Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181497
ทั้งหมด:13492735
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 35, 36, 37 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2020 11:29 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
BEM มั่นใจคว้าสายสีส้ม 1.4 แสนล้าน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563


ลิงก์มาแล้วครับ :


"BEM" มั่นใจคว้า รถไฟฟ้า สายสีส้ม 1.4แสนล้าน
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 11:06 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า1
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3612
https://www.thansettakij.com/content/450230
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2020 1:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

คอลัมน์ ห้ามเขียน: หมูจะหาม 'สายสีส้ม' ใครอย่าเอาคานมาสอด
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

พรานบุญ

ลิงก์มาแล้วครับ :
หมูจะหาม “สายสีส้ม” ใครอย่าเอาคานมาสอด
หน้า ห้ามเขียน
โดย พรานบุญ
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 13:00 น.

https://www.thansettakij.com/content/450200
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2020 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส”สู้ไม่ถอย เดินสายร้องแก้เกณฑ์”สีส้ม” ทำชิงเค้กแสนล.ไม่เป็นธรรม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 18:41
เคลียร์ไม่จบ! ศึกชิงรถไฟฟ้าสายสีส้มเดือด
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 18:15


“บีทีเอส”เดินหน้าร้องแก้เกณฑ์ ประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม ไม่เป็นธรรม. ยื่นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ช่วยตรวจสอบ หลังจากได้ศาลขอคุ้มครองฉุกเฉินไปแล้ว ติงต้องเสนอครม.ก่อนแก้เงื่อนไขหรือไม่ ด้านรฟม.เตรียมแถลงชี้แจงวันนี้ (25 ก.ย.) ยันทำตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 62

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) เปิดเผยว่า ได้หารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) พร้อมทั้งยื่นเอกสารเกี่ยวกับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท กรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่เป็นสาระสำคัญใน ร่างเงื่อนไขการประกวดราคา(TOR) ภายหลังจากขายเอกสารไปแล้ว

ทั้งนี้ รฟม.ดำเนินการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีการศึกษา และต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติ จากนั้นตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 เพื่อจัดทำร่าง TOR ซึ่งจะต้องประชาพิจารณ์ จึงจะประกาศ TOR ตัวจริง และขายซองเอกสาร โดยมีเอกชนซื้อเอกสาร 10 ราย รวมถึงบีทีเอส ทำให้ทราบว่าใครซื้อซองบ้างแต่ปรากฎว่า หลังปิดการขายซองแล้ว คณะกรรมการมาตรา 36 ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ตัดสิน ที่เป็นสาระสำคัญ และการหาพันธมิตรเพิ่มทำไม่ได้แล้ว

ส่วนเงื่อนไขคัดเลือกเดิมนั้นใช้วิธีเดียวกับ การประมูล แบบ PPP โครงการอื่น กำหนดยื่น 3 ซอง ได้แก่ ซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค และซองราคา โดยกำหนดผ่านคุณสมบัติก่อน จึงจะพิจารณาเทคนิค ซึ่งจะกำหนดคะแนนผ่าน/ไม่ผ่าน หากผ่านเทคนิค จะพิจารณาซองราคา ผู้ที่มีข้อเสนอราคาดีที่สุด จะได้รับคัดเลือก
แต่เงื่อนไขใหม่ ให้นำคะแนนเทคนิคมารวมกับคะแนนราคา มีสัดส่วนเทคนิค 30 คะแนน เกณฑ์ราคา 70 คะแนน ซึ่งข้อเสนอราคานี้ ยังแบ่งว่า ผู้เสนอราคาดีที่สุดได้ 60 คะแนน. ส่วนอีก 10 คะแนน จะพิจารณาว่า ราคาที่เสนอ สมเหตุสมผล หรือไม่ จึงจะได้10 คะแนนนี้ ส่วนพิจารณาแบบใด ใช้ดุลยพินิจหรือไม่ ต้องถามคณะกรรมการคัดเลือก

ส่วนที่กังวลว่า เอกชนอาจจะทำงานไม่สำเร็จนั้น ไม่จริง เพราะTOR ได้กำหนดให้บริษัทแม่ของบริษัทที่เข้าร่วมจอยเวนเจอร์ รับสัมปทาน จะต้องออกหนังสือค้ำประกัน
หากบริษัทนั้นๆ ทำไม่ได้ตามสัญญาบริษัทแม่ จะต้องเข้ามารับผิดชอบ ดังนั้นที่บอกว่า จะทำอุโมงค์ไม่ได้ ก็ไม่มีปัญหา และเรื่องอุโมงค์งานก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทย

@ยื่นศาลขอคุ้มครองฉุกเฉิน

โดยเมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา บีทีเอส ได้ยื่นเรื่องต่อศาลปกครอง เพื่อขอคุ้มครองเนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ และขอให้กลับไปใช้รูปแบบเดิม ขณะนี้อยู่ระหว่างนัดการไต่สวน ทั้งนี้ระหว่างที่รอคำตัดสินของของศาล ขณะเดียวกัน บริษัท จะ ยื่นซองในวันที่ 6 พ.ย. 63 ตามที่รฟม.กำหนดด้วย

สำหรับ โครงการนี้ ผ่านการอนุมัติจาก ครม. โดยระบุว่า จะตัดสินโดยใช้ราคาเป็นเกณฑ์ ซึ่งมีความเห็นจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ คำนึงถึงเรื่องราคาเป็นหลัก เพราะต้องการประหยัดงบประมาณ
ส่วนที่รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์ตัดสิน โดยอ้าง เงื่อนไข ข้อ35.2 ที่ระบุว่า รฟม.สงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียด รวมถึงลดหรือขยายเวลา ของการคัดเลือกตามเอกสาร เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของ รฟม. และมติของคณะรัฐมนตรี หากรฟม.เปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือก ตามเงื่อนไขนี้. ไม่แน่ใจว่ารฟม.จะต้องเสนอครม.ก่อนหรือไม่

ตามที่ทราบกัน การเปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือกครั้งนี้ มาจากมีผู้รับเหมารายหนึ่งยื่นหนังสือขอให้ปรับแก้ ซึ่งเป็นการยื่นหลังจากที่หมดเวลา ให้ผู้ซื้อซองยื่นคำถามแล้ว แต่ รฟม.กลับใช้หนังสือนั้นมาเปลี่ยนเงื่อนไข ขณะที่ ตอนรับฟังความเห็น ผู้รับเหมารายนี้ ได้เคยยื่นเงื่อนไขไปแล้วครั้งหนึ่งซึ่ง คณะกรรมกรรมการมาตรา 36 ไม่เห็นด้วย และสรุปให้ใช้ราคาตัดสิน

ด้านนายมานะ กล่าวว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ไม่มีอำนาจเข้าไปดำเนินการโดยตรง แต่ให้ความสนใจประเดนความโปร่งใสการจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานรัฐทั้งหมด องค์กรฯมีส่วนร่วมหลายโครงการ เพราะการจัดซื้อ จัดจ้าง ต้องโปร่งใส แข่งขันเสรี จากกรณีเปลี่ยนกติกาประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นส่ิงที่ไม่เคยเกิดในประเทศไทย ตามหลักพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ถ้าเปลี่ยนเงื่อนไขเมื่อประกาศ TOR หลังขายซองแล้ว จะทำได้ต่อเมื่อยกเลิกประมูล หรือยกเลิกTOR เดิม เพื่อทำใหม่ เพราะถ้าขายซองแล้วเปลี่ยนกติกาถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล ทำให้เกิดการแข่งขันไม่เสรี ซึ่งหากยอมรับ จะทำให้ เสียความเชื่อมั่นการลงทุน
อย่างไรก็ตามแนะนำให้ BTS ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย ซึ่งจะคำนึงเรื่องความเป็นธรรม เพราะขบวนการทางศาล จะพิจารณาเรื่องกฎหมายอย่างเดียว ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีส้ม ถือว่าเป็นเส้นทางสายสำคัญ มีมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท รัฐบาลประกาศควรให้เข้าสู่กระบวนการข้อตกลงคุณธรรม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส


@ผู้ว่าฯรฟม.ยัน พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 62 ให้อำนาจ กก.มาตรา 36

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ระบุว่า รฟม.ดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 มาตรา 38 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการมาตรา 36 ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และเป็นไปตามกม.ลูกของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 62 ตามประกาศคณะกรรมกาPPP โดยการใช้เกณฑ์ด้านเทคนิครวมกับราคาจะทำให้ได้คุณภาพและราคาที่ดีที่สุด

โดยรฟม. จะแถลงชี้แจง เรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 9 อาคาร 1 รฟม.


เวลา 13.30 น. วันนี้ (24 ก.ย. 63) นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้บริหารรถไฟฟ้า BTS จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต้านคอร์รัปชั่นเพื่อร่วมตรวจสอบ “กรณีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประมูล (TOR) รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ณ ชั้น 16 อาคารศรีจุลทรัพย์
ประเด็นดังกล่าว เกิดจากกรณีที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่งหนังสือไปยังเอกชน 10 รายที่ซื้อซองประมูล โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเดินรถสายสีส้มตลอดเส้นทาง ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท เพื่อแจ้งการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents : RFP) โดยให้นำคะแนนด้านเทคนิค มาเป็นเกณฑ์ประเมินร่วมกับข้อเสนอด้านการเงินและผลตอบแทนด้วย ในสัดส่วน 30% ต่อ 70%
BTS เห็นว่า การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณา ภายหลังการเปิดขายซอง RFP และทราบว่าเอกชนรายใดจะเข้าร่วมประมูลบ้าง ถือว่าไม่เป็นธรรม เพราะ รฟม. จะทราบว่า รายใดมีคุณสมบัติเด่นอย่างไร
BTS จึงได้ยื่นหนังสือร้องเรียนความไม่เป็นธรรมไปยังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.), สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ รฟม. นอกจากนี้ยังเตรียมพิจารณาฟ้องร้องศาลปกครองเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมด้วย
“เรามองว่า การปรับเกณฑ์ประเมินใหม่ไม่เป็นธรรม อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างนี้ขอศึกษารายละเอียดก่อน เรากังวลมาก อยากให้ รฟม. กลับมาใช้หลักเกณฑ์เดิม ที่พิจารณาจากซองราคา 100% เพราะหากนำคุณสมบัติเทคนิคมาพิจารณา อาจจะเป็นการใช้ดุลพินิจ เแต่ยืนยันว่า BTS จะยังเข้าร่วมประมูลแข่งขันตามเดิม” นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้
https://www.thebangkokinsight.com/441224/

"บีทีเอส" ฟ้องศาลปกครองประมูลสายสีส้มไม่แฟร์
พฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 17.06 น.

"บีทีเอส” ฟ้องศาลปกครองแล้วไม่ได้รับความเป็นธรรมศึกชิงรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.2 แสนล้าน ยอมรับไม่มีประสบการณ์ทำอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา หวั่นเสียเปรียบ 2 บิ๊กผู้รับเหมาร้ององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ร่วมตรวจสอบด้วย ยืนยันพร้อมยื่นซองประมูล 6 พ.ย.นี้


 เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ที่อาคารศรีจุลทรัพย์ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เข้ายื่นหนังสือถึงนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อให้ร่วมตรวจสอบกรณีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จากเดิมจะตัดสินผู้ชนะประมูลที่ข้อเสนอด้านการเงิน และผลตอบแทน 100% แต่เปลี่ยนเป็นการนำคะแนนด้านเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ตัดสินร่วมกับข้อเสนอด้านการเงิน และผลตอบแทนในสัดส่วน 30:70

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของทีโออาร์ ทำให้บีทีเอสซีไม่ได้รับความเป็นธรรม และไม่แน่ใจว่าในทางกฎหมาย รฟม. และคณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 สามารถมีอำนาจทำได้หรือไม่ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอะไรต้องเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอีกครั้งหรือไม่ เพราะเมื่อครั้งที่เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ก่อนหน้านี้มีการระบุชัดเจนว่า จะใช้ข้อเสนอด้านการเงินเป็นตัวตัดสินผู้ชนะประมูล อีกทั้งยังมีความเห็นจากสำนักงบประมาณด้วยว่าให้คำนึงเรื่องราคาเป็นหลัก เพราะจะช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐ




นอกจากนี้ในขั้นตอนการทำประชาพิจารณา บริษัทเอกชนรายหนึ่งก็เคยเสนอให้ใช้คะแนนเทคนิคมาตัดสินด้วย ซึ่งทางคณะกรรมการมาตรา 36 ก็ไม่เห็นด้วย แต่สุดท้ายเหตุใดกลับมาเปลี่ยนแปลงเมื่อปิดการขายซองข้อเสนอ นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาบีทีเอสซีได้ยื่นฟ้อง รฟม. ต่อศาลปกครองแล้ว เพื่อขอให้กลับมาใช้หลักเกณฑ์เดิม เพื่อความโปร่งใส และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยขณะนี้รอศาลนัดไต่สวนทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตามเวลานี้ไม่ทราบว่าจะมีบริษัทอื่นยื่นฟ้องต่อศาลด้วยหรือไม่ เพราะแต่ละบริษัทมีระเบียบและวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกัน อาจต้องเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)ก่อน เพราะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่บีทีเอสซีไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จึงทำได้รวดเร็วมากกว่า และไม่อยากปล่อยไว้จนถึงวันที่ 6 พ.ย.63 ซึ่งเป็นวันที่กำหนดให้ยื่นข้อเสนอการประมูล ทั้งนี้ยังคงยืนยันจะยื่นข้อเสนอ เบื้องต้นอาจเป็นในนามกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย BTSC, บริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) หรือ RATCH แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ เลยไม่แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะแต่ละบริษัทคงต้องหารือในบอร์ดกันก่อน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเมื่อ BTSC และพันธมิตร มีประสบการณ์และความพร้อม แต่เหตุใดจึงต้องฟ้องศาล และขอให้ใช้หลักเกณฑ์เดิม นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในคุณสมบัติมีการกำหนดว่า ต้องมีประสบการณ์ในการทำอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5 เมตร และมีมูลค่าโครงการไม่น้อยกว่า 5 พันล้านบาท ยอมรับว่าเรามีประสบการณ์ด้านนี้เพียงแต่ไม่มีประสบการณ์ที่ทำงานอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเวลานี้ในไทยมีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่มีประสบการณ์ด้านนี้ และในทีโออาร์ก็มีหมายเหตุไว้ว่า หากเป็นผู้รับเหมาไทย และมีประสบการณ์ด้านนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า การยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เราไม่ได้ต้องการให้ล้มประมูล เพราะจะทำให้เสียเวลา ขณะนี้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี(สุวิทนวงศ์) ก็มีความคืบหน้าไปมากแล้ว หากให้ล้มประมูลประเทศชาติก็จะได้รับความเสียหาย ดังนั้นจึงอยากให้ รฟม. กลับมาใช้เกณฑ์เดิมแบบถูกต้อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ 2 บริษัทผู้รับเหมางานก่อสร้างในประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD และบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือ CK ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท. ทั้งนี้วันที่ 25 ก.ย.นี้ทางรฟม.จะชี้แจงในเรื่องดังกล่าวในเวลา 09.30 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2718398191715015



BTS ยื่นศาลปกครอง-องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นค้านเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลสายสีส้ม
อสังหาริมทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 16:35 น.



BTS ยื่นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น จับตาประมูลสายสีส้ม 1.4 แสนล้าน กังขาเพิ่มเกณฑ์คัดเลือกใช้ดุลยพินิจอื้อทั้งเกณฑ์ราคา เพิ่มประเด็นราคาสมเหตุสมผล

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 ก.ย. 2563 นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เดินทางมาที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) เพื่อยื่นหนังสือให้ติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินรวมงานอาณัติสัญญาณ 142,789 ล้านบาท

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ร่วมลงทุนใหม่โดยมีนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เป็นผู้รับหนังสือ

ยื่นศาลปกครองกลับไปใช้ราคาตัดสิน
โดยนายสุรพงษ์ เปิดเผยว่า ในประเด็นนี้ BTSC ดำเนินการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองไปเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งคณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ผ่านการคัดเลือก กลับไปใช้หลักเกณฑ์ด้านราคาตามเดิม ซึ่งอยู่ระหว่างรอศาลนัดหมายไต่สวนตามกระบวนการกฎหมาย

คาดว่าศาลจะมีคำสั่งออกมาก่อนวันกำหนดยื่นซองประมูล คือวันที่ 6 พ.ย.นี้ ซึ่ง BTSC มองว่าหลักเกณฑ์ตัดสินที่ราคาเป็นหลักเกณฑ์ที่มีความโปร่งใสอยู่แล้ว

กังขาเกณฑ์ราคา-เทคนิคใหม่
และการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็นด้านการเงิน 70% และเทคนิค 30% ก็มีความไม่ชอบมาพากล เพราะเมื่อดูไส้ในทีโออาร์แล้ว เป็นการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการมาตรา 36 มากเกินไป แถมการเปลี่ยนหลักเกณฑ์เกิดขึ้นภายหลังจากการซื้อซองทีโออาร์ ทำให้เห็นคู่ชกก่อนจะขึ้นเวที เกิดความได้เปรียบเทียบขึ้น

ซักราคาสมเหตุสมผลคืออะไร
อีกทั้งเมื่อดูรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงพบว่า ในสัดส่วนการตัดสินด้านการเงิน 70% มีการแบ่งการให้คะแนนเป็นราคาที่ดีที่สุด 60% และราคาที่สมเหตุสมผลอีก 10% ซึ่งการใช้คำว่า “สมเหตุสมผล” ไม่ทราบว่าคณะกรรมการตามมาตรา 36 จะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณาว่าราคาใดสมเหตุสมผลหรือไม่ แต่ในฐานะผู้ยื่นข้อเสนอไม่มีรายละเอียดตรงนี้เลย และในโครงการอื่นๆ ไม่มีการเอาราคาสมเหตุสมผลมาเป็นหลักเกณฑ์พิจารณาแต่อย่างใด

อุโมงค์ลอดแม่น้ำ
ขณะที่การนำหลักเกณฑ์ด้านเทคนิคเข้ามาเพิ่ม 30% นั้น มีการกำหนดเรื่องของการมีประสบการณ์เพิ่มว่า ต้องเคยก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้า ซึ่งมี 3 บริษัทที่มีประสบการณ์โดยหนึ่งในนั้นมี บมจ.ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น ที่มีประสบการณ์ แต่ภายหลังทราบมาว่ามีการพูดกันว่า ต้องเคยทำอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ทำให้เหลือเพียง 2 บริษัทเท่านั้น ที่เคยมีประสบการณ์ทางอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การหาพันธมิตรที่มีประสบการณ์เป็นไปได้ยาก เพราะตามทีโออาร์ให้หาพันธมิตรเฉพาะผู้ที่ยื่นซองทีโออาร์เท่านั้น

ข้องใจเปลี่ยนเกณฑ์ต้องยื่น ครม.ก่อน
ส่วนที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อ้างว่าการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิทธิ์ของคณะกรรมการตามมาตรา 36 เท่าที่ตรวจสอบตามทีโออาร์พบว่าในข้อ 35.2 การจะสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด รวมถึงการลดหรือขยายเวลาการคัดเลือกตามเอกสารแนะนำของผู้ยื่นข้อเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของ รฟม. และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงสงสัยว่า การเปลี่ยนเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องมีการเสนอ ครม.ก่อนหรือไม่

“หากศาลปกครองมีคำสั่งเป็นไปในทางเดียวกับคณะกรรมการมาตรา 36 ทาง BTSC ก็ยังพร้อมที่จะยื่นซองประมูลโครงการนี้อย่างแน่นอน โดยจะร่วมกับพันธมิตรเดิม ได้แก่ บมจ.ราชกรุ๊ป และ บมจ.ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น“

รฟม.ยันทำถูกกฎหมาย
ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่า รฟม. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้รับทราบถึงการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองของ BTSC แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอนัดไต่สวนและกำลังทำข้อมูลเพื่อซักค้านทาง BTCS โดยยืนยันว่าการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ได้

ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการพิจารณาทางศาลจะไม่ส่งผลกระทบกลับกำหนดยื่นซองในวันที่ 6 พ.ย.นี้ เพราะตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก็ถือว่ากระบวนการคัดเลือกยังเป็นไปตามกำหนดเดิม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 11:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“บีทีเอส”สู้ไม่ถอย เดินสายร้องแก้เกณฑ์”สีส้ม” ทำชิงเค้กแสนล.ไม่เป็นธรรม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 18:41
เคลียร์ไม่จบ! ศึกชิงรถไฟฟ้าสายสีส้มเดือด
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 18:15
https://www.thebangkokinsight.com/441224/

"บีทีเอส" ฟ้องศาลปกครองประมูลสายสีส้มไม่แฟร์
พฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 17.06 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2718398191715015



BTS ยื่นศาลปกครอง-องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นค้านเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลสายสีส้ม
อสังหาริมทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 16:35 น.


“บีทีเอส” สู้ไม่ถอย เดินสายร้องแก้เกณฑ์ “สีส้ม” ทำชิงเค้กแสนล้านไม่เป็นธรรม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 18:41



“บีทีเอส” เดินหน้าร้องแก้เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสีส้มไม่เป็นธรรม ยื่นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นช่วยตรวจสอบ หลังจากได้ศาลขอคุ้มครองฉุกเฉินไปแล้ว ติงต้องเสนอ ครม.ก่อนแก้เงื่อนไขหรือไม่ ด้าน รฟม.เตรียมแถลงชี้แจงวันนี้ (25 ก.ย.) ยันทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 62

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) เปิดเผยว่า ได้หารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) พร้อมทั้งยื่นเอกสารเกี่ยวกับการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทางบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท กรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่เป็นสาระสำคัญในร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ภายหลังจากขายเอกสารไปแล้ว

ทั้งนี้ รฟม.ดำเนินการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีการศึกษา และต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติ จากนั้นตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 เพื่อจัดทำร่าง TOR ซึ่งจะต้องประชาพิจารณ์ จึงจะประกาศ TOR ตัวจริง และขายซองเอกสาร โดยมีเอกชนซื้อเอกสาร 10 ราย รวมถึงบีทีเอส ทำให้ทราบว่าใครซื้อซองบ้าง แต่ปรากฏว่าหลังปิดการขายซองแล้ว คณะกรรมการมาตรา 36 ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ตัดสินที่เป็นสาระสำคัญ และการหาพันธมิตรเพิ่มทำไม่ได้แล้ว

ส่วนเงื่อนไขคัดเลือกเดิมนั้นใช้วิธีเดียวกับการประมูลแบบ PPP โครงการอื่น กำหนดยื่น 3 ซอง ได้แก่ ซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค และซองราคา โดยกำหนดผ่านคุณสมบัติก่อน จึงจะพิจารณาเทคนิค ซึ่งจะกำหนดคะแนนผ่าน/ไม่ผ่าน หากผ่านเทคนิคจะพิจารณาซองราคา ผู้ที่มีข้อเสนอราคาดีที่สุดจะได้รับคัดเลือก แต่เงื่อนไขใหม่ ให้นำคะแนนเทคนิคมารวมกับคะแนนราคา มีสัดส่วนเทคนิค 30 คะแนน เกณฑ์ราคา 70 คะแนน ซึ่งข้อเสนอราคานี้ยังแบ่งว่า ผู้เสนอราคาดีที่สุดได้ 60 คะแนน ส่วนอีก 10 คะแนนจะพิจารณาว่าราคาที่เสนอสมเหตุสมผลหรือไม่ จึงจะได้ 10 คะแนนนี้ ส่วนพิจารณาแบบใด ใช้ดุลยพินิจหรือไม่ ต้องถามคณะกรรมการคัดเลือก
ส่วนที่กังวลว่าเอกชนอาจจะทำงานไม่สำเร็จนั้น ไม่จริง เพราะ TOR ได้กำหนดให้บริษัทแม่ของบริษัทที่เข้าร่วมจอยต์เวนเจอร์รับสัมปทานจะต้องออกหนังสือค้ำประกัน หากบริษัทนั้นๆ ทำไม่ได้ตามสัญญาบริษัทแม่จะต้องเข้ามารับผิดชอบ ดังนั้น ที่บอกว่าจะทำอุโมงค์ไม่ได้ก็ไม่มีปัญหา และเรื่องอุโมงค์งานก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทย
@ยื่นศาลขอคุ้มครองฉุกเฉิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา บีทีเอสได้ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครองเนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมกรณีเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ และขอให้กลับไปใช้รูปแบบเดิม ขณะนี้อยู่ระหว่างการนัดไต่สวน ทั้งนี้ระหว่างที่รอคำตัดสินของศาล ขณะเดียวกัน บริษัทจะยื่นซองในวันที่ 6 พ.ย. 63 ตามที่ รฟม.กำหนดด้วย

สำหรับโครงการนี้ผ่านการอนุมัติจาก ครม. โดยระบุว่า จะตัดสินโดยใช้ราคาเป็นเกณฑ์ ซึ่งมีความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ คำนึงถึงเรื่องราคาเป็นหลัก เพราะต้องการประหยัดงบประมาณ

ส่วนที่ รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์ตัดสิน โดยอ้างเงื่อนไข ข้อ 35.2 ที่ระบุว่า รฟม.สงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียด รวมถึงลดหรือขยายเวลาของการคัดเลือกตามเอกสาร เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของ รฟม.และมติของคณะรัฐมนตรี หาก รฟม.เปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือกตามเงื่อนไขนี้ ไม่แน่ใจว่า รฟม.จะต้องเสนอ ครม.ก่อนหรือไม่

ตามที่ทราบกัน การเปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือกครั้งนี้ มาจากมีผู้รับเหมารายหนึ่งยื่นหนังสือขอให้ปรับแก้ ซึ่งเป็นการยื่นหลังจากที่หมดเวลาให้ผู้ซื้อซองยื่นคำถามแล้ว แต่ รฟม.กลับใช้หนังสือนั้นมาเปลี่ยนเงื่อนไข ขณะที่ตอนรับฟังความเห็น ผู้รับเหมารายนี้ได้เคยยื่นเงื่อนไขไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการมาตรา 36 ไม่เห็นด้วย และสรุปให้ใช้ราคาตัดสิน

ด้านนายมานะกล่าวว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นไม่มีอำนาจเข้าไปดำเนินการโดยตรง แต่ให้ความสนใจประเด็นความโปร่งใสการจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานรัฐทั้งหมด องค์กรฯ มีส่วนร่วมหลายโครงการ เพราะการจัดซื้อ จัดจ้าง ต้องโปร่งใส แข่งขันเสรี จากกรณีเปลี่ยนกติกาประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดในประเทศไทย ตามหลัก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ถ้าเปลี่ยนเงื่อนไขเมื่อประกาศ TOR หลังขายซองแล้วจะทำได้ต่อเมื่อยกเลิกประมูล หรือยกเลิก TOR เดิม เพื่อทำใหม่ เพราะถ้าขายซองแล้วเปลี่ยนกติกาถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล ทำให้เกิดการแข่งขันไม่เสรี ซึ่งหากยอมรับจะทำให้เสียความเชื่อมั่นการลงทุน

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ BTS ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย ซึ่งจะคำนึงเรื่องความเป็นธรรม เพราะกระบวนการทางศาลจะพิจารณาเรื่องกฎหมายอย่างเดียว ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้มถือว่าเป็นเส้นทางสายสำคัญ มีมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท รัฐบาลประกาศควรให้เข้าสู่กระบวนการข้อตกลงคุณธรรมเพื่อให้เกิดความโปร่งใส



@ผู้ว่าฯ รฟม.ยัน พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 62 ให้อำนาจ กก.มาตรา 36

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ระบุว่า รฟม.ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 มาตรา 38 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการมาตรา 36 ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และเป็นไปตาม กม.ลูกของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 62 ตามประกาศคณะกรรมการ PPP โดยการใช้เกณฑ์ด้านเทคนิครวมกับราคาจะทำให้ได้คุณภาพและราคาที่ดีที่สุด

รฟม.จะแถลงชี้แจง เรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 9 อาคาร 1 รฟม.

บีทีเอสไม่ถอยยื่นหนังสือตรวจสอบทีโออาร์สายสีส้มต่อเนื่อง

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน เวลา 17:18 น.



24 ก.ย. 2563 นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) กรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทีโออาร์หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท

e-POWER เทคโนโลยีใหม่ที่ให้คุณ ตื่นเต้นและเร้าใจกว่าที่เคย เป็นยังไง คลิกเลย!
Nissan
ทั้งนี้โดยให้ใช้เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่ข้อเสนอด้านราคา จากเดิมที่ใช้เกณฑ์ข้อเสนอด้านราคาพิจารณาตัดสินผู้ชนะการประมูล ซึ่งอาจสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับผู้ซื้อซองประกวดราคา โดยต้องการให้กลับมาใช้ ทีโออาร์ เดิม ที่ให้ยึดราคาเป็นเกณฑ์พิจารณาอย่างเดียว

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ ถือว่าไม่เป็นธรรม และได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางแล้ว ซึ่งโครงการดังกล่างเป็นโครงการร่วมทุนแบบภาครัฐและเอกชน(PPP) ซึ่งครม.ได้อนุมัติและได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ ก่อนเปิดให้เสนอซื้อซองประมูล โดยยึดเกณฑ์การพิจารณาด้านราคาเหมือนกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง ทีโออาร์ ใช้เทคนิคควบคู่ราคา ซึ่งการใช้เทคนิคมาพิจารณาถือเป็นใช้ดุลพิจนิจที่มากเกินไป แล้วอาจเกิดการไม่เป็นธรรมได้ อีกทั้งมีการขายซองประมูลแล้ว ซึ่งทุกฝ่ายก็เปิดหน้าชก แต่พอมีการเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ ซึ่งบีทีเอสมองว่าอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและการหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุนก็จะยากลำบาก

ด้านนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า การจัดซื้อจัดจ้างทุกอย่างต้องโปร่งใส เปิดเผยได้อย่างเสรี แต่โครงการนี้ มีการเปลี่ยนกติกาแบบที่ไม่เคยเกิดขึันในประเทศไทยมาก่อน หากจะเปลี่ยนเงื่อนไขหลังการขายซองจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกทีโออาร์เดิมหรือขายซองใหม่เท่านั้น เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหลังการขายซองแล้วถือว่าขัดต่อธรรมาภิบาล จึงมองได้ว่า จะเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมหากยอมรับ ประเทศจะเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุน


Last edited by Wisarut on 25/09/2020 7:35 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. เดือดออกโรงชี้แจงประมูลสายสีส้ม
ศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 12:57 น.


รฟม.แจงเกณฑ์ประมูลคัดเลือกเอกชน ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้ม
แนะนำข่าว อสังหาริมทรัพย์

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 18:00 น.

รฟม. ตั้งโต๊ะแจงยิบ ยันมีอำนาจเปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือก “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” กาง “พ.ร.บ.ร่วมทุน-RFP-กม.ลูก พ.ร.บ.ร่วมทุน” ให้อำนาจ ชี้ไม่เจาะจงประสบการณ์อุโมงค์ลอดแม่น้ำ แย้มใช้ผลงานผู้รับจ้างยื่นเสนอได้ ย้ำไม่มีใครเสียเปรียบเพราะยืดเวลาเพิ่มให้แล้ว 45 วัน ลุ้นศาลปกครองคุ้มครองบีทีเอสหรือไม่ หวั่นกระทบไทม์ไลน์

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 25 ก.ย. 2563 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า กรณีที่มีการคัดค้านการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางรวม 35.9 กม. วงเงินรวมงานอาณัติสัญญาณ 142,789 ล้านบาท

จากเดิมตัดสินที่การเสนอราคาต่ำสุดเป็นพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคานั้น ถือเป็นสิทธิ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 และ รฟม.ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถทำได้ และมีตัวอย่างโครงการที่เคยดำเนินงานในลักษณะมาแล้ว เช่น โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง -บางซื่อ เป็นต้น

โดยสัดส่วนเกณฑ์การตัดสินกำหนดให้เป็นคะแนนด้านราคา 70% (ราคาเสนอ 60% ความสมเหตุสมผลของราคา 10%) และเทคนิค 30% ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกจะมีการตั้งเกณฑ์ที่ชัดเจนขึ้น เพื่อกำหนดเป็นคะแนนในแต่ละด้านอีกรอบหนึ่งภายหลังที่เอกชนยื่นซองแล้ว ยืนยันว่าไม่มีการใช้ดุลยพินิจเกินขอบเขตในการพิจารณาคัดเลือก

“อิตาเลียนไทย” ยื่นค้านในเวลา
ทั้งนี้ การที่ บมจ.อิตาเลียนไทยดีเวล็อปเมนต์ ส่งหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ รฟม.ให้เปลี่ยนแปลงเกณฑ์อยู่ในข่วงกำหนดถาม-ตอบพอดี ไม่ได้ทำหลังพ้นระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด และการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ไม่ต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาปรับเปลี่ยน เพราะถือเป็นอำนาจของคณะกรรมการมาตรา 36 และ รฟม.ที่สามารถทำได้

เปิดทางใช้ประสบการณ์ผู้รับจ้างได้
ส่วนการระบุว่า การนำคุณสมบัติด้านเทคนิคมาเพิ่มเป็นการล็อกสเปกเอกชนบางรายนั้น ในร่าง RFP ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ก่อสร้างอุโมงค์แบบลอดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาแต่อย่างใด เพียงแต่กำหนดไว้สั้นๆ ว่าให้เป็นผู้มีประสบการณ์ก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินแบบหัวเจาะ (Underground Tunnel by Tunnel Boring Machine) ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 5 เมตร

พบว่ามีผู้ประกอบการที่ประสบการณ์ทำอุโมงค์ดังกล่าวประมาณ 4-5 ราย ยังไม่นับรวมผู้รับเหมาจากต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น และในโซนยุโรป โดยทางผู้ซื้อซองสามารถใช้ประสบการณ์ของผู้รับจ้างมาเพิ่มเติมลงไปในการยื่นซองประมูลได้ ไม่ได้บังคับเฉพาะผู้ซื้อซอง และมีเกณฑ์การตัดสินเท่าเทียมกัน



“แต่ต้องยอมรับว่า การสร้างอุโมงค์เพื่อลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต้องมีการขุดลึกลงไปประมาณ 10 เมตรนั้นมีความละเอียดอ่อนมากกว่าการทำอุโมงค์ใต้ดินแบบอื่น เพราะหากเกิดอุบัติเหตุผู้โดยสารติดค้างในช่วงอุโมงค์ดังกล่าว การอพยพผู้โดยสารจะทำได้ยากมาก”

ไม่มีใครเสียเปรียบ ยืดเวลาให้แล้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ก็มีข้อสรุปร่วมกันให้จัดทำเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) เรียบร้อยแล้ว และขยายเวลายื่นซองประมูลออกไปอีก 45 วัน ซึ่งจะไปสิ้นสุดในวันที่ 9 พ.ย.นี้ ถือเป็นการเพิ่มเวลาให้เตรียมตัวถึง 73 วันเมื่อรวมกับกำหนดเดิม

พร้อมกับได้ทำหนังสือเมื่อวันที่ 27 ส.ค. เพื่อส่งเอกสารเพิ่มเติมให้เอกชนที่ซื้องซองทั้ง 10 รายเรียบร้อยแล้ว จึงถือว่าเอกชนทุกรายมีเวลาเตรียมตัว และไม่มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัน ซึ่งการออกเอกสารเพิ่มเติมในลักษณะนี้ก็มีปรากฎในโครงการต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สานสีม่วง สายสีชมพูและเหลือง เป็นต้น

“คณะกรรมการคัดเลือก และ รฟม. ได้พิจารณาร่วมกันอย่างรอบคอบแล้วว่า การปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ เนื่องจากงานโยธาฝั่งตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์) เป็นช่วงที่ต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างที่มีความซับซ้อนสูง เพราะเป็นการดำเนินงานก่อสร้างใต้ดินทั้งหมด ประกอบกับแนวเส้นทางที่ผ่านเข้าในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่อ่อนไหวหลายแห่ง โดยเฉพาะกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ต้องก่อสร้างอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการเดินรถไฟฟ้าที่ต้องการมาตรฐานความปลอดภัยชั้นสูง ดังนั้น ผลประโยชน์ที่รัฐและประชาชนผู้ใช้บริการจะได้รับจึงขึ้นกับคุณภาพ เทคนิค และประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเอกชนเป็นสำคัญ มิได้มีเพียงแต่ผลประโยชน์ทางการเงินเท่านั้น” นายภคพงศ์กล่าว

ยก พ.ร.บ.ร่วมทุน-RFP ให้อำนาจทำได้
และขอยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 มาตรา 35 และมาตรา 38 และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ข้อ 17.1 ที่ว่า
“ก่อนถึงกำหนดวันยื่นซองเอกสารข้อเสนอ รฟม. อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน (ที่ระบุในข้อ 15.) โดยการออกเอกสารแนบท้ายเพิ่มเติม โดยเหตุผลสำหรับการปรับเปลี่ยนนั้น อาจมาจากการพิจารณาของ รฟม. เอง หรือเป็นผลสืบเนื่องมาจากการชี้แจงข้อซักถามของผู้ยื่นข้อเสนอก็ได้”

ซึ่งสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน 2563 ข้อ 4 (8) และ 4 (9) และเป็นการดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 อีกด้วย

“ขอถามคนที่ออกมาให้ข่าวว่า การเสนอของที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐานสูงในการใช้งาน ซึ่งน่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ท่านกังวลอะไร? ควรเอาเวลาที่เราขยายให้ไปจัดทำข้อเสนอเพิ่มเติมให้ครบไม่ดีกว่าหรือ? เพราะเราก็เปิดโอกาสให้เอาประสบการณ์ของผู้รับจ้าง (Sub Contract) มารวมเพื่อยื่นพิจารณาได้ ไม่ได้ปิดกั้นแต่อย่างใด” นายภคพงศ์ระบุ

ลุ้นได้ตัวเอกชนต้นปี’64
ส่วนกระบวนการทางคดีที่บีทีเอสไปยื่นฟ้องศาลปกครอง ก็ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม เชื่อว่าศาลจะฟังคำชี้แจงจากทั้งสองฝ่าย หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองให้กลุ่มบีทีเอส ทาง รฟม.ก็พร้อมจะปฏิบัติตามรายละเอียดของคำสั่งศาล

โดยอาจจะหยุดกระบวนการพิจารณาไว้ก่อน ซึ่งได้นัดไต่สวนไปเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากคำร้องของกลุ่มบีทีเอสอ้างถึงเอกสารคำฟ้องหลัก แต่ทาง รฟม.ยังไม่มี จึงขอเลื่อนไต่สวนไปก่อน โดยอยู่รอศาลสั่งอีกที

ทั้งนี้ หากศาลไม่คุ้มครองให้บีทีเอส ไทม์ไลน์การคัดเลือกขณะนี้ หลังยื่นซองในวันที่ 9 พ.ย. 2563 นี้ จะดำเนินการเปิดซองที่ 1 คุณสมบัติในวันที่ 23 พ.ย.นี้ จะใช้เวลาพิจารณา 2 สัปดาห์จากนั้นจะพิจารณาซอง 2 เทคนิคและซอง 3 การเงินพร้อมกัน โดยจะเชิญผู้ผ่านซองที่ 1 มาร่วมในวันเปิดงาน คาดว่าจะได้ตัวเอกชนภายในต้นปี 2564 อย่างเร็วที่สุดน่าจะในเดือน ม.ค. 2564

ยันรักทุกคน
นายภคพงศ์กล่าวทิ้งท้ายว่า หากข้อพิพาทนี้ยุติลงก็จะไม่มีผลกับการพิจารณาข้อเสนอของกลุ่มบีทีเอส เพราะ รฟม.กับ บีทีเอสไม่ใช่คู่แค้น แต่เป็นคู่ค้ากัน อย่างตอนนี้ก็ทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีชมพูและสายสีเหลืองร่วมกัน และวันที่ 1 ต.ค.นี้ ก็จะไปรับขบวนรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลืองร่วมกัน ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่าตนสนิทกับบริษัทบางรายนั้น จริงๆ สนิทกับทุกคน ตนรักทุกคนเท่ากัน
ผู้ว่ารฟม.ชกเปรี้ยง!! ถ้าบีทีเอสเจ๋งจริงง?อย่ากลัวแพ้!!
*ย้ำว่าแฟร์รถไฟฟ้าสีส้มงานยากเทคนิคต้องเป๊ะ
*เปิดช่องจ้างสเปเชียลรับเหมาช่วงงานอุโมงค์
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2719248981629936

วันนี้ (25 ก.ย. 63) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งมีการพิจารณาปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน (PPP) ให้เป็นรูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา ดังนี้
1.รฟม. ได้มีประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 โดยมีกำหนดยื่นซองเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนในวันที่ 23 กันยายน 2563
ต่อมาคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในการประชุมครั้งที่ 13/2563 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบข้อชี้แจงต่อข้อสอบถามของผู้ซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP Clarification) และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) รวมถึงเห็นชอบการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอ
จากรูปแบบเดิมที่การประเมินข้อเสนอจะพิจารณาซองเทคนิค และซองการลงทุนและผลตอบแทน แยกจากกัน โดยให้พิจารณาซองการลงทุนและผลตอบแทนเฉพาะผู้ยื่นข้อเสนอรายที่ผ่านการประเมินซองเทคนิคเท่านั้น เป็นรูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา พร้อมเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการยื่นข้อเสนอของเอกชนออกไป 45 วัน เป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563
ในการนี้ รฟม. ได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 นำส่ง RFP Addendum ให้แก่เอกชนทุกรายทราบแล้ว
2. คณะกรรมการฯ และ รฟม. ได้พิจารณาร่วมกันอย่างรอบคอบแล้วว่า การปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ เนื่องจากโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการฯ ส่วนตะวันตก ซึ่งจะต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างที่มีความซับซ้อน เนื่องจากเป็นการดำเนินงานก่อสร้างใต้ดินทั้งหมด ประกอบกับแนวเส้นทางที่พาดผ่านเข้าในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่อ่อนไหวหลายแห่งโดยเฉพาะกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ต้องก่อสร้างอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการเดินรถไฟฟ้าที่ต้องการมาตรฐานความปลอดภัยชั้นสูง
ดังนั้น ผลประโยชน์ที่รัฐและประชาชนผู้ใช้บริการจะได้รับจึงขึ้นกับคุณภาพ เทคนิค และประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเอกชนเป็นสำคัญ มิได้มีเพียงแต่ผลประโยชน์ทางการเงินเท่านั้น
3. การดำเนินการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ในครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 35 และมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งการออก RFP Addendum เป็นไปตามที่ระบุในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ข้อ 17.1 ซึ่งได้ระบุว่า
“ก่อนถึงกำหนดวันยื่นซองเอกสารข้อเสนอ รฟม. อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน (ที่ระบุในข้อ 15.) โดยการออกเอกสารแนบท้ายเพิ่มเติม โดยเหตุผลสำหรับการปรับเปลี่ยนนั้น อาจมาจากการพิจารณาของ รฟม. เอง หรือเป็นผลสืบเนื่องมาจากการชี้แจงข้อซักถามของผู้ยื่นข้อเสนอก็ได้”
สอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 (8) และ 4 (9) และเป็นการดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563
4. การปรับปรุงเอกสาร RFP ครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงเฉพาะวิธีการประเมินข้อเสนอเท่านั้น ไม่ได้เป็นการปรับปรุงเนื้อหาข้อเสนออื่นใดในเอกสาร RFP ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าวจึงมิได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอรายใด
นอกจากนี้ รฟม. ได้ขยายระยะเวลาการยื่นข้อเสนอของเอกชนออกไปอีก 45 วัน นับเป็นระยะเวลาในการจัดทำข้อเสนอการร่วมลงทุนของเอกชนประมาณ 70 วัน เพื่อให้ผู้ซื้อเอกสาร RFP ทุกรายได้มีเวลาเพิ่มเติมในการศึกษาเอกสาร RFP ซึ่งรวมถึงวิธีการประเมินข้อเสนอที่ได้ปรับปรุงในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ การกำหนดวิธีการประเมินข้อเสนอในลักษณะดังกล่าวมีความเหมาะสมกับคุณลักษณะโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีความซับซ้อนในการดำเนินการมาก ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 83 (2) ประกอบมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่ระบุว่า การจ้างออกแบบรวมก่อสร้างที่มีความซับซ้อน มีเทคโนโลยีสูง หรือมีเทคนิคเฉพาะ สามารถใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นได้
ทั้งนี้ รฟม. ขอเรียนยืนยันว่า การดำเนินการข้างต้นมีความโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถทำให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ เป็นไปตามมาตรฐานของ รฟม. เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนผู้ใช้บริการและภาครัฐ โดยไม่ได้เอื้อประโยชน์แก่เอกชนผู้ซื้อเอกสาร RFP รายใด
นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ รฟม. ยังคงเดินหน้าการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มต่อไป โดยจะเปิดรับข้อเสนอของเอกชนในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 และทราบผลการประมูลในเดือนมกราคม 2564
สำหรับโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
“BTS” ยื่นศาลคุ้มครองประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากมติคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่ให้ปรับ TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้วยการนำคะแนนเทคนิค มาถ่วงน้ำหนักกับคะแนนราคาและผลตอบแทนด้วยนั้น ส่งผลให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เห็นว่าเกิดความไม่เป็นธรรม เพราะเมื่อผ่านขั้นตอนการซื้อซองแล้ว ก็จะทำให้ทราบว่ามีเอกชนรายใดสนในเข้ายื่นซองบ้าง
BTS จึงเดินสายยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังหลายหน่วยงาน เช่น คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.), รฟม. และ องค์กรค้านคอร์รัปชัน รวมถึงยื่นเรื่องถึง ศาลปกครอง ด้วยเพื่อขอคุ้มครองการประมูล
https://www.thebangkokinsight.com/442248/?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2020 6:27 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. ยื้อไต่สวนฉุกเฉิน คดีดำ รถไฟฟ้าสายสีส้ม
วันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2563 เวลา 08:34 น.
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/450607

“ศักดิ์สยาม”ยันแก้เกณฑ์”สีส้ม”รฟม. ทำตามกม.-ไม่หนักใจเอกชนฟ้อง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 22:30



“ศักดิ์สยาม”ยันรฟม.ปรับวิธีคัดเลือก รถไฟฟ้าสีส้มได้ เป็นไปตามกม. ระบุ ยังไม่มีการกระทำทุจริตเพราะยังไม่ยื่นซองประมูล ขณะที่ รฟม.มีข้อมูลพร้อมชี้แจงศาล ชี้เอกชนมีสิทธิ์สงสัยหรือฟ้องร้องได้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า รฟม.ได้ยืนยันว่าได้ดำเนินการดังกล่าวอย่างโปร่งใสและตามกฎหมายกำหนด ที่สำคัญได้ปฎิบัติตามระเบียบTOR ที่ได้กำหนดซึ่งสามารถดำเนินการได้เนื่องจากเป็นประโยชน์กับทางรฟม.และราชการ โดยมีเอกสารยืนยันจากทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่าสามารถปรับรายละเอียดดังกล่าวได้

ทั้งนี้ การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มด้านตะวันตก นี้ ไม่ใช่สายแรก ที่ผ่านมา รฟม.ได้เปิดประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย ทั้งสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง รวมถึงสายสีเหลือง และสีชมพู ก็ได้ดำเนินการมาแล้ว ขณะเดียวกัน
ไม่ได้มีการปิดกั้นสิทธิของเอกชน ในการตั้งข้อสงสัย หรือร้องเรียน ประเด็นสำคัญคือรฟม.ต้อง แสดงข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงทั้งหมด ให้ชัดเจน

สำหรับกรณีที่มีบริษัทเอกชนไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองนั้น ทางรฟม.ได้รายงานว่า พร้อมที่จะชี้แจงต่อศาล และนำข้อมูลไปยืนยันต่อศาลว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง หากศาลสั่งว่ารฟม.ถูกต้อง ก็ให้เร่งเดินหน้าต่อ หากศาลชี้ว่าไม่ถุกต้อง รฟม.ต้องปรับแก้ได้ไม่มีปัญหา

“โครงการนี้ ไม่ได้เป็นโครงการแรกที่มีการร้องเรียน ซึ่งผมยืนยันว่าการบริหารงานของกระทรวงคมนาคม มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดตามข้อกฎหมายและไม่มีการปิดกั้น หากสงสัยให้ถามมา หากไม่พอใจ ฟ้องศาลได้ ศาลสั่งอย่างไร ก็พร้อมปฏิบัติตาม ซึ่งเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีก็เป็นห่วง แต่ผมบอกว่า ไม่ต้องห่วง เพราะกระทรวงคมนาคมประมูลมาหลายโครงการแล้ว ส่วนเอกชนร้องเองนั้น ก็เคยร่วมประมูลและได้รับงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่นด้วย ”รมว.คมนาคมกล่าว

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กรณีที่รฟม. โดยคณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้น เป็นการทำตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และมีหนังสือจากสคร.จึงมีเหตุผลที่ดำเนินการ และมีข้อกฎหมายรองรับ ซึ่งตนได้กำชับให้รฟม.อธิบายแจกแจงหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน ด้านเทคนิคให้คะแนนแต่ละข้ออย่างไร บอกข้อสอบไปเลย ส่วนราคาก็ให้แข่งขันต่อสู้กันอย่างเต็มที่ เพราะแข่งกันมากๆ ราคาจะต่ำ รัฐได้ประโยชน์ เพราะจะประหยัดงบประมาณ

“ ยืนยันว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการทุจริตเกิดขึ้นเพราะยังไม่มีการยื่นประกวดราคา แต่มายื่นร้องว่ามีทุจริต ผมว่าไม่ดีเลย การปรับเกณฑ์ เพราะมีผู้ซื้อซอง สอบถามและขอ ให้เพิ่มตรงนั้น ตรงนี้ และมีหนังสือจากสคร.มา คณะกรรมการฯ มีการประชุมและการปรับ TOR เป็นไปอย่างเปิดเผย วันนี้ยังไม่ยื่นประมูล แต่หากยื่นประมูลแล้ว แล้วการตัดสินไม่ชอบ เอกชนก็ยังมีสิทธิ์ร้องได้อีก ตนอยากให้ดูว่าเรื่องทั้งหมด ภาครัฐได้หรือเสีย”

“ศักดิ์สยาม” ยัน “รฟม.” ปรับเงื่อนไขประมูลสายสีส้มโปร่งใสตามกฎหมาย
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 26 กันยายน 2563 - 19:13 น.




นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า รฟม.ได้ยืนยันว่าได้ดำเนินการดังกล่าวอย่างโปร่งใสและตามกฎหมายกำหนด ที่สำคัญได้ปฎิบัติตามระเบียบTOR ที่ได้กำหนดซึ่งสามารถดำเนินการได้เนื่องจากเป็นประโยชน์กับทางรฟม.และราชการ โดยมีเอกสารยืนยันจากทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่าสามารถปรับรายละเอียดดังกล่าวได้

ทั้งนี้ การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้ ไม่ใช่สายแรก ที่ผ่านมา รฟม.ได้เปิดประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย ทั้งสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง รวมถึงสายสีเหลือง และสีชมพู ก็ได้ดำเนินการมาแล้ว ขณะเดียวกันไม่ได้มีการปิดกั้นสิทธิของเอกชน ในการตั้งข้อสงสัย หรือร้องเรียนประเด็นสำคัญคือรฟม.ต้อง แสดงข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงทั้งหมดให้ชัดเจน


สำหรับกรณีที่มีบริษัทเอกชนไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองนั้น ทางรฟม.ได้รายงานว่า พร้อมที่จะชี้แจงต่อศาล และนำข้อมูลไปยืนยันต่อศาลว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง หากศาลสั่งว่ารฟม.ทำถุกต้อง ก็ให้เร่งเดินหน้าต่อ หากศาลชี้ว่าไม่ถูกต้อง รฟม.ต้องปรับแก้

“โครงการนี้ ไม่ได้เป็นโครงการแรกที่มีการร้องเรียน ซึ่งผมยืนยันว่าการบริหารงานของกระทรวงคมนาคม มีธรรมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้ ยึดตามข้อกฎหมายและไม่มีการปิดกั้น หากสงสัยให้ถามมา หากไม่พอใจ ฟ้องศาลได้ ศาลสั่งอย่างไร ก็พร้อมปฏิบัติตามซึ่งเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีก็เป็นห่วง แต่ผมบอกว่า ไม่ต้องห่วง เพราะกระทรวงคมนาคมประมูลมาหลายโครงการแล้ว ส่วนเอกชนร้องเรียนนั้น ก็เคยร่วมประมูลและได้รับงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่นด้วย” รมว.คมนาคมกล่าว

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กรณีที่รฟม. โดยคณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้น เป็นการทำตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และมีหนังสือจากสคร.จึงมีเหตุผลที่ดำเนินการ และมีข้อกฎหมายรองรับ ซึ่งตนได้กำชับให้รฟม.อธิบายแจกแจงหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน ด้านเทคนิคให้คะแนนแต่ละข้ออย่างไร บอกข้อสอบไปเลย ส่วนราคาก็ให้แข่งขันต่อสู้กันอย่างเต็มที่ เพราะแข่งกันมากๆ ราคาจะต่ำ รัฐได้ประโยชน์ เพราะจะประหยัดงบประมาณ

“ยืนยันว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการทุจริตเกิดขึ้นเพราะยังไม่มีการยื่นประกวดราคา แต่มายื่นร้องว่ามีทุจริต ผมว่าไม่ดีเลย การปรับเกณฑ์เพราะมีผู้ซื้อซอง สอบถามและขอให้เพิ่มตรงนั้น ตรงนี้ และมีหนังสือจากสคร.มา คณะกรรมการฯ มีการประชุมและการปรับ TOR เป็นไปอย่างเปิดเผย วันนี้ยังไม่ยื่นประมูล แต่หากยื่นประมูลแล้ว แล้วการตัดสินไม่ชอบ เอกชนก็ยังมีสิทธิ์ร้องได้อีก ตนอยากให้ดูว่าเรื่องทั้งหมด ภาครัฐได้หรือเสีย” นายศักดิ์สยาม กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2020 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ศรีสุวรรณร้องดีเอสไอ เอาผิด รฟม.-คกก.ปมเปลี่ยน TOR รถไฟฟ้าสีส้มส่อฮั้ว
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563 เวลา 12:44 น.
ร้อง "ดีเอสไอ" เอาผิด "รฟม.-คกก.คัดเลือกฯ" เปลี่ยนทีโออาร์ สายสีส้ม ส่อฮั้ว
วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563 เวลา 11:22 น.

ศรีสุวรรณ ยื่นร้องดีเอสไอ เอาผิด รฟม.และคณะกก.คัดเลือกรถไฟฟ้าสีส้ม เหตุเปลี่ยน TOR หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้ว ทำให้อาจกีดกันผู้ยื่นซองบางรายส่อฮั้วประมูล


เมื่อวันที่ 28 ก.ย.63 ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องเอาผิด คณะกรรมการคัดเลือกตาม ม. 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้ว่าการฯ รฟม. หลังจากที่ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค.63 เห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น

สาวดวงดีหอบเงินแสนถวาย "ไอ้ไข่" วัดดำเนินสะดวก คอหวยไม่ลืมส่อง "เลขเด็ด"
โชว์ผลงานเด่นด้านวัฒนธรรม เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ชาวบ้านบางพลีวอนหน่วยงานจัดการกับขอทานบนสะพานที
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า มติดังกล่าวส่อพิรุธหลายประการ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญ และไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะเช่นนี้กับโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน การคัดเลือกโดยการเปิดซองข้อเสนอทางเทคนิคร่วมกับข้อเสนอทางการเงิน จะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เป็นการเฉพาะหรือไม่ เพราะจะเป็นการให้น้ำหนักในการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกได้มากกว่าแบบเดิมที่ใช้วิธีการเปิดทีละซอง ซึ่งจะทำให้ได้ผู้ชนะการประมูลไม่ใช่ผู้ที่ให้ผลตอบแทนต่อรัฐสูงสุดก็ได้ ทำให้มีข่าวเล็ดลอดออกมาในลักษณะมีการวิ่งเต้นให้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเพื่อกีดกันเอกชนบางราย ซึ่งอาจเข้าข่ายการฮั้วประมูลได้


เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนแปลง TOR ใหม่หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อ 28 ม.ค.63 และยังขัดต่อการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ ตาม ม.6(3) และ ม.32 ของ พรบ.ร่วมทุนฯ 2562 ประกอบกับข้อ 8(4) ของประกาศคณะกรรมการนโยบายร่วมทุนฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน 2563 อีกด้วย ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า การคัดเลือกตั้งประเมินข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศเชิญชวนฯเท่านั้น เพราะข้อ 9 ของประกาศดังกล่าวกำหนดว่า การพิจารณาจะพิจารณาทีละซองข้อเสนอเป็นลำดับไป โดยไม่ได้กำหนดให้นำคะแนนของซองข้อเสนอด้านเทคนิคมาร่วมพิจารณากับคะแนนของซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนเพื่อหาผู้ชนะการประเมินแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังเข้าข่ายผิดต่อ ม.11 และ ม.12 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 อีกด้วย

นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า ดังนั้น การกระทำของคณะกรรมการคัดเลือกฯที่กล้าเปลี่ยนแปลง TOR หลังจากมีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น น่าจะเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจเข้าข่ายความผิดหลายประการที่ส่อไปในทางที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ สมาคมฯจึงจำต้องนำความมาร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เพื่อสอบสวนเอาผิดคณะกรรมการคัดเลือกฯที่กล้าเปลี่ยน TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม รวมทั้งผู้ว่าการฯ รฟม.ด้วย.


ศรีสุวรรณยื่นเอาผิดผู้ว่าการ รฟม. กก.ม.36 เปลี่ยนทีโออาร์สายสีส้ม
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคารที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 09:10 น.

เมื่อวันที่ 28 ก.ย.63 ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องเอาผิด คณะกรรมการคัดเลือกตาม ม. 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้ว่าการฯ รฟม. ที่เห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข TOR หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้ว


นายศรีสุวรรณกล่าวว่า การคัดเลือกโดยการเปิดซองข้อเสนอทางเทคนิคร่วมกับข้อเสนอทางการเงิน จะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัทใดบริษัทหนึ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ได้ผู้ชนะการประมูลไม่ใช่ผู้ที่ให้ผลตอบแทนต่อรัฐสูงสุดก็ได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลง TOR ใหม่หลังจากที่มีการขายซองประกวด ราคาไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อ 28 ม.ค.63 และยังขัดต่อการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ ตาม ม.6 (3) และ ม.32 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 ประกอบกับข้อ 8 (4) ของประกาศคณะกรรมการนโยบายร่วมทุนฯ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน 2563 อีกด้วย ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า การคัดเลือกตั้งประเมินข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศเชิญชวนฯเท่านั้น เพราะข้อ 9 ของประกาศดังกล่าวกำหนดว่า การพิจารณาจะพิจารณาทีละซองข้อเสนอเป็นลำดับไป โดยไม่ได้กำหนดให้นำคะแนนของซองข้อเสนอด้านเทคนิคมาร่วมพิจารณากับคะแนนของซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนเพื่อหาผู้ชนะการประเมินแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังเข้าข่ายผิดต่อ ม.11 และ ม.12 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 อีกด้วย


นายศรีสุวรรณกล่าวอีกว่า ดังนั้น การกระทำของคณะกรรมการคัดเลือกฯที่กล้าเปลี่ยนแปลง TOR หลังจากมีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น น่าจะเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจเข้าข่ายความผิดหลายประการที่ส่อไปในทางที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ สมาคมฯจึงจำต้องนำความมาร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เพื่อสอบสวนเอาผิดคณะกรรมการคัดเลือกฯที่กล้าเปลี่ยน TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม รวมทั้งผู้ว่าการฯ รฟม.ด้วย.


Last edited by Wisarut on 29/09/2020 2:43 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2020 10:35 am    Post subject: Reply with quote

เปิดศึกรถไฟฟ้าสายสีส้ม1.2แสนล้าน แต้มต่ออยู่ที่ใครเจ๋ง!!งานอุโมงค์
โดย เทียนหยด
คอลัมน์มุมคนเมือง
เดลินิวส์
วันอังคารที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 08:00 น.

ผู้ว่าการรฟม. ภคพงศ์ ศิริกัรทรมาศ เปิดแถลงสวนเปรี้ยง!ทันใดว่า “รู้สึกแปลกใจว่าบีทีเอส มีความกังวลอะไร หากตั้งใจจะเสนอด้านเทคนิคที่มีคุณภาพดี ก็ไม่เห็นต้องไปกลัวอะไร อยากให้ใช้เวลาที่เหลืออยู่นี้ไปปรับปรุงข้อเสนอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ น่าจะทำให้บีทีเอสมีโอกาสสูงที่จะได้เป็นคู่สัญญากับ รฟม.”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2020 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้รับเหมา บี้รฟม. แก้เกณฑ์ ประมูลรถไฟฟ้า "สายสีส้ม" เอื้อใคร?
วันอังคารที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 10:52 น.

วงการผู้รับเหมาตีแสกหน้า รฟม.ปรับเกณฑ์ประเมินร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.4 แสนล้าน เอื้อผลประโยชน์ใคร ชี้หากเป็นรูปแบบที่ดีที่สุด ยังประโยชน์แก่รัฐและประเทศสูงสุดจริง เหตุใดถึงเพิ่งละเมอตื่นลุกขึ้นมาดำเนินการ กับโครงการนี้ ทั้งที่ประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าให้เอกชน อยู่บนบรรทัดฐานเดิมมาเป็นสิบโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2020 2:02 am    Post subject: Reply with quote

ITD Italian-Thai Development Public Company Limited
29 กันยายน 2563 เวลา 08:12 น.
บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) สัญญาที่ 3 หัวเจาะอุโมงค์ TBM ได้ทำการขุดเจาะอุโมงค์ จากสถานีคลองบ้านม้า มาตามถนนรามคำแหงขาออก มาถึง บริเวณทางเข้าวัดศรีบุญเรือง (ซอยรามคำแหง 107) และได้ทำการเจาะอุโมงค์เข้าไปสู่ปล่องระบายอากาศที่ 16 เป็นที่เรียบร้อย
(26 กันยายน 2563)
https://www.facebook.com/itdho/posts/3038077209631119
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 35, 36, 37 ... 89, 90, 91  Next
Page 36 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©