Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179850
ทั้งหมด:13491082
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 164, 165, 166 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2020 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

สำเร็จแล้วตั้งบริษัทลูกรถไฟ ล้างหนี้แสนล้านเสร็จใน 30 ปี
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
30 กันยายน 2563 เวลา 08:47 น.

ครม.เห็นชอบ รฟท.ตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์สักกะที คาด 30 ปี มีรายรับ 631,628 ล้านบาท จากการบริหารที่ดินทำเลทองในมือ 38,469 ไร่ มูลค่า 300,000 บาท ให้สามารถล้างหนี้ปัจจุบัน 177,611 ล้านบาทได้เกลี้ยงเกลา เคาะเพิ่มกรอบวงเงินรถไฟเร็วสูงกรุงเทพ–หนองคาย จาก 38,558 ล้านบาท เป็น 50,633 ล้าน


น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท. โดยใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้ รฟท. กู้ยืมเงิน 200 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียน โดยที่ รฟท.รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงินรวมถึงพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม

ครม.ควักกระเป๋าอีก 51,000 ล้านบาท อัดซ้ำเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ
ชี้คนไทยวัย 55 ปีขึ้นไป เตรียมวางแผนอนาคตเกษียณสุข ไม่พึ่งลูกหลาน
ดีเบตปธน. นัดแรกหุ้นสหรัฐฯ ร่วง นักลงทุนแห่ซื้อสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมรายงานถึงความจำเป็นในการจัดตั้งบริษัทลูกว่า รฟท.มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถ 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1% ของมูลค่าสินทรัพย์ เนื่องจากการบริหารสินทรัพย์ไม่ใช่กิจกรรมหลักที่ รฟท.มีความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ไม่สามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาบริหารจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่เพื่อบริหารสินทรัพย์เป็นกิจกรรมหลัก

สำหรับรายได้ของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จะมาจาก 3 ส่วนคือ 1.ค่ารับจ้างบริหารสัญญาเช่าเดิม 15,270 สัญญา โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของ รฟท. 2.การให้เช่าช่วง ร่วมทุน หรือพัฒนาที่ดินเดิมที่หมดอายุสัญญา 3.รายได้จากโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนและการพัฒนาพื้นที่ดินเปล่าแปลงอื่นๆ และในอนาคตอาจมีรายได้จากการขายกระแสเงินสดในอนาคตให้กับกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ส่วนผลประโยชน์ที่ รฟท.จะได้รับ จะมีรายได้จากบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มาลดภาระหนี้สิน โดยประมาณการผลตอบแทนที่ รฟท.จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 631,628 ล้านบาท เพียงพอที่จะนำมาแก้ไขปัญหาหนี้สินในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562 มีภาระหนี้สินรวม 177,611 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบปรับกรอบวงเงินและร่างข้อตกลงการจ้างและสัญญาจ้างสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ฉบับสมบูรณ์ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) จากที่ ครม. เคยอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2560 จาก 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หรือเพิ่มขึ้น 12,075.12 ล้านบาท โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ทั้งนี้ในส่วนของกรอบวงเงินที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 1.การย้ายขอบเขตงานของงานระบบรถไฟความเร็วสูงที่ซ้อนทับอยู่ในขอบเขตของงานโยธาเป็นเงิน 7,032.78 ล้านบาท ซึ่งเป็นงานจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับขบวนรถไฟฟ้า โรงเชื่อมรางและกองเก็บ และโรงกองเก็บราง จึงได้ย้ายขอบเขตงานจากงานโยธาไปไว้ยังงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลฯ 2.การเปลี่ยนรุ่นขบวนรถ EMU จากรุ่น CRG2G (Hexie Hao) เป็น CR Series (Fuxing Hao) ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ที่เทคโนโลยีดีกว่า เป็นเงินเพิ่มขึ้น 2,530.38 ล้านบาท

3. การปรับเปลี่ยนทางแบบใช้หินโรยทาง เป็นทางแบบไม่ใช้หินโรยทาง ในทางวิ่งช่วงสถานีบางซื่อ-สถานีดอนเมือง ในสถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง สถานีนครราชสีมา และภายในอุโมงค์เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในอนาคต อีกทั้งยังรักษาภาพลักษณ์และทัศนียภาพตลอดจนมลภาวะต่างๆ ที่จะเกิดจากการซ่อมบำรุงทางในสถานีซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองและภายในอุโมงค์ คิดเป็นค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนโครงสร้างทาง เป็นเงินทั้งสิ้น 2,227.57 ล้านบาท 4.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารับประกันผลงานจากความชำรุดบกพร่องจาก 1 ปี เป็น 2 ปี ตามระเบียบฯ ค่าดำเนินการต่าง และอื่นๆ เป็นจำนวนเงิน 284.39 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2020 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

“ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมหารือกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ชูพัฒนา 3 ด้าน”
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
เสาร์ที่ 26 กันยายน 2563 เวลา 14:39 น.


การท่องเที่ยวทางรถไฟ ความปลอดภัยของการใช้พื้นที่บริเวณราง และการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมหารือกับ นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยนายทรงวุฒิ ศีลแดนจันทร์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี และคณะ ณ ห้องประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือดังนี้
1. เร่งพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟ เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวทางรถไฟที่มีชื่อเสียง มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ตามนโยบายที่ได้วางไว้ในการที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟเพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปท่องเที่ยวในชุมชนต่าง ๆ นั้น การรถไฟฯ จะมีการร่วมมือกับจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมในการส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น
2.การร่วมมือแก้ไขปัญหาจุดตัดทางลักผ่านที่ชาวบ้านและประชาชนสร้างขึ้นเอง ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียความไม่ปลอดภัย ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานการรถไฟฯ และประชาชน โดยทางลักผ่านนี้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ขบวนรถไฟมาถึงที่หมายล่าช้า เพราะต้องมีการชะลอความเร็วตลอดเส้นทาง เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
3. การพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟฯ การรถไฟฯ มีแนวทางที่จะพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟฯ ซึ่งมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ตามแนวเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี เพื่อสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ โดยจะมีการเข้าไปจัดระเบียบและพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ เนื่องจากในบางพื้นที่ มีการบุกรุกเข้ามาใช้พื้นที่โดยไม่ถูกต้อง ซึ่งตามนโยบายที่ได้วางไว้คือการทำให้
ทุกอย่างถูกต้อง และนำมาสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมให้ได้มากที่สุด ซึ่งจังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็นจังหวัดที่มีที่ดินเชิงพาณิชย์ และแหล่งท่องเที่ยวทางรถไฟที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2020 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

ย้ายแน่! ‘หมอชิต 2’ กลับพื้นที่เดิม ‘หมอชิตเก่า’ เปิดใช้ภายในปี 70 พ่วงรวมอยู่ในโครงการพัฒนา Complex 2.6 หมื่นล้าน ของ ‘บางกอกเทอร์มินอล’ ที่จะสร้างแล้วเสร็จในปี 67
ศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563

สนข. ยอมรับ “คณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะพื้นที่บางซื่อ” มีแผน “ย้ายสถานีหมอชิต 2” ออกจากพื้นที่ปัจจุบัน ไปรวมกับโครงการ BKT (พื้นที่หมอชิตเก่า) คาดก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 67 ด้าน บขส. ย้ายไปให้บริการพื้นที่ใหม่ในปี 70
นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงการพัฒนาโครงการ Smart City ในพื้นที่ย่านพหลโยธินว่า พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ซึ่งบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ในฐานะผู้บริหารพื้นที่รถโดยสารสาธารณะอยู่ในปัจจุบัน มีแนวทางการดำเนินงานชัดเจนว่า บขส.จะต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะพื้นที่บางซื่อ โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานโดยตำแหน่ง หลังการหารือของคณะกรรมการในทุกครั้ง บขส.จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ เพื่อไปให้บริการในพื้นที่สถานีรถโดยสารแห่งใหม่ (บริเวณพื้นที่หมอชิตเก่า) ซึ่งจะรวมอยู่กับโครงการ พัฒนา Complex ของบริษัท บางกอกเทอร์มินอล (BKT)



ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการ Complex ของบริษัท บางกอกเทอร์มินอล (BKT) เป็นการเช่าพื้นที่จากกรมธนารักษ์ ซึ่งปัจจุบัน BTS ใช้ประโยชน์อยู่ โดยโครงการจะอยู่ติดริมถนน ทั้งในส่วนของพหลโยธินและวิภาวดีรังสิต ในส่วนด้านหน้าฝั่งถนนพหลโยธินนั้น จะมีอาคารคอมเพล็กซ์ ที่ประกอบด้วย ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม ส่วนพื้นที่ลานจอดรถขนาดใหญ่ด้านหลัง จะมีการพัฒนาเป็นอาคารจอดรถ 2 ชั้น และเป็นสถานีปล่อยรถของ บขส. รวมถึงสำนักงาน บขส.อยู่ในพื้นที่เดียวกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่างานก่อสร้างของ Complex ดังกล่าว จะแล้วเสร็จภายในปี 2567 ส่วน บขส. ก็จะเข้าสู่ช่วงการเตรียมย้ายสถานี เพื่อไปให้บริการในพื้นที่ใหม่ตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป

รายงานข่าวจาก สนข. ระบุว่า โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเก่า มีมูลค่าลงทุน 26,000 ล้านบาท มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 120,000 ตารางเมตร รองรับสถานีขนส่งหมอชิตย้ายกลับเข้ามาที่เดิม โครงการใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยเป็นโครงการที่มีทั้งห้างสรรรพสินค้า โรงแรม เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ การจัดพื้นที่สำหรับโครงการจอดแล้วจร รองรับผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้า รถเมล์ รถโดยสารสาธารณะ รถไฟ และรถ บขส. ประชาชนสามารถเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก

สำหรับการย้ายย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 ของ บขส.นั้น ที่ผ่านมามีการเจรจาระหว่าง บขส. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มาต่อเนื่อง ซึ่งตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมเห็นว่า ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเช่นเดียวกัน สามารถเจรจาเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สถานีรถโดยสารให้ชัดเจนได้ เนื่องจากที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ และผู้บริหาร บขส. แสดงความประสงค์ต้องการใช้พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ต่อไป เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับอู่รถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่อยู่ด้านข้างสถานีรถตู้ถนนกำแพงเพชร (ฝั่งตรงข้ามสถานีหมอชิต 2)

อีกทั้ง ยังใช้เวลาในการเดินทางไม่นาน ในการเดินทางเชื่อมต่อระบบขนส่งรถ Shuttle Bus ไปยังสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นสถานีศูนย์รวมของระบบรถไฟ, รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด โดยทั้งการรถไฟ และ บขส. ต้องการหาผลสรุปใช้พื้นที่ ที่ชัดเจน โดยทั้ง 2 หน่วยงาน และกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ สนข. เป็นผู้จัดทำแผนศึกษา เพื่อให้ได้ข้อยุติต่อไป

ย้ายแน่นอนสถานีรถบขส. กลับหมอชิตเก่าพร้อมให้บริการพื้นที่ใหม่ปี 70

03 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:38 น.


3 ต.ค. 2563 นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กล่าวยอมรับว่าในการพัฒนาโครงการ smart city ในพื้นที่ย่านพหลโยธินในปัจจุบัน ในส่วนของพื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ซึ่งบริษัทขนส่งจำกัด หรือ บขส. เป็นผู้บริหารพื้นที่รถโดยสารอยู่ในปัจจุบันนี้ มีแนวทางการดำเนินงานนั้นชัดเจนว่า บขส.จะต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะพื้นที่บางซื่อ ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานโดยตำแหน่ง ซึ่งการหารือของคณะกรรมการทุกครั้งชัดเจนว่าบขส.จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ เพื่อไปให้บริการในพื้นที่สถานีรถโดยสารแห่งใหม่

อย่างไรก็ตามโดยพื้นที่สถานีรถโดยสารใหม่ดังกล่าว จะรวมอยู่กับโครงการพัฒนา Complex ของ บริษัท บางกอกเทอร์มินอล (BKT) ซึ่งเช่าพื้นที่พัฒนาโครงการจากกรมธนารักษ์ หรือบริเวณพื้นที่หมอชิตเก่าซึ่งปัจจุบัน BTS ใช้ประโยชน์อยู่ โดยโครงการจะอยู่ติดริมถนนทั้งในส่วนของพหลโยธินและวิภาวดีรังสิต โดยด้านหน้าฝั่งถนนพหลโยธินนั้นจะมีอาคารคอมเพล็กซ์ ที่ประกอบด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม ส่วนพื้นที่ลานจอดรถขนาดใหญ่ด้านหลัง จะมีการพัฒนาเป็นอาคารจอดรถ 2 ชั้น และเป็นสถานีปล่อยรถของบขส. รวมถึงสำนักงานบขส.อยู่ในพื้นที่เดียวกัน

" คาดว่างานก่อสร้างของ complex นี้ จะแล้วเสร็จภายในปี 2567 ส่วน บขส. ก็จะเข้าสู่ช่วงการเตรียมย้ายสถานี เพื่อไปให้บริการในพื้นที่ใหม่ตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป " นายปัญญากล่าว


ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเก่า มีมูลค่าลงทุน 26,000 ล้านบาท มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 120,000 ตารางเมตร รองรับสถานีขนส่งหมอชิตย้ายกลับเข้ามาที่เดิม โครงการใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดย เป็นโครงการที่มีทั้งห้างสรรรพสินค้า โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ การจัดพื้นที่สำหรับโครงการจอดแล้วจรรองรับผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้า รถเมล์ รถโดยสารสาธารณะ รถไฟ และรถ บขส. ประชาชนสามารถเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก


ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับการย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 ของ บขส.นั้น ที่ผ่านมามีการเจรจาระหว่าง บขส. และการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. มาต่อเนื่อง ซึ่งตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมเห็นว่า ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเช่นเดียวกัน สามารถเจรจาเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สถานีรถโดยสารให้ชัดเจนได้ เนื่องจากที่ผ่านมา คณะกรรมการ และผู้บริหาร บขส. แสดงความประสงค์ต้องการใช้พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ต่อไป

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับอู่รถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ที่อยู่ด้านข้าง สถานีรถตู้ถนนกำแพงเพชร(ฝั่งตรงข้ามสถานีหมอชิต 2) รวมทั้งใช้เวลาในการเดินทางไม่นาน ในการเดินทางเชื่อมต่อระบบขนส่งรถ Shuttle Buss ไปยังสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นสถานีศูนย์รวมของระบบรถไฟ,รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด โดยทั้งการรถไฟ และ บขส. ต้องการหาผลสรุปใช้พื้นที่ ที่ชัดเจน โดยทั้ง 2หน่วยงานและกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ ให้ สนข. เป็นผู้ทำแผนศึกษาเพื่อให้ได้ข้อยุติ


Last edited by Wisarut on 05/10/2020 1:17 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 3:07 am    Post subject: Reply with quote

ครม. อนุมัติจัดตั้ง บริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด เพื่อพัฒนาและบริหารการใช้งานที่ดินการรถไฟ กว่า 30,000 ไร่ ทั่วประเทศ
ศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563

วันนี้ขอพูดถึง บริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด ซึ่งทาง คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติจัดตั้ง พร้อมกับอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย กู้เงิน เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนของ บริษัท อีก 200 ล้านบาท
ตามมติ ครม. นี้
ขออนุมัติจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท. (บริษัทลูกฯ)
[เบื้องต้นจะใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จากัด (บริษัทฯ)]
ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ตาม มาตรา 39 (8) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 และตามขั้นตอนของหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ ร่วมทุนในบริษัทในเครือตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550
โดยให้นำความเห็นตามมติ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ไปประกอบการดาเนินการอย่างเคร่งครัด
2. เห็นชอบให้ รฟท. กู้ยืมเงิน จานวน 200 ล้านบาท
ตามมาตรา 39 (4) แห่งพระราชบัญญัติการ รถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียนในบริษัทลูกฯ
โดย รฟท. รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน และกระทรวงการคลัง (กค.) ค้าประกันการกู้เงิน
รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม
สาหรับการขอยกเว้นการคิดค่าธรรมเนียมการค้าประกันเงินกู้ให้แก่ รฟท. พิจารณาดาเนินการตามความเห็นของ กค.
————————————
ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาเบื้องต้นจาก สจล. เท่าที่ผมมี
การรถไฟโอนที่ดิน นอกเหนือจากกิจกรรมรถไฟ (Non-Core business) ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ 39,415 ไร่
ซึ่งจะแบ่งรูปแบบการบริหารที่ดินเป็น 3 รูปแบบคือ
1. บริหารจัดการสัญญาเช่าเดิม และเก็บค่าเช่า ประมาณ 15,000 สัญญา
2. จัดสรรพื้นที่ในรูปแบบ PPP
3. พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะทำในพื้นที่สัญญาเช่าเดิมที่หมดอายุ และพื้นที่ว่างพร้อมพัฒนา
—————————
ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นจากการนำเสนอเดิมของรักษาการณ์ ผู้ว่าคนเก่า
มีรายละเอียดคร่าวๆ ที่คาดว่าจะเป็นโครงการนำร่องในมือของ บริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด จากโครงการศึกษา TOD ดังนี้
โครงการพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ในกรุงเทพ
- ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน 2,325 ไร่
- ย่านสถานีมักกะสัน 423 ไร่ (ส่วนที่เหลือนอกโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน)
- ย่านสถานีแม่น้ำ 277 ไร่
โครงการในพื้นที่ภาคเหนือ
- ย่านสถานีพิษณุโลก 31 ไร่
- ย่านสถานีอุตรดิตถ์ 30 ไร่
- ย่านสถานีนครลำปาง 24 ไร่
- ย่านสถานีเชียงใหม่ 50 ไร่
- ย่านสถานีศิลาอาสน์ 124 ไร่
- ย่านสถานีนครสวรรค์ 92 ไร่
โครงการในพื้นที่ภาคใต้
- ย่านสถานีหาดใหญ่ 30 ไร่
โครงการในพื้นที่ภาคอิสาน
- ย่านสถานีขอนแก่น 108 ไร่
————————————
ซึ่ง บริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด จะเข้ามาบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์ที่ดินและร่วมลงทุนกับเอกชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าจากที่ดินให้สูงสุด
จากปัจจุบัน รฟท.มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ เพื่อการเดินรถ 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท
แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของมูลค่าสินทรัพย์ เพราะไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหาจัดการพื้นที่ และอยู่ในโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่คล่องตัว
ซึ่งจากการประเมิน ในระยะ 30 ปี บริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด จะสร้างรายได้ให้แก่การรถไฟถึง 631,628 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะนำมาแก้ไขปัญหาหนี้สิน และจุนเจือรายจ่ายในการบริหารงานองค์กรในอนาคต
หวังว่าบริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด จะทำงานได้ตามเป้า และเป็นช่องทางหารายได้ที่สำคัญอีกส่วนนึ่งของการรถไฟในอนาคตครับ
————————————
รายละเอียดจากข่าว
ทำเนียบฯ 29 ก.ย. – ครม.เห็นชอบ รฟท.จัดตั้งบริษัทลูกบริหารสินทรัพย์ พร้อมกู้เงิน 200 ล้านบาทเป็นทุนจดทะเบียน
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สิน โดยใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท
โดยเห็นชอบให้กู้ยืมเงิน 200 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียน
โดย รฟท.รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงินมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงินรวมถึงพิจารณาวิธีการรกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมรายงานถึงความจำเป็นในการจัดตั้งบริษัทลูกครั้งนี้ว่า รฟท.มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ เพื่อการเดินรถ 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท
แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของมูลค่าสินทรัพย์
เนื่องจากการบริหารสินทรัพย์ไม่ใช่กิจกรรมหลักที่ รฟท.มีความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ไม่สามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาบริหารจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่ เพื่อบริหารสินทรัพย์เป็นกิจกรรมหลัก
สำหรับรายได้ของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จะมาจาก 3 ส่วน คือ
1.รายได้จากค่ารับจ้างบริหารสัญญาเช่าเดิม 15,270 สัญญา โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของ รฟท.
2.รายได้จากการให้เช่าช่วง ร่วมทุน หรือพัฒนาที่ดินเดิมที่หมดอายุสัญญา
3.รายได้จากโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนและการพัฒนาพื้นที่ดินเปล่าแปลงอื่น ๆ และในอนาคตอาจมีรายได้จากการขายกระแสเงินสดในอนาคตให้กับกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้น รฟท.จะมีรายได้จากบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มาลดภารระหนี้สิน โดยประมาณการผลตอบแทนที่ รฟท.จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 631,628 ล้านบาท เพียงพอที่จะนำมาแก้ไขปัญหาหนี้สินปัจจุบัน
ซึ่งข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีภาระหนี้สินรวม 177,611 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/10/2020 8:51 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ย้ายแน่! ‘หมอชิต 2’ กลับพื้นที่เดิม ‘หมอชิตเก่า’ เปิดใช้ภายในปี 70 พ่วงรวมอยู่ในโครงการพัฒนา Complex 2.6 หมื่นล้าน ของ ‘บางกอกเทอร์มินอล’ ที่จะสร้างแล้วเสร็จในปี 67
ศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563

ชง'คจร.'ย้ายหมอชิตกลับพหลโยธิน
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บีเคทีทุ่ม2.6หมื่นล.ทำสถานีใหม่ทันสมัยพ่วงมิกซ์ยูส

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เตรียมชงแผนการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ บริเวณถนนกำแพงเพชร หรือ หมอชิต 2 กลับไปยังที่เดิมหมอชิตเก่า บริเวณถนนพหลโยธิน เพราะปี 69 ต้องคืนพื้นที่ให้การรถไฟ แห่งประเทศไทย สร้างศูนย์คมนาคมพหลโยธิน-บีเคทีทุ่ม 2.6 หมื่นล้านบาทสร้างสถานีใหม่ทันสมัย

นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนการย้ายสถานีขนส่ง ผู้โดยสารกรุงเทพ บริเวณถนนกำแพงเพชร หรือ หมอชิต 2 กลับไปยัง บริเวณถนนพหลโยธิน หรือหมอชิต 1 ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอู่จอดรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่า ตามนโยบายและแผนงานของกระทรวงคมนาคม กำหนดให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ต้องคืนพื้นที่หมอชิต 2 ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายในไตรมาส 3 -4 ปี 69 เพื่อนำพื้นที่ไปพัฒนาโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน

โดย บขส. จะย้ายไปใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์ บริเวณอู่จอดรถไฟฟ้าบีทีเอส บนถนนพหลโยธิน ซึ่งขณะนี้ กรมธนารักษ์ได้ว่าจ้างให้ บริษัท Bangkok Terminal (BKT) พัฒนาพื้นที่เป็น 2 ส่วนคือ ด้านหลังโครงการซึ่งติดกับ ถนนวิภาวดีรังสิต พัฒนาเป็นสถานีบริการขนส่งแห่งใหม่(Bus Terminal) ที่ทันสมัยให้บขส.เช่าใช้งาน ส่วนด้านหน้าโครงการซึ่งติดถนนพหลโยธิน ตรงข้ามสวนจตุจักร จะพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส มีอาคารพาณิชย์ โรงแรมและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่ง BKT จะลงทุนเองราว 2.6 หมื่นล้านบาท
"กรมธนารักษ์ และ BKT ได้หารือร่วมกับ สนข. เพื่อวางแผนงานรองรับด้านการจราจรและโครงข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารถติดในโครงการและบริเวณโดยรอบ ซึ่งขณะนี้ทำแผนเสร็จแล้ว สนข. เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติในกลางเดือนต.ค.นี้ หากผ่านการอนุมัติ ธนารักษ์ จะเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป"

นายปัญญากล่าวถึงแผนการก่อสร้างสถานีบริการขนส่งแห่งใหม่ว่าด้านหลังสถานีจะติดกับถนนวิภาวดี รังสิต โดยกรุงเทพมหานครเตรียมใช้งบลงทุนกว่า 1.6 พันล้านบาท ลงทุนขยายถนนซอยวิภาวดีรังสิต 5 เป็น 2 ช่องจราจร เพื่อใช้เป็นถนนเชื่อมมายังสถานี

และเตรียมก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมจากโทลล์เวย์เข้ามายังสถานี ด้านหน้าโครงการจะก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมจากอ.ต.ก. เข้าโครงการ คาดว่าไตรมาสที่ 1-2 ปี 68 BKT จะเปิดประมูลงานก่อสร้างสถานี เริ่มก่อสร้างไตรมาสที่ 3 ปี 68 และเปิดให้บริการไตรมาส 1 ปี 70
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 10:43 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ย้ายแน่! ‘หมอชิต 2’ กลับพื้นที่เดิม ‘หมอชิตเก่า’ เปิดใช้ภายในปี 70 พ่วงรวมอยู่ในโครงการพัฒนา Complex 2.6 หมื่นล้าน ของ ‘บางกอกเทอร์มินอล’ ที่จะสร้างแล้วเสร็จในปี 67
ศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563

ชง'คจร.'ย้ายหมอชิตกลับพหลโยธิน
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่ครับ:
ย้ายหมอชิตกลับที่เดิม ทุ่ม 2.6 หมื่นล้าน ปั้นสถานีแห่งใหม่พ่วงมิกซ์ยูสบนพหลโยธิน
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:43 น.

คมนาคม ลั่นกลาง ต.ค. ชง คจร .ไฟเขียวย้ายหมอชิตกลับที่เดิม บีเคที ทุ่ม 2.6 หมื่นล้าน พัฒนาสถานีขนส่ง-มิกซ์ยูสแห่งใหม่บนพหลโยธิน ขยายถนนวิภาวดีซอย 5 -ผุดทางยกระดับเชื่อมโทลเวย์
นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ หมอชิต หรือ หมอชิต 2 กลับไปอยู่สถานีส่งหมอชิตเก่า ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอสว่า ตามนโยบายและแผนงานของกระทรวงคมนาคม กำหนดให้ บขส. ต้องคืนพื้นที่สถานีขนส่งจตุจักรให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ภายในไตรมาส 3 หรือไตรมาส4 ปี 69 เพื่อนำพื้นที่ดังกล่าวไปพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ ภายใต้โครงการ ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน

โดย บขส.จะย้ายไปเช่าใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์บริเวณใกล้กับศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างว่าจ้างให้ บริษัท Bangkok Terminal (BKT) พัฒนาพื้นที่ โดยโครงการจะพัฒนาพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ

ด้านหลังโครงการซึ่งติดกับถนนวิภาวดีรังสิต จะพัฒนาเป็นสถานีบริการขนส่งแห่งใหม่(Bus Terminal)ที่ทันสมัยให้ บขส.เช่าใช้งาน ส่วนด้านหน้าโครงการซึ่งเป็นพื้นที่ด้านติดถนนพหลโยธินบริเวณ บริเวณหน้าสวนจตุจักรจะพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส มีอาคารพาณิชย์ โรงแรมและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่ง BKT จะลงทุนเองทั้งหมด ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท

“กรมธนารักษ์และBKT ได้มาหารือร่วมกับ สนข.เพื่อวางแผนงานรองรับด้านการจราจรและโครงข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจรจาติดขัดภายในโครงการและบริเวณโดยรอบ ซึ่งขณะนี้ได้ร่วมกันจัดทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย สนข. จะนำเสนอโครงการพร้อมแผนรองรับจราจรเสนอให้ ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติภายในกลางเดือนต.ค.นี้ หากผ่านการอนุมัติ คจร ธนารักษ์จะเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป”


นายปัญญากล่าวว่า สำหรับแผนการก่อสร้างสถานีบริการขนส่งแห่งใหม่ (Bus Terminal)นั้น BKT จะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ในส่วนของอาคารสถานีซึ่งพื้นที่ด้านหลังจะติดกับถนนวิภาวดีรังสิต และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเจรจาหนาแน่ จะมีการขยายถนนบริเวณซอยวิภาวดีรังสิต 5 ให้เป็น 2 ช่องจรจาขนาดใหญ่

โดยกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้ก่อสร้างและเวนคืนที่ดีบริเวฯดังกล่าวเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้งบราว 1.6พันล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน รวมทั้ง BKT จะมีการดำเนินการก่อสร้างทางทางยกระดับเชื่อมจากโทลเวย์เข้ามายังโครงการด้วย

ส่วนบริเวณด้านหน้าโครงการ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับถนนพหลโยธิน บริเวณหน้าสวยจตุจักร BKT จะมีการดำเนินการก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมจาก ตลาด อ.ต.ก. เข้ามายังโครงการ และยังสามารถเชื่อมต่อกับทางยกระดับเกียกกายด้วย
“ตามแผน BKT ระบุว่าช่วง ไตรมาสที่ 1-2 ปี68 จะเปิดประมูลงานก่อสร้างสถานีแห่งใหม่ เริ่มงานก่อสร้างประมาณช่วงไตรมาสที่ 3ปี68 จากนั้นก็ทดสอบระบบ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงไตรมาส1ของปี70”


https://www.khaosod.co.th/economics/news_5048128
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 11:32 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครม. อนุมัติจัดตั้ง บริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด เพื่อพัฒนาและบริหารการใช้งานที่ดินการรถไฟ กว่า 30,000 ไร่ ทั่วประเทศ
ศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563


บ.รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ ก้าวแรกปฏิรูปการรถไฟฯ
โดย: นพ นรนารถ
เผยแพร่: 4 ตุลาคม 2563 เวลา 19:55



รถไฟไทยมีอายุ 124 ปี นับตั้งแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพฯ-อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439

แม้เวลาจะล่วงเลยไปนานกว่า 1 ศตวรรษ แต่รถไฟไทยแทบจะไม่มีการพัฒนาเลย ปัจจุบันมีทางรถไฟระยะทางเพียง 4,070 กิโลเมตร ถ้าคิดเลขง่ายๆ เทียบเวลากับระยะทางที่เพิ่มขึ้น เรามีทางรถไฟเพิ่มขึ้นแค่ปีละ 30 กว่ากิโลเมตรเท่านั้น

ในความเป็นจริงนับตั้งแต่ประเทศไทยมีทางรถไฟสายแรกเมื่อพ.ศ. 2439 รถไฟไทยเติบโตมาเป็นลำดับ มีการสร้างทางเพิ่มขึ้นไปทั่วทุกภาค จนถึงปี 2494 มีทางรถไฟระยะทางทั้งสิ้น 3,377 กิโลเมตร แต่หลังจากนั้น รถไฟไทยก็ถูก “แช่แข็ง” เพราะรัฐบาลในตอนนั้น และหลังจากนั้น ให้ความสำคัญกับการสร้างถนนมากกว่า ตามแนวทางการพัฒนาที่ได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอนนั้นเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย ผ่านเงินช่วยเหลือรูปแบบต่างๆ เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์

เกือบ 70 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2494 จนถึงพ.ศ. 2561 ที่ทางรถไฟมีระยะทาง 4,070 กิโลเมตร ประเทศไทยจึงมีทางรถไฟเพิ่มขึ้นเพียง 693 กิโลเมตรเท่านั้น หรือปีละ 10 กิโลเมตรเอง และกว่า 91% เป็นรถไฟทางเดี่ยวที่ต้องเสียเวลาในการหลบหลีก ในช่วงที่มีรถไฟขบวนอื่นสวนทางมาทำให้เสียเวลามาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟไม่ได้รับความนิยม

ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของรถไฟไทยเกิดขึ้นในยุค คสช.ที่รัฐบาลเน้นการลงทุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ทั้งรถไฟฟ้าใน กทม.และรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่

โครงการรถไฟทางคู่ 7 สายระยะที่ 1 มีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 993 กิโลเมตร ได้ลงมือก่อสร้างไปครบทุกเส้นทางแล้ว ตามแผนจะสามารถเปิดให้บริการได้ครบภายในปี 2568 ด้วยความเร็วประมาณ 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไม่ต้องเสียเวลารอหลีกทาง เทียบกับความเร็วในปัจจุบันของรถไฟทางเดี่ยว 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้การเดินทางด้วยรถไฟในรัศมี 500 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้เวลาน้อยลง 1 เท่าตัว หากบริหารการเดินรถให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นการพลิกโฉมหน้าการเดินทาง การขนส่งสินค้าครั้งใหญ่ในรอบ 70 ปีของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม การลงทุนนับแสนล้านบาท ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าสายสีแดงในกรุงเทพฯ คือ ภาระหนี้สินของการรถไฟฯ ในอนาคต ปัจจุบัน การรถไฟฯ มีหนี้สินประมาณ 177,000 ล้านบาท เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในข่ายต้องฟื้นฟูกิจการโดยรีบด่วน เพราะมีหนี้ล้นพ้นตัว ในขณะที่มีภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมมาก

การรถไฟฯ มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถ 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการให้เช่าใช้ประโยชน์ที่ดินเหล่านี้ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาทเท่านั้น หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของมูลค่าสินทรัพย์ เพราะไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการพื้นที่ และอยู่ในโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจที่ไม่คล่องตัว

แผนปฏิรูปการรถไฟฯ ที่ทำกันมาหลายยุคหลายสมัย มีข้อเสนอให้ปรับโครงสร้างการรถไฟฯ แยกระหว่างกิจการเดินรถกับการบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่ได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริง ด้วยเหตุผลหลายประการ รวมทั้งการถูกต่อต้านจากเอ็นจีโอ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ที่กล่าวหาว่า เป็นการแปรรูปแอบแฝง

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา เห็นชอบให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท.เบื้องต้นจะใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท การรถไฟฯ ถือหุ้น 100% โดยรัฐบาลให้กู้เงิน 200 ล้านบาทมาตั้งบริษัท

บริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด จะเข้ามาบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินและร่วมลงทุนกับเอกชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าจากที่ดินให้สูงสุด

จากปัจจุบัน รฟท.มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถ 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของมูลค่าสินทรัพย์ เพราะไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการพื้นที่ และอยู่ในโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจที่ไม่คล่องตัว ซึ่งจากการประเมินในระยะ 30 ปี บริษัท บริหารสินทรัพย์รถไฟ จำกัด จะสร้างรายได้ให้แก่การรถไฟฯ ถึง 631,628 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะนำมาแก้ไขปัญหาหนี้สิน และจุนเจือรายจ่ายในการบริหารงานองค์กรในอนาคต

รายได้ของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จะมาจาก 3 ส่วน คือ

1. รายได้จากค่ารับจ้างบริหารสัญญาเช่าเดิม 15,270 สัญญา โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของ รฟท.



2. รายได้จากการให้เช่าช่วงร่วมทุน หรือพัฒนาที่ดินเดิมที่หมดอายุสัญญา

3. รายได้จากโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนและการพัฒนาพื้นที่ดินเปล่าแปลงอื่นๆ และในอนาคตอาจมีรายได้จากการขายกระแสเงินสดในอนาคตให้กับกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

ในเบื้องต้นโครงการที่เป็นเป้าหมายของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ได้แก่ โครงการพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ในกรุงเทพฯ ประกอบด้วย ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน 2,325 ไร่ ย่านสถานีมักกะสัน 423 ไร่ (ส่วนที่เหลือนอกโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน) และย่านสถานีแม่น้ำ 277 ไร่

โครงการในพื้นที่ภาคเหนือประกอบด้วยย่านสถานีพิษณุโลก 31 ไร่ ย่านสถานีอุตรดิตถ์ 30 ไร่ ย่านสถานีนครลำปาง 24 ไร่ ย่านสถานีเชียงใหม่ 50 ไร่ ย่านสถานีศิลาอาสน์ 124 ไร่ และย่านสถานีนครสวรรค์ 92 ไร่

โครงการในพื้นที่ภาคใต้ ย่านสถานีหาดใหญ่ 30 ไร่

โครงการในพื้นที่ภาคอีสาน ย่านสถานีขอนแก่น 108 ไร่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปั้นมิกซ์ยูส 325 ไร่ กม.11 ดึงเอกชนลงทุน 50 ปีล้างหนี้
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 28 กันยายน 2563 - 10:30 น.


บอร์ด รฟท.ไฟเขียวเปิดประมูล ”บางซื่อแปลง A” อีกรอบ วัดใจเอกชนร่วมทุนหมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 5 ตุลาคม 2563 เวลา 09:17


บอร์ดรฟท.เห็นชอบเปิดประมูลพัฒนา”แปลงAบางซื่อ”อีกรอบ เดินให้สุดทาง ตามกม.ร่วมทุนฯ56 วัดใจเอกชน หากยังเมินค่อยปรับรวมแพคแปลงE .

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน ได้มีมติอนุมัติให้เปิดประกวดราคา คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A อีกครั้ง โดยใช้เงื่อนไขทีโออาร์ และ ดำเนินการตามพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2556 หลังจากที่มีการทำจัดประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) อีกครั้ง มีเอกชนให้ความสนใจเพิ่มเติม ซึ่งพื้นที่แปลงA นั้นอยู่ใก้กับสถานีกลางบางซื่อ ที่จะเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงในอนาคต

“บอร์ดรฟท.เห็นชอบให้เปิดประมูลตามทีโออาร์เดิมอีกรอบ อาจมีการปรับปรุงบ้างแต่ไม่มาก โดยจะรอดูผลการประมูลครั้งที่2 ก่อน หากยังไม่มีผู้ยื่นประมูล จะมีการพิจารณาอีกครั้ง”นายนิรุฒกล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า รฟท.ได้เปิดประมูลโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ แปลง A เนื้อที่ 32 ไร่มูลค่าลงทุน 11,721 ล้านบาท ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2556 เมื่อวันที่ 9 เม.ย. - 7 พ.ค. 2562 และให้ยื่นเอกสารวันที่ 30 ก.ค.62 โดยมีผู้ซื้อเอกสารทั้งสิ้น 3 ราย คือ 1.บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN 2. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ 3.บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEMแต่ปรากฏว่า ไม่มีผู้ยื่นประมูล

ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและมุมมองการลงทุนของเอกชน ส่วนการปรับเปลี่ยนทีโออาร์ต้องเสนอขออนุมัติคณะกรรมการ PPP ตามกฎหมายร่วมทุนฯเดิม ดังนั้นหากประมูลครั้งที่2 ยังไม่มีเอกชนสนใจ รฟท.จะปรับโดยนำพื้นที่แปลง E ประมาณ 79ไร่ มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท รวมกับแปลง A โดยพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แบบสผสมผสาน (มิกซ์ยูส) เนื่องจากแปลง A พื้นที่จะถูกแบ่งด้วยทางรถไฟ จะปรับเป็นพื้นที่รองรับสำนักงานแห่งใหม่ของ ร.ฟ.ท. เพื่อเพิ่มแรงจูงใจการลงทุน โดยใช้ระเบียบการรถไฟฯ ดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ. 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 6:42 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ย้ายแน่! ‘หมอชิต 2’ กลับพื้นที่เดิม ‘หมอชิตเก่า’ เปิดใช้ภายในปี 70 พ่วงรวมอยู่ในโครงการพัฒนา Complex 2.6 หมื่นล้าน ของ ‘บางกอกเทอร์มินอล’ ที่จะสร้างแล้วเสร็จในปี 67
ศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563

ชง'คจร.'ย้ายหมอชิตกลับพหลโยธิน
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์อยู่นี่ครับ:
ย้ายหมอชิตกลับที่เดิม ทุ่ม 2.6 หมื่นล้าน ปั้นสถานีแห่งใหม่พ่วงมิกซ์ยูสบนพหลโยธิน
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:43 น.

https://www.khaosod.co.th/economics/news_5048128


สนข.ล้มแผนชงคจร.ย้ายหมอชิตกลับที่เดิม
* ประชาชนจวกยับ"อย่าหาทำ"!!!!
*ผู้บริหารคมนาคมเดือดสั่งเย็บปาก
*พูดสวนศักดิ์สยาม-ปธ.บอร์ดบขส.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2728629060691928
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2020 2:40 pm    Post subject: Reply with quote

“ภาคประชาชน” ยื่นหนังสือถึง “ยูเอ็น” เรียกร้องพื้นที่ทำกินตามแนวเส้นทางรถไฟ
PPTV
5 ตุลาคม 2563 เวลา 13:20 น.
เครือข่ายสลัม 4 ภาค ร่วมกับภาคีเครือข่าย เดินรณรงค์เนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่อยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟ โดยกิจกรรมดังกล่าวมีการนัดรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเดินทางไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงฯ แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟ ก่อนเดินทางไปยังองค์การสหประชาชาติ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ และยื่นหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติ พร้อมกันนี้ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรัฐบาลเดินทางมารับหนังสือดังกล่าวด้วย
.
โดย ตัวแทนของเครือข่ายฯ ระบุว่า ขณะนี้เป็นที่น่าเสียดายที่รัฐบาลเร่งรีบดำเนินการพัฒนาโครงการต่างๆ โดยมองข้ามความรับผิดชอบในการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่อาศัยที่เพียงพอและมั่นคงสำหรับผู้ลำบากของเมืองเป็นเวลาหลายทศวรรษ
.
ด้าน นายอนุชา กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนของรัฐบาล ขอเวลาในการทำงานเนื่องจากตนเข้ามาดำรงตำแหน่งได้ไม่นาน ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้เป็นประธานในการประชุมเพื่อแก้ปัญหาช่วงเดือนตุลาคมนี้ (เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563)
.
PPTV PHOTO #ชินชมดี
#PPTVHD36 #PPTVNews #ช่อง36 #เครือข่ายสลัม4ภาค #กระทรวงคมนาคม #องค์การสหประชาชน #ยูเอ็น #ที่อยู่ #อนุชานาคาศัย


Note: อิดหนาระอาใจกะ NGOs ชาวสลัมที่จะเล่นที่ดินรถไฟหากินเสียแล้ว
https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1997167/srt-asked-to-respect-slum-dwellers
https://www.facebook.com/PPTVHD36/posts/4966306346720438
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 164, 165, 166 ... 197, 198, 199  Next
Page 165 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©