Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179894
ทั้งหมด:13491126
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 384, 385, 386 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2020 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

ก้าวเข้าใกล้อีกก้าวสำหรับ มหาอำนาจทางรางอันดับหนึ่งของอาเซียน
Ruang Kaewhela
30 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 08:09 น.

ของไทยใช้รุ่นนี้! มาชมรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช CR300AF รุ่นที่จะใช้วิ่งจริงในไทย รองรับความเร็วสูงสุด 300 กม./ชม. วิ่งจริงที่ความเร็ว 250 กม./ชม. #มีไวไฟ #พร้อมที่ชาร์จมือถือและคอมพิวเตอร์
.
#กรุงเทพโคราชห่างกันแค่90นาที โดยขบวนรถ CR300AF ที่จะนำมาวิ่งในเส้นทางกรุงเทพนครราชสีมา มีทั้งหมด 594 ที่นั่ง/ขบวน แบ่งเป็น 2 คลาสโดยสาร
.
ชั้นโดยสาร First Class จะอยู่บริเวณตู้ที่ 1 และตู้ที่ 8 ของขบวน ความจุผู้โดยสารตู้ละ 48 ที่นั่ง รวม 96 ที่นั่ง/ขบวน จัดผังที่นั่งแบบฝั่งละ 2-2
.
ชั้นโดยสาร Second Class จะเป็นตู้ที่ 2-3-4-5-6-7 รวมทั้งหมด 498 ที่นั่ง จัดผังที่นั่งแบบฝั่งละ 3-2
.
มีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร พร้อมห้องน้ำสำหรับผู้พิการ มีช่องเก็บกระเป๋าสัมภาระขนาดใหญ่
.
ขบวนรถ CR300AF ผลิตโดยวิศวกรรมและเทคโนโลยีของประเทศจีนทั้งหมด ของบริษัท CRRC Qingdao Sifang เป็นขบวนรถรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาโดย CRRC
ที่มา Bangkok i love you
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 2:00 am    Post subject: Reply with quote

เปิดงบระบายน้ำ กทม.ปี’64 กว่า 6 พันล้าน-สร้างอุโมงค์ พัฒนาระบบระบายน้ำ แนวไฮสปีดเทรน
วันที่ 4 ตุลาคม 2563 - 14:54 น.

งานนี้ กทม. ได้งบรื้อย้ายท่อระบายน้ำเลียบทางรถไฟ และ ใกล้ทางรถไฟเสียที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2020 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

เจาะปัญหาไก่กับไข่ ที่ทำให้ "อีอีซี" ไม่เกิด "ทุนญี่ปุ่น" ไม่มา
สกู๊ปไทยรัฐ

ผู้เขียน: เหมือนพระอาทิตย์
กราฟิก: Supassara Traiyansuwan
ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 5 ตุลาคม 2563 - 07:00 น.

ณ งบประมาณปี 2562 มีบริษัทมาลงทุนจริงในพื้นที่ "อีอีซี" 380 ราย มูลค่าลงทุนรวม 3.68 แสนล้านบาท
นักลงทุนให้ความสนใจซื้อ/เช่าพื้นที่ใน "อีอีซี" แล้ว 44,726 ไร่ หรือกว่า 70% ของพื้นที่ทั้งหมด
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดกว่า 7,853 ไร่ (ตลอดแนวดอนเมือง-อู่ตะเภา พื้นที่พัฒนามักกะสันและศรีราชา)

"อีอีซี" คืออะไร?

จากวันแรกจนมาถึงวันนี้ เชื่อว่าหลายคนยังมีคำถามแบบข้างต้นอยู่ แม้ว่าจะมีข่าวบนหน้าสื่อให้ได้เห็นมาตลอด ทั้ง "ต่างชาติแห่ลงทุนอีอีซี" หรือ "ที่ดินอีอีซีฮอต" แต่...ก็ยังไม่มีใครเห็นภาพว่า "อีอีซี" (EEC) ที่ว่านั้นเป็นอย่างไร

ยิ่งพอมี "โควิด-19" (COVID-19) จากที่มองไม่เห็นภาพอยู่แล้ว ก็ขมุกขมัวเข้าไปใหญ่ หาเค้าโครงแทบไม่เจอ แถมยังโดนข่าวถาโถมซ้ำไปอีกว่า "ทุนญี่ปุ่นกำลังย้ายฐานหนี" งานนี้ดูแววแล้ว "อีอีซี" ท่าจะเกิดยาก แต่หากอยากจะให้เกิดก็ใช่ว่าเป็นไปได้ เพียงแต่...ต้องแก้ "ปัญหา" ให้ได้ซะก่อน

แต่ก่อนจะไปว่ากันถึง "ปัญหา" ที่ทำให้ "อีอีซี" เกิดไม่ได้สักที

ไปดูกันก่อนว่า "อีอีซี" (EEC) หรือโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) นั้นคืบหน้าถึงไหนแล้ว

ซึ่งหากดูตามกรอบเวลาการพัฒนา "อีอีซี" ปี 2563 นี่ก็ถือเป็นปีแห่งการเจรจาต่อรองกันอยู่ หากจะได้เห็นภาพสมบูรณ์จริงๆ ก็ต้องนู่นเลย...ปี 2568 ไล่เรียงไทม์ไลน์กันทีละโครงการไป


เริ่มจากปี 2565 โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EEcd) โดยบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด

ปี 2566 ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานฯ โดยบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา โดยกองทัพเรือ

และปี 2568 ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย

ทั้ง 5 โครงการที่ว่านั้น หลายๆ คนคงคุ้นชื่อคุ้นหูกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่มี "เจ้าสัวซีพี" เข้ามาแจมด้วยจนเป็นข่าวครึกโครมกันไป แต่...เราจะยังไม่ขยายความในส่วนนี้ ขอยกไปช่วงท้าย มาว่ากันด้วยภาพรวมความคืบหน้ากันก่อน


ที่นับตั้งแต่ปี 2560 ในพื้นที่ "ระยอง, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา" 3 จังหวัดภาคตะวันออก "อีอีซี" ได้ประกาศเขตส่งเสริมไปแล้วถึง 23 เขต เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย 21 เขต และอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน 2 เขต รวมทั้งหมดมีนักลงทุนซื้อ/เช่าพื้นที่แล้ว 44,726 ไร่ จากพื้นที่ 64,487 ไร่ หรือคิดเป็นกว่า 70% และจากการชักจูงการลงทุนใน 10 ประเทศ (21 ครั้ง) ก็มีการลงนามความร่วมมือ (MOU) ไปแล้ว 3 ประเทศ แน่นอนว่า 1 ใน 3 ประเทศ คือ "จีน"

สรุปมีบริษัทลงทุนจริงใน "อีอีซี" 380 ราย มูลค่ารวม 3.68 แสนล้านบาท โดย จ.ชลบุรี มีการลงทุนสูงที่สุด 172 ราย มูลค่า 2.28 แสนล้านบาท รองลงมาเป็น จ.ระยอง 143 ราย มูลค่า 1.22 แสนล้านบาท และ จ.ฉะเชิงเทรา 65 ราย มูลค่า 1.79 หมื่นล้านบาท

มาถึงตรงนี้...บางคนคงจะสงสัย "ไหนว่าอีอีซีไม่เกิด?"

มีเม็ดเงินลงทุนสูงถึงแสนล้านขนาดนี้ "อีอีซี" จะไม่เกิดได้อย่างไร

ก็ต้องขอตอบว่า ที่หลายๆ คนบอกว่า "อีอีซี" ไม่เกิดนั้น นั่นก็เพราะเม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็น "การขยายลงทุนจากบริษัทเดิม" หน้าใหม่เขาไม่ค่อยมา และรายเดิมๆ ที่ว่านั้นก็เสียวๆ อยู่ว่าจะ "ย้ายฐานหนี" เหมือนอย่างบางรายที่อาศัยใช้จังหวะโควิด-19 ชิ่งไปหาเพื่อนบ้านเราก่อนแล้ว

ทำไม "เขา" ถึงไม่มาอีอีซี?


⁍ ถึงเวลาจนบัดนี้ "อีอีซี" ยังไม่เกิด
หากย้อนดูข้างต้น สิ่งที่เกิดคือ "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" กับ "สนามบินอู่ตะเภา" ที่เป็นการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานรองรับ "อีอีซี" ...และในเมื่อโครงสร้างพื้นฐานไทยไม่ได้เลวร้าย แทบจะดีกว่าหลายๆ ประเทศในอินโดจีน แต่ทำไม "อีอีซี" คนถึงไม่มา?

ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสสนทนากับหลายๆ ท่าน มอง "ปัญหา" ตรงกันว่า จุดอ่อนของ "อีอีซี" คือ "ไม่มีน้ำ!!"

ซึ่งหนึ่งในคนที่มองเห็นจุดอ่อนนี้ คือ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ยืนยันเสียงแข็งว่า "อีอีซี" ไม่มีทางเกิด ถ้าตราบใดไม่ให้ความสำคัญกับปัญหา "น้ำ"

แล้ว "ท่านๆ ที่ดูแลอีอีซี" มองเห็น "ปัญหา" นี้ไหม? (ไม่รู้...)

แต่อย่าเพิ่งคิดว่ามีแค่ "ปัญหาน้ำ" ปัญหาเดียว

ยังมีอะไรลงลึกไปอีก...

"อีอีซี...มีอะไรให้เขา?"


ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้คำตอบด้วย "คำถาม" คำถามที่มาจาก "ทุนญี่ปุ่น" (ที่สะท้อนมารอ "ท่านๆ" ตอบ) ก่อนจะไล่เรียงให้ได้เห็นภาพ...ถึง "ปัญหา" คาใจนั้น

"อีอีซี" ...มี "ไฟ" โอเคราคามาตรฐานไม่เป็นไร "ถนนหนทาง" ดีกว่าคนอื่นอยู่แล้ว 2 อย่างนี้ไทยได้เปรียบคนอื่นอยู่เยอะ "ที่ดิน" แค่จะเริ่ม "อีอีซี" ราคาขึ้นไปแล้ว 2-3 เท่าตัว สมมติว่าที่ดินไม่แพงกว่า แต่..."เขา" ก็ยังไม่มา ...ทำไม?

"เขาต้องการที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน (จากเรา) ทุนเป็นของเขาเอง เครื่องมือ เครื่องจักรทั้งหลาย เทคโนโลยีก็ของเขาเอง สิ่งที่ขาดจริงๆ คืออะไร? ...ทรัพยากรมนุษย์"

ในเมื่อ "อีอีซี" จะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่หลอมรวม Hi-Tech Industry แต่ "แรงงาน" ที่เรามีกลับไม่ตอบสนองความต้องการเขา นี่คือคำตอบ "ทรัพยากรมนุษย์" ที่ ดร.ทนง กำลังจะอธิบายให้ได้เข้าใจ

"เป็น 'ไก่กับไข่' แล้ว มหาวิทยาลัยบอก 'ก็ยังไม่มีเลย Hi-Tech Industry แล้วจะทำไปทำไม สอนคนทำ Robotic ทำไม...ออกมาแล้วไม่มีงานทำ' ส่วนคนที่ต้องการคนทำ Robotic เพื่อส่งออก ก็บอกว่า 'ไม่มีทรัพยากรมนุษย์ให้เขาเลย' ปัญหาทุกอย่างเป็น 'ไก่กับไข่' จะทำอย่างไรที่จะสร้าง 'ไข่' ออกมาก่อนเพื่อเป็น 'ไก่' ให้ได้"


แล้วทำไมเขาไม่ขน "แรงงาน" เข้ามา? ...เชื่อว่านี่คือคำถามที่หลายคนอยากย้อนถามกลับไป ซึ่ง ดร.ทนง ก็ให้ "คำตอบ" ที่ชัดเจน คือ 1.เราไม่ค่อยอนุญาต อยากให้ใช้แรงงานไทย 2.ถึงให้เขาขนคนเข้ามา ค่าใช้จ่ายก็สูงมากๆ จากญี่ปุ่นมาไทยต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอีกเท่าไร เอามาเยอะไม่ได้

สรุปภาพง่ายๆ ว่า "อีอีซี" จะเกิดได้ ปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ต้องมีพร้อม สมัยก่อนมีความพร้อม เพราะมีที่ดินถูก แรงงานถูก เทคโนโลยีเขาเอาเข้ามาเอง เครื่องจักรทนมือทนเท้า คนไทยกดผิดกดถูกก็ไม่เสียหาย แต่อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ดิจิทัลสมัยใหม่ กดผิดพังเลย นี่คือสิ่งที่ต้องการการศึกษาเพื่อดิจิทัลเทคโนโลยี ...กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา คิดอะไรบ้างกับเรื่องพวกนี้...

"อีอีซีผ่านมากว่า 5 ปีแล้ว Hi-Tech Industry ยังไม่สนใจมาลงทุนเลย ในส่วนอุตสาหกรรมเดิมก็มีการปรับปรุงเทคโนโลยีบ้าง แต่ว่าอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่หวังจะให้เกิด 4-5 อย่าง ...มันไม่เกิด"

หากเป็นอย่างที่ว่านั้น...ก็คงคาดว่ากว่า อีอีซี จะเกิดจริงๆ ก็คงใช้เวลาลากยาวไปอีกหลายปี เพราะที่ว่าๆ มาทั้งหมดนี้ ทั้ง "น้ำ" ทั้ง "คน" ...ก็ยังไม่เห็น "ท่านๆ" ออกมาให้ความสนใจเป็นจริงเป็นจังสักเท่าไร...

มาว่ากันต่อที่ "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" หนึ่งในโปรเจกต์ของ "อีอีซี"

ที่ว่ากันว่ามาเพื่อ "แก้รถติด!"


⁍ "รถไฟความเร็วสูง" ขนคน ย้ายคน
อะไรคือ ขนคน ย้ายคน ...?

หากคนที่ติดตาม "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" ก็คงจะพอรู้คร่าวๆ ว่าคืออะไร แต่ใครที่ไม่ค่อยได้ตาม หรือตามผ่านๆ เรามาไล่เรียงไปด้วยกัน

"รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" เรียกว่าล่าช้าไปกว่าที่วางเอาไว้หลายปี แถมยังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง ที่ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน หลังจากได้ผู้ชนะประมูล คือ กลุ่มบริษัทที่นำโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ "ซีพีกรุ๊ป" (CP Group) ร่วมด้วยบริษัทก่อสร้างเส้นทางรถไฟจีน (China Railway Construction Corp.) และได้ลงนามสัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 คาดการณ์ว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2568 อย่างที่บอกไปตอนต้น โดยครอบคลุมการลงทุนกว่า 2.24 แสนล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขอสังหาริมทรัพย์และใบอนุญาตดำเนินการเส้นทางรถไฟ 50 ปี!

แม้ว่าจะใช้ "รถไฟความเร็วสูง" ที่เป็นเทคโนโลยีจีน และไทยยังปฏิเสธเงินกู้จากจีน แต่โปรเจกต์นี้ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21" หรือที่เรียกว่า Belt and Road Initiative (BRI) ที่จะเชื่อม "จีน" ไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ผ่านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งแบบใหม่


ในส่วนไทยเอง "รถไฟความเร็วสูง" จะเชื่อม 2 สนามบินของกรุงเทพฯ คือ สุวรรณภูมิ และดอนเมือง กับ 3 จังหวัดภาคตะวันออก โดยเส้นทางเริ่มจาก "ดอนเมือง" ผ่านไปยัง "บางซื่อ" และหยุดที่ "มักกะสัน" ที่จะเป็นศูนย์กลางกรุงเทพฯ (ในอนาคต...ขอให้จับตาให้ดี) ก่อนจะเดินทางต่อไปยังฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ศรีราชา และพัทยา เส้นทางกว่า 137 ไมล์นี้ จะสิ้นสุดที่ "สนามบินอู่ตะเภา" ในระยอง

สำหรับ "สนามบินอู่ตะเภา" มีแพลนว่าอาจจะย้าย 10% ของเที่ยวบินไปอยู่ที่นี่ เพื่อลดความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง (ก็ต้องรอดู...หากมีโอกาสจะพาทุกท่านไปส่องทำเล)

รถไฟความเร็วสูง...ขนคน

จากการคาดการณ์น่าจะอยู่ที่ 1.47 แสนคนต่อเที่ยวต่อวัน ซึ่งการ "ขนคน" ของรถไฟความเร็วสูงนี้ หวังกันไว้ว่าจะช่วยลดการจราจรบนทางหลวง รวมถึงอุบัติเหตุ ที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตบนถนนสูงที่สุดในโลก

หากถามว่า "รถไฟความเร็วสูง" นี่จะเร็วแค่ไหน คำตอบก็คือ จากสนามบินดอนเมืองไปสุวรรณภูมิอาจจะใช้เวลาเพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้น และการไปพัทยาก็อาจใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง


แต่รถไฟความเร็วสูง...ที่ขนคน ยัง "ย้ายคน" ด้วย

"ย้ายคน" ที่ว่าก็คือ การย้ายคนที่เกิดจากการ "เวนคืนที่ดิน" ตลอดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่คาดการณ์ว่าอาจมีบ้านเรือนถูกรื้อถอนกว่า 3,000 หลังคาเรือน

แต่การจะย้ายคนจำนวนมากขนาดนั้นมันไม่ง่าย (โดยเฉพาะทำเลศูนย์กลาง...) บางทีอาจต้องเข้าสู่กระบวนการศาลและใช้เวลานาน

นี่คือ "ปัญหา" ที่น่าเป็นห่วง จะสามารถเวนคืนได้ตามเป้าหมายแค่ไหน และหลังจากเวนคืนเรียบร้อยแล้ว สองข้างทางจะเป็นอย่างไร แรงดึงดูดสองข้างทางจะเพียงพอไหม หรือแค่รถไฟความเร็วสูงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จากนี้คงได้เห็นการเปลี่ยนแปลง "ชุมชนเมือง" ในหลายๆ จุด ...แล้ว "ย้ายคน" ที่ว่านั้น พวกเขาจะไปอยู่ตรงไหนต่อ?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2020 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

ฤกษ์ดี 28 ต.ค.”นายกฯ”ลงนามไฮสปีดไทย-จีน 5 หมื่นล้าน *สัญญา 2.3 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา*”คมนาคม”สั่งเร่งเคลียร์ปัญหาให้จบ
ดีเดย์! 28 ต.ค.นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ เซ็นสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน 5.06 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 6 ตุลาคม 2563 เวลา 20:23
28 ต.ค. นายกฯลงนาม"ไฮสปีดกรุงเทพฯ-โคราช"
อังคารที่ 6 ตุลาคม 2563 เวลา 19.02 น.

ฤกษ์ดี 28 ต.ค. “นายกฯ” ลงนามสัญญา 2.3 ไฮสปีดไทย-จีน 5 หมื่นล้าน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ”คมนาคม”สั่งเร่งเคลียร์แบบสถานีอยุธยา เร่งตั้งสถาบันราง

นายกฯ ประธานดีเดย์ 28 ต.ค.ลงนามสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน ซื้อระบบ 5.06 หมื่นล้าน “ศักดิ์สยาม”สั่งเร่งแก้ 2 โจทย์ ชงคชก.และ สผ.ปลดล็อก EIA ช่วงบ้านภาชี-โคราช และปรับแบบสถานีอยุธยา ขณะที่มอบ”ชยธรรม์”เร่งตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ได้ตอบรับเป็นประธานในการลงนามสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ในวันที่ 28 ต.ค. 2563

ทั้งนี้ รถไฟความเร็งสูงไทย-จีน ยังมีโจทย์ที่ต้องดำเนินการ 2 เรื่องคือ การปรับแบบสถานีอยุธยาเพื่อไม่ให้บดบังโบราณสถาน ล่าสุดทราบว่ากรมการขนส่งทางราง (ขร.) โดยนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ได้หารือกับอธิบดีกรมศิลปากรถึงแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันเรียบร้อยแล้ว และเร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) เสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(คชก.) ซึ่งจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้า

และมอบหมายให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เร่งรัดการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางโดยให้เร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา เนื่องจากเป็นสถาบันสำคัญที่เป็นศูนย์ด้านบุคลากรและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบราง โดยให้ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เพื่อเปิดรับนักศึกษาสายอาชีวศึกษา เข้ามายังสถาบันต่อไป

สำหรับ สัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีนนั้น เป็นสัญญาการจ้างรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นตัวแทนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีประสบการณ์ตรงด้านการพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่ได้รับการรับรองคุณภาพและประสิทธิภาพจากNational Development and Reform Commission แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD. และ CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) มาเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูง จัดหาขบวนรถไฟ และฝึกอบรมบุคลากร ชื่อสัญญาภาษาอังกฤษว่า The Trackwork, Electrical and Mechanical (E&M) System, EMU, and Training Contract
โดยจะมีงาน 3 ช่วง คือ 1. ออกแบบระบบ และออกแบบระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนออกแบบขบวนรถไฟความเร็วสูง 2.งานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และการถ่ายทอดเทคโนโลยี 3.งานก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบ ระยะเวลา 64 เดือน

ทั้งนี้ ครม.เมื่อวันที่ 29 ก.ค. มีมติเห็นชอบ ปรับกรอบวงเงิน สัญญา 2.3 โครงการ รถไฟ ไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา จากวงเงินเดิมที่ครม. เคยอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2560 ที่ 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 12,075.12 ล้านบาทซึ่งไม่กระทบกับกรอบวงเงินรวมของโครงการรวมที่ 179,412.21 ล้านบาท

ซึ่งวงเงินที่ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย
1.การย้ายขอบเขตงานของงานระบบรถไฟความเร็วสูงที่ซ้อนทับอยู่ในขอบเขตของงานโยธาเป็นเงิน 7,032.78 ล้านบาท ซึ่งเป็นงานจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Maintenance) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับขบวนรถไฟฟ้า (EMU Facility) โรงเชื่อมรางและกองเก็บ (Track Welding and Storage Base) และโรงกองเก็บราง (Long Track Storage Base) จึงได้ย้ายขอบเขตงานจากงานโยธาไปไว้ยังงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลฯ

2.การเปลี่ยนรุ่นขบวนรถ EMU จากรุ่น CRG2G (Hexie Hao) เป็น CR Series (Fuxing Hao) ซึ่งเป็นรถรุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีและสมรรถนะที่ดีกว่า เป็นเงินเพิ่มขึ้น 2,530.38 ล้านบาท

3. การปรับเปลี่ยนทางแบบใช้หินโรยทาง (Ballasted Track) เป็นทางแบบไม่ใช้หินโรยทาง ( Ballastless Track) ในทางวิ่งช่วงสถานีบางซื่อ – สถานีดอนเมือง ในสถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง สถานีนครราชสีมา และภายในอุโมงค์เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในอนาคต อีกทั้งยังรักษาภาพลักษณ์และทัศนียภาพตลอดจนมลภาวะต่างๆ ที่จะเกิดจากการซ่อมบำรุงทางในสถานีซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองและภายในอุโมงค์ คิดเป็นค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนโครงสร้างทาง เป็นเงินทั้งสิ้น 2,227.57 ล้านบาท

4.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารับประกันผลงานจากความชำรุดบกพร่องจาก 1 ปี เป็น 2 ปี ตามระเบียบฯ ค่าดำเนินการต่าง และอื่นๆเป็นจำนวนเงิน 284.39 ล้านบาท

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2729627023925465
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2020 12:01 pm    Post subject: Reply with quote


บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ได้นำคณะทีมที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน ลงพื้นที่ดูแลเส้นทางก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงฯ เพื่อระดมสมองจัดทำแผนพัฒนาบริการเชิงพาณิชย์ควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน
https://www.youtube.com/watch?v=50nX0KjgibE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2020 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

อิตาเลียน ฝันค้างถูกค้านซิวประมูลรถไฟไทย-จีน 9.3 พันล. ชงกรมบัญชีกลางชี้ขาด
เศรษฐกิจ
พุธที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา 11:02 น.

บริษัท นภาก่อสร้าง ยื่นอุทธรณ์ ผลการประมูลไฮสปีดไทย-จีน สัญญา 3-1 วงเงิน 9.3 พันล้าน บาท ซึ่งอิตาเลียนไทย เป็นผู้ชนะการประมูล ด้านรฟท. เตรียมชงกรมบัญชีกลางชี้ขาด

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเปิดประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วง แก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก – บันไดม้า ระยะทาง 30 กิโลเมตร ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ว่า ขณะนี้บอร์ด รฟท.ได้อนุมัติผลการประมูลในโครงการดังกล่าว

และ รฟท.ได้ทำการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคาไปแล้ว ซึ่งได้แก่ บริษัท ITD-CREC No.10JV ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน)ร่วมกับพันธมิตร ซีอาร์อีซี (CREC: China railway Engineering corporation) โดยกลุ่มบริษัทดังกล่าวเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้านบาท ต่ำกว่าราคาซึ่งอยู่ที่ 11,386 ล้านบาท หรือต่ำกว่า 2,037 ล้านบาท

แต่ล่าสุดพบว่า บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด ที่จับมือกับพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนที่เข้าแข่งขันยื่นซองประมูลครั้งนี้ ได้ทำการยื่นอุทธรณ์ผลการประมูล เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกได้ตัดสิทธิ์บริษัท นภาฯ โดยให้เหตุผลว่าไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเพราะเอกสารการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ไม่ถูกต้อง ขณะที่เมื่อนำราคาประมูลมาเปรียบเทียบแล้วบริษัทนภาฯ เสนอราคาต่ำกว่า อิตาเลียนไทยฯ ซึ่งผู้ชนะการประมูลครั้งนี้เสนอ

ทำให้ รฟท. จะต้องส่งเรื่องดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางพิจารณาคำอุทธรณ์เพื่อชี้ขาดการพิจารณา ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 หากกรมบัญชีกลางพิจารณาเห็นว่าผลการประมูลถูกต้อง รฟท.ก็จะรอขั้นตอนการลงนามในสัญญาต่อไป ซึ่งหากบริษัท นภาฯไม่พอใจผลการพิจารณา ก็สามารถฟ้องร้องต่อในชั้นศาลได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2020 1:02 am    Post subject: Reply with quote

ยูเนสโกส่งสัญญาณรถไฟความเร็วสูงกระทบมรดกโลกอยุธยา

สยามรัฐออนไลน์
7 ตุลาคม 2563 เวลา 15:24 น.
ยูเนสโก ห่วง "สถานีรถไฟเร็วสูงอยุธยา" กระทบมรดกโลก
7 ตุลาคม 2563 เวลา 17:28:06 น.

ศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโก ยื่นหนังสือถึงกรมศิลปากร แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อโบราณสถานที่เป็นมรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดประกายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือหามาตรการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งด้านภูมิทัศน์และคุณค่าความโดดเด่นของมรดกโลกในพื้นที่"

ยูเนสโกส่งสัญญาณหามาตรการล้อมคอกรถไฟความเร็วสูงกระทบมรดกโลกอยุธยา
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการประชุมหารือร่วมกับ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และนายพิเชฐ คุณา ธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีประเด็นพิจารณาการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย โดยอยู่ระหว่างการสร้างเส้นทางช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ซึ่งเส้นทางดังกล่าวได้ผ่านบริเวณสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และผ่านในพื้นที่ใกล้กับแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ส่งผลให้หลายฝ่ายมีความวิตกกังวลถึงการก่อสร้างสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ เพื่อรองรับระบบการคมนาคมขนส่งทางรางในบริเวณนั้น จะส่งผลต่อสถานีรถไฟ เดิมที่เป็นโบราณสถานและแหล่งมรดกโลก

นายประทีป กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโก ได้มีหนังสือส่งมายังกรมศิลปากร แสดงความห่วงใยและกังวลถึงโครงการดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะให้หามาตรการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ทั้งด้านภูมิทัศน์และคุณค่าความโดดเด่นของมรดกโลก ดังนั้นจึงหารือแนวทางการลดผลกระทบในทางลบแก่โบราณสถานและแหล่งมรดกโลก ซึ่งที่ประชุมได้มีความเห็นในเบื้องต้นว่าในการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีนั้น ให้พยายามลดขนาดของอาคารโดยยึดหลักความเรียบง่ายและความจำเป็นในการใช้งาน รวมทั้งให้ความสำคัญกับประโยชน์ใช้สอยหลักทางด้านการคมนาคม ขณะที่การพัฒนาพื้นที่เพื่อการสันทนาการและการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ สำหรับการพัฒนาพื้นที่เพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้านั้น ให้ถือเป็นความสำคัญในลำดับรอง พร้อมกันนี้ ให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณารูปแบบสถานีและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีร่วมกันต่อไป
“อธิบดีกรมศิลปากรในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม จะนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม มีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม เป็นประธานในวันที่ 9 ต.ค. นี้ จากนั้นจะส่งการประชุมต่อไปยังคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกต่อไป” นายประทีป อธิบดีกรมศิลป์ กล่าว

ยูเนสโกจี้ไทยหามาตรการล้อมคอกรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย กระทบมรดกโลกอยุธยา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 8 ตุลาคม 2563 เวลา 12:53



ศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโก ส่งหนังสือถึงกรมศิลปากร แสดงความห่วงใย โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย วิ่งผ่านใกล้อุทยานประวัติศาสตร์ หวั่นส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์และคุณค่าความโดดเด่นของโบราณสถาน แนะลดขนาดของสถานีอยุธยา และยึดหลักความเรียบง่าย

วันนี้ (8 ต.ค.) นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการประชุมหารือร่วมกับ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และ นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีประเด็นพิจารณาการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยอยู่ระหว่างการสร้างเส้นทางช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งเส้นทางดังกล่าวได้ผ่านบริเวณสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และผ่านในพื้นที่ใกล้กับแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ส่งผลให้หลายฝ่ายมีความวิตกกังวลถึงการก่อสร้างสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ เพื่อรองรับระบบการคมนาคมขนส่งทางรางในบริเวณนั้น จะส่งผลต่อ สถานีรถไฟ เดิมที่เป็นโบราณสถาน และแหล่งมรดกโลก

นายประทีป กล่าวด้วยว่า ศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโก ได้มีหนังสือส่งมายังกรมศิลปากร แสดงความห่วงใย และกังวลถึงโครงการดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะให้หามาตรการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ทั้ง ด้านภูมิทัศน์ และคุณค่าความโดดเด่น ของมรดกโลก

จากปัญหาดังกล่าวจึงได้หารือแนวทางการลดผลกระทบในทางลบแก่โบราณสถานและแหล่งมรดกโลก โดยที่ประชุมได้มีความเห็นในเบื้องต้นว่าในการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและการพัฒนา พื้นที่โดยรอบสถานีนั้น ให้พยายามลดขนาดของอาคารโดยยึดหลักความเรียบง่ายและความจำเป็นในการใช้งาน รวมทั้งให้ความสำคัญกับประโยชน์ใช้สอยหลักทางด้านการคมนาคม ขณะที่การพัฒนาพื้นที่เพื่อการสันทนาการ และการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ สำหรับการพัฒนาพื้นที่เพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า นั้น ให้ถือเป็นความสำคัญในลำดับรอง พร้อมกันนี้ ให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณารูปแบบสถานีและการพัฒนา พื้นที่โดยรอบสถานีร่วมกันต่อไป

“ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ผมจะนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม เป็นประธาน ในวันที่ 9 ต.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม จะส่งการประชุมต่อไปยัง คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ต่อไป” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ เมื่อปี 2555 กองทุนมรดกโลกประกาศรายชื่อ 10 มรดกทางสถาปัตยกรรมของเอเชีย ที่กำลังถูกภัยคุกคามจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ สงคราม และการท่องเที่ยว “ทำลายลงอย่างไม่อาจซ่อมแซมให้กลับดีดังเดิมได้” โดยอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาของไทยติดอันดับเสี่ยงมากที่สุด โดยมีรายชื่อ โบราณสถาน 10 แห่งในเอเชียที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายตามรายงานจากกองทุนมรดกโลก ได้แก่

1. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าแห่งสยามที่ได้ชื่อว่า “เวนิสแห่งตะวันออก”
2. ป้อมปราการซันติอาโก ในฟิลิปปินส์
3. เมืองคัชการ์ (คาสือ) หนึ่งในเมืองเก่าแก่บนเส้นทางสายไหมของจีน
4. มหาสธานคร (Mahasthangarh) ในบังกลาเทศ


5. พุทธสถาน Mes Aynak ในอัฟกานิสถาน
6. เมืองโบราณ มรัค-อู ในรัฐยะไข่ของพม่า
7. ทุ่งไหหิน ในลาว
8. ปราสาทพระวิหาร ในกัมพูชา
9. ศาสนสถาน Rakhigari ในอินเดีย
10. ตักศิลา ในปากีสถาน


Last edited by Wisarut on 12/10/2020 2:11 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/10/2020 7:54 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อิตาเลียน ฝันค้างถูกค้านซิวประมูลรถไฟไทย-จีน 9.3 พันล. ชงกรมบัญชีกลางชี้ขาด
เศรษฐกิจ
พุธที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา 11:02 น.

'อิตาเลียนไทย'คว้าประมูล โยธาไฮสปีดเทรนไทย-จีน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กรุงเทพธุรกิจ ร.ฟ.ท.เร่งแจงกรมบัญชีกลาง ชี้ขาดผลประมูลงานโยธา ไฮสปีดเทรนไทย-จีน หลัง "อิตาเลียนไทย" ดั๊มพ์ราคา 9.3 พันล้าน คว้าประมูลสัญญา 3-1 ขณะที่เอกชนคู่แข่งยื่นอุทธรณ์ร้องถูกตัดสิทธิไม่ผ่านคุณสมบัติ

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเปิดประกวดราคาจ้าง ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ มหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ มหานคร-นครราชสีมา) ว่าขณะนี้ คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติผลการประกวดราคางานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วง ปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30 กิโลเมตร (กม.) ตามที่ ร.ฟ.ท.ได้เปิดประกวดราคาด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ไปก่อนหน้านี้ โดยผลการประกวดราคาปรากฏว่าบริษัท ITD-CREC No.10JV ซึ่งประกอบด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับพันธมิตร ซีอาร์อีซี CREC : China railway Engineering corporation เป็นผู้ชนะการประกวดราคา โดยกลุ่มบริษัท ดังกล่าวเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้าน บาท ต่ำกว่าราคาซึ่งอยู่ที่ 11,386 ล้านบาท หรือต่ำกว่า 2,037 ล้านบาท

แต่ล่าสุดพบว่าบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด และพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนยื่นซองประกวดราคาครั้งนี้ทำการยื่นอุทธรณ์ผลการประมูล โดยแย้งผลการประกวดราคา เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกได้ตัดสิทธิบริษัท นภาฯ ด้วยเหตุผลว่าไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเพราะเอกสารการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ ไม่ถูกต้อง ขณะที่เมื่อนำราคาประมูลมาเปรียบเทียบแล้ว พบว่าบริษัทนภาฯ เสนอราคาต่ำกว่าอิตาเลียนไทยฯ ซึ่งผู้ชนะ การประกวดราคา

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะส่งเรื่องดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางพิจารณาคำอุทธรณ์เพื่อชี้ขาดตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 โดยหากกรมบัญชีกลาง พิจารณาแล้วเห็นว่าผลการประมูลถูกต้อง ร.ฟ.ท.ก็จะดำเนินการตามขั้นตอนลงนามในสัญญากับผู้ชนะการประกวดราคาต่อไป ซึ่งหากบริษัท นภาฯ ต้องการค้านผลการพิจารณาดังกล่าว ก็สามารถฟ้องร้องตามกระบวนการศาล สำหรับงานโยธารถไฟไทย-จีนจำนวน 14 สัญญา กรอบวงเงิน 117,914.08 ล้านบาท ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.สามารถประกวดราคาและเริ่มงานก่อสร้างแล้ว 2 สัญญา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2020 5:46 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ยูเนสโกส่งสัญญาณรถไฟความเร็วสูงกระทบมรดกโลกอยุธยา

สยามรัฐออนไลน์ 7 ตุลาคม 2563 15:24 น.


ยูเนสโกห่วง'สถานีไฮสปีดอยุธยา' หามาตรการดูแล ไม่กระทบมรดกโลก

07 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:00 น.

Click on the image for full size

วันที่ 7 ต.ค. - นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการประชุมหารือร่วมกับ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และนายพิเชฐ คุณา ธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีประเด็นพิจารณาการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย โดยอยู่ระหว่างการสร้างเส้นทางช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ซึ่งเส้นทางดังกล่าวได้ผ่านบริเวณสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยาที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และผ่านในพื้นที่ใกล้กับแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ส่งผลให้หลายฝ่ายมีความวิตกกังวลถึงการก่อสร้างสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ เพื่อรองรับระบบการคมนาคมขนส่งทางรางในบริเวณนั้น จะส่งผลต่อสถานีรถไฟเดิมที่เป็นโบราณสถานและแหล่งมรดกโลก






นายประทีป กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโก ได้มีหนังสือส่งมายังกรมศิลปากร แสดงความห่วงใยและกังวลถึงโครงการดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะให้หามาตรการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ทั้งด้านภูมิทัศน์และคุณค่าความโดดเด่นของมรดกโลก ดังนั้น จึงหารือแนวทางการลดผลกระทบในทางลบแก่โบราณสถานและแหล่งมรดกโลก
" ที่ประชุมมีความเห็นเบื้องต้นว่า การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ให้พยายามลดขนาดของอาคาร โดยยึดหลักความเรียบง่ายและความจำเป็นในการใช้งาน รวมทั้งให้ความสำคัญกับประโยชน์ใช้สอยหลักทางด้านการคมนาคม ขณะที่การพัฒนาพื้นที่เพื่อการสันทนาการและการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่สำหรับการพัฒนาพื้นที่เพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้าให้ถือเป็นความสำคัญในลำดับรอง พร้อมกันนี้ ให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณารูปแบบสถานีและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีร่วมกันต่อไป ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ตนจะนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม เป็นประธาน วันที่ 9 ต.ค. นี้ จากนั้นจะส่งการประชุมต่อไปยังคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ต่อไป " นายประทีป กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2020 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

รุดช่วยผู้ถูกเวนคืนที่สร้างรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน
พฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2563 เวลา 17.12 น.

“ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์"ประชุมร่วม“สกพอ.”หาแนวทางช่วยผู้เดือดร้อนหลังถูกเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินกับ"อีอีซี" เตรียมผลักดันข้อหารือเข้า กมธ.พัฒนาสังคมฯ


 
เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นำโดย น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ  นายศิริพงษ์ รัสมี ส.ส.กทม. นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กทม. น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม.  น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ส.ส.กทม. ร่วมประชุมหารือกับนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และผู้บริหาร สกพอ. โดยเป็นการหารือถึงการดำเนินการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และหาแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน


 
โดยการที่ สกพอ.เชิญ ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ เข้าร่วมหารือครั้งนี้สืบเนื่องจากที่เมื่อวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา  ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ ได้ลงพื้นที่ชุมชนบุญร่มไทร ซอยเพชรบุรี 7 เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน จากกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างฮับ (Hub) รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)โดยมีชุมชนได้รับผลกระทบ 26 ชุมชนโดยเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบแบบเร่งด่วน 12 ชุมชน จำนวน 2,366 ครัวเรือน



 
ทั้งนี้ น.ส.วทันยา กล่าวว่า ตนเข้าใจถึงการทำงานของ สกพอ. เพราะเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษฯ (อีอีซี) จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ และการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้นก็เป็นเหมือนประตูสู่การพัฒนาอีอีซี อย่างไรก็ตามหน้าที่หลักของส.ส.คือการดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จึงไม่อาจ มองข้ามปัญหาไปได้ ถึงแม้ผู้ได้รับผลกระทบบางส่วนจะเป็นผู้ที่ไม่มีสัญญาเช่าพื้นที่กับทางการรถไฟ หรือ เป็นผู้บุกรุกพื้นที่ก็ตาม แต่ตนและส.ส.ในกลุ่มก็ต้องการให้การช่วยเหลือความเดือดร้อนนี้ให้ได้ดีที่สุด และหลังจากนี้จะผลักดันข้อเสนอต่างๆที่ได้จากการหารือกับ สกพอ. ในวันนี้ เข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร อีกครั้งเพื่อหาแนวทางเยียวยาและแก้ไขให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว โดยอาจร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการเคหะแห่งชาติ เพื่อดำเนินการร่วมกันต่อไป อีกทั้งขอให้ สกพอ.ตรวจสอบจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบอีกครั้ง เนื่องจากตัวเลขที่หน่วยงานสำรวจ กับตัวเลขที่ประชาชนมาร้องเรียนกับเรานั้น ไม่ตรงกัน จึงเกรงว่าจะมีผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนบางส่วนตกหล่น  

นอกจากนี้ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ ยังได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการสำคัญ ๆ ของอีอีซี อาทิ ภาพรวมการส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ไขปัญหาขยะ แนวทางการพัฒนาการศึกษา และบุคลากร เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่อีอีซี อีกด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 384, 385, 386 ... 542, 543, 544  Next
Page 385 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©