RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180955
ทั้งหมด:13492190
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 88, 89, 90 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2020 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

ยันจดทะเบียนถูกต้อง! 'บ.โฮปเวลล์ฯ' โต้ 10 ข้อกล่าวหา คณะทำงานฯ ‘พีระพันธุ์’

เขียนโดยisranewsHITS573
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 14 กันยายน 2563 เวลา 17:43 น.

"...จากรายงานของ กมธ. มีความเห็นว่า กมธ.มีแนวโน้มที่จะปกป้องเจ้าหน้าที่ของฝ่ายรัฐที่มีส่วนกระทำผิด เพราะเมื่อรัฐต้องจ่ายเงินตามคำพิพากษา รัฐจะต้องไปไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำความผิดที่ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย ส่วนที่มีการอ้างว่ากระทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาตินั้น เห็นว่าเป็นการเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติมาอ้างเพื่อปกป้องพวกพ้อง โดยหากมีการศึกษาเอกสารข้อมูลทั้งหมดทั้งสิ้นแล้ว จะพบผู้มีส่วนในการกระทำความผิด และถูกไล่เบี้ยได้อย่างชัดเจนมีบุคคลใดบ้าง แต่ในรายงานของ กมธ.กลับไม่มีข้อเสนอลงโทษผู้กระทำความผิด..."

hopewell 14 09 20 pic

จากกรณีที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้รายงานผลการตรวจกรณี ‘โฮปเวลล์’ ของคณะทำงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง ‘การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์)’ ที่มี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษากรรมาธิการฯ เป็นประธาน ให้สภาฯ รับทราบเมื่อวันที่ 3 ก.ย.2563

โดยคณะทำงานฯ ตรวจสอบพบข้อพิรุธ และพบการกระทำอันมีลักษณะเป็นการทุจริตประพฤติมิชอบของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ซึ่งอาจส่งผลให้การทำนิติธรรมสัญญาโครงการโฮปเวลล์ ระหว่าง บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กับกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รวมถึงกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาลฯ ตกเป็น ‘โมฆะ’ ส่งผลให้ บริษัท โฮปเวลล์ ไม่สามารถเรียกค่าเสียหายจากรัฐเป็นเงินทั้งสิ้น 2.4 หมื่นล้านบาทได้

เช่น ครม.มีมติให้กระทรวงคมนาคมเป็นตัวแทนรัฐบาลลงนามในสัญญาโครงการโฮปเวลล์ กับ บริษัทโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) แต่คณะทำงานฯตรวจสอบพบว่า รฟท.ได้ลงนามสัญญากับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งขัดมติครม.ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) เป็นผู้ลงนาม อีกทั้ง บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย

“บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการจดทะเบียนตั้งบริษัทฯ เป็นโมฆะ ทำให้กระบวนการทั้งหมด รวมถึงคำพิพากษาของศาลปกครอง ที่สั่งรัฐบาลไทยจ่ายค่าชดใช้ให้กับบริษัท โฮปเวลล์ฯ จึงเป็นโมฆะไปด้วย เพราะผู้ยื่นฟ้องไม่มีอำนาจฟ้องตามกฎหมาย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่สามารถชำระเงินได้ เพราะคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย” รายงานการศึกษาระบุ

hopewell 14 09 20 1

(รายงานผลการตรวจสอบกรณี ‘โฮปเวลล์’ ของคณะทำงานฯ ที่มี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษากรรมาธิการการกฎหมายฯ เป็นประธาน)

นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ขอให้ตรวจสอบและทบทวนจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการโฮปเวลล์ของ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เนื่องจาก รฟท.ได้ทำการตรวจสอบพบว่า จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องมีเพียงประมาณ 1,732 ล้านบาท ต่างจากหลักฐานใบเสร็จรับเงินที่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้อ้างอิงและนำมาประกอบคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ

อ่านประกอบ : รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานครและการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์) (ฉบับเต็ม)

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า ล่าสุดบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดทำเอกสารชี้แจงประเด็นข้อกล่าวหาของคณะทำงานฯ รวม 10 ประเด็น โดยบริษัท โฮปเวลล์ฯ ระบุว่า การดำเนินโครงการโฮปเวลล์ เป็นไปตามมติครม. เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2532 และ 20 มิ.ย.2533 พร้อมระบุว่า โครงการโฮปเวลล์เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเป็น ‘กิจการตามสัญญาสัมปทาน’ จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281

บริษัท โฮปเวลล์ ยังยืนยันว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุนโครงการโฮปเวลล์อยู่ที่ 14,700 ล้านบาท โดยอย่างอิงจากหลักฐานการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) กรมสรรพากร จำนวน 347 ล้านบาท ซึ่งคำนวณกลับเป็นค่าใช้จ่ายเท่ากับ 4,961 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดคำชี้แจงของบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด มีรายละเอียด ดังนี้

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 1 : คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า การเริ่มต้นโครงการโฮปเวลล์ ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)

คำชี้แจง : เป็นข้อกล่าวที่ปราศจากมูลความจริง ทั้งนี้ เนื่องจากครม.ได้มีมติถึง 2 ครั้ง ในเรื่องดังกล่าวข้างต้นที่จะให้โฮปเวลล์ดำเนินการต่อไปได้ตามโครงการ ประกอบด้วย

มติครม.ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2532 มีมติให้กระทรวงคมนาคมไปดำเนินการให้มีการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด

มติครม. ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2533 ครม.ได้มีมติเห็นชอบโครงการอีกครั้งหนึ่ง โดยมติครม.ระบุว่า “เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอโครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับสัมปทานเดินรถระบบชุมชน (Community Train) และทางด่วนยกระดับสำหรับรถยนต์ ตามผลการเจรจากับบริษัท Hopewell Holding Ltd. (Hong Kong) ..."

ภายหลังการลงนามสัญญาสัมปทาน ได้มีการรายงานครม. เพื่อทราบแล้ว และในระหว่างการปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานได้มีการรายงานครม.เป็นระยะๆ

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 2 : คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินโครงการโฮปเวลล์ โดยไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 เนื่องจากมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว ต้องเสนอยกเลิกการประกวดราคาโครงการ

คำชี้แจง : ปรากฎข้อเท็จจริงว่า มีผู้มาซื้อซองเสนอเงื่อนไขดำเนินโครงการโฮปเวลล์จำนวน 4 ราย แต่โฮปเวลล์เป็นผู้สนอราคาเพียงรายเดียว ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้เป็นความรับผิดชอบและการตัดสินใจของภาครัฐ มิใช่ความรับผิดชอบของภาคอกชน การที่มีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวมิใช่เป็นกรณีแรกที่เกิดขึ้น ซึ่งภาครัฐจะปฏิเสธความรับผิดและโยนความรับผิดมาให้เอกชนไม่ได้ (คำพิพากษาศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุด)

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 3 : คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า ครม.ไม่เคยมีมติอนุมัติให้บริษัท โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) และ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน โดยการยกเว้นการบังคับใช้หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในการประกอบธุรกิจ ‘ขนส่งทางบก’ ตามบัญชีของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พ.ย.2515

คำชี้แจง : บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) และบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสิทธิส่งเสริมการลงทุนสูงสุดภายใต้ พ.ร.บ.ส่งสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และสิทธิประโยชน์ตามมติครม. เมื่อคราวประชุมวันที่ 20 มิ.ย.2533 (อ่านเอกสารประกอบ)

hopewell 14 09 20 2

hopewell 14 09 20 3(ที่มา : เอกสารมติครม.เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2533)

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 4 : คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า การรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก นายกอร์ดอน วู กล่าวอ้างต่อ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ว่า บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการยกเว้นการบังคับใช้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ตามมติครม.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับว่า บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่เคยมีสภาพเป็นนิติบุคคล สัญญาสัมปทานที่ลงนามไว้จึงเป็น 'โมฆะ'

คำชี้แจง : บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอยืนยันว่าบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมติครม.เมื่อคราวประชุมวันที่ 20 มิ.ย.2533 บริษัทฯ ซึ่งเป็นกิจการตามสัญญาสัมปทาน จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281

นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ตรวจสอบการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยละเอียดแล้ว และได้มีหนังสือยืนยันไปยังครม.ว่า การจดทะเบียนจัดตั้งเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามหนังสือของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ พณ 0805/2904 ลงวันที่ 9 ธ.ค.2562 ยืนยันถึงการรถไฟฯ รวมทั้งกระทรวงพาณิชย์ มีหนังสือ ที่ พณ. 0803/4364 ลงวันที่ 5 ต.ค.2562 ถึงครม. ยืนยันว่าการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 5 : คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า การลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการโฮปเวลล์ของกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีผลเป็นโมฆะ มาตั้งแต่วันลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2533 เนื่องจากมติครม.วันที่ 20 มิ.ย.2533 อนุมัติให้ลงนามกับ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง)

คำชี้แจง : บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงคมนาคม และบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ตามหนังสือของกระทรวงคมนาคม ที่ คค 0207/7365 ลงวันที่ 31 พ.ค.2533 และครม. เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2533 มีมติ “เห็นชอบตามที่กระทรวคมนาคมเสนอโครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับสัมปทานเดินรถระบบชุมชน (Community Train) และทางด่วนยกระดับสำหรับรถยนต์ตามผลการเจรจากับบริษัท Hopewell Holding Ltd. (Hong Kong) ...” บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงมีอำนาจลงนามสัญญาสัมปทาน

อีกทั้งก่อนการลงนามสัญญาสัมปทาน สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจสอบความชอบด้วยข้อกฎหมายของกระบวนการจัดทำสัญญา สถานะและความสามารถของคู่สัญญา ตามข้อกำหนดของภาครัฐ และครม.รับทราบการลงนามและการปฏิบัติตามสัญญาตลอดมา

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 6 : คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า บริษัท โฮปเวลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ทำผิดสัญญาสัมปทานโครงการโฮปเวลล์ เพราะก่อสร้างล่าช้า

คำชี้แจง : ข้อเท็จจริงปรากฎโดยแจ้งชัดว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นคู่สัญญาภาครัฐ บิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทาน โดยจงใจไม่ส่งมอบพื้นที่การก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทาน จึงเป็นผลทำให้โครงการต้องล่าช้าออกไปโดยปริยาย การกล่าวหาของคณะทำงานฯ จึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 7 คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า การบอกเลิกสัญญาไม่เป็นไปตามมติครม.เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2540 แต่กลับไปมีมติใหม่ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 ม.ค.2541 ส่งผลให้บริษัทใช้เป็นเหตุตามกฎหมายในการเรียกร้องเงินจากภาครัฐเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ

คำชี้แจง : ข้อกล่าวหาในประเด็นนี้ เป็นข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอยไร้เหตุผล ทั้งนี้ เพราะเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ซึ่งมีหน้าที่ใช้ดุลยพินิจบอกเลิกสัญญา ย่อมมีความเป็นอิสระในอำนาจหน้าที่ของตนอย่างแท้จริง ประกอบกับก่อนใช้ดุลยพินิจในหน้าที่ราชการย่อมต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาอย่างรอบคอบแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการนำเสนอให้ครม.ได้พิจารณาในคราวประชุมเมื่อวันที่ 2 ม.ค.2541

ดังนั้น เมื่อบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับความเสียหายจากการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บริษัทฯ จึงมีสิทธิโดยชอบที่จะเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างรวมทั้งเงินลงทุนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ใช้จ่ายไปแล้วกลับคืนสู่บริษัทฯ ตามที่กฎหมายกำหนด

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 8 : คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า การยื่นเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 24 ม.ค.2543 ของบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทศ) เป็นการยื่นข้อพิพาทที่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่การรถไฟฯ บอกเลิกสัญญา (บอกเลิกสัญญาวันที่ 23 ม.ค.2541) ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ และคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในโครงการโฮปเวลล์ที่เรียกร้องมาจำนวนประมาณ 14,700 ล้านบาท โดยไม่มีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายนำพยานหลักฐานมาแสดงและโต้แย้ง

คำชี้แจง : ประเด็นที่กล่าวหาเรื่องอายุความนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเป็นข้อสิ้นสุดแล้ว อนึ่ง ในประเด็นในข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดประเด็นของคณะอนุญาโตตุลาการนั้น ข้อกล่าวหาในส่วนนี้เป็นเท็จทั้งสิ้น เหตุเพราะคณะอนุญาโตตุลาการได้มีการกำหนดประเด็นเอาไว้แล้วตามคำชี้ขาดปรากฏความในหน้าที่ 6 กล่าวคือ “…ผู้เรียกร้องและผู้คัดค้านจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 หรือไม่ เพียงใด”

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 9 คณะทำงานฯ กล่าวหาว่า กรณีที่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เรียกร้องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างคืนจากกระทรวงคมนาคม และรฟท. เป็นจำนวนประมาณ 14,700 ล้านบาท และต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ชำระคืนเป็นจำนวน 9,000 ล้านบาทนั้น ในความจริงแล้ว จำนวนเงินที่ต้องชำระคืนบริษัทฯ ต้องเป็นไปตามหลักฐานใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องหรือเพียง 1,732 ล้านบาทเท่านั้น

คำชี้แจง : ในระหว่างการก่อสร้างบริษัทยังไม่มีรายได้ แต่อยู่ในระบบภาษีมูลกาเพิ่ม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจำนวนมาก ทำให้ต้องขอคืนภาษีซื้อที่เกิดขึ้น ก่อนที่กรมสรรพากรจะคืนเงินค่าภาษีที่ขอคืน ซึ่งกรมสรรพากรต้องตรวจสอบความถูกต้องของค่าใช้จ่ายของบริษัทแล้ว และในที่สุดกรมสรรพากรคืนเงินค่าภาษีซื้อให้บริษัทรวมเป็นเงิน 347 ล้านบาท ซึ่งคำนวณกลับเป็นค่าใช้จ่ายเท่ากับ 4,961 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก เช่น ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น ซึ่งก็มีจำนวนมีอีกมาก รวมเป็นมูลค่า 14,000 ล้านบาท ตามที่บริษัทได้เรียกร้องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจากรัฐ ซึ่งบริษัทได้นำส่งเอกสารประกอบจำนวนประมาณ 200 แฟ้มต่อคณะอนุญาโตตุลาการแล้ว

ต่อมากรมสรรพกรได้ฟ้องเรียกเงินคืนภาษีที่กรมสรรพากรได้คืนเงินแก่บริษัทฯ ด้วยเหตุที่บริษัทฯไม่มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อ (VAT) ที่เกิดจากค่าก่อสร้าง โดยศาลฎีกาได้พิพากษาให้บริษัทคืนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ตามคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขแด 3983/2553 ซึ่งเป็นการยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า มีใบเสร็จรับเงินค่าก่อสร้างที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างน้อยเท่ากับ 4,961 ล้านบาท

ดังนั้น ข้อกล่าวหาที่ว่า ใบเสร็จรับเงิน 1,732 ล้านบาทเท่านั้น ที่ยอมรับได้ จึงเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและเป็นเท็จ

ประเด็นข้อกล่าวหาที่ 10 : ข้อพิพาทกรณีโฮปเวลล์อาจเป็นกระบวนการและแผนการฉ้อฉลเพื่อให้ได้เงินจากภาครัฐโดยมิชอบ

คำชี้แจง : ข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอย ขาดความรับผิดชอบ เพราะกระบวนการบอกเลิกสัญญาของฝ่ายรัฐมีระเบียบปฏิบัติหลายขั้นตอน โดยท้ายสุดต้องมีมติครม.ให้ความเห็นชอบจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการวางแผนเพื่อฉ้อฉลตามที่กล่าวอ้าง ในกรณีนี้ ผู้ที่กระทำผิดเป็นเหตุให้ฝ่ายรัฐต้องชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทฯ จะต้องมีความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับรัฐทั้งหมด

และข้อพิพาทนี้ได้ผ่านการพิสูจน์และตรวจสอบโดยคณะอนุญาโตตุลาการ ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด ดังที่ทราบกันดีแล้ว บริษัทฯ จึงขอสงวนสิทธิ์ทางกฎหมายและทางศาลต่อไป

นอกจากนั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ ได้ใช้เงินลงทุนทั้งหมด เงินทุนจดทะเบียนที่ชำระมูลค่าแล้ว 15,000 ล้านบาท ล้านบาท เงินกู้จากบริษัทในกลุ่มอีกประมาณ 1,738 ล้านบาท และยังมีเจ้าหนี้การค้าอีกประมาณ 1,469 ล้านบาท รวมเป็นเงินลงทุนประมาณ 18,207 ล้านบาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) แต่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ชคใช้ให้กับบริษัทฯ เพียง 11,850 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าบริษัทฯ ได้รับความเสียหายมากกว่าคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ฝ่ายรัฐชำระแก่บริษัท

ดังนั้น ข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นกระบวนการและแผนการฉ้อฉลเพื่อให้ได้งินจากภากรัฐ โดยมิชอบนั้น จึงเป็นการใส่ความที่ย้อนแย้งกับความจริงดังกล่าวข้างต้น

นอกจากนี้ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด มีข้อสังเกตต่อรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง ‘การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์)’ ใน 5 ประเด็น ดังต่อไปนี้

1.รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ‘การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับและถนนยกระดับในขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์)’ ของ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร (‘รายงานของ กมธ.’) ไม่มีการสอบถามข้อมูลจากฝ่ายเอกชน เป็นรายงานที่ไม่เป็นกลาง ลำเอียง ไม่ครบถ้วน เสมือนเป็นการร่างฟ้องจากฝ่ายรัฐ

2.รายงานของ กมธ. มีการบิดเบือนประเด็นโดยนำเรื่องของผู้ถือหุ้นของบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด มาเป็นประเด็นโจมตีบริษัทฯ เพื่อกลบเกลื่อนความผิดของฝ่ายรัฐทั้งในเรื่องการไม่ส่งมอบพื้นที่ตามสัญญาและการเลิกสัญญาโดยมิชอบ ซึ่งเป็นเหตุให้ฝ่ายรัฐแพ้คดี

3.จากรายงานของ กมธ. มีความเห็นว่า กมธ.มีแนวโน้มที่จะปกป้องเจ้าหน้าที่ของฝ่ายรัฐที่มีส่วนกระทำผิด เพราะเมื่อรัฐต้องจ่ายเงินตามคำพิพากษา รัฐจะต้องไปไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำความผิดที่ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย ส่วนที่มีการอ้างว่ากระทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาตินั้น เห็นว่าเป็นการเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติมาอ้างเพื่อปกป้องพวกพ้อง โดยหากมีการศึกษาเอกสารข้อมูลทั้งหมดทั้งสิ้นแล้ว จะพบผู้มีส่วนในการกระทำความผิด และถูกไล่เบี้ยได้อย่างชัดเจนมีบุคคลใดบ้าง แต่ในรายงานของ กมธ.กลับไม่มีข้อเสนอลงโทษผู้กระทำความผิด

4.ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ความผิดบางข้อหาได้ขาดอายุความแล้ว ควรจะมีการตรวจสอบว่า เป็นการประวิงเวลาที่จะดำเนินคดีกับผู้มีส่วนในการกระทำความผิด อันเป็นการช่วยเหลือพวกพ้อง นอกจากนั้น ยังมีการร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับเป็นคดีพิเศษหลายครั้งหลายคราว ซึ่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษคนก่อน ได้ปฏิเสธไม่รับเป็นคดีพิศษมาแล้ว แต่ยังมีพฤติการณ์เช่นนั้นอีก ซึ่งทั้งสองกรณีที่กล่าวมาข้างต้น มีลักษณะคล้ายกับกระบวนการช่วยหลือผู้กระทำความผิดในคดีอื่น

5.การที่รายงานของ กมธ. เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นว่าควรตรวจสอบในเรื่องที่สมควรได้รับการตรวจสอบ เช่น

5.1 การใช้ดุลพินิจในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่ที่สำคัญ ซึ่งทั้งศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาและวินิจฉัยแล้วว่า พยานหลักฐานใหม่ที่อ้างนั้น มีอยู่แล้วในสำนวนไม่เป็นหลักฐานใหม่ เป็นผลให้รัฐมีความเสียหายเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1,000 ล้านบาทแล้ว

5.2 การที่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่งตั้งทนายความยื่นฟ้องกรมพัฒนาธุรกิจการค้าศาลปกครองกลาง ซึ่งปรากฎชัดเจนว่าเป็นการผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพิจรณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ.2561 ซึ่งมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานแล้วว่าในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีข้อพิพาทระหว่างกัน ต้องเสนอข้อพิพาทให้คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี แต่กรณีนี้กลับไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกดังกล่าว ซึ่งกรณีนี้ก็ได้สร้างความเสียหายให้กับรัฐเพิ่มขึ้นวันละ 2.4 ล้านบาท

เหล่านี้เป็นข้อโต้แย้งของบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ต่อข้อกล่าวหาของคณะทำงานพิจารณาศึกษาโครงการโฮปเวลล์ฯ ของกมธ.การกฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2020 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่รอเอกชนร่วมทุนฯ! รฟท.เปิดทดสอบเดินรถไฟฟ้า ‘สายสีแดง’ กลางปี 64-ลุยทางคู่สายอีสาน
เขียนโดย isranews
เขียนวันเสาร์ ที่ 19 กันยายน 2563 เวลา 19:02 น.

รฟท.เตรียมให้บริษัทลูก ‘รฟฟท.’ ทดสอบเดินรถไฟฟ้าสีแดง ‘บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน’ กลางปีหน้า และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการปลายปี 2564 ส่วนการเปิดให้เอกชนร่วมทุนเดินรถแบบ ‘PPP’ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

.............

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ถึงการเปิดทดสอบการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้า) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ว่า รฟท.มีแผนเปิดทดสอบการเดินรถไฟฟ้าสายดังกล่าวกลางปี 2564 และเปิดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางปลายปี 2564 โดยเบื้องต้นจะให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ รฟฟท. เป็นผู้บริหารจัดการการเดินรถไปก่อน

ส่วนกรณีที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม มีนโยบายเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมทุน (PPP) ในการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น นายนิรุฒ ระบุว่า เดิมที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมติให้ รฟฟท. เป็นผู้บริหารจัดการการเดินรถ ซึ่งมติดังกล่าวยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางนิตินัย ส่วนในวันข้างหน้าหากเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบ PPP หรือมีเอกชนมาร่วมทุนได้เมื่อไหร่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

“ในหลักการของเรา คือ ถ้าพร้อมเดินรถ เราก็ต้องเดินรถ เพื่อประชาชนจะได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงเสียที โดยมีไทม์ไลน์อยู่แล้ว คือ เราจะทดลองการเดินรถในช่วงกลางปี 2564 และจะมีการเดินรถจริงๆ คือ ให้ประชาชนใช้บริการได้ประมาณปลายปีหน้า ถ้าไม่มีอะไรติดขัดในเชิงเทคนิค หรือเชิงกฎหมาย หรืออื่นๆ” นายนิรุฒกล่าว

สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา บอร์ดรฟท.มีมติเห็นชอบแนวทางให้เอกชนร่วมลงทุนเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงในรูปแบบ PPP net cost ระยะเวลาประมาณ 30 ปี และให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ได้แก่ ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง โดยรฟท.และกระทรวงคมนาคมจะต้องเสนอเรื่องดังกล่าวให้ คนร.พิจารณาต่อไป

นายนิรุฒ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง วงเงิน 2.73 แสนล้านบาทว่า รฟท.เสนอโครงการทั้งหมดให้คณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดสภาพัฒน์ฯ) พิจารณาแล้ว แต่เนื่องจากสภาพัฒน์ฯยังมีความเป็นห่วงในแง่ของความคุ้มค่าและอุปสรรคต่างๆอยู่ ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้มีการหารือกัน และได้มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการใหม่ และเห็นตรงกันว่าจะผลักดันรถไฟทางคู่สายอีสานก่อน

“จริงๆแล้วเราเคยนำเสนอไปแล้ว แต่ว่าสภาพัฒน์ยังเป็นห่วงในแง่ของความคุ้มค่า และอุปสรรคต่างๆ ซึ่งล่าสุดกระทรวงคมนาคมมีการประชุมหารือกัน และนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเส้นทางใน 7 โครงการนั้น ซึ่งเห็นตรงกันว่าสายอีสาน น่าจะเป็นสายที่อยู่ในลำดับความสำคัญสูงที่สุด เพื่อเป็นเส้นทางที่จะขนส่งสินค้าหรือคน ที่เชื่อมต่อจากจีนลงมาสู่แหลมฉบัง หรืออู่ตะเภา” นายนิรุฒกล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมจัดลำดับความสำคัญโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ที่มีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นชอบให้เดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่สายอีสาน เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย วงเงินลงทุน 26,663 ล้านบาท

ส่วนความคืบหน้ารถไฟทางคู่ระยะที่ 1 นั้น ทุกโครงการมีการจัดจ้างเรียบร้อยแล้ว แต่ขณะนี้บางโครงการอาจดีเลย์ไปบ้าง โดยเฉพาะเส้นทางสายใต้ เนื่องจากต้องมีการย้ายระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งมีบางจุดแตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้ในตอนออกแบบ ทำให้การก่อสร้างล่าช้าไปบ้าง ส่วนโครงการอื่นๆบางโครงการล่าช้าเล็กน้อย แต่บางโครงการก่อสร้างได้เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) นั้น รฟท.กำหนดส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เอกชนให้เสร็จสิ้นก่อนต.ค.2564 ยังคงเป็นไปตามนั้น โดยเฉพาะการส่งมอบพื้นที่ระยะเร่งด่วนที่ต้องทำให้เสร็จก่อนสิ้นเดือนก.พ.2564 ก็ยังเป็นไปตามแผน

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายกรุงเทพ-นครราชสีมา มีบางส่วนที่ติดประเด็นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่ทุกอย่างยังเป็นไปตามแผน ในขณะที่สัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) ได้เจรจากับจีนเรียบร้อยแล้ว และร่างสัญญาผ่านการตรวจพิจารณาจากอัยการสูงสุดแล้ว และเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในเร็วๆนี้ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายมีกำหนดลงนามสัญญาในเดือนต.ค.นี้



https://www.facebook.com/photo?fbid=3402928719754049&set=a.2805255826188011
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2020 2:10 pm    Post subject: Reply with quote

อาจละเมิดอำนาจศาล-บิดเบือน! ‘บ.โฮปเวลล์’ ร้อง ‘ชวน’ ระงับแพร่ผลศึกษาฉบับ ‘พีระพันธุ์’
เขียนโดย isranews
เขียนวันศุกร์ ที่ 18 กันยายน 2563 เวลา 14:20 น.

บ.โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ร่อนหนังสือถึง ‘ชวน หลีกภัย’ ขอให้ระงับการแพร่ผลศึกษากรณีโฮปเวลล์ฉบับ ‘พีระพันธุ์’ ชี้หมิ่นเหม่และอาจละเมิดอำนาจศาล ขณะที่ข้อมูลเป็นเท็จ-บิดเบือนมติครม. พร้อมยืนยันการเซ็นสัญญาถูกต้อง มีหลักฐานค่าใช้จ่ายการลงทุนชัดเจน

................................

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org/) รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา นายพิสิทธิ์ อุดมผล และนายวัฒนชัย คุ้มสิน กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ทำหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ระงับการเปิดเผยรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางยกระดับและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์)” ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอาจไม่ชอบด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 และอาจเป็นการละเมิดอำนาจศาล

สำหรับรายงานการพิจารณาศึกษาดังกล่าว จัดโดยคณะทำงานที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษาการกฎหมายกรรมาธิการ การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานคณะทำงานฯ

โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า ตามรายงานที่อ้างถึง (รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางยกระดับและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์)”) ที่สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรได้นำรายงานของ กมธ. เปิดเผยในเว็บไซด์ของคลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติ โดยมีข้อมูลอันเป็นเท็จและมีข้อบกพร่องในสาระสำคัญหลายประการ

บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ได้รับความเสียหายจากการเปิดเผยรายงานฉบับนี้ จึงอาศัยสิทธิตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มาตรา 17 วรรค 2 โต้แย้งคัดค้านการเปิดเผยรายงานฉบับนี้ โดยมีข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

1.รายงานฉบับนี้ได้มีการศึกษาข้อมูลจากข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยุติแล้วจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.221-223/2562 จึงอาจเข้าองค์ประกอบความไม่ชอบด้วยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 กล่าวคือ บทบัญญัติในมาตรานี้ มุ่งประสงค์ที่จะให้คณะกรรมาธิการศึกษาข้อเท็จจริงที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องแท้จริงและยังไม่เป็นที่ยุติ ทั้งที่รณีดังกล่าวนี้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแล้ว

แต่รายงานฉบับนี้กลับใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการด้วยการพยายามที่จะเบี่ยงเบนประเด็นข้อเท็จจริงให้ขัดต่อคำพิพากษาและยังอาจหมิ่นเหม่ต่อการกระทำที่เป็นการละเมิดอำนาจศาล

2.เจตนารมณ์ของรายงานฉบับนี้จึงอาจเข้าองค์ประกอบเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามบทบัญญัติในมาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยการใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จในสาระสำคัญ

2.1 จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎ เห็นว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่เป็นกลาง เพราะเป็นการกล่าวหาใส่ร้ายผู้เสียหาย โดยไม่ยอมรับรู้ว่าศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยชี้ขาดครอบคลุมในทุกประเด็นแล้ว

2.2 รายงานฉบับนี้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยเห็นว่ามีการนำความบกพร่องของคู่สัญญาภาครัฐมายัดเยียดให้เป็นความบกพร่องของคู่สัญญาภาคเอกชน

2.3 รายงานฉบับนี้เห็นว่ามีการตีความประเด็นข้อกฎหมายโดยไม่สุจริต กล่าวคือในส่วนผลของการบอกเลิกสัญญาที่ระบุว่าการเลิกสัญญาโดยอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 388 กับการบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยข้อสัญญาในสัญญาสัมปทาน ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 387 ซึ่งตามกฎหมายแล้วเหตุการเลิกสัญญาทั้งสองมาตรดังกล่าวมีผลในทางกฎหมายเหมือนกัน คือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โดยนำไปบิดเบือนกล่วหาว่าเป็นกระบวนการและแผนการฉ้อฉลเพื่อให้ได้เงินจากภาครัฐโดยมิชอบ (ตามประเด็นที่ 14 หน้าที่ 50) ซึ่งเป็นความเท็จทั้งสิ้น

3.รายงานตามที่อ้างถึงนี้มีพฤติการณ์ส่อไปในทางที่ทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นรายงานที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ดังจะเห็นได้จากการที่รายงานฉบับนี้มีการบิดเบือนมติคณะรัฐมนตรี เป็นเหตุนำมาเป็นข้ออ้างในการดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

3.1 รายงานฉบับนี้เห็นว่ามีการบิดเบือนมติณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2533 ที่อนุมัติให้ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ลงทุนก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานครโดยได้รับสัมปทานเดินรถไฟชุมชน(Community Tran) และทางด่วนยกระดับสำหรับรถยนต์ตามผลการเจรจากับบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) โดยให้กระทรวงคมนาคมมีอำนาจในการลงนามในสัญญาสัมปทานที่กรมอัยการแก้ไขแล้วแทนรัฐบาล ซึ่งเป็นที่ชัดเจนปรากฏตามเอกสารที่กระทรวงคมนาคมแสดงต่อคณะรัฐมนตรี (เอกสารแนบ 1.) ตามความเป็นจริงแล้ว ครม.มีมติดังต่อไปนี้

3.1.1 ครม. มีมติให้บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวลงทุนก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร

3.1.2 ครม. มีมติอนุมัติให้บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวได้รับสัมปทานเดินรถไฟชุมชน (Community Train) และทางด่วนยกระดับสำหรับรถยนต์ หมายถึงรัฐบาลอนุญาตให้ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าวประกอบธุรกิจขนส่งทางบกในประเทศไทยได้เป็นการเฉพาะกาล คือ เป็นการเฉพาะในช่วงวลาตามอายุสัญญาสัมปทาน ซึ่งเป็นไปตาม ข้อ 2.ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ("ปว. 281") ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทยเป็นการเฉพาะกาล ..."

3.1.3 ครม. มีมติให้สัญญาสัมปทานเป็นไปตามผลการเจรจาระหว่างกระทรวงคมนาคม กับบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ซึ่งผลการเจรจาที่ได้มีการรายงานให้ ครม. แล้ว ได้มีการตกลงให้บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) จัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด มาเป็นผู้รับสัมปทานและเข้าเป็นคู่สัญญาแทนบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ตามข้อ 2.9 ของหนังสือกระทรวงคมนาคม ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2533

3.1.4 ครม. มีมติให้กระทรวงคมนาคมมีอำนาจในการลงนามในสัญญาสัมปทานที่กรมอัยการตรวจแก้ไขแล้ว แทนรัฐบาล

3.1.5 มติครม. ข้างต้นเป็นการรวมเอาคำขอของกระทรวงคมนาคมตามเรื่องที่ 1. และเรื่องที่ 2. ข้อ 2. เข้าไว้ด้วยกัน

การรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นไปโดยอาศัยมติ ครม. ตามที่แยกออกมาให้เห็นชัดเจนตามข้อ 2. และ 3. ข้างต้น ซึ่งเป็นการถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่ปรากฏว่าในรายงานฉบับที่อ้างถึงนี้กลับตีความว่า ในมติ ครม. ไม่มีข้อความใดหรือมีตัวหนังสือที่เขียนไว้ว่า ครม. มีมติให้สิทธิยกเว้นตามข้อ 2. ของ ปว. 281 ให้บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ซึ่งน่าจะเป็นการตีความบิดเบือนมติคณะรัฐมนตรีให้เกิดความเสียหายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีผลต่อสาธารณชนกระทบต่อความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของชาติในส่วนรวม

เหตุเพราะมติครม. รายละเอียดตามที่ระบุข้างต้นนี้ มีความชัดเจนว่า ครม. ได้อนุมัติให้บริษัท โรปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าว ให้เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้อย่างชัดเจนแล้ว จากรายงานที่อ้างถึงนี้คณะทำงานของคณะกรรมาธิการของชุดดังกล่าวนี้ เห็นว่ามีผลทำให้สร้างความเข้าใจผิดว่ามติครม. เพียงให้บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) เข้ามาลงทุนก่อสร้างทางกระดับและให้ได้รับสัมปทานเดินรถ แต่ไม่อนุญาตให้เข้ามาประกอบธุรกิจขนส่งในประเทศ ซึ่งตีความที่ขัดต่อสามัญสำนึกและย้อนแย้ง

และยังเป็นการตีความขัดกับหลักการตีความกฎหมายตามหลักนิติรัฐและกฎหมายสากล ซึ่งโดยหลักการแล้ว จะต้องตีความไปในทางที่ปฏิบัติได้ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญา ซึ่งครม. ในสมัยนั้น และบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ย่อมมีเจตนารมณ์ที่จะทำโครงการโฮปเวลล์ให้ประสบความสำเร็จ จึงได้มีการถือปฏิบัติกันตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการที่ฝ่ายรัฐมีการส่งมอบพื้นที่ในโครการนี้ แม้จะไม่ครบก็ตาม

โดยนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นประธานในพิธีลงเสาเอกเริ่มต้นโครงการ และบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) มีการนำเงินจากฮ่องกงเข้ามาลงทุนถึง 15,000 ล้านบาท จ่ายเงินตามสัญญาสัมปทานให้การรถไฟฯ ไปแล้วถึง 2,850 ล้านบาท มีการนำเข้าเครื่องจักรขนาดหนักเข้ามาใช้ในงานก่อสร้าง จึงเป็นที่ชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนาต้องการให้โครงการประสบความสำเร็จร่วมกัน

สัญญาสัมปทานฉบับนี้ ครม.ได้มีมติให้กรมอัยการ(สำนักงานอัยการสูงสุดในปัจจุบัน) ตรวจแก้ไขก่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะลงนามแทนรัฐบาล ซึ่งกรมอัยการได้ตรวจแก้ไขและได้นำร่างสัญญาเสนอต่อ ครม. ขอความเห็นชอบ (เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2533) ก่อนมีการลงนามและเมื่อลงนามโดยผู้มีอำนาจทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ได้มีการนำเสนอ ครม. เพื่อทราบอีกครั้งหนึ่ง (ครม.รับทราบเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2533) (เอกสารแนบ 1.)

4.ในรายงานฉบับนี้ปรากฏข้อมูลอันเป็นเท็จในรายละเอียดปลีกย่อยบางประการ อาทิเช่น

4.1 ตามรายงานของ กมธ. ข้อ 4.1.9 หน้า 19 ย่อหน้าที่ 1 ตอนท้าย ระบุว่า (1.) ไม่มีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายนำพยานหลักฐานมาแสดงและโต้แย้งพยานหลักฐานระหว่างกัน ตามที่พึงต้องกระทำ (2) ไม่ให้โอกาสนำสืบพิสูจน์พยานหลักฐานและข้ออ้างและข้อเถียงของแต่ละฝ่ายในเรื่องดังกล่าวก่อน แล้วจึงวินิจฉัยชี้ขาด (เอกสารแนบ 2.)

4.1.1 แต่ปรากฎข้อเท็จจริงในรายงานการประชุมของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทตามคดีหมายเลขดำที่ 1 19/2547 ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 ได้มีการกำหนดข้อพิพาทไว้อย่างชัดเจนปรากฎหลักฐานในรายงานการประชุมของคณะอนุญาโตตุลาการว่า "4. ผู้เรียกร้องและผู้คัดค้านจะกลับคืนสู่สถานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 หรือไม่ เพียงใด" (เอกสารแนบ 3.)

ตามคำขาดของคณะอนุญโตตุลาการ ได้มีการกล่าวถึงเรื่องการกำหนดประเด็นข้อพิพาทค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างไว้ในหน้าที่ 6 ที่ว่า "4. ผู้เรียกร้องและผู้คัดค้านจะกลับคืนสู่สถานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 หรือไม่ เพียงใด" (เอกสารแนบ 4.)

อีกทั้งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ. 410-412/2557 คดีหมายเลขแดงที่ อ.221-223/2562 ได้กล่าวถึงการกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีหมายเลขดำที่ 119/2547 ไว้ในหน้าที่ 9 บรรทัดที่ 11 นับจากล่างขึ้นบน ว่า "4. ผู้เรียกร้องและผู้คัดค้านจะกลับคืนสู่สถานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพและพาณิชย์ มาตรา 391 หรือไม่ เพียงใด" และในหน้าที่ 108 ในบรรทัดที่ 11 นับจากล่างขึ้นบน ว่า "4. ผู้เรียกร้องและผู้คัดค้านจะกลับคืนสู่สถานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 หรือไม่ เพียงใด" (เอกสารแนบ 5.)

ข้อกล่าวหาที่ไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการกล่าวหาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ

4.1.2 ในชั้นการสืบพยานในประเด็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำพยานบุคคลเข้าเบิกความประกอบพยานเอกสารประมาณ 200 แฟ้ม โดยมีทีมทนายของฝ่ายกระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ ถามด้านพยานบุคคลฝ่ายบริษัท และโต้แย้งค้านพยานเอกสารในเรื่องใบเสร็จรับเงินอย่างละเอียด มีหลักฐานบันทึกคำถามด้านเรื่องนี้มีจำนวนถึง 110 หน้ากระดาษ A4

ข้อกล่าวหาที่ไม่เปิดโอกาสให้โต้แย้งพยานหลักฐานใบเสร็จรับเงิน จึงเป็นการกล่าวหาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ

4.2 จากข้อกล่าวหาตามรายงานของ กมธ. หน้า 23 บรรทัดแรก ได้กล่าวหาว่าเมื่อได้ตรวจสอบสำเนาใบเสร็จรับเงินที่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด นำมายื่นไว้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ปรากฏว่า มีใบเสร็จรับเงินที่สมารถยอมรับได้ เป็นเงินเพียงประมาณ 1,732 ล้านบาทเท่านั้น (เอกสารแนบ 6.)

แต่ปรากฎหลักฐานในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2553 หน้า 3 บรรทัดที่ 9 ว่า บริษัทได้ขอคืนภาษีซื้อจากการก่อสร้างต่อกรมสรรพากรในระหว่างที่บริษัทยังไม่มีรายได้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจำนวนมากทำให้ บริษัท โฮปเวลล์(ประเทศไทย) จำกัด ต้องขอคืนภาษีซื้อ (VAT) ของวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างเป็นเงิน 528,360,932.30 บาท แต่กรมสรรพากรคืนให้เป็นเงิน 347,276,378.80 บาท ตามหนังสือแจ้งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม 70 ฉบับ (เอกสารแนบ 7.)

ส่วนจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จำนวน 528 ล้านบาท คำนวณย้อนกลับเป็นค่าใช้จ่ายที่มีใบกำกับภาษีได้ 7,548 ล้านบาท ซึ่งการขอคืน VAT จะต้องมีใบกำกับภาษีประกอบชัดเจน

ปรากฏชัดเจนว่า ข้อมูลที่ กมธ. นำมากล่าวอ้างในรายงาน ตัวเลขน้อยกว่าความเป็นจริงอย่างมาก ถึง 435% จึงถือได้ว่าเป็นเท็จ

นอกจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้นนี้แล้วยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกอาทิเช่น คำจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

“จึงขอประทานกราบเรียน ฯพณฯ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้โปรดพิจารณาระงับการเผยแพร่รายงานดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิของสภาผู้แทนราษฎรอันทรงเกียรติในฐานะที่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติตามรัฐธรมนูญ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม ในระบบนิติรัฐอย่างเคร่งครัด ประกอบกับ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นนักกฎหมายที่มีวัตรปฏิบัติยึดมั่นในความถูกต้องและเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎหมาย บริษัท จึงมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจรณาวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวข้างต้นนี้ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง” หนังสือของบริษัท โฮปเวลล์ฯ ระบุ

สำนักข่าวอิศรารายงานว่า สำหรับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ HOPEWELL (THAILAND) LIMITED จดทะเบียนเมื่อวันที่ 5 พ.ย.2533 ปัจจุบันยังดำเนินกิจการอยู่ ทุนจดทะเบียนปัจจุบันอยู่ที่ 15,000 ล้านบาท โดยประกอบการเดินรถไฟชุมชนระบบขนส่งทางถนน มีกรรมการ 4 คน ได้แก่ นายพิสิทธิ์ อุดมผล ,นายวัฒนชัย คุ้มสิน ,นายโคลิน เฮนรี่ เวียร์ และนายสถาพร อาสะไวย์

ข้อมูล ณ วันที่ 11 ก.ย.2563 ปรากฏรายชื่อผู้ถือหุ้น ได้แก่

1.ยูไนเต็ด ซัคเซส ลิมิเต็ด สัญชาติมอริเชียส ถือหุ้น 96.6667% หรือ 1,449,999,994 หุ้น (ราคาหุ้นละ 10 บาท) มูลค่า 14,499.99 ล้านบาท

2.เอฟเอสเอ็น คอนซัลติ้ง ลิมิเต็ด สัญชาติมาเลเซีย ถือหุ้น3.3333% หรือ 50,000,000 มูลค่า 500 ล้านบาท

3.นายธีรภัทร ทวีสิน สัญชาติไทย ถือหุ้น 0.0000% หรือ 2 หุ้น มูลค่า 20 บาท

4.นางนิตยา เกียรติเสรีกุล สัญชาติไทย ถือหุ้น 0.0000% หรือ 1 หุ้น มูลค่า 10 บาท

5.นางศรีรัชฎ์ ปัญจพรรค์ สัญชาติไทย ถือหุ้น 0.0000% หรือ 1 หุ้น มูลค่า 10 บาท

6.นายสุนันท์ กีรติวัฒนพิศาล สัญชาติไทย ถือหุ้น 0.0000% หรือ 1 หุ้น มูลค่า 10 บาท

7.นางสาวสุนันทา นิศกุลรัตน์ สัญชาติไทย ถือหุ้น 0.0000% หรือ 1 หุ้น มูลค่า 10 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2020 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”สั่ง รฟท. แจงด่วนๆคนสับสนเดินรถไฟสายสีแดง
*มอบ กทพ. ถกบีอีเอ็มฟรีทางด่วนวันหยุดยาว
*ย้ำยินยอมต้องมีหนังสือหวั่นซ้ำรอยโดนค่าโง่

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า พร้อมกันนี้ยังสั่งการให้นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบความคืบหน้าการเปิดเดินรถโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ให้ชัดเจน ซึ่งในการประชุมครม.ครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงการทดสอบการเดินรถว่ามีกำหนดอย่างไร โดยตามแผนเดิมมีกำหนดทดสอบเดินรถเสมือนจริงในเดือนมี.ค.64 แต่ขณะนี้ประชาชนบางส่วนเห็นว่ามีการทดสอบเดินรถแล้ว ดังนั้นขอให้ รฟท. ทำความเข้าใจเรื่องนี้กับประชาชนด้วยว่าเวลานี้เป็นการทดสอบเชิงเทคนิคไม่ใช่ทดสอบเดินรถเสมือนจริง เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของประชาชน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2716507261904108
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2020 11:35 am    Post subject: Reply with quote


รถไฟชานเมืองสายสีแดงทดสอบวิ่งที่ความเร็ว 145 กม./ชม. ที่เส้นทาง ดอนเมือง - รังสิต ด้วยความเร็วขนาดนี้ ถ้ามีรางให้วิ่งยาวพอ กินอาหารเช้าที่สถานีบางซื่อแล้วไปกินอาหารเที่ยงที่สถานีเชียงใหม่ได้อย่างสบายๆ รถไฟสายสีแดงนั้นแบ่งออกเป็น แดงอ่อน บางซื่อ - ตลิ่งชัน และแดงเข้ม บางซื่อ - รังสิต คนอยู่ชานเมืองนั่งมาทำงานในเมือง แล้วต่อรถไฟฟ้าหรือรถเมล์สาระพัดสายที่บางซื่อได้อย่างรวดเร็วสะดวกสบายกว่าแต่ก่อน
https://www.youtube.com/watch?v=tI9kJBqxFVQ
https://www.facebook.com/von.richthofen.7/posts/3591118850931700
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2020 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้มีข่าวว่า จะเลิกสถานีรังสิต ชัวคราว ให้ไปใช้สถานีรังสิตรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่กม. 30+347 วันที่ 15 ตุลาคม 2563 ตอนนี้รอข่าวยืนยันครับ แต่ ที่ผมห่วงคือ สถานีรังสิตรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่กม. 30+347 มันไกลจาก ถนนรังสิต - ปทุมธานีเอาการอยู่ แม้จะขยาย local road มาถึงสถานีรังสิตรถไฟฟ้าสายสีแดง ก็ยังช่วยไม่ได้มากนัก ถ้า ขสมก. และ กรมการขนส่งทางบก ยังไม่อนุมัติให้เปลี่ยนเส้นทางเดินรถเมล์รถตู้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร
https://www.facebook.com/jeffsrt/posts/3794318717263263
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 3:00 am    Post subject: Reply with quote

กรมรางโยนระเบิด!!รฟท.เปิดเดินรถไฟฟ้าสีแดงมี.ค.64
*พร้อมไม่พร้อม”It’s up to you”ทำแผนมาให้ชัด
*ค่าก่อสร้างบาน 10,345 ล้านก็รีบเคลียร์ให้จบๆ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2697538627134305/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2020 3:38 pm    Post subject: Reply with quote

ทดสอบ Dynamic test ของระบบสัญญาณ ETCS. Level 1 รถไฟฟ้าสายแดง
https://www.facebook.com/Bantatai/posts/3505012442897825

หน้าตาศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดง
https://www.facebook.com/DesignConceptArchitect/posts/683664275603055
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2020 8:23 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลปค.ไม่รับคำฟ้องเพิกถอน ‘บ.โฮปเวลล์’! รัฐยื้อจ่ายชดเชยชี้การเจรจายังไม่ยุติ

เขียนโดยisranews
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 12 ตุลาคม 2563 เวลา 18:22 น.

‘คมนาคม-รฟท.’ ร่อนหนังสือถึงสำนักงานศาลปกครอง แจงเหตุยังไม่จ่ายค่าชดเชย 2.4 หมื่นล้านบาท เพราะการเจรจาต่อรองค่าเสียหายยังไม่ได้ข้อยุติ-รอผลพิจารณาเพิกถอน ‘บ.โฮปเวลล์’ ของศาลปกครองก่อน ขณะที่อีกฝ่ายส่งหนังถือโต้แย้ง 2 ประเด็น พร้อมเผยศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องคดีร้องเพิกถอนแล้ว

...............

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา สำนักบังคับคดีปกครอง สำนักงานศาลปกครอง ส่งหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อขอรับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.221-223/2562 (คดีโฮปเวลล์) ระหว่างกระทรวงคมนาคม และ รฟท. ผู้ร้อง กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้คัดค้าน

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 ก.ย.2563 กระทรวงคมนาคม โดยนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ส่งหนังสือด่วนมากที่ คค 0202/8326 เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ไปยังผู้อำนวยการสำนักบังคับคดีปกครอง สำนักงานศาลปกครอง

โดยกระทรวงคมนาคม ระบุว่า 1.ตามที่ได้รายงานว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ผู้คัดค้านได้ยื่นต่อคณะทำงานเจรจาเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐ อันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ปัจจุบันการเจรจายังมิได้ข้อยุติเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระแก่ผู้คัดค้าน รวมทั้งการจัดหางบประมาณที่ผู้ร้องต้องชำระแก่ผู้คัดค้านตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

2.ในปัจจุบันคณะทำงานตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 143/2562 ลงวันที่ 20 มิ.ย.2562 ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่าบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งโดยไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พ.ย.2515 (อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน) จึงมีผลเป็นโมฆะ ตามนัยมาตรา 151 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

โดยในการนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนหนึ่งคนใด อาจยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ ตามนัยมาตรา 172 แห่งประมวลกฎหมายฉบับเดียวกัน ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้ยื่นฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้เพิกถอนการรับจดทะเบียนบริษัทดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.2533 (อันเป็นวันรับจดทะเบียนบริษัท)

ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสภาพความเป็นนิติบุคคลของบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ทางกระทรวงคมนาคมจึงยังไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวได้ เนื่องจากการปฏิบัติตามคำพิพากษาเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณของแผ่นดินจำนวนมาก

hopewell 12 10 20 1

ต่อมาวันที่ 2 ต.ค.2563 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งหนังสือที่ รฟ1/2012/2563 เรื่อ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ไปยังผู้อำนวยการสำนักบังคับคดีปกครอง สำนักงานศาลปกครอง โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า

1.ปัจจุบันการเจรจาในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานเจรจาเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐอันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ยังมิได้ข้อยุติเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระให้แก่ผู้คัดค้าน เนื่องจากการปฏิบัติตามคำพิพากษาขอศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจัดหางบประมาณแผ่นดินที่มีจำนวนมาก รวมทั้งยังต้องผ่านการพิจารณาของส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน

2.อนึ่ง เมื่อคณะทำงานตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 143/2562 ลงวันที่ 20 มิ.ย.2562 ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งโดยไม่ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พ.ย.2515 (ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน) จึงมีผลเป็นโมฆะตามนัยมาตรา 151 แห่ประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์

โดยในกรณีนี้ ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด อาจยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ ตามนัยมาตรา172 แห่งประมวลกฎหมายบับเดียวกัน ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้ยื่นฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1613/2563 แล้ว

เมื่อปรากฏข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสภาพความเป็นนิติบุคคลของบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามที่กล่าวอ้างมา ดังนั้น การรถไฟแทงประเทศไทย จึงยังไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้ เนื่องจากการปฏิบัติตามคำพิพากษาในกรณีนี้เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณของแผ่นดินจำนวนมาก

hopewell 12 10 20 2

สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ต.ค.2563 นายพิสิทธิ์ อุดมผล และนายวัฒนชัย คุ้มสิน กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ทำหนังสือเรื่อง ขอโต้แย้งกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยที่จงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ไปถึงผู้อำนวยการสำนักบังคับคดีปกครอง สำนักงานศาลปกครอง โดยมีการโต้แย้งข้ออ้างของกระทรวงคมนาคม และรฟท. ใน 2 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1 กรณีที่มีการระบุว่าการเจรจาระหว่างคณะทำงานเจรจาเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐ อันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังหาข้อยุติเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระให้แก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ได้ จึงยังตั้งงบประมาณที่จะต้องชำระแก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ได้ นั้น

บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอโต้แย้งว่า การที่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประทศไทยมีอำนาจหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดภายในกำหนด 180 วัน ตามคำพิพากษาที่ได้กำหนดไว้ชัดเจน แต่กลับบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติโดยยกข้ออ้างที่ขาดเหตุผลไม่สามารถจะรับฟังได้ ทั้งๆที่สำนักบังคับคดีปกครองได้มีหนังสือเร่งรัดไปแล้ว จำนวน 2 ฉบับ

ดังนั้น จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ากระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ยกข้ออ้างที่ไม่สามารถจะรับฟังได้ทั้งประเด็นข้อเท็จจริง และประเด็นข้อกฎหมาย เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของทั้ง 2 หน่วยงานที่จะต้องดำเนินการตั้งงบประมาณตามระเบียบวิธีการงบประมาณของทางราชการ เพื่อแสดงเจตนาว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และการยกข้ออ้างในเรื่องการเจรจานั้น ปรากฎข้อเท็จจริงว่าไม่มีผลความคืบหน้าแต่ประการใดทั้งสิ้นเพราะข้อเสนอของทางบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่เคยได้รับการตอบรับใดๆ จากหน่วยงานของรัฐทั้ง 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวนี้

ประเด็นที่ 2 กรณีการจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยยื่นฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร ขอเพิกถอนคำสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อศาลปกครอง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1613/2563 แล้ว จึงยังไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้

บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอโต้แย้งว่า การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นการจัดตั้งกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2533 โดยพิจารณาได้จากหนังสือของกระทรวงคมนาคมเอกสารลำดับที่ 2 ในข้อ 2.9 ที่กระทรวงคมนาคมเจรจาและตกลงกับบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) จัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อลงนามและดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งได้รับการยกเว้นการประกอบธุรกิจของบุคคลต่างด้าวในกิจการขนส่ง ตามข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พ.ย.2515 แล้ว

อนึ่ง ได้ทราบข้อเท็จจริงในขณะนี้ว่า ในคดีหมายเลขดำที่ 1613/2563 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2563 ไม่รับคำฟ้องของการรถไฟแห่งประเทศไทยไว้พิจารณา เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1721/2563 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยรับทราบคำสั่งของศาลปกครองกลางแล้ว ตามรายงานการส่งหมายที่ปรากฎในสำนวนของศาลปกครองกลาง ดังนั้น ข้ออ้างของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประทศไทย จึงเป็นเพียงการบิดพลิ้วเพื่อถ่วงเวลาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

สำหรับคดีหมายเลขแดงที่ อ.221-223-2562 (คดีโฮปเวลล์) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 เม.ย.2562 โดยกลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ยกคำร้อง และให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ชำระเงินจำนวนประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย รวมเป็นเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท ให้แก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามสัญญาโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร

สำนักข่าวอิศรารายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ระงับการเปิดเผยรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง 'การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางยกระดับและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์)' ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอาจไม่ชอบด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 และอาจเป็นการละเมิดอำนาจศาล ล่าสุดพบว่า ในเว็บไซด์ของคลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติ ไม่ปรากฎว่ามีรายงานฉบับดังกล่าวแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2020 8:00 pm    Post subject: Reply with quote

เลื่อนการยกเลิกสถานีรังสิตเดิมสำหรับรถไฟทางไกลตั้งแต่15 ต.ค.63 ออกไปก่อน โดยหากมีการย้ายไปใข้สถานีรังสิตใหม่ รฟท. ประกาศจะแจ้งให้ทราบต่อไป

https://www.facebook.com/photo?fbid=3478328238880763&set=a.3033691060011152
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 88, 89, 90 ... 147, 148, 149  Next
Page 89 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©