Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180265
ทั้งหมด:13491499
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 39, 40, 41 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่เลื่อน!!เปิดรับซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม9พ.ย.นี้
พุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.29 น.
คณะกรรมการ ม.36 เคาะ 9 พ.ย. รับซองเอกชนประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม ตามเดิม
มติชนออนไลน์
พุธที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17:27:35 น.

ไม่เลื่อนจ้า!! คณะกรรมการ ม.36 เดินหน้าเปิดรับซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) 1.2 แสนล้าน 9 พ.ย.นี้ ตามเดิม แต่ยังไม่ฟันธงจะเปิดซองหรือไม่ ขอนัดถก-ฟังผลอุทธรณ์อีกรอบ

เมื่อวันที่ 4 พ.ย. รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ที่ประชุมได้หารือกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการประกาศใช้เอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน โดยกรณีนี้ฝ่ายกฎหมาย รฟม. พิจารณาแล้วพบว่าเป็นคำสั่งที่ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอประกวดราคา ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.63 ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ที่ รฟม. ตามเดิม
           
รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งต่อว่า พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการรับข้อเสนอฯ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรจากฝ่ายต่าง ๆ ประมาณ 5 คน ได้แก่ ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง, ฝ่ายพัฒนาโครงการ, ฝ่ายบัญชี และฝ่ายการเงิน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ รฟม.เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.แล้ว จากนั้นคณะกรรมการ ม.36 จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะเปิดซองข้อเสนอซองต่าง ๆ หรือไม่ โดยจะขอรอฟังผลการอุทธรณ์ที่ รฟม.ได้ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดด้วย ซึ่ง รฟม.ได้ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลาง ไปแล้วเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยฝ่ายกฎหมาย รฟม. มองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ศาลฯ อาจจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่นาน น่าจะใกล้เคียงกับการพิจารณากรณีที่เอกชนยื่นอุทธรณ์เมื่อครั้งที่ผ่านมา โดยใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
           
รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งอีกว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ม.36 ครั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้หารือว่าจะต้องล้มประมูลโครงการฯ หรือไม่ เวลานี้ขอพิจารณาทีละขั้นตอนไปก่อน และขอรอฟังผลการอุทธรณ์จากศาลฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการเปิดรับข้อเสนอจากเอกชนในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะไม่มีผลกระทบใด ๆ กับเอกชนไม่ว่าสุดท้ายแล้วจะใช้เกณฑ์เก่าที่พิจารณาจากคะแนนราคา 100 คะแนน หรือเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาตัดสินผู้ชนะประมูล เพราะในการยื่นข้อเสนอนั้นเป็นข้อมูลคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมือนเดิมทุกอย่าง และเชื่อว่าเอกชนต้องนำเสนอข้อเสนอที่ดีที่สุดมาให้พิจารณาอยู่แล้ว ดังนั้นเอกชนจึงไม่มีอะไรที่น่ากังวล


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย–มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์–ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)  ทั้งนี้ ตามแผนมีกำหนดเปิดให้บริการ 2 ส่วน โดยส่วนตะวันออก เดือน มี.ค.67 และส่วนตะวันตก เดือน ก.ย.69.

รฟม.เผยเปิดรับซองรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตามกรอบเดิม 9 พ.ย.นี้
วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18.28 น.

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้มีการหารือกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการประกาศใช้เอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เพิ่มเติม ครั้งที่ 1 โดยใช้เกณฑ์ใหม่ที่กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนด้านเทคนิค 30% ด้านการเงิน 70% ซึ่งทางฝ่ายกฎหมาย รฟม. พิจารณาแล้วพบว่าเป็นคำสั่งที่ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับการเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอประกวดราคาจึงมีมติให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.2563 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 15.00 น.ที่ รฟม.ตามกรอบเวลาเดิม



ทั้งนี้ ยังได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการรับข้อเสนอฯ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรจากฝ่ายต่างๆ ประมาณ 5 คน ได้แก่ ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง, ฝ่ายพัฒนาโครงการ, ฝ่ายบัญชี และฝ่ายการเงิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามหลังจากที่ รฟม.เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.นี้ แล้ว ทางคณะกรรมการมาตรา 36 จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะเปิดซองข้อเสนอซองต่างๆ หรือไม่จะต้องรอผลการอุทธรณ์ที่ รฟม.ได้ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดด้วย ซึ่ง รฟม.ได้ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลาง ไปแล้วเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยฝ่ายกฎหมาย รฟม. มองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ศาลฯ อาจจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่นาน น่าจะใกล้เคียงกับการพิจารณากรณีที่เอกชนยื่นอุทธรณ์เมื่อครั้งที่ผ่านมาโดยใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการมาตรา 36 ดังกล่าวเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทีละขั้นตอนไปก่อนรวมถึงต้องรอฟังผลการอุทธรณ์จากศาลฯ และยืนยันว่าการเปิดรับข้อเสนอจากเอกชนในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะไม่มีผลกระทบใดๆ กับเอกชน เนื่องจากการยื่นข้อเสนอนั้นเป็นข้อมูลคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมือนเดิมทุกอย่าง และเชื่อว่าเอกชนต้องนำเสนอข้อเสนอที่ดีที่สุดมาให้พิจารณาอยู่แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/11/2020 6:17 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ลุ้นศาลปกครอง ไฟเขียวเกณฑ์ใหม่สายสีส้ม
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วรรณิกา จิตตินรากร
กรุงเทพธุรกิจ

Click on the image for full size

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยืนกรานเปิดรับข้อเสนอ เอกชนชิงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) งานโยธาช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และเดินรถทั้งเส้นทางมีนบุรี-บางขุนนนท์ ในวันที่ 9 พ.ย.นี้

ภายหลังเมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ประชุมหารือกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการประกาศใช้เอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเพิ่มเติม ครั้งที่ 1

โดยประกาศดังกล่าวเป็นผลให้ รฟม.เพิ่มข้อกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาข้อเสนอเอกชน จากเดิมจะพิจารณาคะแนนด้านราคา 100 คะแนน ปรับเป็นคะแนนเทคนิค 30 คะแนนและราคา 70 คะแนน โดยคณะกรรมการ ม.36 ได้เคาะข้อสรุปประเด็นนี้ว่าฝ่ายกฎหมาย รฟม.พิจารณาแล้วพบว่าคำสั่งศาลในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ ขั้นตอนการเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ

ดังนั้น ที่ประชุม ม.36 จึงมีมติให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.นี้ตามเดิม โดยกำหนดเปิดรับข้อเสนอ ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. อีกทั้งที่ประชุมคณะกรรมการ ม.36 ยังมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการรับ ข้อเสนอ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากร จากฝ่ายต่างๆ ประมาณ 5 คน ได้แก่ ฝ่ายจัดซื้อ จัดจ้าง ฝ่ายพัฒนาโครงการ ฝ่ายบัญชี และฝ่ายการเงิน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี หลังจาก รฟม.เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.แล้ว คณะกรรมการ ม.36 จึงจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะเปิดซองข้อเสนอซองต่างๆ หรือไม่ เพราะในทางคู่ขนานของขั้นตอนพิจารณากรอบเวลา เปิดประกวดราคานี้ รฟม.ได้ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลาง กรณีมีคำสั่งให้ รฟม.ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชน

รายงานข่าวจาก รฟม.เปิดเผยว่า "รฟม.ได้ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดไปเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่ง ศาลปกครองกลาง โดยฝ่ายกฎหมายเรามองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน ศาลอาจจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่นาน น่าจะใกล้เคียงกับการพิจารณากรณีที่เอกชนยื่นอุทธรณ์เมื่อครั้งที่ผ่านมา โดยใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งจะทัน ต่อกำหนดเปิดรับซองข้อเสนอ 9 พ.ย.นี้"

ทั้งนี้ คณะกรรมการ ม.36 ขณะนี้จึงยังไม่มีคำสั่งในการดำเนินการเพิ่มเติม นอกเหนือ จากกำหนดเปิดรับซองข้อเสนอวันที่ 9 พ.ย.นี้ โดยเฉพาะการพิจารณาท่าทีที่อาจจะล้มประมูล โครงการหรือไม่ เพราะเวลานี้เล็งเห็นว่าการพิจารณาควรประเมินไปทีละขั้น ขอรอฟังผล การอุทธรณ์จากศาลที่คาดว่าจะมีการพิจารณา ในระยะเวลาอันใกล้นี้ และน่าจะทันต่อการกำหนดแนวทางประกวดราคาโครงการอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม รฟม.ยืนยันว่าการเปิดรับข้อเสนอจากเอกชนในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะไม่มี ผลกระทบใดๆ กับเอกชน เพราะไม่ว่าท้ายที่สุดแล้ว รฟม.จะกำหนดให้ใช้เกณฑ์เก่า คือคำนวณเฉพาะคะแนนด้านราคา 100 คะแนน หรือใช้เกณฑ์ใหม่คือคำนวณคะแนน ด้านเทคนิคและราคาในการตัดสิน เพราะการยื่นข้อเสนอนั้นเป็นข้อมูลคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมือนเดิมทุกอย่าง และเชื่อว่าเอกชนต้องนำเสนอข้อเสนอที่ดีที่สุดมาให้พิจารณาอยู่แล้ว ดังนั้นเอกชนจึงไม่มีอะไรต้องกังวล ขอให้เตรียมตัวในการยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดเท่านั้น

นับว่าการยื่นอุทธรณ์ของ รฟม.ในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่ต้องจับตา เพราะจะเป็นการกำหนดแนวทางประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เบื้องต้น รฟม.ยังมั่นใจว่าหากศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลปกครองกลาง จะเป็นผลให้ รฟม.สามารถเดินหน้าประกวดราคาตามหลักเกณฑ์ คัดเลือกที่ประกาศไว้ล่าสุดคือคะแนนด้านเทคนิค 30 คะแนนและคะแนนด้านราคา 70 คะแนน

เมื่อเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.นี้ หลังจากนั้นคณะกรรมการ ม.36 จะประชุมเพื่อกำหนดเกณฑ์คัดเลือก พร้อมเปิดซอง 1 ด้านคุณสมบัติ และประกาศผลในวันที่ 23 พ.ย.2563 หลังจากนั้นจะเปิดซอง 2 และซอง 3 ใช้เวลาประเมินผลราว 1-2 เดือน ก่อนเข้าสู่การเจรจาต่อรองผู้ผ่านการประเมินสูงสุด และคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ช่วงต้นปี 2564 และลงนามสัญญาในต้นเดือน มี.ค.2564

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) ประกอบไปด้วยสถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีสนามหลวง สถานีผ่านฟ้า สถานีหลานหลวง สถานียมราช สถานีราชเทวี สถานี ราชปรารภ สถานีดินแดง สถานีประชาสงเคราะห์ และสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2020 11:15 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.ลุ้นศาลปกครอง ไฟเขียวเกณฑ์ใหม่สายสีส้ม
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วรรณิกา จิตตินรากร

คณะกรรมการ ม.36 เคาะ 9 พ.ย. รับซองเอกชนประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม ตามเดิม
มติชนออนไลน์
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 17.27 น.

‘รฟม.’เคาะเปิดรับซองประมูลสายสีส้ม 1.2 แสนล้าน9พ.ย.นี้
วันพฤหัสบดี ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.55 น.

ไม่เลื่อน 'รฟม.'เคาะ 9 พ.ย.เปิดรับซองประมูลสายสีส้ม 1.2 แสนล้าน

วันพฤหัสบดี ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 08:08 น.

5 พ.ย. 2563 รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ที่ประชุมได้หารือกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการประกาศใช้เอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เพิ่มเติม ครั้งที่ 1ซึ่งเป็นเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน

อย่างไรก็ตามโดยกรณีนี้ฝ่ายกฎหมาย รฟม. พิจารณาแล้วพบว่าเป็นคำสั่งที่ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอประกวดราคา ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.63 ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ที่ รฟม. ตามเดิม

รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งต่อว่า พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการรับข้อเสนอฯ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรจากฝ่ายต่างๆ ประมาณ 5 คน ได้แก่ ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง, ฝ่ายพัฒนาโครงการ, ฝ่ายบัญชี และฝ่ายการเงิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามหลังจากที่ รฟม. เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่9 พ.ย. แล้ว จากนั้นคณะกรรมการ ม.36 จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะเปิดซองข้อเสนอซองต่างๆ หรือไม่โดยจะขอรอฟังผลการอุทธรณ์ที่ รฟม. ได้ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดด้วย ซึ่ง รฟม. ได้ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลาง ไปแล้วเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยฝ่ายกฎหมาย รฟม. มองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ศาลฯ อาจจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่นาน น่าจะใกล้เคียงกับการพิจารณากรณีที่เอกชนยื่นอุทธรณ์เมื่อครั้งที่ผ่านมา โดยใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งอีกว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ม.36 ครั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้หารือว่าจะต้องล้มประมูลโครงการฯ หรือไม่ เวลานี้ขอพิจารณาทีละขั้นตอนไปก่อน และขอรอฟังผลการอุทธรณ์จากศาลฯ ด้วย อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการเปิดรับข้อเสนอจากเอกชนในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะไม่มีผลกระทบใดๆ กับเอกชนไม่ว่าสุดท้ายแล้วจะใช้เกณฑ์เก่าที่พิจารณาจากคะแนนราคา 100 คะแนน หรือเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาตัดสินผู้ชนะประมูล เพราะในการยื่นข้อเสนอนั้นเป็นข้อมูลคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมือนเดิมทุกอย่าง และเชื่อว่าเอกชนต้องนำเสนอข้อเสนอที่ดีที่สุดมาให้พิจารณาอยู่แล้ว ดังนั้นเอกชนจึงไม่มีอะไรที่น่ากังวล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานีและสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) ทั้งนี้ตามแผนมีกำหนดเปิดให้บริการ 2 ส่วน โดยส่วนตะวันออก เดือน มี.ค.67 และส่วนตะวันตก เดือน ก.ย.69.


Last edited by Wisarut on 08/11/2020 10:36 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2020 10:53 am    Post subject: Reply with quote

รายงานพิเศษ : แก้TOR‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ เอื้อใครหรือไม่?คำถามนี้ ‘รฟม.’ต้องตอบสังคมให้ชัด
หน้าโลกธุรกิจ
วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลส 06.00 น.

“รถไฟฟ้าสายสีส้ม” เป็นอีกหนึ่งโครงการเชื่อมกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนครเข้าด้วยกันและเป็นการเชื่อมในระดับย่านชานเมืองฝั่งหนึ่งถึงย่านชานเมืองอีกฝั่งหนึ่ง กล่าวคือ เริ่มจากย่านบางขุนนนท์ ฝั่งธนบุรี ผ่าน รพ.ศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ข้ามเข้าสู่ฝั่งพระนครโดยผ่านเขตเมืองเก่าเกาะรัตนโกสินทร์ จากนั้นไปทางตะวันออกผ่านย่านประตูน้ำ เข้าย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก-บางกะปิ) จนไปสุดสายที่ ถ.สุวินทวงศ์ย่านมีนบุรี รวมระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นเส้นทางอุโมงค์ลอดใต้ดิน 27 กิโลเมตร และยกระดับลอยฟ้าอีก 8.9 กิโลเมตร

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2563 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกประกาศให้บริษัทเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายนี้ สามารถซื้อเอกสารเพื่อร่วมประมูลตั้งแต่วันที่ 10-24 ก.ค. 2563 โดยแบ่งระยะการลงทุนดังนี้ “ระยะที่ 1 : การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการจัดหาระบบรถไฟฟ้า” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ “ส่วนที่ 1”การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการ ส่วนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย -สุวินทวงศ์) เป็นระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน


“ส่วนที่ 2” การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้งทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) เป็นระยะเวลา 6 ปี กับ “ระยะที่ 2 : การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา” เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการส่วนตะวันออก



แต่แล้วในเวลาต่อมา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนี่ก็ “ส่อวุ่น” โดยเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2563ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ไปแจ้งความกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีได้รับเรื่องร้องเรียนว่า “คณะกรรมการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (มาตรา 36) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 128,128 ล้านบาท ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR)” ทั้งที่มีการซื้อขายซองประกวดราคาเสร็จสิ้นไปแล้ว 10 บริษัท

เหตุผลของการเข้าแจ้งความดังกล่าวศรีสุวรรณ ระบุว่า พบข้อพิรุธ เช่น 1.มีบริษัทเอกชนรายหนึ่งซึ่งยื่นซองประมูลได้ขอเปลี่ยนแปลงTOR และคณะกรรมการฯ ก็รับข้อเสนอ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ทั้งที่เงื่อนไข TOR ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเองได้ต้องเป็นไปตามระเบียบทางราชการ พร้อมรับฟังความเห็นต่างๆของผู้มีส่วนได้เสีย และต้องยื่นให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ โดยถือประโยชน์ของรัฐมากที่สุด

2.การพิจารณาจะแยกซองเทคนิคหากผ่านตามเกณฑ์ จึงจะเปิดซองการเงินตามลำดับ แต่การประกวดครั้งนี้กลับนำซองเทคนิคมาคิดคะแนนรวมกับซองการเงิน โดยกำหนดสัดส่วนการให้คะแนน 30/70 หากรายใดได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะได้รับการคัดเลือก และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ ซึ่งอาจมีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จึงต้องขอให้ DSI ช่วยตรวจสอบ

“ข้ออ้างของทางคณะกรรมการ รฟม.ออกมาบอกว่า เนื่องจากโครงการนี้ส่วนหนึ่งต้องก่อสร้างใต้ดินลอดแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ที่ผ่านมา รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินก็สร้างลอดแม่น้ำเจ้าพระยาและยังใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขTORใดๆ หรือไม่มีเงื่อนไขในการเปิดซองที่จะต้องรวมซองเทคนิคกับซองราคาไว้ด้วยกันเหมือนกรณีครั้งนี้ ซึ่งครั้งนี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย จึงน่าจะเข้าข่ายความผิดกฎหมายหลายฉบับและหลายมาตรา” ศรีสุวรรณ กล่าว

เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่“BTSC” บริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งไปยื่นหนังสือต่อ องค์การต่อต้านการคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้เปิดเผยว่า BTSC ได้ยื่นฟ้องต่อ ศาลปกครอง ไปเมื่อวันที่17 ก.ย. 2563 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ รฟม. และ คกก.คัดเลือกฯ กลับไปใช้หลักเกณฑ์ TOR เดิม ไม่ใช่หลักเกณฑ์ใหม่ที่มาแก้ไขหลังปิดขายซองประกวดราคาไปแล้ว



สุรพงษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า “แนวปฏิบัติของการยื่นซองประกวดราคาโครงการอื่นๆ ที่ผ่านมา จะเป็นการพิจารณาทีละขั้น (หรือทีละซอง) ไล่ตั้งแต่คุณสมบัติ เทคนิคและราคาตามลำดับ โดยกำหนดให้เอกชนที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติแล้วจึงจะเข้ารับการประเมินด้านเทคนิค และเอกชนที่ผ่านการประเมินด้านเทคนิคแล้วจึงเข้าสู่การประเมินด้านราคา” ซึ่งเมื่อมาถึงขั้นนี้ เอกชนที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุดก็จะได้รับการคัดเลือก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ หลักเกณฑ์ใหม่นำการประเมินด้านเทคนิคและด้านราคามารวมกัน บวกกับมีการใช้ดุลพินิจมาก อาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้

“ในคุณสมบัติมีการกำหนดว่า ต้องมีประสบการณ์ในการทำอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5 เมตร และมีมูลค่าโครงการไม่น้อยกว่า 5 พันล้านบาท ยอมรับว่าเรามีประสบการณ์ด้านนี้เพียงแต่ไม่มีประสบการณ์ที่ทำงานอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเวลานี้ในไทยมีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่มีประสบการณ์ด้านนี้และใน TOR ก็มีหมายเหตุไว้ว่า หากเป็นผู้รับเหมาไทยและมีประสบการณ์ด้านนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

การยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เราไม่ได้ต้องการให้ล้มประมูล เพราะจะทำให้เสียเวลา ขณะนี้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)ก็มีความคืบหน้าไปมากแล้ว หากให้ล้มประมูลประเทศชาติก็จะได้รับความเสียหาย ดังนั้นจึงอยากให้ รฟม. กลับมาใช้เกณฑ์เดิมแบบถูกต้อง” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าว

ต่อมาวันที่ 14 ต.ค. 2563 มีรายงานว่า ศาลปกครองกลาง นัดไต่สวนในคดีที่ BTSC ยื่นฟ้อง คกก.คัดเลือกตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (มาตรา 36) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และพวกรวม 2 คน โดยขอให้เพิกถอนมติ คกก.คัดเลือกฯ กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข TOR ที่ให้นำข้อเสนอทางด้านเทคนิคมาให้คะแนนควบคู่กับข้อเสนอด้านราคา หลังจากที่มีการปิดการขายซองประมูลไปแล้ว

เนื่องจากเห็นว่าก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับเอกชนบางราย พร้อมกับขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยสั่งระงับการเปิดรับข้อเสนอของเอกชนในวันที่9 พ.ย. 2563 ไว้ก่อน จากนั้นในวันที่ 21 ต.ค. 2563 ศาลปกครองกลางจึงมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม. กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมคือ เปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงิน และซองข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติมจนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมา

ในเวลานั้น สุรพงษ์ ให้ความเห็นว่า การที่ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม.ใช้เกณฑ์เดิมในการประเมินการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำตัดสินเนื่องจากต้องใช้เวลาพิจารณา ก็ขึ้นอยู่กับ รฟม.ว่าจะดำเนินการประมูลอย่างไรต่อไป แต่ทั้งนี้ “รฟม.ต้องใช้เกณฑ์ที่มีการแยกการประเมินข้อเสนอด้านการเงินและด้านเทคนิคออกจากกัน เพื่อให้คะแนน และพิจารณาผู้ชนะตามราคาที่เสนอตามที่ประกาศไว้เดิม” ไม่ใช่ใช้ประกาศใหม่



ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2563 คฑาภณสนธิจิตร นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชน (ประเทศไทย) และรองประธานเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) ได้ไปร้องเรียนกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ตรวจสอบผู้ว่าการ รฟม. รวมถึง คกก.คัดเลือกฯ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยให้เหตุผลว่า จากการติดตามตรวจสอบเส้นทางการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงินลงทุน 142,789 ล้านบาทของ รฟม.

ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้เข้าร่วมลงทุนตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 2563และมีกำหนดยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 23 ก.ย. 2563พบว่า หลังปิดขายซองประมูลไปร่วม 2 เดือน รฟม. และคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกกลับมีการพิจารณาเห็นชอบ ให้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการใหม่ โดยปรับเปลี่ยนจากรูปแบบเดิม ที่จะพิจารณาซองข้อเสนอด้านการเงิน และผลตอบแทนการลงทุนจากบริษัทเอกชนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคแล้วเท่านั้น

โดยปรับเปลี่ยนเป็นการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา (สัดส่วน 30:70) โดยอ้างว่า มีบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูลร้อง และ คกก.คัดเลือกฯ (คณะกรรมการตามมาตรา 36แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562) เสียงส่วนใหญ่ให้ความเห็นชอบแล้ว พร้อมมีมติให้ขยายระยะเวลาในการยื่นข้อเสนอออกไป 45 วัน เป็นวันที่ 9 พ.ย. 2563

นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชน (ประเทศไทย) กล่าวต่อไปว่า แม้จะมีเสียงทักท้วงจาก องค์การต่อต้านการคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และทาง BTSC ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง จนศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม. และ คกก.คัดเลือกฯ กลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิม แต่ รฟม.ยังเดินหน้าอุทธรณ์ต่อโดยหวังว่าจะสามารถใช้หลักเกณฑ์ใหม่ได้ จึงต้องขอให้ ป.ป.ช. ช่วยตรวจสอบด้วยว่า มีความพยายามเอื้อประโยชน์แก่เอกชนบางรายหรือไม่

ถึงกระนั้น มีรายงานข่าวในวันที่ 5 พ.ย. 2563 ว่า “รฟม. ยังคงให้เอกชนยื่นข้อเสนอประกวดราคา ในวันที่ 9 พ.ย. 2563 เวลา 09.00-15.00 น. ตามเดิม” เพราะศาลปกครองมีเพียงคำสั่งทุเลาการใช้หลักเกณฑ์ใหม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอประกวดราคาแต่อย่างใด และยืนยันว่า “จะไม่มีผลกระทบกับเอกชนที่ยื่นซองประมูล ไม่ว่าสุดท้ายแล้วจะใช้เกณฑ์เดิมหรือเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาตัดสินผู้ชนะประมูลก็ตาม” เพราะการยื่นข้อเสนอนั้นเป็นข้อมูลคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนเดิมทุกอย่าง

แม้ ณ วันนี้ ยังต้องรอการชี้ขาดจากศาลปกครองว่า รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (มาตรา 36) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีอำนาจแก้ไข TOR ได้เอง หลังจากปิดการขายซองประมูลซึ่งมีหลายบริษัทซื้อซองไปแล้วหรือไม่ แต่ประเด็นที่ว่า “จำเป็นเพียงใดถึงขั้นต้องแก้ TOR ในชั้นนี้” ก็เป็นสิ่งที่สังคมกำลังตั้งคำถาม

หากทั้ง รฟม. และ คกก.คัดเลือกฯ ไม่สามารถอธิบายให้คลายความกระจ่าง เสียงครหาเรื่อง “เอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย” ก็ยังคงดังเซ็งแซ่ต่อไป!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2020 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

'ศักดิ์สยาม'กรรมการตัดสินที่สังคมรอคอย 'ศึกชิงรถไฟฟ้าสายสีส้ม'
หน้าโลกธุรกิจ
วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 17.33 น.

“โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางรวม 35.9 กิโลเมตร เป็นโครงการขนส่งมวลชนสาธารณะ ที่มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางในกรุงเทพฯ ทิศตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน กำลังเผชิญความท้าทายใหญ่ว่าจะสามารถ “เดินหน้า” เปิดบริการตามแผนงานของรัฐบาลภายใต้การนำสมัยที่ 2 ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หรือต้องเจอ ”โรคเลื่อน” อย่างที่หลายโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโพรเจ็กต์) ในรัฐบาลชุดก่อนๆ เคยผ่านประสบการณ์มาก่อน

เพราะหลังจาก “ครึ่งหนึ่ง” ของเส้นทางในโครงการนี้ หรือเส้นทางฝั่งตะวันออก มีความคืบหน้าในการก่อสร้างไปแล้ว 69.82% (ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563) แต่เส้นทางฝั่งตะวันตก ที่เปิดขายซองประมูลไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา และมีเอกชนรายใหญ่สนใจเข้ามาซื้อซองไปถึง 10 ราย แต่ยังไม่ทันจะเข้าสู่กระบวนการยื่นซองร่วมประมูล เกือบทุกรายรวมทั้งคนทั่วไปที่ติดตามข่าวสารโครงการนี้ก็ “สตั๊นท์” กันถ้วนหน้า เมื่อเจ้าของอภิมหาโครงการนี้อย่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทุบโต๊ะเปรี้ยงประกาศให้มีการ “ปรับเปลี่ยน” เกณฑ์การประมูล “ตามใจ” บริษัทรายหนึ่งที่จ่อคิวเข้าประมูลด้วย

น่าประหลาดใจอย่างยิ่งที่ผู้บริหาร รฟม. อันเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ออกมายืนยันกับสังคมว่า “การปรับหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนในครั้งนี้ เป็นสิทธิ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 สามารถดำเนินการได้ และเป็นไปตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โดยจากการปรับหลักเกณฑ์ครั้งนี้ ดำเนินการก่อนเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอ และยังไม่ส่งผลเสียหายต่อเอกชนรายใด ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ”

ขณะที่ ทางรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงคมนาคม คือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กลับดูเหมือนอยู่ในบทบาทที่ “โลว์ โพรไฟล์” กว่าผู้บริหารของหน่วยงานใต้สังกัด จนกระทั่ง “สื่อ” และ “สังคม” แทบจะลืมเลือนไปแล้วว่า นี่คือผู้บริหารเบอร์ 1 ที่ต้องช่วย “กำหนด” ทิศทางในการเดินหน้าโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมที่สำคัญของประเทศ และมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ทั้งนี้ เชื่อแน่ว่า ถ้าเจ้ากระทรวง สั่งให้ รฟม. ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ผู้ว่า รฟม. ย่อมต้องปฏิบัติตาม

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก มีเอกชนซื้อซอง 10 ราย แทบทุกรายเป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่
1.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM
2. บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
3. บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS
4. บมจ.ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น หรือ STEC
5. บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD
6. บมจ. ราช กรุ๊ป หรือ RATCH
7. บมจ. ช.การช่าง หรือ CK
8. บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ
10.บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะถึงวันยื่นซองประมูลตามที่กำหนดไว้เดิม 23 กันยายน 2563 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ก็เกิดความไม่แน่นอน ที่อาจทำให้โครงการต้องล่าช้าออกไปอีกเมื่อ รฟม. “ยอม” แก้เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกใหม่ ตามความต้องการของอิตาเลียน ไทยฯ หนึ่งในผู้ที่จะเข้าประมูล

เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การแก้เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน เข้าร่วมลงทุน ก็เหมือนการแก้ข้อสอบใหม่ หลังจากครูแจกข้อสอบไปแล้ว นักเรียนทุกคนเห็นข้อสอบแล้ว แต่เมื่อนักเรียนคนหนึ่ง ยกมือขึ้นบอกว่า ครูครับ ขอแก้ข้อสอบใหม่ตามนี้ๆ และครูก็ตามใจ แม้นักเรียนที่เหลือทั้งห้องจะท้วงว่า ไม่เป็นธรรม แต่ครูบอกว่า แก้ได้ เพราะเป็นอำนาจของครู

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก เป็นการลงทุนในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนรัฐ หรือพีพีพี (PPP) คือ เอกชน ลงทุนก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และเดินรถ โดย รฟม. จะจ่ายเงินอุดหนุนค่าก่อสร้างงานโยธา หลังจากที่ก่อสร้างเสร็จ เปิดการเดินรถแล้วซึ่ง “ตัวเลช” เงินอุดหนุนที่เอกชนผู้เข้าร่วมลงทุนต้องการให้ รฟม. จ่ายให้ คือ เงื่อนไขสำคัญที่ชี้ขาดว่า ใครจะได้รับการคัดเลือก ผู้ที่ขอเงินอุดหนุนน้อย ก็จะทำให้ รฟม. ประหยัดงบประมาณ เพิ่มโอกาสในการได้รับคัดเลือก

การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP ผู้เสนอตัวร่วมลงทุน ต้องยื่นซอง 3 ซอง ให้พิจารณา แบบแพ้คัดออก คือ ซองที่ 1 คุณสมบัติเบื้องต้น หากผ่านซองที่ 1 จะมีการเปิดซองที่ 2 คือ ซองเทคนิค หากได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าสอบตก หมดสิทธิ์เข้าไปแข่งในรอบสุดท้าย ผู้ที่สอบผ่านจะได้ไปต่อ ไปเปิดซองที่ 3 คือ วงเงินที่ขอให้รัฐอุดหนุน และผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐจะได้

โดยการขายซองประมูลเมื่อวันที่ 10-24 กรกฎาคม 2563 รฟม. ใช้เกณฑ์คัดเลือกข้างต้น คือ พิจารณาซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค และซองการเงิน ตามลำดับ กำหนดให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 23 กันยายน 2563 และประมาณการณ์ไว้ว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในเดือนธันวาคม ปีนี้แต่ถัดมาแค่ 1 เดือน นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ออกมาประกาศว่า รฟม. ขอแก้ไขหลักเกณฑ์ใหม่ โดยจะพิจารณาซองเทคนิค ร่วมกับซองการเงิน โดยให้คะแนนซองเทคนิค 30% ซองการเงิน 70% โดยอ้างว่า ตอนแรกที่ประกาศเกณฑ์คัดเลือกเดิมที่ใช้คะแนนซองการเงิน 100% นั้น มีเวลากระชั้นชิด ไม่มีโอกาสพิจารณาให้ละเอียด แต่ถึงจะแก้เกณฑ์ใหม่ ก็ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะยังไม่มีการเปิดซอง อีกทั้งเลื่อนกำหนดการยืนซองประมูลออกไปเป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563

น่าสนใจว่า ปัจจัยที่ทำให้ รฟม. เจ้าของโครงการยินยอมปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการประมูล มาจากเหตุผลเพียงหนึ่งเดียว จากผู้ประมูลเพียงรายเดียวในจำนวนผู้ซื้อซอง 10 ราย คือ “อิตาเลียน ไทยฯ” ที่เข้าไปนำเสนอผ่านคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสากิจแห่งชาติก่อนหน้าว่า การประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน ไม่ควรพิจารณาข้อเสนอการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวม ที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

โดยพลันที่ รฟม. มีคำประกาศข้างต้นออกมาโดย BTSC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มบีทีเอส และเป็นหนึ่งในผู้ที่จะเข้าร่วมเสนตัวลงทุนแสดงความชัดเจนทันทีว่า “ไม่เห็นด้วย” และเข้ายื่นฟ้องปกครองเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว ขอให้สั่งให้ รฟม. กลับไปใช้เกณฑ์เดิม ซึ่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยระบุว่าไม่เป็นธรรม และขอให้ รฟม. กลับไปใช้เกณฑ์เดิม ระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาออกมา ซึ่งศาลปกครองก็มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมาเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563

ล่าสุด รฟม. ก็เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองสูงสุด ภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งทำให้เห็นแนวโน้มชัดเจนแล้วว่า กำหนดการยื่นซอง รวมไปถึงการเซ็นสัญญาคงต้องเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด จนกว่าศาลปกครองจะตัดสิน ผลกระทบต่อเนื่องก็คือ เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี ) ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่และคืบหน้าแล้วราว 70% เมื่อสร้างเสร็จตามกำหนดภายในปี 2566 ก็0tยังใช้ไม่ได้ เพราะงานระบบ ถูกนำมาไว้กับโครงการรถไฟสายสีส้มตะวันตกที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้

อีกข้อสังเกตถึง “ประโยชน์ที่รัฐพึงได้” ในกรณีปรับเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลโครงการนี้ ก็คือ ข้อเสนอทางการเงินนั้น วัดได้ว่า ใครให้มากกว่า ใครขอน้อยกว่า เพราะเป็นตัวเลข ไม่ต้องตีความ ส่วน “ผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวม“ และคะแนนทางเทคนิค (ที่ถูกเพิ่มน้ำหนักขึ้นมาในเกณฑ์ใหม่) ไม่มีมาตรวัดที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับ “ดุลพินิจ” ของผู้ตัดสิน ซึ่งมีโอกาสที่จะเอนเอียงไปตามปัจจัยหลายๆอย่าง ที่มองไม่เห็น

ขณะที่ การก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งแบบยกระดับ และใต้ดินนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่มีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อนพิสดาร บริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ของไทย ทุกแห่งล้วนมีประสบการณ์มาแล้ว เรื่องเทคนิคจึงไม่มีผลต่อโครงการ เมื่อเทียบกับข้อเสนอตัวเลขผลตอบแทน และเงินอุดหนุนที่ขอจากรัฐ เป็นเรื่องที่มีผลต่อโครงการ เพราะหมายถึง เงินภาษีของประชาชนที่รัฐต้องจ่ายมากขึ้น หากผู้เข้าร่วมประมูลขอเงินอุดหนุนสูง

มาถึงชั่วโมงนี้ บนเวทีศึกชิงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ที่มีมูลค่าการลงทุนหลักแสนล้านบาท คงจำเป็นต้องพึ่งพาบทบาทของเจ้ากระทรวงคมนาคม ให้มาเป็น “กรรมการตัดสิน” เพื่อให้บ้านเมืองได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย และประชาชนที่เฝ้ารอได้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายนี้ “ไม่รอเก้อ”

และอย่าลืมว่าแม้ รฟม. มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การคัดเลือกใหม่ ตามอำนาจต่างๆ ที่กล่าวอ้างไว้ข้างต้น แต่การเปลี่ยนแปลง ควรต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้น เป็นธรรมกับผู้ร่วมประมูลทุกฝ่าย ไม่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ใช่เปลี่ยนเพราะมีผู้เข้าร่วมประมูลรายหนึ่งต้องการให้เปลี่ยน เพราะควรตระหนักถึงผลเสียหายต่อเนื่องด้วยว่า “จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน ทั้งต่างชาติและไทย” อย่างแน่นอน

คนกรุงเซ็งเป็ด! ย้อนไทม์ไลน์'สายสีส้ม' แก้'TOR'ไม่เห็นหัวชาวบ้าน?
วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 18.34 น.


“รถไฟฟ้าสายสีส้ม” เป็นอีกหนึ่งโครงการเชื่อมกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนครเข้าด้วยกันและเป็นการเชื่อมในระดับย่านชานเมืองฝั่งหนึ่งถึงย่านชานเมืองอีกฝั่งหนึ่ง



กล่าวคือ เริ่มจากย่านบางขุนนนท์ ฝั่งธนบุรี ผ่าน รพ.ศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ข้ามเข้าสู่ฝั่งพระนครโดยผ่านเขตเมืองเก่าเกาะรัตนโกสินทร์ จากนั้นไปทางตะวันออกผ่านย่านประตูน้ำ เข้าย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก-บางกะปิ) จนไปสุดสายที่ ถ.สุวินทวงศ์ย่านมีนบุรี รวมระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นเส้นทางอุโมงค์ลอดใต้ดิน 27 กิโลเมตร และยกระดับลอยฟ้าอีก 8.9 กิโลเมตร

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2563 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกประกาศให้บริษัทเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายนี้ สามารถซื้อเอกสารเพื่อร่วมประมูลตั้งแต่วันที่ 10-24 ก.ค. 2563 โดยแบ่งระยะการลงทุนดังนี้ “ระยะที่ 1 : การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการจัดหาระบบรถไฟฟ้า” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ “ส่วนที่ 1”การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการ ส่วนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย -สุวินทวงศ์) เป็นระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน




“ส่วนที่ 2” การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้งทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) เป็นระยะเวลา 6 ปี กับ “ระยะที่ 2 : การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา” เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการส่วนตะวันออก

แต่แล้วในเวลาต่อมา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนี่ก็ “ส่อวุ่น” โดยเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2563 ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ไปแจ้งความกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีได้รับเรื่องร้องเรียนว่า “คณะกรรมการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (มาตรา 36) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 128,128 ล้านบาท ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2563เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR)”

ทั้งที่มีการซื้อขายซองประกวดราคาเสร็จสิ้นไปแล้ว 10 บริษัท!!!

เหตุผลของการเข้าแจ้งความดังกล่าวศรีสุวรรณ ระบุว่า พบข้อพิรุธ เช่น 1.มีบริษัทเอกชนรายหนึ่งซึ่งยื่นซองประมูลได้ขอเปลี่ยนแปลง TOR และคณะกรรมการฯ ก็รับข้อเสนอ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ทั้งที่เงื่อนไข TOR ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเองได้ต้องเป็นไปตามระเบียบทางราชการ พร้อมรับฟังความเห็นต่างๆของผู้มีส่วนได้เสีย และต้องยื่นให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ โดยถือประโยชน์ของรัฐมากที่สุด

2.การพิจารณาจะแยกซองเทคนิคหากผ่านตามเกณฑ์ จึงจะเปิดซองการเงินตามลำดับ แต่การประกวดครั้งนี้กลับนำซองเทคนิคมาคิดคะแนนรวมกับซองการเงิน โดยกำหนดสัดส่วนการให้คะแนน 30/70 หากรายใดได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะได้รับการคัดเลือก และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ ซึ่งอาจมีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จึงต้องขอให้ DSI ช่วยตรวจสอบ

“ข้ออ้างของทางคณะกรรมการ รฟม.ออกมาบอกว่า เนื่องจากโครงการนี้ส่วนหนึ่งต้องก่อสร้างใต้ดินลอดแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ที่ผ่านมา รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินก็สร้างลอดแม่น้ำเจ้าพระยาและยังใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขTORใดๆ หรือไม่มีเงื่อนไขในการเปิดซองที่จะต้องรวมซองเทคนิคกับซองราคาไว้ด้วยกันเหมือนกรณีครั้งนี้ ซึ่งครั้งนี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย จึงน่าจะเข้าข่ายความผิดกฎหมายหลายฉบับและหลายมาตรา” ศรีสุวรรณ กล่าว



เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563 สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ “BTSC” บริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งไปยื่นหนังสือต่อ องค์การต่อต้านการคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้เปิดเผยว่า BTSC ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ไปเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2563 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ รฟม. และ คกก.คัดเลือกฯ กลับไปใช้หลักเกณฑ์ TOR เดิม ไม่ใช่หลักเกณฑ์ใหม่ที่มาแก้ไขหลังปิดขายซองประกวดราคาไปแล้ว

สุรพงษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า “แนวปฏิบัติของการยื่นซองประกวดราคาโครงการอื่นๆ ที่ผ่านมา จะเป็นการพิจารณาทีละขั้น (หรือทีละซอง) ไล่ตั้งแต่คุณสมบัติ เทคนิคและราคาตามลำดับ โดยกำหนดให้เอกชนที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติแล้วจึงจะเข้ารับการประเมินด้านเทคนิค และเอกชนที่ผ่านการประเมินด้านเทคนิคแล้วจึงเข้าสู่การประเมินด้านราคา” ซึ่งเมื่อมาถึงขั้นนี้ เอกชนที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุดก็จะได้รับการคัดเลือก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ หลักเกณฑ์ใหม่นำการประเมินด้านเทคนิคและด้านราคามารวมกัน บวกกับมีการใช้ดุลพินิจมาก อาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้

“ในคุณสมบัติมีการกำหนดว่า ต้องมีประสบการณ์ในการทำอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5 เมตร และมีมูลค่าโครงการไม่น้อยกว่า 5 พันล้านบาท ยอมรับว่าเรามีประสบการณ์ด้านนี้เพียงแต่ไม่มีประสบการณ์ที่ทำงานอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเวลานี้ในไทยมีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่มีประสบการณ์ด้านนี้และใน TOR ก็มีหมายเหตุไว้ว่า หากเป็นผู้รับเหมาไทยและมีประสบการณ์ด้านนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

การยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เราไม่ได้ต้องการให้ล้มประมูล เพราะจะทำให้เสียเวลา ขณะนี้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)ก็มีความคืบหน้าไปมากแล้ว หากให้ล้มประมูลประเทศชาติก็จะได้รับความเสียหาย ดังนั้นจึงอยากให้ รฟม. กลับมาใช้เกณฑ์เดิมแบบถูกต้อง” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าว

ต่อมาวันที่ 14 ต.ค. 2563 มีรายงานว่า ศาลปกครองกลาง นัดไต่สวนในคดีที่ BTSC ยื่นฟ้อง คกก.คัดเลือกตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (มาตรา 36) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และพวกรวม 2 คน โดยขอให้เพิกถอนมติ คกก.คัดเลือกฯ กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข TOR ที่ให้นำข้อเสนอทางด้านเทคนิคมาให้คะแนนควบคู่กับข้อเสนอด้านราคา หลังจากที่มีการปิดการขายซองประมูลไปแล้ว



เนื่องจากเห็นว่าก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกับเอกชนบางราย พร้อมกับขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยสั่งระงับการเปิดรับข้อเสนอของเอกชนในวันที่9 พ.ย. 2563 ไว้ก่อน จากนั้นในวันที่ 21 ต.ค. 2563 ศาลปกครองกลางจึงมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม. กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมคือ เปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงิน และซองข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติมจนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมา

ในเวลานั้น สุรพงษ์ ให้ความเห็นว่า การที่ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม.ใช้เกณฑ์เดิมในการประเมินการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำตัดสินเนื่องจากต้องใช้เวลาพิจารณา ก็ขึ้นอยู่กับ รฟม.ว่าจะดำเนินการประมูลอย่างไรต่อไป แต่ทั้งนี้ “รฟม.ต้องใช้เกณฑ์ที่มีการแยกการประเมินข้อเสนอด้านการเงินและด้านเทคนิคออกจากกัน เพื่อให้คะแนน และพิจารณาผู้ชนะตามราคาที่เสนอตามที่ประกาศไว้เดิม” ไม่ใช่ใช้ประกาศใหม่

ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2563 คฑาภณ สนธิจิตร นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชน (ประเทศไทย) และรองประธานเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) ได้ไปร้องเรียนกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ตรวจสอบผู้ว่าการ รฟม. รวมถึง คกก.คัดเลือกฯ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยให้เหตุผลว่า จากการติดตามตรวจสอบเส้นทางการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงินลงทุน 142,789 ล้านบาทของ รฟม.

ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้เข้าร่วมลงทุนตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 2563และมีกำหนดยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 23 ก.ย. 2563พบว่า หลังปิดขายซองประมูลไปร่วม 2 เดือน รฟม. และคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกกลับมีการพิจารณาเห็นชอบ ให้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการใหม่ โดยปรับเปลี่ยนจากรูปแบบเดิม ที่จะพิจารณาซองข้อเสนอด้านการเงิน และผลตอบแทนการลงทุนจากบริษัทเอกชนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคแล้วเท่านั้น

โดยปรับเปลี่ยนเป็นการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคควบคู่กับด้านราคา (สัดส่วน 30:70) โดยอ้างว่า มีบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูลร้อง และ คกก.คัดเลือกฯ (คณะกรรมการตามมาตรา 36แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562) เสียงส่วนใหญ่ให้ความเห็นชอบแล้ว พร้อมมีมติให้ขยายระยะเวลาในการยื่นข้อเสนอออกไป 45 วัน เป็นวันที่ 9 พ.ย. 2563

นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชน (ประเทศไทย) กล่าวต่อไปว่า แม้จะมีเสียงทักท้วงจาก องค์การต่อต้านการคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และทาง BTSC ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง จนศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม. และ คกก.คัดเลือกฯ กลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิม แต่ รฟม.ยังเดินหน้าอุทธรณ์ต่อโดยหวังว่าจะสามารถใช้หลักเกณฑ์ใหม่ได้ จึงต้องขอให้ ป.ป.ช. ช่วยตรวจสอบด้วยว่า มีความพยายามเอื้อประโยชน์แก่เอกชนบางรายหรือไม่

ถึงกระนั้น มีรายงานข่าวในวันที่ 5 พ.ย. 2563 ว่า “รฟม. ยังคงให้เอกชนยื่นข้อเสนอประกวดราคา ในวันที่ 9 พ.ย. 2563 เวลา 09.00-15.00 น. ตามเดิม” เพราะศาลปกครองมีเพียงคำสั่งทุเลาการใช้หลักเกณฑ์ใหม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอประกวดราคาแต่อย่างใด และยืนยันว่า “จะไม่มีผลกระทบกับเอกชนที่ยื่นซองประมูล ไม่ว่าสุดท้ายแล้วจะใช้เกณฑ์เดิมหรือเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาตัดสินผู้ชนะประมูลก็ตาม” เพราะการยื่นข้อเสนอนั้นเป็นข้อมูลคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนเดิมทุกอย่าง

แม้ ณ วันนี้ ยังต้องรอการชี้ขาดจากศาลปกครองว่า รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (มาตรา 36) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีอำนาจแก้ไข TOR ได้เอง หลังจากปิดการขายซองประมูลซึ่งมีหลายบริษัทซื้อซองไปแล้วหรือไม่ แต่ประเด็นที่ว่า “จำเป็นเพียงใดถึงขั้นต้องแก้ TOR ในชั้นนี้” ก็เป็นสิ่งที่สังคมกำลังตั้งคำถาม

หากทั้ง รฟม. และ คกก.คัดเลือกฯ ไม่สามารถอธิบายให้คลายความกระจ่าง เสียงครหาเรื่อง “เอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย” ก็ยังคงดังเซ็งแซ่ต่อไป!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/11/2020 10:51 am    Post subject: Reply with quote

ดันทุรัง ประมูล สายสีส้ม
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ยังไม่มีความชัดเจน ว่า จะยึดเกณฑ์ประมูลโครงการรถไฟฟาสายสีส้ม (บางขนนนท์-มีบุรี) ฉบับเดิมหรอตามเกณฑ์ที่ได้ร้อใหม่ แต่การรถไฟฟาขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กลับดันทุรังประกาศเดินหน้า ให้เอกชนยื่นซองตามกำหนดวันเวลาเดิม วันที่ 9 พฤศจกายน

ตามมติคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 หลังศาลมีคำสั่งทุเลาการใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) ฉบับแก้ไขใหม่ เนื่องจากฝ่ายกฎหมาย รฟม. ตีความ ว่า คำสั่งศาลเป็นคำสั่งทุเลาเฉพาะการใช้เกณฑ์ทีโออาร์ใหม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับขั้นตอนการเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอแต่อย่างใด

ดังนั้น บอร์ดตามมาตรา 36 จึงมีมติให้รฟม.เดินหน้าเปิดยื่นเอกสาร ตามวันเวลาดังกล่าว และคาดว่าจะกำหนดเปิดซอง 1 ซึ่งเป็นซองคุณสมบัติ ได้ ภายใน 14 วัน นับจากวันยื่นซอง ส่วนซอง 2 ซองเทคนิคร่วมกับราคา พิจารณาสัดส่วน คะแนนเทคนิค 30% ราคา 70% นั้น รฟม. มีแผนตั้งรับ เพื่อรอคำสั่งอุทธรณ์ที่รฟท.ยื่นฟ้องสวนกลับกรณี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน อีกทั้งยังรอคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ว่าจะมีคำสั่งชี้ขาดออกมาทางใด หากมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางให้ทุเลาการใช้เกณฑ์การปรับปรุงใหม่ เท่ากับว่า รฟม.และ คณะกรรมการ ตามมาตรา 36 ต้อง ม้วนแผน กลับไปใช้เงื่อนไขทีโออาร์เดิม หรืออาจถึงขั้นล้มประมูลนับหนึ่งใหม่ ส่งผลให้เสียเวลาเสียงงบประมาณตามมา

อย่างไรก็ตาม ในแวดวงผู้รับเหมาต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าหากศาลปกคลองกลางมีคำสั่งใดๆออกมา รฟม.และคณะกรรมการ มาตรา 36 ควรยุติทุกขั้นตอนการยื่นซองไว้ก่อน จนกว่าคำสั่งอุทธรณ์ ตามที่ รฟม. ยื่นฟ้องสวน และคำสั่งชี้ขาด ศาลปกครองสูงสุดจะออกมา

ไม่เพียงเท่านั้น คณะกรรมการตามมาตรา 36 ยังมีมติ แต่งตั้งคณะกรรมการรับข้อเสนอฯ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรจากฝ่ายต่างๆ ประมาณ 5 คน ได้แก่ ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง, ฝ่ายพัฒนาโครงการ, ฝ่ายบัญชี และฝ่ายการเงิน โครงการสายสีส้ม เต็มรูปแบบ ท่ามกลางเสียงคัดค้านองค์กรต่างๆ ต่อปมการรื้อเกณฑ์ประมูลครั้งนี้ว่า อาจส่อไปในทางทุจริตเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางกลุ่ม ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชน (ประเทศไทย) และเครือข่ายสื่อมวลชนต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ส.ท.ช.) เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบเอาผิด ผู้ว่ารฟม. และคณะกรรมการตามมาตรา 36 รถไฟฟ้าสายสีส้ม เนื่องจากมีพฤติการณ์ไม่โปร่งใสเช่นเดียวกับ นายสามารถราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซ บุ๊กส่วนตัว ท้วงติง รฟม.และคณะกรรมการ ตามาตรา 36 ที่ว่า เสียงส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้รื้อเกณฑ์ทีโออาร์ เนื่องจากเอกชนซื้อซองไปแล้วอาจเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ

เช่นเดียวกับ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ที่ก่อนหน้านี้มีหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ตรวจสอบปมฉาวเรื่องนี้เป็นการด่วน รวมถึงกลุ่มบีทีเอสที่ นอกเหนือจากการยื่นฟ้องศาลปกครองแล้วยัง ยื่นเรื่องไปยังองค์กรต้านคอร์รัปชันอีกชั้นหนึ่งด้วย แม้ว่า องค์กรณ์นี้จะไม่มีอำนาจชี้ขาด ทางกฎหมายแต่ มีผลต่อสิ่งที่สะท้อนออกสู่สังคมสาธารณะให้รับรู้รับทราบ

คงต้องจับตาว่า ในที่สุดแล้ว ปมร้อนรื้อเกณฑ์ประมูลสายสีส้มมูลค่า 1.42 แสนล้าน จะจบลงอย่างไร

ต้องจับตา

ว่าในที่สุดแล้ว ปมร้อนรื้อเกณฑ์ประมูลสายสีส้มมูลค่า 1.42 แสนล้าน จะจบลงอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2020 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

ศึกนี้อีกนานชิงสายสีส้มแสนล้าน ยื่นซอง 9 พ.ย. “BTS-BEM” สู้ยิบตา
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 - 13:00 น.


9 พ.ย.ยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.28 แสนล้าน BTS ควงซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป แข่ง BEM-ช.การช่าง-อิตาเลียนไทยฯ ไร้เงากัลฟ์ “คีรี” ลั่นสู้ยิบตา รฟม.ยื่น 4 ซองเกณฑ์เดิม ยื่นอุทธรณ์จ่อใช้เกณฑ์ใหม่รวบเทคนิค-ราคาพิจารณาร่วม ลุ้นศาลตัดสินก่อนเปิดข้อเสนอ สำนักงบฯเชียร์ใช้เกณฑ์ราคาชี้ขาด

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 9 พ.ย.นี้ รฟม.จะเปิดยื่นซองประมูล PPP net cost 30 ปี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 142,789 ล้านบาท โดยยื่น 4 ซองตามเกณฑ์เดิม ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การลงทุน ผลตอบแทน และข้อเสนออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ

รฟม.ขอใช้เกณฑ์ใหม่
หลังศาลปกครองมีคำสั่งทุเลา เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2563 กรณี บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ยื่นฟ้องต่อศาลคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม.กลับมาใช้เกณฑ์เดิมพิจารณาผลประมูล หลังจาก รฟม.แจ้งเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ที่แก้ไขเพิ่มเติม จากเดิมพิจารณาทีละซอง หลังเปิดซองคุณสมบัติแล้ว จะเปิดข้อเสนอเทคนิคและการเงินควบคู่กัน และนำคะแนนเทคนิค 30% พิจารณาร่วมกับการเงินอีก 70% ซึ่งในจำนวนนี้จะมีคะแนนความสมเหตุสมผลของราคาอีก 10% ซึ่งผู้ชนะคือผู้ที่ให้ผลประโยชน์รัฐดีที่สุด

เกณฑ์พิจารณาด้านเทคนิค 30% เช่น การก่อสร้าง บริหารจัดการจราจร ผลกระทบจากงานก่อสร้างพื้นที่โดยรอบ เพราะแนวพาดผ่านเกาะรัตนโกสินทร์เป็นพื้นที่อ่อนไหว เป็นการสร้างอุโมงค์ตลอดสายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5 เมตร ด้านการเงิน 70% อาทิ วงเงินให้รัฐสนับสนุนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท รัฐชำระคืนพร้อมดอกเบี้ย 7 ปี นับจากเริ่มสร้าง

2 ปี ผลตอบแทนที่ให้รัฐ 30 ปี
“การปรับเกณฑ์ใหม่อยู่ในช่วงเวลาเตรียมให้เอกชนยื่นซอง สามารถทำได้ รฟม.ทำตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย รวมถึงคณะกรรมการมาตรา 36 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่รัฐจะได้รับจากผู้ร่วมลงทุนที่มีศักยภาพด้านเทคนิคสร้างรถไฟฟ้า ได้มาตรฐานและความปลอดภัยสูงที่สุดต่อประชาชนที่ใช้บริการ” นายภคพงศ์กล่าวและว่า

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2563 รฟม.และคณะกรรมการตามมาตรา 36 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลางที่ให้คุ้มครอง BTSC ขณะนี้รอฟังความตัดสินจากศาลจะรับอุทธรณ์หรือไม่ และใช้เวลาพิจารณานานแค่ไหน คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน

“ยังระบุไม่ได้ว่า เมื่อเปิดซองคุณสมบัติ 23 พ.ย.นี้ จะใช้เกณฑ์เก่าหรือใหม่ พิจารณาซองเทคนิคและการเงิน แต่ไม่ว่าผลจะออกมาแบบใด รฟม.พร้อมปฏิบัติตาม”

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการมาตรา 36 กล่าวว่า ที่ประชุมวันที่ 4 พ.ย.ให้ รฟม.ประมูลตามเกณฑ์เดิม ตามแผนเมื่อเปิดซองคุณสมบัติวันที่ 23 พ.ย. จะประกาศผลผู้ผ่านพิจารณา 1 สัปดาห์ คาดว่าช่วงเวลาดังกล่าว ศาลน่าจะมีคำตัดสินออกมาแล้ว จะใช้เกณฑ์เก่าหรือใหม่ตัดสินผู้ชนะ และทราบผลผู้ชนะเดือน ธ.ค. 2563-ม.ค. 2564



“ที่เป็นปัญหาคือซองเทคนิคและการเงิน จะเปิดพิจารณาทีละซอง โดยใช้ราคาเป็นตัวตัดสินหรือเปิดพร้อมกัน รอผลจากศาล”

2 กลุ่มแข่งเดือด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกชน 10 ราย ซื้อซองประมูล ได้แก่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM) บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ราช กรุ๊ป บมจ.ช.การช่าง บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ บจ.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ บจ.วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า คาดมี 2 กลุ่มยื่นประมูล คือ กลุ่ม BTS ร่วมกับพันธมิตรเดิมที่ลงทุนสายสีชมพูและสีเหลือง ได้แก่ ซิโน-ไทยฯ ราชกรุ๊ป จากเดิมจะมีกัลฟ์ฯด้วย เพราะร่วมกับบีทีเอสได้งานระบบจัดเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี แต่ล่าสุดอาจจะถอนตัว เพราะรถไฟฟ้าไม่ใช่ธุรกิจที่อยู่ในความสนใจมากนัก อีกรายคือ กลุ่ม BEM จะร่วมกับ ช.การช่าง และอาจจะมีอิตาเลียนไทยฯด้วย

“การแข่งขันดุเดือดเพราะใหญ่ทั้งคู่ จุดชี้ชะตาอยู่ที่เกณฑ์พิจารณาจะเป็นใช้ราคาเป็นตัวตัดสินตามเดิม ทาง BTS จะได้เปรียบ หรือจะใช้เทคนิคมาเป็นร่วมด้วยตามเกณฑ์ใหม่ หากใช้เกณฑ์นี้ BEM และ ช.การช่าง จะได้เปรียบเช่นกัน แต่ต้องรอดู รฟม.จะยกเลิกประมูลหรือไม่ หากศาลไม่รับอุทธรณ์”

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า กลุ่มบีทีเอสและพันธมิตร ได้แก่ บีทีเอสซี ซิโน-ไทยฯ และราชกรุ๊ป เข้ายื่นซองประมูลสายสีส้มแน่นอน และสู้เต็มที่ บริษัทคาดหวังจะเป็นผู้ชนะ เพราะเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญในการเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นในสนามแข่งขัน

“ต้นทุนผมคือแค่แพ้ แต่ขอให้รัฐทำให้ถูกต้องตามกฎกติกา”

ก่อนหน้านี้ นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BEM กล่าวว่า จะร่วมกับ ช.การช่างประมูลสายสีส้ม และมีความมั่นใจ เพราะมีประสบการณ์สร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน รู้ต้นทุนดี เป็นข้อได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งพร้อมทั้งแหล่งเงินทุนและพันธมิตรด้านซัพพลายเออร์”เป็นโครงการใหญ่ในปีนี้ ต้องสู้กันเต็มที่ ใครบริหารต้นทุนการเงินดี มีโอกาสชนะสูง”

แหล่งข่าวจากสำนักงบประมาณกล่าวว่า สำนักงบประมาณยังยืนยันให้ รฟม.ใช้เกณฑ์เดิมพิจารณาผู้ชนะ เปิดทีละซอง ยึดการเงินเป็นหลัก เพราะดูแล้วเทคนิคไม่น่าจะต่างกันมาก จะได้ประหยัดงบฯรัฐบาล เพราะต้องจ่ายค่าก่อสร้างพร้อมดอกเบี้ยคืนเอกชน ซึ่งโครงการนี้จะมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 40,000 ล้านบาท

เปิดเกณฑ์พิจารณาฉบับเก่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในรายละเอียดทีโออาร์การพิจารณาตามเกณฑ์เดิม เมื่อเปิดซองคุณสมบัติ จะเปิดซองเทคนิค ผู้ผ่านการพิจารณาจะต้องได้คะแนนการประเมินรวมไม่น้อยกว่า 85% ถึงจะเปิดซองข้อเสนอการเงิน จะแสดงรายละเอียดบัญชีปริมาณงานของงานโยธา ระบบ งานเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา แผนธุรกิจและการเงิน การระดมทุน การใช้จ่าย บริหารความเสี่ยง และผลตอบแทนที่จะให้ รฟม. หรือเงินสนับสนุนจะขอรับ เมื่อผู้ผ่านประเมินซองเทคนิคและ รฟม.ตรวจสอบแล้วซองการเงินน่าเชื่อถือตามเงื่อนไข ถึงจะประเมินข้อเสนอการเงิน โดยผู้ให้ประโยชน์รัฐสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ โดยจะยึดถือเงินสนับสนุนที่ผู้ยื่นข้อเสนอระบุในซองที่ 3 เป็นสำคัญ

และจะถือว่าจำนวนดังกล่าวได้ประเมินปริมาณงานโยธา งานระบบ การให้บริการการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา รวมถึงมูลค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตลอดระยะเวลาสัญญา อย่างถี่ถ้วนครบทุกมิติแล้ว

กรณีที่มีผู้ยื่นข้อเสนอเท่ากัน จะนำคะแนนเทคนิคมาเปรียบเทียบจัดลำดับหาผู้ชนะ ส่วนข้อเสนอซองที่ 4 รฟม.สงวนสิทธิ์จะพิจารณาหรือไม่ก็ได้

ศูนย์วัฒนฯ-มีนบุรีสร้างคืบ 70%
สายสีส้มเป็นโครงการ PPP net cost ก่อสร้างช่วงตะวันตก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ” ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-บางขุนนนท์ 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท รัฐจ่ายค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท อยู่ระหว่างออก พ.ร.ฎ.เวนคืน และสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท

ปัจจุบัน รฟม.สร้างช่วงตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” มีโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ ความคืบหน้า ณ เดือน ก.ย. 69.82% จะสร้างเสร็จปลายปี 2565 พร้อมเปิดบริการปี 2567 ส่วน “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ” เป็นใต้ดินตลอดสาย จะเปิดปี 2569
https://www.youtube.com/watch?v=WupGFxEV9Nk


Last edited by Wisarut on 09/11/2020 3:26 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2020 12:02 am    Post subject: Reply with quote

พล.อ.ประยุทธ์รู้ไหม ใครกำลังขวางรถไฟฟ้าสายสีส้ม
โดย: "โชกุน"
ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:55

รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในยุคปลอดนักการเมือง (สิงหาคม 2557- กรกฎาคม 2562) มีผลงานที่โดดเด่นเป็นประโยชน์กับประเทศในระยะยาว คือ การลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบราง ทั้งโครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลหลายสายที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประชารัฐ และการลงทุนในโครงการอีอีซี ที่ประกอบด้วยสนามบินอู่ตะเภา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด-แหลมฉบัง

พอมาถึงรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ชุดนี้ (กรกฎาคม 2562-ปัจจุบัน) ที่เป็นรัฐบาลผสม จำเป็นต้องยกกระทรวงใหญ่ๆ ที่รับผิดชอบเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของชาติ อย่างเช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลดูแล ปรากฏว่า หนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา ไม่มีโครงการใหม่ๆ ออกมาเลย โครงการที่เกิดขึ้นในรัฐบาลที่แล้ว แต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีการสานต่อ บางโครงการถูกเตะถ่วงดึงเรื่องให้ล่าช้าออกไป

ลองนึกดู ในรัฐบาลนี้ที่มีนักการเมืองเป็นรัฐมนตรีกระทรวงด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีโครงการใหญ่ๆ อะไรบ้าง ไม่มีเลย ใช่ไหม

ล่าสุด โครงการที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ ชุดปลอดนักการเมือง และน่าจะแจ้งเกิดเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โครงการแรกของรัฐบาลประยุทธ์ที่ผสมกับพรรคการเมือง คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ก็เกิดความไม่แน่นอน ที่อาจทำให้โครงการต้องล่าช้าออกไปอีก เพราะหน่วยงานเจ้าของโครงการในสังกัดกระทรวงคมนาคมคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ยอมแก้เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกใหม่ ตามความต้องการของบริษัท อิตาเลียน ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ที่จะเข้าประมูล

การแก้เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน ก็เหมือนการแก้ข้อสอบใหม่ หลังจากครูแจกข้อสอบไปแล้ว นักเรียนทุกคนเห็นข้อสอบแล้ว มีนักเรียนคนหนึ่ง ยกมือขึ้นบอกว่า ครูครับ ขอแก้ข้อสอบใหม่ เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ครูก็ใจดี ยอมแก้ข้อสอบตามโพยที่นักเรียนคนนั้นส่งให้ ทำให้นักเรียนคนอื่นๆ ท้วงว่า ไม่เป็นธรรม เพราะเป็นการแก้ข้อสอบ ตามความต้องการของผู้เข้าสอบคนหนึ่ง หลังจากเห็นข้อสอบแล้ว ถ้าจะแก้ ควรแก้ก่อนแจกข้อสอบ แต่ครูบอกว่า แก้ได้ เพราะเป็นอำนาจของครู

ถึงแม้ รฟม.มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การคัดเลือกใหม่ แม้ว่า จะขายเอกสารประมูลไปแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้น และต้องเป็นธรรมกับผู้ที่จะเข้าประมูลทุกฝ่าย ไม่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ใช่เปลี่ยนเพราะมีผู้เข้าร่วมประมูลรายหนึ่งต้องการให้เปลี่ยน มิฉะนั้น จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน ทั้งต่างชาติและไทย

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เป็นการลงทุนในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนรัฐ หรือ พีพีพี คือ เอกชนลงทุนก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และเดินรถ โดย รฟม.จะจ่ายเงินอุดหนุนค่าก่อสร้างงานโยธา หลังจากที่ก่อสร้างเสร็จเปิดการเดินรถแล้ว

เงินอุดหนุนที่เอกชนผู้เข้าร่วมลงทุน ต้องการให้ รฟม.จ่ายให้ คือ เงื่อนไขสำคัญที่ชี้ขาดว่า ใครจะได้รับการคัดเลือก ผู้ที่ขอเงินอุดหนุนน้อยมีโอกาสที่จะเป็นผู้ชนะมากกว่าผู้ขอเงินอุดหนุนมาก เพราะทำให้ รฟม.ประหยัดงบประมาณ

การคัดเลือก เอกชนร่วมลงทุนแบบพีพีพี ผู้เสนอตัวร่วมลงทุนต้องยื่นซอง 3 ซอง ให้พิจารณาแบบแพ้คัดออก คือ ซองที่ 1 คุณสมบัติเบื้องต้น หากผ่านซองที่ 1 จะมีการเปิดซองที่ 2 คือ ซองเทคนิค หากได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าสอบตก หมดสิทธิ์เข้าไปแข่งในรอบสุดท้าย ผู้ที่สอบผ่าน จะได้ไปต่อ ไปเปิดซองที่ 3 คือ วงเงินที่ขอให้รัฐอุดหนุน และผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐจะได้

รฟม.ขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนระหว่างวันที่ 10-24 กรกฎาคม โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกที่กล่าวมาข้างต้น คือ พิจารณาซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค และซองการเงิน ตามลำดับ กำหนดให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 23 กันยายน โดยคาดว่า จะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในเดือนธันวาคมปีนี้

อีก 1 เดือนต่อมา รฟม.โดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.แจ้งต่อสาธารณะว่า รฟม.ขอแก้ข้อสอบใหม่ โดยจะพิจารณาซองเทคนิคร่วมกับซองการเงิน โดยให้คะแนนซองเทคนิค 30% ซองการเงิน 70% โดยอ้างว่า ตอนแรกที่ประกาศเกณฑ์คัดเลือกเดิมที่ใช้คะแนนซองการเงิน 100% นั้นมีเวลากระชั้นชิด ไม่มีโอกาสพิจารณาให้ละเอียด แต่ถึงจะแก้เกณฑ์ใหม่ ก็ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะยังไม่มีการเปิดซอง โดย รฟม.เลื่อนกำหนดการยื่นซองออกไปจาก 23 กันยายน เป็น 9 พฤศจิกายน

แต่บีทีเอสซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่จะเข้าร่วมเสนตัวลงทุนไม่เห็นด้วย เพราะการเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ รฟม.ทำตามความต้องการของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้เสนอผ่านคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติก่อนหน้าว่า การประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน ไม่ควรพิจารณาข้อเสนอการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวม ที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

ข้อเสนอทางการเงินนั้น วัดได้ว่าใครให้มากกว่า ใครขอน้อยกว่า เพราะเป็นตัวเลข ไม่ต้องตีความ ส่วน “ผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวม” และคะแนนทางเทคนิค ไม่มีมาตรวัดที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับ “ดุลพินิจ” ของผู้ตัดสิน ซึ่งมีโอกาสที่จะเอนเอียงไปตามปัจจัยหลายๆ อย่างที่มองไม่เห็น

การก่อสร้างรถไฟฟ้า ทั้งแบบยกระดับ และใต้ดินนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่มีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อนพิสดาร บริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ของไทยทุกแห่งล้วนมีประสบการณ์มาแล้ว เรื่องเทคนิคจึงไม่มีผลต่อโครงการ เพราะว่า ใครๆ ก็สร้างได้

เรื่องผลตอบแทน และเงินอุดหนุนที่ขอจากรัฐ เป็นเรื่องที่มีผลต่อโครงการ เพราะ หมายถึง เงินภาษีของประชาชนที่รัฐต้องจ่ายมากขึ้น หากผู้เข้าร่วมประมูลขอเงินอุดหนุนสูง

บีทีเอสกับอิตาเลียนไทย แข่งขันกันในการประมูลโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ หลายๆ โครงการ บีทีเอสโดยพื้นฐานเป็นผู้ให้บริการเดินรถหรือโอปะเรเตอร์ มีบริษัทก่อสร้างที่เป็นพันธมิตร คือ ซิโนทัย อิตาเลียนไทย เป็นบริษัทก่อสร้างมีพันธมิตร คือ บริษัท รถไฟฟ้าและทางด่วนกรุงเทพ หรือ BEM กับ ช. การช่าง

ที่ผ่านมา ช. การช่าง BEM และอิตาเลียนไทย อยู่ในกลุ่มซีพี เอาชนะบีทีเอสในโครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี แต่แพ้บีทีเอสในโครงการสนามบินอู่ตะเภา และระบบเก็บเงินมอเตอร์เวย์

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เป็นอีกสมรภูมิระหว่างบีทีเอสกับอิตาเลียนไทย-ช.การช่าง เมื่อเห็นว่า สู้กันในกติกาเดิมที่วัดกันที่เม็ดเงินอาจจะแพ้ หรือถ้าจะชนะ ต้องเสนอค่าตอบแทนสูง จึงขอแก้ข้อสอบใหม่ โดยที่กรรมการหรือครูก็รู้เห็นเป็นใจ

บีทีเอสจึงต้องพึ่งศาลปกครอง ขอให้สั่งให้ รฟม.กลับไปใช้เกณฑ์เดิม ซึ่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้ รฟม.กลับไปใช้เกณฑ์เดิมระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาออกมา

ล่าสุด รฟม.เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองสูงสุดภายในสัปดาห์นี้ ในขณะที่คงกำหนดการยื่นซองวันที่ 9 พฤศจิกายนตามเดิม ความไม่ชัดเจนไม่แน่นอนนี้ จะมีผลต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกที่อาจจะล่าช้า เพราะต้องรอคำตัดสินของหากศาลปกครองสูงสุด ซึ่งจะทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ สร้างเสร็จแล้วก็ยังใช้ไม่ได้ เพราะงานระบบ ถูกนำมาไว้กับโครงการรถไฟสายสีส้มตะวันตก

เรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญขนาดนี้ ที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และประชาชนที่มีต่อรัฐบาล ยังไม่เห็นบทบาทของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ ถ้าเจ้ากระทรวงสั่งให้ รฟม.ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ผู้ว่าการ รฟม. ย่อมต้องปฏิบัติตาม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2020 11:29 am    Post subject: Reply with quote

BEM-ช.การช่าง ยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นกลุ่มแรก
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 11:33 น.

มาตามนัด! BEM-ช.การช่าง ยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี เป็นกลุ่มแรก คาดกลุ่มบีทีเอสยื่นรอบบ่าย

เมื่อวันที่ 9 พ.ย.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดยื่นซองประมูลPPP net cost 30 ปี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท โดยจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น.

โดยเมื่อเวลา 10.45 น. ทางกลุ่มบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM)และบมจ.ช.การช่างได้ยื่นข้อเสนอเป็นกลุ่มแรก ขณะที่กลุ่มบีทีเอสและพันธมิตร ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(BTSC) บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น มายื่นในช่วงบ่าย

นายวิทูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง BEM เปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ”ว่า การมายื่นซองครั้งนี้มาในนามของ BEM ไม่ได้ร่วมกับบมจ.ช.การช่าง แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม BEM จะต้องร่วมมือกับช.การช่างแน่นอน โดยน่าจะร่วมมือกันในฐานะที่ช.การช่างเป็น Sub Contract


“การยื่นซองประมูลครั้งนี้ขอไม่เปิดเผยว่าเรายื่นโดยใข้หลักเกณฑ์ใด แต่ยืนยันว่าเราได้จัดทำข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้ว” นายวิทูรย์กล่าว

ส่วนการที่ บมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ไม่มาร่วมนั้น ส่วนตัวไม่ทราบ และไม่ได้มีการคุยกัน

BEM มารายแรก! ยื่นชิงสัมปทาน “สีส้ม” 1.42 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12:18 น.


BEM ยื่นรายแรกชิงสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่ากว่า 1.42 แสนล้านบาท พร้อมเอกสารกว่า 200 กล่อง เผยทำข้อเสนอที่ดีที่สุดให้ รฟม.พิจารณา ด้าน BTS คาดว่าจะมาช่วงบ่าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 พ.ย.) ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้กำหนดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.42 แสนล้านบาท โดยเวลาประมาณ 10.50 น. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้เดินทางมาถึง รฟม. โดยมีรถตู้ 2 คัน และรถบรรทุก 6 ล้อ จำนวน 6 คัน ขนเอกสารจำนวน กว่า 200 กล่อง โดยได้ลงทะเบียนยื่นประมูลในเวลา 11.19 น.

ทั้งนี้ BEM ได้ยื่นเอกสารประมูลรายเดียว ไม่ได้รวมกลุ่มกับรายใด ซึ่งผู้บริหาร BEM ระบุว่า บริษัทมีความสามารถและมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า BEM ได้ทำข้อเสนอในเงื่อนไขเดิมหรือเงื่อนไขที่ รฟม.ประกาศ RFP เพิ่มเติม ทาง BEM ตอบสั้นๆ ว่า บริษัทได้ทำข้อเสนอที่ดีที่สุดในการยื่นประมูลครั้งนี้ ส่วนกติกาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาแบบใดนั้น ขณะนี้เรื่องอยู่ที่ศาล ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของบริษัท

รายงานข่าวแจ้งว่า คาดว่าบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS จะยื่นซองประมูลในช่วงบ่าย โดยได้มีการส่งเจ้าหน้าที่พร้อมช่างภาพเข้ามาสังเกตการณ์ตั้งแต่เช้า

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มมีเอกชนซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 10 ราย ดังนี้

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

4. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด

10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
รายแรกมาแล้ว! “บีอีเอ็ม” ยื่นซองประมูลชิงรถไฟฟ้าสีส้ม
*ขนเอกสารกว่า 100 กล่องรถ 8 คัน
*ใช้พนักงานช.การช่างขนกว่า 50 คน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2761532000734967


Last edited by Wisarut on 10/11/2020 11:43 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2020 3:09 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดทความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 ดังนี้
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
8 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10:10 น.

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 71.38%
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 68.31% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 62.91% ความก้าวหน้าโดยรวม 65.96%
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 66.54% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 61.07% ความก้าวหน้าโดยรวม 64.23%
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2655098371373547
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 39, 40, 41 ... 89, 90, 91  Next
Page 40 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©