RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179784
ทั้งหมด:13491016
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 224, 225, 226 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2020 1:43 pm    Post subject: Reply with quote

บี้รฟม.เร่งเดินหน้าแทรม4จังหวัด
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ราชดำเนิน * "ศักดิ์สยาม" สั่งเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด นำร่อง 4 จังหวัด ลุยเข็นแทรมภูเก็ตเสนอ ครม.สัญจรที่ภูเก็ต ในวันที่ 2-3 พ.ย.นี้ ย้ำชัดนโยบายก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องเป็นไปตามแผน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้สั่งการให้ทบทวนความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด (แทรม) ทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต, เชียงใหม่, นครราชสีมา (โคราช) และพิษณุ โลก ว่าขณะนี้ยังเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาคอยู่ และยืนยันว่าทุกโครงการจะก่อสร้างแน่นอน โดยเฉพาะแทรม จ.ภูเก็ต จะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 2-3 พฤศจิกายนนี้

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้ให้นโยบายเรื่องโครงการรถไฟ ฟ้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไว้ว่าระบบขนส่งสาธารณะยังจำเป็นต่อการเดินทางของประชาชน แม้จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดต้องเดินหน้าต่อตามแผนที่วางไว้ เพราะกระทรวงคมนาคมมี หน้าที่พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะรองรับความต้องการของประชาชน

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิ ไล อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานบอร์ด รฟม. กล่าวว่า ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าแทรมทั้ง 4 จังหวัด ยังเดินหน้าทุกโครง การ เพียงแต่ในส่วนของแทรมภูเก็ตนั้นกำลังเดินมาถึงในขั้นตอนของการตัดสินใจที่จะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.แล้ว บอร์ดจึงขอให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งก่อนเสนอ ครม.ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ซึ่งบอร์ด รฟม.ได้มอบให้คณะอนุกรรมการบอร์ด และผู้แทนจาก รฟม. ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต อีกครั้งในเร็วๆ นี้ เพื่อพิจารณารายละเอียดเรื่องความปลอดภัยบริเวณจุดแยกต่างๆ เพราะแทรมต้องวิ่งร่วมกับรถยนต์ปกติด้วย นอกจากนี้จะไปดูเรื่องปริมาณการเดินทาง และความคิดเห็นของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและภาครัฐ.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2020 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

“ไทยทีมเรลเวย์” เดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้าแบรนด์ไทย
Thaimotnews
19 ตุลาคม 2563 เวลา 1204

เอเอ็มอาร์เอเชียนำ “ไทยทีมเรลเวย์” ร่วมกับมทร.ธัญบุรีเร่งผนึกภาคีเครือข่ายหนุนแผนพัฒนาระบบรางรับความพร้อมเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง - สายสีเขียวเชื่อมถึงปทุมธานี เล็งผุดรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)-รถเมล์ EV BUS พร้อมหนุนเทศบาลนครรังสิตบูรณาการร่วมเครือข่ายในพื้นที่เร่งขับเคลื่อน

นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด ผู้นำกลุ่มไทยทีมเรลเวย์ (Thai TEAM Railway) ที่เกิดการรวมกลุ่มภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย เปิดเผยว่า พร้อมบูรณาการร่วมกับเครือข่ายเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการผลิตรถไฟหรือรถไฟใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแบรนด์ของประเทศไทยเอง เพื่อจะนำไปใช้งานเส้นทางรังสิต - คลอง 8 ที่เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงที่สถานีรังสิต แล้วเชื่อมไปถึงฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต จากนั้นวิ่งไปตามถนนรังสิต-นครนายก ไปสิ้นสุดที่คลอง 6 หรือคลอง 8 ซึ่งสามารถพัฒนาให้เชื่อมกับบีทีเอสที่สถานีคูคตได้อีกด้วยนั้นเป็นความร่วมมือภาครัฐของหน่วยเทศบาลในพื้นที่จ.ปทุมธานี 4-5 เทศบาล ตลอดจนภาคเอกชนอย่างบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด, บริษัท ช.ทวี จำกัด(มหาชน), บริษัท โชคนำชัย จำกัด เป็นต้น

โดยจะมีการประชุมร่วมวางแผนขับเคลื่อนโครงการนี้อย่างเป็นระบบกับหน่วยที่เกี่ยวข้องในเร็วๆนี้ ดังนั้นเมื่อผ่านการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นไปแล้วคงจะได้เห็นความชัดเจนมากขึ้น เพราะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผู้นำใครเข้ามารับช่วงต่อก็จะต้องมีหน้าที่ไปดำเนินการ โดยเทศบาลแต่ละพื้นที่ควรจะต้องร่วมมือกันและจะดึงเทศบาลนครขอนแก่นเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดง และบีทีเอสโซนปทุมธานียังต้องจัดระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงเพื่อป้อนผู้โดยสารเพิ่มให้เข้าถึงระบบหลักได้รวดเร็วขึ้นซึ่งจัดระบบฟีดเดอร์ได้หลายรูปแบบที่เหมาะสมไม่ก่อปัญหาจราจรตามมาในภายหลัง

ในส่วนพื้นที่โซนรังสิตย่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิตยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ มีผู้จะใช้บริการจำนวนมากและยังเป็นศูนย์กลางการเดินทางของกรุงเทพฯโซนเหนืออีกด้วย เชื่อมโยงการเดินทางไปสู่รถไฟฟ้าได้ทั้งสายสีแดงและบีทีเอส ประกอบกับมีโครงการบ้านจัดสรรตามแนวเส้นทางถนนรังสิต-นครนายกจำนวนมากจึงน่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี ยังช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แล้วยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการเดินทาง

ทั้งนี้ตามที่ได้มีการกำหนดในพ.ร.บ.ไว้ว่าหากมีปริมาณผู้โดยสารไม่เกิน 8,500 คนต่อชั่วโมงต่อเส้นทางเมืองนั้นๆ เทศบาลส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้เลย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ 4-5 เทศบาลในพื้นที่ปทุมธานีจะเข้าไปบริหารจัดการได้ เช่นกรณีขอนแก่น เพื่อพัฒนาฟีดเดอร์เพื่อป้อนสู่ระบบหลักที่มีวัตถุประสงค์จะพัฒนาระบบรถไฟฟ้าเป็นของประเทศไทยเองโดยไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศทั้งขบวน โดยมีมทร.ธัญบุรีเป็นองค์ความรู้หลักในการขับเคลื่อนโครงการร่วมกับไทยทีมเรลเวย์อันเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา อีกทั้งยังสามารถดึงสถาบันการศึกษาอื่นๆเข้ามาร่วมขับเคลื่อนได้อีก อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มไทยซับค่อน เป็นต้น

“ไทยทีมเรลเวย์ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ควรจะทำในสิ่งที่ทำได้จริง แล้วสร้างความน่าเชื่อถือให้ประเทศ ไม่เอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้งแล้วไปทำลายโอกาสของคน ความพร้อมของการทำงานมีความสำคัญมากที่สุด ท้ายที่สุดหากช่วยกันทำแบ่งงานกันรับผิดชอบก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี รายใดรายหนึ่งทำเบ็ดเสร็จไม่ได้แน่ เบื้องต้นนั้นกลุ่มโชคนำชัยที่มีความพร้อมในการพัฒนาระบบตัวถังแสดงความชัดเจนจะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรพัฒนาระบบราง อีกทั้งยังมีแผนพัฒนารถไฟต้นแบบใช้พลังงานไฟฟ้าให้บริการจากบางซื่อไปถึงสุพรรณบุรีในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย”

สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการดังกล่าวต้องดูการออกแบบ การลงทุน และปัจจัยอื่นๆเนื่องจากไม่ต้องการให้เป็นภาระกับหน่วยงานเจ้าของโครงการมากจนเกินไป อาทิ รูปแบบโครงการ การก่อสร้างทางระดับดิน หรือยกระดับ ตลอดจนรูปแบบการเดินรถ การบริหารจัดการ ค่าตั๋วโดยสาร ตลอดจนปริมาณคาดการณ์ผู้โดยสารเนื่องจากต้องใช้งบประมาณหลัก 2-3 หมื่นล้านบาทไปดำเนินการจึงต้องศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ

โดยไทยทีมเรลเวย์ยังมีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมจากสถานีปากน้ำโพเข้าไปยังเขตในเมืองนครสวรรค์ระยะทาง 4-5 กม.ในระยะต่อไป ซึ่งจะต้องศึกษาความคุ้มค่าการลงทุน รายได้ รายจ่ายเพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านบริหารจัดการ แต่การพัฒนาคงต้องออกแบบให้เป็นรูปแบบเฉพาะไม่ผสมผสานโหมดการเดินทาง หากสามารถทำได้เร็วก็จะเกิดผลดีในหลายด้าน ในส่วนรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นรับทราบว่ากำหนดเปิดให้บริการถึงสถานีรังสิตในปี 2564 ส่วนบีทีเอสเปิดถึงสถานีคูคตในปลายปีนี้

“ขบวนรถที่ต้องการจะนำมาใช้งานสามารถออกแบบและผลิตได้เองคาดว่าจะอยู่ที่คันละประมาณ 20 ล้านบาท สามารถพัฒนาได้เป็นเทคโนโลยีของไทยทำเอง จากที่จะซื้อสำเร็จตู้ละ 80-90 ล้านบาท หากทำได้สำเร็จรัฐบาลก็ควรส่งเสริมให้ผลิตนำไปใช้งานในจังหวัดต่างๆซึ่งกำลังเร่งทำเอ็มโอยูกับกลุ่มโชคนำชัยเพื่อเดินหน้าเรื่องนี้ต่อเนื่องกันไปโดยการออกแบบใหม่ภายใต้แบรนด์ ThaiTEAM Railway นั่นเอง”

นายมารุตกล่าวอีกว่า ล่าสุดทางเอเอ็มอาร์เอเชียได้เข้าไปรับดำเนินการติดตั้งงานระบบของโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองซึ่งพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีกำหนดการเปิดให้บริการช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 นี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบต่างๆ ทั้งระบบสื่อสาร ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการเดินรถให้พร้อมใช้งานได้ 100%

“รถไฟฟ้าสายสีทอง ณ ปัจจุบันภาพรวมแล้วเสร็จกว่า 90% เหลือเพียงการทดสอบให้เกิดความเสถียรของงานระบบเท่านั้น มีการปรับจูนความเร็วได้ตามปกติ ปรับจูนทางวิ่งแต่ละจุดให้สอดคล้อง ไม่เกิดการกระชากระหว่างวิ่งให้บริการ ดังนั้นเพื่อให้ทุกอย่างพร้อม 100% เมื่อเปิดให้บริการแล้วไม่ต้องมาได้ยินเสียงต่อว่าของผู้โดยสารจึงต้องมีระยะเวลาทดสอบให้เพียงพอ ช่วงเดือนพฤศจิกายนจะมีการทดสอบองค์รวมครบทั้งระบบจริงๆเพื่อให้การเดินรถราบรื่นมั่นใจที่สุดนั่นเอง”

ด้าน ผศ.ดร.กุณฑล ทองศรี ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการอุตสาหกรรมส่งเสริมระบบราง ในคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า มทร.ธัญบุรี ยังมีแผนศึกษาระบบฟีดเดอร์หลายรูปแบบในพื้นที่ทั้งรถโดยสารสาธารณะระบบ EV BUS รถไฟฟ้ารางเบาระบบแทรมให้บริการที่จะป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบหลักให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการระบบขนส่งมวลชนนอกเหนือจากรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถสองแถว มาสู่รถโดยสารสมัยใหม่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นอีกด้วย

นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 63 คณะกรรมาธิการฯ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการส่งเสริมอุตสากรรมขนส่งระบบราง เพื่อขับเคลื่อนอุตสากรรมของประเทศไทย ณ ไอคอนสยามและรถไฟฟ้าสายสีทอง คลองสาน กรุงเทพฯ

โดยในการเดินทางไปศึกษาดูงานรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ใช้ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง หรือ APM ในครั้งนี้กรุงเทพมหานครโดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นเจ้าของโครงการ มีบริษัท MHPM จำกัด เป็นที่ปรึกษาโครงการ พร้อมด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD รับงานโยธา กลุ่ม BTS พร้อมด้วยบริษัท เอเอ็มอาร์เอเชีย จำกัด รับงานติดตั้งระบบรถไฟฟ้า และงานระบบอาณัติสัญญาณทั้งโครงการ

“สิ่งที่ประทับใจในหลายประการ เช่น คณะกรรมาธิการฯ ตั้งใจเป็นอย่างสูงที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและวิธีการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ นอกจากนั้นทีมงานติดตั้งระบบรถไฟฟ้า APM ยังมีความมุ่งมั่นที่อยากเห็นการประกอบตัวรถไฟฟ้าภายในประเทศโดยได้มีการจัดตั้ง THAITEAM Railway ขึ้นมาขับเคลื่อนเรื่องนี้แล้ว”

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งส่วนหนึ่งจะใช้เป็นต้นแบบการพัฒนารถไฟฟ้าแบรนด์ไทยนั้นเป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 ความเร็วสูงสุดที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง จำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ความจุผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ ตู้รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 เมตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 1.9 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 เมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 10:44 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายใหม่ ดันราคาที่ดินทะลุล้าน
ออนไลน์เมื่อ วันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:32:40 น.

Click on the image for full size
รถไฟฟ้าเส้นทางสายใหม่ดันราคาที่ดินพุ่งทะลุล้านบาท โฟกัสทำเล ต่อขยาย จากกรุงเทพชั้นใน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 10:52 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดตไทม์ไลน์รถไฟฟ้าสายใหม่ 6 ธ.ค. ได้นั่ง สีเขียว-สีทอง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 ตุลาคม 2563 - 19:25 น.

อัพเดตไทม์ไลน์รถไฟฟ้าสายใหม่ 6 ธ.ค.ได้นั่ง สีเขียว-สีทอง สีชมพู-สีเหลือง-สีส้ม ทยอยเปิดปีหน้า

หลังจากใช้เวลาโหมสร้างกันมานาน “รถไฟฟ้าหลากสี” 6 เส้นทาง มีคิวทยอยเปิดบริการ เชื่อมการเดินทางปริมณฑลเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ต่อจาก “สายสีน้ำเงิน” เปิดบริการครบโครงข่าย ระยะทาง 48 กม. เชื่อมการเดินทาง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้วเมื่อเดือน มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา



เปิดถึงคูคต ธ.ค. 63
ถึงคิว “สายสีเขียวเหนือ” ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ทยอยเปิดบริการ ล่าสุดรอลุ้นวันที่ 6 ธ.ค.นี้ จะเปิดบริการตลอดสายถึงปลายทาง “สถานีคูคต” จะเชื่อมโยงการเดินทาง 3 จังหวัด จาก “สถานีคูคต” ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี เข้าใจกลางกรุงเทพฯ “สถานีสยาม”

ยิ่งยาวทะลุส่วนต่อขยายสายสีเขียวสายใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ไปถึงปลายทางที่ “สถานีเคหะ” จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 68.25 กม. มี 59 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาที

ค่าตั๋วรอ “อาคม” เคาะสัมปทาน
ขณะที่ค่าโดยสาร “กทม.-กรุงเทพมหานคร” ได้เขย่าโครงสร้างราคาของสายสีเขียวทั้งโครงการ เก็บตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ภายใต้สัมปทานใหม่ที่เจรจากับ “บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” แลกกับการรับภาระหนี้แสนล้านของโครงสร้างสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วงแทน กทม.

ผลเจรจายุติไปแล้ว โดย “กทม.” จะขยายสัญญาสัมปทานให้ “บีทีเอสซี” อีก 30 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค. 2572 ถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2602 รอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” เสนอความเห็นก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติว่ากันว่าไม่น่าจะเกินภายในเดือน ต.ค.นี้

หากเป็นไปตามนี้ คงถึงเวลาที่ “กทม.” จะเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต หลังเปิดให้บริการฟรีมานาน ยกเว้น “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ผู้ว่าฯ กทม.จะขยายเวลาใช้ฟรีออกไปก่อน เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2564

“สายสีทอง” เปิดแน่ 16 ธ.ค.นี้
ตามมาติด ๆ “สายสีทอง” รถไฟฟ้าโมโนเรลไร้คนขับที่ได้แรงหนุนจากภาคเอกชนทำให้แจ้งเกิดได้เร็ว โดยสร้างเฟสแรก “สถานีกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน” ระยะทาง 1.8 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรีเชื่อมกับบีทีเอส สถานีเจริญนครหน้าศูนย์การค้าไอคอนสยาม และสถานีคลองสานหน้าโรงพยาบาลตากสิน

ล่าสุด “ผู้ว่าฯอัศวิน” ลงพื้นที่ทดสอบระบบเดินรถด้วยตัวเอง พร้อมประกาศลั่นกลางเดือน ธ.ค.นี้ จะตัดริบบิ้น มี “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิด และจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายทันที ไม่มีโหมโรงให้นั่งฟรี

ขณะที่กำหนดเปิดบริการ ถึง “กทม.” ยังกำหนดวันไม่ชัด แต่มีรายงานแจ้งว่าเคาะวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะเป็นสายสุดท้ายส่งท้ายปี 2563



ชมพู-เหลือง ทยอยเปิดปี’64
เมื่อเริ่มต้นปี 2564 มีรถไฟฟ้าที่จ่อคิวเปิดให้บริการ 3 สาย 3 สี มีโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย “สายสีชมพู” แคราย-มีนบุรี และ “สายสีเหลือง” ลาดพร้าว-สำโรง มี บจ.นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล และ บจ.อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล ในเครือกลุ่ม BSR ประกอบด้วย บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ราชกรุ๊ป เป็นผู้รับสัมปทานการลงทุน

ปัจจุบันงานก่อสร้างทั้ง 2 สาย คืบหน้ากว่า 60% ยังล่าช้าจากแผนงาน เนื่องจากติดการส่งมอบพื้นที่ จึงขยับไทม์ไลน์ใหม่เปิดบริการตลอดสายภายในปี 2565 จากเดิมในเดือน ต.ค. 2564 นี้ แต่เพื่อเป็นการบรรเทาการจราจรทาง “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” และ “บีทีเอส” จะเปิดบริการเป็นช่วง ๆ

โดย “สายสีชมพู” เปิดจากปลายทาง “สถานีมีนบุรี” ถึง “สถานีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ” จะเริ่มทดสอบระบบเดินรถในเดือน เม.ย. เปิดเดินรถเสมือนจริงให้ประชาชนใช้บริการฟรีตั้งแต่เดือน ก.ค.-ต.ค. จากนั้นเก็บค่าโดยสาร 16-42 บาท และเปิดตลอดสายในเดือน ต.ค. 2565

“สายสีเหลือง” งานก่อสร้างเร็วกว่าสายสีชมพู เพราะเคลียร์เรื่องพื้นที่เสร็จแล้ว โดยเฉพาะ “สะพานข้ามแยกบางกะปิ” ที่ต้องทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ ตอนนี้เดินหน้าสร้างอย่างเดียว โดยแผนเปิดบริการจะเหมือนสายสีชมพู จะเปิดบริการช่วง “สถานีสำโรง-พัฒนาการ” ทดลองเดินรถเดือน เม.ย. เปิดเดินรถเสมือนจริง เดือน ก.ค.-ต.ค. 2564 เปิดตลอดสายในเดือน ก.ค. 2565

“สายสีแดง” ยังลุ้นหนัก
ส่งท้ายด้วยรถไฟชานเมือง “สายสีแดง” ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ยังลุ้นจะเปิดได้ตามไทม์ไลน์ที่ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” วาดไว้หรือไม่ หลัง “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคมนาคม สั่งให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารูปแบบเอกชนร่วมลงทุน พร้อมเคลียร์คัตการเปลี่ยนแปลงงาน (VO) ทำให้งบฯก่อสร้างบานกว่า 1 หมื่นล้านบาท ล่าสุดวันที่ 19 ต.ค.นี้ “ชยธรรม์ พรหมศร” ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ได้นัดประชุมคณะทำงานด้านกฎหมายพิจารณาปรับกรอบวงเงินของโครงการ

ตามไทม์ไลน์ของ “ร.ฟ.ท.” ในเดือน มี.ค.-มิ.ย.จะทดสอบเดินรถเสมือนจริง จากนั้นเดือน ก.ค.-ต.ค. เปิดทดลองใช้ฟรีและเปิดเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 2564

โดยการเปิดบริการจะทำคู่ขนานไปกับเคลียร์ปัญหางบฯที่เพิ่มขึ้น แต่เพื่อความรัดกุม “ศักดิ์สยาม” อาจจะใช้ช่องทางขอยื่นศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราวให้สามารถเดินรถไปพลางก่อน โดยจะให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ร.ฟ.ท.) บริษัทลูก ร.ฟ.ท.ที่กำลังนับถอยหลังส่งมอบ “รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์” ให้กับกลุ่ม ซี.พี.จะเข้ามารับช่วงบริหารโครงการในเดือน ต.ค. 2564 เป็นผู้บริหารการเดินรถให้ไปพลาง ๆ ก่อน ระหว่างรอสรุปการเปิดให้เอกชนเข้าร่วม PPP การเดินรถสายสีแดงทั้งโครงการ

เป็นความเคลื่อนไหวของ “รถไฟฟ้าเมืองไทย” ที่กำลังพาเหรดเปิดให้บริการนับจากนี้ไปอีก 5-10 ปีข้างหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2020 2:22 pm    Post subject: Reply with quote


คนเกาหลีชมรถไฟฟ้ากรุงเทพ
https://youtu.be/ZSYfSurprrk

เผยอันดับ "ระบบขนส่งเมืองไทย" รั้งท้ายทุกโพล แต่ค่าโดยสารแพงชนะอันดับ 1 !
Lifestyle
วันที่ 26 ตุลาคม 2563 เวลา 15:37 น.

"กรุงเทพมหานคร" ถ้าเราได้ยินชื่อนี้เมื่อสักประมาณ 30 ปีที่แล้วเราคงนึกถึงวัดพระแก้ว ถนนเยาวราช หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่เอกลักษณ์ของเมืองหลวง แต่ถ้าวันนี้เราเอ่ยชื่อคำว่า "กรุงเทพ" สิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึงคงจะเป็นคำว่ารถติด หรือ ภาพรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีผู้คนอัดแน่นกันมาเต็มขบวนแล่นผ่านเข้ามาในหัวแน่ๆ

สถานีสยามคนเพียบ! บีทีเอสปรับความถี่เดินรถ เร่งระบายผู้โดยสาร

รู้หรือไม่ว่า...งบประมาณของกระทรวงคมนาคมปี 63 มีวงเงินรวมกว่า 6.4 ล้านบาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่นั้นจะถูกแบ่งให้กับกรมขนส่งทางบก กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท (อ้างอิงตัวเลขจากเอกสารบันทึกข้อความ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563) แต่อย่างไรก็ตามอย่างที่เราเห็นกันว่าขนส่งสาธารณะของไทยนั้นก็ยังมีข้อเสียอยู่เยอะและยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

ใช้ทน!!รถเมล์ไทยเป็นยังไงถ้าเทียบกับต่างประเทศ[รีวิวฟีเจอร์รถเมล์ไทย] - YouTube

อ้างอิงจากเว็บไซต์ TomTom.com ได้ทำการสำรวจลงพื้นที่ 416 เมือง จาก 57 ประเทศทั่วโลก โดยสำรวจของมูลเชิงลึกในปี 2019 ทั้งแผนผังเมือง กฎหมายบังคับใช้ และประสบการณ์ของผู้ใช้ถนน เพื่อเป็นข้อมูลในการค้นคว้าวิจัยในครั้งนี้พบว่า3 อันดับประเทศที่รถติดมากที่สุดในโลก คือ อันดับแรกตกเป็นของเมืองบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย, เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และ เมืองโบโกต้า ประเทศโคลัมเบีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 11 เป็นรองเมืองจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย โดยผู้ขับขี่และผู้โดยสารยานพาหนะในไทยจะเสียเวลาติดอยู่บนท้องถนนในช่วงเวลาเร่งด่วนเฉลี่ยถึง 56 ชั่วโมงต่อปี

ไทย" อันดับ 1 ประเทศที่รถติดที่สุดในโลก

นอกเหนือจากนี้ประเทศไทยยังติดอันดับรั้งท้ายจากผลวิจัยคุณภาพของระบบขนส่งสาธารณะ ที่ทาง "Arcadis" บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลกได้ทำการสำรวจไว้ พบว่ากรุงเทพฯติดอยู่ที่อันดับที่ 92 จาก 100 เมือง ปัจจัยที่ใช้ในการทำสำรวจในครั้งนี้คือการประเมิณด้านผลกระทบกับประชาชน, สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

Jack Pongpat no Twitter: "เพราะว่า #กรุงเทพชีวิตดีๆที่ลงตัว 🙄… "

"รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน" เป็นขนส่งสาธารณะจำเป็นที่สุดของคนกรุง ซึ่งค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นจะตกอยู่ที่ 16 - 59 บาท ทางเว็บไซต์ worldatlas ได้ออกมาเผยข้อมูลว่าค่าใช้จ่ายในส่วนของขนส่งสาธารณะจะสอดคล้องไปกับค่าครองชีพในประเทศ ก็คือถ้าประชาชนมีรายได้ที่สูง และประเทศมีอัตราเงินเฟ้อที่สูง ค่าโดยสารก็จะมีราคาสูงตามไปด้วย เช่นที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และ กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน แต่อย่าไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นก็จัดอยู่ในข้อยกเว้นในเงื่อนไขนี้ เพราะว่าญี่ปุ่นนั้นมีค่าครองชีพที่สูง แต่ทว่าค่าใช้จ่ายขนส่งมวลชนนั้นมีค่าใช้จ่ายเพียง 1.5 ดอลลาร์ เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนที่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากของคนญี่ปุ่น

รถไฟใต้ดิน สถานีรถไฟใต้ดิน
สถานีรถไฟในสวีเดน

Pågatåg, Traffic, Transportation, Subway, Underpass, Sweden, Interior, Platform, Stage, Mass Transit, Train, Transportation, Passengers, Pullman, Underground | PixCove
รถไฟฟ้า สวีเดน

กรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองหลวงที่ประชาชนมีค่าใช้จ่ายกับขนส่งมวลชนแพงที่สุดเป็นอันดับที่ 53 จาก 71 ประเทศ แต่เมื่อมาเปรียบเทียบกับรายได้คนในประเทศแล้วประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงที่สุดในโลก



จุก BTS ปรับราคาใหม่ ค่าโดยสารสูงสุด 59 บาท โซเชียลโอดแพงเกินไป


สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ออกมาเผยว่าค่ารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯนั้นมีราคาที่แพงกว่าลอนดอน สิงคโปร์ และฮ่องกงซะอีก ซึ่งมีราคามากกว่าประมาณ 15 บาท หรือคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่าโดยสารดังกล่าวนั้นได้สวนทางกับรายได้ของคนในประเทศ และส่งผลกระทบในวงกว้างในเวลาต่อมา



ในขณะที่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีรายได้ในงวดปี 62/63 เป็นเงิน 8.16 พันล้านบาท ผลกำไรโตขึ้น 184 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน ทำให้มีรายได้รวมจำนวน 42.2 พันล้านบาท โดยมีรายได้จากธุรกิจระบบขนส่งมวลชนเป็นรายได้หลัก ในส่วนธุรกิจสื่อโฆษณา มีผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่งแสดงกำไรสุทธิสูงสุดใหม่ ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อน

ขนส่งมวลชนไทย ทำไมต้องขาดทุน? เปิดสารพัดอุปสรรครถเมล์ไทย ที่ทำอย่างไรก็ไม่เจริญ | Brand Inside

Italian-Thai Development PLC.

หาทางออก..รถติด แก้ยังไง? | LINE TODAY | LINE TODAY

ขอขอบคุณที่มา efinancethai.com
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2020 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

ขณะที่ บีทีเอส เอ็มอาร์ทีและเรือด่วนเจ้าพระยาทำกำไร แต่ รฟท. กะ ขสมก. อาการทำท่าเสลดหางวัวขึ้นซะแล้ว ส่วน แอร์พอร์ตลิงก์เองก็ ปริ่มๆน้ำทำท่าลูกผีลูกคน
https://www.facebook.com/longtunman/photos/a.113656345833649/931033930762549/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 3:21 pm    Post subject: Reply with quote

ของที่ต้องมี! รถไฟฟ้าสีน้ำตาลรฟม.ถึงจะครบหลากสี
*ได้เวลาเดินหน้า ม.เกษตรฯไม่ต้านขนส่งมวลชน
*วางแนวเวนคืนแพลนประมูลปี66เปิดบริการปี70
รฟม.เดินหน้าออกแบบฐานรากตอม่อสายสีน้ำตาล พร้อมลุยเปิดประมูลปี 66
วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:10:47 น.

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2756870861201081
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3534125406634379
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/11/2020 6:23 am    Post subject: Reply with quote

อวดโฉม38ล้านศูนย์บริการร่วมคมนาคม
Source - เดลินิวส์
Thursday, November 05, 2020 05:35

นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผย ว่า สำนักบำรุงทาง ทช. ได้ปรับปรุง ศูนย์บริการร่วมคมนาคม สร้างใหม่เป็นอาคาร 2 ชั้น บริเวณสวนสาธารณะสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฝั่งพระนคร เขตสาทร กรุงเทพฯ แล้วเสร็จเปิดบริการเต็มรูปแบบแล้ว ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายการเดินทางไปใช้บริการที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ โดยเปิดบริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. นอกจากนี้ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์สวนสาธารณะโดยรอบให้ประชาชนได้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ ทำกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ รวมถึงมีห้องน้ำสาธารณะไว้บริการถึงเวลา 18.00 น.

นายปฐม กล่าวต่อว่า ศูนย์ฯ เปิดบริการเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 49 เพื่อเป็นศูนย์รวมให้บริการด้านคมนาคมแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป กระทรวงคมนาคมจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการจัดตั้งศูนย์ฯ มีปลัดกระทรวงฯ เป็นประธานคณะทำงานจัดตั้งศูนย์ฯมีอธิบดี ทช. เป็นประธาน มีหน่วยงานราชการในสังกัดเป็นกรรมการเดิมศูนย์ฯ มีขนาดเล็กสถานที่คับแคบ ช่วงฤดูฝนน้ำล้นตลิ่งท่วมพื้นที่บริการ ทช. จึงสร้างอาคารใหม่ขนาด 3 เท่าของพื้นที่เดิม พร้อมยกระดับตัวอาคารให้สูงขึ้น โดยมี 19 หน่วยงานในสังกัดทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง มาให้บริการประชาชน ณ จุดเดียวกัน อาทิ รับชำระภาษีรถประจำปี ต่อใบอนุญาตขับขี่ ประกันภัยรถยนต์ บริการรับเรื่องร้องเรียน ทั้งเส้นทาง เดินรถไฟ เรือโดยสาร รถไฟฟ้าใต้ดิน สายการบิน บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) บริการตู้เติมบัตรทางด่วน (Easy Pass) ชำระบิลค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และบริการตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ อาทิ ตรวจสอบข้อมูลใบสั่ง สิทธิการรักษา ประกันสังคม

รายงานข่าวจาก ทช. แจ้งด้วยว่า ทช.ใช้งบปรับปรุง 38 ล้านบาท เพิ่มพื้นที่ใช้สอยจาก 100 ตารางเมตร เป็น 500 ตารางเมตร เดิมมีผู้ใช้บริการประมาณ 400 คนต่อวัน ขณะนี้มาใช้บริการอาคารใหม่ประมาณ 200 คนต่อวัน เนื่องจาก เพิ่งเปิดบริการเต็มรูปแบบและติดสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2212-5644-45.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 พ.ย. 2563 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2020 9:29 pm    Post subject: Reply with quote

ทบทวนความจำตั๋วร่วม(บัตรแมงมุม)ประชุม35ครั้งไม่ไปไหน
*ปล่อยหยากไย่ชักใยให้สนข.ศึกษาแล้วศึกษาอีก34ล.
*พลาดแล้วพลาดอีกเป้าหมายเปิดใช้งานประชาชนเซ็ง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2757948661093301

สนข.ศึกษา “ตั๋วร่วม” ระบบเปิดบีบลดค่าโดยสาร-ตัดค่าแรกเข้า วางแนวทางชดเชยรายได้ที่เป็นธรรม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 15:57 น.

สนข.ลุยศึกษาแผนกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ตั้งเป้าวางกติกากลาง โครงสร้างค่าโดยสารร่วม และแนวทางการชดเชยรายได้ ด้าน สศช.ชี้หน่วยงานขับเคลื่อนแผนยังไม่สำเร็จ แนะต้องฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้อง ช่วยขับเคลื่อนทิศทางเดียวกัน วันนี้ (5 พ.ย.) นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการสัมมนา “โครงการศึกษาจัดทำแผนการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม” ครั้งที่ 1 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้แนวทางการกำกับการบริหารตั๋วร่วมให้สมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้บัตรโดยสารใบเดียวสามารถเดินทางและใช้บริการขนส่งมวลชนได้ทุกระบบ

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข.เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในการศึกษา จะเป็นกำหนดกรอบแนวทางสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาระบบตั๋วร่วมและรูปแบบการชำระเงินประเภท Open-Loop-System บนพื้นฐานการใช้ Account Based Ticketing (ABT) และการรองรับระบบ EMV ในการชำระค่าโดยสาร รวมถึงการใช้งานและชำระเงินกับบริการอื่นๆ นอกภาคขนส่ง (Non-Transit) ได้โดยจะใช้เวลาในการศึกษา 20 เดือน (29 ส.ค. 63 - เม.ย. 65)
ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการพัฒนาระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ Interoperability หรือการใช้บัตรข้ามระบบรถไฟฟ้า ระหว่าง MRT และ BTS ส่วนในระยะยาว คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการในการพัฒนาไปสู่การใช้ระบบเปิด Open-Loopและ EMV

ที่ผ่านมายังไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานในการบริหารศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) ที่ดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในการใช้งาน “บัตรแมงมุม” จึงยังมีปัญหาบางประการในการเข้าร่วมระบบ อีกทั้ง หน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนต่างๆ ยังไม่ได้มีการเจรจาเชิงธุรกิจ ในการกำหนดและประกาศใช้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ซึ่งจะใช้เป็นอัตราค่าโดยสารสำหรับการใช้บริการ ระบบรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ และทางด่วน

โดยใช้งบประมาณศึกษา 34.5 ล้านบาท ศึกษาใน 5 เรื่อง ได้แก่ 1. กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตั๋วร่วมของประเทศไทย ให้รองรับการชำระคำโดยสารด้วยบัตรแมงมุมบัตร MRT Plus บัตร MRT บัตร Rabbit และบัตรอื่นๆ รูปแบบ Account Based Ticketing (ABT) ตลอดจนในอนาคตสามารถพัฒนาจากระบบClosed-loop เป็นบริการบนระบบ Open-loop และการชำระเงินและบริการนอกระบบ (Non-Transit)

2. จัดทำแผนการกำกับดูแลการบริหารงานระบบตั๋วร่วมที่ชัดเจน และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 3.ทำระบบโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ของระบบขนส่งมวลชนที่จะจูงใจให้มีผู้มาใช้บริการ โดยมีค่าธรรมเนียมของระบบตั๋วร่วมที่เป็นธรรมแก่ผู้ให้บริการ และไม่เป็นภาระแก่ผู้ใช้บริการ 4. ศึกษารูปแบบเงินทุนและกลไกด้านการเงินของภาครัฐในการชดเชยรายได้จากค่าโดยสารและสนับสนุนการพัฒนา ระบบตั๋วร่วมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม 5. จัดทำร่างกฎหมายในการกำกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ...)

ด้านผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาข้อมูลสำหรับพิจารณาตัดสินใจยังไม่ชัดเจน ซึ่งระบบตั๋วร่วมมีการพัฒนามาเกือบ 20 ปีแล้ว มีโรดแมปแต่ยังไม่สำเร็จ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ สนข.ควรนำบทเรียนที่ผ่านมาพิจารณา ว่าผู้เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐ ประชาชน เอกชน แต่ละส่วนมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเหมือนกันหรือไม่ ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบยังไม่สามารถทำตามแผนได้ จึงถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการทำโรดแมปใหม่ และควรให้ความสำคัญในการรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในทิศทางเดียวกัน

นายสมพงษ์ ปักษาสวรรค์ ผู้จัดการโครงการศึกษา กล่าวว่า ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างพัฒนาตั๋วร่วมในรูปแบบ Interoperability หรือการใช้บัตรข้ามระบบรถไฟฟ้าระหว่าง MRT และ BTS หากไม่มีข้อติดขัดคาดว่าจะสามารถใช้ได้ในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ปี 2564 ส่วนการพัฒนาเป็นระบบเปิดและรองรับระบบ EMV ด้วยนั้นคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปีครึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2020 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

จุดพลุ Thai Team พัฒนารถไฟฟ้า “ระบบรางโดยคนไทย เพื่อคนไทย”
Thaimotnews
11:56 น.


“เอเอ็มอาร์ เอเซีย” จับมือ “โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง” พัฒนาโครงการระบบตัวรถไฟฟ้าขนาดรอง (Feeder Line) พร้อมเดินหน้าผลักดัน Thai Team พัฒนารถไฟฟ้าระบบรางโดยคนไทย เพื่อคนไทย
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องกรุงเทพ 2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด ร่วมกับนายนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทโชคนำชัย โดยบริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาโครงการระบบตัวรถไฟฟ้าขนาดรอง (Feeder Line) เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ด้วยระบบรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเน้นเรื่องของการศึกษาและพัฒนาระบบต่างๆ ให้เกิดการนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้จริง พร้อมผลักดัน Thai Team นำไปสู่การขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมระบบรางและขนส่งมวลชนของประเทศโดยคนไทย เพื่อคนไทย ตามนโยบาย Thai First ให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
โดยการจัดงานครั้งนี้ยังได้จัดเสวนาหัวข้อ “การขับเคลื่อนนวัตกรรมไทยด้วยกลุ่ม Thai TEAM ภายใต้แนวนโยบายของรัฐ” โดยได้รับเกียรติจากนายพิเชษฐ สถิรชวาล ประธานที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฏร นายสุพจน์ สุขพิศาล เลขาธิการ กลุ่มชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายจุลเทพขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คุณวีระชัย ตรีพรเจริญ ประธานคลัสเตอร์อุตสาหกรรมระบบราง สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon) นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอเอ็มอาร์เอเซีย จำกัด นายนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทโชคนำชัย ดำเนินรายการโดยนายประพจน์ ภู่ทองคำ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 224, 225, 226 ... 277, 278, 279  Next
Page 225 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©