RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180249
ทั้งหมด:13491483
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 40, 41, 42 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2020 3:13 pm    Post subject: Reply with quote

BTSC จ่อยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12:54 น.

รฟม.เปิดให้เอกชนยื่นซองประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผู้บริหาร BTSC การันตี มายื่นซองประมูลโครงการแน่นอน


เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เป็นวันครบกำหนดที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ได้ทำการขยายเวลายื่นรับซองประมูล โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

แนะภาคธุรกิจรับมือ Perfect Storm ต้องปรับตัวเร็ว ยืดหยุ่น กล้าทำในสิ่งใหม่ๆ
อาคม หารือในเวที ASEM FinMM แชร์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเกิดโควิด19
รัฐบาลมั่นใจ แม้สหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษทางการค้าหรือ GSP ก็ไม่กระทบการส่งออก
โดยกำหนดให้เอกชนทุกรายที่สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการเข้ายื่นเอกสารซองประกวดราคา ทำให้ต้องจับตาว่า ในวันนี้จะมีเอกชนรายใดเข้ายื่นซองประมูลบ้างหลังจากโครงการรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก มูลค่าโครงการกว่า 1.4 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้เกิดข้อพิพาท จากการปรับวิธีการประเมินการยื่นซองประกวดราคา รฟม. และคณะกรรมการตามมาตรา 36 ที่ดำเนินการไปแล้ว รวมถึงการขยายระยะเวลาให้เอกชนยื่นซองไป 45 วันครบกำหนดในวันนี้

ส่วนข้อพิพาทนั้น นับจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ขอให้ทบทวนวิธีการประเมินข้อเสนอ การร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

โดยอ้างว่า โครงการนี้ไม่ควรให้พิจารณาให้ผู้ชนะประมูล เป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวม ที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จด้วย ต่อมา รฟม.ได้ออกประกาศ ปรับ หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก รฟม. ปิดการขายซองเอกสารประมูลไปแล้วเกือบ 1 เดือน หรือตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 ก.ค.63

ทั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่ม บีทีเอส ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ขอคุ้มครองชั่วคราว โดยขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนมติคณะกรรมการ มาตรา 36 ที่ปรับปรุงให้มีการขยายเวลา และเพิกถอนเอกสารการคัดเลือกเอกชน (RFP) เกี่ยวกับการประเมิน และร้องให้ศาลสั่งระงับการคัดเลือกเอกชนไว้ก่อนจนกว่าศาลจะพิจารณาคดีเสร็จ

หลังจากนั้น 20 ต.ค 63 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว คดีระหว่าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ในฐานะผู้ฟ้องคดี ต่อคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวก คือ รฟม. รวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง โดยให้ รฟม.ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การประเมินที่แก้ไขเพิ่มเติมไป ทั้งนี้ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือก มาตรา 36 และฝ่ายกฎหมาย รฟม.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลไปแล้วเมื่อวันที่ 2 พ.ย.63 ที่ผ่านมา

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าวยืนยันว่า BTSC จะเข้ายื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกแน่นอน ส่วนกรณีที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าการประมูลจะใช้หลักเกณฑ์เดิม หรือหลักเกณฑ์ใหม่ ในช่วงที่กระบวนการยังอยู่ในการอุทธรณ์ศาลปกครองของ รฟม. จะทำให้ BTSC ต้องปรับวิธีการยื่นซองพิจารณาอย่างไรหรือไม่นั้น ในส่วนนี้ขอปิดไว้เป็นความลับก่อน

ส่วนประเด็นว่ายังมีความมั่นใจที่จะเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้หรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่าเมื่อเข้าร่วมประมูลก็ต้องมีความมั่นใจว่าจะเป็นผู้ชนะประมูล

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่าง กรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็น ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี โดยมีสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี และส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานีนั้น เป็นสถานีใต้ดินตลอดสาย


‘BTS’ ผนึก ‘ซิโนไทยฯ’ ยื่นซองแข่ง ”BEM” ชิงรถไฟฟ้าสายสีส้มแสนล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 - 14:05 น.

เปิดหน้าพันธมิตร 2 ยักษ์รถไฟฟ้า BEM-BTS ชิงสัมปทานก่อสร้างเดินรถสายสีส้ม ”บางขุนนนท์-มีนบุรี” วงเงิน 1.28 แสนล้าน ไร้เงา”ราชกรุ๊ป-กัลฟ์”คาดร่วมทุนบีทีเอสภายหลัง

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดยื่นซองประมูล PPP net cost 30 ปี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท โดยจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ในช่วงเช้าเวลา 10.45 น.ทางกลุ่มบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และบมจ.ช.การช่างได้ยื่นข้อเสนอเป็นกลุ่มแรก โดยยื่นในนาม BEM


นายวิทูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง BEM เปิดเผย ”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การมายื่นซองครั้งนี้มาในนามของ BEM ไม่ได้ร่วมกับบมจ.ช.การช่าง แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม BEM จะต้องร่วมมือกับช.การช่างแน่นอน โดยน่าจะร่วมมือกันในฐานะที่ช.การช่างเป็น Sub Contract

“การยื่นซองประมูลครั้งนี้ขอไม่เปิดเผยว่าเรายื่นโดยใข้หลักเกณฑ์ใด แต่ยืนยันว่าเราได้จัดทำข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้ว” นายวิทูรย์กล่าว




ล่าสุด เมื่อเวลา 13.09 น. นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) และนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโนไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ในฐานะกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) เดินทางมายื่นซองประมูลเป็นกลุ่มที่ 2

นายสุรพงษ์กล่าวว่า การมายื่นซองในครั้งนี้มาในนามของบีเอสอาร์ มีบมจ.ระบบขนส่วมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) และบมจ.ซิโนไทยฯ ร่วมกันประมูลในครั้งนี้และยื่นครบทั้ง 4 ซอง ส่วนสัดส่วนถือหุ้นขอไม่เปิดเผย ส่วนที่บมจ.ราชกรุ๊ป ที่เป็นพันธมิตรเดิมไม่มา เพราะทางนั้นมีกระบวนการภายในไม่สะดวกมาร่วม ส่วนจะมาร่วมในฐานะ Sub Contract ได้หรือไม่นั้น ขอให้รอกลุ่มเราชนะก่อนแล้วจึงค่อยขอไปทางรฟม.ในภายหลัง ซึ่ง ณ ตอนนั้นน่าจะทราบว่าร่วมได้หรือไม่

ส่วนการที่หลักเกณฑ์ประเมินซองที่ยังไม่ชัดเจน ยังไม่ขอตอบเพราะเป็นเรื่องของการพิจารณาซอง แต่ได้ดำเนินการตาม RFPครบถ้วน โดยกล่องที่มาวันนี้ประมาณ 385 กล่อง ซึ่งการมายื่นซองในวันนี้ก็มีความมั่นใจเต็มที่

ขณะที่การยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาของรฟม. ขณะนี้ยังไม่มีคำสั่งเรียกไต่สวนแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้ง 2 กลุ่มยื่นข้อเสนอทั้ง 4 ซอง ได้แก่ ซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงินและซองข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติม โดยรฟม.จะเปิดซองคุณสมบัติในวันที่ 23 พ.ย.นี้ และคาดว่าจะประกาศผู้ผ่านการพิจารณาภายใน 1 สัปดาห์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกชน 10 ราย ซื้อซองประมูล ได้แก่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM) บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ราช กรุ๊ป บมจ.ช.การช่าง บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ บจ.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ บจ.วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์

มาตามนัด! BTS ผนึกซิโน-ไทย ยื่นซองแข่ง BEM ชิงรถไฟฟ้าสีส้ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:14 น.

รฟม.ปิดรับซองประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม มี 2 ยักษ์ยื่นเอกสารตามคาด BTS ผนึกซิโน-ไทยในนาม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ แข่ง BEM ที่มาเดี่ยว โดย 2 กลุ่มมั่นใจทำข้อเสนอตาม TOR อย่างเต็มที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 พ.ย.) เวลา 13.30 น. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON ได้รวมกลุ่มในนามกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ยื่นเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.42 แสนล้านบาท โดยได้ลงทะเบียนยื่นซองในเวลา 13.30 น. ใช้รถบรรทุก 6 ล้อ จำนวน 4 คัน บรรทุกเอกสารกว่า 400 กล่อง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กล่าวว่า ได้ยื่นประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในนามกลุ่มบีเอสอาร์ ซึ่งได้ร่วมกัน 3 บริษัท คือ BTSC, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง ส่วนบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ซึ่งเป็นพันธมิตรเดิมนั้น เนื่องจากยังมีกระบวนการภายในของบริษัทฯ ทำให้ยังไม่ได้ร่วมยื่นประมูลครั้งนี้ แต่ทั้งนี้ บริษัท ราช กรุ๊ป มีความประสงค์จะร่วมกับกลุ่มเราเหมือนเดิม

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยื่นศาลปกครองสูงสุด อุทธรณ์ กรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองให้ รฟม.ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การประเมินที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น นายสุรพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำสั่งใดๆ ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำข้อเสนอในการประมูลครั้งนี้อย่างเต็มที่และดีที่สุดตาม TOR กำหนด ส่วนเกณฑ์และวิธีการพิจารณายังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล ยังไม่สามารถพูดอะไรได้ในขณะนี้

ขณะที่ช่วงเช้า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้ยื่นซองประมูลไปก่อนแล้ว ซึ่งเมื่อหมดเวลายื่นเอกสาร 15.00 น. มีเพียง BEM และกลุ่ม BSR ยื่นซองรวม 2 ราย

ขณะที่เอกชนซื้อซองอีก 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และบริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ไม่ได้ยื่นประมูล

รายที่ 2 มาแล้ว! กิจการร่วมค้า”บีเอสอาร์”ยื่นซองชิงรถไฟฟ้าสีส้ม
*บีทีเอส-ซิโนฯโชว์เหนือขนเอกสาร 400 กล่อง
*มั่นใจเต็มที่เตรียมข้อเสนอมาดีสุดๆอยู่แล้ว!!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2761652757389558


Last edited by Wisarut on 10/11/2020 2:21 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2020 1:41 pm    Post subject: Reply with quote

ยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 2 ราย
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
10 พฤศจิกายน 2563 เวลา 06:01 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (9 พ.ย.63) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำหนดให้ผู้สนใจยื่นเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 142,000 ล้านบาท โดยมีกลุ่มบริษัทเอกชนมายื่นซอง 2 ราย รายแรก คือ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ลงทะเบียนยื่นเอกสารเมื่อเวลา 11.19 น. ซึ่งเอกสารประกวดราคาที่นำมายื่นมีมากถึงกว่า 250 กล่อง ต้องใช้รถตู้ 2 คัน และรถบรรทุก 6 ล้อ จำนวน 6 คัน ขนเอกสารมายื่น และยื่นเอกสารประมูลรายเดียว ไม่ได้รวมกลุ่มกับรายใด


ส่วนรายที่ 2 คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (มหาชน) หรือ BTSC บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON ได้รวมกลุ่มในนามกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) เดินทางมาถึงเมื่อเวลา 13.30 น. โดยใช้รถบรรทุก 6 ล้อ 4 คัน บรรทุกกล่องเอกสารกว่า 400 กล่องมายื่น

โดยผู้บริหาร BEM กล่าวว่า บริษัทมีความสามารถ และมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนเมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า BEM ทำข้อเสนอในเงื่อนไขเดิม หรือเงื่อนไขที่ รฟม.ประกาศ RFP เพิ่มเติม ผู้บริหาร BEM กล่าวว่า บริษัททำข้อเสนอดีที่สุด ส่วนเงื่อนไขในการพิจารณาแบบใดนั้น ขณะนี้ เรื่องอยู่ที่ศาล ไม่ได้อยู่ในอำนาจของบริษัท

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ กล่าวว่า ยื่นประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในนามกลุ่มบีเอสอาร์ ซึ่งร่วมกัน 3 บริษัท คือ BTSC, บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS และซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง ส่วนบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ซึ่งเป็นพันธมิตรเดิม ไม่ได้ร่วมยื่นประมูลครั้งนี้ เพราะยังมีกระบวนการภายในของบริษัท แต่ราช กรุ๊ป ประสงค์จะร่วมกับกลุ่มเหมือนเดิม ส่วนกรณีที่ รฟม.ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ยกเลิกคำสั่งทุเลาการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำสั่งใดๆ ซึ่งบริษัทได้ทำข้อเสนอในการประมูลครั้งนี้อย่างเต็มที่และดีที่สุด ส่วนเกณฑ์และวิธีการพิจารณา ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล ยังไม่สามารถพูดอะไรได้ในขณะนี้.

ชิงสายสีส้มแสนล้าน 'BTS-BEM' แข่งเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้า
10 พฤศจิกายน 2563


“บีทีเอส” ลงสนามชิงรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก พร้อมสิทธิเดินรถทั้งเส้นบางขุขนนท์-มีนบุรี มั่นใจข้อเสนอ หนุนโครงข่ายรถไฟฟ้าสมบูรณ์ขึ้น “บีอีเอ็ม” ฉายเดี่ยวยื่นซองรายแรกพร้อมชงข้อเสนอพิเศษ
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วานนี้ (9 พ.ย.) มีผู้ยื่นซอง 2 ราย คือ 1.กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR 2.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม จากมีผู้ซื้อซองทั้งหมด 10 ราย

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยว่า ได้ยื่นข้อเสนอในนามกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR โดยมีพันธมิตร 3 ราย คือ BTSC เป็นลีดเดอร์กลุ่ม บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

ส่วนบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่เคยเป็นพันธมิตรในกลุ่ม BSR ยื่นประมูลโครงการอื่นไม่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรครั้งนี้ เพราะยังติดกระบวนการภายใน แต่ได้รับคำยืนยันว่ามีความประสงค์ที่จะร่วมเป็นพันธมิตรทำให้ยังใช้ชื่อกลุ่ม BSR ส่วนจะร่วมภายหลังได้หรือไม่นั้นต้องรอดูตอนชนะ อีกทั้งการเข้ามาเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลังจากนี้ต้องให้ รฟม.พิจารณา

“เงื่อนไขการประมูลไม่สามารถบอกได้เพราะอยู่ระหว่างประกวดราคา การทำข้อเสนอของเราที่เตรียมมาวันนี้ทำเต็มที่ และยื่นครบ 4 ซอง ได้แก่ ซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองการเงิน และข้อเสนอเพิ่มเติม รวม 400 กว่าลัง วันนี้บีทีเอสพร้อมมาก เราเป็นคนทำงานก็ต้องมั่นใจเต็มที่”นายสุรพงษ์ กล่าว


บีทีเอสมั่นใจยื่นประมูล

สำหรับความมั่นใจการยื่นข้อเสนอครั้งนี้ กลุ่ม BSR ยืนยันว่าในฐานะผู้ทำงานมีความมั่นใจการยื่นข้อเสนอ ถึงแม้การกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการตามมาตรา 36 ยังไม่แน่ชัด เพราะ รฟม.ยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด แต่กลุ่ม BSR ไม่หนักใจหรือยุ่งยากในการเตรียมข้อเสนอ และได้นำข้อเสนอที่ดีที่สุดมายื่น

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะช่วยสนับสนุนการเดินทางระบบรถไฟฟ้าให้เป็นโครงข่ายสมบูรณ์ขึ้น เพราะเชื่อมรถไฟฟ้าเกือบทุกโครงการ คือ สายสีเขียว สายสีชมพู สายสีเหลือง รวมไปถึงรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่ม BSR มั่นใจข้อเสนอที่ยื่นโดยเฉพาะด้านเทคนิค ยืนยันว่ามีคุณสมบัติตามเอกสารยื่นข้อเสนอ (RFP) กำหนด ซึ่งซิโน-ไทยมีประสบการณ์การทำงานด้านขุดเจาะอุโมงค์มาแล้วหลายแห่ง เช่น อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี และอุโมงค์ระบายน้ำ


บีอีเอ็มยื่นซองรายแรก

รายงานข่าวจาก รฟม.ระบุว่า รฟม.เปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.วันเดียว เวลา 9.00–15.00 น. โดยเวลา 9.39 น. ผู้แทนบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม เดินทางมาไหว้ศาลพระภูมิบริเวณหน้าอาคาร 2 ซึ่งเป็นจุดรับซองข้อเสนอโครงการ

หลังจากนั้นเวลา 10.53 น.นายวิทูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการ ปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง บีอีเอ็ม ยื่นข้อเสนอรายแรก โดยนำเอกสารบรรทุกรถตู้และรถบรรทุกรวม 8 คัน ซึ่งบีอีเอ็มไม่ได้ระบุพันธมิตรร่วมทุน ส่วนข้อเสนอที่นำมานั้น ประกอบไปด้วย 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การเงิน และข้อเสนอเพิ่มเติม รวมกว่า 200 กล่อง

หลังจากนั้นเวลา 14.39 น.นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอในนามกลุ่ม BSR มีข้อเสนอมาครบทั้ง 4 ซอง บรรทุกในบรรทุก 6 คัน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กำหนดให้ผู้เป็นลีดเดอร์ต้องมีประสบการณ์จัดหา บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง รักษาระบบรถไฟฟ้าในระยะ 25 ปีนับถึงวันที่ยื่นข้อเสนอ และมีเวลาดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี นับถึงวันที่ยื่นข้อเสนอ อย่างน้อย 1 โครงการที่เป็นโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Heavy Rail) ในประเทศ

ทั้งนี้ บริษัทที่เป็นลีดเดอร์ได้มี 2 ราย คือ BTSC และ BEM โดย BTSC รับสัมปทานรถไฟฟ้า รับจ้างเดินรถและร่วมลงทุนรถไฟฟ้า 4 โครงการ ได้แก่ สายสีเขียว สายสีทอง สายสีชมพูและสายสีเหลือง ขณะที่ BEM รับสัมปทานเดินรถและรับจ้างเดนิรถ 2 โครงการ คือ สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง โดยถ้าใครได้รถไฟฟ้าสายสีส้มจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้ามากขึ้น

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์–ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

โดยเอกชนผู้ชนะการประมูล นอกจากได้รับงานโยธาก่อสร้างรถไฟฟ้าช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ แล้ว ยังได้รับสิทธิ์บริหารการเดินรถไฟฟ้าตลอดเส้นทางช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี ระยะเวลา 30 ปี ซึ่งถือเป็นโอกาสในการต่อยอดโครงข่ายรถไฟฟ้า เนื่องจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นหลายแห่ง

ในส่วนของการเชื่อมต่อฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ–มีนบุรี ประกอบไปด้วย
1.รถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
2.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) ที่สถานีแยกลำสาลี และ
3 รถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีมีนบุรี

ขณะที่การเชื่อมต่อฝั่งตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ประกอบไปด้วย
1.โครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) ที่สถานีบางขุนนนท์
2.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่สถานีศิริราช 3.รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
4.รถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีราชเทวี
5.รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ต เรลลิงก์) ที่สถานีราชปรารภ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2020 2:07 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดศึกชิง "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" วันนี้"
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09:53:17 น.

จับตาBTS-BEM ลุยยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.42 แสนล้านบาท ยันใช้เกณฑ์ทีโออาร์เดิม หลังศาลสั่งคุ้มครอง BTS ด้านรฟม.เข้มเอกชนต้องยื่นข้อเสนอดีที่สุด"

BEM ลุยยื่นซองประมูล "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" รายแรก"
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 11:49:10 น.
BEM เดินหน้านำทีมยื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ขนรถตู้-รถบรรทุก 8 คัน บรรทุกเอกสารเพียบ ด้านบีทีเอสยันยื่นซองประมูลบ่ายวันนี้

ปิดดีล BTS ยื่นซองประมูล "สายสีส้ม" รายสุดท้าย
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:17:44 น.

BTS ปิดท้าย ยื่นประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยึดเกณฑ์ทีโออาร์เดิม พร้อมขนรถบรรทุก 4 คัน จำนวน 400 กล่อง ลั่นราชกรุ๊ป ร่วมทุนไม่ทัน

“บีทีเอส กรุ๊ป” แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม 35.9 กิโลฯ
ข่าวหุ้น-การเงิน

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 - 19:12 น.

ประธาน “บีทีเอส กรุ๊ป” แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร



นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ “BTS” แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ในวันนี้ (9 พ.ย.2563) บริษัท และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ “BTSC” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BTS ร่วมกับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

ในนามของ “กิจการร่วมค้าบีเอสเอาร์” ได้ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทางรวม 35.9 กิโลเมตร ต่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน (PPP)

'บีทีเอส'ชน'บีอีเอ็ม' ซื้อซองประมูลสายสีส้มมูลค่า1.2 แสนล้าน

วันจันทร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 17:31 น.
'บีทีเอส-ชิโน-ไทยฯ'จูงมือยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี
วันจันทร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 วลา 17.49 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) . รฟม. ได้เปิดให้เอกชนยื่นเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีอีเอ็ม เมื่อเวลา 10.53 น. ขบวนรถของบีอีเอ็ม เป็นเอกชนรายแรกที่มายื่นข้อเสนอ ทั้งนี้เอกสารที่มายื่นมี 240 กล่อง ได้แก่ เอกสารด้านคุณสมบัติ, ด้านเทคนิค และด้านการลงทุนและผลตอบแทน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เอกชนรายที่สองที่ได้ยื่นซองเอกสารข้อเสนอร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม นำโดยนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส นายสุรพงษ์ กล่าวภายหลังยื่นซองการประมูลฯ ว่า วันนี้ได้เดินทางมายื่นซองการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยประกอบไปด้วย 3 บริษัท คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสจี และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) สัดส่วนถือหุ้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นั้น ยังสนใจที่จะเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ เราจึงยังใช้ชื่อ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR) ส่วนจะร่วมภายหลังได้หรือไม่นั้นต้องรอดูตอนที่ชนะอีกครั้ง

เทรดฟอเร็กซ์ไปกับโบรกฯที่มีความน่าเชื่อถือระดับโลก
IC Markets
อย่างไรก็ตามส่วนเงื่อนไขการประมูลยังไม่สามารถบอกได้เพราะยังอยู่ในระหว่างประกวดราคา การทำข้อเสนอของเราที่เตรียมมาในวันนี้ทำเต็มที่ และยื่นครบทั้งหมด 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การเงิน และข้อเสนอเพิ่มเติม รวม 400 กว่าลัง ส่วนเงื่อนไขเรายังทำตามทีโออาร์แรก

“วันนี้บีทีเอสพร้อมมาก เราเป็นคนทำงานก็ต้องมั่นใจเต็มที่ ถ้าชนะเราอาจจะหาคนที่มาเป็นหุ้นส่วนได้ภายหลัง ส่วนกรณีหลังจากมีคำสั่งศาล รฟม. ยังไม่มีการเรียกคุยอะไร”นายสุรพงษ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท มีผู้มาซื้เอกสารข้อเสนอทั้งสิ้น 10 ราย ได้แก่
1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

ทั้งนี้ รฟม. ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กม. 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี 22.5 กม. 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) 13.4 กม. 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) มีกำหนดเปิดบริการ 2 ส่วน โดยส่วนตะวันออกเดือน มี.ค.67 และส่วนตะวันตกเดือน ก.ย. 69.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2020 2:41 pm    Post subject: Reply with quote


เดินหน่ารถไฟฟ้าสายสีส้ม
https://www.youtube.com/watch?v=XJOPL_kOEJE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2020 11:07 am    Post subject: Reply with quote

วิบากกรรม ‘รฟม.-บอร์ด มาตรา36
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 21:30:59
ตีพิมพ์ใน นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 หน้า 8 ฉบับที่ 3,626
วันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งทุเลา การใช้เกณฑ์ประมูลใหม่ รถไฟฟ้าสายสีส้มช่วง บางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่า 1.28 แสนล้าน รฟม. ให้นำ เทคนิคพิจารณาร่วมซองราคาแทน เกณฑ์ทีโออาร์เก่า ที่ชี้ขาดกันที่ซองราคา 100%"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/11/2020 1:43 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ คาบลูกคาบดอก: รถไฟแสนล้าน
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
หมัดเหล็ก

โครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยเฉพาะระบบขนส่งทางรางไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าบนดิน ใต้ดิน มีการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหญ่ของประเทศ ที่ใกล้เคียงคำว่าผูกขาดเข้าไปทุกทีกลายเป็นว่า ใครจะได้โครงการสัมปทานในสายไหนเส้นไหน ขึ้นอยู่กับการเขียนสเปกโครงการ ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่าบางโครงการมีการเปลี่ยนแปลงสเปกหลังจากที่มีการประกวดราคาไปแล้วด้วยซ้ำ

นี่คือโจทย์ใหญ่ที่ รัฐบาล ต้องรับประกัน ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ให้มากที่สุด โดนไม่มีการลูบหน้าปะจมูก โดยเฉพาะ คนในรัฐบาลเอง ที่เป็นทั้งคนที่ควบคุมนโยบายและควบคุมธุรกิจการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งในยุคก่อนๆจะมีการเข้มงวดมาก สำหรับการคัดเลือกคนที่จะเข้ามา ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อไม่ให้เข้าข่ายความผิดเอื้อผลประโยชน์ พรรคพวก ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิด เช่นที่ผ่านมา กรณีที่ดินรัชดา แม้จะมีการดำเนินการตามกรอบของกฎหมายทุกอย่าง ยังถูกพิจารณาเอาผิดได้

วันนี้ การที่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มีผู้ยื่นซองอยู่แค่ 2 ราย คือกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR และบริษัททางด่วน และรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM

กลุ่ม BSR ประกอบด้วย BTSC บีทีเอสกรุ๊ป หรือ BTS และซิโน-ไทย รับสัมปทานรถไฟฟ้ารวม 4 โครงการ ได้แก่ สายสีเขียว สายสีทอง สายสีชมพู และสายสีเหลือง กลุ่ม BEM รับสัมปทานสายสีน้ำเงินและสีม่วง มาแล้ว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี เชื่อม กทม.ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร มูลค่าแสนล้าน ไม่ว่าใครจะได้สัมปทานไปก็จะได้รับประโยชน์ในการเชื่อมโครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

การประกวดราคา แบ่งเป็น 4 ซอง คุณสมบัติ เทคนิค การเงิน และข้อเสนอเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม ศาลปกครอง ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว BTSC หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกและ รฟม.ถูกฟ้องศาลปกครอง กรณีที่มีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชนและ วิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน การคัดเลือกเข้าร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว

เรื่องอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ของ รฟม. ต่อ ศาลปกครองสูงสุด ขอให้เพิกถอนคำสั่ง ศาลปกครองกลาง และยังยืนยันว่าการเปิดรับข้อเสนอจากเอกชน จะไม่มีผลกระทบใดๆ เพราะในท้ายที่สุดแล้ว รฟม. จะกำหนดให้ใช้เกณฑ์การคำนวณเฉพาะคะแนนด้านราคาที่ 100 คะแนนเหมือนเดิม

ว่ากันว่ามีการต่อสู้แข่งขันระหว่างสองค่ายในการเข้าชิงพื้นที่รถไฟฟ้าเที่ยวนี้กันดุเดือดฉากหลัง จะดุเดือดอย่างไร ใครเอี่ยวด้วยคงไม่ต้องบรรยาย ความสำคัญของเรื่องก็คือ รฟม.ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศและดำเนินการให้โปร่งใส ตรวจสอบได้เพราะไม่ว่าใครจะได้ประโยชน์ ประชาชนต้องไม่เสียประโยชน์อย่างเด็ดขาด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2020 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลปกครองฯนัด BTS-กรรมการคัดเลือกไต่สวนคดีประมูลสายสีส้ม 17 พ.ย.นี้
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 - 15:41 น.

ศาลปกครองสูงสุดนัด BTSC และคณะกรรมการมาตรา 36 ไต่สวนอุทธรณ์เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ”บางขุนนนท์-มีนบุรี” วันที่ 17 พ.ย.นี้ ด้านกรรมการ 36 งัดไทม์ไลน์การเปิดบริการล่าช้า ผลกระทบต่อประชาชน เศรษฐกิจสู้

เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงาน ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งนัด บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ในฐานะผู้ฟ้องคดี กับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และพวกรวม 2 คน ในฐานะผู้ถูกฟ้อง มาไต่สวน กรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลางที่ออกมาเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา

โดยคณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 ยื่นอุทธรณ์อ้างว่า คำสั่งทุเลาดังกล่าวจะทำให้เกิดความล่าช้าในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว และทำให้กำหนดเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายดังกล่าวล่าช้าออกไปจากแผนที่รัฐบาลกำหนด


อีกทั้งจะส่งผลกระทบให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เกิดภาระและค่าเสียหายที่จะตามมาทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม และจะกระทบกับความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนได้

ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งนัดไต่สวนในวันที่ 17 พ.ย. 2563 เวลา 9.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 4 ชั้น 3 อาคารศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินโครงการของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ที่ให้นำซองข้อเสนอที่ 2 (เทคนิค) รวมกับซองข้อเสนอที่ 3 (การเงิน) มารวมกัน แล้วแบ่งสัดส่วนการพิจารณาคัดเลือกเป็นคะแนนของซองเทคนิค 30% และซองการเงิน 70%

โดยศาลปกครองกลางจึงมีคำสั่งทุเลาเกณฑ์ดังกล่าวไว้จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/11/2020 7:36 am    Post subject: Reply with quote

ยกแรก 2 บิ๊กชิง 'สายสีส้ม' ปัญหาซ้ำซาก 'สร้างเสร็จ-ไม่มีรถวิ่ง'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ปิดรับซองประมูลไปแล้ววันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP net cost 30 ปี

โดยให้เอกชนหาเงินลงทุน 128,128 ล้านบาท ก่อสร้างช่วงตะวันตก "บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ" กับจัดหาระบบ ขบวนรถไฟฟ้า แลกกับการรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย โดย รฟม.ออกค่าเวนคืน 14,621 ล้านบาท สนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท

งานนี้ไม่พลิกโผ มี 2 ยักษ์รถไฟฟ้าของไทย ควงพันธมิตรทั้งที่เปิดหน้า-อยู่เบื้องหลัง ตบเท้าชิงเค้ก

เบื้องหน้า-เบื้องหลัง BEM-BTS

รายแรกที่ยื่นซอง "บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ" หรือ BEM ของ "ปลิว ตรีวิศวเวทย์" ผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงิน และรับจ้างดินรถสาย สีม่วง งานนี้ "BEM" พกความมั่นใจมาเต็มเหนี่ยว ขอโชว์เดี่ยว แต่เบื้องหลัง ผนึก "ช.การช่าง" บริษัทแม่ และอาจมียักษ์รับเหมาแถวหน้าร่วมซับคอนแทร็กต์งานก่อสร้าง

"วิทูรย์ หทัยรัตนา" รองกรรมการ ผู้จัดการปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง BEM เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การมายื่นซองครั้งนี้มาในนามของ BEM ไม่ได้ร่วมกับ บมจ.ช.การช่าง อย่างไรก็ตาม BEM ต้องร่วมมือกับ ช.การช่างแน่นอน โดยน่าจะร่วมมือกันในฐานะ ช.การช่าง เป็น subcontract

"ขอไม่เปิดเผยว่าเรายื่นโดยใช้ หลักเกณฑ์ใด แต่ยืนยันจัดทำข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้ว"

อีกกลุ่มที่สู้ไม่ถอย "กลุ่มบีทีเอส" ของคีรี กาญจนพาสน์ ที่หนีบพันธมิตรเก่ายื่นในนามกิจการร่วมค่าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

หากชนะจะมีพันมิตร "บมจ.ราชกรุ๊ป" มาเสริมทัพ ส่วน "บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์" ยังลังเล จากก่อนหน้านี้ โดดร่วมทุนงานระบบมอเตอร์เวย์ และประเมินว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ไม่ได้หอมหวน ไม่ง่ายอย่างที่คิด

แม้จะปิดยื่นซองไปแล้ว แต่กลุ่มนี้ ยังกังวลลึก ๆ ว่า การประมูลจะถูกยกเลิกภายหลังหรือไม่ เมื่อการเปิดข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอการเงิน ยังติดหล่มปมร้องกรณีเปลี่ยนเกณฑ์พิจารณา

ซึ่ง รฟม.ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง พร้อมยืนกรานใช้เกณฑ์ใหม่ พิจารณา "เทคนิค" ควบคู่กับ "ราคา" หลังศาลสั่งคุ้มครอง BTS ให้กลับมาใช้เกณฑ์เดิม ให้ตัดเชือกกันที่ "ราคา"

รฟม.ส่อเลื่อนเปิดซองข้อเสนอ

ล่าสุด "ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ"ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า ความคืบหน้าการยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด คัดค้านคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง ขณะนี้ศาลยังไม่ได้นัดไต่สวน ต้องรอให้ศาลรับคำฟ้องก่อน ยังระบุไม่ได้ ศาลจะมีกำหนดรับคำฟ้องเมื่อไหร่

"หลังเปิดยื่นซองวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา จะต้องรอประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 วางแผนการเปิดและพิจารณาซองต่าง ๆ ก่อน ยังไม่ได้กำหนดวันที่จะประชุม ทำให้การเปิดซองที่ 1 ซองคุณสมบัติ ยังไม่แน่ว่าจะเปิดวันที่ 23 พ.ย.ได้หรือไม่"

นาทีนี้ยังต้องลุ้นว่าจะเดินหน้าต่อได้ฉลุย หรือต้องล้มกระดานประมูลใหม่ โดยใช้เกณฑ์ใหม่ตามนโยบายของ รฟม.

ศูนย์วัฒนฯ-มีนบุรีสร้างเร็ว

ในส่วนของงานก่อสร้างสายสีส้มตะวันออก "ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี" ที่ รฟม.กำลังก่อสร้างงานโยธา วงเงินกว่า 8 หมื่นล้านบาท ล่าสุดงานก่อสร้างทั้ง 6 สัญญา ณ เดือน ต.ค. 2563 รุดหน้า 71.38% เร็วกว่าแผน 2.41%

แยกเป็น สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-รามคำแหง 12 กิจการ ร่วมค้า CKST (บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทยฯ) เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 20,633 ล้านบาท คืบหน้า 81.59% สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก กลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ก่อสร้าง วงเงิน 21,057 ล้านบาท คืบหน้า 67.34%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯเป็นผู้ก่อสร้าง 18,570 ล้านบาท คืบหน้า 70.28% สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโยธาทางยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้ามีนบุรี มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง 9,990 ล้านบาท คืบหน้า 60.36%

สัญญาที่ 5 ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจรของกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST วงเงิน 4,831 ล้านบาท คืบหน้า 74.93% และ สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง บมจ.ยูนิคฯเป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 3,690 ล้านบาท คืบหน้า 68.47%

รอเคาะสัมปทานเดินรถ

ทั้ง 6 สัญญาจะแล้วเสร็จปลายปี 2565 แต่พร้อมเปิดบริการในปี 2567 เพราะต้องรอสัมปทานระบบอาณัติสัญญาณ และขบวนรถที่กำลังประมูล ซึ่งเอกชนจะใช้เวลา 2 ปี ออกแบบระบบ และสั่งผลิตรถ

ถ้าเริ่มต้นในปี 2564 น่าจะเปิดใช้ได้ปี 2567 แต่ถ้าถูกลากยาว ไทม์ไลน์อาจเลื่อนอีก ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เคยขยับกรอบเวลามาแล้ว จากเป้าเดิมเปิดในปี 2566

แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้น หากยังไม่ได้เอกชนมารับสัมปทาน คือ ค่าดูแลโครงสร้าง หรือ care of work ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จล่วงหน้า 2 ปี

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า ที่ต้องควักจ่ายจะเป็นค่าดูแลงานที่ทำแล้วเสร็จ ช่วงรอผู้รับสัมปทานเดินรถเข้ามาติดตั้งงานระบบเดินรถ งานที่เป็นส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ห้องจ่ายระบบตั๋วโดยสาร ประตูเปิดปิดขึ้นลงรถไฟฟ้า ห้องเครื่อง ระบบอาณัติสัญญาน ระบบควบคุมอื่น ๆ เบ็ดเสร็จเป็นค่าใช้จ่ายปีละ 300-400 ล้านบาท

"สุดท้ายต้องทดสอบการเดินรถ ร่วมกันทั้งหมด เรียกว่า system integrate ผู้รับเหมาจึงจะส่งสัญญางานได้ ซึ่งถ้าได้ผู้สัมปทานช้า ผู้รับเหมาส่งมอบงานต่อไม่ได้ ก็ต้องเฝ้าดูแลรักษาให้ดีก่อนส่งมอบ"

ย้อนรอยสร้างเสร็จแต่เปิดไม่ได้

น่าห่วงว่า "รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก" จะซ้ำรอยรถไฟฟ้าหลากสี ในอดีต ที่โครงการสร้างเสร็จ แต่ไม่มีรถวิ่ง

ไม่ว่าสายสีแดง ช่วง "บางซื่อตลิ่งชัน" ที่รันงานจนก่อสร้างเสร็จมา 8 ปีแล้ว ถึงขณะนี้ยังรอขบวนรถไฟฟ้ามาวิ่ง เป็นเพราะ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" นำงานระบบและจัดซื้อขบวนรถแพ็กรวมกับสัญญา 3 ของช่วง "บางซื่อ-รังสิต" ที่มาช้ากว่ากำหนดหลายปี

ขณะที่งานระบบและจัดซื้อรถ ติดหล่ม ประมูลอยู่ 4 ปี กว่าจะเคาะใช้รถญี่ปุ่น และเซ็นสัญญาเมื่อปี 2559

ตอนนี้ ร.ฟ.ท.ต้องเสียเงินปีละหลายสิบล้านบาท ดูแลทรัพย์สิน แถมต้องควักเงินอีก 140 ล้านบาท จ้างผู้รับเหมา บูรณะโครงสร้างสถานี ระบบลิฟต์ และระบบต่าง ๆ รอวันนับถอยหลังเปิดใช้บริการพร้อมช่วง "บางซื่อ-รังสิต" ภายในปี 2564

ไม่ต่างจาก "สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย" ช่วง "บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค" ที่สร้างเสร็จกลายเป็นรถไฟฟ้าฟันหลอ การเดินรถ ขาดช่วง 1 สถานี จากบางซื่อ-เตาปูน เกิดจาก "สายสีม่วง" ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่สร้างเสร็จเปิดใช้ก่อน

ขณะที่ "สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย" แม้จะสร้างเสร็จ แต่ยังติดหล่มปม คัดเลือกเอกชนมาเดินรถ ที่รัฐ-เอกชนชักเย่อกันอยู่กว่า 2 ปี จะเจรจาตรง รายเดิมหรือประมูลใหม่ จนรัฐบาล คสช. ต้องงัด ม.44 มาสางปมถึง 2 ครั้ง กว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วงจะเชื่อมกันติด

ครั้งนั้น "รฟม." ต้องจัดงบประมาณปีละ 240 ล้านบาท ดูแลโครงสร้างของสายสีน้ำเงิน

แถมเจียดเงินอีกก้อนเป็นค่าชดเชยผู้รับเหมา 800-1,000 ล้านบาท ที่ขอขยายเวลาจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ไม่รวมที่ต้องจ้าง "ขสมก." นำรถเมล์มาวิ่งเป็น "ฟีดเดอร์" รับส่งคน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ล่าสุด "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" กำลังจะ กลายเป็นภาระ และมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาให้ตามแก้กันอีกหลายปี

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2020 8:41 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ยกแรก 2 บิ๊กชิง 'สายสีส้ม' ปัญหาซ้ำซาก 'สร้างเสร็จ-ไม่มีรถวิ่ง'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563


ลิงก์มาแล้วครับ: ยกแรก 2 บิ๊กชิง 'สายสีส้ม' ปัญหาซ้ำซาก 'สร้างเสร็จ-ไม่มีรถวิ่ง'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:40 น.
https://www.prachachat.net/property/news-555314
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2020 11:32 am    Post subject: Reply with quote

ยกแรก 2 บิ๊กชิง “สายสีส้ม” ปัญหาซ้ำซาก “สร้างเสร็จ-ไม่มีรถวิ่ง”
แนะนำข่าว
อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 - 09:40 น.
ปิดรับซองประมูลไปแล้ววันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP net cost 30 ปี

โดยให้เอกชนหาเงินลงทุน 128,128 ล้านบาท ก่อสร้างช่วงตะวันตก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ” กับจัดหาระบบ ขบวนรถไฟฟ้า แลกกับการรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย โดย รฟม.ออกค่าเวนคืน 14,621 ล้านบาท สนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท

งานนี้ไม่พลิกโผ มี 2 ยักษ์รถไฟฟ้าของไทย ควงพันธมิตรทั้งที่เปิดหน้า-อยู่เบื้องหลัง ตบเท้าชิงเค้ก

เบื้องหน้า-เบื้องหลัง BEM-BTS
รายแรกที่ยื่นซอง “บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” หรือ BEM ของ “ปลิว ตรีวิศวเวทย์” ผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงิน และรับจ้างดินรถสายสีม่วง งานนี้ “BEM” พกความมั่นใจมาเต็มเหนี่ยว ขอโชว์เดี่ยว แต่เบื้องหลังผนึก “ช.การช่าง” บริษัทแม่ และอาจมียักษ์รับเหมาแถวหน้าร่วมซับคอนแทร็กต์งานก่อสร้าง

“วิทูรย์ หทัยรัตนา” รองกรรมการผู้จัดการปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง BEM เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การมายื่นซองครั้งนี้มาในนามของ BEM ไม่ได้ร่วมกับ บมจ.ช.การช่าง อย่างไรก็ตาม BEM ต้องร่วมมือกับ ช.การช่างแน่นอน โดยน่าจะร่วมมือกันในฐานะ ช.การช่าง เป็น subcontract

“ขอไม่เปิดเผยว่าเรายื่นโดยใช้หลักเกณฑ์ใด แต่ยืนยันจัดทำข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้ว”

อีกกลุ่มที่สู้ไม่ถอย “กลุ่มบีทีเอส” ของ คีรี กาญจนพาสน์ ที่หนีบพันธมิตรเก่ายื่นในนามกิจการร่วมค่าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น



หากชนะจะมีพันมิตร “บมจ.ราชกรุ๊ป” มาเสริมทัพ ส่วน “บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์” ยังลังเล จากก่อนหน้านี้โดดร่วมทุนงานระบบมอเตอร์เวย์ และประเมินว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ไม่ได้หอมหวน ไม่ง่ายอย่างที่คิด

แม้จะปิดยื่นซองไปแล้ว แต่กลุ่มนี้ยังกังวลลึก ๆ ว่า การประมูลจะถูกยกเลิกภายหลังหรือไม่ เมื่อการเปิดข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอการเงิน ยังติดหล่มปมร้องกรณีเปลี่ยนเกณฑ์พิจารณา

ซึ่ง รฟม.ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง พร้อมยืนกรานใช้เกณฑ์ใหม่ พิจารณา “เทคนิค” ควบคู่กับ “ราคา” หลังศาลสั่งคุ้มครอง BTS ให้กลับมาใช้เกณฑ์เดิม ให้ตัดเชือกกันที่ “ราคา”

รฟม.ส่อเลื่อนเปิดซองข้อเสนอ
ล่าสุด “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า ความคืบหน้าการยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด คัดค้านคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง ขณะนี้ศาลยังไม่ได้นัดไต่สวน ต้องรอให้ศาลรับคำฟ้องก่อน ยังระบุไม่ได้ ศาลจะมีกำหนดรับคำฟ้องเมื่อไหร่

“หลังเปิดยื่นซองวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา จะต้องรอประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 วางแผนการเปิดและพิจารณาซองต่าง ๆ ก่อน ยังไม่ได้กำหนดวันที่จะประชุม ทำให้การเปิดซองที่ 1 ซองคุณสมบัติ ยังไม่แน่ว่าจะเปิดวันที่ 23 พ.ย.ได้หรือไม่”


นาทีนี้ยังต้องลุ้นว่าจะเดินหน้าต่อได้ฉลุย หรือต้องล้มกระดานประมูลใหม่ โดยใช้เกณฑ์ใหม่ตามนโยบายของ รฟม.


ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีสร้างเร็ว
ในส่วนของงานก่อสร้างสายสีส้มตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” ที่ รฟม.กำลังก่อสร้างงานโยธา วงเงินกว่า 8 หมื่นล้านบาท ล่าสุดงานก่อสร้างทั้ง 6 สัญญา ณ เดือน ต.ค. 2563 รุดหน้า 71.38% เร็วกว่าแผน 2.41%

แยกเป็น สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-รามคำแหง 12 กิจการร่วมค้า CKST (บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทยฯ) เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 20,633 ล้านบาท คืบหน้า 81.59% สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก กลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ก่อสร้าง วงเงิน 21,057 ล้านบาท คืบหน้า 67.34%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างโยธาอุโมงค์ใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯเป็นผู้ก่อสร้าง 18,570 ล้านบาท คืบหน้า 70.28% สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโยธาทางยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-มีนบุรี มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง 9,990 ล้านบาท คืบหน้า 60.36%

สัญญาที่ 5 ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจรของกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST วงเงิน 4,831 ล้านบาท คืบหน้า 74.93% และ สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง บมจ.ยูนิคฯเป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 3,690 ล้านบาท คืบหน้า 68.47%

รอเคาะสัมปทานเดินรถ
ทั้ง 6 สัญญาจะแล้วเสร็จปลายปี 2565 แต่พร้อมเปิดบริการในปี 2567 เพราะต้องรอสัมปทานระบบอาณัติสัญญาณ และขบวนรถที่กำลังประมูล ซึ่งเอกชนจะใช้เวลา 2 ปี ออกแบบระบบ และสั่งผลิตรถ

ถ้าเริ่มต้นในปี 2564 น่าจะเปิดใช้ได้ปี 2567 แต่ถ้าถูกลากยาว ไทม์ไลน์อาจเลื่อนอีก ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เคยขยับกรอบเวลามาแล้ว จากเป้าเดิมเปิดในปี 2566

แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้น หากยังไม่ได้เอกชนมารับสัมปทาน คือ ค่าดูแลโครงสร้าง หรือ care of work ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จล่วงหน้า 2 ปี

แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า ที่ต้องควักจ่ายจะเป็นค่าดูแลงานที่ทำแล้วเสร็จ ช่วงรอผู้รับสัมปทานเดินรถเข้ามาติดตั้งงานระบบเดินรถ งานที่เป็นส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ห้องจ่ายระบบตั๋วโดยสาร ประตูเปิดปิดขึ้นลงรถไฟฟ้า ห้องเครื่อง ระบบอาณัติสัญญาน ระบบควบคุมอื่น ๆ เบ็ดเสร็จเป็นค่าใช้จ่ายปีละ 300-400 ล้านบาท

“สุดท้ายต้องทดสอบการเดินรถร่วมกันทั้งหมด เรียกว่า system integrate ผู้รับเหมาจึงจะส่งสัญญางานได้ ซึ่งถ้าได้ผู้สัมปทานช้า ผู้รับเหมาส่งมอบงานต่อไม่ได้ ก็ต้องเฝ้าดูแลรักษาให้ดีก่อนส่งมอบ”



ย้อนรอยสร้างเสร็จแต่เปิดไม่ได้
น่าห่วงว่า “รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก” จะซ้ำรอยรถไฟฟ้าหลากสีในอดีต ที่โครงการสร้างเสร็จ แต่ไม่มีรถวิ่ง

ไม่ว่าสายสีแดง ช่วง “บางซื่อ-ตลิ่งชัน” ที่รันงานจนก่อสร้างเสร็จมา 8 ปีแล้ว ถึงขณะนี้ยังรอขบวนรถไฟฟ้ามาวิ่ง เป็นเพราะ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” นำงานระบบและจัดซื้อขบวนรถแพ็กรวมกับสัญญา 3 ของช่วง “บางซื่อ-รังสิต” ที่มาช้ากว่ากำหนดหลายปี

ขณะที่งานระบบและจัดซื้อรถ ติดหล่มประมูลอยู่ 4 ปี กว่าจะเคาะใช้รถญี่ปุ่น และเซ็นสัญญาเมื่อปี 2559

ตอนนี้ ร.ฟ.ท.ต้องเสียเงินปีละหลายสิบล้านบาท ดูแลทรัพย์สิน แถมต้องควักเงินอีก 140 ล้านบาท จ้างผู้รับเหมาบูรณะโครงสร้างสถานี ระบบลิฟต์ และระบบต่าง ๆ รอวันนับถอยหลังเปิดใช้บริการพร้อมช่วง “บางซื่อ-รังสิต” ภายในปี 2564

ไม่ต่างจาก “สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย” ช่วง “บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค” ที่สร้างเสร็จกลายเป็นรถไฟฟ้าฟันหลอ การเดินรถขาดช่วง 1 สถานี จากบางซื่อ-เตาปูน เกิดจาก “สายสีม่วง” ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่สร้างเสร็จเปิดใช้ก่อน

ขณะที่ “สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย” แม้จะสร้างเสร็จ แต่ยังติดหล่มปมคัดเลือกเอกชนมาเดินรถ ที่รัฐ-เอกชนชักเย่อกันอยู่กว่า 2 ปี จะเจรจาตรงรายเดิมหรือประมูลใหม่ จนรัฐบาล คสช.ต้องงัด ม.44 มาสางปมถึง 2 ครั้ง กว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วงจะเชื่อมกันติด

ครั้งนั้น “รฟม.” ต้องจัดงบประมาณปีละ 240 ล้านบาท ดูแลโครงสร้างของสายสีน้ำเงิน

แถมเจียดเงินอีกก้อนเป็นค่าชดเชยผู้รับเหมา 800-1,000 ล้านบาท ที่ขอขยายเวลาจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ไม่รวมที่ต้องจ้าง “ขสมก.” นำรถเมล์มาวิ่งเป็น “ฟีดเดอร์” รับส่งคน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ล่าสุด “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” กำลังจะกลายเป็นภาระ และมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาให้ตามแก้กันอีกหลายปี

จับตาศาลปกครองสูงสุดนัดไต่สวน 'สายสีส้ม'
ข่าวเศรษฐกิจ
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563

ลุ้นศาลปกครองสูงสุด พิจารณาคดีรื้อทีโออาร์รถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่บีทีเอส ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน พรุ่งนี้ จับตาคำตัดสินใช้เกณฑ์ทีโออาร์ใด ก่อนเปิดซองคุณสมบัติ 23 พ.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 40, 41, 42 ... 89, 90, 91  Next
Page 41 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©