Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181453
ทั้งหมด:13492691
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 111, 112, 113 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 12:59 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” เร่งสปีดแลนด์บริดจ์-ท่าเรือบก หนุน EEC “ประยุทธ์” กำชับต้องรอบคอบ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 2 ตุลาคม 2563 - 13:20 น.

“ศักดิ์สยาม” เผยวงประชุมส่งเสริมลงทุนอีอีซี “นายกฯ” กำชับ “แลนด์บริดจ์-ท่าเรือบก” หนุนอีอีซี ต้องรอบคอบ คาดทั้ง 2 โปรเจ็กต์ศึกษาเสร็จ 1 ปี

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าการประชุมแนวทางการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ในยุค New Normal กับนักลงทุน ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2563 มีข้อสั่งการถึงกระทรวงคมนาคมใน 2 ประเด็น ได้แก่



“แลนด์บริดจ์” ขอศึกษา 1 ปี
1.โครงการศึกษารถไฟทางคู่ช่วงระนอง – ชุมพร (แลนด์บริดจ์) วงเงินศึกษา 90 ล้านบาท พลเอกประยุทธ์ให้กระทรวงคมนาคมตรวจสอบประเด็นด้านกฎหมาย และให้เร่งศึกษาให้เสร็จโดยเร็ว รวมถึงให้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความจำเป็นของโครงการนี้ด้วย คาดว่าโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี

ท่าเรือบกของบปี 64 ศึกษา
2.การศึกษาจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือบก (dry port) มีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ดำเนินการ ได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบว่า สนข. กำลังศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำโครงการอยู่

โดยจะใช้เวลาในปี 2564 ศึกษา 1 ปี ซึ่งการจะทำท่าเรือบกปัจจัยสำคัญคือ จะต้องมีรถไฟเข้าถึงท่าเรือบก เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้าและเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายโลจิสติกส์เข้าด้วยกัน

เพิ่มออปชั่น MR-MAP เสริม
ดังนั้น การศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำท่าเรือบก จะเน้นไปที่แนวโครงการรถไฟทางคู่เฟส 1-2 ที่กำลังก่อสร้างและอนุมัติเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากรัฐบาลนี้มีนโยบายทำแผนแม่บทบูรณาการรถไฟทางคู่-มอเตอร์เวย์ (MR-MAP) จึงเพิ่มโจทย์ให้ สนข. กลับไปคิดเพิ่ม นอกจากรถไฟเข้าถึงแล้ว ท่าเรือบกที่ศึกษาไว้จะสามารถทำมอเตอร์เวย์เชื่อมเข้าไปอีกได้หรือไม่



ทั้งนี้เส้นทางมอเตอร์เวย์ไม่จำเป็นจะต้องสร้างแบบขนานคู่กับเส้นทางรถไฟตลอดช่วง หากมีพื้นที่อ่อนไหวหรือมีพื้นที่จำกัด ก็สามารถเบี่ยงออกไปได้ โดย สนข. รับโจทย์นี้ไปแล้ว

“ท่านนายกฯ พอได้ฟังแล้วก็กำชับกับผมว่า การก่อสร้างท่าเรือบกอยากให้ดูในหลายๆ มิติให้รอบคอบ นอกจากความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจแล้ว ต้องดูหลายๆ มิติให้ครบถ้วน ทั้งด้านกฎหมาย สิ่งแวดล้อม ความเดือดร้อนของประชาชน คู่กันไปด้วย” นายศักดิ์สยามกล่าว



สนข.เคาะ ”บ้านโพธิ์” นำร่องท่าเรือบก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ สนข. ได้เคาะพื้นที่จะดำเนินการท่าเรือบกแล้ว โดยจะนำร่อง ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ 760 ไร่ เป็นพื้นที่เหมาะจะพัฒนาโครงการ เนื่องจากอยู่ห่างจากสถานีรถไฟดอนสีนนท์ ประมาณ 1 กม. สามารถเชื่อมต่อโครงข่าย กับทางหลวงหมายเลข 315 และทางหลวงชนบทหมายเลข 3122 เพื่อเป็นประตู การค้าอีอีซีและศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงการขนส่งระบบรางทั้งในประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตลอดจนโครงการรถไฟไทย-จีน

จะใช้เงินลงทุนรวม 14,506 ล้านบาท แบ่งการพัฒนา 4 ส่วนหลัก 1.พื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารสำนักงานกลาง, โรงอาหาร, อาคารพักสินค้าตกค้าง, อาคารตรวจสอบเอกซเรย์ พร้อมด้วยจุดพัก ซึ่งประกอบด้วยปั๊มน้ำมันและปั๊มก๊าซ, ลานจอดพักรถเทรลเลอร์ และร้านค้าต่าง ๆ

2.พื้นที่สถานีขนส่งสินค้าคอน เทนเนอร์ ประกอบด้วย ลานกองตู้คอนเทนเนอร์, โรงซ่อม, ลานทำความสะอาดตู้, โรงอาหาร, อาคารปฏิบัติการ, อาคารสำนักงาน, จุดคัดแยกและบรรจุสินค้ารวมทั้งโรงพักสินค้า

3.โครงข่ายถนนเชื่อมต่อเข้า-ออกโครงการ และ service road ประกอบด้วย ทางแยกต่างระดับขนาด 2 ช่องจราจรเชื่อมโครงการกับทางหลวงหมายเลข 315, ถนนขนาด 6 ช่องจราจร บริเวณภายในและเข้า-ออกโครงการ, ถนน บริการ ขนาด 2 ช่องจราจร สำหรับอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่รอบ ๆ โครงการ

และ 4.ทางรถไฟเชื่อมต่อเข้าพื้นที่โครงการและพื้นที่สถานีรถไฟ ประกอบด้วย อาคารสถานีรถไฟดอนสีนนท์ และหอสูงตรวจการณ์ พร้อมอาคารสำนักงาน โดยโครงการจะก่อสร้างทางเชื่อม รางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ ICD เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งขาขึ้นและขาล่อง

รูปแบบการลงทุนโครงการ จะให้สัมปทานเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ดำเนินงาน และบำรุงรักษา ระยะเวลา 30 ปี หลังเปิดดำเนินการในปีแรกคาดการณ์มีปริมาณตู้สินค้าที่เข้ามาใช้บริการ จำนวน 500,000 ทีอียู และเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 ล้านทีอียู ในปีที่ 30 และให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ 15%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

พัฒนาท่าเรือบก 4 จังหวัด หนุนแหลมฉบัง เชื่อมโยงขนส่ง อ่าวไทย-อันดามัน
วันที่ 4 ตุลาคม 2563 -

พัฒนาท่าเรือบก 4 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น นครราชสีมา และนครสวรรค์ เชื่อมโยงการขนส่ง แหลมฉบัง อ่าวไทย-อันดามันก้าวสู่ศูนย์กลางขนส่ง โลจิสติกส์ในภูมิภาค

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการ พัฒนาท่าเรือบก เพื่อสนับสนุน การให้บริการท่าเรือแหลมฉบัง พบว่า จังหวัดที่เหมาะสมคือ ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น นครราชสีมา และนครสวรรค์
ทั้งนี้ คาดว่า จะดำเนินการก่อสร้างท่าเรือทางบกที่ จ.ฉะเชิงเทราได้ในปี 2567 ตามด้วย จ.ขอนแก่น และ จ.นครราชสีมาได้ในปี 2568 และ จ.นครสวรรค์ในปี 2570 และคาดการณ์ปริมาณการขนส่งผ่านท่าเรือบกในปี 2565 จาก 2.8ล้าน TEU เพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้าน TEU ในปี 2600
สำหรับท่าเรือบก (Dry Port) หมายถึง บริเวณพื้นที่ตอนในของประเทศ ที่มีการดำเนินงานเป็นศูนย์โลจิสติกส์ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนท่าเรือ แต่ไม่มีการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงเรือ เป็นการรองรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในระบบคอนเทนเนอร์ และมีการเชื่อมต่อการขนส่งได้หลายรูปแบบ โดยมีการขนส่งทางรางเป็นหลัก
ขณะเดียวกัน จากการลงพื้นที่ตรวจราชการของพลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นการติดตามแนวทาง การเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบัง กับนานาชาติ
โครงการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงการขนส่ง ประกอบด้วย การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการท่าเรือทางบก (Dry Port) การศึกษารูปแบบการเชื่อมโยงอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ด้วยโครงการปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกระนองและท่าเรือชุมพร โครงการพัฒนา Landbridge เชื่อมท่าเรือชุมพรและท่าเรือระนอง และโครงการสะพานไทย
ปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 1 มีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต หรือTwenty Foot Equivalent Unit (TEU) ได้ 4.3ล้านตู้ ระยะที่ 2 รองรับได้ 6.8 ล้านTEU และเมื่อพัฒนาระยะที่ 3 เสร็จสมบูรณ์แล้ว จะรองรับได้เพื่มอีก 7.0ล้านTEU รวมทั้งสิ้นเป็น 18.1 ล้านTEU
นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามันนั้น ปัจจุบันประเทศไทยได้พัฒนาท่าเรือน้ำลึก จังหวัดระนอง ให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์ ซึ่งตามโยบายได้กำหนดให้เป็นประตูการค้า ฝั่งอันดามัน ของประเทศไทย สามารถขนส่งสินค้าเชื่อมโยงเส้นทางการเดินเรือระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือในกลุ่มประเทศในแถบเอเชียใต้
การขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือน้ำลึกระนองดังกล่าว จะสามารถลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า เพราะไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์) ซึ่งกระทรวงคมนาคม มีแนวคิดที่จะพัฒนาท่าเรือจังหวัดชุมพรเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาให้เป็นสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย (Land bridge)
สำหรับโครงการ Land bridge จะเป็นการขยายขีดความสามารถ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ของพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ ด้วยที่ตั้งที่เป็นยุทธศาสตร์การค้าโลก สามารถเชื่อมประเทศไทย อาเซียน จีน อินเดีย ตลอดจนเชื่อมโยงประเทศกลุ่มประเทศตะวันออกไกล เข้ากับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และสภาพยุโรปให้สะดวกยิ่งขึ้น
รูปแบบการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ จะประกอบไปด้วย ท่าเรือพาณิชย์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริเวณปลายทั้งสองด้านของฝั่งทะเล จ.ระนองและ จ.ชุมพร โดยมีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้า เพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทั้งสองแห่ง ด้วยทางรถไฟและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) คู่ขนานบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินกับภาคประชาชน
ล่าสุด กระทรวงคมนาคมได้รับความเห็นชอบจากท่านนายกรัฐมนตรีให้ใช้งบประมาณปี 2563 (งบกลางฯ) เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model)
ส่วนโครงการสะพานไทยนั้น เป็นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามอ่าวไทยโดยเบื้องต้นกำหนดทางเลือกไว้ 2เส้นทางดังนี้ 1) แหลมฉบัง-เพชรบุรี ระยะทาง 86กม. และ 2) พัทยา-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 110กม. โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ร่วมกันดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของโครงการ (Pre-feasibility Study)
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับว่า ในการศึกษาโครงการต่างๆนั้น ต้องสร้างความเชื่อมโยง ให้เห็นความคุ้มค่าในการลงทุน และเกิดผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ และใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP เพื่อประหยัดงบประมาณ เพื่อสามารถนำเงินงบประมาณไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเต็มที่ และการดำเนินการทุกอย่างต้องโปร่งใส ไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน โดยยึดประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/10/2020 10:42 am    Post subject: Reply with quote

สิงคโปร์ขยายรถไฟไม่ได้? ถ้าไม่มีศูนย์ตรวจรางไทย
Oct 5, 2020 TNN ONLINE


https://www.youtube.com/watch?v=UNseBj32J3s
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2020 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สิงคโปร์ขยายรถไฟไม่ได้? ถ้าไม่มีศูนย์ตรวจรางไทย
Oct 5, 2020 TNN ONLINE
https://www.youtube.com/watch?v=UNseBj32J3s


ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง อยู่นี่ครับ
https://www.facebook.com/RTTC.TISTR/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2020 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

สะพานไทยยังเสียแตกอยู่แถมมีประเด็นสิ่งแวดล้อมด้วย
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/451892
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2020 2:29 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เปิดโผบิ๊กโปรเจ็กต์ 4 แสนล้าน บูม ”อีอีซีเชื่อมภาคใต้”
ในประเทศ
วันที่ 10 ตุลาคม 2563 - 15:01 น.


“ศักดิ์สยาม” เยือนเมืองชล ปิดจ๊อบโรดโชว์ MOT 2020: Move On Together โปรยยาหอมลงทุน เปิดโผสารพัดโปรเจ็กต์ “บก-ราง-น้ำ-อากาศ” วงเงินกว่า 4.2 แสนล้าน “เร่งขยายมอเตอร์เวย์เข้าอู่ตะเภา-ไทยแลนด์ริเวียร่าเฟส 2” ลุย “ทางคู่ตะวันออก 2 เส้นทาง” รับไฮสปีด เคลียร์ผลตอบแทนสัมปทาน “แหลมฉบังเฟส 3” ให้จบ 1 เดือน ผุดศูนย์ฝึกอบรมการบินรับอานิสงค์เมืองการบินอีอีซี

เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2563 ที่โรงแรมดุสิตธานี พัทยา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในงาน MOT 2020 : Move On Together”คมนาคมเคียงข้างคนไทย ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤต COIVD-19″ว่า เมื่อมาภาคตะวันออกแล้ว ต้องติดตามความคืบหน้าการลงทุนด้านคมนาคม ซึ่งมีด้วยกัน 4 มิติ ได้แก่ ทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนประมาณ 422,262 ล้านบาท

ทุ่มไม่อั้น”ต่อขยาย M7-ไทยแลนด์ริเวียร่า”
ในส่วนของ”ทางบก “ มีโครงการต่อขยายมอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงมาบตาพุด – สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 4,200 ล้านบาท ของกรมทางหลวง (ทล.) อยู่ระหว่างของบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้

ส่วนกรมทางหลวงชนบท (ทช.) มีโครงการถ.เลียบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (เฉลิมบูรพาชลทิต) ระยะที่ 2 ช่วงอ.แกลง – อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ระยะทาง 95 กม. อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 นี้



เสริมโครงข่ายทางหลวงครบถ้วน
นอกจากนี้ ทล.ยังมีโครงการพัฒนาถนนเพื่อสนับสนุนนโยบายอีอีซีอีก 9 โครงการ แบ่งเป็นอยู่ระหว่างก่อสร้าง 7 โครงการ วงเงินรวม 9,724 ล้านบาท ได้แก่ 1. ขยายช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 3 ช่วงอ.บ้านฉาง – ระยอง ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 1,825 ล้านบาท

2. ขยายช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 304 ช่วงฉะเชิงเทรา – ต.เขาหินซ้อน ตอนอ.บางคล้า – อ.พนมสารคาม ระยะทาง 13 กม. วงเงิน 2,097 ล้านบาท 3.ขยายช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 3 ช่วงอ.พัทยา – อ.สัตหีบ ระยะทาง 22 กม. วงเงิน 2,945 ล้านบาท 4. ขยายช่องจราจรทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านใต้รวมสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ระยะทาง 5 กม. วงเงิน 1,038 ล้านบาท

5.ก่อสร้างสะพานข้ามแยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 3 กับถ.เมืองใหม่เหนือและถ.นิคมแหลมฉบัง 4 วงเงิน 177 ล้านบาท 6. ก่อสร้างสะพานข้ามแยกและปรับปรุงทางแยกต่างระดับเขาไม้แก้ว วงเงิน 593 ล้านบาท

และ 7.ขยายช่องจราจรทางหลวงหมายเลข3471 ช่วงต.บางบุตร – ต.ชุมแสง ตอนหนองพะวา -ต.ชุมแสง ระยะทาง 26 กม. วงเงิน 1,049 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 7 โครงการนี้จะทยอยแล้วเสร็จภายในปี 2565

อีก 2 โครงการ วงเงินรวม 2,130 ล้านบาทที่คาดว่าจะได้งบประมาณในปี 2564 ประกอบด้วย 1. ขยายช่องจราจรบนทางหลวงหมายเลข 365 ช่วงทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านเหนือเป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 5.39 กม. วงเงิน 1,150 ล้านบาท และก่อสร้างสะพานแม่น้ำในทางขนานช่วงทางเลี่ยงฉะเชิงเทราด้านใต้ วงเงิน 980 ล้านบาท



ยันส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเฟสแรก มี.ค.64
ขณะที่โครงการ”ระบบราง” ที่เด่นที่สุดคงเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งได้ลงนามร่วมกับบจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (กลุ่มซี.พี.) ไปเมื่อเดือนต.ค. 2562 คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ช่วงแรกและเคลียร์ปัญหาผู้บุกรุกอีก 40 รายได้ภายในเดือนมี.ค. 2564 นี้


ของบปี’ 65 เพิ่มทางคู่ตะวันออก
ส่วนโครงข่ายรถไฟทางคู่ที่จะช่วยเติมเต็มการพัฒนาพื้นที่อีอีซีประกอบด้วย 2 โครงการ วงเงิน 65,103 ล้านบาท ได้แก่ 1. รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา – ระยอง ระยะทาง 70 กม. วงเงิน 30,454 ล้านบาท และช่วงมาบตาพุด – ระยอง – จันทบุรี – ตราด ระยะทาง 197 กม. วงเงิน 34,649 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้และของบปี 2565 เพื่อออกแบบในรายละเอียด

“นอกจากนี้ ส่วนตัวมีนโยบายให้ภาคเอกชนใช้สลอตระบบรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการวิ่งรับส่งสินค้าจากภาคตะวันออกไปยังทั่วประเทศ เพราะปัจจุบันมีการใช้รางเพียง 40% จากระบบรางที่มีทั้งหมดของประเทศ โดยจะต้องมีสถานีขนถ่ายสินค้า โดยอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”

ถก”กัลฟ์”เคลียร์ผลตอบแทนแหลมฉบังเฟส 3
ด้าน”การขนส่งทางน้ำ” โครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 วงเงินรวม 114,046 ล้านบาท มีการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นผู้รับผิดชอบ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาด้านผลตอบแทนกับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ซึ่งประกอบด้วย บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ในกลุ่ม บมจ.ปตท (PTT) บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด คาดว่าใช้เวลาอีก 1 เดือนจึงจะได้ข้อสรุป

ขณะที่การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว ได้ให้กรมเจ้าท่า (จท.) ศึกษาความเป็นไปได้เส้นทางสัตหีบ – บางสะพาน คาดว่าในเร็วๆนี้จะสามารภดำเนินการได้ หลังจากก่อนหน้านี้ได้นำร่องช่วงพัทยา – เขาตะเกียบไปแล้ว

“นอกจากนี้ ยังมีการสร้างระบบโลจิสติกส์ทางน้ำจากแหลมฉบัง – บางสะพาน โดยให้กรมเจ้าท่าศึกษาความเป็นไปได้อยู่”



ตั้งโรงเรียนการบินอู่ตะเภารับลงทุน
นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่า ทางด้านการพัฒนาด้านอากาศ เน้นที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงิน 290,000 ล้านบาท มีกองทัพเรือ (ทร.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

โดยอยู่ระหว่างการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้บจ.อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิ เอชั่น (นำโดยบมจ.การบินกรุงเทพ, บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และบมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตตรัคชั่น) คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568

“คมนาคมเตรียมแผนที่จะตั้งศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา วงเงินลงทุน 2,715 ล้านบาท เพื่อผลิตบุคลากรรองรับการพัฒนาดังกล่าว โดยอยู่ระหว่างแก้ไขและออกแบบราคากลาง”

ขายฝัน 3 โปรเจ็กต์ยักษ์
นอกจากโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้ว “ศักดิ์สยาม”ยังบอกอีกว่า ยังมีโครงการใหญ่อีก 3 โครงการที่กำลังคิดค้นกัน นั่นคือ 1. โครงการแผนแม่บทบูรณาการมอเตอร์เวย์และรถไฟทางคู่ (MR-MAP) 9 เส้นทาง จะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวง ในการศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าในปี 2564 จะได้เส้นทางนำร่องของโครงการนี้

ถัดมาเป็นโครงการสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ระนอง – ชุมพร เพื่อเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบังออกไปสู่โลกอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

และการช่วยเหลือเกษตรกรยางพาราด้วยการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน หลังจากคิกออฟไปแล้ว 6 จังหวัด ซึ่งยังมีจังหวัดที่จะไปคิกออฟต่ออีก 20 จังหวัด

โดยอยู่ระหว่างดำเนินการระยะที่ 1 ซึ่งได้รับจัดสรรงบกลางปี 2563 วงเงิน 2,700 ล้านบาท โดยการประเมินผลความสำเร็จในระยะที่ 1 ทล ได้ประสานงานและทำ MOU กับสถาบันการศึกษาในแต่ละภาค โดยภาคเหนือ MOU ร่วมกับม.เชียงใหม่ ภาคอีสาน MOU ร่วมกับม.ขอนแก่น ภาคใต้ MOU ร่วมกับม.สงขลานครินทร์

ส่วนภาคกลาง อยู่ระหว่างพิจารณามหาวิทยาลัยที่จะลงนามร่วมกัน ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ธรรมศาสตร์ , ม.เกษตรศาสตร์ และม.บูรพา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2020 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐดัน‘แลนด์บริดจ์’ เชื่อม‘อ่าวไทย-อันดามัน’/เมินขุดคลองไทย

วันจันทร์ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินหน้าปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เน้นความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก พึ่งพาตนเอง พร้อมมุ่งที่การลงทุนขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยขณะนี้กระทรวงคมนาคม กำลังทำการศึกษาโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือ แลนด์บริดจ์ ระหว่างท่าเรือจังหวัดชุมพรกับท่าเรือจังหวัดระนอง ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร คาดว่าจะช่วยย่นเวลาเดินทางของเรือสินค้าจากเส้นทางปกติได้กว่า 2 วัน



สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี ศึกษาแล้วจะสามารถเริ่มโครงการได้ภายใน 2 ปีครึ่ง จากแผนจะมีการสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ที่จังหวัดชุมพรและระนอง เชื่อมต่อกันด้วยการสร้างเส้นทางขนส่งทางบก โดยมีทั้งรถไฟทางคู่ และทางหลวงพิเศษ(มอเตอร์เวย์) ซึ่งจะทำให้เรือสินค้าที่ใช้เส้นทางปกติหันมาขนส่งเส้นทางนี้แทน คาดว่าจะส่งผลในทางด้านเศรษฐกิจมหาศาล ก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก

“ยุทธศาสตร์สำคัญของโครงการนี้ คือการเชื่อมโยงระหว่าง 2 ภูมิภาค คือการเชื่อมตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมัน ยุโรป ซึ่งเป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ไปสู่เอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฯลฯ ซึ่งเปรียบเสมือนผู้บริโภคน้ำมันและโรงงานโลก โดยผ่านไทย โดยโครงการนี้มีแผนที่จะร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้แนวทางการร่วมลงทุนว่า ภาคเอกชนที่สนใจต้องร่วมลงทุนทั้ง ท่าเรือน้ำลึก รถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์” น.ส.ไตรศุลี กล่าว


ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ให้แนวทางการศึกษาโครงการ โดยต้องดูอย่างสมบูรณ์ รอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มค่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความเห็นของประชาชนในพื้นที่โดยโครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor: SEC) ที่ครอบคลุม 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงการขนส่งและคมนาคมอย่างครบถ้วนต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วย

มีรายงานแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ South China Morning Post สื่อในฮ่องกง เสนอข่าว Thailand looks to cut Malacca Strait shipping time by land link between Indian, Pacific Oceans ว่าไทยพยายามผลักดันโครงการการเชื่อมการขนส่งระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โครงการนี้เรียกว่า “แลนด์บริดจ์ (Land Bridge) เป็นการก่อสร้างถนนและทางรถไฟเชื่อมระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน มีแนวคิดที่จะนำมาแทนโครงการขุดคลอง(คอคอดกระหรือคลองไทย) เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2020 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ทุ่ม 2 หมื่นล้าน พัฒนา “อำนาจเจริญ-มุกดาหาร-ยโสธร”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 15 ตุลาคม 2563 - 16:45 น.

“ศักดิ์สยาม” เผย ครม.นัดพิเศษหารือเรื่องความมั่นคง ปรามชุมนุม “ราชประสงค์” เข้มดูแลการเดินทางรถไฟฟ้าเต็มที่ โปรยยาหอมลงทุน 3 จังหวัด “อำนาจเจริญ – มุกดาหาร – ยโสธร” เน้นระบบถนนเป็นหลัก ขอให้อดใจรอซิ่ง 120 กม./ชม.

เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในระหว่างลงพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ ว่าการนัดประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นกรณีพิเศษในวันที่ 16 ต.ต.นี้ เวลา 10.00 น. เป็นการประชุมเพื่อหารือถึงประเด็นด่านความมั่นคงเป็นหลัก ซึ่งน่าจะทำให้เกิดความเรียบร้อยได้

ปรามชุมนุมผิดกฎหมาย
ส่วนการชุมนุมในย่านราชประสงค์ ซึ่งมีระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสอยู่นั้น ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมจะดูแลความปลอดภัยการเดินทางของประชาชนเป็นหลัก ส่วนการเดินทางไปชุมนุมนั้น ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้ประกาศแล้วว่า การไปชุมนุมในพื้นที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากทำผิดกฎหมายก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย

ทุ่ม 2 หมื่นล้าน ลงทุน 3 จังหวัด
ส่วนการลงพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ ในวันนี้ เป็นการมาเพื่ออธิบายว่า กระทรวงคมนาคมกำลังดำเนินการอะไรบ้าง ซึ่งนอกจากอำนาจเจริญแล้ว ยังมีตัวแทนจาก จ.มุกดาหาร และยโสธร มาร่วมรับฟังด้วย คาดว่าโครงการที่จะดำเนินการใน 3 จังหวัด จะรวมวงเงินแล้วประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินการระหว่างปี 2563 – 2568

ชูสะพานมิตรภาพ-MR-MAP ตาก-นครพนม
โครงการที่เน้นย้ำส่วนใหญ่ เป็นโครงการถนนที่เชื่อมต่อกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น นครพนม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เป็นต้น โดยในอนาคตจะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 6 อยู่ระหว่างทำ MOU เพื่อลงนามร่วมกัน

ขณะที่ จ.มุกดาหาร โครงการสำคัญคือการบูรณาการรถไฟทางคู่ร่วมกับมอเตอร์เวย์ (MR-MAP) ช่วง W1 ตาก (ด่านแม่สอด)-นครพนม ระยะทาง 710 กม. ซึ่งจะเชื่อมต่อกับ จ.มุกดาหาร โดยใช้เวลาปี 2564 ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการช่วงนี้

นอกจาก MR-MAP แล้ว เห็นว่า จ.มุกดาหาร ควรจะมีโครงการพัฒนาสนามบินภายในจังหวัดด้วย ซึ่งให้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) เป็นผู้ดำเนินการ

“นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงในชุมชนที่ดูแลโดยกรมทางหลวงชนบท (ทช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายว่า หากมีถนนใดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดูแลได้ ก็ขอให้โอนมาให้ ทช. เป็นผู้ดูแลแทน” นายศักดิ์สยามกล่าว


ทั้งนี้ การพัฒนาด้านโลจิสติกส์จะต้องคิดให้ครบทั้งบก-ราง-น้ำ และอากาศ โดยพื้นที่ใดที่มีศักยภาพดำเนินการก็จะต้องทำให้ครบทุกโหมดให้ได้มากที่สุด

ไม่ลืมยางพารา – โอทอป
ส่วนอีก 2 โครงการที่สำคัญคือ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรยางพาราด้วยการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ซึ่งกำลังจะดำเนินการในเฟสแรกแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 2563

และอยู่ระหว่างของบประมาณดำเนินการในเฟส 2 อยู่ และอีกโครงการคือ การร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำสินค้าโอทอปมาวางจำหน่ายในพื้นที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งยังมีที่จัดจำหน่ายไม่พอและไม่ชัดเจนเรื่องจุดจำหน่ายในหลาย ๆ แห่ง ซึ่งมองไว้หลายที่

เช่น สถานีกลางบางซื่อ, สถานีหัวลำโพง เป็นต้น ส่วนในภูมิภาคจะให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ร่วมกันจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม และจะให้จัดเก็บรายได้ในรูปแบบ Profit Sharing เพื่อนำเรียนนายกรัฐมนตรีต่อไป

จ่อมอบนโยบายผู้บริหาร ต.ค.นี้
ส่วนการสรรหาผู้บริหารเพื่อแทนที่ในตำแหน่งที่ยังว่างอยู่ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างคัดสรรบุคคลที่เหมาะสมให้ครบถ้วนอยู่ เมื่อได้ตัวแล้วคาดว่าภายในเดือน ต.ค.นี้ จะมีการมอบนโยบายกับทุกหน่วยงานภายในกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง

จี้ส่งกรอบงบ 65 ภายในเดือน ต.ค.นี้
ขณะที่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ในเดือน ต.ค.นี้ ทุกหน่วยงานต้องเสนอกรอบให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา หลักเกณฑ์พิจารณาคือต้องเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ, นโยบายของรัฐบาล, เนื้องานต่อเนื่องจากงบประมาณปีที่แล้ว และโครงการที่นำเสนอต้องพร้อมดำเนินการ ไม่ติดขัดอุปสรรคอะไรอีก หากไม่พร้อมจะตัดออกทันที และจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบด้วย คาดว่าในสิ้นเดือน ต.ค. นี้น่าจะเห็น

รอ “กฤษฎีกา” ส่งกฎกระทรวงอัพสปีด 120
ส่วนนโยบายปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ทุกประเภทบนถนนที่มีช่องจราจรตั้งแต่ 4 ช่องขึ้นไป จากความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. เป็นความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม อยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ทางหลวง 2563 โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา หากส่งกลับมากระทรวงเมื่อไหร่ ก็พร้อมลงนามทันที

โดยให้นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ตรวจสอบถนนที่จะนำร่องโครงการคือ ทางหลวงสายเอเชีย ช่วงบางปะอิน-นครสวรรค์ ระยะทาง 50 กม. ว่าลักษณะทางกายภาพ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยว่า จะสามารถรองรับการใช้ความเร็วสูงเกินกว่า 120 กม./ชม.ได้หรือไม่

“ส่วนการเปิดให้วิ่งทั้งประเทศ ต้องตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของถนนเส้นต่าง ๆ ก่อนว่ามีเกาะกลางถนนหรือไม่ และมีความพร้อมรับด้านความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็ขอให้ประชาชนเข้าใจด้วย”

ตั้งคณะทำงานฟัน “โฮปเวลล์”
ในช่วงท้าย นายศักดิ์สยามกล่าวถึงการรื้อฟื้นคดีโฮปเวลล์ว่า ได้ส่งเรื่องไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แล้ว โดยจะใช้ประเด็นด้านการจดจัดตั้งวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลเป็นประเด็นในการต่อสู้หลัก ส่วนจะขยายไปยื่นกับองค์กรอื่นหรือไม่นั้น อยู่ศึกษากระบวนการเสนอเรื่อง

ด้านหนึ่ง ก็ได้ขอนายกรัฐมนตรีตั้งคณะทำงานสอบสวนเอาผิดกับผู้ที่ทำให้เกิดคดีนี้ขึ้นมาด้วย โดยจะมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจะมีกรรมการจากหน่วยงานต่างร่วมด้วยทั้งสำนักงบประมาณ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

“คมนาคม”โชว์สารพัดโปรเจกต์พัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน
*ทุ่ม 2.5 หมื่นล.สร้างถนนอำนาจ-ยโสฯ-มุกดาหาร
*รอยาวๆนั่งรถไฟทางคู่-ได้ใช้บริการสนามบินใหม่
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2737727599782074
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2020 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม” ทุ่ม 2 หมื่นล้าน พัฒนา “อำนาจเจริญ-มุกดาหาร-ยโสธร”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 15 ตุลาคม 2563 - 16:45 น.

“คมนาคม”โชว์สารพัดโปรเจกต์พัฒนาพื้นที่ภาคอีสาน
*ทุ่ม 2.5 หมื่นล.สร้างถนนอำนาจ-ยโสฯ-มุกดาหาร
*รอยาวๆนั่งรถไฟทางคู่-ได้ใช้บริการสนามบินใหม่
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2737727599782074


“ศักดิ์สยาม” เร่งแผนลงทุนกว่า 4 แสนล้าน ผุดถนน-รถไฟทางคู่พื้นที่ 3 จว.อีสานใต้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 15 ตุลาคม 2563 - 15:28



“ศักดิ์สยาม” ลงพื้นที่อีสานใต้ “อำนาจเจริญ-ยโสธร-มุกดาหาร” โชว์แผนลงทุนกว่า 4 แสนล้าน ปูพรมถนน, มอเตอร์เวย์, รถไฟทางคู่ ผุดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 วงเงิน 4.3 พันล้าน และตั้งงบปี 64 ศึกษาสนามบินมุกดาหาร พร้อมเร่งเปิดพื้นที่สถานีรถไฟ-สนามบิน วางสินค้าโอทอป สร้างรายได้ประชาชน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการติดตามการพัฒนาโครงการด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ พื้นที่อีสานใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร ว่า กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นรูปธรรม ทุกมิติทั้งการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนน การก่อสร้างทางหลวงสายใหม่ การพัฒนารถไฟทางคู่ ทางรถไฟสายใหม่ รถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด ให้การสัญจร และการขนส่งสินค้าที่จะเชื่อมโยงในพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว และเวียดนาม อีกด้วย

โดยมีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ ทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 82,326 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2566 และเตรียมโครงการส่วนต่อขยาย จากนครราชสีมา-ขอนแก่น ระยะทาง 202 กม. วงเงิน 51,493 ล้านบาท จะเริ่มจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินปี 2566 ก่อสร้างในปี 2568 เปิดให้บริการปี 2571 ช่วยลดเวลาเดินทางจากโคราช-ขอนแก่นลง 3-4 ชม.

ทั้งนี้ ในปี 2564 ได้รับงบประมาณ 32,636.42 ล้านบาท แบ่งเป็นการพัฒนาทางหลวงสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมระยะทาง 163 กม. วงเงิน 25,738.84 ล้านบาท และงานบำรุงรักษา 404 กม. วงเงิน 6,897.58 ล้านบาท

กรมทางหลวง (ทล.) ได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาโครงข่ายถนนที่จังหวัดอำนาจเจริญกว่า 10,823 ล้านบาท เช่น การปรับปรุงเพิ่มช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 202 ยโสธร-อำนาจเจริญ ตอนยโสธร-บ.น้ำปลีก ตอน บ.น้ำปลีก-บ.หนองผือ และตอน อ.ปทุมราชวงศา-อ.เขมราฐ รวมถึงทางหลวงหมายเลข 2112 ตอนเขมราฐ-ปางแซง-หนามแท่ง และทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ เพื่อเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน ที่สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6 อุบลราชธานี (อำเภอนาตาล)-สาละวัน (เมืองละคอนเพ็ง) และบรรเทาปัญหาการจราจร

ส่วนกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้ก่อสร้างทางหลวงชนบท 15 โครงการ งานอำนวยความปลอดภัย 68 โครงการ และงานบำรุงรักษาทาง 31 โครงการ รวม 114 โครงการ

จังหวัดยโสธร ทล.ได้ดำเนินการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 23 ร้อยเอ็ด-ยโสธร ทางหลวงหมายเลข 202 ยโสธร-บ.น้ำปลีก และ อ.สุวรรณภูมิ-ยโสธร ทางหลวงหมายเลข 2083 อ.มหาชนะชัย-อ.คำเขื่อนแก้ว รวมถึงการพัฒนาโครงการในอนาคตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจราจร รวมงบประมาณในการพัฒนาโครงการต่างๆ กว่า 9,158 ล้านบาท

ส่วน ทช.มีงานก่อสร้างทางหลวงชนบท 17 โครงการ งานอำนวยความปลอดภัย 72 โครงการ งานบำรุงรักษาทาง 55 โครงการ

จังหวัดมุกดาหาร ทล.ได้ดำเนินการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 212 อ.หว้านใหญ่-อ.ธาตุพนม แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างดำเนินการทางหลวงหมายเลข 12 บ.นาไคร้-อ.คำชะอี รวมถึงเตรียมพัฒนาโครงการในอนาคต เช่น ทางแยกต่างระดับทางหลวงหมายเลข 212 ตัดกับทางหลวงชนบท มห.3019 ทางหลวงหมายเลข 238 ทางเลี่ยงเมืองมุกดาหาร ทางหลวงหมายเลข 2034 มุกดาหาร-นาสีนวน-บุ่งเขียว และทางหลวงหมายเลข 12 บ.คำพอก-อ.คำชะอี โดยใช้งบประมาณในการพัฒนาโครงการต่างๆ 6,070 ล้านบาท

ส่วน ทช.มีงานก่อสร้างทางหลวงชนบท 8 โครงการ งานอำนวยความปลอดภัย 12 โครงการ และงานบำรุงรักษาทาง 23 โครงการ รวม 43 โครงการ

@เตรียมขยายรถไฟทางคู่ ต่อขยายและสายใหม่ และในอนาคตอีก 7 โครงการ

สำหรับโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางราง มีโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. วงเงิน 23,996 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จแล้ว และกำลังก่อสร้าง ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 26,460 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการประกวดราคาทางรถไฟสายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848 ล้านบาท




และโครงการในอนาคต เช่น ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 26,663 ล้านบาท ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 37,527 ล้านบาท ซึ่งเตรียมเสนอ ครม. ส่วนทางรถไฟสายใหม่กำลังศึกษา อยู่ในแผนระยะยาวปี 2570-2579 เช่น ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ 291 กม. วงเงิน 74,712 ล้านบาท, ช่วงศรีสะเกษ-ยโสธร-ร้อยเอ็ด 163 กม. และช่วงอุบลราชธานี-ช่องเม็ก 87 กม. วงเงิน 9,197 ล้านบาท รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาทางรถไฟจาก อ.เลิงนกทา ผ่านจังหวัดอำนาจเจริญไปยังจังหวัดอุบลราชธานี

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน โดยช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 252 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 ส่วนช่วงนครราชสีมา-หนองคาย อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2570 ซึ่งจะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน และเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง Belt & Road Initiative เชื่อมไทยไปสู่โลก

นอกจากนี้จะมีการพัฒนาและปรับปรุงสนามบิน 4 แห่ง ได้แก่ สนามบินบุรีรัมย์ ขยายความยาวทางวิ่ง ทางขับ รองรับ 0.78 ล้านคน/ปี ปี 64 วงเงิน 950 ล้านบาท, สนามบินขอนแก่น ขยายลานจอดเครื่องบิน วงเงิน 500 ล้านบาท รับผู้โดยสาร 2.4 ล้านคน/ปี, สนามบินร้อยเอ็ด ต่อเติมอาคารผู้โดยสาร วงเงิน 110 ล้านบาท รับผู้โดยสาร 0.75 ล้านคน/ปี, สนามบินอุบลราชธานี ปรับปรุงลานจอดรถยนต์ วงเงิน 131 ล้านบาท รับผู้โดยสาร 2.4 ล้านคน/ปี และเตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งท่าอากาศยานมุกดาหาร ที่ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร วงเงินลงทุน 4,535 ล้านบาท

@เปิดพื้นที่สถานีรถไฟ-บขส. และสนามบิน ตั้งสินค้าโอทอป สร้างรายได้ให้ประชาชน
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า นอกจากนี้ กระทรวงฯ มีแผนที่จะสนับสนุนการตั้งศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กรมเจ้าท่า (จท.) และกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) พิจารณาจัดหาสถานที่เพื่อให้ประชาชนนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในท้องถิ่นมาวางจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในช่วงวิกฤต COVID-19 โดยบูรณาการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย เพื่อสนับสนุนการขนส่งและกระจายสินค้าเพื่อช่วยลดต้นทุนในการจัดจำหน่าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2020 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องโอกาส 3 'เมกะโปรเจ็กต์ภาคใต้' โครงการไหนเกิดก่อน
โดย นครินทร์ ศรีเลิศ
18 ตุลาคม 2563

รัฐบาลเดินหน้าศึกษา 3 เมกะโปรเจ็กต์ภาคใต้ ทั้งแลนด์บริดจ์เชื่อม 2 ฝั่งอันดามันพร้อมสร้างท่าเรือน้ำลึกระนอง-ชุมพร ส่วนคลองไทยมอบ สศช.ศึกษา ขณะที่โปรเจ็กต์ล่าสุดสะพานไทย 9 แสนล้านมอบ สนง.อีอีซีศึกษาจับตา "ไพรินทร์" ร่วมลงพื้นที่ครม.สัญจรใต้ถกข้อมูล
แม้จะอยู่ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลต้องทุ่มเททรัพยากรและสรรพกำลังให้กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้นของประเทศ อย่างไรก็ตามในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระยะกลางและระยะยาวพบว่ามีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ 3 โครงการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมให้เดินหน้าศึกษาและทั้ง 3 โครงการที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ภาคใต้

เมกะโปรเจ็กต์ 3 โครงการถ้าดูจากขนาดการลงทุนถือเป็นอภิมหาโปรเจกต์ทั้งสิ้น ประกอบไปด้วยโครงการแลนด์บริดจ์ (Feasibility Study) โครงการคลองไทย (คอคอดกระ) และโครงการสะพานไทย ซึ่งทั้ง 3 โครงการนายกรัฐมนตรีไฟเขียวให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ มีการจัดสรรงบประมาณในการศึกษาและมอบหมายหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพในการศึกษาโครงการเป็นที่เรีียบร้อย “กรุงเทพธุรกิจ” รวบรวมรายละเอียดและระยะเวลาในการศึกษาทั้ง 3 โครงการดังนี้

1.โครงการแลนด์บริดจ์ หรือ โครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ โครงการนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) จัดสรรงบประมาณในการศึกษาและออกแบบให้กับกระทรวงคมนาคม วงเงินประมาณ 65 ล้านบาท โดยกำหนดระยะเวลาในการศึกษาและออกแบบโครงการประมาณ 1 ปี

ลักษณะโครงการนี้จะมีการสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งทั้งในฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ที่จังหวัดชุมพรและระนองระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร เชื่อมต่อกันด้วยการสร้างเส้นทางขนส่งทางบก โดยมีทั้งรถไฟทางคู่ และทางหลวงพิเศษ(มอเตอร์เวย์) ซึ่งจะทำให้เรือสินค้าที่ใช้เส้นทางปกติ หันมาขนส่งเส้นทางนี้แทนเนื่องจากย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าได้ประมาณ 2 วัน คาดว่าจะส่งผลในทางด้านเศรษฐกิจมหาศาล ก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่จำนวนมาก

ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าโครงการนี้ถือเป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor: SEC) ที่ครอบคลุม 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงการขนส่งและคมนาคมอย่างครบถ้วนต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

“ยุทธศาสตร์สำคัญของโครงการนี้ คือการเชื่อมโยงระหว่าง 2 ภูมิภาค คือการเชื่อมตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมัน ยุโรป ซึ่งเป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ไปสู่เอเซียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฯลฯ ซึ่งเปรียบเสมือนผู้บริโภคน้ำมันและโรงงานโลก โดยผ่านไทย โดยโครงการนี้มีแผนที่จะร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งนายศักดิ์ สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้แนวทางการร่วมลงทุนว่า ภาคเอกชนที่สนใจต้องร่วมลงทุนทั้ง ท่าเรือน้ำลึก รถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์”



นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช.กล่าวว่าโครงการแลนด์บริดจ์ในพื้นที่ภาคใต้ สศช.ได้มีการศึกษาโครงการนี้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆมาหลายครั้ง โดยในแผนใหม่ที่มีการนำเสนอเป็นโครงการแลนด์บริดจ์บริเวณ จ.ชุมพร - จ.ระนอง เน้นเรื่องของการขนส่งและโลจิสติกส์มากกว่าภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในโครงการจะอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่ในพื้นที่คือท่าเรือจ.ระนอง แล้วสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่จ.ชุมพร แล้วเชื่อมท่าเรือทั้งสองแห่งเข้าด้วยกันด้วยรถไฟทางคู่

ทั้งนี้ท่าเรือที่มีอยู่ที่จ.ระนองนั้นพอที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือเชิงพาณิชย์ได้ แต่ข้อจำกัดที่มีคือเรื่องของพื้นที่หลังท่าซึ่งไม่กว้างนัก ส่วนในเรื่องของร่องน้ำหากจะรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ก็อาจจะต้องมีการขุดร่องน้ำใหม่ให้เรือขนาดใหญ่เข้าได้ หรือจะมีรูปแบบอื่นๆในการรับสินค้าจากเรือเข้ามาที่ท่าเรือ ขณะเดียวกันก็พยายามดูแผนเรื่องของการพัฒนาท่าเรือเพื่อรองรับการท่องเที่ยวด้วย

“โครงการแลนด์บริดจ์ จะเกิดได้หรือไม่เรื่องของต้นทุนในการขนส่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากมีท่าเรือรองรับ 2 ด้าน ทั้งในด้านอันดามันและอ่าวไทยทำให้การขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันตกไม่ต้องไปอ้อมช่องแคบมะละกา ก็จะประหยัดเวลาไป 2-3 วัน เรือที่จะผ่านเขาก็ต้องดูว่าต้นทุนแบบไหนเขาประหยัดกว่า ส่วนโครงการที่พัฒนาจะมีอุตสาหกรรมด้วยหรือไม่ต้องรับฟังความเห็นของคนในพื้นที่เป็นหลัก โดยโครงการที่สศช.เสนอไปในแผนเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ไม่ได้เน้นในเรื่องอุตสาหกรรมแบบอีอีซีแต่เน้นในเรื่องของโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าเป็นสำคัญ”




2.โครงการคลองไทย หรือโครงการขุดคอคอดกระ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีการเสนอให้มีการศึกษาโครงการ และก่อสร้างมาหลายครั้ง รวมทั้งมีเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านโครงการจากหลายฝ่าย โดยโครงการนี้พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการให้ สศช.ลงไปศึกษาโครงการนี้มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 เนื่องจากเป็นโครงการคลองไทยซึ่งเป็นข้อเสนอจากพื้นที่ผ่านมายังกรรมาธิการศึกษาในสภาฯ แต่ในปี 2563 ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2564 สศช.ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ประมาณ 11 ล้านบาท ให้ลงไปศึกษาโครงการกำหนดระยะเวลาในการศึกษา 1 ปี

ทั้งนี้ขอบเขตของการศึกษาเน้นที่การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะเส้นทางของคลองไทย 9 เอ จะผ่านจังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรังและกระบี่ มีระยะทาง 135 กิโลเมตร คาดว่า จะช่วยย่นระยะทางการเดินเรือได้ 1,200 - 3,500 กิโลเมตร

การประเมินความเป็นไปได้ของโครงการในเบื้องต้นโดยจะจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อนายกรัฐมนตรี

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลประเมินว่าโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นได้ยากไม่ว่าจะพิจารณาด้วยเหตุผลด้านใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางด้านงบประมาณที่จะต้องใช้การลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท เหตุผลทางวิศวกรรมที่การเดินเรือข้ามระหว่าง 2 ฝั่งมหาสมุทรในระยทางยาวกว่า 135 กิโลเมตร ทำได้ยากมากในทางปฏิบัติ และเหตุผลด้านความมั่นคง โดยผลการศึกษาที่ สศช.ได้จากพื้นที่จะช่วยให้การตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับโครงการนี้มีความชัดเจนมากขึ้น


และ 3.โครงการสะพานไทย โครงการน้องใหม่ล่าสุดตามข้อเสนอของ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจและประธานคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลางและระยะยาว ในคณะกรรมการศูนย์บริหารสถารการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 หรือ“ศบศ.” ที่เสนอโครงการนี้ให้สำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) รับไปศึกษา

เครื่องรางเปลี่ยนชีวิต พกไว้ช่วยได้ รวยวันรวยคืน! อ่านตรงนี้
Money Amulet
ด้วยวิธีนี้คุณสามารถบอกลาเส้นเลือดขอดได้ใน 1 สัปดาห์!
Varicose Cream
หญิงสาวจาก เมืองนนทบุรี กลายเป็นมหาเศรษฐีโดยใช้วิธีนี้
Money Amulet
โอกาสที่ดีต่อสุขภาพ ในกรุงเทพมหานคร
Kontour ORGANIC
โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 9 แสนล้านบาท โดยเป็นโครงที่จะเชื่อมพื้นที่อีอีซีในภาคตะวันออกกับอีกด้านของอ่าวไทย เป็นสะพานขนาดความยาว 80 - 100 กิโลเมตร จากชลบุรีมายังเพชรบุรีหรือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทำให้เส้นทางที่ปกติต้องอ้อมไกลถึงเกือบ 400 กิโลเมตรลดลงเหลือ 1 ใน 3 หากทำทางเชื่อมได้ความเจริญจากภาคตะวันออกจะมาเชื่อมกับภาคตะวันตก

ที่สำคัญเป็นโครงการที่จะช่วยนำความเจริญจากฝั่งตะวันออกลงไปยังพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งนายไพรินทร์บอกว่านี่เป็นวิธีิที่หลายประเทศเช่นญี่ปุ่นทำแล้วประสบความสำเร็จมาแล้ว เพราะวิธีการแบบนี้เมื่อมีถนนที่เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยฝั่งตะวันออกและตะวันตกความเจริญที่กระจุกตัวอยู่เพราะมีความเจริญ สิ่งก่อสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐานอยู่มาก จะถ่ายโอนไปยังฝั่งตะวันตกได้

สนามบินอู่ตะเภาที่สร้างในพื้นที่อีอีซีฝั่งตะวันตกก็สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้เพราะเมื่อนักท่องเที่ยวมาลงที่อู่ตะเภาก็เดินทางข้ามฝั่งไปยังฝั่งตะวันตกได้ หรือหากภาคใต้ต้องการใช้ไฟฟ้าแต่ไม่ต้องการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมก็แก้ปัญหาโดยใช้วิธีเอาไฟฟ้าจากภาคตะวันออกโดยฝากสายส่งไปกับสะพานไทยเพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าจากฝั่งตะวันออกที่มีโรงไฟฟ้าจำนวนมากได้ก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องโรงไฟฟ้าได้ด้วย


นอจากเศรษฐกิจหากมองในทางการเมืองโครงการขนาดใหญ่ถือเป็นกลยุทธ์ในการดึงคะแนนเสียง เป็นการนำเสนอสิ่งใหม่ที่ต่างไปจากนโยบายประกันรายได้ ประกันราคาพืชเกษตร ยาง ปาล์มในพื้นที่ภาคใต้

เชื่อว่าในการประชุม ครม.สัญจร จ.ภูเก็ต และการลงพื้นที่เศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้วันที่ 2 - 3 พ.ย.นี้โครงการเหล่านี้จะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการพูดคุย โดยเฉพาะในการลงพื้นที่ครั้งนี้คีย์เมน ศบศ.อย่างไพรินทร์ จะลงพื้นที่ด้วย โครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆอาจเห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นหลังการประชุม ครม.สัญจรในครั้งที่จะถึงนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 111, 112, 113 ... 121, 122, 123  Next
Page 112 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©