RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180583
ทั้งหมด:13491818
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 389, 390, 391 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2020 9:54 am    Post subject: Reply with quote

ซีพี รื้อแนวรถไฟไฮสปีด ย้ายสถานี ต่อจิ๊กซอว์เมืองใหม่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 07:06 น.

ทำเล EEC บูมสวนเศรษฐกิจ ที่ดินแนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินราคาพุ่งไม่หยุด กระทบค่าเวนคืนอัพเท่าตัว จาก 3.5 พันล้าน เป็น 8 พันล้าน ร.ฟ.ท.ขอรัฐอัดฉีดเพิ่ม เร่งส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ส.ค. 64 ให้กลุ่ม ซี.พี. เผยเอกชนขอปรับพิกัดสถานีฉะเชิงเทรา-พัทยา หนีที่ดินแพง ดัดหลังนักเก็งกำไร ลากแนวใหม่เข้าเมืองใหม่แปดริ้ว-สวนนงนุช หวังพัฒนา TOD ต่อยอดโครงการ ปีหน้าลุยเต็มสูบรถไฟไทย-จีน เวนคืน 2.8 พันไร่ เปิดหน้าดิน สระบุรี ปากช่อง โคราช

ครบรอบ 1 ปีที่รัฐบาลเซ็นสัญญาร่วมทุน (PPP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ระยะเวลา 50 ปี กับ บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน ที่ภาคเอกชนภายใต้การนำของกลุ่ม ซี.พี. ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น, บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 ล่าสุด ทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และกลุ่มผู้ร่วมทุนกำลังเร่งสปีดทำงานเพื่อให้การก่อสร้างโครงการเป็นไปตามเงื่อนเวลาที่กำหนด

ส่งมอบพื้นที่เฟสแรก ส.ค. 64
นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ ร.ฟ.ท. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันคณะทำงานอยู่ระหว่างเร่งรัดส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยเร่งประเมินการเวนคืนที่ดิน รื้อย้าย ผู้บุกรุก ระบบสาธารณูปโภค ให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม ซี.พี.ได้ตามกำหนด และเดินหน้าก่อสร้างช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายในเดือน ส.ค. 2564 ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมือง ภายในเดือน ต.ค. 2566 ยังติดย้ายผู้บุกรุก จำนวน 267 ราย

“สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจากเดิมเดือน มี.ค.-เม.ย. 2564 เป็นเดือน ส.ค. แต่ยังไม่เกินเดือน ต.ค. ที่กำหนดในสัญญา ยังติดเรื่องเวนคืนที่ดิน ส่วนการย้ายระบบสาธารณูปโภคไม่น่าจะมีปัญหา เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบจะเป็นผู้ดำเนินการ และคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบฯ ให้แล้ว 4,103 ล้านบาท ส่วนผู้บุกรุกในแนวเส้นทางที่กระทบต่อการก่อสร้าง 302 ราย ย้ายออกแล้ว 276 ราย เหลือ 26 ราย กำลังเจรจา ไม่น่าจะมีปัญหา”

ค่าเวนคืนพุ่ง 8 พันล้าน
นายสุจิตต์กล่าวว่า การเวนคืนที่ดินอาจต้องของบประมาณจากรัฐบาลเพิ่ม หลังคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทน ซึ่งดำเนินการโดยท้องถิ่นแต่ละพื้นที่กำหนดราคาในเบื้องต้นแล้ว พบว่าราคาสูงขึ้น 3-6 เท่า จากราคาประเมินของกรมธนารักษ์ โดยเฉพาะพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ทำให้ค่าเวนคืนทั้งโครงการ 931 แปลง จำนวน 850 ไร่ จากเดิม ครม.อนุมัติ 3,570 ล้านบาท พุ่งขึ้นเป็น 8,000 ล้านบาท

“ขณะเดียวกันกลุ่ม ซี.พี.ได้ขอขยับตำแหน่งสถานีใหม่ ที่สถานีฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา แต่ยังไม่ระบุพื้นที่ที่จะย้าย แต่มีแนวโน้มจะย้าย ซึ่งเป็นสิทธิตามสัญญาที่ปรับตำแหน่งได้ ถ้าเห็นว่าพื้นที่ใหม่เป็นประโยชน์กว่า แต่ต้องรับผิดชอบค่าเวนคืนที่ดิน การทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ต้องทำเพิ่มเอง และต้องได้รับอนุมัติจาก ร.ฟ.ท.ก่อนจึงย้ายได้”

C.P. ขอขยับพิกัดสถานี
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างรอให้ ซี.พี. ยืนยันตำแหน่งสถานีก่อสร้างอย่างเป็นทางการภายในกลางเดือน พ.ย. นี้ เนื่องจากรัฐจะได้เดินหน้าเวนคืนที่ดินโครงการ ซึ่งจะมีเวนคืนสร้างสถานีด้วย เช่น สถานีฉะเชิงเทรา ที่จะสร้างบนพื้นที่ใหม่ 550 ไร่ มีสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) หากที่ตั้งสถานียังไม่ชัดเจน และรัฐเวนคืนที่ดินไปก่อน สุดท้ายเอกชนไม่เอาพื้นที่ที่เวนคืน จะส่งผลกระทบต่อประชาชน

“สัญญาให้เอกชนย้ายสถานีได้ บนเงื่อนไขเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ ร.ฟ.ท.อนุมัติ โดยต้องรับผิดชอบการดำเนินการต่าง ๆ เองทั้งหมด ทั้งการได้มาซึ่งที่ดิน จะเวนคืน หรือซื้อใหม่ก็ได้ รวมถึงทำ EIA จะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี จะกระทบต่อไทม์ไลน์การก่อสร้าง ตามแผนเฟสแรกสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รัฐจะเวนคืนส่งมอบพื้นที่ให้ตามสัญญา ต.ค. 2564 ใช้เวลาสร้าง 5 ปี จะแล้วเสร็จเปิดบริการในปี 2569 พร้อมกับสนามบินอู่ตะเภา หากเสร็จช้าจะถูกปรับตามสัญญา”


เล็งพัฒนา TOD ต่อยอดโครงการ
แหล่งข่าวกล่าวว่า แนวเดิม ร.ฟ.ท.จะก่อสร้างสถานีไฮสปีดบริเวณสถานีรถไฟเดิมเป็นหลัก เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางเมืองเดิม ให้ประชาชนโดยรอบได้ประโยชน์ จะมีเฉพาะสถานีฉะเชิงเทราที่เวนคืนสร้างที่ใหม่ เพราะต้องสร้างเดโป้ ห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศเหนือ 1.5 กม. ส่วนสถานีชลบุรี ศรีราชา พัทยา สร้างในจุดที่เป็นสถานีเดิม สำหรับอู่ตะเภาจะอยู่ด้านใต้อาคารผู้โดยสารของสนามบิน

“ทาง ซี.พี.ที่ต้องการขยับตำแหน่งใหม่ เพราะต้องการพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานี หรือ TOD เพื่อต่อยอดโครงการ เพราะรายได้ค่าโดยสารอย่างเดียวคงเลี้ยงโครงการไม่ได้ แม้รัฐจะให้ที่ดินพัฒนา TOD ที่สถานีมักกะสันและศรีราชา เอกชนก็มองว่าอาจยังไม่คุ้ม”

เปิดโผที่ตั้งใหม่
ในส่วนการปรับตำแหน่งสถานีของกลุ่ม ซี.พี. มีรายงานข่าวแจ้งว่า กลุ่ม ซี.พี.จะขยับ “สถานีฉะเชิงเทรา” ไปทางด้านทิศใต้ของแม่น้ำบางปะกง แต่บางกระแสระบุว่า ไปทางบ้านโพธิ์และพื้นที่รอยต่อระหว่างหนองจอกกับถนนสุวินทวงศ์ ขณะที่ “สถานีชลบุรี” จะอยู่ห่างจากสถานีเดิมอยู่ในเมืองออกไปเล็กน้อย ส่วน “สถานีศรีราชาและสถานีพัทยา” ขยับลงมาอยู่ที่สถานีรถไฟบ้านห้วยขวาง ใกล้ตลาดน้ำ 4 ภาค และสวนนงนุช ที่ ซี.พี.มีที่ดินอยู่ประมาณ 600 ไร่

“การที่ ซี.พี.ขยับสถานีใหม่ เพราะต้องการพัฒนา TOD เพราะสถานีในโครงการส่วนใหญ่ที่ดินมีเจ้าของหมดแล้ว และราคาที่ดินแพง ทำให้พัฒนาได้ยาก จึงมีแนวโน้มสูงที่จะย้ายสถานีฉะเชิงเทรากับพัทยา”

อย่างเช่น สถานีพัทยา ในแผนของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะพัฒนา TOD รอบสถานีประมาณ 200 ไร่ ราคาซื้อขายที่ดินปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ไร่ละ 10 ล้านบาท อยู่ในมือเอกชนรายใหญ่หมดแล้ว ส่วนสถานีศรีราชาซึ่งเป็นที่ดินของ ร.ฟ.ท.ให้พัฒนา TOD ได้ 25 ไร่ ซึ่งพัฒนาอะไรได้ไม่มาก

“TOD สถานีพัทยามีผู้ประกอบการรายใหญ่สนใจนำรายละเอียดโครงการไปศึกษา เช่น บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ที่มีศูนย์การค้าเซ็นทรัลพัทยา ห่างจากสถานี 2-3 กม. ส่วน ซี.พี.ยังนิ่ง ๆ เพราะมีแผนจะย้ายสถานี” แหล่งข่าวกล่าว

อีอีซีปั่นราคาที่แปดริ้วขึ้น 6 เท่า
ด้านนายประเทือง อยู่เกษม นายอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า พื้นที่เวนคืนที่ดินสถานีฉะเชิงเทรา จะครอบคลุมพื้นที่ ต.บางเตย วังตะเคียน ท่าไข่ ท่าขวัญ บ้านใหม่ บางไผ่ ปัจจุบันเป็นที่นา ซึ่งคณะกรรมการได้กำหนดราคาค่าทดแทนเบื้องต้นแล้ว แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติจาก ร.ฟ.ท. เป็นการคำนวณราคาที่สะท้อนตามราคาประเมินและราคาซื้อขายในพื้นที่ ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นหลังฉะเชิงเทราถูกกำหนดเป็นพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เช่น ที่ดินติดถนนสุวินทวงศ์อยู่ที่ไร่ละ 6 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวถึงความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนว่า หลังเซ็นสัญญาซื้อระบบและขบวนรถจากจีน มูลค่า 50,633 ล้านบาท จะทยอยเซ็นสัญญาก่อสร้างช่วงภาชี-นครราชสีมา ที่รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ผ่านการอนุมัติแล้ว จะเริ่มสร้างในปี 2564 ได้ตลอดสาย แล้วเสร็จในปี 2568 รวมถึงเร่งออก พ.ร.ฎ. เวนคืนที่ดิน ตลอดแนวจะเวนคืน 2,815 ไร่ วงเงิน 5,637.85 ล้านบาท เช่น สถานีอยุธยา 500 ไร่ เป็นต้น

3 เมืองใหม่เกาะรถไฟไทย-จีน
ส่วนตำแหน่งสถานีมีความชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะ “สถานีอยุธยา” ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้กลับไปสร้างบนสถานีเดิมตาม EIA ฉบับเดิม โดยที่ตั้งทั้ง 6 สถานี ได้แก่ 1.สถานีบางซื่อ จะอยู่ในพื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อ บริเวณชั้น 3 2.สถานีดอนเมือง ตั้งอยู่ในสถานีเดิม เป็นสถานีเดียวกับสายสีแดงและรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 3.สถานีอยุธยา เยื้องสถานีเดิม 200-300 เมตร

4.สถานีสระบุรี สร้างบนพื้นที่ใหม่ 97 ไร่ บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองเพรียว เป็นที่ดินของกรมชลประทาน ห่างจากสถานีเดิม 3 กม.ไปทางถนนเลี่ยงเมือง ใกล้กับศูนย์ราชการจังหวัดแห่งใหม่ ตรงข้ามศูนย์การค้าโรบินสัน 5.สถานีปากช่อง สร้างบนพื้นที่ใหม่ ต.หนองสาหร่าย กว่า 500 ไร่ ขอใช้ที่ราชพัสดุมีกองบัญชาการกองทัพบกใช้ประโยชน์ ห่างจากสถานีรถไฟเดิม 5 กม. 6.สถานีนครราชสีมา อยู่ในตำแหน่งเดียวกับสถานีปัจจุบัน พื้นที่กว่า 200 ไร่ ตามแผนจะต้องรื้อถอนสถานีเดิมออก แล้วสร้างสถานีใหม่ในลักษณะสถานีร่วมใช้กับรถไฟทางไกลเดิม

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยมีแผนจะพัฒนาเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตามแผนจะมี 3 แห่ง ที่สระบุรี 3,000 ไร่ สถานีปากช่องกว่า 3,000 ไร่ และนครราชสีมา 3,000 ไร่ เพื่อสร้างรายได้ให้กับโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2020 3:45 pm    Post subject: Reply with quote



ดูภาพวิดิโอนี่ก็ได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=oLk7JxK5EpU



Wisarut wrote:
เอกสารการประชุมกลุ่มย่อย โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ครับ มีการออกแบบสถานีรถไฟความไวสูงบัวใหญ่ถึงหนองคาย โดยใช้เอกลักษณ์ท้องถิ่นเข้าช่วยเป็นอันมาก แม้ว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อท้วงติงเมื่อทำประชาพิจารณ์

https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/3403220333093268
https://www.hsrkorat-nongkhai.com/wp-content/uploads/2020/10/HSRNE2-Presentation_Focus-Group_Final_20201028.pdf
https://www.facebook.com/hsrkorattonongkhai/posts/209801063899916
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2020 12:27 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ซีพี รื้อแนวรถไฟไฮสปีด ย้ายสถานี ต่อจิ๊กซอว์เมืองใหม่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 07:06 น.


นี่ครับคำวิจารณ์ท่าที่อันพิลึกพิลั่นพิเรนของซีพี

มารุต พานิชชาติ wrote:
ย้ายสถานีหนีคนแบบนี้ เตรียมเจ๊งได้เลยครับเจ้าสัว แต่ละสถานี ที่ตั้งไม่เมคเซนส์เลยครับ แม้จะเป็นวิธีดัดหลังพวกเจ้าของที่ดินที่โก่งราคาที่ดินเป็นพันล้านบาทก็ตามทีก็เถอะ

แล้วห่างจากเมือง 10 กว่าโล คิดว่าคนที่จะเข้าเมือง เขาจะอยากใช้บริการมั้ย แล้วคนที่จะเดินทางไปเมืองใหม่จะมีวันละเท่าไหร่เชียว คิดยังกับว่าจะ "บ้าย" คนจากเมืองเก่าไปอยู่เมืองใหม่ได้ทั้งหมดยังงั้นแหละ มันก็ไม่ได้ "เทครัว" ย้ายเมืองกันได้ง่ายๆ เหมือนสมัยโบราณแล้วนะ 555

จะเอาสถานีฉะเชิงเทราไปไว้บ้านโพธิ์ จะเอาสถานีพัทยาไปไว้บ้านห้วยขวางยังงี้ ถ้าอยากพัฒนาเมืองใหม่จริงๆ ก็เพิ่มเป็นสถานีใหม่เลยจะดีกว่ามั้ยครับ จะว่าไปแล้ว ที่เดิมตรงสุวินวงศ์ก็สวยอยู่ ไม่ไกลจากตัวเมืองนัก แค่ 1.5 กิโลเมตรเอง



Phattanon Duangdara wrote:
ผมว่า ฉะเชิงเทราจะย้ายก็ได้ เพราะเปิดพื้นที่ใหม่อยู่แล้ว ไปตรงไหนต้องดูอีกที ส่วนพัทยา ย้ายเพื่อ ... สร้างสถานีเพิ่มง่ายกว่า


Phet Jakkapat wrote:
ไม่โอตรงย้ายสถานีพัทยานี่ล่ะครับ


Tontan Krissadee Sitthibutr wrote:
ถ้าจะให้คนมาอยู่เมืองใหม่ได้คือต้องบังคับคนมาอยู่


Apinun Muangkasem wrote:
เอาจริงคือต้องพัฒนาบนที่ตัวเองทุกสถานีเลยเหรอ ไหวเหรอ ไม่กลัวเจ๊งเลยเหรอ


Sathaporn Rattanamanee wrote:
มวยล้มต้มคนดูสิครับ !! ผลักดันเข้าไปในที่ตัวเอง !!


Naruepol Chokchai wrote:
"แม้รัฐจะให้ที่ดินพัฒนา TOD ที่สถานีมักกะสันและศรีราชา เอกชนก็มองว่าอาจยังไม่คุ้ม" ถ้าเขาเห็นว่าไม่คุ้มแล้วจะมาประมูลทำไมครับ ประมูลแล้วมาใช้กำลังภายในขยับตำแหน่งสถานีจนวุ่นไปหมด คนในกกท.หน้าชาไปเลย อุดส่าห์โม้กับชาวบ้านไว้ว่าจะเอาครส.รับส่งคนในซีเกมส์2025ที่เล็งจะจัดที่ชลบุรี ผมไม่ทราบว่ากรมการขนส่งทางรางมีการเข้าไปศึกษาหรือไม่ว่าการย้ายตำแหน่งสถานีนั้นจะทำให้มีผลกระทบต่อปชช.อย่างไร จะกระทบกับจำนวนผู้โดยสารหรือไม่ และกระทบกับแผนงานอื่นๆของรัฐอย่างไรบ้าง


Phiphatphong Tewasathitphong wrote:
แปดริ้วที่เดิมก็ดีอยู่แล้วจะย้ายเพื่อ?


Pitakchart Sukrasorn wrote:
ก็ไม่น่าให้เขาย้ายแหละน้า แนวเวนคืนก็กำหนดไปแล้ว เกิดขยับไปอีกที่ บ้านที่ไม่โดนเขาก็โดนอีก ไม่นับเรื่องทางธุรการที่ต้องเดินเอกสารเพิ่มเติมอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2020 2:52 am    Post subject: Reply with quote


ที่ปรึกษายั่งยืน ร่วมพัฒนารถไฟความเร็วสูง I BUSINESS WATCH I 01-11-2020
https://www.youtube.com/watch?v=V_oS2ioiWJ8
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2020 7:39 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนเดินหน้าก่อสร้างช่วงภาชี-โคราช5สัญญา4หมื่นล.
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"ประยุทธ์" ปิดดีลซื้อระบบ 5 หมื่นล้าน รถไฟไทย-จีน "กทม.-โคราช" ร.ฟ.ท. เผยงานรอสางเพียบ ปีนี้ส่งมอบแบบ ก่อนออก NTP พ.ย.เซ็นรับเหมา 5 สัญญา 4 หมื่นล้าน "เนาวรัตน์ฯ- กรุงธนฯ-นภาก่อสร้าง" รอลุ้นที่เหลือติดอุทธรณ์ EHIA "ศักดิ์สยาม" หวั่นกระทบเป้าเปิดปี'68 ทุ่ม 2.5 แสนล้าน ลุย "โคราช-หนองคาย" เชื่อมไฮสปีด ลาว-จีน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เซ็นสัญญา 2.3 ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนแล้ว เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังจากนี้จะเป็นส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP)

ทั้งนี้ ได้หารือร่วมกับฝ่ายจีนยังมีอุปสรรคเริ่มต้นงาน คืองานโยธาที่ยังล่าช้า ติดรายงานผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม (EIA) และมีอุทธรณ์ผลการประมูลบางสัญญา อีกทั้งเพิ่งสร้างเสร็จสัญญาเดียว ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. อาจกระทบเป้าเปิดให้บริการในปี 2568 ส่วนจะส่งหนังสือ NTP ได้เมื่อไหร่ รอผู้เกี่ยวข้องพิจารณา

ขณะเดียวกันในเดือน พ.ย.จะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีของระบบรางทั้งหมด และฝึกอบรมบุคลากร โดยบูรณาการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วางหลักสูตรรับนักศึกษาต่อไป

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การออก NTP สัญญา 2.3 แบ่ง 3 ฉบับ 1.ออกแบบระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า และขบวนรถ 700 ล้านบาท 2.ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า และผลิตขบวนรถ 48,933 ล้านบาท และ 3.งานฝึกอบรมบุคลากรและการถ่ายทอดเทคโนโลยี 1,000 ล้านบาท

"เริ่มออก NTP งานออกแบบภายในปีนี้ เพราะการออกแบบงานระบบต่าง ๆ และขบวนรถต้องใช้เวลา 10-12 เดือน"

ส่วน NTP งานติดตั้งระบบต่าง ๆ ต้องรองานออกแบบเสร็จก่อนจึงจะ ออกได้ ขณะที่งานฝึกอบรมบุคลากร ไม่ต้องรอให้ทั้ง 2 งานเสร็จ ขึ้นอยู่กับ จัดตั้งสถาบันฝึกอบรม ซึ่งกรมการ ขนส่งทางราง (ขร.) เพิ่งได้งบประมาณศึกษารูปแบบการจัดตั้งองค์กรจะดำเนินการในรูปแบบใด จะใช้เวลา 2 ปี

สำหรับงานโยธา 14 สัญญา มี 9 สัญญาที่รอเซ็นผู้รับเหมา วงเงิน 95,674.16 ล้านบาท ในเดือน พ.ย.เซ็น 5 สัญญา 40,275 ล้านบาท ได้แก่ สัญญา 3-2 อุโมงค์มวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการก่อสร้าง 4,279 ล้านบาท

สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กม. มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ ก่อสร้าง 9,838 ล้านบาท สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก- โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. มี บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย- นภาก่อสร้าง) ก่อสร้าง 9,848 ล้านบาท สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. มีกลุ่มกิจการ ร่วมค้า SPTK ก่อสร้า ง 7,750 ล้านบาท และสัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง ก่อสร้าง 8,560 ล้านบาท

ส่วนสัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ยังติดอุทธรณ์ผลประมูล และอีก 4 สัญญา 39,494.16 ล้านบาท รอเปลี่ยนแปลงรายงาน EIA หลังคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบให้กลับไปใช้รายงาน EIA เดิม ที่ไม่ขยายสถานีอยุธยาออกนอกแนวเขตทางรถไฟ

"สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท้วงติง แม้ใช้ EIA เดิม แต่ที่ตั้งสถานีอยุธยา อยู่ในเขตขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ต้องทำ EHIA จะศึกษาเพิ่มเติม 3-4 เดือน"

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. ลงทุน 252,347 ล้านบาท จะไปเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน อยู่ระหว่าง ร.ฟ.ท.ออกแบบรายละเอียด จะเสร็จในเดือน มี.ค. 2564 จากนั้นเสนอ ครม.อนุมัติโครงการในปี 2565 เปิดบริการในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2020 1:54 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช มาช้าแต่มาแล้วแน่นอน
โดย: "โชกุน"
"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:30 น.



โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน มีอายุพอๆ กับการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ 6 ปีกว่า เพราะมีจุดเริ่มต้น หลังจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ทำรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ไม่นาน คือ มีการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างรัฐบาลไทยกับจีนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ตอนปลายปี 2557

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้มีความคืบหน้าไปช้ามาก เพราะมีการเจรจาต่อรองกันในหลายๆ เรื่อง ผ่านการประชุมสองฝ่ายกัน 20 กว่าครั้ง สุดท้ายมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงการ จากเดิมที่เป็นการลงทุนร่วมไทย-จีน เปลี่ยนเป็นไทยลงทุนเองทั้งหมด ในวงเงิน 179,412.21 ล้านบาท และปรับเส้นทางจากเดิมกรุงเทพฯ-หนองคาย ออกเป็นสองเฟส โดยเริ่มก่อสร้างเฟสแรกกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง 253 กิโลเมตรก่อน รวมทั้งเปลี่ยนจากรถไฟความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้เป็นรถไฟความเร็วสูงจริงๆ คือ วิ่งด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

แต่เพื่อรักษาพันธสัญญาตามเอ็มโอยูไว้ จึงต้องให้ฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบ การก่อสร้าง การวางระบบราง อาณัติสัญญาณ การจัดหารถไฟ และการเดินรถ ซึ่งจีนมีความเชี่ยวชาญ และมีเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงแบบครบวงจร

จนถึงตอนนี้ หลังจากผ่านไป 6 ปีกว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช ก่อสร้างไปได้เพียง 3.5 กิโลเมตร คือ การสร้างทางสำหรับวางราง แต่หลังจากนี้ การก่อสร้างงานโยธา น่าจะดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีการประมูลได้ตัวผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วเกือบตลอดเส้นทาง 253 กิโลเมตร

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา มีการเซ็นสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร ตามสัญญาข้อ 2.3 โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา มูลค่า 50,633.5 ล้านบาท

การเซ็นสัญญานี้มีความหมายสำคัญ เพราะเป็นการบอกว่า เรื่องที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่ตรงกันตั้งแต่เรื่องการออกแบบ ไปจนถึงแหล่งเงินกู้ซึ่งถูกนำขึ้นสู่โต๊ะเจรจามากกว่า 20 ครั้ง บัดนี้ได้ข้อยุติแล้วจนนำไปสู่การเซ็นสัญญา และการเซ็นสัญญานี้ ยังเป็นสัญญาณว่า โครงการนี้ มีความชัดเจนแล้วว่า จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมา ที่เกิดความล่าช้าในเรื่องการก่อสร้าง ตลอดจนความไม่ลงตัวในการเจรจาของไทยกับจีน ทำให้มีความไม่แน่นอนว่า อนาคตของทางรถไฟสายนี้จะเป็นอย่างไร

สัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้า ฯลฯ เป็นการลงนามของคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายไทย คือ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กับผู้บริหารบริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์ปอเรชั่น

โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีเส้นทางผ่าน 5 จังหวัด 6 สถานีคือ สถานีกลางบางซื่อผ่านสถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนคราชสีมา ซึ่ง 4 สถานีหลังเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงที่ก่อสร้างใหม่ในโครงการนี้ รวมระยะทาง 253 กิโลเมตร โดยแบ่งการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศกอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 สัญญาคือ ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก และเตรียมลงนามในสัญญาก่อสร้างอีก 9 สัญญา มีกรอบวงเงินรวมของโรงการ 179,412.21 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยรับภาระการลงทุนโครงการทั้งหมด และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา

ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบออกแบบ และติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าเครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถ จัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูง และฝึกอบรมบุคลากร

รถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีกำหนดเสร็จ และเปิดบริการปี 2569 ซึ่งจะทำให้การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปโคราชใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยประมาณ

ส่วนระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคายระยะทาง 354.5 กิโลเมตร เชื่อมไทย-ลาว-จีนอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดทั้งหมด โดยฝ่ายไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นประธานในพิธีเซ็นสัญญา กล่าวในตอนหนึ่งว่า นอกเหนือจากการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยแล้ว โครงการนี้ยังเปรียบเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น หรือความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ

“การร่วมลงนามในสัญญาวันนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทย และประเทศจีนจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีร่วมกัน ผมเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถนำองค์ความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป ผมขอขอบคุณกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ และบริษัทคู่สัญญาของโครงการ ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ที่ล้วนเป็น “กำลังสำคัญ” ในการผลักดันโครงการให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง โดยสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เปรียบดังคำกล่าวที่ว่า “ถง ซิน เสีย ลี่, ซื่อ ซื่อ ซุ่น ลี่” หมายความว่า “น้ำหนึ่งใจเดียว ทุกเรื่องราบรื่น”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2020 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

ทำเล EEC ราคาพุ่งกระทบเวนคืน จาก 3.5 พันล้าน เป็น 8 พันล้าน
ในประเทศ
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 - 13:29 น.

ราคาที่ดินอีอีซีพุ่ง ทำเล EEC บูมสวนเศรษฐกิจ ที่ดินแนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินราคาพุ่งไม่หยุด กระทบค่าเวนคืนอัพเท่าตัว จาก 3.5 พันล้าน เป็น 8 พันล้าน

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ ร.ฟ.ท. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันคณะทำงานอยู่ระหว่างเร่งรัดส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน


PlayvolumeTruvid00:52Ad

โดยเร่งประเมินการเวนคืนที่ดิน รื้อย้ายผู้บุกรุก ระบบสาธารณูปโภค ให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม ซี.พี.ได้ตามกำหนด และเดินหน้าก่อสร้างช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายในเดือน ส.ค. 2564 ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมือง ภายในเดือน ต.ค. 2566 ยังติดย้ายผู้บุกรุก จำนวน 267 ราย

“สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจากเดิมเดือน มี.ค.-เม.ย. 2564 เป็นเดือน ส.ค. แต่ยังไม่เกินเดือน ต.ค.ที่กำหนดในสัญญา ยังติดเรื่องเวนคืนที่ดิน ส่วนการย้ายระบบสาธารณูปโภคไม่น่าจะมีปัญหา เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบจะเป็นผู้ดำเนินการ และคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบฯให้แล้ว 4,103 ล้านบาท ส่วนผู้บุกรุกในแนวเส้นทางที่กระทบต่อการก่อสร้าง 302 ราย ย้ายออกแล้ว 276 ราย เหลือ 26 ราย กำลังเจรจา ไม่น่าจะมีปัญหา”

นายสุจิตต์กล่าวว่า การเวนคืนที่ดินอาจต้องของบประมาณจากรัฐบาลเพิ่ม หลังคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนซึ่งดำเนินการโดยท้องถิ่นแต่ละพื้นที่กำหนดราคาในเบื้องต้นแล้ว พบว่าราคาสูงขึ้น 3-6 เท่า จากราคาประเมินของกรมธนารักษ์ โดยเฉพาะพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ทำให้ค่าเวนคืนทั้งโครงการ 931 แปลง จำนวน 850 ไร่ จากเดิม ครม.อนุมัติ 3,570 ล้านบาท พุ่งขึ้นเป็น 8,000 ล้านบาท

“ขณะเดียวกันกลุ่ม ซี.พี.ได้ขอขยับตำแหน่งสถานีใหม่ ที่สถานีฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา แต่ยังไม่ระบุพื้นที่ที่จะย้าย แต่มีแนวโน้มจะย้าย ซึ่งเป็นสิทธิตามสัญญาที่ปรับตำแหน่งได้ ถ้าเห็นว่าพื้นที่ใหม่เป็นประโยชน์กว่า แต่ต้องรับผิดชอบค่าเวนคืนที่ดิน การทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ต้องทำเพิ่มเอง และต้องได้รับอนุมัติจาก ร.ฟ.ท.ก่อนจึงย้ายได้”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2020 10:27 am    Post subject: Reply with quote

ดัน “ไฮสปีด” 2 เส้นทาง เชื่อมจีน-อีอีซี
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 11:36:22

คมนาคม”ดันรถไฟเร็วสูง อีอีซีเชื่อม รถไฟไทย-จีน หลัง จี้รฟท.ส่งมอบ พื้นที่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินให้ทันภายเดือนต.ค.64
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2020 2:08 pm    Post subject: Reply with quote

ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศประเทศ ไทย-ลาว-จีน สถานีนาทา ส่วนสำคัญที่สุดของโครงการรถไฟความเร็วสูง สายอีสาน ช่วงที่ 2 โคราช-หนองคาย
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
2 พฤศจิกายน 2563 เวลา 21:38 น.

วันนี้ขอกลับมาที่รายละเอียดของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน กันต่อครับ
ซึ่งวันนี้ขอมาพูดในส่วนของระบบเปลี่ยนถ่ายสินค้า ของโครงการ ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนและเชื่อมต่อระหว่าง ไทย-ลาว-จีน ซะหน่อยครับ
—————————
ขอปูพื้นฐาน Concept การออกแบบของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสานของเราก่อนนะครับ
เนื่องจากรถไฟความเร็วสูง ของเราให้บริการแบบเป็นรถไฟโดยสาร 100% เพื่อลดความเสี่ยงของการเดินรถ 2 รูปแบบ ที่มีความเร็วแตกต่างกัน เหมือนกับฝั่งลาว
เพื่อให้สามารถเดินรถไฟความเร็วสูงได้อย่างเต็มที่ ที่ความเร็ว 250 กม/ชม ตลอดเส้นทาง
ซึ่งจากแผนเราคือการแยกระบบรถไฟความเร็วสูง และรถไฟสินค้าออกจากกัน
โดยให้รถไฟสินค้าย้ายไปใช้รถไฟทางคู่ ราง 1 เมตร เดิมของเรา เพื่อรองรับสินค้าจากรถไฟลาว-จีน และให้รถไฟความเร็วสูงวิ่งบนทางรถไฟขนาดทาง 1.435 เมตร ใหม่
แต่สินค้าที่มาจากฝั่งลาวจะมากับทางรถไฟรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร จึงจำเป็นต้องมีการย้ายสินค้า (ตู้คอนเทนเนอร์) จากราง 1.435 เมตร มาลง ราง 1 เมตร เดิมของเรา ที่สถานีนาทา
ซึ่งหลังจากนั้น สินค้าสามารถวิ่งไปบนโครงข่ายของเราได้ทั่วประเทศ ไปจนถึงมาเลเซีย และสิงคโปร์ บนโครงข่าย 1 เมตรได้เลย
การวางระบบแบบนี้ผมมองว่าเป็นการได้ประโยชน์ และส่งเสริมระบบรางเดิมของเราไปคู่กับการมีรถไฟความเร็วสูงสายอีสานไปด้วย
—————————
รายละเอียดย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า นาทา
- ตำแหน่งก่อสร้างย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า ระหว่างราง 1 เมตร และ ราง 1.435 เมตร นี้อยู่ที่ด้านตะวันตก ของสถานีรถไฟนาทาในปัจจุบัน
ซึ่งจะเป็นตำแหน่งเดียวกับย่านซ่อมบำรุงนาทา ของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ส่วนที่ 2 ด้วยเช่นกัน
- โครงสร้างพื้นฐานภายในย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า ได้แก่
1. ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า ระหว่างประเทศ
มีรางรถไฟในย่านทั้งหมด 6 ทาง (อาจจะเป็นราง 1 เมตร 3 ทาง, ราง 1.435 เมตร 3 ทาง) ยาวไม่น้อยกว่า 1,200 เมตร
พร้อมกับเครนขนย้ายคอนเทนเนอร์แบบครอมราง (RMG) เหมือนกับที่ใช้ที่ย่านสินค้า SRTO แหลมฉบัง
2. ลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ผ่านแดน
3. ลานกองเก็บตู้สินค้าภายในประเทศ
4. ลานกองเก็บตู้สินค้าเปล่า
5. ลานเตรียมสินค้านำเข้า-ส่งออก
6. สำนักงานศุลกากร
7. ระบบตรวจสอบสินค้า (X-Ray)
ซึ่งจากระบบนี้รองรับการเปลี่ยนถ่ายสินค้าแบบ ขบวน-ขบวน และ สามารถกองเก็บ และรอการขนย้ายระหว่างขบวนได้ด้วย
—————————
รายละเอียดโรงซ่อมบำรุงรถไฟนาทา
เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูง และย่านจอดรถไฟหลักของส่วนที่ 2 รวมทั้งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงทางรถไฟความเร็วสูงอีกด้วย
ซึ่งมีอาคารซ่อมบำรุง (Depot) และย่านจอดรถไฟ (Stabling Yard) ในพื้นที่พร้อมอาคารพักอาศัยของเจ้าหน้าที่อีกด้วย
—————————
อีกหนึ่งส่วนสำคัญที่สุดของโครงการ คือสะพานรถไฟไทย-ลาว แห่งใหม่ ซึ่งมาทดแทนสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว ในปัจจุบัน ซึ่งใช้ร่วมระหว่าง รถยนต์ และรถไฟ
ซึ่งสะพานเดิมมีข้อจำกัดทั้งเรื่องน้ำหนักของรถไฟที่ข้ามได้ทีละน้อย และการต้องปิดถนนเพื่อให้รถไฟข้าม ทำให้มีปัญหาจราจรติดขัดที่หน้าด่านสะพานมิตรภาพทุกวัน (ก่อน Covid)
ดังนี้ในแผนของโครงการในอีกส่วนหนึ่ง จะมีการสร้างสะพานใหม่เพื่อรองรับรถไฟทั้ง 1 เมตร และ 1.435 เมตร
โดยจะมี ราง 1 เมตร 1 ทาง และราง 1.435 เมตร 2 ทาง

—————————

เพจ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
จริงๆผมอยากให้โครงการนี้ และสะพานรถไฟใหม่ เกิดก่อนโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วง โคราช-หนองคาย ด้วยซ้ำ
จะทำให้เราได้รับประโยชน์ของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้ทันที เพราะในปลายปีหน้า รถไฟ ลาว-จีน ก็จะเปิดให้บริการแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2020 3:28 pm    Post subject: Reply with quote

“รายการฟังหูไว้หู” ชี้แจงข้อมูลรถไฟความเร็วสูง
Reporter Journey
2 พฤศจิกายน 2563 เวลา 22:51 น.

ก่อนอื่นเลยต้องขอบคุณอาจารย์วีระ ธีรภัทร รายการฟังหูไว้หู และช่อง 9 MCOTHD อย่างสูง ที่กรุณารับฟังฟีดแบคคอมเมนท์ที่ทางเพจที่ได้ให้ข้อมูลอีกด้านกลับไปเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย และมีการมาตอบคำถามในรายการที่ออกอากาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา
.
ซึ่งอาจารย์ได้เริ่มอธิบายในนาทีที่ 24.23 เกี่ยวกับความเร็วของรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ - โคราช - หนองคาย ซึ่งในวันที่รายการออกอากาศครั้งก่อนคือวันที่ 28 ตุลาคม การอธิบายความของอาจารย์อาจจะสร้างความสับสนในข้อมูลให้กับผู้ชม อาจจะด้วยปัจจัยเรื่องของเวลาในการออกอากาศที่ หรือการพูดไม่เคลียร์ในข้อมูลต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บนรายการโทรทัศน์
.
แต่ในเทปนี้อาจารย์ได้นำเสนอในเรื่องของความเร็วของการเดินรถที่อาจจะใช้คำว่า "ความเร็วเฉลี่ย" ทั้งเส้นทาง 253 กิโลเมตรในเฟสแรกช่วง กรุงเทพฯ - โคราช ที่อาจทำให้รถไฟไม่สามารถวิ่งถึงความเร็วสูงตามเกณฑ์ได้ เพราะเส้นทางสั้น และมีการจอดรับผู้โดยสารตามสถานีที่ค่อนข้างถี่ถึง 6 สถานี (ตรงนี้เป็นการแสดงความเห็นของอาจารย์ในรายการ) ซึ่งถ้ามองในมุมของคนทั่วไปก็ตีความตามความเข้าใจได้ในจุดนี้ แต่โดยตัวโครงการ โครงสร้างทาง ระบบ และตัวรถมันคือรถไฟความเร็วสูงแน่นอน ซึ่งอาจารย์ได้ตอบโดยแยกเป็น 2 ประเด็นเพื่อให้เกิดความกระจ่าง ซึ่งต้องขอบคุณอาจารย์ในตรงจุดนี้
.
แต่ทางเพจก็มีข้อมูลเสริมเล็กน้อยสำหรับข้อมูลทางเทคนิคและระยะทางความห่างของแต่ละสถานี เช่น
ดอนเมือง - อยุธยา ห่างกันเกือบ 50 กม.
อยุธยา - สระบุรี ห่างกัน 40 กม.
สระบุรี - ปากช่อง ห่างกัน 70 กม.
ปากช่อง - นครราชสีมา ห่างกัน 80 กม.
.
ส่วนระบบขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูงในรุ่นใหม่ๆ มีความสามารถในการสร้างอัตราการเร่งความเร็วจาก 0 - 250 กม./ชม. หรือแม้แต่ 300 กม./ชม. รถไฟสามารถทำความเร็วไปถึงระดับ Top speed ได้โดยใช้เวลาแค่ไม่กี่นาที ยกตัวอย่างเช่น รถไฟความเร็วสูง TGV ของฝรั่งเศสที่ใช้เวลาเพียง 1:45 นาที เท่านั้นในการวิ่งจาก 0 ไปถึงความเร็วที่ 250 กม./ชม. และระยะเบรกจากข้อมูลของสารคดี Wheel of steel Eurostar ใช้ระยะการเบรกในขณะที่รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงถึง 300 กม./ชม. ในเวลาไม่ถึง 3 นาที
.
ซึ่งเทคโนโลยีของ TGV และ Eurostar ที่เป็นเทคโนโลยีเก่านับ 10 ปีเมื่อเทียบกับระบบรถไฟความเร็วสูง CRC จากประเทศจีน ก็ยังสามารถเร่งความเร็วจนไต่ระดับสูงสุดในการขับเคลื่อนได้ รถไฟที่เรากำลังจะได้ใช้ก็คงมีความสามารถในการทำความเร็วจนถึงระดับสูงสุดได้ดีไม่ต่างกัน โดยใช้เวลาที่เทียบเท่าหรือน้อยกว่า 1:45 นาที
.
อีกคำชี้แจงที่อาจารย์ก็ยอมรับในเรื่องความคลาดเคลื่อนในข้อมูลคือรถไฟความเร็วสูงของรัสเซีย ที่ในรายการเมื่อครั้งก่อนนำเสนอไปว่ามีด้วยกันทั้งหมด 3 เส้นทางคือ
.
มอสโก - เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
มอสโก - คาซาน
มอสโก - นิจนีนอฟโกรอด
.
ซึ่งอาจารย์ก็ได้แก้ไขเรียบร้อยว่าตอนนี้รัสเซียมีรถไฟความเร็วสูงเพียงสายเดียวเท่านั้นคือ "The Sapsan" เส้นทาง มอสโก - เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ความเร็ว 250 กม./ชม. ระยะทาง 650 กิโลเมตร ใช่เวลาเดินทางประมาณ 3:55 ชั่วโมง โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2009
.
ส่วนที่ทางผู้เขียนจะขอเสริมข้อมูลก็คือ เส้นทาง มอสโก - คาซาน ปัจจุบันเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง วิ่งด้วยความเร็ว 160 - 200 กม./ชม. แต่มีแผนที่จะพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูง และกำหนดการณ์เดิมที่ต้องแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการคือปี 2018 เดิมทีประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน เคยประกาศว่าจะเป็นสายความเร็วสูงสายแรกในรัสเซียที่มีรถไฟวิ่งเร็วถึง 400 กม./ชม. ทำให้การเดินทางโดยรถไฟจากมอสโก - คาซาน ระยะทาง 770 กิโลเมตรที่ทุกวันนี้ใช้เวลาเดินทางเกือบ 13 ชั่วโมงจะลดลงเหลือ 3.5 ชั่วโมง แต่เนื่องจากโครงการมีความล่าช้า ขาดงบประมาณในการก่อสร้าง รวมทั้งประสบปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้แผนการก่อสร้างยังถูกชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด
.
อีกหนึ่งสายคือ เส้นทาง มอสโก - นิจนีนอฟโกรอด ก็เป็นเพียงรถไฟธรรมดาเช่นกันซึ่งมีความเร็วเท่าๆ กับรถไฟสายคาซาน แต่ก็มีแผนที่จะพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ซึ่งตามแผนเดิมคือภายในปี 2024 และแน่นอนว่าอาจเผชิญโรคเลื่อนเหมือนกัน
.
ทั้งนี้อาจารย์วีระก็ตอบคำถามในรายการด้วยความใจเย็น ซึ่งต้องขอบคุณอาจารย์อีกครั้ง และทางผู้เขียนไม่มีเจตนาจะดิสเครดิตอาจารย์ พิธีกรร่วม เนื้อหารายการรวมทั้งสถานี เพราะในปัจจุบันรายการข่าวทางโทรทัศน์ที่เป็นลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูลแบบนี้เหลือน้อยเต็มที อยากให้ยังคงมีรายการคุณภาพที่ให้ข้อมูลมากกว่าแค่การนำข่าวมาอ่านๆ หรือนำเสนอข่าวอะไรที่ไม่ได้ให้สาระแก่ผู้ชมอย่างที่พบได้ตามช่องอื่นๆ ให้เพียงแต่อยากสะท้อนมุมมองการให้ข้อมูลต่อสาธารณะที่ถูกต้อง และรู้สึกดีใจที่ทางรายการรับฟีดแบคครั้งนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นสื่อหลักแบบสถานีโทรทัศน์ หรือสื่อรองแบบเพจเล็กๆ แห่งนี้ ต่างก็อยากจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 389, 390, 391 ... 542, 543, 544  Next
Page 390 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©