Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258781
ทั้งหมด:13570058
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 223, 224, 225 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

กรุงเทพเหนือหารือผลกระทบสร้างรถไฟฟ้า
25 กันยายน 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2020 7:27 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าชมพู-เหลืองมาแน่ ปีหน้าสีส้มยังติดหล่ม
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 26 กันยายน 2563 - 20:13 น.


คืบหน้ากว่า 60% - ไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย สีส้ม ชมพู และเหลือง ของ รฟม. มีความก้าวหน้าไปกว่า 60% ขณะเดียวกันมีปัญหาหน้างาน แรงงานขาด ติดย้ายไฟฟ้าแรงสูง แต่ รฟม.จะคงเป้าเปิดบริการตามเดิม

ปิดด่านชายแดน ต่างด้าวเข้าไทยไม่ได้ ป่วนไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย แรงงานขาดนับ 1,000 คน รับเหมาอัดฉีดเงินเปิดโอทีเร่งสปีดงาน รฟม.เปิดไทม์ไลน์ ต.ค.ปี’64 เปิดหวูดสีชมพู “มีนบุรี-วัดพระศรีฯ” สีเหลือง “สำโรง-พัฒนาการ” สีส้มติดหล่มปมร้องเกณฑ์ประมูลหาเอกชนเดินรถ ลุ้นศาลปกครองรับ-ไม่รับคำฟ้องกลุ่มบีทีเอส

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟม.เคลียร์พื้นที่ให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโน-ไทย-ราชกรุ๊ป) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ใกล้แล้วเสร็จ เพื่อเร่งรัดการก่อสร้าง ซึ่งขบวนรถคันแรกของทั้ง 2 สายจะมาถึงไทยในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อทดสอบระบบ

สีชมพูยังติดเวนคืนที่ดิน
โดยสายสีชมพูส่งมอบพื้นที่ได้เกือบหมด ยังเหลือเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ขยับตำแหน่งสถานีแครายและสถานีนพรัตน์ใหม่ ซึ่งงานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 63.36% ภายในเดือน ต.ค. 2564 จะเปิดบริการช่วงสถานีมีนบุรี-สถานีวัดพระศรีมหาธาตุเชื่อมกับสายสีเขียวและเปิดตลอดสายปลายปี 2565

“รับเหมาขอขยายเวลา 365 วัน ทำให้การเปิดบริการขยับไปจากเดิม แต่จะพยายามเปิดบริการก่อน ต.ค.ปีหน้าเพราะยังติดพื้นที่ช่วงหน้าราชภัฏพระนครที่เพิ่งส่งมอบให้กับผู้รับเหมา”

ปีนี้ลุยตอกเข็มเข้าเมืองทองฯ
สำหรับส่วนต่อขยายสายสีชมพูสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กม. เงินลงทุน 3,379 ล้านบาท รอกระทรวงคมนาคมเสนอ ครม.อนุมัติ หากได้รับอนุมัติสามารถเซ็นสัญญาได้ทันที เนื่องจากร่างสัญญาผ่านการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว คาดว่าจะเริ่มสร้างปีนี้ และเสร็จปลายปี 2566

ส่วนสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ไม่มีปัญหาส่งมอบพื้นที่ งานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 64.30% จะเร่งเปิดช่วงสถานีสำโรง-สถานีพัฒนาการ ในเดือน ต.ค. 2564 พร้อมสายสีชมพู และเปิดตลอดสายในเดือน ต.ค. 2565


สีเหลืองต่อขยายติดปมชดเชย
“ต่อขยายสายสีเหลืองแยกรัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน 2.6 กม. เงินลงทุน 3,779 ล้านบาท ที่กลุ่มบีทีเอสเสนอลงทุน รอเจรจาบีทีเอสให้ทบทวนตามมติบอร์ด รฟม. ใหรับหลักการในสัญญา มีเปิดรับเงื่อนไขในอนาคต ถ้า บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงิน พิสูจน์ได้ว่าขาดรายได้จากเปิดส่วนต่อขยายสายสีเหลืองจะมีเจรจาค่าเยียวยากัน จะทำหนังสือเชิญบีทีเอสมาเจรจาอีกครั้ง หลังยืนยันไม่ขอรับผิดชอบค่าชดเชย”

ทั้งนี้ ส่วนต่อขยายสายสีเหลืองเป็นข้อเสนอเพิ่มเติมของเอกชน ไม่มีอยู่ในแผนแม่บทเดิม จะได้สร้างหรือไม่ จะไม่ส่งผลกระทบต่อสายสีเหลืองเส้นทางหลักที่เชื่อมกับสายสีน้ำเงินที่สถานีลาดพร้าว เพราะเป็นการต่อปลายทางไปเชื่อมกับสายสีเขียวที่สถานีรัชโยธิน

“บอร์ดพิจารณาประเด็นเรื่องประโยชน์ของประชาชนค่อนข้างมาก กรณีมี-ไม่มีส่วนต่อขยาย แต่ต้องไม่เกิดกรณีที่รัฐต้องมารับภาระถูกเรียกร้องค่าชดเชย ค่าขาดรายได้ ต้องมีข้อความเป็นหลักประกันนิดหนึ่งในสัญญา ไม่ใช่ว่าจะผลักให้ รฟม.รับผิดชอบคนเดียว ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย”

สีส้มติดบ่วงประมูลเดินรถ
ขณะที่สายสีส้มตะวันออกศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี งานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 67.84% แล้วเสร็จปลายปี 2565 แต่การเปิดบริการต้องรอผลคัดเลือกเอกชนลงทุน 30 ปี ก่อสร้างช่วงตะวันตกศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ และเดินรถตลอดสาย จะเปิดให้ยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 6 พ.ย.นี้

“ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี สร้างเสร็จ รฟม.ต้องจัดงบประมาณดูแลโครงสร้างไปก่อน 2 ปี ระหว่างรอระบบเดินรถ จะใช้เวลาอีก 30 เดือน คาดว่าจะเปิดบริการในปี 2567 และเปิดตลอดสายในปี 2569”

รับเหมาเปิดโอทีแก้แรงงานขาด
แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า ขณะนี้การก่อสร้างสายสีส้ม ชมพู และเหลือง ประสบปัญหาแรงงาน ยังขาดอยู่หลัก 100-1,000 คน หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาได้ ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ในการบริหารจัดการ เช่น เพิ่มค่าโอที ใช้เครื่องจักรมาดำเนินการและหมุนเวียนการทำงานมากขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อไทม์ไลน์การก่อสร้างอยู่บ้าง เพราะ ยังมีปัญหารื้อย้ายสายไฟฟ้าแรงสูงช่วงถนนแจ้งวัฒนะและรามอินทรา ทั้งนี้ ในสัญญาให้เอกชนเปิดบริการเป็นช่วง ๆ ไปก่อนได้ โดย รฟม.จะเร่งเปิดบางส่วนไปก่อนสำหรับสายสีชมพูและสีเหลือง

ทั้งนี้ ในส่วนสายสีส้มตะวันออก ต้องรอว่าศาลปกครองกลางจะรับคำฟ้องของบีทีเอสที่ยื่นค้านการเปิดประมูล PPP ช่วงตะวันตกและการเดินรถตลอดสาย หลังมีการปรับเกณฑ์การพิจารณาหลังปิดการขายเอกสารประมูลแล้ว โดยนำคะแนนเทคนิค 30% มารวมกับราคา 70% โดยให้เพิกถอนเกณฑ์ใหม่ หากพิจารณาไม่ทันวันยื่นซองประมูลขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวจนกว่าจะมีคำตัดสิน

28 ก.ย.รถชมพู-เหลืองถึงไทย
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า วันที่ 28 ก.ย.นี้ รถขบวนแรกสายสีชมพูและสีเหลืองจะมาถึงท่าเรือแหลมฉบัง และวันที่ 1 ต.ค.จะมีพิธีรับมอบรถ โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธาน จากนั้นจะนำรถทดสอบระบบ โดยรถจะทยอยส่งมอบจนครบ 288 ตู้ ภายในต้นปี 2565

“ต้นปีหน้าจะเริ่มวิ่งทดสอบ ในเดือน ต.ค.จะเปิดเป็นช่วง ๆ และเปิดตลอดสายปี 2565 ส่วนต่อขยายสายสีชมพูเข้าเมืองทองธานีจะสร้างปีนี้ เร่งให้เสร็จปี 2565 ส่วนสีเหลืองต่อขยายยืนยันเหมือนเดิมไม่รับเงื่อนไขให้ชดเชยรายได้ให้ BEM” นายสุรพงษ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2020 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

📣วันนี้น้องทันใจจะมาอัพเดท 🚧🚆ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 🔛 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 69.82 % เร็วกว่าแผน 2.77 %

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 กลุ่มกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที (บมจ.ซิโนไทย – บมจ.ช.การช่าง) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 80.27%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก กลุ่มกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 65.54%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 68.26%

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 59.85%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร กลุ่มกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 72.02%

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง บมจ.ยูนิคฯ เป็นผู้รับจ้าง คืบหน้า 68.24%

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง
🏗ความก้าวหน้างานโยธา 66.31%
🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 61.63%
ความก้าวหน้าโดยรวม 64.27%

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี
🏗ความก้าวหน้างานโยธา 64.85%
🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 59.71%
ความก้าวหน้าโดยรวม 62.23 %
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2627818000768251
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/963356837477001
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/785728775537402
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2020 3:58 am    Post subject: Reply with quote

‘ตั๋วร่วม’วุ่น ผุดค่างาน VO เพิ่ม240ลบ.
พฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2563 เวลา 19:07:37
สนข.เร่งเดินหน้าพัฒนาระบบตั๋วร่วม คาดเปิดใช้ระบบสิ้นปี 63-ต้นปี 64 ด้านแอร์พอร์ต ลิงก์ จ่อคิดค่าปรับบริษัทผู้รับจ้าง เหตุส่งมอบงานช้ากว่าแผนที่กำหนด ฟาก รฟม.เตรียมถก BEM เจรจาค่าปรับปรุงระบบ ขณะที่คมนาคม หวั่นไม่ทันใช้ระบบปีนี้ หลังรฟม.เพิ่มค่างาน VO ราว 240 ล้าน

https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/452089
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2020 10:26 pm    Post subject: Reply with quote

‘ด่วนขั้น 3-สายสีน้ำตาล’ ส่อลากยาว แบกดอกเบี้ยเพิ่มพันล.
ออนไลน์เมื่อ อังคารที่ 13 ตุลาคม 2563 เวลา 09:45:39
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,617
วันที่ 11 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N1 -รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ส่อแบกดอกเบี้ยอ่วม กทพ. เจรจา กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังไม่ยุติ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวกับ ฐานเศรษฐกิจ ว่า ที่ผ่านมารฟม.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยพัฒนาส่วนของรถไฟฟ้าร่วมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 และ N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจากทั้ง 2 โครงการอยู่ในแนวเส้นทางเดียวกัน ล่าสุดคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบให้รฟม.ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบฐานรากตอม่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแล้ว ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างการออกแบบฐานรากตอม่อเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลบริเวณตอน N2 (ช่วงแยกเกษตร-นวมินทร์ ) ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร (กม.) ช่วงที่มีการทับซ้อนทางด่วนขั้นที่ 3 คาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยกทพ.จะใช้งบประมาณจาก กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ หลังจากนั้นจะดำเนินการส่งรายละเอียดการออกแบบฐานรากตอม่อให้กทพ.ดำเนินการต่อไป

ส่วนการศึกษาทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เบื้องต้นได้รับทราบจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แล้ว ขณะนี้สนข.อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยที่ผ่านมา รฟม.ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

รฟม.ยืนยันว่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ ที่ผ่านมารฟม.ได้มีการประชุมร่วมกับอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และกระทรวงคมนาคม แล้ว ซึ่งไม่ได้มีการคัดค้านในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เพราะมก.เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและนักศึกษาในการเดินทาง แต่ติดปัญหาในการก่อสร้างทางด่วนที่ 3 มากกว่า ทางรฟม.เชื่อว่าสามารถดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลได้ตามปกติ ถึงแม้ว่าจะติดปัญหาการเจรจาด้านการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ก็ตาม

ขณะ ด้านการเวนคืนโครงการฯ เบื้องต้นได้มีการสำรวจพื้นที่การเวนคืนที่ดินแล้ว โดยส่วนใหญ่แนวเส้นทางเวนคืนที่ดินบริเวณบริเวณทางขึ้น-ลง ของตำแหน่งแต่ละสถานี รวมทั้งบริเวณแยกเข้าถนนสุขาภิบาล1 ถนนนวมินทร์มุ่งตรงแยกลำสาลี ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) จะมีการเวนคืนที่ดินราว 10 ไร่ คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปี 2566 หลังจากนั้นจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2567

สำหรับโครงการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 4.8 หมื่นล้านบาท รูปแบบการลงทุนพีพีพี เน็ตคอส ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี จำนวน 20 สถานี โดยมีแนวเส้นทาง เริ่มจากศูนย์ราชการนนทบุรี งามวงศ์วาน 2 (ซอยอัคนี) งามวงศ์วาน 18 (จุฬาเกษม) ชินเขต บางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประตูงามวงศ์วาน แยกเกษตร คลองบางบัว ประเสริฐมนูกิจ-ลาดปลาเค้า ประเสริฐมนูกิจ-เสนานิคม โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ต่างระดับฉลองรัช คลองลำเจียก นวลจันทร์ ประเสริฐมนูกิจ-นวมินทร์ โพธิ์แก้ว อินทรารักษ์ สวนนวมินทร์ภิรมย์ การเคหะแห่งชาติและสิ้นสุดที่ลำสาลี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2020 10:33 am    Post subject: Reply with quote

แตะเบรกเอี๊ยดด!! บอร์ด รฟม. สั่งทบทวนรถไฟฟ้าภูธร
*ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช-พิษณุโลก
*หวั่นใช้น้อยไม่คุ้ม/เอกชนเมินลงทุน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2736428799911954
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2020 10:41 am    Post subject: Reply with quote

เพจโครงการระบบตั๋วร่วมออกมาแล้วครับ
http://www.thaicommonticket.com/index.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2020 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อผังเมืองใหม่โซนตะวันตก เปิดหน้าดิน 4.4 หมื่นไร่ รับรถไฟฟ้า
ข่าวรอบวัน
วันที่ 15 ตุลาคม 2563 - 18:57 น.


ปลายปี 2564 ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ยกร่างเสร็จ จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ทดแทนผังเมืองปัจจุบันที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2556

ผังเมืองฉบับใหม่มีทั้งเขย่าและรื้อใหญ่ เรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 979,344 ไร่ ในหลายพื้นที่ทั้งโซนตะวันออก-ตะวันตก

โดยเฉพาะ “พื้นที่สีขาวทแยงเขียว” ซึ่งเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ฟลัดเวย์) มีอยู่ 150,203 ไร่นั้น จะหดเหลือ 53,779 ไร่ หรือหายไป 94,424 ไร่ (ดูกราฟิก) เพื่อให้สอดรับกับสภาพพื้นที่ปัจจุบัน เนื่องจากการพัฒนารุดหน้าไปไกล หลังเกิดการตัดถนนใหม่และรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง มีโครงข่ายครอบคลุมไปยังโซนเหนือ ตะวันออกและตะวันตก

ซึ่งที่ดิน “สีขาวทแยงเขียว” ที่หายไป จะถูกแปลงสภาพเป็น “พื้นที่สีน้ำตาล” เพื่อเปิดโอกาสให้พัฒนาเป็น “ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก” สีส้มเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และสีเหลืองเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

เท่ากับปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ตรงกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน หลังจากถูกรุกล้ำพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมไปเกือบหมดแล้ว

จากผังเมืองใหม่ ถ้าโฟกัสพื้นที่ไฮไลต์ “โซนตะวันตก” จะพบว่า กทม.เตรียมยกเลิกพื้นที่ “สีขาวทแยงเขียว” ในปัจจุบันทั้งหมด คงเหลือ “บางขุนเทียน” พื้นที่ตอนล่างที่จะคงไว้ เพื่อการอนุรักษ์ชายทะเล

เลิกฟลัดเวย์ 4.4 หมื่นไร่
แหล่งข่าวจากสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผังเมืองใหม่จะส่งเสริมพื้นที่ฝั่งธนบุรี โดยจะเปิดหน้าดินการพัฒนากระจายความหนาแน่นการอยู่อาศัยไปยังรอบนอกให้มากขึ้น โดยยกเลิกพื้นที่สีขาวทแยงเขียวโซนตะวันตกที่มีอยู่ 44,243.75 ไร่ ในเขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค ภาษีเจริญ แล้วปรับสีใหม่เป็น “พื้นที่สีเหลือง” ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และ “สีแดง” พาณิชยกรรม และ “สีส้ม” ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

เพราะปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ต้องปรับเรื่องการพัฒนาให้ “ไร้รอยต่อ” กับผังเมือง จ.นนทบุรี พร้อมรองรับรถไฟฟ้าสารพัดสาย ทั้งบีทีเอส (สายสีเขียว) สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค)

สายสีทอง (กรุงธนบุรี-คลองสาน) พาดผ่านหน้าโครงการใหญ่ “ไอคอนสยาม” และสายอนาคต (สีส้ม) เริ่มจากบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่สร้างเสร็จรอแค่เปิดใช้ และส่วนต่อขยายตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา ซึ่งกำลังจะสร้างในเร็ว ๆ นี้ รวมถึงสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ


ไม่นับรวมโครงข่ายใหม่ เช่น ถนนตัดใหม่เพชรเกษม (จุดตัดพุทธมณฑลสาย 1) ตัดผ่านถนนกัลปพฤกษ์ เอกชัย พระรามที่ 2 พุทธบูชา บรรจบถนนสุขสวัสดิ์กับวงแหวนอุตสาหกรรม, ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4

ผังเมืองรวมกทม.

เปิดหน้าดินจัดสรร
เท่ากับเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ เช่น ถนนกาญจนาภิเษก พุทธมณฑลสาย 1-สาย 2 ราชพฤกษ์ไปถึง จ.นนทบุรี ให้สามารถพัฒนาจัดสรรได้มากขึ้น จากเดิมเป็นพื้นที่สีขาวทแยงเขียว สร้างได้แต่บ้านจัดสรร 100 ตารางวา ราคาแพงเกินไป พร้อมพัฒนาคอนโดมิเนียมได้ไม่เกิน 7-8 ชั้นอีกด้วย

“ที่ดินขาวทแยงเขียวฝั่งตะวันตกที่ยกเลิกไป ตามวัตถุประสงค์เดิมกำหนดเป็นพื้นที่สงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม จะไม่เหมือนสีขาวทแยงเขียวฝั่งตะวันออกกำหนดเป็นพื้นที่ฟลัดเวย์ที่มีข้อจำกัดด้านการระบายน้ำ มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย”

แม้จะยกเลิก แต่ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ต่างจากเดิมที่เป็นสีขาวทแยงเขียว เพราะยังถูกกำหนดให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยชั้นดี สร้างบ้านจัดสรร 100 ตารางวาได้ เพียงแต่ปรับสีผังใหม่ให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริง

ขณะที่ “ระบบการระบายน้ำ” จะขยายคลองที่มีอยู่เดิมแทน เช่น คลองทวีวัฒนา มหาสวัสดิ์ บางกอกน้อย ภาษีเจริญ ยังมีอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด และคลองราชมนตรีจากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย

ผุด 3 ศูนย์ใหญ่
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า คอนเซ็ปต์ผังเมืองรวมฉบับใหม่จะเน้นพัฒนาเมืองแบบกระชับ หรือ compact city ไม่ได้เกิดเฉพาะศูนย์กลางเมือง จะขยายไปชานเมืองที่มีศักยภาพ ซึ่งฝั่งธนบุรีมีตลิ่งชัน บางแค บางขุนเทียน จึงกำหนดเป็นพื้นที่สีแดง และสีส้มรองรับการพัฒนาเป็นเมืองกระชับเฉพาะจุด เป็นศูนย์ชุมชนชานเมืองเชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า

“ทำเลตลิ่งชัน บางแค จะปรับเป็นสีเหลือง สีส้ม ตามแนวถนนกาญจนาภิเษก ถนนราชพฤกษ์ เชื่อมสถานีบางหว้า ซึ่ง กทม.จะขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสจากบางหว้าไปถึงตลิ่งชัน”

ตลิ่งชันชุมทางรถไฟฟ้า
อนาคต “สถานีตลิ่งชัน” จะเป็นปลายทางของ 3 รถไฟฟ้า (สีส้ม สีแดง สีเขียว) โดยขยายพื้นที่สีแดงโดยรอบเพิ่มเปลี่ยนจากสีขาวทแยงเขียว เป็นสีแดงตามแนวถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ขยายลงมาด้านใต้เชื่อมกับถนนบรมราชชนนี ขณะที่ “สถานีบางหว้า” จะขยายพื้นที่สีน้ำตาล เช่นเดียวกับสถานีวุฒากาศ ไปถึงเขตจอมทอง ที่ได้ขยายพื้นที่สีน้ำตาลเพิ่มตามแนวบีทีเอส ขยายไปชนกับคลองบางหว้า และถนนกัลปพฤกษ์จะเปลี่ยนจากพื้นที่สีส้มเป็นสีน้ำตาลด้วย

ส่วนย่าน “ตากสิน-วงเวียนใหญ่” จะเป็นจุดเชื่อมบีทีเอส สายสีทอง และสีม่วงใต้ ในผังเมืองกำหนดให้เป็นศูนย์คมนาคมขนส่งของฝั่งธนบุรี

อัพบางขุนเทียน-พระราม 2
ด้านทิศใต้ “เขตบางขุนเทียน” จากเดิมสีเขียวปรับพื้นที่สีเหลืองขยายมายังถนนกาญจนาภิเษกเข้าไปยังบางบอน บางขุนเทียน ถึงทุ่งครุ จากเดิม 500 เมตร เป็นรัศมี 1 กม. รองรับการอยู่อาศัย

ส่วน “บางขุนเทียนตอนล่าง” ยังคงอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสีขาวทแยงเขียว พร้อมปรับระดับพัฒนาพื้นที่สีส้มที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ย่านพระราม 2 ให้พัฒนาได้มากขึ้น เช่น ย่านเซ็นทรัลที่ผ่านมาได้ขอปรับสีผังเมือง แต่ กทม.ยังไม่ได้ปรับให้ เนื่องจากศักยภาพของพื้นที่ยังไม่มีรถไฟฟ้า แต่โซนพระราม 2 จะเพิ่มความหนาแน่นที่อยู่อาศัยให้ แต่ไม่ได้มากนัก

หนุนแนวรถไฟฟ้าเต็มที่
“ฝั่งธนบุรี ผังเมืองจะส่งเสริมพัฒนาแบบแนวราบ แนวสูงก็ได้ไม่เกิน 7-8 ชั้น พื้นที่ด้านในจะเป็นสีน้ำตาลที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เช่น คลองสาน เจริญนคร หรือแนวสายสีน้ำเงิน ย่านบางพลัดรอบสถานีรัศมี 500 เมตร ได้โบนัสสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษได้ การพัฒนาจะขยายความหนาแน่นไปถึงกาญจนาภิเษกทั้งสองฝั่ง เช่น ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางแค ตามแนวสายสีน้ำเงิน ยังเป็นพื้นที่สีแดงที่ปรับให้ก่อนหน้านี้”

เพื่อการพลิกโฉมทำเลฝั่งธนบุรีที่เปรียบเสมือนลูกเมียน้อย ให้เป็นทำเลทองสนมเอก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/10/2020 8:28 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดตไทม์ไลน์รถไฟฟ้าสายใหม่ 6 ธ.ค.ได้นั่ง สีเขียว-สีทอง สีชมพู-สีเหลือง-สีส้ม ทยอยเปิดปีหน้า
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

หลังจากใช้เวลาโหมสร้างกัน มานาน "รถไฟฟ้าหลากสี" 6 เส้นทาง มีคิวทยอยเปิดบริการ เชื่อมการเดินทางปริมณฑลเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ต่อจาก "สายสีน้ำเงิน" เปิดบริการครบโครงข่าย ระยะทาง 48 กม. เชื่อมการเดินทาง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไปแล้วเมื่อเดือน มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา

เปิดถึงคูคต ธ.ค. 63

ถึงคิว "สายสีเขียวเหนือ" ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ทยอยเปิดบริการ ล่าสุดรอลุ้นวันที่ 6 ธ.ค.นี้ จะเปิดบริการตลอดสายถึงปลายทาง "สถานีคูคต" จะเชื่อมโยงการเดินทาง 3 จังหวัด จาก "สถานีคูคต" ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี เข้าใจกลางกรุงเทพฯ "สถานีสยาม" ยิ่งยาวทะลุส่วนต่อขยายสายสีเขียวสายใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ไปถึงปลายทางที่ "สถานีเคหะ" จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 68.25 กม. มี 59 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาที ค่าตั๋วรอ "อาคม" เคาะสัมปทาน

ขณะที่ค่าโดยสาร "กทม.-กรุงเทพ มหานคร" ได้เขย่าโครงสร้างราคาของสายสีเขียวทั้งโครงการ เก็บตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ภายใต้สัมปทานใหม่ที่เจรจากับ "บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ" แลกกับการรับภาระหนี้แสนล้าน ของโครงสร้างสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วงแทน กทม.

ผลเจรจายุติไปแล้ว โดย "กทม." จะขยายสัญญาสัมปทานให้ "บีทีเอสซี" อีก 30 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค. 2572 ถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2602 รอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" เสนอความเห็นก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติว่ากันว่าไม่น่าจะเกินภายในเดือน ต.ค.นี้

หากเป็นไปตามนี้ คงถึงเวลาที่ "กทม." จะเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต หลังเปิดให้บริการฟรีมานาน ยกเว้น "พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง" ผู้ว่าฯ กทม.จะขยายเวลาใช้ฟรีออกไปก่อน เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2564

"สายสีทอง" เปิดแน่ 16 ธ.ค.นี้

ตามมาติด ๆ "สายสีทอง" รถไฟฟ้าโมโนเรลไร้คนขับที่ได้แรงหนุนจากภาคเอกชนทำให้แจ้งเกิดได้เร็ว โดยสร้างเฟสแรก "สถานีกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน" ระยะทาง 1.8 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรีเชื่อมกับ บีทีเอส สถานีเจริญนครหน้าศูนย์การค้าไอคอนสยาม และสถานีคลองสานหน้าโรงพยาบาลตากสิน

ล่าสุด "ผู้ว่าฯอัศวิน" ลงพื้นที่ทดสอบระบบเดินรถด้วยตัวเอง พร้อมประกาศลั่นกลางเดือน ธ.ค.นี้ จะตัดริบบิ้น มี "บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิด และจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายทันที ไม่มีโหมโรงให้นั่งฟรี

ขณะที่กำหนดเปิดบริการ ถึง "กทม." ยังกำหนดวันไม่ชัด แต่มีรายงานแจ้งว่า เคาะวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะเป็นสายสุดท้ายส่งท้ายปี 2563

ชมพู-เหลือง ทยอยเปิดปี'64

เมื่อเริ่มต้นปี 2564 มีรถไฟฟ้าที่จ่อคิว เปิดให้บริการ 3 สาย 3 สี มีโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย "สายสีชมพู" แคราย-มีนบุรี และ "สายสีเหลือง" ลาดพร้าว-สำโรง มี บจ.นอร์ทเทิร์น บางกอก โมโนเรล และ บจ.อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล ในเครือกลุ่ม BSR ประกอบด้วย บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ราชกรุ๊ป เป็นผู้รับสัมปทานการลงทุน

ปัจจุบันงานก่อสร้างทั้ง 2 สาย คืบหน้ากว่า 60% ยังล่าช้าจากแผนงาน เนื่องจากติดการส่งมอบพื้นที่ จึงขยับไทม์ไลน์ใหม่เปิดบริการตลอดสายภายในปี 2565 จากเดิมในเดือน ต.ค. 2564 นี้ แต่เพื่อเป็นการบรรเทาการจราจรทาง "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" และ "บีทีเอส" จะเปิดบริการเป็นช่วง ๆ

โดย "สายสีชมพู" เปิดจากปลายทาง "สถานีมีนบุรี" ถึง "สถานีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ" จะเริ่มทดสอบระบบเดินรถในเดือน เม.ย. เปิดเดินรถเสมือนจริงให้ประชาชนใช้บริการฟรีตั้งแต่เดือน ก.ค.-ต.ค. จากนั้นเก็บค่าโดยสาร 16-42 บาท และเปิดตลอดสายในเดือน ต.ค. 2565

"สายสีเหลือง" งานก่อสร้างเร็วกว่าสายสีชมพู เพราะเคลียร์เรื่องพื้นที่เสร็จแล้ว โดยเฉพาะ "สะพานข้ามแยกบางกะปิ" ที่ต้องทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ ตอนนี้ เดินหน้าสร้างอย่างเดียว โดยแผนเปิดบริการจะเหมือนสายสีชมพู จะเปิดบริการช่วง "สถานีสำโรง-พัฒนาการ" ทดลองเดินรถเดือน เม.ย. เปิดเดินรถเสมือนจริง เดือน ก.ค.-ต.ค. 2564 เปิดตลอดสายในเดือน ก.ค. 2565

"สายสีแดง" ยังลุ้นหนัก

ส่งท้ายด้วยรถไฟชานเมือง "สายสีแดง" ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ยังลุ้นจะเปิดได้ตามไทม์ไลน์ที่ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" วาดไว้หรือไม่ หลัง "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เจ้ากระทรวงคมนาคม สั่งให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารูปแบบเอกชนร่วมลงทุน พร้อมเคลียร์ คัตการเปลี่ยนแปลงงาน (VO) ทำให้งบฯ ก่อสร้างบานกว่า 1 หมื่นล้านบาท ล่าสุดวันที่ 19 ต.ค.นี้ "ชยธรรม์ พรหมศร" ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ได้นัด ประชุมคณะทำงานด้านกฎหมายพิจารณาปรับกรอบวงเงินของโครงการ

ตามไทม์ไลน์ของ "ร.ฟ.ท." ในเดือน มี.ค.-มิ.ย.จะทดสอบเดินรถเสมือนจริง จากนั้นเดือน ก.ค.-ต.ค. เปิดทดลองใช้ฟรีและเปิดเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 2564

โดยการเปิดบริการจะทำคู่ขนานไปกับเคลียร์ปัญหางบฯที่เพิ่มขึ้น แต่เพื่อความรัดกุม "ศักดิ์สยาม" อาจจะใช้ช่องทางขอยื่นศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราวให้สามารถเดินรถไปพลางก่อน โดยจะให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ร.ฟ.ท.) บริษัทลูก ร.ฟ.ท.ที่กำลังนับถอยหลังส่งมอบ "รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์" ให้กับกลุ่ม ซี.พี.จะเข้ามารับช่วงบริหารโครงการในเดือน ต.ค. 2564 เป็น ผู้บริหารการเดินรถให้ไปพลาง ๆ ก่อน ระหว่างรอสรุปการเปิดให้เอกชนเข้าร่วม PPP การเดินรถสายสีแดงทั้งโครงการ

เป็นความเคลื่อนไหวของ "รถไฟฟ้าเมืองไทย" ที่กำลังพาเหรดเปิดให้บริการ นับจากนี้ไปอีก 5-10 ปีข้างหน้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2020 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

บี้รฟม.เร่งเดินหน้าแทรม4จังหวัด
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ราชดำเนิน * "ศักดิ์สยาม" สั่งเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด นำร่อง 4 จังหวัด ลุยเข็นแทรมภูเก็ตเสนอ ครม.สัญจรที่ภูเก็ต ในวันที่ 2-3 พ.ย.นี้ ย้ำชัดนโยบายก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องเป็นไปตามแผน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้สั่งการให้ทบทวนความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด (แทรม) ทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต, เชียงใหม่, นครราชสีมา (โคราช) และพิษณุ โลก ว่าขณะนี้ยังเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาคอยู่ และยืนยันว่าทุกโครงการจะก่อสร้างแน่นอน โดยเฉพาะแทรม จ.ภูเก็ต จะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 2-3 พฤศจิกายนนี้

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้ให้นโยบายเรื่องโครงการรถไฟ ฟ้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไว้ว่าระบบขนส่งสาธารณะยังจำเป็นต่อการเดินทางของประชาชน แม้จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดต้องเดินหน้าต่อตามแผนที่วางไว้ เพราะกระทรวงคมนาคมมี หน้าที่พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะรองรับความต้องการของประชาชน

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิ ไล อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานบอร์ด รฟม. กล่าวว่า ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าแทรมทั้ง 4 จังหวัด ยังเดินหน้าทุกโครง การ เพียงแต่ในส่วนของแทรมภูเก็ตนั้นกำลังเดินมาถึงในขั้นตอนของการตัดสินใจที่จะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.แล้ว บอร์ดจึงขอให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งก่อนเสนอ ครม.ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ซึ่งบอร์ด รฟม.ได้มอบให้คณะอนุกรรมการบอร์ด และผู้แทนจาก รฟม. ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต อีกครั้งในเร็วๆ นี้ เพื่อพิจารณารายละเอียดเรื่องความปลอดภัยบริเวณจุดแยกต่างๆ เพราะแทรมต้องวิ่งร่วมกับรถยนต์ปกติด้วย นอกจากนี้จะไปดูเรื่องปริมาณการเดินทาง และความคิดเห็นของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและภาครัฐ.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 223, 224, 225 ... 277, 278, 279  Next
Page 224 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©