Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181550
ทั้งหมด:13492788
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 385, 386, 387 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2020 10:21 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
อิตาเลียน ฝันค้างถูกค้านซิวประมูลรถไฟไทย-จีน 9.3 พันล. ชงกรมบัญชีกลางชี้ขาด
เศรษฐกิจ
พุธที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา 11:02 น.

'อิตาเลียนไทย'คว้าประมูล โยธาไฮสปีดเทรนไทย-จีน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563


UPDATE: รฟท. เผยกลุ่ม ITD-พันธมิตรจีน ชนะประมูลไฮสปีดเทรนไทย-จีน สัญญา 3-1
เรียบเรียง: จารุวรรณ เอี่ยมยิ่งพานิช

The Standard
ฉบับวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:27 น.

บอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทยไฟเขียวกลุ่ม ITD ที่จับมือพันธมิตรจีน ชนะประมูลสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 3-1 ช่วง แก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30 กิโลเมตร หลังเสนอราคาต่ำสุดที่ 9.3 พันล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางกว่า 2 พันล้านบาท
.
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยอนุมัติผลการประมูลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วง แก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30 กิโลเมตร ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
.
โดยบริษัท ITD-CREC No.10JV ซึ่งประกอบด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ร่วมกับพันธมิตรซีอาร์อีซี (CREC: China Railway Engineering Corporation) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้านบาท จากราคากลางซึ่งอยู่ที่ 11,386 ล้านบาท หรือต่ำกว่าราคากลางกว่า 2,037 ล้านบาท
.
อย่างไรก็ตาม บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด ที่ร่วมกับพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ยื่นประมูลและได้ยื่นอุทธรณ์ผลการประมูล เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกได้ตัดสิทธิ์บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ เพราะเอกสารการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ไม่ถูกต้อง ขณะที่บริษัทเป็นผู้เสนอราคาต่ำกว่าที่กลุ่ม ITD ยื่นประมูล
.
ทั้งนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยจะส่งเรื่องการยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางพิจารณา ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐปี 2560 หากกรมบัญชีกลางพิจารณาเห็นว่าชอบผลการประมูลตามมติคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการลงนามในสัญญาต่อไป
.
Malaysian firms, in joint-venture with Thai firm won contract to build a section of Thai HSR project worth USD 250 million

https://www.thesundaily.my/business/bina-puri-clinches-thai-high-speed-rail-package-worth-rm1-billion-XJ4487473
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2020 1:25 pm    Post subject: Reply with quote

คค.ชงครม.ตั้ง'สถาบันราง' ถ่ายทอดเทคโนโลยีไฮสปีด
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวระหว่างการประชุมหัวหน้าหน่วยงานตอนหนึ่งเมื่อวันที่ 6 ต.ค. ผ่านการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซิ่งทางระบบ Zoom ว่า ในวันที่ 28 ต.ค. นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานพิธีลงนามสัญญาข้อตกลงการจ้างและสัญญาจ้างสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังมีโจทย์อยู่ 2 เรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ปัญหา ได้แก่ 1.การปรับรูปแบบสถานีอยุธยาไม่ให้กระทบต่อโบราณคดี เบื้องต้นทราบว่าทางกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้หารือกับทางกรมศิลปากรเรียบร้อยแล้ว และ 2.การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องเร่งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ซึ่งจะมีการประชุมภายในสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ได้มอบให้นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เร่งรัดเสนอเรื่องการจัดตั้งสถาบันรางให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพราะสถาบันนี้จะเป็นสถาบันที่จะรับผิดชอบเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง โดยจะต้องประสานกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อเปิดรับบุคลากร และนักเรียน นักศึกษาสายอาชีวศึกษาเข้ามายังสถาบันแห่งนี้ต่อไปด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสัญญา 2.3 ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยมีมติปรับกรอบวงเงินจากเดิมที่ ครม.เคยอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2560 วงเงิน 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หรือเพิ่มขึ้น 12,075.12 ล้านบาท ซึ่งไม่กระทบต่อกรอบวงเงินรวมของโครงการรวมที่ 179,412.21 ล้านบาท โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม มีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในสังกัดที่เพิ่งก่อตั้ง เหตุใดไม่ให้รับผิดชอบเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีกลับมีการเสนอ ครม.ตั้งสถาบันรางขึ้นมาอีก.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2020 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟความเร็วสูงนานาชาติหนองคาย จุดเปลี่ยนถ่ายรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ ไทย-ลาว
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 20:17

วันนี้ก็มาถึงรายละเอียดสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
ซึ่งสถานีรถไฟหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีที่สำคัญที่สุดของโครงการนี้เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างประเทศ
แต่โครงการนี้สถานีจะแยกกับโครงการรถไฟทางคู่ เพราะในโครงการทางคู่ใช้สถานีหนองคายเดิม แค่ปรับปรุงชานชาลา และทางข้ามชานชาลา บางส่วน
แต่อย่างที่บอกว่าเป็นสถานีรถไฟนานาชาติก็จะมีหน่วยงานทางด้านตรวจคนเข้าเมือง และศุลกากรเพิ่มขึ้นมาเพื่อรองรับเที่ยวรถไฟที่เชื่อมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมาด้วย
—————————
เรามาดูรายละเอียดของสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคายกันครับ
ตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคาย อยู่บริเวณสถานีรถไฟในปัจจุบัน ระหว่างถนนมิตรภาพ (เข้าเมืองหนองคาย) และถนนศูนย์ราชการ-บ้านนาไก่ ซึ่งตรงนี้อยู่หลังศูนย์ราชการเมืองหนองคาย สะดวกในการเดินทางพอสมควร
เอาจริงๆสถานีรถไฟหนองคายพึ่งย้ายมาจากตำแหน่งเดิมบริเวณริมแม่น้ำโขงในตลาดหนองคาย เมื่อปี 2545 และเลิกสถานีตลาดหนองคาย และเปิดสถานีหนองคาย เป็นสถานีปลายทางของสายอิสานเหนือไปเมื่อปี 2551 พร้อมกับการเปิดขบวนรถไฟข้ามสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง ในปี 2552
จึงทำให้สถานีหนองคายเป็นสถานีที่ค่อนข้างใหม่ และพร้อมรองรับรถไฟทางคู่อยู่แล้ว ในโครงการทางคู่เลยใช้สถานีเดิม
—————————
รูปแบบตัวสถานีรถไฟความเร็วสูงเป็นอาคาร 3 ชั้น
เป็นรูปแบบอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคาย เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหนองคายปัจจุบัน ผ่านทางสะพานลอยข้ามชานชาลา
มีทางเข้าออก 2 ด้าน คือ
- ทางเข้าหลัก อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ด้านฝั่งถนนมิตรภาพ ติดถนนใหม่ ซึ่งเชื่อมระหว่าง ถนนมิตรภาพ (มุ่งหน้าเข้าเมือง) กับถนนศูนย์ราชการ-บ้านนาไก่
- ทางเข้ารอง อยู่บริเวณทิศตะวันออก ติดถนนเลียบทางรถไฟ
ซึ่งเป็นด้านสถานีรถไฟหนองคายในปัจจุบัน และต้องเดินข้ามชานชาลาสถานีรถไฟหนองคาย มาเพื่อเข้าสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคาย
ชั้นที่ 1 ชั้นขายตั๋ว ซึ่งจะแบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน คือ
- โซนผู้โดยสารภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นแกนกลางของตัวอาคารสถานีชั้น 1 พร้อมกับพื้นที่จำหน่ายตั๋วและเชื่อมกับบันไดเลื่อนขึ้นชั้น 2 ไปที่พื้นที่โถงรอโดยสาร
- โซนผู้โดยสารระหว่างประเทศ จะแบ่งเป็น ขาเข้าและขาออก
ขาเข้าอยู่ด้านทิศเหนือของสถานี และขาเข้าอยู่ด้านทิศใต้ของสถานี
ในพื้นที่ขาเข้าและขาออก จะมีจุดตรวจและหน่วยงานตามเกณฑ์การเข้า-ออกประเทศ เช่น ด่านควบคุมโรง, ด่านตรวจคนเข้าเมือง, ด่านตรวจพืชและสัตว์, ด่านตรวจอาหารและยา และสุดท้ายเป็นด่านศุลกากร
ซึ่งกระบวนการนี้จะเทียบเท่ากับการตรวจของสนามบินระหว่างประเทศเลย
แต่ในฝั่งขาออก จะมีพื้นที่โถงรอโดยสารเพื่อให้ผู้โดยสารรอก่อนขึ้นชานชาลาเมื่อรถไฟมา
และจากจุดนี้ จะขึ้นตรงไปที่ชานชาลาระหว่างประเทศ ชั้น 3 เลย
ชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่โถงพักคอยผู้โดยสาร ของรถไฟความเร็วสูง ก่อนขึ้นรถไฟ เมื่อรถมาเข้าจอด
ซึ่งจะมีทั้งห้องติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร รวมถึงเป็นพื้นที่ติดตั้งงานระบบของสถานีรถไฟความเร็วสูง
ชั้น 3 เป็นชานชาลา มีทั้งหมด 5 ชานชาลา
โดยแบ่งเป็น ในประเทศ 4 ชานชาลาและ ระหว่างประเทศ 1 ชานชาลา แต่มีทางรถไฟ 6 ทาง ซึ่งมี 1 ทางผ่านสถานีไปโดยไม่มีชานชาลาไปสถานีรถไฟนาทาเพื่อให้มีทางรถไฟรองรับรถไฟสินค้าที่จะข้ามสถานีมุ่งหน้าไปจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา (Transhipment)
————————————
รูปแบบการออกแบบภายนอกสถานี
การออกแบบหลัก อาคารเป็นรูปแบบโมเดิร์นผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่นในรายละเอียด
โดยดึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมา เช่น พญานาค, คลื่นน้ำ, แม่น้ำโขง และหวดนึ่งข้าวเหนียว มาใช้เป็นรูปแบบหลักของการออกแบบสถานี
รูปแบบหลังคาด้านหน้าบริเวณจุดส่งผู้โดยสาร ทำเป็นรูปแบบจั่ว 3 หลัง มีจั่วหลัก 1 และจั่วรอง 2 ซึ่งเป็นการจำลองมาจากรูปปั้นพญานาคแผ่พังพาน มาลดทอนรายละเอียด ให้เหมือนเป็นรูปปากพญานาค
ตัวฟาซาดสถานี ใช้รูปแบบคลื่นน้ำ ร่วมกับ ลายของเครื่องจักรสานหวดนึ่งข้าวเหนียว มาทำเป็นลายข้างอาคารสถานี
ด้านหน้าสถานีมีการนำรูปปั้นพญานาคมาจัดร่วมกับการวางบ่อน้ำเพื่อให้สร้างรูปร่างเป็นพญานาคหน้าสถานี
————————————
การตกแต่ภายในสถานี
มีการใช้ลวดลายของรูปปั้นพญานาค และลายเกล็ดพญานาคมาตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถานี โทนสี น้ำตาลดิน, ฟ้า และขาว มาเป็นสีหลักในการตกแต่ง ภายในตัวสถานี ตั้งแต่พื้นที่จำหน่ายตั๋ว มาจนถึงห้องพักคอยผู้โดยสาร
————————————
รูปแบบทางวิ่ง
สถานีเป็นทางยกระดับ โดยจะยกระดับตั้งแต่จุดตัดถนน211 ก่อนถึงสถานีรถไฟบ้านสองห้อง ผ่านสถานีหนองคาย และมุ่งหน้าไปสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมกับทางรถไฟลาว
แต่จะมีช่วงสถานีนาทา ที่รถไฟจากฝั่งลาวจะขนสินค้ามาเปลี่ยนรถที่ไปจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา (Transhipment)
————————————
ใครอยากเสนอแนะ หรือสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อไปที่ปรึกษาได้ตามรายละเอียดข้างล่างครับ
เพจ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
เว็บไซต์ https://www.hsrkorat-nongkhai.com
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2020 2:03 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนเตรียมลงนามในวันที่ 28 ต.ค.นี้เตรียมลุยระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ- นครราชสีมา

12 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:59 น.


12 ต.ค. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ต.ค. 2563 จะมีพิธีการลงนามสัญญาโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพฯ- นครราชสีมา) สัญญา 2.3 (สัญญาการวางระบบและระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีการลงนาม ที่จะจัดขึ้นที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจึงได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในพิธีการลงนามดังกล่าว โดยได้มีการวางแผนรูปแบบการดำเนินงานให้ครบถ้วน ซึ่งในเบื้องต้นจะประชุมร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบศ.) เพื่อหารือในการขออนุญาตตัวแทนจากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่จะเดินทางร่วมลงนามสัญญาในครั้งนี้ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้เป็นไปตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงการขออนุญาตใช้พื้นที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ เพื่อจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างรถไฟไทย-จีน (Joint Committee: JC) ครั้งที่ 29 ภายหลังจากการลงนามสัญญา 2.3 ที่ทำเนียบรัฐบาลแล้วเสร็จ

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พิจารณาการปรับรูปแบบสถานีอยุธยา โดยในเบื้องต้นกรมศิลปากรได้เห็นชอบให้ยึดรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่เคยเสนอไว้ ซึ่งไม่ต้องปรับรูปแบบใหม่ เพียงแต่ลดขนาดของสถานีลง ขณะเดียวกัน รฟท. ยังได้เสนอรายงานอีไอเอ ช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี ต่อคณะกรรมการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานพิจารณาเห็นชอบต่อไป หากดำเนินการแล้วเสร็จ การลงนามสัญญาโครงการดังกล่าว จะเสร็จสมบูรณ์

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวถึงกรณีที่บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด ได้ยื่นอุทธรณ์ผลการประมูลของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ชนะการประมูลสัญญา 3.1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก–บันไดม้า ระยะทาง 30 กิโลเมตร (กม.) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ โดยบริษัทนภาก่อสร้าง ได้ถูกคณะกรรมการคัดเลือกฯ ตัดสิทธิ์การประมูล เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่มีการยื่นคัดค้าน ทั้งนี้ หากการฟ้องร้องไปถึงขั้นของศาล และมีการตัดสินพิพากษาคำสั่งเป็นอย่างใด ก็ต้องดำเนินการตามคำสั่งต่อไป

ทั้งนี้ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานวางแผนงานไปสู่การปฏิบัติ หากเรื่องใดมีการพิจารณาตัดสินใจแล้วนั้น ให้เดินหน้าดำเนินการต่อไป หรือเรื่องใดไม่ถูกต้อง ก็ให้พิจารณายกเลิก ทั้งนี้ ยืนยันว่า การประมูลฯ โครงการต่างๆ นั้น จะมีคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์เอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) อย่างครบถ้วน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินการของกระทรวงคมนาคม เดินหน้านโยบายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญต่างๆ นั้น ในช่วงกลาง พ.ย. 2563 จะมีการมอบนโยบายให้นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อกำหนดนโยบายเร่งด่วนในปีงบประมาณ 2564 หลังจากในปี 2563 ที่ผ่านมา มีหลายนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติบ้างแล้ว และยังมีอีกหลายนโยบายที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/10/2020 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

สำรวจเส้นทางรถไฟแห่งอนาคต 220 กิโลเมตร
บ้านเมือง วันอังคาร ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 00.37 น.

Click on the image for full size

ซีพี และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน เหมาโบกี้รถไฟสายตะวันออกนำคณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนสำรวจเส้นทางรถไฟแห่งอนาคต 220 กิโลเมตร ระดมไอเดียพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ตั้งเป้าพัฒนาเมืองต้นแบบศูนย์กลาง อีอีซี ท่องเที่ยว+อุตสาหกรรม ดึงการมีส่วนร่วมทุกระดับจากท้องถิ่น ด้านซีอีโอเครือซีพีมั่นใจรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินคือหัวใจของอีอีซี ขับเคลื่อนไทยสู่ 4.0 เชื่อมภาคตะวันออกให้เป็นหนึ่งเดียวกับกรุงเทพฯและปริมณฑล สร้างผลตอบแทนทางสังคมมหาศาล พร้อมเดินหน้าโครงการหลังรฟท.ส่งมอบที่ดิน

Click on the image for full size

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารซีพี คณะผู้บริหาร บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ได้จัดประชุมสัญจรคณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินบนรถไฟขบวนพิเศษเส้นทางรถไฟสายตะวันออก 220 กิโลเมตรจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟพลูตาหลวง จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟแห่งอนาคตภายใต้การร่วมมือของภาครัฐและเอกชนครั้งแรกของประเทศไทย โดยรถไฟขบวนพิเศษนี้ได้แวะจอดที่สถานีลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ศรีราชา และพลูตาหลวง และมีการระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารและคณะที่ปรึกษากันอย่างกว้างขวางตลอดการเดินทาง เพื่อที่จะพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสายนี้ให้มีความยั่งยืนในทุกมิติและเป็นเส้นทางแห่งโอกาสและความภูมิใจของประเทศไทย

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินคือหัวใจของอีอีซี ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0 และจะเชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพให้ ฉะเชิงเทรา ศรีราชา พัทยา ระยอง ให้เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต หรือ Smart City อีกด้วย

"รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน แม้จะกล่าวได้ว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นก่อนเวลามาก แต่เมื่อสร้างเสร็จจะเป็นที่น่าภาคภูมิใจ เพราะเป็นความท้าทายที่โดยปกติโครงการขนาดใหญ่ลักษณะนี้จะเป็นการสร้างเพื่อเชื่อมเมืองใหญ่ต่อเมืองใหญ่ตามหลักการสากล แต่สิ่งที่ทำวันนี้ คือการมองถึงวิสัยทัศน์ที่เชื่อมกับอีอีซีให้เห็นผลในอนาคต ซึ่งผลที่ออกมาอาจต้องใช้เวลานาน 10-15 ปี หากสำเร็จจะเป็นตัวอย่างการพัฒนาที่ดีของประเทศว่านอกจากการมีผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ Return of Investment ที่เหมาะสมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่วัดไม่ได้แต่มีมูลค่ามหาศาลคือ Return of Society ดังนั้นถ้าวางแผนควบคู่กันไปจะมีผลตอบแทนต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมมหาศาล” นายศุภชัยกล่าว

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ 1 ในที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน กล่าวโดยสรุปว่า โครงการนี้ต้องมองการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติควบคู่กันไป ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสการเติบโตในพื้นที่อีอีซี และที่สำคัญต้องสร้างความสมดุลระหว่างโลกสองโลกเข้าด้วยกัน คือ โลกของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และโลกการเติบโตในเชิงวัฒนธรรมที่มีคนในชุมชนเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม ต้องตระหนักว่าเมื่อโครงการนี้มาก่อนเวลา การทำแผนโครงการนี้จึงต้องมองระยะยาวไปอีก 15-20 ปีข้างหน้าให้ทันต่อสถานการณ์อนาคตด้วย รวมทั้งต้องดำเนินการใน 2 มิติ คือ 1.Inclusive Economic ในพื้นที่อีอีซี ทำให้โครงการส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนในพื้นที่ 2.Inclusive Design โดยการออกแบบรถไฟความเร็วสูงฯ ต้องคำนึงถึงเรื่อง Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย

“เป็นโจทย์ที่ท้าทายพอสมควร สิ่งสำคัญต้องไม่ใช่ให้รถไฟฯ นำความเจริญวิ่งผ่านไปโดยที่ชาวบ้านได้แต่มอง แต่จะต้องทำให้รถไฟฯ พาความเจริญกระจายไปทุกส่วน ทุกพื้นที่ที่รถไฟฯ วิ่งผ่าน”ม.ล.ดิศปนัดดากล่าว

Click on the image for full size

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนอีกคนหนึ่งในฐานะเป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า จ.ฉะเชิงเทรา เปรียบเหมือนเมืองลูกหลวงของอีอีซีที่เหมาะสมจะเป็นแหล่งผลิตอาหารป้อนอีอีซีที่จะมีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามา รถไฟความเร็วสูงฯจะช่วยเสริมส่งอีอีซีและมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ในจ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโอกาส เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถรองรับประชากรในอนาคตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 15-20 ล้านคนเมื่อเมืองขยายตัวจากรถไฟความเร็วสูงฯ

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ศรีราชาถือเป็นอีกเมืองที่มีศักยภาพในการเติบโตเป็นจุดที่เริ่มต้นของภูเขาในภาคตะวันออกและยังมีทะเล มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น เกาะสีชัง ทั้งยังควบคู่ไปกับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนจำนวนมาก จนเรียกว่าเป็น Little Osaka แนวการพัฒนาศรีราชาจึงต้องใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน คือเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงความยั่งยืน และความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ คู่ขนานกับการสร้างจุดเด่นการท่องเที่ยวสีเขียว และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ดังนั้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้

นายธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า จ.ชลบุรีมีความพร้อมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว อุตสาหกรรม ท่าเรือ ภาคเกษตร รวมทั้งยังมีศรีราชาที่เป็นแหล่งพื้นที่การจ้างงานและการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น แต่หลังสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจในพื้นที่ อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง แต่มั่นใจว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ จ.ชลบุรี และศรีราชากลับมาพลิกฟื้นใหม่ ส่งผลดีต่อการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนเล็ก ๆ ในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง

ผศ.ดร.อนุรัตน์ อนันทนาธร อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ไม่ได้มองความยั่งยืนในมิติเชิงเศรษฐกิจหรือพาณิชย์เพียงเท่านั้น แต่ต้องมองความยั่งยืนในมิติชุมชนและสังคมด้วย อาทิ สนับสนุนให้ความรู้การบริหารวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ และต่อยอดธุรกิจของชุมชนเชื่อมโยงกับโครงการฯ เพื่อกระตุ้นรายได้ในพื้นที่

Click on the image for full size

ด้าน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นเส้นทางแห่งอนาคต จึงสำคัญมากที่เส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ต้องมองทั้งเรื่องการเชื่อมโยง และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพื่อให้ประชาชนให้รับประโยชน์ โดยหากมองด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการนี้จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตผู้คนและสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต หากประเทศใดมีรถไฟความเร็วสูงฯ จะเป็นความภาคภูมิใจของคนในชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคตะวันออก ที่เชื่อมถึง EEC ซึ่งจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเคลื่อนคน การกระจายการลงทุนออกไปยัง EEC เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ได้เสนอให้พิจารณาตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงที่สถานีพระจอมเกล้าลาดกระบังซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เพื่อให้ชุมชนสังคมในพื้นที่ลาดกระบังได้รับประโยชน์สูงสุดจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ทั้งนี้ นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการว่า ในภาพรวมทางภาครัฐคาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2564 โดยอย่างช้าไม่เกินเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งยังคงเป็นไปตามสัญญา ส่วนการย้ายสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน่วยงานกว่า 20 แห่ง และตามแผนเกือบทุกหน่วยงานจะรื้อย้ายให้เสร็จได้ภายในเดือนมีนาคม 2564 ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงช่วงแรกได้ภายในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2020 9:19 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สำรวจเส้นทางรถไฟแห่งอนาคต 220 กิโลเมตร
บ้านเมือง วันอังคาร ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 00.37 น.


เม.ย.64 เริ่มสร้างไฮสปีด บิ๊กซี.พี. มั่นใจเปิดให้บริการได้ 2569
อสังหาริมทรัพย์

วันอังคาร ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:44 น.

บิ๊กซีพีนำทัพผู้บริหาร สำรวจเส้นทางรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:52:48 น.

ซีพี และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน เหมาโบกี้รถไฟสายตะวันออกนำคณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนสำรวจเส้นทางรถไฟแห่งอนาคต 220 กม. ระดมไอเดียพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ

“ซี.พี.” เหมาตู้รถไฟขบวนพิเศษ นำคณะที่ปรึกษาสัญจรเลาะแนวไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน หวังโปรเจ็กต์สร้างผลตอบแทนมหาศาลให้ประเทศ ทั้งความยั่งยืน-ท่องเที่ยว-ฟื้นเศรษฐกิจ คาดรัฐส่งมอบพื้นที่ไม่เกินเม.ย. 2564 สร้างเสร็จเปิดบริการปี 2569

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ซี.พี. คณะผู้บริหาร บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน ได้จัดประชุมสัญจรคณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินบนรถไฟขบวนพิเศษเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ระยะทาง 220 กม. จากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟพลูตาหลวง จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟแห่งอนาคตภายใต้การร่วมมือของภาครัฐและเอกชนครั้งแรกของประเทศไทย

โดยรถไฟขบวนพิเศษนี้ได้แวะจอดที่สถานีลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ศรีราชา และพลูตาหลวง และมีการระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารและคณะที่ปรึกษากันอย่างกว้างขวางตลอดการเดินทาง เพื่อที่จะพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสายนี้ ให้มีความยั่งยืนในทุกมิติและเป็นเส้นทางแห่งโอกาสและความภูมิใจของประเทศไทย



ไฮสปีด 3 สนามบินผลตอบแทนมหาศาล
โดยนายศุภชัยกล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน คือหัวใจของอีอีซี ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0 และจะเชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพให้ ฉะเชิงเทรา ศรีราชา พัทยา ระยอง ให้เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต หรือ Smart City อีกด้วย

“รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน แม้จะกล่าวได้ว่าเป็นโครงการที่เกิดขึ้นก่อนเวลามาก แต่เมื่อสร้างเสร็จจะเป็นที่น่าภาคภูมิใจ เพราะเป็นความท้าทายที่โดยปกติโครงการขนาดใหญ่ลักษณะนี้จะเป็นการสร้างเพื่อเชื่อมเมืองใหญ่ต่อเมืองใหญ่ตามหลักการสากล แต่สิ่งที่ทำวันนี้ คือการมองถึงวิสัยทัศน์ที่เชื่อมกับอีอีซีให้เห็นผลในอนาคต ซึ่งผลที่ออกมาอาจต้องใช้เวลานาน 10-15 ปี“

นายศุภชัยกล่าวด้วยว่า หากสำเร็จจะเป็นตัวอย่างการพัฒนาที่ดีของประเทศว่านอกจากการมีผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ Return of Investment ที่เหมาะสมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่วัดไม่ได้แต่มีมูลค่ามหาศาลคือ Return of Society ดังนั้นถ้าวางแผนควบคู่กันไปจะมีผลตอบแทนต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมมหาศาล

“ดิศปนัดดา” ห่วงความยั่งยืน
ด้าน ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ 1 ในที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน กล่าวว่า โครงการนี้ต้องมองการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติควบคู่กันไป ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสการเติบโตในพื้นที่อีอีซี และที่สำคัญต้องสร้างความสมดุลระหว่างโลกสองโลกเข้าด้วยกัน คือ โลกของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และโลกการเติบโตในเชิงวัฒนธรรมที่มีคนในชุมชนเป็นศูนย์กลาง

อย่างไรก็ตาม ต้องตระหนักว่าเมื่อโครงการนี้มาก่อนเวลา การทำแผนโครงการนี้จึงต้องมองระยะยาวไปอีก 15-20 ปีข้างหน้าให้ทันต่อสถานการณ์อนาคตด้วย รวมทั้งต้องดำเนินการใน 2 มิติ คือ 1.Inclusive Economic ในพื้นที่อีอีซี ทำให้โครงการส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนในพื้นที่ 2.Inclusive Design โดยการออกแบบรถไฟความเร็วสูงฯ ต้องคำนึงถึงเรื่อง Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย

“เป็นโจทย์ที่ท้าทายพอสมควร สิ่งสำคัญต้องไม่ใช่ให้รถไฟฯ นำความเจริญวิ่งผ่านไปโดยที่ชาวบ้านได้แต่มอง แต่จะต้องทำให้รถไฟฯ พาความเจริญกระจายไปทุกส่วน ทุกพื้นที่ที่รถไฟฯ วิ่งผ่าน” ม.ล.ดิศปนัดดากล่าว




อ.ยักษ์ชี้ไฮสปีดบูมเมืองแปดริ้ว
ด้านนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนอีกคนหนึ่งในฐานะเป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า จ.ฉะเชิงเทรา เปรียบเหมือนเมืองลูกหลวงของอีอีซีที่เหมาะสมจะเป็นแหล่งผลิตอาหารป้อนอีอีซีที่จะมีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามา

รถไฟความเร็วสูงฯจะช่วยเสริมส่งอีอีซีและมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ใน จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโอกาส เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถรองรับประชากรในอนาคตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 15-20 ล้านคน เมื่อเมืองขยายตัวจากรถไฟความเร็วสูงฯ

หวังไฮสปีดบูมท่องเที่ยวศรีราชา
ขณะที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ศรีราชาถือเป็นอีกเมืองที่มีศักยภาพในการเติบโตเป็นจุดที่เริ่มต้นของภูเขาในภาคตะวันออกและยังมีทะเล มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น เกาะสีชัง

ทั้งยังควบคู่ไปกับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนจำนวนมาก จนเรียกว่าเป็น Little Osaka แนวการพัฒนาศรีราชาจึงต้องใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน คือเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงความยั่งยืน และความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ คู่ขนานกับการสร้างจุดเด่นการท่องเที่ยวสีเขียว และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ดังนั้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้

พลิกเศรษฐกิจชลบุรี
ด้านนายธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า จ.ชลบุรี มีความพร้อมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว อุตสาหกรรม ท่าเรือ ภาคเกษตร รวมทั้งยังมีศรีราชาที่เป็นแหล่งพื้นที่การจ้างงานและการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น

“แต่หลังสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจในพื้นที่ อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง แต่มั่นใจว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ จ.ชลบุรี และศรีราชา กลับมาพลิกฟื้นใหม่ ส่งผลดีต่อการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนเล็ก ๆ ในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง“

ผศ.ดร.อนุรัตน์ อนันทนาธร อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ไม่ได้มองความยั่งยืนในมิติเชิงเศรษฐกิจหรือพาณิชย์เพียงเท่านั้น แต่ต้องมองความยั่งยืนในมิติชุมชนและสังคมด้วย อาทิ สนับสนุนให้ความรู้การบริหารวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ และต่อยอดธุรกิจของชุมชนเชื่อมโยงกับโครงการฯ เพื่อกระตุ้นรายได้ในพื้นที่



ขอสถานีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง
ด้าน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นเส้นทางแห่งอนาคต จึงสำคัญมากที่เส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ต้องมองทั้งเรื่องการเชื่อมโยง และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพื่อให้ประชาชนให้รับประโยชน์

หากมองด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการนี้จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตผู้คนและสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต หากประเทศใดมีรถไฟความเร็วสูงฯ จะเป็นความภาคภูมิใจของคนในชาติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคตะวันออก ที่เชื่อมถึง EEC ซึ่งจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเคลื่อนคน การกระจายการลงทุนออกไปยัง EEC เพิ่มมากขึ้น

“ได้เสนอให้พิจารณาตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงที่สถานีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เพื่อให้ชุมชนสังคมในพื้นที่ลาดกระบังได้รับประโยชน์สูงสุดจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน”

ส่งมอบพื้นที่ มี.ค.-เม.ย. 2564
ทั้งนี้ นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการว่า ในภาพรวมทางภาครัฐคาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2564 โดยอย่างช้าไม่เกินเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งยังคงเป็นไปตามสัญญา

ส่วนการย้ายสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน่วยงานกว่า 20 แห่ง และตามแผนเกือบทุกหน่วยงานจะรื้อย้ายให้เสร็จได้ภายในเดือนมีนาคม 2564 ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงช่วงแรกได้ภายในปี 2569

บิ๊กซีพีระเบิดไอเดีย!! 6กุญซือไฮสปีด3สนามบิน 2แสนล้าน
*พัฒนาทุกมิติสร้างเมืองแห่งอนาคตของคนไทย
*ปีหน้าส่งมอบพื้นที่พร้อมลุยทันทีเปิดบริการ69
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2735841166637384
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2020 2:28 am    Post subject: Reply with quote

ผ่านฉลุย กรมศิลป์ ถอยทัพปรับแบบ ไฮสปีดสถานีอยุธยา
07 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13:32 น.

ศักดิ์สยาม” เร่งเครื่องเต็มสูบจ่อหารือศบศ.เปิดทางตัวแทนรัฐบาลจีนลงนามสัญญารถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 วันที่ 28 ต.ค.นี้ ขณะเดียวกันกรมศิลป์ฯ ไฟเขียวยึดอีไอเอเดิมปรับแบบสถานีอยุธยา ส่วนสัญญา3.1 ลั่นให้เป็นไปตามกระบวนการศาล

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
ยูเนสโกส่งสัญญาณรถไฟความเร็วสูงกระทบมรดกโลกอยุธยา

สยามรัฐออนไลน์ 7 ตุลาคม 2563 15:24 น.


ยูเนสโกห่วง'สถานีไฮสปีดอยุธยา' หามาตรการดูแล ไม่กระทบมรดกโลก

07 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2020 11:20 am    Post subject: Reply with quote

15 ต.ค.นี้ เคาะผลประมูลอีก 1 สัญญา"ไฮสปีดไทย-จีน"
หน้าข่าวเศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
พุธที่ 14 ตุลาคม 2563 เวลา 14.05 น.

รฟท. เตรียมชงบอร์ด 15 ต.ค.นี้ เคาะผลประมูลอีก 1 สัญญารถไฟไฮสปีดไทย-จีน สร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาต่ำสุด 6,514 ล้าน

  
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) แจ้งว่า  ในการประชุมบอร์ด รฟท. วันที่ 15 ต.ค.นี้ รฟท. จะนำเสนอผลการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร(กม.) งานสัญญาที่ 4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664 ล้านบาท ซึ่ง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อยู่ที่ 6,514 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลาง 15% หรือลดลงไป 1,149.6 ล้านบาท  ให้บอร์ดพิจารณา

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่า หากบอร์ดให้ความเห็นชอบ จะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมลงนามในสัญญาต่อไป ซึ่งจะถือเป็นสัญญาฉบับที่ 11 เวลานี้เหลือเพียงอีก 1 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญาที่ยังไม่ได้มีการประมูลคือ งานสัญญา 4-1ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งปรับแบบให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งด้วยว่า นอกจากนี้ รฟท. ยังเตรียมเสนอบอร์ด รฟท. ในเร็วๆนี้ เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาในการก่อสร้างที่จะหมดอายุในวันที่ 21 ต.ค.63 ให้กับ  บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด ผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างงานสัญญา 2-1 งานโยธา ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.วงเงินลงทุน 3,115 ล้านบาทด้วย  เนื่องจากผู้รับเหมาติดปัญหาเกี่ยวกับการรื้อย้ายอาณัติสัญญาณของรถไฟทางคู่เดิมในบริเวณดังกล่าว ทำให้เอกชนจำเป็นต้องเสนอขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก.

ชงบอร์ดเคาะผลประมูลศูนย์ซ่อมไฮสปีดไทย-จีน 6.5 พันล้าน
*รฟท.เร่งปรับแบบบางซื่อ-ดอนเมืองปิดจ็อบ 14 สัญญา
*เตรียมขอขยายงานโยธาสีคิ้ว-กุดจิด/ติดปัญหารื้อย้าย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2737400883148079

ไฮสปีดเทรนไทย-จีนสะดุด! จ่อขยายเวลาก่อสร้างสัญญา 2-1 ระยะทาง 11 กิโล-ชงบอร์ดเคาะอิตาเลียนไทย ซิวงานเศรษฐกิจ

พุธที่ 14 ตุลาคม 2563 เวลา 16:41 น.

รถไฟไทย-จีนสะดุด! จ่อขยายเวลาก่อสร้างสัญญา 2-1 ระยะทาง 11 กิโล หลังผู้รับเหมาติดปัญหารื้อย้ายอาณัติสัญญาณ-พรุ่งนี้ ชงบอร์ดเคาะอิตาเลียนไทย ซิวงานสร้างเดโป้เชียงรากน้อย
ไฮสปีดเทรนไทย-จีนสะดุด - รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดรฟท. วันที่ 15 ต.ค. รฟท. จะนำเสนอผลการประมูล โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งานสัญญาที่ 4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664 ล้านบาท ซึ่ง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อยู่ที่ 6,514 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลาง 15% หรือลดลงไป 1,149.6 ล้านบาท ให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติ

ทั้งนี้ หากบอร์ดรฟท. ให้ความเห็นชอบ จะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมลงนามในสัญญาต่อไป ซึ่งถือเป็นการลงนามในสัญญาฉบับที่ 11 เหลือเพียงอีก 1 สัญญาที่ยังไม่ได้มีการประมูลคือ งานสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแบบให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)


นอกจากนี้ รฟท. เตรียมเสนอบอร์ดรฟท. เร็วๆ นี้ เพื่อขยายระยะเวลาในการก่อสร้างที่จะหมดอายุในวันที่ 21 ต.ค. 2563 ให้กับ บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด ผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างงานสัญญา 2-1 งานโยธา ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 3,115 ล้านบาท เนื่องจากผู้รับเหมาติดปัญหาเกี่ยวกับการรื้อย้ายอาณัติสัญญาณของรถไฟทางคู่เดิมในบริเวณดังกล่าว ทำให้เอกชนจำเป็นต้องเสนอขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2020 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
15 ต.ค.นี้ เคาะผลประมูลอีก 1 สัญญา"ไฮสปีดไทย-จีน"
หน้าข่าวเศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
พุธที่ 14 ตุลาคม 2563 เวลา 14.05 น.

ชงบอร์ดเคาะผลประมูลศูนย์ซ่อมไฮสปีดไทย-จีน 6.5 พันล้าน
*รฟท.เร่งปรับแบบบางซื่อ-ดอนเมืองปิดจ็อบ 14 สัญญา
*เตรียมขอขยายงานโยธาสีคิ้ว-กุดจิด/ติดปัญหารื้อย้าย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2737400883148079

ไฮสปีดเทรนไทย-จีนสะดุด! จ่อขยายเวลาก่อสร้างสัญญา 2-1 ระยะทาง 11 กิโล-ชงบอร์ดเคาะอิตาเลียนไทย ซิวงานเศรษฐกิจ

พุธที่ 14 ตุลาคม 2563 เวลา 16:41 น.


บอร์ด รฟท.ขยายเวลาร่างสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน ถึง ม.ค. 64-เคาะ ITD ซิวงานศูนย์ซ่อมเชียงรากน้อย 6.5 พันล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 ตุลาคม 2563 เวลา 14:31



บอร์ด รฟท.เห็นชอบขยายกรอบเวลาสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีนออกไปอีก 90 วัน ไปสิ้นสุด ม.ค. 64 หลังกำหนดลงนามยังไม่ชัด พร้อมอนุมัติ “อิตาเลียนไทย” คว้าสัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 6,573 ล้าน ต่ำกว่าราคากลาง 16.61% ลุ้น สผ.ไฟเขียว EIA เร่งเซ็นรับเหมาลุยก่อสร้าง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 15 ต.ค. มีมติเห็นชอบขยายกรอบเวลาในการดำเนินงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ที่จะครบกำหนดในวันที่ 31 ต.ค. 2563 ออกไปอีก 90 วัน หรือจนถึง 31 ม.ค. 2564 โดยเป็นการดำเนินการตามคำสั่งมาตรา 44 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 โดยจะเร่งเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ทั้งนี้ ครม.ได้อนุมัติร่างข้อตกลงการจ้างและสัญญาจ้าง รวมถึงกรอบวงเงินสัญญาที่ 50,633.50 ล้านบาทแล้ว ส่วนเหตุผลที่ต้องขอขยายเวลากรอบการดำเนินงานสัญญา 2.3 ออกไป เนื่องจากการลงนามในสัญญา 2.3 เบื้องต้นยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นวันที่ 28 ต.ค.นี้หรือไม่ เป็นการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งและไม่ให้เกิดปัญหา
นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ยังอนุมัติผลการประมูลก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สัญญาที่ 4-4 งานโยธา สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย (ราคากลาง 7,664 ล้านบาท ) ซึ่ง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในการประมูลด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยเสนอราคาที่ 6,573 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 1,091 ล้านบาท หรือ 16.61% ซึ่ง รฟท.จะกำหนดการลงนามในสัญญานี้ได้ต่อไป เนื่องจากก่อสร้างในพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ ไม่ต้องรอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

สำหรับงานโยธา โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา มีจำนวน 14 สัญญา กรอบวงเงิน 117,914.08 ล้านบาท โดยก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 1 สัญญา คือสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจิเนียริง เป็นผู้ก่อสร้าง งานคืบหน้า 39.29% ล่าช้ากว่าแผน 47.98%

ส่วนอีก 12 สัญญา ดำเนินการประมูลแล้ว 11 สัญญา อนุมัติผลประมูลแล้ว 10 สัญญา เหลือสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างพิจารณากรณีมีการยื่นอุทธรณ์ ส่วนที่เหลือยังไม่ประมูล คือ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. รอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมานั้น รอการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่มีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งคาดว่าจะประชุมภายในเดือน ต.ค.นี้

กาง 14 สัญญาอัพเดทรถไฟไฮสปีดไทย-จีน 1.79 แสนล้าน
*ก่อสร้าง 2 รอลงนาม 11 เตรียมเปิดประมูล 1
*ไฟเขียวอิตาเลียนไทยฯ สร้างศูนย์ซ่อมบำรุง
*ขยายเวลาลงนามสัญญา 2.3 ไปอีก 90 วัน!!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2738536436367857

จ่อชงครม.ยืดเวลา 90 วัน สัญญา2.3 (งานอุโมงค์มวกเหล็ก ยาว 12.23 กิโลเมตร) รถไฟไทย-จีน
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/453036


Last edited by Wisarut on 17/10/2020 1:32 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2020 5:25 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เตรียมเสนอครม.ขยายเวลาลงนามสัญญาไฮสปีดไทย-จีน ออกไปอีก 90 วัน
ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 16, 2020 17:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 15 ต.ค. เห็นชอบขยายกรอบเวลาในการดำเนินงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ที่จะครบกำหนดในวันที่ 31 ต.ค. 63 ออกไปอีก 90 วัน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามคำสั่งมาตรา 44 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยจะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

สาเหตุที่ต้องขอขยายเวลากรอบการดำเนินงานสัญญา 2.3 ออกไป เนื่องจากการลงนามในสัญญา 2.3 เบื้องต้นยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นวันที่ 28 ต.ค.นี้หรือไม่

นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดรฟท. มีมติอนุมัติผลการประมูลก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สัญญาที่ 4-4 งานโยธา สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย (ราคากลาง 7,664 ล้านบาท ) ซึ่งบมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในการประมูลด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยเสนอราคาที่ 6,573 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 1,091 ล้านบาท หรือ 16.61% ซึ่งรฟท.จะกำหนดการลงนามในสัญญานี้ได้ต่อไป เนื่องจากก่อสร้างในพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ ไม่ต้องรอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA)

โดยงานโยธา รถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร ? นครราชสีมา มีจำนวน 14 สัญญา ก่อสร้างเสร็จแล้ว ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 1 สัญญา คือสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว ? กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท มีบจ.ซีวิลเอ็นจิเนียริง เป็นผู้ก่อสร้าง

ส่วนอีก 12 สัญญา ดำเนินการประมูลแล้ว 11 สัญญา อนุมัติผลประมูลแล้ว 10 สัญญา เหลือสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดงและ ช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างพิจารณากรณีมีการยื่นอุทธรณ์ ส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม.ยังไม่ประมูล เพราะต้องรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 385, 386, 387 ... 542, 543, 544  Next
Page 386 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©