราบแผนลงทุน ศบศ. 24 โครงการ
นอกจากนี้ นายศักดิ์สยามยังรายงานเรื่องที่ ครม.ได้รับทราบตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) ที่มีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นประธานเสนอโครงการบริหารเศรษฐกิจระยะปานกลางและระยะยาว ซึ่งมีโครงการลงทุนของกระทรวงคมนาคมอยู่ในแผนด้วย 24 โครงการ ซึ่งจะรวมไปถึงโครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้และสะพานเชื่อมภาคตะวันออกและภาคใต้ด้วย

@สั่งเตรียมข้อมูลทางคู่ชุมพร-ระนอง
หลังจากสำนักงบประมาณอนุมัติงบกลางเพื่อศึกษาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาแนวรถไฟสายใหม่ รถไฟทางคู่ ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กม. วงเงินศึกษา 68 ล้านบาท โดยกำชับให้นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ประสานงานกับปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อหารือถึงข้อมูลและรายละเอียดการปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อให้เสนอ ครม.รับทราบในการประชุมวันที่ 29 ก.ย.นี้

“ด้านหนึ่งให้กรมทางหลวง (ทล.) ศึกษาเส้นทางมอเตอร์เวย์ในแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ดังกล่าวคู่ขนานไปด้วย โดยให้ใช้งบจากกองทุนมอเตอร์เวย์ และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้กลับไปทำผังคร่าวๆ ว่าแนวสำรวจดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเส้นทางนี้มีความจำเป็น”

@เร่ง “ไฮสปีดไทยจีน-รถไฟฟ้าสายสีแดง”
ทั้งนี้เกี่ยวกับเนื้องานด้านการขนส่งทางราง โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนกรุงเทพ-นครราชสีมา ยังไม่ได้มีการเสนอความคืบหน้าให้ที่ประชุม ครม.ทราบ ขอให้น ายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และผู้ว่า ร.ฟ.ท. ประสานงานกับหน่วยอื่นๆ และทำตารางโครงการมา เพื่อรายงานให้นายกฯ รับทราบว่าติดขัดอยู่จุดไหน


ส่วนรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต นายกฯ สอบถามในที่ประชุม ครม.ถึงการทดสอบการเดินรถ โดยประเด็นนี้นายนิรุฒจึงชี้แจงว่า การทดสอบการเดินรถดังกล่าวเป็นการทดสอบฟังก์ชั่นการทำงาน (Dynamic Test) เท่านั้น ยังไม่ได้เปิดเดินรถเสมือนจริง โดยการทดสอบใช้ความเร็วที่ 120 กม./ชม.

โดยนายศักดิ์สยามให้แก้ไขเรื่องการประชาสัมพันธ์ เพราะประชาชนอาจสับสนได้ เพราะคิดว่ารถไฟชานเมืองสายสีแดงเปิดให้บริการแล้ว และให้เร่งรัดกระบวนการศึกษาต่างๆ เพราะเวลาเหลืออีกไม่กี่เดือน

@แผนฟื้นฟู ขสมก. พร้อมเสนอ ครม.
ช่วงหนึ่ง นายศักดิ์สยามได้สอบถามกับนายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ถึงความพร้อมในการเสนอให้ ครม.พิจารณาแผนฟื้นฟู ขสมก. ว่าจะพร้อมเสนอ ครม.ในวันที่ 29 ก.ย.นี้หรือไม่

นายสุระชัยชี้แจงว่า แผนฟื้นฟูของ ขสมก. คณะกรรมการบริหารกิจการ (บอร์ด ขสมก.) ได้รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณารายละเอียดแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) (ฉบับปรับปรุงใหม่) ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวันที่ 14 ก.ย. เรียบร้อยแล้ว และได้ส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว

ในขณะเดียวกันก็ได้สอบถามกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) แล้วได้ความว่า แผนฟื้นฟูดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเสนอให้คณะกรรมการ (คนร.) พิจารณาอีก สามารถให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาได้ทันที

ส่วนการส่งรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 14 ก.ย. ให้หน่วยงานอื่นๆรับทราบนั้น ได้ส่งไปตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย. แล้ว แต่ยังไม่ได้หนังสือตอบกลับ นายศักดิ์สยามจึงให้เร่งติดตามรวบรวมหนังสือตอบกลับจากทุกหน่วยให้เร็วที่สุด เพื่อรายงานนายกฯรับทราบต่อไป

@ปลื้มนายกฯชมผลงาน
จากนั้น นายศักดิ์สยามได้แจ้งว่า ในที่ประชุม ครม.ได้รับทราบผลงานด้านการขนส่งและรางจากกระทรวงคมนาคมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาแล้ว

โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชมเชยกระทรวงคมนาคมว่า ถือเป็นหน่วยงานเดียวที่มีการทำสื่อนำเสนอ (Presentation) มาเผยแพร่ในที่ประชุม ครม. และนายกรัฐมนตรีจะนำสื่อดังกล่าวไปนำเสนอในเว็บไซด์ไทยคู่ฟ้าของทำเนียบรัฐบาลต่อไป แต่นายกฯ แนะนำว่าควรให้มีการเปรียบเทียบผลงานกับในอดีต โดยให้ย้อนหลังไปถึงประมาณปี 2556-2557

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังกำชับมายังกระทรวงถึงมาตรการดูแลการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัศโควิด-19 โดยเน้นไปที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ ร.ฟ.ท. ให้ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในเรื่องการสวมใส่หน้ากากผ้าและหน้ากากอนามัยเมื่อใช้บริการ เพราะช่วงนี้เริ่มการ์ดตก ทำให้สุ่มเสี่ยงที่รัฐอาจจะใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง

@สั่ง “ทางหลวง-การทาง” เช็ก กม.เว้นค่าผ่านทาง
และสืบเนื่องจากการที่ ครม.มีมติให้วันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ย. วันศุกร์ที่ 20 พ.ย. และวันศุกร์ที่ 11 ธ.ค. เป็นวันหยุดเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนั้น ให้ สนข.ทำแผนเพื่อเตรียมรองรับการเดินทางออกต่างจังหวัดของประชาชน และให้กรมทางหลวง (ทล.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ตรวจสอบประเด็นทางกฎหมายในเรื่องการงดเว้นค่าผ่านทางว่าทำได้หรือไม่ได้ เพราะการหยุดดังกล่าวไม่ถือเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์

@จี้เตรียมพร้อม พ.ร.ฎ.เวนคืนทำถนนเมืองคอน
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า กำชับให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเตรียมความพร้อม หลังจาก ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลชะมาย และตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องจากเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4110 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ต่อไป

@อย่าพูดเล่นกับสื่อ
ในช่วงท้าย นายศักดิ์สยามได้ฝากหัวหน้าหน่วยถึงการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า การจะให้ข่าวในประเด็นใดควรจะประสานข้อมูลกับกระทรวงคมนาคม เพื่อให้เรื่องราวไปในทางเดียวกัน และอย่าพูดเล่นกับนักข่าวเด็ดขาด เพราะส่วนตัวเคยโดนมาเยอะแล้ว ไม่อยากให้หัวหน้าหน่วยต่างๆ โดนแบบนี้อีก เพราะฉะนั้นช่วยประสานข้อมูลกับกระทรวงก่อนจะให้ข่าว และควรจะเป็นข้อมูลที่ตกผลึกร่วมกันแล้ว

“บางทีท่านให้ข้อมูลไปแล้วคนละเรื่องกันกับกระทรวง และมันจะกลายเป็นว่าเราให้ข้อมูลกลับไปกลับมา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องระวัง” นายศักดิ์สยามกล่าวในช่วงท้าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/09/2020 11:59 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลุยแผนแม่บทมอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่
แนวหน้า 24 กันยายน 2020 - 19:38

กระทรวงคมนาคม เดินหน้าแผนแม่บทมอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่ ขณะบริษัทที่ปรึกษาสำรวจออกแบบคาดใช้ระยะเวลา 8 เดือนแล้วเสร็จ

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลัง เป็นประธานการประชุมคณะทำงานการบูรณาการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ว่า เป็นการประชุมติดตามการทำงานตามนโยบายของนายศักดิ์สยามชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ได้มีแนวนโยบายให้กรมทางหลวงนั้นดำเนินการสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ควบคู่กับเส้นทางรถไฟเพื่อเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคม ทำการศึกษาการแก้ปัญหาแบบบูรณาการโดยการพัฒนาโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับมอเตอร์เวย์ ได้พัฒนาเป็น แผนแม่บทมอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่ (MR-MAP)

ทั้งนี้คณะทำงานได้รายงานว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ ร่างเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง หรือ ทีโออาร์ ใช้งบประมาณ จำนวน 15 ล้านบาท และจะแล้วเสร็จภายใน1เดือนจากนั้น ประกาศหาบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาทำงานศึกษาออกแบบ คาดว่าจะลงนามร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาภายในเดือนพฤศจิกายน นี้ ขั้นตอนหลังจากนั้นจะทำการศึกษาใช้ระยะเวลา 8 เดือนแล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม แผนแม่บทมอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่ (MR-MAP) เบื้องต้นได้กำหนดไว้รวม 8 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจทุกภูมิภาคของประเทศกับด่านชายแดน ประเทศเพื่อนบ้านประกอบด้วย

แนวเหนือ-ใต้ จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,620 กิโลเมตร ได้แก่ N1 เชียงราย(ด่านแม่สาย)-สงขลา(ด่านสะเดา) ระยะทาง 1,60 กิโลเมตร, N2 หนองคาย-แหลมฉบัง ระยะทาง 490 กิโลเมตร, N3 บึงกาฬ-สุรินทร์(ด่านช่องจอม เพื่อเชื่อมประเทศกัมพูชา) ระยะทาง 470 กิโลเมตร

แนวตะวันออก-ตะวันตก จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,310 กิโลเมตร ได้แก่ W1 ตาก(ด่านแม่สอด)-นครพนม ระยะทาง 710 กิโลเมตร, W2 กาญจนบุรี(ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี ระยะทาง 830 กิโลเมตร, W3 กาญจนบุรี-สระแก้ว ระยะทาง 310 กิโลเมตร, W4 กาญจนบุรี (ด่านบ้านพุน้ำร้อน)-ตราด ระยะทาง 220 กิโลเมตร, W5 ชุมพร-ระนอง(ด่านบ้านดอน) ระยะทาง 120 กิโลเมตร, W6 ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 190 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2020 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียววงเงินงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง 1.51 ล้านล้านบาท
ข่าวการเมือง

วันที่ 29 กันยายน 2563 - 16:38 น.



ครม.ไฟเขียววงเงินงบลงทุนรัฐวิสาหกิจจำนวน 44 แห่ง วงเงิน 1.51 ล้านล้านบาท

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 44 แห่ง ภายใต้สังกัด 15 โดยมีวงเงินดำเนินการ จำนวน 1.51 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 2.91 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการ 16 โครงการ เช่น



1.โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก : นิคมอุตสาหกรรม Smart Park ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 3.โครงการเพิ่มความสามารถในการจ่ายไฟด้วยสายเคเบิลใต้น้ำให้เกาะต่างๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

โดยกำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน สำหรับการประมาณการงบทำการประจำปี 2564 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ ประมาณ 7.35 หมื่นล้านบาท ในส่วนระยะยาว ประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ในช่วง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565 – 2567 คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ 3.83 แสนล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ 1.06 แสนล้านบาท

น.ส.รัชดากล่าวว่า เมื่อรวมการลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้ง 52 แห่ง จะมีวงเงินดำเนินการ รวม 1.55 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน รวม 4.32 แสนล้านบาท แสดงให้เห็นถึงเม็ดเงินจำนวนมากที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพิ่มเติมจากงบฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ

ทั้งนี้ เงินจากรัฐวิสาหกิจแบ่งเป็น 1.จากรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทมหาชนจำกัดและบริษัทในเครือ จำนวน 8 แห่ง วงเงินดำเนินการ 3.49 แสนล้านบาท วงเงินเบิกจ่ายลงทุน 1.91. แสนล้านบาท 2.รัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัด 15 กระทรวง จำนวน 44 แห่ง วงเงินดำเนินการ 1.21 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน รวม 2.41 แสนล้านบาท (ยังไม่รวมงบที่อาจมีเพิ่มเติมระหว่างปีจำนวน 3.5 แสนล้านบาท)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2020 2:30 pm    Post subject: Reply with quote

“ดอนเมืองเฟส 3” ติดปม สวล.ต้องทำ EIA ใหม่-“ศักดิ์สยาม” สั่งเคลียร์ สผ.เร่งปลดล็อกอีก 59 โครงการ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 01 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 07:57 น.

ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งชี้แจงข้อมูล สผ. เคลียร์ 59 โครงการที่ยังติด EIA “มอเตอร์เวย์, รถไฟฟ้า, ไฮสปีดไทย-จีน และรถไฟทางคู่”

@เร่งชี้แจงข้อมูล สผ. เคลียร์ 59 โครงการยังติดหล่ม EIA

นายศักดิ์สยามได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งมีโครงการที่อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ทั้งสิ้น 59 โครงการ

โดยเป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) จำนวน 39 โครงการ ได้แก่

โครงการของกรมทางหลวง (ทล.) 16 โครงการ,
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) 12 โครงการ
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) 3 โครงการ
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 4 โครงการ และ
กรมเจ้าท่า (จท.), การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ. ) หน่วยละ 1 โครงการ

และเป็นโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อนำเสนอ กก.วล. จำนวน 11 โครงการ ได้แก่ ทล. 5 โครงการ รฟท. 4 โครงการ ทช. 1 โครงการ รฟม. 1 โครงการ ขณะที่มีโครงการที่จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เสร็จแล้ว รอบรรจุวาระ กก.วล.เพื่ออนุมัติ 4 โครงการ

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องส่งข้อมูล โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน คชก. เมื่อ 27 ก.ย. 63 ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสั่งให้ รฟม.ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม กรณีประชาชนได้รับผลกระทบ และตรวจวัดคุณภาพอากาศและแรงสั่นสะเทือนใหม่ โดย รฟม.จะส่งรายงานเพิ่มเติมให้ สผ.ในเดือน พ.ย.นี้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี รฟม.ได้ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ สผ.แล้ว รอบรรจุวาระ กก.วล.,
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา/ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน คชก.มีมติเห็นชอบรายงาน EIA แล้ว รฟม.กำลังปรับปรุงรายงานตามความเห็น คชก. คาดว่าจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ในเดือน ต.ค.นี้

สำหรับ รฟท.มี 10 โครงการ โดยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ คชก. เช่น
1. โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) คาดว่าจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ คชก.ในเดือน ต.ค. 63
2. โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี กก.วล.เห็นชอบแล้ว

ที่อยู่ระหว่างทำข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่
รถไฟทางคู่ ช่วง ปากน้ำโพ-เด่นชัย (ท่าจะติดปัญหา เรื่องทางช่วง บ้านด่านไปเด่นชัยแน่ๆ),
รถไฟสายสีแดงเข้ม รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ และ
ระบบรถไฟชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกล เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในเขต กทม. ช่วง ม.ธรรมศาสตร์-ชุมทางบ้านภาชี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/10/2020 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ กวนน้ำให้ใส: ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมองถึงอนาคต 5-6 ปีข้างหน้า
แนวหน้า ฉบับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563
สารส้ม

เมื่อวานนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไปร่วมพิธี รับมอบขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 ขบวนแรก

คือ สายสีชมพู และสายสีเหลือง 1. รถไฟฟ้าชุดนี้ เป็นโมโนเรลแบบคร่อม (Straddle) รุ่น Bombardier INNOVIA 300 รุ่น Bombardier INNOVIA 300

จะมี 4 ตู้ต่อขบวน มีความยาวของขบวนรถ 50.47 เมตรBombardier เป็นบริษัทผลิตรถไฟและรถไฟฟ้าชั้นนำ ของโลกจากประเทศแคนาดา ดังนั้น แม้ประกอบในประเทศจีน แต่มาตรฐานต่างๆ ก็ต้องเป็นไปตามที่บริษัทแม่กำหนด

ความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นับว่า ความเร็วใช้ได้เลย แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ กำลังไฟฟ้าขับเคลื่อนเท่ากับ BTS

ความจุผู้โดยสารต่อขบวน ถ้า 4 ตู้โดยสาร ความจุ 568 คน ถ้า 6 ตู้โดยสาร ความจุ 862 คน มีกล้อง CCTV 4 กล้องต่อตู้มีระบบกล้องนำทางหน้าตัวรถ สำหรับเจ้าหน้าที่เดินรถที่ศูนย์ควบคุม

สายสีเหลือง จะเปิดทดสอบเดินรถช่วงต้นปีหน้า และเปิดให้บริการราวเดือนตุลาคม 2564

ส่วนสายสีชมพู คาดว่าจะเปิดให้บริการช่วงแรกจากสถานีมีนบุรี-วงเวียนหลักสี่ เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS วัดพระศรีมหาธาตุ ในช่วงปี 2565

นี่คืออีกหนึ่งผลงาน ที่เกิดขึ้นในยุครัฐบาลลุงตู่อย่างแท้จริง 2. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในขณะนี้ ยังเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเรากำลังมองไปถึงอนาคตของประเทศในอีก 5-6 ปีข้างหน้า เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นคืนกลับมา ความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะได้พร้อมรับ โดยไม่ล้าหลัง

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะอนุกรรมการวิเคราะห์ และเสนอมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว ที่มี "นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร" ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เสนอโครงการบริหารเศรษฐกิจระยะปานกลาง และระยะยาว ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ "ศบศ." ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

โดยเสนอเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงินรวม 1.2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
2.1 การลงทุนโครงการ และแผนงานที่มีความสำคัญต้องเร่งรัด ได้แก่ โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี วงเงินงบ 80,500 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติต้นปี 2564 และออกแบบ รายละเอียดโครงการเสร็จเดือนมิ.ย. 2565

2.2 โครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองต่อขยายอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน วงเงิน 28,300 ล้านบาท อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมโครงการและรูปแบบการลงทุน

2.3 โครงการทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ข้ามทางรถไฟสายสีแดง เชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยต้องเร่งเจรจาลงทุนโครงข่าย Missing link กับบริษัท ทางด่วน และรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM คาดว่าจะลงนามสัญญาร่วมทุนได้ภายในเดือน ก.ย.2564

2.4 การลงทุนโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ เช่น โครงการระบบ รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต, บางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 107,000 ล้านบาท โดยกำหนดให้เปิดทดลองใช้รถไฟฟ้าวันที่ 1 ก.ค. 2564

2.5 โครงการระบบรางรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล วงเงิน 135,000 ล้านบาท โดยกำหนดให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปี 2565 ทุกเส้นทาง

2.6 โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯนครราชสีมา) โดยกำหนดให้ลงนามสัญญางานโยธาทั้งหมดภายในปี 2564 และก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2568

2.7 โครงการศึกษาการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมาบริหารกิจการของรถไฟความเร็วสูง โดยตั้งงบประมาณในการศึกษาไว้ 30 ล้านบาท โดยให้เสนอ ครม.ของบศึกษาในปี 2564

2.8 การลงทุนที่ใช้การลงทุนในรูปแบบ PPP ช่วงปานกลางระยะยาว ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงิน 48,500 ล้านบาท โดยก่อสร้างปี 2567 และเปิดบริการปี 2570

2.9 โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง วงเงิน 35,200 ล้านบาท รวมถึงโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วง รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วงเงิน 27,300 ล้านบาท และโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา สายสีเขียว วงเงิน 84,800 ล้านบาท

2.10. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงินลงทุน 114,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำรายชื่อผู้ชนะการประมูลเข้าสู่การพิจารณา ของคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และประกาศผู้ชนะได้ในปี 2563

2.11 การลงทุนที่เร่งรัดการระดมทุนผ่านกองทุนไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ฟันด์ (TFFIF) ที่ระดมทุนไปแล้ว 44,000 ล้านบาท ซึ่ง TFFIF ควรเร่งรัดนำเอาเงินไปลงทุนก่อสร้างโครงการทางด่วนพระราม 3 และโครงการทางพิเศษสายอื่น เพื่อให้สอดคล้องวัตถุประสงค์การตั้งกองทุน โดยกำหนดให้ใช้เงินไปลงทุนไม่ต่ำกว่า 30% ในปี 2564

โครงการเหล่านี้ มีทั้งในเขต กทม.และต่างจังหวัด น่าจะติดตามว่า จะเดินหน้าต่อไปได้แค่ไหน อย่างไร? คุ้มค่าแค่ไหน? อย่างไร?จะมีเม็ดเงินเพียงพอ หรือไม่? หลายโครงการจะเป็นรูปแบบรัฐ- เอกชนร่วมลงทุน

ประการสำคัญ คือ รัฐบาลควรจะต้องสื่อสารให้คนเห็นภาพ เห็นอนาคต เข้าใจถึงสิ่งที่ประเทศไทยกำลังจะเคลื่อนต่อไป และทำให้เกิดความเชื่อมั่น แน่ใจว่า อนาคตของประเทศไทยจะเป็นอนาคตที่ดีสำหรับลูกหลานอย่างแท้จริง

มิฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไร ก็จะถูกคัดค้าน ขัดแข้ง ขัดขา และปลุกปั่นให้เกิดการต่อต้านต่อไปเรื่อยๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2020 7:05 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” เร่งสปีดแลนด์บริดจ์-ท่าเรือบก หนุน EEC “ประยุทธ์” กำชับต้องรอบคอบ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 2 ตุลาคม 2563 - 13:20 น.

“ศักดิ์สยาม” เผยวงประชุมส่งเสริมลงทุนอีอีซี “นายกฯ” กำชับ “แลนด์บริดจ์-ท่าเรือบก” หนุนอีอีซี ต้องรอบคอบ คาดทั้ง 2 โปรเจ็กต์ศึกษาเสร็จ 1 ปี

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าการประชุมแนวทางการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ในยุค New Normal กับนักลงทุน ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2563 มีข้อสั่งการถึงกระทรวงคมนาคมใน 2 ประเด็น ได้แก่



“แลนด์บริดจ์” ขอศึกษา 1 ปี
1.โครงการศึกษารถไฟทางคู่ช่วงระนอง – ชุมพร (แลนด์บริดจ์) วงเงินศึกษา 90 ล้านบาท พลเอกประยุทธ์ให้กระทรวงคมนาคมตรวจสอบประเด็นด้านกฎหมาย และให้เร่งศึกษาให้เสร็จโดยเร็ว รวมถึงให้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความจำเป็นของโครงการนี้ด้วย คาดว่าโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี

ท่าเรือบกของบปี 64 ศึกษา
2.การศึกษาจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือบก (dry port) มีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ดำเนินการ ได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบว่า สนข. กำลังศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำโครงการอยู่

โดยจะใช้เวลาในปี 2564 ศึกษา 1 ปี ซึ่งการจะทำท่าเรือบกปัจจัยสำคัญคือ จะต้องมีรถไฟเข้าถึงท่าเรือบก เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้าและเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายโลจิสติกส์เข้าด้วยกัน

เพิ่มออปชั่น MR-MAP เสริม
ดังนั้น การศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำท่าเรือบก จะเน้นไปที่แนวโครงการรถไฟทางคู่เฟส 1-2 ที่กำลังก่อสร้างและอนุมัติเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากรัฐบาลนี้มีนโยบายทำแผนแม่บทบูรณาการรถไฟทางคู่-มอเตอร์เวย์ (MR-MAP) จึงเพิ่มโจทย์ให้ สนข. กลับไปคิดเพิ่ม นอกจากรถไฟเข้าถึงแล้ว ท่าเรือบกที่ศึกษาไว้จะสามารถทำมอเตอร์เวย์เชื่อมเข้าไปอีกได้หรือไม่



ทั้งนี้เส้นทางมอเตอร์เวย์ไม่จำเป็นจะต้องสร้างแบบขนานคู่กับเส้นทางรถไฟตลอดช่วง หากมีพื้นที่อ่อนไหวหรือมีพื้นที่จำกัด ก็สามารถเบี่ยงออกไปได้ โดย สนข. รับโจทย์นี้ไปแล้ว

“ท่านนายกฯ พอได้ฟังแล้วก็กำชับกับผมว่า การก่อสร้างท่าเรือบกอยากให้ดูในหลายๆ มิติให้รอบคอบ นอกจากความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจแล้ว ต้องดูหลายๆ มิติให้ครบถ้วน ทั้งด้านกฎหมาย สิ่งแวดล้อม ความเดือดร้อนของประชาชน คู่กันไปด้วย” นายศักดิ์สยามกล่าว



สนข.เคาะ ”บ้านโพธิ์” นำร่องท่าเรือบก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ สนข. ได้เคาะพื้นที่จะดำเนินการท่าเรือบกแล้ว โดยจะนำร่อง ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ 760 ไร่ เป็นพื้นที่เหมาะจะพัฒนาโครงการ เนื่องจากอยู่ห่างจากสถานีรถไฟดอนสีนนท์ ประมาณ 1 กม. สามารถเชื่อมต่อโครงข่าย กับทางหลวงหมายเลข 315 และทางหลวงชนบทหมายเลข 3122 เพื่อเป็นประตู การค้าอีอีซีและศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงการขนส่งระบบรางทั้งในประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตลอดจนโครงการรถไฟไทย-จีน

จะใช้เงินลงทุนรวม 14,506 ล้านบาท แบ่งการพัฒนา 4 ส่วนหลัก 1.พื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารสำนักงานกลาง, โรงอาหาร, อาคารพักสินค้าตกค้าง, อาคารตรวจสอบเอกซเรย์ พร้อมด้วยจุดพัก ซึ่งประกอบด้วยปั๊มน้ำมันและปั๊มก๊าซ, ลานจอดพักรถเทรลเลอร์ และร้านค้าต่าง ๆ

2.พื้นที่สถานีขนส่งสินค้าคอน เทนเนอร์ ประกอบด้วย ลานกองตู้คอนเทนเนอร์, โรงซ่อม, ลานทำความสะอาดตู้, โรงอาหาร, อาคารปฏิบัติการ, อาคารสำนักงาน, จุดคัดแยกและบรรจุสินค้ารวมทั้งโรงพักสินค้า

3.โครงข่ายถนนเชื่อมต่อเข้า-ออกโครงการ และ service road ประกอบด้วย ทางแยกต่างระดับขนาด 2 ช่องจราจรเชื่อมโครงการกับทางหลวงหมายเลข 315, ถนนขนาด 6 ช่องจราจร บริเวณภายในและเข้า-ออกโครงการ, ถนน บริการ ขนาด 2 ช่องจราจร สำหรับอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่รอบ ๆ โครงการ

และ 4.ทางรถไฟเชื่อมต่อเข้าพื้นที่โครงการและพื้นที่สถานีรถไฟ ประกอบด้วย อาคารสถานีรถไฟดอนสีนนท์ และหอสูงตรวจการณ์ พร้อมอาคารสำนักงาน โดยโครงการจะก่อสร้างทางเชื่อม รางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ ICD เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งขาขึ้นและขาล่อง

รูปแบบการลงทุนโครงการ จะให้สัมปทานเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ดำเนินงาน และบำรุงรักษา ระยะเวลา 30 ปี หลังเปิดดำเนินการในปีแรกคาดการณ์มีปริมาณตู้สินค้าที่เข้ามาใช้บริการ จำนวน 500,000 ทีอียู และเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 ล้านทีอียู ในปีที่ 30 และให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ 15%
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 121, 122, 123  Next
Page 111 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©