RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180596
ทั้งหมด:13491831
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 37, 38, 39 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2020 8:18 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.พร้อมชี้แจงศาล “หลักเกณฑ์” ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 6 ตุลาคม 2563 - 12:50 น.

รฟม.แถลงย้ำหมุดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “บางขุนนท์-มีนบุรี” เปลี่ยนเกณฑ์ประเมินข้อเสนอ รวบซองเทคนิค-การเงินพิจารณาร่วมกัน ทำถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายร่วมทุนฯ เผยยังไม่เปิดยื่นซอง ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น พร้อมหอบเอกสารชี้แจงต่อศาลวันที่ 14 ต.ค. จ่อใช้สิทธิ์ฟ้องศาลแพ่งทำให้รัฐเสียหาย ไทม์ไลน์ยังไม่ปรับ ยื่นข้อเสนอ 9 พ.ย.ได้ผู้ชนะต้นปี’64

เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2563 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 ต.ค.2563 เป็นวันที่ศาลปกครองกลางนัดไต่สวนนัดแรกกรณี บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) ยื่นฟ้องต่อศาล ขอคุ้มครองชั่วคราวและขอให้เปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี กลับไปใช้เกณฑ์เดิม ซึ่ง รฟม.พร้อมชี้แจงต่อศาลในการปรับเป็นรูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค 30% ควบคู่กับด้านราคา 70%

ภคพงศ์-ผู้ว่าฯรฟม.
ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ
โดยยืนยันว่าการปรับปรุงเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประกาศเชิญชวนและเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เป็นแนวทางปฏิบัติโดยทั่วไปที่หน่วยงานของรัฐอื่นได้เคยดำเนินการในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน

ทั้งนี้ การปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้วโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่รัฐจะได้รับจากการได้ผู้ร่วมลงทุนที่มีศักยภาพในการดำเนินงานด้านเทคนิคในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ส่งผลให้ประชาชนได้รับการให้บริการระบบขนส่งมวลชนที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูงที่สุด และบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดทำบริการสาธารณะของ รฟม.

อีกทั้งการดำเนินการต่างๆ ของ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกในทุกขั้นตอน ได้มีการพิจารณาและคำนึงถึง มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ประกอบการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 กฎหมายลำดับรอง และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว

“โครงการยังไม่ได้เปิดยื่นข้อเสนอ อยู่ในช่วงเตรียมให้เอกชนมายื่นข้อเสนอ และไม่ได้ปรับแก้หลังรับข้อเสนอแล้ว จึงยังไม่มีผู้เสียหายเกิดขึ้น อีกทั้งให้เวลาในการทำข้อเสนอถึง 70 วัน มีเวลาเพิ่ม ไม่น่าจะเกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบหรือเอื้อต่อใครและเอกชนสามารถหาซับคอนแทรคทั้งในไทยและต่างชาติที่มีประสบการณ์งานด้านอุโมงค์มาดำเนินการได้ เพราะในทีโออาร์ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นผู้ที่มาซื้อซองเท่านั้น และไม่ได้กำหนดว่าต้องมีประสบการณ์อุโมงค์ก่อสร้าลอดแม่น้ำเจ้าพระยา”

ทั้งนี้ การที่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาภายหลังยื่นซองไปแล้ว เพื่อไม่ให้เอกชนได้ทราบถึงข้อกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ขณะที่คณะกรรมการฯจะไม่เห็นข้อเสนอของรายใดรายหนึ่ง ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและราคา แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจาณาแต่มีผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนด้านต่างๆ มาพิจารณาทั้งการลงทุน กฎหมาย การขนส่งสาธารณะ


อย่างไรก็ตาม รอฟังคำตัดสินของศาลฯว่าจะออกมายังไงและเมื่อไหร่ ทั้งนี้ในระหว่างนี้รฟม.ยังคงเดินหน้าตามขั้นตอนการเปิดประมูลคือจะเปิดยื่นซองวันที่ 9 พ.ย. จากนั้นคณะกรรมการมาตรา 36 จะประชุมกำหนดเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านต่างๆ จากนั้นจะเปิดข้อเสนอซองที่1 วันที่ 23 พ.ย. จะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 สับดาห์ ถึงจะประกาศผู้ผ่านการพิจารณา คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาซองที่2และ3 ประมาณ 2-3 เดือน และได้ผู้ชนะประมูลต้นปี 2564

“ถ้าศาลมีคำสั่งให้ชะลอหรือคุ้มครอง คงต้องยื่นอุทธรณ์ต่อ และชะลอการประมูลออกไป ซึ่งรฟม.พร้อมปฎิบัติตามคำสั่งศาลจนกว่าจะมีคำสั่งอื่นมาเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าศาลไม่มีคำสั่งคุ้มครอง จะเดินหน้าประมูลต่อไปและจะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งทำให้รฟม.เกิดความเสียหาย ”

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเกณฑ์พิจารณาด้านเทคนิค30% เช่น เทคนิคการก่อสร้าง การบริการจัดการจราจรช่วงก่อสร้าง ผลกระทบจากการก่อสร้างในพื้นที่โดยรอบ เพราะแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่เกาะรัตรโกสินทร์ซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหว และเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ตลอดเส้นทาง อีกทั้งจะดูการบริการการเดินรถที่ออกแบบด้วย

ส่วนด้านการเงิน 70 % อาทิ ดูเรื่องวงเงินที่เสนอให้รัฐสนับสนุนไม่เกินค่างานโยธา 96,012ล้านบาท โดยรัฐชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 7 ปี นับจากเริ่มก่อสร้าง 2 ปี นอกจากนี้มีเรื่องผลตอบแทนที่ให้รัฐจากผลการศึกษาที่ออกมาใน 30 ปีรฟม.จะได้ผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท

“ในข้อเสนอด้านราคา 70% จะมี 10% เป็นคะแนนด้านความน่าเชื่อถือจากราคาที่เอกชนเสนอมาว่าจะมีความเป็นไปได้และสามารถดำเนินการได้ตามที่เสนอแผนมาหรือไม่ ซึ่งเอกชนจะต้องเสนอราคาที่เป็นสมมุติฐานที่เป็นไปได้”

นายภคพงศ์กล่าวย้ำว่า รฟม.จะใช้เกณฑ์การพิจารณาประมูลของสายสีส้มสำหรับพิจารณาการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่นๆต่อไปด้วย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กม.

แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กม.จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี)

และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

โดย รฟม.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนppp net cost 30 ปี วงเงินลงทุนกว่า 1.28 แสนล้านบาท โดยจะเปิดให้บริการตลอดสายในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/10/2020 8:35 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.พร้อมชี้แจงศาล “หลักเกณฑ์” ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

รฟม.ลั่น ชนะคดี! ปมแก้ทีโออาร์ 'สายสีส้ม'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

รฟม.ลุยงัดหลักฐานแน่นโชว์ศาลปกครองฯ หวังชนะคดีปมแก้ทีโออาร์ถไฟฟ้าสายสีส้ม มั่นใจไม่เสียค่าโง่ในอนาคต จ่อยึดเกณฑ์นี้ประมูลเมกะโปรเจ็กต์ทุกโครงการ

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ศาลปกครองกลางนัดไต่สวนฉุกเฉิน คู่กรณีระหว่าง บริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เรียกว่า ลุ้นระทึกห้ามกระพริบตา

ทั้งนี้ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าการปรับแก้หลักเกณฑ์เงื่อนไขเอกสารการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท เป็นสิทธิ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 สามารถดำเนินการได้ และเป็นไปตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ขณะเดียวกันจากการปรับหลักเกณฑ์ครั้งนี้ ดำเนินการก่อนเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ และยังไม่ส่งผลเสียหายต่อเอกชนรายใด ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาบริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ได้ยื่นร้องการปรับหลักเกณฑ์โครงการฯ ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 โดยรายละเอียดคำขอแนบท้ายระบุว่า 1.ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปรับปรุงวิธีการประเมินและการขยายระยะเวลายื่อข้อเสนอตามที่ รฟม.ดำเนินการ และ 2.ขอให้ศาลเพิกถอนเอกสารประกาศเพิ่มเติม อีกทั้งยังมีคำขอท้ายคำร้องด้วยว่า ให้ศาลระงับการคัดเลือกเอกชนจนกว่าศาลจะมีคำสั่งพิจารณาตัดสินคดีนี้ ทั้งนี้ผู้ฟ้องร้องไม่ได้มีการเรียกร้องเงินชดเชยแต่อย่างใด ซึ่งจะไม่มีการเสียค่าโง่ในอนาคต เนื่องจากเป็นการฟ้องร้องเพื่อคุ้มครองและเพิกถอนมติการปรับปรุงหลักเกณฑ์เท่านั้น

"ขณะนี้ศาลปกครองนัดไต่สวนพิจารณาวันที่ 14 ตุลาคม 2563 โดยรฟม.เตรียมข้อมูลคัดค้านต่อศาลปกครองกลาง ตามกำหนดนัดไต่สวน ซึ่งจะชี้แจงในทุกประเด็นตามคำฟ้อง. รวมถึงการกำหนดข้อสงวนสิทธิ์ในเอกชนยื่นข้อเสนอโครงการ (RFP) ทั้งนี้รฟม.มีข้อมูลพร้อมชี้แจงว่าเป็นการดำเนินการตามอำนาจของคณะกรรมการตาม ม.36 และดำเนินการอย่างรอบคอบ อีกทั้งภายในคณะกรรมการ ม.36 ยังประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่หลากหลาย เชื่อถือได้ เช่น ตัวแทนจากอัยการ ตัวแทนด้านกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญในระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น เรายืนยันว่าจะชนะคดีความในครั้งนี้ เพราะการปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯ เป็นไปตามพระราชบัญญัติร่วมลงทุน (พ.ร.บ.) ปี 2562 ที่กำหนดไว้ รวมทั้งเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ในครั้งนี้ ไม่ได้ส่อทุจริต ขณะเดียวกันตามปกติแล้ว ศาลจะพิจารณาจากผู้ที่ได้รับความเสียหาย แต่ในกรณีนี้บีทีเอสยังไม่ได้เป็นผู้เสียหาย เพราะยังไม่ได้มีการยื่นประมูล ทั้งยี้คงต้องรอฟังคำตัดสินของศาล ว่าจะมีคำสั่งยกคำร้องหรือคุ้มครอง ซึ่ง รฟม.ยืนยันว่าดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย รวมทั้งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในปัจจุบันได้ขยายเวลาผู้ซื้อซองออกไป 45 วันนับตั้งแต่วันที่ออกเอกสารประกาศเชิญชวนร่วมลงทุน (RFP) ทำให้เอกชนมีระยะเวลาเตรียมจัดทำข้อเสนอก่อนยื่นประมูลไม่น้อยกว่า 70 วัน ซึ่งมีระยะเวลามากกว่าหลักเกณฑ์เดิมหลังกำหนดการยื่นซองประมูลมีระยะเวลาเพียง 60 วันเท่านั้น"

ขณะที่การนำคะแนนด้านเทคนิคมารวมในการพิจารณาคัดเลือกเป็นการดำเนินการตามข้อสงวนสิทธิ์ที่รฟม.ระบุไว้ใน RFP และยืนยันว่ากรณีของการปรับหลักเกณฑ์ จะไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะ RFP ไม่ได้กำหนดผู้รับเหมางานโยธาต้องซื้อซอง ดังนั้นสามารถรับเหมาช่วงได้ (ซับคอนแทรค)

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า หากศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ชะลอการประมูลโครงการฯ ทางรฟม.ก็มีสิทธิดำเนินการอุธรณ์คำร้องคุ้มครองได้เช่นกันจนกว่าศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งอื่นมาทดแทน เชื่อว่าจะชนะคดีความดังกล่าว

ทั้งนี้ยืนยันว่าโครงการฯ จะไม่ยืดเยื้อ เพราะผู้ฟ้องร้องไม่ได้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ต้องจัดทำข้อเสนอตามหลักเกณฑ์ฯใหม่ที่กำหนด และฝ่ายรฟม.ในฐานะหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้เสียหาย ถึงแม้จะถูกเอกชนฟ้องร้องทำให้เสียชื่อเสียงแต่ไม่ได้เน้นด้านการค้าความ ซึ่งต้องดูผลการพิจารณาจากศาลปกครองเป็นหลักในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ ก่อนที่จะดำเนินการกฎหมายทางแพ่งหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2020 11:04 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
รฟม.พร้อมชี้แจงศาล “หลักเกณฑ์” ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

รฟม.ลั่น ชนะคดี! ปมแก้ทีโออาร์ 'สายสีส้ม'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563


รฟม.ฟ้องบีทีเอสทำเสียชื่อ ยัน TOR สีส้มไม่ผิด
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563 10:07 น.

เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. พร้อมด้วยนายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง รฟม. ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ร่วมแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หลังจากที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) และนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือร้องคัดค้านต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และศาลปกครอง


นายภคพงศ์กล่าวว่า ตามที่นายศรีสุวรรณ ยื่นต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และล่าสุด ได้ยื่นร้องต่อศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล กรณีที่ รฟม.ปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)ให้เป็นรูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา โดยระบุว่าหาก รฟม.แพ้คดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC ได้ยื่นฟ้องศาลปกครอง อาจจะเสียค่าโง่และค่าชดเชยนั้น ยืนยันว่า ในการดำเนินงานของ รฟม.และคณะกรรมการมาตรา 36 เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 มาตรา 35, 38, 39 และเป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการ PPP นอกจากนี้คำร้องและคำฟ้องไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายค่าชดเชยใดๆ ดังนั้นจึงไม่มีประเด็นที่หาก รฟม.แพ้คดีจะทำให้รัฐเสียค่าโง่หรือค่าชดเชยแต่อย่างใด


ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า ตนยืนยันว่าการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว และข้อกำหนดใน RFP ที่สามารถออกเอกสารเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ในวันที่ 14 ต.ค.นี้ ศาลปกครองนัดไต่สวน รฟม.พร้อมจะชี้แจงในทุกประเด็น มีทั้งเอกสารอ้างอิงและข้อกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมการมาตรา 36 ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ หากศาลยกคำร้อง รฟม.จะเดินหน้าประกวดราคาตามกระบวนการ พร้อมกันนี้อาจจะพิจารณายื่นฟ้องศาลแพ่ง กรณีที่ทำให้ รฟม.ในฐานะหน่วยงานรัฐได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม หากศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองบีทีเอส รฟม.จะยื่นอุทธรณ์ต่อไป

วันเดียวกัน ที่สำนักงานศาลปกครองสูงสุด นายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนซอยแม่เนี้ยว แยก 3 เขตดินแดง กล่าวว่า วันนี้ชาวบ้านในชุมชนประชาสงเคราะห์เดินทางมายังศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้ข้อมูลต่อศาลตามคดีหมายเลขดำที่ ฟ.9/2559 เพื่อให้ศาลได้รับทราบข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มในช่วงสถานีประชาสงเคราะห์ที่ดำเนินการโดย รฟม. ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านนับร้อยครอบครัว อีกทั้งการจัดทำข้อมูลต่างๆ เช่น การศึกษา อีไอเอ ไม่ถูกต้องจึงทำให้เราต้องลุกขึ้นสู้อย่างถึงที่สุด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2020 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
รฟม.พร้อมชี้แจงศาล “หลักเกณฑ์” ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

รฟม.ลั่น ชนะคดี! ปมแก้ทีโออาร์ 'สายสีส้ม'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์มาแล้วครับ
รฟม.ลั่น ชนะคดี! ปมแก้ทีโออาร์ 'สายสีส้ม'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:35 น.
https://www.thansettakij.com/content/451950
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2020 2:20 am    Post subject: Reply with quote

วิบากกรรมรถไฟฟ้าสายสีส้ม สร้างเสร็จ 2 ปี ไม่มีรถวิ่ง
โดย ประเสริฐ จารึก
คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ
วันที่ 10 ตุลาคม 2563 - 18:34 น.

ยังคงเป็นที่จับตาสนามประมูล PPP เค้กแสนล้านรถไฟฟ้าสายสีส้ม “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” ที่กำลังดุเดือดเลือดพล่าน จะฉลุยหรือชะลอ

หลัง “บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งจะมีการไต่สวนนัดแรกวันที่ 14 ต.ค.นี้

พลันที่ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ได้เปลี่ยนกติกาพิจารณาผู้ชนะใหม่ หลังจากปิดการขายซองทีโออาร์ไปแล้ว

จากเดิมพิจารณา “ซองคุณสมบัติ” เสร็จถึงเปิด “ซองเทคนิค” ใครได้คะแนน 85% ขึ้นไป ถึงจะไปวัดดวงกันต่อที่ “ซองการเงิน”

ขณะที่เกณฑ์ใหม่เป็นแบบผสมผสาน เมื่อพิจารณา “คุณสมบัติ” จะเปิด “ซองเทคนิค” ควบคู่ “การเงิน” ในสัดส่วน 30 : 70 นำ “คะแนนเทคนิค” 30% มาพิจารณา ร่วมกับ “คะแนนการเงิน” 70%

ประเมินจาก “กติกาใหม่” ว่ากันว่า “ต่อให้มีผู้เสนอราคาต่ำแค่ไหน” ก็ไม่ใช่ “ผู้ชนะ”

เมื่อสนามนี้ไม่ได้พิจารณาผู้ชนะคือผู้ที่ให้ “รัฐอุดหนุนเงินลงทุนน้อยที่สุด” เหมือนกรณีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

แต่จุดชี้ขาดอยู่ที่ผู้ที่ให้ “ผลประโยชน์รัฐดีที่สุด” นั่นคือเทคนิคก่อสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ งานระบบ การบริหารจัดการโครงการ ต้องเนี้ยบและดีเยี่ยม

ขณะที่ “ข้อเสนอการเงิน” ก็ต้องเป็นข้อเสนอที่ดีที่สุด ไม่ใช่ดูจากราคาต่ำสุดอย่างเดียว

โดยประเมินจาก 2 มิติ อย่างแรก “สิ่งที่ขอ” คือ เงินสนับสนุนค่างานโยธาที่รัฐให้ไม่เกิน 96,012 ล้านบาท จ่ายชำระคืนเอกชนพร้อมดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 7 ปี หลังโครงการเริ่มก่อสร้างไปแล้ว 2 ปี

และ “สิ่งที่ให้รัฐ” คือ ผลตอบแทนรายได้กำไรจากการเดินรถตลอด 30 ปี ซึ่งในผลศึกษาโครงการทางบริษัทที่ปรึกษาประเมินออกมา รัฐจะได้ผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันประมาณ 1,000 ล้านบาท

ทั้งหมดจะนำมาคิดเป็นคะแนน และคำนวณออกมาเป็นวงเงินสุดท้ายที่รัฐได้ประโยชน์สูงสุด

โดยมีคณะกรรมการมาตรา 36 คุมอำนาจเบ็ดเสร็จพิจารณาในทุกมิติ ไม่ว่าด้านเทคนิค การเงิน ผลตอบแทนรายได้


ส่วนผลลัพธ์ที่ออกมาจะเข้าทำนอง “ของถูกไม่มีดี ของดีไม่มีถูก” หรือไม่ ต้องรอพิสูจน์

แต่ไม่ว่าจะดูมิติไหน รัฐจะได้ของดีราคาถูกหรือของดีแต่ราคาแพงก็ต้องไม่ลืมสิ่งที่ “สำนักงบประมาณ” มีข้อสังเกตทิ้งเป็นติ่ง เมื่อครั้งที่เสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ให้คณะกรรมการมาตรา 36 นำไปพิจารณาร่างทีโออาร์ก่อนประมูล

โดยระบุว่าการกำหนดทีโออาร์ ต้องไม่ให้รัฐเสียประโยชน์ มีการแข่งขันอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ให้เกิดกลไกตลาดที่จะทำให้รัฐประหยัดเงินลงทุน ไม่เป็นภาระการคลังของประเทศเกินความจำเป็น

เพราะรัฐมีภาระต้องนำงบประมาณไปจ่ายคืนเอกชนที่ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง และไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินอีกสารพัด

เป็นการวัดใจมหาเศรษฐีรถไฟฟ้าเมืองไทย ค่ายไหนจะใจกล้า ช่วยประเทศลดภาระหนี้ในระยะยาว และทำให้ประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ ได้นั่งรถไฟฟ้าในราคาที่เอื้อมถึง

ถ้าไม่มีอะไรเข้าแทรกจนทำให้โครงการสะดุดกลางคัน ตามไทม์ไลน์ของ “รฟม.” ภายในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะเปิดยื่นซองข้อเสนอทั้ง 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การเงิน และข้อเสนออื่น ๆ เพิ่มเติม

จากนั้นวันที่ 23 พ.ย.จะเปิดซองคุณสมบัติ หลังประกาศผลผู้ผ่านการพิจารณาแล้ว จะเปิดซองเทคนิคและการเงินพร้อมกัน ใช้เวลาพิจารณา 1-2 เดือน คาดว่าจะได้ผู้ชนะภายในเดือน ม.ค. 2564

ย้อนดูโครงการ “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 235,321 ล้านบาท

สายสีส้ม สร้างเสร็จ ไม่มีรถวิ่ง

แบ่งสร้าง 2 ช่วง ปัจจุบันกำลังสร้างช่วงตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” วงเงิน 92,529 ล้านบาท เริ่มตอกเข็มเมื่อปี 2560 ขณะนี้มีผลงานรุดหน้า 69.82% ผู้รับเหมาทั้ง 6 สัญญากำลังโหมสร้างให้เสร็จปลายปี 2565 แต่พร้อมเปิดบริการภายในปี 2567

สาเหตุต้องรอ 2 ปี เนื่องจากรอติดตั้งงานระบบและขบวนรถ ที่ รฟม.นำไปรวมอยู่ในแพ็กเกจเปิด PPP ช่วงตะวันตก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม” ให้เอกชนหาเงิน 128,128 ล้านบาท ลงทุนก่อสร้าง จัดหาระบบซื้อรถให้รัฐก่อน แลกรับสัมปทาน เดินรถ เก็บค่าโดยสารตลอดสาย 30 ปี

ที่ผ่านมาจากนโยบายที่ไม่นิ่ง ทำให้การคัดเลือกเอกชนล่าช้ามากว่า 1 ปี ทำให้ “สายสีส้มตะวันออก” อยู่ในสภาพสร้างเสร็จ แต่ไม่มีรถมาวิ่ง “รฟม.” ต้องจัดสรรงบประมาณมาดูแลทรัพย์สิน หรือที่เรียกว่าค่า “care of work” เพื่อวอร์มอัพโครงสร้างที่มีทั้งใต้ดินและทางยกระดับไว้ตลอดเวลา ว่ากันว่ามีค่าใช้จ่ายปีละ 300-400 ล้านบาท

เวลานี้ “บิ๊ก รฟม.” ได้แต่ภาวนาให้ผู้รับเหมาขอต่อเวลาและสร้างเสร็จช้า ๆ เพื่อไม่ต้องควักเงินมาดูแลรักษาโครงการ

อีกด้านหนึ่งก็มีแนวคิดจะนำวงเงินที่งอกขึ้นมา ผลักให้เป็นภาระเอกชนแทน กำลังชั่งใจจะให้เป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมาทั้ง 6 สัญญาหรือเอกชนที่จะรับสัมปทานเดินรถ

แต่ไม่ว่าวิธีไหน ก็เป็นภาระ รฟม.อยู่ดี หากผู้รับเหมาขอต่อเวลา ต้องจ่ายค่าชดเชยเพิ่ม

ดูเหมือน “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” จะเป็นบทเรียนซ้ำซากจาก “การบริหารงาน-เวลา” ที่ผิดพลาด เหมือนรถไฟฟ้าหลากสีในอดีต ที่โครงการสร้างเสร็จแต่รถไฟฟ้าไม่มาตามนัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2020 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ยักษ์รับเหมาสู้หมัดต่อหมัด ตัดเชือกเกณฑ์ใหม่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 13 ตุลาคม 2563 - 17:54 น.


นับเป็นรถไฟฟ้าอีก 1 สายทางที่มีประเด็นร้อนกลายเป็น “ทอล์กออฟเดอะทาวน์” ต่อเนื่อง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์ ) วงเงินรวม 235,320 ล้านบาท เค้กประมูลส่งท้ายปี 2563 มี “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เป็นเจ้าของโครงการ

สีส้มตะวันออกสร้างคืบ 70%
ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีส้มเดินหน้าก่อสร้างช่วงตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี” ระยะทาง 22.57 กม. ไปแล้ว ล่าสุดมีความคืบหน้า 69.82% สร้างเร็วกว่าแผน 2.77% ตามสัญญางานก่อสร้างจะเสร็จปลายปี 2565 และจะเปิดให้บริการในปี 2567 หรือในอีก 4 ปีข้างหน้า

แต่การเปิดให้บริการในปี 2567 จะเป็นไปได้หรือไม่ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของโครงการ “ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ” ที่ รฟม.ประมูล PPP net cost เป็นแพ็กเก็จให้เอกชนลงทุน 1.28 แสนล้านบาท ก่อสร้างงานโยธาช่วงตะวันตกและเหมาเดินรถตลอดสาย เป็นระยะเวลา 30 ปี จากบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทางรวม 35.9 กม. รัฐจ่ายค่าเวนคืนให้ 1.4 หมื่นล้านบาท

ปัจจุบัน “รฟม.” อยู่ระหว่างเปิดประมูล มีเอกชนสนใจซื้อเอกสารประมูล 10 บริษัท ได้แก่

บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS)
บมจ.ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
บมจ.ราช กรุ๊ป จำกัด
บมจ.ช.การช่าง จำกัด
บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
บจ.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
บจ.วรนิทัศน์ ดีเวลอปเม้นท์
ดูเหมือนกระบวนประมูลจะเดินหน้าฉลุย แต่แล้วกลับปรากฎความเคลื่อนไหวสำคัญขึ้น ที่ว่ากันว่าทำให้กลายเป็น “จุดเปลี่ยน” ของสนามแข่งขันของรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ITD – BTS สู้เกมหลักเกณฑ์ใหม่
หลังเปลี่ยนประธานคณะกรรมการมาตรา 36 และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ พี่ใหญ่วงการรับเหมา สวมบทหัวใจสิงห์ ร่อนหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ รฟม. ให้พิจารณาปรับปรุงการประเมินข้อเสนอใหม่ ให้นำข้อเสนอ “ด้านเทคนิค” เข้ามาเป็นอีกหนึ่งเกณฑ์หลัก นอกเหนือจากการตัดเชือกที่ “ราคาต่ำสุด” เพียงอย่างเดียว

ขณะที่ “รฟม.” และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 เห็นพ้องและปรับหลักเกณฑ์คัดเลือกใหม่ เปิดซอง “เทคนิค-ราคา” พร้อมกัน โดยนำคะแนนเทคนิค 30% มาพิจารณาร่วมกับราคา 70%

พร้อมกับขยับวันยื่นซองออกไปอีก 45 วัน จากเดิมจะต้องยื่นซองในวันที่ 23 ก.ย. 2563 เป็นวันที่ 9 พ.ย. 2563 แทน เพื่อให้ผู้ซื้อซองสามารถเตรียมตัวเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับเกณฑ์ใหม่ดังกล่าว

พลันที่ “รฟม.” ประกาศเกณฑ์ใหม่ ทาง “บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” เดินสายยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการ รฟม. และยื่นหนังสือองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ให้จับตาการประมูลโครงการดังกล่าว

และยื่นต่อศาลปกครองกลางให้มีคำสั่งเพิกถอนมติคณะกรรมการมาตรา 36 และเอกสารตาม RFP ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินข้อเสนอโครงการ และยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อให้ระงับการดำนินการใด ๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการไว้ก่อน ซึ่งศาลฯนัดทั้งสองฝ่ายมาไต่สวนนัดแรกวันที่ 14 ต.ค. 2563



บีทีเอสกังขา 3 ประเด็น
“สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอสซี ได้ตั้งคำถามถึงการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งในประเทศไทยไม่เคยมีการใช้เกณฑ์ดังกล่าวประมูลมาก่อน โดยมีข้อกังขา 3 ข้อ ประกอบด้วย


1. การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็นด้านการเงิน 70% และเทคนิค 30% มีความไม่ชอบมาพากล เพราะเมื่อดูไส้ในทีโออาร์แล้ว เป็นการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการมาตรา 36 มากเกินไป แถมการเปลี่ยนหลักเกณฑ์เกิดขึ้นภายหลังจากการซื้อซองทีโออาร์ ทำให้เห็นคู่ชกก่อนจะขึ้นเวที เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น

2. ในสัดส่วนการตัดสินด้านการเงิน 70% มีการแบ่งการให้คะแนนเป็นราคาที่ดีที่สุด 60% และราคาที่สมเหตุสมผลอีก 10% ซึ่งการใช้คำว่า “สมเหตุสมผล” ทางคณะกรรมการตามมาตรา 36 จะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณาว่าราคาใดสมเหตุสมผล

3. มีการกำหนดเรื่องของการมีประสบการณ์เพิ่มว่า ต้องเคยก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้า ซึ่งมี 3 บริษัทที่มีประสบการณ์โดยหนึ่งในนั้นมี บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น ที่มีประสบการณ์ แต่ภายหลังทราบมาว่ามีการพูดกันว่า ต้องเคยทำอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

ทำให้เหลือเพียง 2 บริษัทเท่านั้น ที่เคยมีประสบการณ์ทางอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การหาพันธมิตรที่มีประสบการณ์เป็นไปได้ยาก เพราะตามทีโออาร์ให้หาพันธมิตรเฉพาะผู้ที่ยื่นซองทีโออาร์เท่านั้น

“ได้เตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงในนัดไต่สวนนัดแรกวันที่ 14 ต.ค.แล้ว ยืนยันว่ากระบวนการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกโดยใช้คะแนนด้านเทคนิคพ่วงเข้ามาด้วย เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แถมใน RFP มีการระบุว่า หากเป็นผู้ประกอบการชาวไทยที่มีประสบการณ์ด้านการก่อสร้างอุโมงค์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ จึงเห็นว่าการระบุเงื่อนไขและการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูลเป็นเรื่องไม่ชอบธรรม” นายสุรพงษ์กล่าวและย้ำว่า

ทั้งนี้ หากศาลไม่คุ้มครองและให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเดิม กลุ่มบีทีเอสก็พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการตามเดิม เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ของบริษัท โดยจะร่วมกับพันธมิตรเดิม คือ ซิโนไทยฯ และราชกรุ๊ป

รฟม.เปิดโต๊ะแถลง 2 ครั้ง
ด้าน “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม. ออกมาตอบโต้ถึง 2 ครั้ง 2 ครา โดยยืนยันการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่า สามารถทำได้ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 มาตรา 35 และมาตรา 38 และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ข้อ 17.1 สอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน 2563 ข้อ 4 (8) และ 4 (9) และเป็นการดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 อีกด้วย

เปิดทางพ่วงประสบการณ์ผู้รับจ้าง
สำหรับข้อกังวลว่าจะมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบ นั้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 มีข้อสรุปร่วมกันให้จัดทำเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) และขยายเวลายื่นซองประมูลออกไปอีก 45 วันให้แล้ว รวมถึงในทีโออาร์เปิดช่องให้ใช้ประสบการณ์ของผู้รับจ้างมาเพิ่มเติมลงไปในการยื่นซองประมูลได้ ไม่ได้บังคับเฉพาะผู้ซื้อซอง และมีเกณฑ์การตัดสินเท่าเทียมกัน

ไม่ระบุสเปกอุโมงค์ลอดเจ้าพระยา
ส่วนที่ระบุว่า ต้องเคยทำอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาก็ไม่เป็นความจริง ในทีโออาร์กำหนดเพียงว่า จะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินแบบหัวเจาะ (Underground Tunnel by Tunnel Boring Machine) ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 5 เมตร ซึ่ในไทยมีบริษัทที่เคยทำประมาณ 4-5 ราย และยังไม่รับเหมาต่างชาติที่มีประสบการณ์อีกหลายบริษัทด้วย

“ยืนยันว่าทุกอย่างทำตามกฎหมายหลักและกฎหมายลูกอย่างถูกต้อง ทั้ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562, ประกาศทีโออาร์ และกฎหมายประกาศคณะกรรมการ PPP ส่วนประสบการณ์การก่อสร้างก็ไม่ได้เขียนเน้นว่าต้องเคยก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา และกำหนดให้คะแนนผู้ประกอบการไทยมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นแต่อย่างใด” นายภคพงศ์กล่าว

“ประยุทธ์” ห่วงสร้างเสร็จช้า
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขอให้เป็นเรื่องของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องไปชี้แจง ถ้ามีปัญหาก็เอาหลักฐานและข้อมูลที่มีไปชี้แจงแล้วกัน เพราะสั่งอะไรไม่ได้

“ผมห่วงเรื่องก่อสร้างล่าช้า แต่ต้องทำให้ถูกต้อง ส่วนจะกระทบความเชื่อมั่นในการลงทุนโครงการใหญ่หรือไม่ ก็อยู่ที่คำชี้แจง ถ้าชี้แจงได้ก็จบ ก็ช่วยกัน ถ้ามีการรับผลประโยชน์ก็แจ้งมา และต้องดูผลประโยชน์ประชาชนด้วย”

“ศักดิ์สยาม” ย้ำความโปร่งใส
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกมาระบุว่า จากการรายงานของ รฟม.ก็ยืนยันดำเนินการอย่างโปร่งใสและถุกต้องตามกฎหมายให้สามารถดำเนินการได้ โดยมีเอกสารยืนยันจาก สคร.ว่าปรับรายละเอียดได้และที่ผ่านมา รฟม.ประมูลรถไฟฟ้ามาหลายสายทั้งสีชมพู สีเหลือง สีม่วง สีน้ำเงิน ไม่ใช่โครงการสายสีส้มตะวันตกเป็นโครงการแรก แต่ก็อย่างไปปิดกั้นสิทธิในการตั้งข้อสังเกตต่างๆ รฟม.ต้องแสดงข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งหมด

“รฟม.ยืนยันพร้อมจะรายงานข้อมูลทั้งหมดต่อศาลปกครองว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ใช่โครงการแรกที่มีการร้องเรียน ขอยืนยันว่าทุกโครงการที่กระทรวงคมนาคมดำเนินการนั้นโปร่งใสตรวจสอบได้”

รับเหมาแบ่งเค้กสร้าง
ด้านแหล่งข่าวจากรับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้เป็นการช่วงชิงสัมปทานเดินรถ 30 ปี มากกว่างานก่อสร้าง เพราะงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และรถไฟฟ้าในเมืองไทย มีรับเหมา 4-5 ราย ที่เป็นผู้ก่อสร้าง และไม่ว่าใคระจะชนะ ก็หนีไม่พ้นจะเป็นรับเหมาขาใหญ่ในวงการที่ได้สร้าง

“การทำธุรกิจไม่มีมิตรแท้และศักตรูที่ถาวร ดูได้จากสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม งานก่อสร้างอุโมงค์จาก ศูนย์วัฒนธรรม-หัวหมาก ที่มี 2 บิ๊กรับเหมาจับมือกันก่อสร้างมาแล้ว”

ดูท่าจะไม่จบง่ายๆ เพราะงานนี้คงจะมีข้อโต้เถียงกันอีกยาว ถึงเกณฑ์การพิจารณาที่ใช้ “ดุลพินิจ” มากกว่าตัดเชือกกันที่ “ราคา” และอาจจะกระทบต่อไทม์ไลน์การก่อสร้างและการเปิดบริการ ล่าช้าออกไปได้ไม่มากก็น้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2020 2:07 am    Post subject: Reply with quote

14 ต.ค.นี้ ศาลฯ นัดไต่สวนบีทีเอส-รฟม. ปมแก้ทีโออาร์ “สายสีส้ม”
วันที่ 12 ตุลาคม 2563 เวลา 15:39:13

ศาลปกครองนัด บีทีเอส-รฟม. เจรจาไต่สวนหลังปรับแก้ไขทีโออาร์โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มโครงการถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 14 ต.ค.นี้ ด้านบีทีเอสลั่นเป็นผู้เสียหายเหตุซื้อซองประมูลก่อนปรับเกณฑ์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2020 11:50 pm    Post subject: Reply with quote

ไต่สวนนัดแรก! ฟ้องเปลี่ยนกติกา “สีส้ม” รฟม.ยันทำตาม กม.ลุ้นยกคำร้องเดินหน้ายื่นซอง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เวลา 17:11


ศาลปกครองไต่สวนนัดแรก “รฟม.-บีทีเอส” ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมกรณีร้องเปลี่ยนเงื่อนไขประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “ผู้ว่าฯ รฟม.” มั่นใจได้เดินหน้าประมูลต่อ ชี้ทำตามระเบียบกฎหมาย ทางบีทีเอสยังไม่ได้รับความเสียหายใดๆ คาดศาลมีคำสั่งสัปดาห์หน้า “บีทีเอส” ยืนยันเปลี่ยนกติกาทำให้มีความได้เปรียบ-เสียเปรียบ

วันที่ 14 ต.ค. ศาลปกครองกลางได้นัดไต่สวนนัดแรก กรณีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (มหาชน) หรือ BTS ได้ยื่นฟ้องในหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง BTSC ในฐานะผู้ฟ้องคดี กับคณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ ปี 2562) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โดยขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอน มติคณะกรรมการมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ ปี 2562 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่เห็นชอบปรับปรุงวิธีและเงื่อนไขการประเมินการคัดเลือกเอกชน ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) เป็นรูปแบบการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา ภายหลังจากที่ รฟม.ปิดขายเอกสารประกวดราคาไปแล้ว และขอให้คุ้มครองฉุกเฉินให้ระงับการประมูล

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า ได้ชี้แจงข้อมูลในการไต่สวนตามข้อเท็จจริง และมั่นใจว่าจะชนะคดี โดย รฟม.ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เป็นการดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อเสนอเพิ่มเติมนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจของคณะกรรมการมาตรา 36 และยังไม่เปิดให้มีการยื่นซองข้อเสนอแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้มีการขยายเวลาในการยื่นเอกสาร เพื่อให้มีเวลาในการทำข้อมูลเพิ่ม ดังนั้น ยืนยันว่าทางบีทีเอสไม่ใช่ผู้เสียหายความเสียหายจึงยังไม่เกิดขึ้น และ รฟม.ยังไม่ได้ตัดสิทธิบีทีเอสในการเข้าประมูล และไม่ได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติต่างๆ ของผู้เข้าร่วมแต่อย่างใด

โดยขั้นตอนหลังจากการไต่สวนข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายของศาลปกครองกลางแล้ว เบื้องต้นศาลฯ ไม่ได้นัดทั้งสองฝ่ายไต่สวนเพิ่ม ยกเว้นหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และคาดว่าจะมีคำสั่งภายในสัปดาห์หน้า โดยต้องรอคำสั่งศาลออกมาก่อน ทั้งนี้ ในส่วนของ รฟม.ยังไม่ได้มีแผนรองรับกรณีที่คำสั่งของศาลฯ ออกมาเป็นอย่างไร เพราะมั่นใจว่าศาลจะไม่คุ้มครองตามคำร้องของบีทีเอส

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหารบีทีเอส กล่าวว่า ศาลปกครองกลางได้นัดไต่สวนคดีนัดแรก ซึ่งทั้งสองฝ่ายให้ข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากเอกสารที่ชี้แจงไปก่อนหน้านี้ โดยทางบีทีเอสในฐานะผู้ฟ้องคดียังคงยืนยันคำฟ้อง 2 ส่วน คือ 1. ขอให้เพิกถอนเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม (RFP Addendum) ตามที่ รฟม.ประกาศออกมานอกเหนือจากเอกสาร RFP ซึ่งมีผลทำให้ปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกสาร จากเดิมพิจารณาข้อเสนอด้านราคา 100 คะแนน เป็นพิจารณาข้อเสนอด้านด้านราคา 70 คะแนน ข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน 2. ขอคุ้มครองฉุกเฉินชั่วคราวไม่ให้มีการเปิดซองประมูลจนกว่าศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งตัดสินคดี เนื่องจากบีทีเอสเห็นว่าการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ภายหลังประกาศขาย RFP ไปแล้วนั้น ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ และไม่เป็นธรรม

นอกจากนี้ รฟม.ยังดำเนินการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ได้อนุมัติให้เปิดประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม และหลักเกณฑ์การคัดเลือกในรูปแบบพิจารณาข้อเสนอด้านราคา 100 คะแนน

โดยหากศาลมีคำสั่งไม่คุ้มครองฉุกเฉิน บีทีเอสยังคงยืนยันที่จะเข้าร่วมประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในวันที่ 9 พ.ย.นี้ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมเอกสารข้อเสนอ และจะมีการจับมือกับพันธมิตรแต่ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยว่าเป็นกลุ่มใดได้เพราะอาจจะมีผลต่อการประมูล แต่หากมีประเด็นจนทำให้ รฟม.ต้องยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ และต้องประกาศขายเอกสารประมูลใหม่นั้น บีทีเอสคาดว่าจะเข้าร่วมประมูลโดยจะมีการศึกษาเงื่อนไขใน RFP อย่างละเอียดก่อนศาลปกครองไต่สวนนัดแรก'รฟม.-บีทีเอส' ปมเปลี่ยนTORประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ศาลปกครองไต่สวนนัดแรก'รฟม.-บีทีเอส' ปมเปลี่ยนTORประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
วันพุธ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 15.13 น.

ศาลปกครองไต่สวนนัดแรก"รฟม.-บีทีเอส" ปมเปลี่ยนTORประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 2ฝ่ายมั่นใจข้อมูล "บีทีเอส"ยันเปลี่ยนหลักเกณฑ์หลังปิดการขายซองประมูลไปแล้วทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ด้าน"รฟม."เชื่อยังไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการละเมิดบีทีเอส



เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ศาลปกครองกลางได้นัดไต่สวนในคดีที่บริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยื่นฟ้อง คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์ ) และพวกรวม 2 คน ขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทีโออาร์โครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ให้นำข้อเสนอทางด้านเทคนิคมาให้คะแนนควบคู่กับข้อเสนอด้านราคา หลังจากที่มีการปิดการขายซองประมูลไปแล้ว เนื่องจากเห็นว่าก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับเอกชนบางราย พร้อมกับขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยสั่งระงับการเปิดรับข้อเสนอของเอกชนในวันที่ 9 พ.ย.นี้ ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

โดยในการไต่สวนครั้งนี้ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส และ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดินทางเข้าให้ถ้อยคำต่อศาลด้วยตนเอง ซึ่งหลังการไต่สวนนาน 2 ชั่วโมงเศษ นายภคพงศ์ กล่าวว่า ในการไต่สวนทางรฟม.ก็ได้ส่งคำคัดค้าน คำร้อง โดยยืนยันว่าการดำเนินการของ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ยังไม่ถือว่าเป็นการละเมิดใดๆ กับบีทีเอส และเราก็ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยศาลรับคำร้องทั้งหมดไว้พิจารณา และเชื่อว่าจะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงสัปดาห์หน้า




เมื่อถามว่า ได้มีการเตรียมการอย่างไรหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว นายภคพงศ์ กล่าวว่า ไม่มีการเตรียมการใดๆ เพราะเรามั่นใจว่าศาลไม่น่าจะมีการคุ้มครอง จากนี้ศาลก็คงนำคำชี้แจงของทั้ง รฟม.และบีทีเอส ไปพิจารณา ถ้าเห็นว่าเพียงพอก็คงไม่มีการขอไต่สวนเพิ่มเติม แต่ถ้ายังขาดข้อมูลบางอย่างก็อาจจะเรียกไต่สวนเพิ่ม ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล

ด้าน นายสุรพงษ์ กล่าวว่า หลังจากนี้ก็คงต้องรอผลการพิจารณาคดีของศาล ไม่แน่ใจว่าจะมีคำพิพากษาภายในสัปดาห์หน้าหรือไม่ ส่วนจะมีคำพิพากษาทันวันยื่นข้อเสนอหรือไม่นั้น ก็ได้ยินว่ากระบวนการน่าจะเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ มองว่าการปรับหลักเกณฑ์จากเดิมพิจารณาข้อเสนอด้านราคา 100 คะแนน เป็นพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และด้านราคา 70 คะแนน อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ โดยมีการใช้ดุลยพินิจซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูก เพราะมีมติ ครม.ไปแล้วว่าวิธีการประเมินเป็นอย่างไร รวมถึงการศึกษาของ รฟม.เอง ซึ่งคงจะต้องเป็นไปตามนั้น แต่เสร็จแล้วมีการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากที่ปิดการขายซองประมูลไปแล้ว คล้ายๆกับว่ารู้อยู่แล้ว่าใครบ้างที่จะมีสิทธิเข้ามายื่นได้ ซึ่งมองว่าการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ต้องส่งให้ ครม.พิจารณาอีกรอบก่อน ซึ่งประเด็นเหล่านี้ก็ได้ชี้แจงต่อศาลไปแล้ว และมีการขอให้ศาลยกเลิกการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้กลับมาใช้หลักเกณฑ์เดิม และขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินเพื่อให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวจนกว่าจะมีคำพิพากษา เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย แต่ในคำฟ้องยังไม่มีการเรียกค่าเสียหายแต่อย่างใด และถ้าศาลไม่มีคำสั่งคุ้มครองก็ยังยืนยันที่จะเข้าร่วมประมูลในวันที่ 9 พ.ย.ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ

เมื่อถามว่า ตอนนี้มีความมั่นใจหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ต้องมั่นใจ และเมื่อถามต่อว่าหากในอนาคตต้องมีการประมูลกันใหม่ในโครงการดังกล่าว ทางบีทีเอสจะเข้าร่วมอีกหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า โดยหลักการก็ถือว่าพร้อม แต่ก็ต้องขอดูทีโออาร์ ที่จะออกมาด้วย เมื่อถามว่ากรณี รฟม.บอกว่า บีทีเอสยังไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะยังไม่ได้ให้มีการยื่นซองนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เราก็ชี้แจงไปแล้ว ก็ต้องอยู่ที่ดุลยพินิจของศาล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2020 11:32 am    Post subject: Reply with quote

'บีทีเอส-รฟม.'รอฟังคำสั่ง ศาลปกครองชี้คดีประมูล'สายสีส้ม'
วันพฤหัสบดี ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.


เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม2563 ศาลปกครองนัดไต่สวนคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ที่ทาง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTS ยื่นคำร้องขอให้คุ้มครองและเพิกถอนมติคณะกรรมการคคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 140,000 ล้านบาท คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการนัดไต่สวนดังกล่าว นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) พร้อมฝ่ายกฎหมาย และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้เข้าร่วมรับฟังการไต่สวนด้วยตนเอง โดยในการนัดไต่สวนดังกล่าวเป็นการนัดไต่สวนครั้งแรกจากกรณีที่ทาง BTS ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขร่างเอกสารการประมูล(TOR) โครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงนำข้อเสนอทางด้านเทคนิคมาให้คะแนนควบคู่กับข้อเสนอราคาหลังจากที่ได้มีการเปิดขายซองประมูลไปแล้วจึงเป็นเหตุให้ BTS เข้ายื่นเรื่องต่อศาลฯเพื่อขอให้เพิกถอนเอกสารเพิ่มเติมการเปลี่ยนแปลง TOR ดังกล่าว และขอให้คุ้มครองการประมูลฉุกเฉิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2020 8:24 am    Post subject: Reply with quote


ก่อสร้างสถานีคลองบ้านม้า ความคืบหน้าสิ้นเดือนกันยายน 87.41% แล้ว มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก คาดว่างานโยธาจะเสร็จสิ้นประมาณปี 2565 ส่วนการเปิดบริการเต็มรูปแบบคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2567
https://www.youtube.com/watch?v=tHu3L3zhN4E
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 37, 38, 39 ... 89, 90, 91  Next
Page 38 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©