Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179597
ทั้งหมด:13490829
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2020 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

ด่วน !ศาลสั่งคุ้มครองบีทีเอส ให้รฟม.ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตามเกณฑ์เดิม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 ตุลาคม 2563 - 14:01 น.


ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(BTSC) โครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ให้รฟม.กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิม จนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมา

วันที่ 20 ตุลาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ที่สำนักงานศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางนัดไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่างบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ในฐานะผู้ฟ้องคดีกับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกคือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง



ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน และวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ส่วนตะวันตก การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นเหตุให้ BTSC ซึ่งเป็นผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 มีรายงานข่าวแจ้งว่า ศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(BTSC) โดยให้รฟม.กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิม คือ เปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงินและซองข้อเสนออื่นๆเพิ่มเติม จนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมา

จากปัจจุบันรฟม.ใช้เกณฑ์ใหม่ เปิดซองคุณสมบัติจากนั้นเปิดซองเทคนิคควบคู่ไปกับซองข้อเสนอการเงินโดยนำคะแนนเทคนิค 30% มาพิจารณาร่วมกับข้อเสนอการเงินอีก 70%

บีทีเอสเฮ! ศาลสั่งคุ้มครองให้ รฟม.ใช้เกณฑ์เดิมประมูล “สีส้ม”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 20 ตุลาคม 2563 - 13:39



“ศาลปกครองกลาง” มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวบีทีเอส คัดค้าน รฟม.แก้ไขเกณฑ์รวมคะแนนเทคนิคและราคา ประเมินประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยให้ รฟม.ใช้เกณฑ์ตามประกาศเดิม

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (20 ต.ค.) ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว คดีระหว่าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ในฐานะผู้ฟ้องคดี กับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวก คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง โดย “ให้ รฟม.ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การประเมินที่แก้ไขเพิ่มเติม”

ทั้งนี้ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก มาตรา 36 สามารถยื่นอุทธรณ์คัดค้านได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีคำสั่ง

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าวว่า วันนี้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม.ใช้เกณฑ์เดิมในการประเมินการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยแยกการประเมินข้อเสนอด้านการเงินกับข้อเสนอด้านเทคนิคออกจากกัน และใช้เกณฑ์ให้คะแนนและพิจารณาผู้ชนะตามราคาที่เสนอตามที่ประกาศไว้เดิม ไม่ใช้ประกาศใหม่ที่รวมคะแนนเทคนิคในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำตัดสินเนื่องจากต้องใช้เวลาพิจารณา

นายสุรพงษ์กล่าวว่า จากนี้ต้องอยู่ที่ รฟม.จะพิจารณาเดินหน้าการประมูลอย่างไร จะให้ยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.ต่อหรือไม่ ถ้ายื่นจะต้องใช้เณฑ์ตามศาลมีคำสั่งคุ้มครอง

สู้ต่อ!! รฟม.อุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม
*ยังเดินหน้าเปิดยื่นข้อเสนอ 9 พ.ย.นี้
*เตรียมแถลงข่าวแจงแนวทาง 21 ต.ค.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2742334695988031
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 10:48 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ด่วน !ศาลสั่งคุ้มครองบีทีเอส ให้รฟม.ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตามเกณฑ์เดิม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 ตุลาคม 2563 เวลา 14:01 น.

บีทีเอสเฮ! ศาลสั่งคุ้มครองให้ รฟม.ใช้เกณฑ์เดิมประมูล “สีส้ม”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 20 ตุลาคม 2563 เวลา 13:39 น.

สู้ต่อ!! รฟม.อุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม
*ยังเดินหน้าเปิดยื่นข้อเสนอ 9 พ.ย.นี้
*เตรียมแถลงข่าวแจงแนวทาง 21 ต.ค.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2742334695988031



BTSCเฮ!รับศาลปกครอง สั่งคุ้มครองชั่วคราว/คดีประมูลสายสีส้ม
หน้า โลกธุรกิจ
วันพุธ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 06.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลปกครองกลาง ว่า เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ (BTSC) ในฐานะผู้ฟ้องคดี กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวก คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง

โดยศาลฯได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว BTSC โดยให้ รฟม.กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมคือ เปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงินและซองข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติมจนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมาซึ่งทาง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 สามารถยื่นอุทธรณ์คัดค้านได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีคำสั่ง

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทBTSC กล่าวว่า จากการที่ทาง ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม.ใช้เกณฑ์เดิมในการประเมินการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้นในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำตัดสินเนื่องจากต้องใช้เวลาพิจารณา คงขึ้นอยู่กับ รฟม.จะดำเนินการประมูลอย่างไรต่อไป


ทั้งนี้รฟม.ต้องใช้เกณฑ์ที่มีการแยกการประเมินข้อเสนอด้านการเงินและด้านเทคนิคออกจากกัน เพื่อให้คะแนน และพิจารณาผู้ชนะตามราคาที่เสนอตามที่ประกาศไว้เดิม ไม่ใช้ประกาศใหม่

สำหรับการยื่นฟ้อง คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และรฟม. สืบเนื่องจาก คณะกรรมการฯและรฟม.มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขร่างเอกสารการประมูล (TOR) โครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงนำข้อเสนอทางด้านเทคนิคมาให้คะแนนควบคู่กับข้อเสนอราคา โดยให้นำคะแนนเทคนิค 30% มาพิจารณาร่วมกับข้อเสนอการเงินอีก 70%

สำหรับโครงการนี้มีกำหนดยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นี้ มีเอกชนให้ความสนใจติดต่อขอซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย ดังนี้
1. บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
2. บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือBTSC
3. บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์
4. บมจ.ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

5. บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
6. บมจ. ราช กรุ๊ป
7. บมจ. ช.การช่าง
8. บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์จำกัด


'ศักดิ์สยาม'เคารพคำสั่งศาลฯกรณีปรับหลักเกณฑ์สายสีส้ม สั่ง'รฟม.'เตรียมทำแผนยื่นอุทธรณ์
หน้าโลกธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 20.56 น.

"ศักดิ์สยาม"เคารพคำสั่งศาลฯกรณีปรับหลักเกณฑ์สายสีส้ม พร้อมสั่ง"รฟม."เตรียมทำแผนยื่นอุทธรณ์กรณีรับ-ไม่รับอุทธรณ์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปใช้หลักเกณฑ์เดิมในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตามที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองฉุกเฉินในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (RFP) ภายหลังเปิดขายซองข้อเสนอไปแล้วโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากพิจารณาตาม RFP ข้อ 17 แล้วนั้น มองว่าสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้แต่ก็ต้องเคารพผลการตัดสินของศาลฯ ซึ่งหลังจากนี้ รฟม. จะยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน โดยได้มอบหมายให้ รฟม.ไปจัดทำกรอบเวลาว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าใดในการดำเนินการและแยกแผนการดำเนินการหลังจากการยื่นอุทธรณ์ แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.กรณีศาลฯ รับอุทธรณ์ และ 2.กรณีศาลฯ ไม่รับอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อคำตัดสินมีผลออกมาอย่างไรนั้น ก็ให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลฯ ต่อไป

ทั้งนี้ ได้มีการกำชับเรื่องความปลอดภัยในการก่อสร้างรถไฟฟ้ามาโดยตลอด เพราะในปัจจุบันยังเกิดกรณีรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างมีอุปกรณ์หรือเครื่องจักรตกหล่นมาข้างล่างอยู่ ดังนั้น ต้องควบคุมการดำเนินการให้ดี ขณะเดียวกัน ตนยังได้กำชับเรื่องนี้ว่า ให้ รฟม.ดำเนินการตามระเบียบกฎหมาย และยึดหลักธรรมาธิบาล เนื่องจากโครงการนี้ ไม่ใช่โครงการแรก และในอนาคตยังต้องมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าในอีกหลายเส้นทาง ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการเปิดประกวดราคา อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวไม่ได้มีปัญหาอุปสรรค โดยหากดำเนินการโดยสุจริต สามารถอธิบายได้ทั้งหมด เพราะเรื่องการก่อสร้างต้องใช้ความละเอียด เนื่องจากเป็นการก่อสร้างที่ลงใต้ดิน และถ้าไม่มีความชำนาญเชี่ยวชาญ อาจจะทำให้เสี่ยงต่อความปลอดภัยได้ ส่วนการยื่นประกวดราคานั้นยังไม่ทราบว่าบริษัทใดจะยื่นเสนออย่างไร รวมถึงสิ่งที่บริษัทจะยื่นเสนอมานั้น คณะกรรมการคัดเลือกจะต้องพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบในการดำเนินการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 6:25 pm    Post subject: Reply with quote

‪จับตา!!เปิดประมูล”รถไฟฟ้าสายสีส้ม”จะเลื่อน&เลิก??‬
‪*คณะกรรมการ ม.36 เตรียมนัดถกด่วน‬
‪*เดินหน้ายื่นอุทธรณ์ศาลฯสูงสุด 9 พ.ย.‬
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2743418669212967

รฟม. ดิ้นสู้เกณฑ์ใหม่ประมูล “สายสีส้ม” อุทธรณ์คำสั่งทุเลา BTSC ไม่เลื่อนยื่นซอง 9 พ.ย.
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 21 ตุลาคม 2563 เวลา 19:22 น.

รฟม.ดิ้นจ่ออุทธรณ์”ศาลปกครองสูงสุด”ค้านทุเลา”BTSC” ใช้เกณฑ์เดิมประมูลสายสีส้ม ฟอร์มทีมบอร์ดคัดเลือกม.36 ประชุมด่วนก่อนยื่นซอง 1-8 พ.ย.นี้ ลั่นเดินหน้าประมูลต่อ ยังไม่เลื่อนรับซอง 9 พ.ย.นี้ ชี้เอกชนจะจัดเอกสารตามเกณฑ์ไหนเป็นเรื่องที่ต้องดูเอง

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 21 ต.ค. 2563 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่น ได้รายงานผลการตัดสินให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.รับทราบในการประชุมเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา

โดยสรุปแล้ว คำสั่งทุเลาดังกล่าวออกมาเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2563 โดยมี 2 ประเด็นหลักๆคือ 1. ให้คณะกรรมการมาตรา 36 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 และรฟม.กลับไปใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ชนะประมูลตามทีโออาร์เดิม คือ พิจารณาทีละซอง กับ 2.ไม่ได้คุ้มครองกระบวนการคัดเลือกเอกชน สามารถดำเนินการรับซองข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย 2563 นี้ได้

อุทธรณ์แน่-ประมูลต่อ
จากการหารือกับฝ่ายกฎหมายและสำนักงานอัยการสูงสุด รฟม.และคณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุน เห็นว่ามีประเด็นที่สามารถค้ดค้านคำสั่งทุเลาดังกล่าวได้ จึงมีมติจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาดังกล่าว โดยคณะกรรมการมาตรา 36 ได้มอบอำนาจให้นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรา 36 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และอีกด้านหนึ่งก็จะดำเนินการรับซองประมูลตามกำหนดเดิมคือวันที่ 9 พ.ย. 2563 ตามปกติ


ทั้งนี้ ในช่วงใกล้ๆวันยื่นซอง 9 พ.ย. 2563 นี้ คณะกรรมการมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุน 2562จะมีการนัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการยื่นซองประมูล และหารือเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทุเลาด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดวันประชุม คาดว่าจะเป็นภายในวันที่ 1-8 พ.ย. 2563 นี้ และคาดว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลก่อนวันที่ 9 พ.ย. 2563นี้

โยนบอร์ดม.36 ตอบแนวทางประมูล
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การพิจารณาซองประมูลภายหลังยื่นซองจะใช้หลักการใด เพราะศาลกำหนดให้ใช้เกณฑ์ราคาตามเดิม นายภคพงศ์กล่าวว่า ขอให้รอคณะกรรมการมาตรา 36 ประชุมร่วมกันก่อน

ส่วนจะมีการเปลี่ยนเงื่อนไขหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ ต้องรอคณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณาก่อน แต่การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆถือเป็นอำนาจที่คณะกรรมการมาตรา 36 สามารถทำได้อยู่แล้ว ส่วนจะเลื่อนวันยื่นซองออกไปก่อนหรือไม่ ยังไม่ทราบ

เอกชนลุยไฟจัดยื่นซองเอง
“กระบวนการพิจารณาซองข้อเสนอ ในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะยังไม่เปิดซองอะไร แต่คาดว่าจะเปิดซอง 1 คุณสมบัติก่อน โดยจะใช้เวลาพิจารณา 14 วันหลังยื่นซอง เพราะเป็นซองที่ไม่มีปัญหา แต่กับซองที่ 2 เทคนิค และซองที่ 3 การเงิน อาจจะต้องดำเนินการตามคำสั่งทุเลาคือ ใช้เกณฑ์การเงินเป็นหลัก แต่จะทำตามนี้ไหม ต้องรอคณะกรรมการมาตรา 36 ประชุมก่อน

ส่วนเอกชนจะทำเอกสารข้อเสนอตามเกณฑ์ไหนมายื่น ผมไม่ทราบ เป็นเรื่องที่เอกชนจะต้องพิจารณาเอง เพราะผมไม่ใช่เอกชน และได้ทราบมาว่าทาง BTSC ก็นำคำสั่งศาลมาเปิดเผยกับสื่อมวลชนอยู่แล้ว” นายภคพงศ์กล่าว

ชี้เดินหน้าโครงการได้ไม่ต้องรอคดีหลัก
นายภคพงศ์กล่าวต่อว่า ส่วนเมื่อยื่นอุทธรณ์แล้วศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องรอคณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณาแนวทางก่อน ส่วนการยกเลิกการประมูลโครงการ ก็เป็นสิ่งที่คณะกรรมการมาตรา 36 สงวนสิทธิ์ไว้ในทีอยู่แล้ว

ส่วนการพิจารณาคดีหลัก ซึ่งศาลปกครองยังไม่มีคำพิพากษานั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และน่าจะไม่รอคำพิพากษาคดีหลัก รฟม.ก็เดินหน้ากระบวนการประมูลไป ถึงเวลานั้นก็ค่อยทำตามคำพิพากษาที่มีต่อไป
รฟม. เดินหน้ารับซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม-พร้อมยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลคุ้มครองบีทีเอส
เศรษฐกิจ
วันที่ 21 ตุลาคม 2563 เวลา 15:50 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวงชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ทุเลาคำสั่งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ที่มีการ ปรับหลักเกณฑ์ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยให้พิจารณาเกณฑ์เทคนิคและการเงินในอัตรา 30 : 70 คะแนน ว่า คณะมาตรการมาตรา 36 ได้มอบหมายให้ประธานคณะกรรมการ คือ รองผู้ว่ารฟม. ดำเนินการทางคดี จัดทำคำร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ ศาลฯ ไม่ได้มีคำสั่งให้ระงับการดำเนินการคัดเลือก ดังนั้น รฟม. จะเดินหน้าประมูลต่อไป โดยในช่วงก่อนวันที่ 9 พ.ย. ซึ่งเป็นกำหนดรับซองประมูล คณะกรรมการมาตรา 36 จะมีการหารือเพื่อพิจารณาขั้นตอนการดำเนินการคัดเลือกอีกครั้ง โดยคาดว่าจะนัดหารือในช่วงระหว่างวันที่ 1-8 พ.ย.

“ยังบอกไม่ได้ว่าขั้นตอนหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร ต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการมาตรา 36 สรุปก่อน แต่หากคณะกรรมการ ยืนยันรับซองวันที่ 9 พ.ย. คาดว่าจะเปิดซอง 1 หรือซองคุณสมบัติ ภายใน 14 วัน จากนั้นเปิดซอง 2 แต่หากคณะกรรมการมีมติเลื่อนวันยื่นซองออกไป จะต้องมีการส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ประมูลทราบก่อนเปิดซอง ส่วนวันเปิดซองจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 3 วัน หรือคณะกรรมการมาตรา 36 ก็อาจมีสิทธิ์พิจารณาให้ยกเลิกการประมูลก็สามารถทำได้”

นายภคพงศ์ กล่าวว่า สำหรับการยื่นข้อเสนอนั้นขณะนี้ตอบไม่ได้ว่าจะต้องยื่นตามเงื่อนไขทีโออาร์เดิม หรือ ทีโออาร์ที่มีการแก้ไข เพราะตนไม่ใช่เอกชน เอกชนจะต้องตัดสินใจเองว่าจะยื่นแบบใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว กรณีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองฉุกเฉิน กรณีคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ปรับหลักเกณฑ์ประมูลโครงการดังกล่าว ภายหลังเปิดขายซองข้อเสนอไปแล้ว ถือเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2020 7:08 am    Post subject: Reply with quote

BTS เดินหน้าชิงสายสีส้ม ยื่นประมูลทุกหลักเกณฑ์ 9 พ.ย.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 22 ตุลาคม 2563

“บีทีเอส” ลั่นพร้อมยื่นข้อเสนอชิงรถไฟฟ้าสายสีส้มทุกหลักเกณฑ์ประมูล รฟม.เปิดยื่นซอง 9 พ.ย.ตามกำหนด พร้อมยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูลรถไฟสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร และการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถตลอดเส้นทางสายสีส้ม (มีนบุรี-บางขุนนนท์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 142,789 ล้านบาท ทำให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ฟ้องศาลปกครองกลาง และศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองการประมูลชั่วคราวภายใต้หลักเกณฑ์เดิมจนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล

ทั้งนี้ ทำให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ประชุมทันทีวานนี้ (21 ต.ค.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามคำสั่งศาล และตกลงจะเปิดให้ยื่นซองตามกำหนดเดิมวันที่ 9 พ.ย.2563

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กล่าวกับ 'กรุงเทพธุรกิจ' ว่า ภายหลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน โดยทุเลาการประกาศใช้ RFP ฉบับเพิ่มเติม ตามที่ รฟม.กำหนดเพิ่มเติมเพื่อปรับหลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอ ใช้คะแนนด้านเทคนิค 30 คะแนน และด้านราคา 70 คะแนน ก็เป็นผลให้ รฟม.จะต้องกลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิม คือ พิจารณาข้อเสนอโดยให้คะแนนด้านราคา 100 คะแนน


ทั้งนี้ การจะกำหนดใช้หลักเกณฑ์ใดในการพิจารณาหลังจากนี้ขึ้นกับ รฟม.จะต้องดำเนินการ ซึ่งปัจจุบันตามคำสั่งศาลถือได้ว่าต้องกลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิม แต่หาก รฟม.ยื่นอุทธณ์ก็เป็นสิทธิ์ที่สามารถดำเนินการได้ และระหว่างนี้ รฟม.มีกำหนดเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.นี้

ดังนั้นในฐานะเอกชนก็ไม่สามารถทราบได้ว่าจะมีการใช้หลักเกณฑ์ใด ในการพิจารณาข้อเสนอ เพราะอยู่ที่ดุลพินิจของศาลปกครองสูงสุดในการพิจารณา

นอกจากนี้ บีทีเอสในฐานะเอกชนที่จะยื่นข้อเสนอประมูลโครงการนี้ ปัจจุบันยืนยันว่าจะเข้าร่วมประมูลและได้เตรียมข้อเสนอที่ดีที่สุด ซึ่งสอดรับกับหลักเกณฑ์ที่ รฟม.กำหนด ดังนั้นไม่ว่าจะมีการกำหนดใช้หลักเกณฑ์ใดในการพิจารณาข้อเสนอในอนาคต บีทีเอสก็มีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูล ส่วนความคืบหน้าของการจัดหาพันธมิตรในการยื่นข้อเสนอครั้งนี้ ปัจจุบันขอไม่เปิดเผย


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ รฟม.ได้กำชับให้ รฟม.ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการใช้เอกสารยื่นข้อเสนอ (RFP) ฉบับเพิ่มเติม แต่เนื่องจากคำสั่งทุเลาดังกล่าวไม่ได้มีคำสั่งให้ รฟม.ชะลอการประกวดราคา ดังนั้น เบื้องต้น รฟม.จะเดินหน้าเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.นี้

อีกทั้ง รฟม.เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นไปตามสิทธิ์ที่ผู้ถูกฟ้องสามารถดำเนินการได้ โดยระหว่างนี้จะนัดประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ภายในวันที่ 8 พ.ย.2563 เพื่อพิจารณากระบวนการประกวดราคา โดยคณะกรรมการตามมาตรา 36 จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะเดินหน้ารับข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.นี้ตามเดิม หรือมีการเลื่อนรับข้อเสนอ หรืออาจจะยกเลิกประกวดราคาครั้งนี้ และเปิดขายซองใหม่ก็สามารถดำเนินการได้

ทั้งนี้ หากคคณะกรรมการตามมาตรา 36 มีกำหนดให้ รฟม.ดำเนินการเปิดรับซองตามกรอบเดิม คือ วันที่ 9 พ.ย.นี้ กระบวนการประกวดราคาหลังจากนั้น รฟม.สามารถเปิดข้อเสนอในซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ และอาจมีการชะลอเปิดซอง 2 ด้านเทคนิค เพื่อรอการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด

ทั้งนี้อยู่ที่ดุลพินิจการพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 36 โดยหากท้ายที่สุดศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง โดยให้ยกเลิกเอกสาร RFP ฉบับเพิ่มเติม รฟม.ก็จะใช้หลักเกณฑ์พิจารณาด้านราคา 100 คะแนน

“ระหว่างนี้ เอกชนก็ต้องเตรียมตัวยื่นข้อเสนอ ตามกำหนดเบื้องต้นที่ รฟม.ประกาศไว้ คือวันที่ 9 พ.ย.นี้ ส่วนจะมีการเลื่อนยื่นซอง หรือยกเลิกประกวดราคาหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ ม.36 ซึ่งสามารถทำได้ เพราะได้มีการสงวนสิทธิ์ยกเลิกประกวดราคาไว้ในเอกสาร RFP แล้ว ส่วนเอกชนจะเตรียมตัวยื่นข้อเสนอตามหลักเกณฑ์พิจารณาแบบใด ก็ถือเป็นเรื่องของเอกชน ไม่ใช่หน้าที่ของ รฟม. แต่เชื่อว่าเอกชนทุกรายจะต้องเตรียมข้อเสนอที่ดีที่สุดมาอยู่แล้ว”นายภคพงษ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2020 10:40 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ประมูลสายสีส้มต่อ พร้อมยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง
หน้าโลกธุรกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 06.00 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กรณีหลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องของบมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC ในฐานะฟ้องคดีต่อคณะกรรมการตามมาตรา 36 โดย รฟม.ขอให้ศาลคุ้มครองไม่ให้มีการปรับวิธีการประเมินการยื่นซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา ศาลฯ มีคำสั่งทุเลาไม่ให้มีการปรับหลักเกณฑ์ ซึ่งถือเป็นการคุ้มครองตามคำร้องของผู้ฟ้องนั้น ทาง รฟม.ได้เตรียมพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งของศาล แต่จะขอใช้สิทธิ์ในการอุทธรณ์ประเด็นเหล่านี้ไปยังศาลปกครองสูงสุดต่อไป



ทั้งนี้ รฟม.ได้มีการหารือทั้งฝ่ายกฎหมายและผู้แทนอัยการเรียบร้อยแล้ว โดยเนื่องจากในคำสั่งของศาลฯไม่ได้ระบุให้มีการชะลอการเปิดประมูลโครงการฯ ซึ่งกระบวนการหลังจากนี้จะดำเนินตามขั้นตอนเดิมคือ ให้เอกชนที่สนใจประมูลทุกรายต้องยื่นซองวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้ แต่ระหว่างนี้ตั้งแต่ 1-8 พฤศจิกายน จะมีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการตามมาตรา 36 เพื่อกำหนดแนวทางและพิจารณาคำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าวต่อไป

ในส่วนของกรอบเวลารับซองวันที่9 พฤศจิกายน นี้ จากเอกชนนั้นก็จะมีระยะเวลาจนกว่าจะเปิดซองประมูลซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติยังไม่เกี่ยวข้องกับการปรับหลักเกณฑ์ใหม่ที่คณะกรรมการตามมาตรา 36 ประกาศไปก่อนหน้านี้ แต่ยืนยันว่าในการปรับเปลี่ยนหรือยกเลิกประมูลนั้นจะเป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 36 ซึ่งในเอกสารเปิดประมูลได้มีการระบุสงวนสิทธิ์ที่ รฟม.สามารถยกเลิกการประมูลได้ แม้จะอยู่ในขั้นเจรจาต่อรองราคาก็ตาม


ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ ร.ฟ.ท.จัดตั้งบริษัทลูกภายใต้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เพื่อวางแผนแนวทางบริหารจัดการ และการดำเนินการ เช่น โครงสร้างองค์กร ข้อบังคับ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานเป็นต้น

ทั้งนี้ ได้มีการเสนอแนะให้ทาง การรถไฟฯไปศึกษารูปแบบการบริหารของบมจ. ปตท. เพื่อทราบถึงรูปแนวทางบริหารที่มีความคล่องตัว โดยเฉพาะเรื่องบริหารจัดการที่ดินของการรถไฟฯที่มีประมาณ 30,000-40,000 ไร่ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้านบาท แต่ปัจจุบันมีรายได้จากที่ดินดังกล่าวประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี

รฟม.อุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด เพิกถอนสั่งทุเลาใช้ TOR ใหม่-เดินหน้าตามขั้นตอนประมูล
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพฤหัสบดี ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:11 น.

จากที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การประเมินที่แก้ไขเพิ่มเติมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้น


เมื่อวันที่ 21 ต.ค. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากดูคำสั่งศาลโดยละเอียดตามคำร้องของผู้ฟ้องแล้ว สรุปว่าศาลมีคำสั่งให้คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และ รฟม.ทุเลาการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ พิจารณานำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิค 30% รวมกับคะแนนข้อเสนอด้านการเงิน 70% แต่ไม่ได้มีคำสั่งให้ระงับการคัดเลือก ดังนั้น รฟม.จะดำเนินตามกำหนดการเดิมให้เอกชนยื่นซองข้อเสนอวันที่ 9 พ.ย. ตามขั้นตอนหลังจากยื่นซอง 14 วัน จึงจะเปิดซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 สัปดาห์ จะประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ และกำหนดวันที่เปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิคและด้านการเงิน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะมีการประชุมหารือประมาณวันที่ 1-8 พ.ย. เพื่อกำหนดแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไร จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล


นายภคพงศ์กล่าวว่า ส่วนทางด้านคดีผู้ถูกฟ้องมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 30 วัน ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มอบอำนาจให้นายกิตติกร ตันเปาวร์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง รฟม. ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. หารือร่วมกับอัยการสูงสุด จัดทำเอกสารเพื่อยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลางเพื่อใช้หลักเกณฑ์ที่มีการแก้ไขใหม่ คาดว่าจะยื่นอุทธรณ์โดยเร็วที่สุด ส่วนผลการตัดสินของศาลจะออกมาอย่างไร รฟม.ต้องปฏิบัติตาม เรื่องนี้ รฟม.ได้รายงานที่ประชุมบอร์ดรับทราบ และกำชับให้ดำเนินการทำตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐและสาธารณะ.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2020 7:42 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าอาณาจักร 'BTS-BEM' 2 บิ๊กรถไฟฟ้าชิง 'สายสีส้ม'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

กลายเป็น 1 ปรากฏการณ์ new normal ประเทศไทย การปิดรถไฟฟ้าสกัดการชุมนุมของ "กลุ่มคณะราษฎร 2563" ที่ปักหมุดสถานีรถไฟฟ้าชุมนุมปลดแอกทางการเมือง

ทำให้ "รัฐบาล" สั่งปิดสถานที่ รวมทั้ง สถานีรถไฟฟ้า MRT และ BTS แต่ด้วยเป็นเส้นทางหลัก จึงหนีไม่พ้นเกิดกระแสไม่พอใจจากการประกาศปิด ๆ เปิด ๆ รถไฟฟ้า แม้ว่าบิ๊ก BTS จะออกมาย้ำ ไม่ได้ปิดตามอำเภอใจก็ตาม ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีใครอยากจะให้เกิด เพราะเสียหาย "ทั้งขึ้น-ทั้งล่อง" ไม่ว่าประชาชนที่มาใช้บริการ ผู้ประกอบการเดินรถที่รายได้ขาดหายไป

เปิดพอร์ตรถไฟฟ้า BTS

จากกระแสม็อบทำให้คนยิ่งอยากจะรู้จัก "รถไฟฟ้าสองสายหลัก" ที่เป็นดั่งเส้นเลือดใหญ่ในการเดินทางของคนกรุง ซึ่งถือกำเนิดคนละเวลา-ใช้สูตรลงทุนคนละรูปแบบ

"รถไฟฟ้าสายสีเขียว" หรือ BTS มี "คีรี กาญจนพาสน์" เป็นผู้เปิดตำนานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย ภายใต้ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) โดยยอมควักทุนเอง 100% แลกสัมปทานเดินรถ 30 ปี จากกรุงเทพมหานคร (กทม.) นับจากวันที่ 4 ธ.ค. 2542 ถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2572

ถือได้ว่ากุมพื้นที่ใจกลางเมือง ระยะทาง 23.5 กม. จากหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ขณะเดียวกันยังรับจ้าง กทม.บริหารจัดการเดินรถส่วนต่อขยาย "อ่อนนุช-แบริ่ง" และ "ตากสิน-บางหว้า" ยาวถึงปี 2585

ลุ้นขยายสัมปทาน 30 ปี

นอกจากนี้รอเซ็นสัมปทานเดินรถสายสีเขียวทั้งโครงการ จะนับต่อจากสัญญาเดิม 30 ปี ตั้งแต่ปี 2572-2602 แลกกับ แบกหนี้กว่า 1 แสนล้านแทน กทม. หลังรัฐบาลยกส่วนต่อขยาย "หมอชิต-คูคต" และ "แบริ่ง-สมุทรปราการ" ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ก่อสร้างให้ กทม. โดยมีเงื่อนไขชำระหนี้ก่อสร้างคืนให้ รฟม.

ด้วยภาระหนี้ก้อนใหญ่ทำให้ กทม.ไม่มีรายได้พอจะมาจ่าย จึงรวบสัมปทานเก่า และใหม่เป็นสัมปทานเดียวกัน เพื่อเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุน แต่เพราะขั้นตอนคัดเลือก PPP ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี และเพื่อให้การเดินรถต่อเนื่อง จึงเป็นที่มา "รัฐบาล คสช." ออกคำสั่ง ม.44 ให้เจรจากับเอกชนรายเดิม คือ BTS

หากไม่ถูกแช่แข็ง จะทำให้ "BTS" ได้เดินรถสายสีเขียวเชื่อม 3 จังหวัด "ปทุมธานี-กรุงเทพฯ-สมุทปราการ" ด้วยระยะทาง 68.25 กม. จำนวน 59 สถานี เก็บค่าโดยสาร 15-65 บาท

จากสายสีเขียว "คีรี" สวมบทเจ้าบุญทุ่ม ผนึกพันธมิตร "ซิโน-ไทยฯ" ธุรกิจรับเหมา ใต้ปีก "ตระกูลชาญวีรกูล" และ "ราชกรุ๊ป" ยักษ์พลังงาน ทุ่มทุนแสนล้านบาทคว้าสัมปทาน 30 ปี รถไฟฟ้าโมโนเรลสองสายแรกของประเทศไทย คือ "สายสีชมพู" แคราย-มีนบุรี และ "สายสีเหลือง" ลาดพร้าง-สำโรง มาเติมในพอร์ต ป้อนคนจากชานเมืองเข้าสู่ระบบสายสีเขียว รวมถึงยังได้เดินรถ 30 ปี รถไฟฟ้าสายสีทองให้ กทม.อีกด้วย

MRT-ทางด่วนธุรกิจใหญ่ BEM

ฝั่ง "สายสีน้ำเงิน" รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย จาก "บางซื่อหัวลำโพง" มี รฟม.เป็นผู้ลงทุนงานโยธา และ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ธุรกิจเครือ ช.การช่าง ภายใต้การนำของ "ปลิว ตรีวิศวเวทย์" ได้สัมปทานเดินรถ ค่ายนี้เติบโตมาจากธุรกิจรับเหมา ก่อสร้าง ก่อนขยายฐานมาสู่การรับสัมปทานทางด่วน และรถไฟฟ้า

ก่อนจะควบรวมธุรกิจทางด่วน-รถไฟฟ้า เป็น บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ในปี 2559 กลายเป็นคู่สัญญารับสัมปทานทางด่วน และรถไฟฟ้ามาถึงปัจจุบัน

"ธุรกิจรถไฟฟ้า" BEM รับสัมปทานเดินรถและพัฒนาเชิงพาณิชย์สายสีน้ำเงิน 25 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2572 ยังได้ขยายสัญญาอีก 30 ปี จากลงทุนเดินรถส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ที่ รฟม. รวบสัมปทานเก่าและใหม่ ให้ไปสิ้นสุด พร้อมกันในปี 2592 และยังได้สัญญา จ้างเดินรถ 30 ปี สายสีม่วง "เตาปูนคลองบางไผ่" ไปครองอีกกว่า 8 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ "ธุรกิจทางด่วน" รับสัมปทาน 3 สายทาง ได้แก่ ทางด่วนศรีรัช ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนฯ และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ล่าสุดได้ขยายสัญญาสัมปทาน อีก 15 ปี 8 เดือน แลกยุติข้อพิพาทกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จำนวน 17 คดี มีมูลค่าหนี้ 58,873 ล้านบาท

เส้นทางของ "BTS-BEM" ไม่ต่างกัน และต่างต้องการลงทุนในโครงการเป็นสัมปทานของรัฐบาล เพื่อสร้างรายได้ในระยะยาว นอกจากนี้ทั้ง 2 ยักษ์รถไฟฟ้ายังมีคอนเน็กชั่นแนบแน่น ทั้งบิ๊กทุน-บิ๊ก ราชการ-การเมืองไม่แพ้กันด้วย

ในแง่การลงทุน "BTS" มีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท (BTSGIF) เป็นเครื่องมือระดมทุน พร้อมกับจัดพอร์ตธุรกิจในเครือ เป็น 4 ขาต่อยอดรถไฟฟ้า ภายใต้ "บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์"

ผลประกอบการปี 2562/2563 มี รายได้รวม 46,206 ล้านบาท มาจากธุรกิจรถไฟฟ้า 80% โฆษณา 15% บริการ 4% และอสังหาริมทรัพย์ 1%

BTS ขยายฐานคลุมทุกโหมด

ปัจจุบันกลุ่มนี้เข้าลงทุนในหุ้นหลากธุรกิจทั้งสื่อโฆษณาที่มี บมจ.วีจีไอ คุมพอร์ตสื่อในบ้านและนอกบ้าน เข้าถือหุ้นใน บจ.เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) และ บมจ.แพลน บี มีเดีย ยังผนึก "เครือสหพัฒน์" ยกร้านลอว์สัน 108 ไปไว้บนสถานี BTS และนำระบบ Rabbit LINE Pay มาบุกตลาดเปย์เมนต์ ยังทุ่ม 1,050 ล้านบาท ถือหุ้นใน บมจ.อาร์เอส

ยังขยายฐานลงทุนคลุมทุกโหมด "บก-ราง-น้ำ-อากาศ" นอกจากรถไฟฟ้า 4 สี "เขียว-ชมพู-เหลือง-ทอง" ได้ยึดหัวหาดระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์ ผนึก "กัลฟ์-ซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป" ดัมพ์ราคากว่า 2 หมื่นล้าน ปาดหน้าคู่แข่ง "BEM" คว้าเค้ก 30 ปี บริหารระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา และบางใหญ่-กาญจนบุรี ด้วยวงเงิน 39,138 ล้านบาท กำลังรอเซ็นปิดดีล

ร่วมลงขันกับ "บางกอกแอร์เวย์ส- ซิโน-ไทยฯ" ทุ่มสุดตัว 3.05 แสนล้าน รับสัมปทาน 50 ปี สร้างเมืองการบิน อู่ตะเภา 6,500 ไร่ พื้นที่ไข่แดงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ยังเข้าไปซื้อหุ้นใน "เรือด่วนเจ้าพระยา" และกำลังศึกษาเข้าไปสู่ธุรกิจรถเมล์

ด้าน "BEM" สถานะการเงินก็แข็งแกร่ง โดยปี 2562 มีรายได้รวม 20,576 ล้านบาท มาจากธุรกิจทางด่วน 60% ระบบราง 30% เชิงพาณิยช์ 5% และอื่น ๆ 5% หลังพ่ายศึกชิงระบบมอเตอร์เวย์ ยังไม่ได้งานเติมเข้ามาในพอร์ต นอกจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งร่วมทุนกับกลุ่ม ซี.พี.คว้าสัมปทาน 50 ปี มาครอง

สู้ยิบตาประมูลสายสีส้ม

ปัจจุบัน "BEM" และ "ช.การช่าง" ได้ทุ่มสรรพกำลังชิงสัมปทานสายสีส้ม "บางขุนนนท์-มีนบุรี" เค้กใหญ่ส่งท้ายปี 2563 ที่ รฟม.เปิดให้เอกลงลงทุน 1.28 แสนล้านบาท สร้างช่วงตะวันตก "บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม" แลกสัมปทานเดินรถ 30 ปีตลอดสาย

อุณหภูมิสนามประมูลสายสีส้มกำลังปะทุเดือด หลัง รฟม.เปลี่ยนกติกาพิจารณาผู้ชนะประมูลใหม่ เมื่อเปิดซองคุณสมบัติ จะเปิดซองเทคนิคควบคู่ ข้อเสนอการเงิน และนำคะแนนเทคนิค 30% พิจารณาร่วมกับคะแนนการเงิน 70% ใครให้ประโยชน์รัฐสูงสุดเป็นผู้ชนะ ทำให้ผู้เสนอราคาต่ำสุด ไม่ใช่ผู้ชนะในเกมนี้ จากเดิมไล่เปิดทีละซอง

จากการเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ ทำให้ "BTS" เปิดศึกแห่งศักดิ์ศรี สู้ยิบตา ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้ใช้เกณฑ์เดิมพิจารณาและขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองชั่วคราวระงับการยื่นซองประมูลจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

ยกแรกศาลมีคำสั่งให้ รฟม.กลับไปใช้เกณฑ์เดิมพิจารณา โดยไม่ระงับกระบวนการประมูล ขณะที่ รฟม.ย้ำไทม์ไลน์ให้ยื่นซองประมูลวันที่ 9 พ.ย.นี้ ควบคู่ใช้สิทธิ์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาของ BTS รอคณะกรรมการมาตรา 36 ทุบโต๊ะให้จบก่อนวันยื่นซอง

มีความเป็นไปได้สูงที่การประมูลจะยืดเยื้อ ถึงแม้จะยื่นซองแล้ว แต่การพิจารณาผลผู้ชนะอาจจะ "ถูกดองเค็ม" จนกว่าศาลจะมีคำสั่งตัดสินออกมา

เป็นการเดิมพัน-วัดใจของยักษ์ใหญ่ ธุรกิจรถไฟฟ้า ช่วงชิงงานใหญ่แห่งปีที่ สั่นสะเทือนไปทั้งบาง

บรรยายใต้ภาพ
คีรี กาญจนพาสน์
ปลิว ตรีวิศวเวทย์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2020 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

จับตา รฟม.อุทธรณ์ “สีส้ม”-วางไทม์ไลน์หากล้มประมูล-ร่าง TOR ใหม่เสร็จ ก.พ. 64
หน้า คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 08:03 น.

รฟม.ยื่นอุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองกรณีปรับเกณฑ์ประมูลสายสีส้มในสัปดาห์นี้ พร้อมวางแนวทางรองรับกรณีให้ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง จ่อยกเลิกประมูลร่าง TOR ใหม่ เร่งขั้นตอนลงนามล่าช้าสุดใน ก.ย. 64 ไม่กระทบเปิดด้านตะวันออกศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มี.ค. 67

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รฟม.ได้หารือกับอัยการในการเรียบเรียงคำอุทธรณ์แล้ว โดยภายในสัปดาห์นี้จะยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลางกรณีคุ้มครอง โดยให้ รฟม.ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

ทั้งนี้ จากที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 ต.ค. คุ้มครองชั่วคราว ให้ รฟม.ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น รฟม.และคณะกรรมการ มาตรา 36 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 30 วัน

รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการ มาตรา 36 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 จะมีการประชุมกันภายในสัปดาห์นี้ด้วย เพื่อเตรียมแนวทางในการดำเนินการประกวดราคาตามประกาศที่ได้ขยายเวลาในการรับเอกสารประกวดราคาเป็นวันที่ 9 พ.ย. 2563

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุว่า เบื้องต้น รฟม.ได้มีการจัดทำกรอบแนวทางในการดำเนินการ กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งก่อนวันที่ 9 พ.ย.นี้ ซึ่งประเมินไว้ 3 กรณี ได้แก่ 1. กรณีศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลปกครองกลาง รฟม.โดยคณะกรรมการมาตรา 36 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 จะรับซองวันที่ 9 พ.ย. 63 จากนั้นจะประชุมเพื่อกำหนดเกณฑ์ และเปิดซองด้านคุณสมบัติ (ซอง 1) วันที่ 23 พ.ย. 63 ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ และเปิดซองด้านเทคนิค (ซอง 2) และซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ซอง 3) ประเมินข้อเสนอ สรุปประมาณปลายเดือน ธ.ค. 63 เพื่อเข้าสู่การเจรจาต่อรองผู้ผ่านการประเมินสูงสุด คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ช่วงต้นปี 64 และลงนามสัญญาในต้นเดือน มี.ค. 64

2. กรณีศาลปกครองสูงสุดยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง และ รฟม.เดินหน้าการประมูลต่อ โดยรับซองวันที่ 9 พ.ย. 63 ตามกำหนดนั้น รฟม.จะต้องออก RFP Addendum ยกเลิกปรับปรุงวิธีการประเมินก่อนรับซองก่อน ขณะที่กรอบเวลา การพิจารณายังเป็นไปตามกำหนดเดิม โดยเปิดซองที่ 1 วันที่ 23 พ.ย. 63 ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ จากนั้นเปิดซองที่ 2 ประเมินข้อเสนอด้านเทคนิค และเปิดซองที่ 3 ประเมิน ข้อเสนอการลงทุนและผลตอบแทน จะเร่งรัดเพื่อสรุปผลให้ได้ในเดือน ม.ค. 64 เพื่อเข้าสู่การเจรจาต่อรองผู้ผ่านการประเมินสูงสุด คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ช่วงต้นปี 64 และลงนามสัญญาภายใน มี.ค. 64

3. กรณีศาลปกครองสูงสุดยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง และ รฟม.ยกเลิกการประมูลโดยจะออกประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนก่อนวันที่ 9 พ.ย. 63 และเริ่มขั้นตอนการจัดทำร่างข้อเสนอการร่วมลงทุน (RFP)​ ใหม่เสร็จใน ก.พ. 64 ขายเอกสารเดือน ก.พ.-มี.ค. 64 ยื่นซองประมูลเดือน พ.ค. 64 สรุปผลประมูลเดือน ก.ค. 64 ลงนามสัญญาได้ในเดือน ก.ย. 64 ทั้งนี้ แผนงานนี้จะต้องมีการเร่งรัดกรอบการทำงานทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้โครงการล่าช้า

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วน ได้แก่ งานโยธา สายสีส้มด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กม. เป็นโครงสร้างใต้ดิน 13.6 กม. โครงสร้างยกระดับ 8.9 กม. มี 17 สถานี กรองวงเงินรวม 82,907 ล้านบาท ปัจจุบันงานก่อสร้างมีความก้าวหน้า 70%

สายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ งานโยธา ระยะทาง 13.4 กม. เป็นโครงสร้างใต้ดินตลอดสาย มี 11 สถานี กรอบวงเงินรวม 96,012 ล้านบาท และการจัดหา ติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถ และการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาตลอดเส้นทาง ตั้งแต่ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) กรอบวงเงินลงทุน 32,116 ล้านบาท โดย รฟม.เปิดประมูล PPP ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนออกและก่อสร้างงานโยธา ด้านตะวันตก และจัดหาระบบรถไฟฟ้า และเดินรถตลอดสาย โดยรัฐสนับสนุนค่างานโยธาตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น

ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการ 2 ส่วน โดยส่วนตะวันออกภายในเดือน มี.ค. 2567 และส่วนตะวันตก (ครบตลอดสาย) ในเดือน ก.ย. 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2020 10:41 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าอาณาจักร “BTS-BEM” 2 บิ๊กรถไฟฟ้าชิง “สายสีส้ม”
ข่าวอสังหาริมทรัพย์


วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 - 04:25 น.


กลายเป็น 1 ปรากฏการณ์ new normal ประเทศไทย การปิดรถไฟฟ้าสกัดการชุมนุมของ “กลุ่มคณะราษฎร 2563” ที่ปักหมุดสถานีรถไฟฟ้าชุมนุมปลดแอกทางการเมือง ทำให้ “รัฐบาล” สั่งปิดสถานที่ รวมทั้งสถานีรถไฟฟ้า MRT และ BTS แต่ด้วยเป็นเส้นทางหลัก จึงหนีไม่พ้นเกิดกระแสไม่พอใจจากการประกาศปิด ๆ เปิด ๆ รถไฟฟ้า แม้ว่าบิ๊ก BTS จะออกมาย้ำ ไม่ได้ปิดตามอำเภอใจก็ตาม ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีใครอยากจะให้เกิด เพราะเสียหาย “ทั้งขึ้น-ทั้งล่อง” ไม่ว่าประชาชนที่มาใช้บริการ ผู้ประกอบการเดินรถที่รายได้ขาดหายไป



เปิดพอร์ตรถไฟฟ้า BTS
จากกระแสม็อบทำให้คนยิ่งอยากจะรู้จัก “รถไฟฟ้าสองสายหลัก” ที่เป็นดั่งเส้นเลือดใหญ่ในการเดินทางของคนกรุง ซึ่งถือกำเนิดคนละเวลา-ใช้สูตรลงทุนคนละรูปแบบ

“รถไฟฟ้าสายสีเขียว” หรือ BTS มี “คีรี กาญจนพาสน์” เป็นผู้เปิดตำนานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย ภายใต้ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) โดยยอมควักทุนเอง 100% แลกสัมปทานเดินรถ 30 ปี จากกรุงเทพมหานคร (กทม.) นับจากวันที่ 4 ธ.ค. 2542 ถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2572ถือได้ว่ากุมพื้นที่ใจกลางเมือง ระยะทาง 23.5 กม. จากหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ขณะเดียวกันยังรับจ้าง กทม.บริหารจัดการเดินรถส่วนต่อขยาย “อ่อนนุช-แบริ่ง” และ “ตากสิน-บางหว้า” ยาวถึงปี 2585



ลุ้นขยายสัมปทาน 30 ปี
นอกจากนี้รอเซ็นสัมปทานเดินรถสายสีเขียวทั้งโครงการ จะนับต่อจากสัญญาเดิม 30 ปี ตั้งแต่ปี 2572-2602 แลกกับแบกหนี้กว่า 1 แสนล้านแทน กทม. หลังรัฐบาลยกส่วนต่อขยาย “หมอชิต-คูคต” และ “แบริ่ง-สมุทรปราการ” ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ก่อสร้างให้ กทม. โดยมีเงื่อนไขชำระหนี้ก่อสร้างคืนให้ รฟม.

ด้วยภาระหนี้ก้อนใหญ่ทำให้ กทม.ไม่มีรายได้พอจะมาจ่าย จึงรวบสัมปทานเก่า และใหม่เป็นสัมปทานเดียวกัน เพื่อเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุน แต่เพราะขั้นตอนคัดเลือก PPP ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี และเพื่อให้การเดินรถต่อเนื่อง จึงเป็นที่มา “รัฐบาล คสช.” ออกคำสั่ง ม.44 ให้เจรจากับเอกชนรายเดิม คือ BTS

หากไม่ถูกแช่แข็ง จะทำให้ “BTS” ได้เดินรถสายสีเขียวเชื่อม 3 จังหวัด “ปทุมธานี-กรุงเทพฯ-สมุทปราการ” ด้วยระยะทาง 68.25 กม. จำนวน 59 สถานี เก็บค่าโดยสาร 15-65 บาท

จากสายสีเขียว “คีรี” สวมบทเจ้าบุญทุ่ม ผนึกพันธมิตร “ซิโน-ไทยฯ” ธุรกิจรับเหมาใต้ปีก “ตระกูลชาญวีรกูล” และ “ราชกรุ๊ป” ยักษ์พลังงาน ทุ่มทุนแสนล้านบาทคว้าสัมปทาน 30 ปี รถไฟฟ้าโมโนเรลสองสายแรกของประเทศไทย คือ “สายสีชมพู” แคราย-มีนบุรี และ “สายสีเหลือง” ลาดพร้าว-สำโรง มาเติมในพอร์ต ป้อนคนจากชานเมืองเข้าสู่ระบบสายสีเขียว รวมถึงยังได้เดินรถ 30 ปี รถไฟฟ้าสายสีทองให้ กทม.อีกด้วย

MRT-ทางด่วนธุรกิจใหญ่ BEM
ฝั่ง “สายสีน้ำเงิน” รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย จาก “บางซื่อ-หัวลำโพง” มี รฟม.เป็นผู้ลงทุนงานโยธา และ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ธุรกิจเครือ ช.การช่าง ภายใต้การนำของ “ปลิว ตรีวิศวเวทย์” ได้สัมปทานเดินรถ ค่ายนี้เติบโตมาจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ก่อนขยายฐานมาสู่การรับสัมปทานทางด่วน และรถไฟฟ้า ก่อนจะควบรวมธุรกิจทางด่วน-รถไฟฟ้า เป็น บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ในปี 2559 กลายเป็นคู่สัญญารับสัมปทานทางด่วน และรถไฟฟ้ามาถึงปัจจุบัน





“ธุรกิจรถไฟฟ้า” BEM รับสัมปทานเดินรถและพัฒนาเชิงพาณิชย์สายสีน้ำเงิน 25 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2572 ยังได้ขยายสัญญาอีก 30 ปี จากลงทุนเดินรถส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ที่ รฟม.รวบสัมปทานเก่าและใหม่ ให้ไปสิ้นสุดพร้อมกันในปี 2592 และยังได้สัญญาจ้างเดินรถ 30 ปี สายสีม่วง “เตาปูน-คลองบางไผ่” ไปครองอีกกว่า 8 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ “ธุรกิจทางด่วน” รับสัมปทาน 3 สายทาง ได้แก่ ทางด่วนศรีรัช ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนฯ และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ล่าสุดได้ขยายสัญญาสัมปทาน อีก 15 ปี 8 เดือน แลกยุติข้อพิพาทกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จำนวน 17 คดี มีมูลค่าหนี้ 58,873 ล้านบาท

เส้นทางของ “BTS-BEM” ไม่ต่างกัน และต่างต้องการลงทุนในโครงการเป็นสัมปทานของรัฐบาล เพื่อสร้างรายได้ในระยะยาว นอกจากนี้ทั้ง 2 ยักษ์รถไฟฟ้ายังมีคอนเน็กชั่นแนบแน่น ทั้งบิ๊กทุน-บิ๊กราชการ-การเมืองไม่แพ้กันด้วย

ในแง่การลงทุน “BTS” มีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท (BTSGIF) เป็นเครื่องมือระดมทุน พร้อมกับจัดพอร์ตธุรกิจในเครือ เป็น 4 ขาต่อยอดรถไฟฟ้า ภายใต้ “บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์”

ผลประกอบการปี 2562/2563 มีรายได้รวม 46,206 ล้านบาท มาจากธุรกิจรถไฟฟ้า 80% โฆษณา 15% บริการ 4% และอสังหาริมทรัพย์ 1%

BTS ขยายฐานคลุมทุกโหมด
ปัจจุบันกลุ่มนี้เข้าลงทุนในหุ้นหลากธุรกิจทั้งสื่อโฆษณาที่มี บมจ.วีจีไอ คุมพอร์ตสื่อในบ้านและนอกบ้าน เข้าถือหุ้นใน บจ.เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) และ บมจ.แพลน บี มีเดีย ยังผนึก “เครือสหพัฒน์” ยกร้านลอว์สัน 108 ไปไว้บนสถานี BTS และนำระบบ Rabbit LINE Pay มาบุกตลาดเปย์เมนต์ ยังทุ่ม 1,050 ล้านบาท ถือหุ้นใน บมจ.อาร์เอส

ยังขยายฐานลงทุนคลุมทุกโหมด “บก-ราง-น้ำ-อากาศ” นอกจากรถไฟฟ้า 4 สี “เขียว-ชมพู-เหลือง-ทอง” ได้ยึดหัวหาดระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์ ผนึก “กัลฟ์-ซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป” ดัมพ์ราคากว่า 2 หมื่นล้าน ปาดหน้าคู่แข่ง “BEM” คว้าเค้ก 30 ปี บริหารระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา และบางใหญ่-กาญจนบุรี ด้วยวงเงิน 39,138 ล้านบาท กำลังรอเซ็นปิดดีล

ร่วมลงขันกับ “บางกอกแอร์เวย์ส-ซิโน-ไทยฯ” ทุ่มสุดตัว 3.05 แสนล้าน รับสัมปทาน 50 ปี สร้างเมืองการบินอู่ตะเภา 6,500 ไร่ พื้นที่ไข่แดงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ยังเข้าไปซื้อหุ้นใน “เรือด่วนเจ้าพระยา” และกำลังศึกษาเข้าไปสู่ธุรกิจรถเมล์

ด้าน “BEM” สถานะการเงินก็แข็งแกร่ง โดยปี 2562 มีรายได้รวม 20,576 ล้านบาท มาจากธุรกิจทางด่วน 60% ระบบราง 30% เชิงพาณิยช์ 5% และอื่น ๆ 5% หลังพ่ายศึกชิงระบบมอเตอร์เวย์ ยังไม่ได้งานเติมเข้ามาในพอร์ต นอกจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งร่วมทุนกับกลุ่ม ซี.พี.คว้าสัมปทาน 50 ปี มาครอง

สู้ยิบตาประมูลสายสีส้ม
ปัจจุบัน “BEM” และ “ช.การช่าง” ได้ทุ่มสรรพกำลังชิงสัมปทานสายสีส้ม “บางขุนนนท์-มีนบุรี” เค้กใหญ่ส่งท้ายปี 2563 ที่ รฟม.เปิดให้เอกลงลงทุน 1.28 แสนล้านบาท สร้างช่วงตะวันตก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม” แลกสัมปทานเดินรถ 30 ปีตลอดสาย

อุณหภูมิสนามประมูลสายสีส้มกำลังปะทุเดือด หลัง รฟม.เปลี่ยนกติกาพิจารณาผู้ชนะประมูลใหม่ เมืื่อเปิดซองคุณสมบัติ จะเปิดซองเทคนิคควบคู่ข้อเสนอการเงิน และนำคะแนนเทคนิค 30% พิจารณาร่วมกับคะแนนการเงิน 70% ใครให้ประโยชน์รัฐสูงสุดเป็นผู้ชนะ ทำให้ผู้เสนอราคาต่ำสุด ไม่ใช่ผู้ชนะในเกมนี้ จากเดิมไล่เปิดทีละซอง

จากการเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ ทำให้ “BTS” เปิดศึกแห่งศักดิ์ศรี สู้ยิบตา ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้ใช้เกณฑ์เดิมพิจารณาและขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองชั่วคราวระงับการยื่นซองประมูลจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

ยกแรกศาลมีคำสั่งให้ รฟม.กลับไปใช้เกณฑ์เดิมพิจารณา โดยไม่ระงับกระบวนการประมูล ขณะที่ รฟม.ย้ำไทม์ไลน์ให้ยื่นซองประมูลวันที่ 9 พ.ย.นี้ ควบคู่ใช้สิทธิ์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาของ BTS รอคณะกรรมการมาตรา 36 ทุบโต๊ะให้จบก่อนวันยื่นซอง

มีความเป็นไปได้สูงที่การประมูลจะยืดเยื้อ ถึงแม้จะยื่นซองแล้ว แต่การพิจารณาผลผู้ชนะอาจจะ “ถูกดองเค็ม” จนกว่าศาลจะมีคำสั่งตัดสินออกมา

เป็นการเดิมพัน-วัดใจของยักษ์ใหญ่ธุรกิจรถไฟฟ้า ช่วงชิงงานใหญ่แห่งปีที่ สั่นสะเทือนไปทั้งบาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 10:59 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.สั่งผู้รับเหมาคุมเข้มลดปล่อยฝุ่นระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้า

03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 10:33 น.

3 พ.ย.63-นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้กำชับที่ปรึกษา และผู้รับจ้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าทุกสายในความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรการลดฝุ่นขนาดใหญ่ (PM 10) อันเกิดจากงานก่อสร้างโครงการฯ ที่ รฟม. ได้เน้นย้ำให้ผู้รับจ้างฯ หมั่นฉีดล้างทำความสะอาดพื้นผิวถนนและแบริเออร์ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้าง ควบคู่กับการใช้ รถดูดฝุ่นเป็นประจำ

“พร้อมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองภายในเขตพื้นที่ก่อสร้างฟุ้งกระจายออกไปยังถนนสาธารณะ โดยติดตั้งแผงป้องกันเป็นรั้วทึบโดยรอบพื้นที่ ปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างอย่างมิดชิด ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้างทุกครั้ง “นายภคพงศ์ กล่าว

นอกจากนี้ เพื่อเตรียมรับมือกับสภาพอากาศปิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ที่กระแสลมเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก และส่งผลให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เกิดการสะสมจนเกินค่ามาตรฐาน รฟม. จึงได้สั่งการให้ที่ปรึกษา และผู้รับจ้างฯ พิจารณาเตรียมการติดตั้งเครื่องฉีดพ่นหมอกน้ำ/ละอองน้ำในอากาศบริเวณพื้นที่ที่มีความจำเป็น และประสานตำรวจจราจรอย่างใกล้ชิดในการจัดการจราจรบริเวณแนวสายทางที่มีการดำเนินงานก่อสร้าง เพื่อช่วยให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านคล่องตัวมากขึ้น

ขณะเดียวกันงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ายังสามารถดำเนินต่อไปได้ตามแผนงาน เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่แก่ประชาชนได้โดยเร็วที่สุด อันจะเป็นการบรรเทามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รฟม. ใคร่ขอเชิญชวนให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์ โดย รฟม. มีบริการอาคารและลานจอดแล้วจรตลอดแนวสายทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) รองรับการเดินทางต่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า MRT ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อยฝุ่นละออง PM 2.5 ออกสู่อากาศได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน รฟม. มีโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานโยธา จำนวน 3 สาย ซึ่งมีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 ดังนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธา 64.85% และงานระบบรถไฟฟ้า 59.71% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา 66.31% และงานระบบรถไฟฟ้า 61.63% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 69.82% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567

รฟม.คุมเข้มมาตรการลดปัญหาฝุ่น ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย “ชมพู-เหลือง” เปิดแน่ปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:24 น.



รฟม.มั่นใจก่อสร้างรถไฟฟ้าตามแผนปี 65 เปิดสายสีชมพูและเหลืองปี 67 เปิดสายสีส้มด้านตะวันออก คุมเข้มผู้รับเหมาปฏิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมปริมาณฝุ่นละอองขนาดใหญ่ และฝุ่น PM 2.5 เตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศปิดช่วงฤดูหนาว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าจำนวน 3 สาย ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีความก้าวหน้า ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธา 64.85% และงานระบบรถไฟฟ้า 59.71% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา 66.31% และงานระบบรถไฟฟ้า 61.63% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 69.82% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567

ทั้งนี้ รฟม.ได้กำชับที่ปรึกษา และผู้รับจ้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าทุกสายในความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรการลดฝุ่นขนาดใหญ่ (PM 10) อันเกิดจากงานก่อสร้างโครงการฯ โดยได้เน้นย้ำให้ผู้รับจ้างฯ หมั่นฉีดล้างทำความสะอาดพื้นผิวถนนและแบริเออร์ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้าง ควบคู่กับการใช้รถดูดฝุ่นเป็นประจำ

พร้อมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองภายในเขตพื้นที่ก่อสร้างฟุ้งกระจายออกไปยังถนนสาธารณะ โดยติดตั้งแผงป้องกันเป็นรั้วทึบโดยรอบพื้นที่ ปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างอย่างมิดชิด ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้างทุกครั้ง

นอกจากนี้ เพื่อเตรียมรับมือสภาพอากาศปิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ที่กระแสลมเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก และส่งผลให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เกิดการสะสมจนเกินค่ามาตรฐาน รฟม.จึงได้สั่งการให้ที่ปรึกษา และผู้รับจ้างฯ พิจารณาเตรียมการติดตั้งเครื่องฉีดพ่นหมอกน้ำ/ละอองน้ำในอากาศบริเวณพื้นที่ที่มีความจำเป็น และประสานตำรวจจราจรอย่างใกล้ชิดในการจัดการจราจรบริเวณแนวสายทางที่มีการดำเนินงานก่อสร้าง เพื่อช่วยให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านคล่องตัวมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

องค์กรสื่อยื่น”ป.ป.ช.-คตง. สอบ รฟม .ปมฉาวรื้อเกณฑ์TORรถไฟฟ้าสายสีส้ม
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 11:29:46
รฟม.จ่องานเข้าอีก หลังดั้นเมฆรื้อเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม ไม่ยี่หระคำสั่งศาล องค์กรสื่อมวลชนออกโรงยื่น ป.ป.ช.-คตง. สอบสวนหาไอ้โม่งชักใยอยู่เบื้องหลัง-เอื้อประโยชน์ใครหรือไม่"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 89, 90, 91  Next
Page 39 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©