RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180609
ทั้งหมด:13491844
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 390, 391, 392 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2020 3:31 pm    Post subject: Reply with quote

2/11/20-วศ.ขนส่งทางรางร่วมกับ CRRC จัดอบรมเพิ่มความรู้แก่นักศึกษา
Faculty of Engineering,KMITL
3 พฤศจิกายน 2563 เวลา 06:48 น.

วิศวกรรมขนส่งทางราง วิศวลาดกระบัง ร่วมกับบริษัทผลิตรถไฟความเร็วสูงอันดับหนึ่งจากจีน จัดการอบรมเพิ่มความรู้ให้แก่นักศึกษาวิศวกรรมขนส่งทางราง #ความเข้มแข็มทางการวิชาการ #วิศวลาดกระบัง #ความร่วมมือทางวิชาการ #เพื่อนักศึกษา #วิศวลาดกระบัง
.
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวเปิดการอบรม ภายใต้โครงการ China-Thailand Joint Training on High-Speed Train Techology จัดโดยหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

👉 การอบรมนี้จัดเพื่อนักศึกษา วิศวกรรมขนส่งทางราง ชั้นปีที่ 3 และ 4 โดยวิทยากรจากบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ชิงเต่า ซีฟาง จำกัด (CRRC Qingdao Sifang, Co.,Ltd.) ประเทศจีน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงรายใหญ่ที่สุดของจีน ภายใต้โครงการ China-Thailand Joint Training on High-Speed Train Techology ซึ่งหัวข้อที่จำการอบรมประกอบไปด้วย
(1) Train vehicle dynamics
(2) Train vibration and impact tests
(3) Train driving siumulation platform
(4) Techinical characteristics of high-speed train vehicle

👉 การอบรมจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม 2563 รวมทั้งหมด 8 ครั้ง หลังจากการฝึกอบรมแล้ว นักศึกษาจะถูกคัดเลือกไปฝึกอบรมเชิงปฎิบัติที่จีน ในปี พ.ศ.2564 ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/11/2020 7:18 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ: รถไฟไทย-จีน VS ไฮสปีด CP สายไหนจะสร้างเสร็จก่อนกัน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ประเสริฐ จารึก

สถานการณ์การเมือง น่าจะเข้าทำนองคำโบร่ำโบราณที่ว่า "ศัตรูผูกอาฆาตมันง่าย จะให้ปรองดองกันมันยาก"

แต่ไม่ว่า "การเมือง-เศรษฐกิจ" จะเดินไปทิศทางไหน การลงทุน พัฒนาประเทศยังต้องเดินหน้าต่อ แม้ว่าจะมีชะลอไปบ้างจากปัญหาอุปสรรคระหว่างทาง

กำลังเร่งกันเป็นมือระวิง โครงการรถไฟความเร็วสูง 2 สายแรกของประเทศไทย จะเชื่อมโยงใจกลางกรุงเทพฯไปยังภาคอีสานและภาค ตะวันออก ที่อยู่ภายใต้การดำเนินการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สายแรก "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" เป็นความร่วมมือของ 2 มิตรประเทศ ระหว่างรัฐบาลไทย-รัฐบาลจีน ที่ กระชับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันมา ยาวนานด้วยรถไฟความเร็วสูง

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative เส้นทาง สายไหมศตวรรษที่ 21 จะเชื่อมภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทะลุไปถึง ยุโรปด้วยรถไฟ

จากภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้ "รัฐบาล" ทุ่มพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งมารองรับ อัพขีด ความสามารถของไทยให้แข่งขันกับ นานาประเทศ และรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในลิสต์

ตามแผน "รัฐบาลไทย" จะสร้างจากกรุงเทพฯ-หนองคาย เชื่อม "รถไฟ ความเร็วสูงลาว-จีน" ที่วิ่งจาก คุณหมิงลงมาจ่ออยู่ "เวียงจันทน์" ปัจจุบันกำลังโหมสร้าง นับวันถอยหลังเปิดบริการเดือนธันวาคม 2564

แต่เพราะต้องใช้เงินลงทุนมากถึง 431,759 ล้านบาท จึงตัดสร้างเฟสแรก 253 กม. ถึง "นครราชสีมา" โดยรัฐบาลประยุทธ์ประกาศลงทุนเอง 179,412 ล้านบาท

มีฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบ คุมการก่อสร้าง จัดหาระบบ ขบวนรถ ฝึกอบรวมบุคลากรป้อนโครงการ

จากเซ็น MOU เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 กว่าจะได้เริ่มต้นโครงการก็ เข้าสู่ปี 2560 โดย ร.ฟ.ท.ระดม รับเหมาไทย-เทศก่อสร้าง 14 สัญญา มี "กรมทางหลวง" ประเดิมสร้าง คันทางให้ 3.5 กม.จากสถานีกลางดง-ปางอโศก เพิ่งเสร็จหมาด ๆ เดือนกันยายน 2563

กำลังสร้างช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มีความคืบหน้า 42% แต่ยังล่าช้าจากแผน ส่วนที่เหลือรอ เซ็นสัญญากับผู้รับเหมา อนุมัติ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี

แต่มีเรื่องน่ายินดีระหว่างรอตอกเข็มตลอดสาย จากการปิดดีลเซ็นสัญญา ซื้อลอตใหญ่ระบบและขบวนรถไฟความเร็วสูง 48 ตู้ วงเงิน 50,633 ล้านบาท จาก "CRRC" ผู้ผลิตรถไฟฟ้ารายใหญ่จากจีน

เป็นการล็อกราคาไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะขยับไปมากกว่านี้

โดยจีนเสนอรถไฟหัวกระสุนรุ่นใหม่ "ฟู่ซิงเฮ่า" หมายถึง การผงาด ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. แทนรุ่น "เหอเสีย" หมายถึง ความสามัคคี

ดูแล้วงานระบบไม่น่าห่วง น่าลุ้นต่อคือ งานก่อสร้างที่ยังไม่ได้ฤกษ์ตอกเสาเข็มตลอดทั้งสาย จะเริ่มนับหนึ่งใน ปีหน้าอย่างที่ ร.ฟ.ท.การันตีได้หรือไม่ เพราะยังมีการเวนคืนที่ดิน และ EIA ที่ยังเคลียร์ไม่จบ

หรือถึงจะเริ่มนับหนึ่งได้สำเร็จ แต่การ แบ่งสร้างหลายสัญญา ว่ากันว่าอาจจะสร้างเสร็จแบบฟันหลอ จากการผู้รับเหมาขอต่อเวลา จากจะสร้างเสร็จ ในปี 2568 อาจจะขยับออกไปอีก ก็เป็นได้

ไม่ต่างจาก "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและ เอกชน ได้เจ้าสัว ซี.พี.มาลงทุน 224,544 ล้านบาท รับสัมปทาน 50 ปี

ล่าสุดหลังมีแนวโน้มจะปรับตำแหน่งสถานีใหม่ อาจจะทำให้การเดินหน้าโครงการล่าช้าออกไปได้ จากการทำรายงาน EIA เพิ่มเติม

จากกำหนดเดิม ร.ฟ.ท.ต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเฟสแรก "สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา" ภายในเดือนตุลาคม 2564 แล้วสร้างให้เสร็จใน 5 ปี เปิดบริการภายในปี 2569 ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะส่งมอบพื้นที่ภายในปี 2566 พร้อมเปิดบริการปี 2571

ว่ากันว่า หากรถไฟสายนี้ได้เริ่มต้นนับหนึ่ง น่าจะเดินเครื่องก่อสร้างได้เร็วกว่า "รถไฟไทย-จีน" เพราะเป็น การลงทุนของเอกชน ดังนั้น "เวลา" จึงเป็นสิ่งมีค่า ถ้าช้าแม้แต่วันเดียว ส่งผลกระทบต่อภาระดอกเบี้ยที่กู้ มาลงทุน

ถึงจะคิกออฟคนละเวลา แต่ก็เป็นที่จับตาว่า "สายไหน" จะสร้างเสร็จก่อนกัน เพื่อปักหมุดชื่อเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย !
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 10:54 am    Post subject: Reply with quote

'คณิศ'ย้ำกลุ่มซี.พี.มีสิทธิขยับสถานีรถไฟความเร็วสูงฯ

04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:47 น.


4 ต.ค. 2563 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า กรณีบจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินภายใต้การนำของกลุ่ม ซี.พี. จะขอขยับสถานีของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)ตามสัญญาการพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เดิมนั้น เป็นสิทธิตามสัญญาที่ปรับตำแหน่งได้ หากเห็นว่าพื้นที่ใหม่เป็นประโยชน์มากกว่า และต้องได้รับอนุมัติจาก รฟท.ก่อนจึงย้ายได้

ทั้งนี้เนื่องจากสถานีในละแวกนั้นมีพื้นที่น้อยไม่สามารถที่จะพัฒนาเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงได้ เช่น สถานีพัทยา เป็นสถานีเล็ก และยังมีรถไฟวิ่งอยู่ ส่วนสถานีฉะเชิงเทรา พื้นที่สถานีเดิมเป็นจุดสับรางและสับเปลี่ยนรถ มีพื้นที่ไม่เพียงพอถึง 100 ไร่ จึงไม่สามารถทำได้ในทางเทคนิค โดยขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำเรื่องเวนคืนพื้นที่

รายงานข่าวแจ้งว่าในส่วนการปรับตำแหน่งสถานีของ กลุ่ม ซี.พี.จะขยับสถานีฉะเชิงเทราไปทางด้านทิศใต้ของแม่น้ำบางปะกง แต่บางกระแสระบุว่า ไปทางบ้านโพธิ์และพื้นที่รอยต่อระหว่างหนองจอกกับถนนสุวินทวงศ์ ขณะที่สถานีชลบุรีจะอยู่ห่างจากสถานีเดิมอยู่ในเมืองออกไปเล็กน้อย ส่วนสถานีศรีราชาและสถานีพัทยาขยับลงมาอยู่ที่สถานีรถไฟบ้านห้วยขวาง ใกล้ตลาดน้ำ 4 ภาค และสวนนงนุช ที่ ซี.พี.มีที่ดินอยู่ประมาณ 600 ไร่ โดยเฟสแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รัฐจะเวนคืนส่งมอบพื้นที่ให้ตามสัญญา ต.ค. 64ใช้เวลาสร้าง 5 ปี จะแล้วเสร็จเปิดบริการในปี69 พร้อมกับสนามบินอู่ตะเภา หากเสร็จช้าจะถูกปรับตามสัญญา

อย่างไรก็ตามขณะนี้คณะทำงานอยู่ระหว่างเร่งรัดส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยเร่งประเมินการเวนคืนที่ดิน รื้อย้าย ผู้บุกรุก ระบบสาธารณูปโภค ให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม ซี.พี.ได้ตามกำหนด และเดินหน้าก่อสร้างช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายในเดือน ส.ค. 64 ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมือง ภายในเดือน ต.ค. 66 ยังติดย้ายผู้บุกรุก จำนวน 267 ราย

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)แจ้งว่าในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้จะมีการแถลงชี้แจงในกรณีกลุ่มซี.พี.ขอขยับสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟไทย-จีนเดินหน้าก่อสร้างช่วงภาชี-โคราช5สัญญา4หมื่นล.
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

รถไฟไทย-จีนเดินหน้าก่อสร้างช่วงภาชี-โคราช 5 สัญญา 4 หมื่นล้าน
อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:32 น.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การออก NTP สัญญา 2.3 แบ่ง 3 ฉบับ
1.ออกแบบระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า และขบวนรถ 700 ล้านบาท
2.ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า และผลิตขบวนรถ 48,933 ล้านบาท และ
3.งานฝึกอบรมบุคลากรและการถ่ายทอดเทคโนโลยี 1,000 ล้านบาท

“เริ่มออก NTP งานออกแบบภายในปีนี้ เพราะการออกแบบงานระบบต่าง ๆ และขบวนรถต้องใช้เวลา 10-12 เดือน”

ส่วน NTP งานติดตั้งระบบต่าง ๆ ต้องรองานออกแบบเสร็จก่อนจึงจะออกได้ ขณะที่งานฝึกอบรมบุคลากรไม่ต้องรอให้ทั้ง 2 งานเสร็จ ขึ้นอยู่กับจัดตั้งสถาบันฝึกอบรม ซึ่งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เพิ่งได้งบประมาณศึกษารูปแบบการจัดตั้งองค์กรจะดำเนินการในรูปแบบใด จะใช้เวลา 2 ปี

สำหรับงานโยธา 14 สัญญา มี 9 สัญญาที่รอเซ็นผู้รับเหมา วงเงิน 95,674.16 ล้านบาท ในเดือน พ.ย.เซ็น 5 สัญญา 40,275 ล้านบาท ได้แก่
สัญญา 3-2 อุโมงค์มวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการก่อสร้าง 4,279 ล้านบาท

สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กม. มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ก่อสร้าง 9,838 ล้านบาท
สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. มี บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) ก่อสร้าง 9,848 ล้านบาท
สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ก่อสร้า ง 7,750 ล้านบาท และ
สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง ก่อสร้าง 8,560 ล้านบาท

ส่วนสัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ยังติดอุทธรณ์ผลประมูล และอีก 4 สัญญา 39,494.16 ล้านบาท รอเปลี่ยนแปลงรายงาน EIA หลังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบให้กลับไปใช้รายงาน EIA เดิม ที่ไม่ขยายสถานีอยุธยาออกนอกแนวเขตทางรถไฟ

“สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท้วงติงแม้ใช้ EIA เดิม แต่ที่ตั้งสถานีอยุธยาอยู่ในเขตขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ต้องทำ EHIA จะศึกษาเพิ่มเติม 3-4 เดือน”
https://www.prachachat.net/property/news-550061
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2020 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโพยราคาประเมินที่ดินใหม่ ส้มหล่น EEC เวนคืนพุ่ง 6 เท่า
อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 - 16:04 น.


สถานีไฮสปีดราคาพุ่ง 3-6 เท่า
“ราคาประเมินพื้นที่อีอีซี ที่ปรับขึ้นสูงจะเป็นรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง เช่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา อู่ตะเภา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการกำหนดค่าเวนคืน” นายฐนัญพงษ์กล่าว

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ความคืบหน้าการเวนคืนที่ดินรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ล่าสุดอยู่ระหว่างดำเนินการส่งมอบพื้นที่ให้ บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (กลุ่ม ซี.พี.) ในฐานะเอกชนคู่สัญญา โดยเลื่อนกำหนดส่งมอบพื้นที่ ในเฟสแรกช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 160 กม. จากเดือน มี.ค. เป็นอย่างเร็วสุดในเดือน เม.ย. หรือช้าสุดเดือน ต.ค. 2564

เนื่องจากการเวนคืนที่ดินของโครงการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดิน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง อ.บางพลี อ.เมืองฉะเชิงเทรา อ.เมืองชลบุรี อ.ศรีราชา อ.บางละมุง อ.สัตหีบ และ อ.บ้านฉาง จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ที่ประกาศ 931 แปลงหรือ 850 ไร่ มีการปรับค่าเวนคืนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทราและชลบุรี จาก 3,570 ล้านบาท เป็น 8,000 ล้านบาท จะต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

เร่งเวนคืนให้ CP
“ราคาที่ปรับขึ้น เป็นการประเมินของคณะทำงานกำหนดค่าทดแทน ซึ่งตามกฎหมายใหม่สามารถให้ท้องถิ่นนั้นเป็นผู้กำหนดได้ โดยทางพื้นที่เสนอมาสูงกว่าราคาประเมิน 3-4 เท่า บางพื้นที่ก็ 5-7 เท่าก็มี โดยใช้ราคาตลาดเป็นหลัก เพื่อจูงใจให้ผู้ถูกเวนคืนรับเงื่อนไขการเวนคืนง่ายขึ้น ลดภาระด้านการอุทธรณ์และฟ้องร้องกันภายหลัง ทำให้เราได้ที่ดินเดินหน้าก่อสร้างโครงการได้เร็วขึ้น

แต่ยังไม่สรุปต้องเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และที่ประชุม ครม.อนุมัติก่อน อีกทั้งรอความชัดเจนเรื่องที่ตั้งสถานีที่ ซี.พี.จะปรับใหม่ที่ฉะเชิงเทรา ศรีราชา พัทยาด้วย”

รายงานข่าวแจ้งว่า การเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทาง 931 แปลงนั้น มีบริเวณทางเข้าสุวรรณภูมิ แต่จุดใหญ่อยู่ที่ อ.เมืองฉะเชิงเทรา 550 ไร่ จ.ชลบุรีและ จ.ระยอง 472 แปลง มี อ.เมืองชลบุรี 149 แปลง ได้แก่ ต.บ้านสวน ต.หนองข้างคอก 44 แปลง ต.ห้วยกะปิ 105 แปลง อ.ศรีราชา 25 แปลง ที่ ต.บางพระ 16 แปลง และ ต.สุรศักดิ์ 9 แปลง อ.บางละมุง 79 แปลง ที่ ต.นาเกลือและ ต.หนองปรือ อ.สัตหีบ 15 แปลง ต.บางเสร่ 46 แปลง เขาชีจรรย์ 13 แปลง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 66 แปลง

โดย จ.ฉะเชิงเทราค่าเวนคืนเพิ่มขึ้น 6 เท่าจากราคาประเมิน ชลบุรีและระยอง 3-4 เท่า ขณะที่การซื้อขายเปลี่ยนมือใน จ.ฉะเชิงเทราไม่ค่อยมีมากนัก เนื่องจากมีการซื้อขายไปมากแล้วในช่วงปี 2559-2560 เช่นเดียวกับ จ.ชลบุรี จากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี พบว่ามีซื้อขายเปลี่ยนมือ 70,000 แปลง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2020 10:42 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีน VS ไฮสปีด CP สายไหนจะสร้างเสร็จก่อนกัน
ประเสริฐ จารึก
คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 - 09:08 น.

สถานการณ์การเมือง น่าจะเข้าทำนองคำโบร่ำโบราณที่ว่า “ศัตรูผูกอาฆาตมันง่าย จะให้ปรองดองกันมันยาก”

แต่ไม่ว่า “การเมือง-เศรษฐกิจ” จะเดินไปทิศทางไหน การลงทุนพัฒนาประเทศยังต้องเดินหน้าต่อ แม้ว่าจะมีชะลอไปบ้างจากปัญหาอุปสรรคระหว่างทาง

กำลังเร่งกันเป็นมือระวิง โครงการรถไฟความเร็วสูง 2 สายแรกของประเทศไทย จะเชื่อมโยงใจกลางกรุงเทพฯไปยังภาคอีสานและภาคตะวันออก ที่อยู่ภายใต้การดำเนินการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

สายแรก “กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” เป็นความร่วมมือของ 2 มิตรประเทศ ระหว่างรัฐบาลไทย-รัฐบาลจีน ที่กระชับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันมายาวนานด้วยรถไฟความเร็วสูง

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทะลุไปถึงยุโรปด้วยรถไฟ

จากภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้ “รัฐบาล” ทุ่มพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งมารองรับ อัพขีดความสามารถของไทยให้แข่งขันกับนานาประเทศ และรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในลิสต์

ตามแผน “รัฐบาลไทย” จะสร้างจากกรุงเทพฯ-หนองคาย เชื่อม “รถไฟความเร็วสูงลาว-จีน” ที่วิ่งจากคุณหมิงลงมาจ่ออยู่ “เวียงจันทน์” ปัจจุบันกำลังโหมสร้าง นับวันถอยหลังเปิดบริการเดือนธันวาคม 2564

แต่เพราะต้องใช้เงินลงทุนมากถึง 431,759 ล้านบาท จึงตัดสร้างเฟสแรก 253 กม. ถึง “นครราชสีมา” โดยรัฐบาลประยุทธ์ประกาศลงทุนเอง 179,412 ล้านบาท

มีฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบ คุมการก่อสร้าง จัดหาระบบ ขบวนรถ ฝึกอบรวมบุคลากรป้อนโครงการ



จากเซ็น MOU เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 กว่าจะได้เริ่มต้นโครงการก็เข้าสู่ปี 2560 โดย ร.ฟ.ท.ระดมรับเหมาไทย-เทศก่อสร้าง 14 สัญญา มี “กรมทางหลวง” ประเดิมสร้างคันทางให้ 3.5 กม.จากสถานีกลางดง-ปางอโศก เพิ่งเสร็จหมาด ๆ เดือนกันยายน 2563

กำลังสร้างช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มีความคืบหน้า 42% แต่ยังล่าช้าจากแผน ส่วนที่เหลือรอเซ็นสัญญากับผู้รับเหมา อนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี

แต่มีเรื่องน่ายินดีระหว่างรอตอกเข็มตลอดสาย จากการปิดดีลเซ็นสัญญาซื้อลอตใหญ่ระบบและขบวนรถไฟความเร็วสูง 48 ตู้ วงเงิน 50,633ล้านบาท จาก “CRRC” ผู้ผลิตรถไฟฟ้ารายใหญ่จากจีน

เป็นการล็อกราคาไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะขยับไปมากกว่านี้

โดยจีนเสนอรถไฟหัวกระสุนรุ่นใหม่ “ฟู่ซิงเฮ่า” หมายถึง การผงาด ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. แทนรุ่น “เหอเสีย” หมายถึง ความสามัคคี

ดูแล้วงานระบบไม่น่าห่วง น่าลุ้นต่อคือ งานก่อสร้างที่ยังไม่ได้ฤกษ์ตอกเสาเข็มตลอดทั้งสาย จะเริ่มนับหนึ่งในปีหน้าอย่างที่ ร.ฟ.ท.การันตีได้หรือไม่ เพราะยังมีการเวนคืนที่ดิน และ EIA ที่ยังเคลียร์ไม่จบ

หรือถึงจะเริ่มนับหนึ่งได้สำเร็จ แต่การแบ่งสร้างหลายสัญญา ว่ากันว่าอาจจะสร้างเสร็จแบบฟันหลอ จากการผู้รับเหมาขอต่อเวลา จากจะสร้างเสร็จในปี 2568 อาจจะขยับออกไปอีกก็เป็นได้

ไม่ต่างจาก “รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ได้เจ้าสัว ซี.พี.มาลงทุน 224,544 ล้านบาท รับสัมปทาน 50 ปี

ล่าสุดหลังมีแนวโน้มจะปรับตำแหน่งสถานีใหม่ อาจจะทำให้การเดินหน้าโครงการล่าช้าออกไปได้ จากการทำรายงาน EIA เพิ่มเติม

จากกำหนดเดิม ร.ฟ.ท.ต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ภายในเดือนตุลาคม 2564 แล้วสร้างให้เสร็จใน 5 ปี เปิดบริการภายในปี 2569 ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะส่งมอบพื้นที่ภายในปี 2566 พร้อมเปิดบริการปี 2571

ว่ากันว่า หากรถไฟสายนี้ได้เริ่มต้นนับหนึ่ง น่าจะเดินเครื่องก่อสร้างได้เร็วกว่า “รถไฟไทย-จีน” เพราะเป็นการลงทุนของเอกชน ดังนั้น “เวลา” จึงเป็นสิ่งมีค่า ถ้าช้าแม้แต่วันเดียว ส่งผลกระทบต่อภาระดอกเบี้ยที่กู้มาลงทุน

ถึงจะคิกออฟคนละเวลา แต่ก็เป็นที่จับตาว่า “สายไหน” จะสร้างเสร็จก่อนกัน เพื่อปักหมุดชื่อเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย !
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2020 5:45 pm    Post subject: Reply with quote


รถไฟความเร็วสูง ยกระดับการเดินทางของไทย I BUSINESS WATCH I 08-11-2020
https://www.youtube.com/watch?v=h6EVupAI3y0
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/11/2020 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ ห้ามเขียน: เค้กก้อนใหญ่'รถไฟไทย-จีน'ผลประโยชน์ข้า...ใครอย่าแตะ
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
พรานบุญ

นกกระจิบ กระจาบ พิราบน้อย อีกา พญาเหยี่ยว ย่านหัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษมที่ปกติมิค่อยจะปรองดองกันเท่าไหร่ พากันส่งเสียงร้องระงมให้ผู้คนที่เดินทางผ่านได้สดับรับฟัง.ตุ๊บๆ ตั๊บๆ จุ๊บๆ จั๊บๆ ยังกะมีใครจ้องจะกินตับใคร

นกกา พญาเหยี่ยว ร้องเซ็งแซ่กันเรื่องเดียวคือ การประมูลงานโยธาโครงการรถไฟไทย-จีน วงเงิน 117,914 ล้านบาท ว่ากันว่า เจ้าถิ่นที่คว้างานรถไฟไทยมายาวนานนอนเป็นจรเข้ขวางคลอง ประเภทว่า "ถิ่นของข้า ใครอย่ามาแตะ"

ที่อื้ออึงกันมากในตอนนี้คือการที่ คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มี จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธานกรรมการ ชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ รองอธิบดีด้านที่ราชพัสดุกรมธนารักษ์ อำนวย ปรีมนวงศ์ อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินบริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่นชิสเทม จำกัด ธันวา เลาหศิริวงศ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) พินิจ พัวพันธ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท หลักทรัพย์เคที ชีมิโก้ จำกัด เป็นกรรมการ มีมติอันพิลึก.

ประกาศให้ กลุ่มอิตาเลี่ยนไทย ดิเวลล๊อปเม้นท์ ITD ที่จับมือพันธมิตรจีน ชนะประมูลสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ในสัญญาที่ 3-1 ช่วง แก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30 กิโลเมตร โดยระบุว่า เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด

นกกา พญาเหยี่ยว ยันอีแร้งที่สังเกตุการณ์ประมูลบอกว่า ราคาที่กลุ่มบริษัท ITD-CREC No.10JV ซึ่งประกอบด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ร่วมกับพันธมิตรจากจีนคือ ซีอาร์อีซี (CREC: China Railway Engineering Corporation) เป็นผู้เสนออยู่ที่ 9,349 ล้านบาท ขณะที่ราคากลางอยู่ที่ 11,386 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางกว่า 2,037 ล้านบาท แต่จุ๊ๆ..มิใช่ราคาที่ต่ำสุดในการประกวดทางอิเลคทรอนิกส์

กลุ่มที่เสนอราคาต่ำสุดคือกลุ่มบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด และพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งยื่นซองประกวดราคาในนามบริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด เป็นผู้ยื่นเสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ต่ำกว่า ITD-CREC No.10JV อยู่ 19 ล้านบาท แต่คณะกรรมการคัดเลือกของ ร.ฟ.ท.ได้ตัดสิทธิ์กลุ่มบริษัทนภาก่อสร้าง ด้วยเหตุผลว่า บริษัทนี้ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ เพราะเอกสารการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ไม่ถูกต้องตามทีโออาร์

ผลที่ตามมาคือ กลุ่มบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด ที่ร่วมกับพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย ในนามบริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด ได้ยื่นอุทธรณ์ผลการประมูลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ที่มี "ภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข" อธิบดีกรมบัญชีกลาง ปฎิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน

หนังสืออุทธรณ์ระบุว่า ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน ตามเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ และขอบเขตของงานทีโออาร์ รวมถึงเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ซึ่งกรณีนี้สอดคล้องกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้พิจารณาอุทธรณ์ประกวดราคาจ้างก่อสร้าง โครงการความร่วมมือแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในโครงการ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) สัญญาที่ 3-4 งานโยธา ช่วงลำตะคอง-สีคิ้วและช่วงกุดจิก-โคกกรวด ในประเด็นเรื่องคุณสมบัติของผู้อุทธรณ์ ว่าผู้อุทธรณ์ มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วน ตามเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์และทีโออาร์ เมื่อผู้อุทธรณ์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในโครงการนี้ ผู้อุทธรณ์จึงได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะการเสนอราคา

ขณะที่ รฟท.พิจารณาและเห็นว่า บริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด (ผู้อุทธรณ์) ได้ยื่นข้อเสนอในนามกิจการร่วมค้า และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ โดยการที่นายชาตรี เขมาวชิรา เป็นบุคคลธรรมดา และเป็นสมาชิกรวมตัวเข้าก่อตั้งบริษัท บีพีเอ็นพีจำกัด จึงมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ตามเงื่อนไข เอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ จึงตัดสิทธิ์ผู้อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่เห็นด้วย

ร.ฟ.ท.เห็นว่า กรณีผู้อุทธรณ์ได้ยื่นหนังสือรับรองเสนอผลงาน ตามเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์และทีโออาร์ ซึ่งมีการพิจารณาประเด็นนี้เห็นว่า. กำหนดให้กิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ให้แล้วเสร็จก่อนวันยื่นเอกสารการประกวดราคา และแนบเอกสารการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่มาด้วย โดยต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟและปลงานก่อสร้างงานโยธาที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท และต้องมีมูลค่างานก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 1,106 ล้านบาท ซึ่งรฟท.พิจารณาเห็นแล้วว่าบริษัทฯ เป็นนิติบุคคลใหม่จึงยังไม่มีผลงานในการยื่นข้อเสนอ และหนังสือรับรองผลงานเป็นหนังสือรับรอง ของนิติบุคคลอื่นที่แยกต่างหาก และไม่ได้ระบุมูลค่าที่ออกโดยของเจ้าของงาน รับรองแก่ผู้รับจ้างช่วง ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดจึงตัดสิทธิ์ผู้อุทธรณ์

ปรากฎว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เห็นด้วย และตัดสินว่า ร.ฟ.ท.ตัดสิทธิ์ไม่ได้ เนื่องจากเห็นว่า การระบุชื่อหนังสือรับรองของผลงานนั้น คณะกรรมการวินิจฉัยได้ยกเว้นผู้อุทธรณ์ เป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่สามารถนำผลงานของผู้ร่วมค้า ใช้เป็นผลงานการยื่นประกวดราคาได้

ขณะเดียวกันหนังสือรับรองผลงานโครงการเป็นบริษัทที่ก่อตั้ง ที่ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลังของรัฐบาลประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ที่ได้ตั้งบริษัทดังกล่าวดำเนินการทั้งหมด พร้อมแนบเอกสารมูลค่าโครงการ 218 ล้านริงกิตมาเลเซีย โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย 1,788 ล้านบาท ซึ่งหนังสือรับรองของผู้อุทธรณ์เป็นไปตามเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นหนังสือรับรองต่อบริษัท Prasarana Malaysia Berhad โดยรับรองว่าผู้อุทธรณ์ เป็นผู้รับจ้างช่วงและดำเนินโครงการเสร็จเรียบร้อย

กรณีนี้หนังสือรับรองจึงเป็นผลงานที่เชื่อถือได้

ข้ออ้างของผู้อุทธรณ์คือบริษัท บีพีเอ็นพีจำกัด ฟังขึ้น และมีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างเป็นนัยสำคัญจึงเห็นควรให้ร.ฟ.ท.กลับไปดำเนินการขั้นตอนการพิจารณาเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องต่อไปตามมาตรา 119 วรรค2 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ. ศ. 2560 และให้แจ้งผลการอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้ผู้อุทธรณ์ทราบ

พญาเหยี่ยวแปลไทยเป็นไทยว่า คณะกรรมการอุทธรณ์ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธานยืนยันว่า กลุ่มบริษัท นภาก่อสร้างชนะการประมูลสัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า เฉือนกลุ่มอิตาเลี่ยนไทย ดิเวลล๊อปเม้นท์ไปแบบเฉียดปลายจมูก

คำตัดสินนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ผลประกฎว่า ทางกลุ่มอิตาเลี่ยนไทย ดิเวลล๊อปเม้นท์ และทางเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่ง ซึ่ง นกกา พญาแร้ง ร้องเป็นเสียงเดียวกัน "เป็นทีมเดียวกัน"ร้องคัดค้าน

ทางกลุ่ม บริษัท ITD-CREC No.10JV โดยนายพิพัฒน์ โลราช ผู้รับมอบอำนาจ ทำหนังสือแจ้งขอคุ้มครองสิทธิ์ของกิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10JV และขอความอนุเคราะห์จากร.ฟ.ท.ถึงนิรุฒิ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. สวนหมัดมติคณะกรรมการอุทธรณ์

หนังสือดังกล่าวร้อนแรงยิ่ง ระบุว่า ผลการวินิจฉัยของคระกรรมการอุทธรณ์ฯข้างต้นนั้น เป็นผลมาจากการดำเนินงานที่ส่อไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมาย.อัยหยา.

หนังสือดังกล่าวระบุว่า คำตัดสินแบบนี้มีผลต่อข้าพเจ้าโดยตรง หากร.ฟ.ท.ดำเนินการตามผลวินิจฉัยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้าพเจ้าอย่างร้ายแรงอันไม่อาจกลับมาเป็นดังเดิมได้

จึงขอให้คณะกรรมการ ร.ฟ.ท.อละอนุกรรมการของร.ฟ.ท.ทุกคณะที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอีกกา พญาแร้งบอกว่านอกจากบอร์ด 7-8 คนแล้ว ยังมีคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทางอิเลคทรอนิกส์อีก 5 ราย ประกอบด้วย "เอก สิทธิเวคิน" ประธานกรรมการสุรณเดช ธูปะวิโรจน์ กำพล บุญชม สินีนาถ เสียงเสนาะ สมเกียรติ ทองเกิดเป็นกรรมการ ให้ระงับการดำเนินการตามผลของการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ รวมทั้งกำหนดวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ของข้าพเจ้าที่ได้รับจากคำวินิจฉัย.555

ขณะเดียวกันทาง ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท ITD-CREC No.10JV ระบุว่า จะฟ้องร้องทางคดีปกครองกับศาลปกครองกลาง ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนคำอุทรณ์.มันพะยะค่ะ

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้อวเรียน กรมบัญชีกลาง รายหนึ่งบอกว่า งานนี้ยุ่ง เพราะเสือเจ้าถิ่นบอกว่า คำตัดสินของคุณ กระทบกับผลประโยชน์ของข้าพเจ้า คุณอย่าทำให้เสียประโยชน์ ข้าพเจ้าถูกทุกอย่าง การพิจารณาคำอุทธรณ์ของกรมบัญชีกลางที่ไม่เกี่ยวกับการประมูลใดๆ แต่ดูตามกฎกติการการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ ผิด.สลบ.ดีกว่า

กติกา ผู้คนในบ้านเมืองไทยพิลึกพิลั่นมั้ยขอรับ!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2020 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ดีเดย์ 18 พ.ย.เซ็น 5 สัญญาไฮสปีด “ไทย-จีน” ก่อสร้างโยธาวงเงินกว่า 4 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18:07 น.
“รฟท.” จ่อเซ็น 5 สัญญารวด ก่อสร้างโยธาไฮสปีดไทย-จีน 4 หมื่นลบ. ดีเดย์ 18 พ.ย.นี้!


รฟท.เตรียมเซ็นงานโยธารถไฟไทย-จีน จำนวน 5 สัญญา วงเงินรวมกว่า 4 หมื่นล้าน 18 พ.ย.นี้ คาดทยอยออก NTP ให้ผู้รับเหมาเริ่มงานได้หลังปีใหม่ พร้อมเร่งทบทวน EIA ช่วงบางซื่อ-บ้านภาชี หลังได้ข้อยุติสถานีอยุธยา

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ระยะทาง 253 กม. หลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) กับจีนแล้ว

รฟท.เตรียมลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธา จำนวน 5 สัญญากับผู้รับจ้าง ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เวลา 10.00 น.
สำหรับงานโยธา จำนวน 5 สัญญา มีวงเงินรวม 40,275.33 ล้านบาท ได้แก่ สัญญา 3-2 ช่วงงานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279.33 ล้านบาท สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.60 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท สัญญา3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้วและช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท และสัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี -แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท

รายงานข่าวระบุว่า หลังจากลงนามสัญญางานโยธา 5 สัญญาแล้ว คาดว่า รฟท.จะทยอยออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ในสัญญาที่มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ นอกจากนี้จะต้องรอออกประกาศ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินในจุดที่มีการเวนคืนเพิ่มและแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ป่าไม้ คาดว่าจะออก NTP ได้ช่วงต้นปี 2564

สำหรับโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีงานโยธา จำนวน 14 สัญญา กรอบวงเงิน 117,914.08 ล้านบาท ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือสัญญา 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 สัญญา คือ สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก เตรียมลงนามก่อสร้าง 5 สัญญา

ส่วนอีก 7 สัญญา แบ่งเป็น สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. จะต้องรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ส่วนสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาผลประมูล

อีก 5 สัญญา เนื่องจากแนวเส้นทางอยู่ในช่วงบางซื่อ-บ้านภาชี ซึ่งจะมีประเด็นแบบสถานีอยุธยา โดยล่าสุดได้ข้อยุติที่ใช้แบบเดิม ซึ่งสามารถใช้ EIA เดิมอนุมัติแล้วได้ แต่ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการมรดกโลกให้ รฟท.ศึกษาผลกระทบที่จะมีต่อโบราณสถานเพิ่มเติม โดยคาดว่าใช้เวลาศึกษาประมาณ 3-4 เดือน จากนั้นจะเสนอ EIA อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานให้สามารถลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธาที่เหลือภายในกลางปี 2564 เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเวลาในการดำเนินงานสัญญา 2.3 ซึ่งจะมีการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร


“ศักดิ์สยาม” เซ็น 5 สัญญารวดรถไฟไทย-จีน 4 หมื่นล้าน 18 พ.ย.เร่งตอกเข็ม
อสังหาริมทรัพย์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17:34 น.

ดีเดย์ 18 พ.ย. “รถไฟ” ได้ฤกษ์เซ็นงานโยธา 5 สัญญา ไฮสปีดไทย-จีน “กทม.-โคราช” กว่า 4 หมื่นล้าน ”ศักดิ์สยาม” เป็นประธาน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 พ.ย. 2563 เวลา 10.00 น. นี้จะมีการจัดพิธีลงนามในสัญญางานโยธาจำนวน 5 สัญญาของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยพิธีลงนามจะจัดที่กระทรวงคมนาคม มี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี

สำหรับ 5 สัญญาที่จะมีการลงนาม วงเงินรวมทั้ง 5 สัญญา วงเงิน 40,275 ล้านงบาท ประกอบด้วย 1.สัญญา 3-2 งานอุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก – ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ชนะการประกวดราคาด้วยการเสนอราคาต่ำสุดที่วงเงิน 4,279 ล้านบาท

2.สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า – ลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กม. มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,838 ล้านบาท

3.สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง – สีคิ้ว และช่วงกุดจิก – โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. มี บจ.บีพีเอ็นพีเป็นผู้เสนอราคาสุดที่ 9,848 ล้านบาท


4.สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด – นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 7,750 ล้านบาท

5.สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี – แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 8,560 ล้านบาท

“หลังเซ็นสัญญาแล้ว คาดว่าจะสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ทันที“

ส่วนอีก 5 สัญญาที่เหลือ ได้แก่
1.สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย – กลางดง และ ปางอโศก – บันไดม้า ระยะทางรวม 30.21 กม. มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,330 ล้านบาท แต่กำลังมีกรณีพิพิาทกะอิตาเลียนไทย ที่ใช้อำนาจสั่งให้ คณะกรรมการรถไฟให้อิตาเลียนไทยชนะการประมูลจนเป็นความกัน

2.สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง – นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. มีมีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด, บจ. สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 8,626.8 ล้านบาท

3.สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร – บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 11,525.36 ล้านบาท

4 สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,913 ล้านบาท และ 5.สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว – สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,429 ล้านบาท

โดยสัญญาที่ 3-1 ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมบัญชีกลาง เนื่องจากมีการอุทธรณ์ผลประมูล ส่วนงานที่เหลืออยู่ระหว่างรอเปลี่ยนแปลงรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) หลังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบให้กลับไปใช้รายงาน EIA เดิม ที่ไม่ขยายสถานีอยุธยาออกนอกแนวเขตทางรถไฟ

รฟท.เตรียมเซ็นสัญญาก่อสร้างงานโยธาไฮสปีดไทย-จีน 5 สัญญา 18 พ.ย.นี้

ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17:59 —

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะเป็นประธานพิธีลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธา โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) จำนวน 5 สัญญา วงเงินรวม 40,275.33 ล้านบาท

ประกอบด้วย สัญญา 3-2 ช่วงงานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279.33 ล้านบาท, สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.60 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท, สัญญา3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท, สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท และสัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี -แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท

ส่วนการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ในวันนี้ได้พิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินรถไฟของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) บริเวณย่านพหลโยธิน (ริมถนนกำแพงเพชร 2) ซึ่งเป็นสถานีขนส่งหมอชิต 2 ซึ่ง บขส.ได้ค้างชำระค่าเช่าพื้นที่สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.47 หากคำนวณวันที่ 28 ก.พ.64 (สัญญาเช่าสิ้นสุด) จะเป็นเงินประมาณ 1,025 ล้านบาท



โดยบอร์ดมีมติให้ รฟท.ไปเจรจากับ บขส.เพื่อหาแนวทางออกร่วมกัน โดยให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดขององค์กรทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งที่ผ่านมานั้นการเจรจาเป็นไปในเชิงธุรกิจ แต่บอร์ดเห็นว่าทั้ง รฟท.และ บขส.ต่างก็เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการด้านคมนาคมแก่ประชาชนเหมือนกัน ดังนั้นข้อสรุปที่ได้ต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ซึ่งจะเร่งหาข้อสรุปและนำรายงานต่อที่ประชุมบอร์ด รฟท.ในเดือนธ.ค.นี้

ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2547 บขส.จ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้ รฟท.ในอัตราค่าเช่าเดิม 21.818 ล้านบาท/ปี ขณะที่ รฟท.ได้มีการปรับค่าเช่าพื้นที่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์จะปรับเพิ่มค่าเช่าปีละ 5% มีค่าเช่าค้างชำระที่เป็นส่วนต่างของอัตราที่ปรับเพิ่มจำนวน 251 ล้านบาท พื้นที่ไม่ใช้เชิงพาณิชย์จะปรับเพิ่มปีละ 2.5% คิดเป็นค่าเช่าค้างชำระที่เป็นส่วนต่างของอัตราที่ปรับเพิ่มจำนวน 774 ล้านบาท

ส่วนจะมีการต่อสัญญาเช่าหรือไม่นั้นจะต้องหารือกันต่อไป ซึ่งจะต้องเจรจาในส่วนของอัตราค่าเช่าและค่าเช่าที่ค้างชำระให้ได้ข้อยุติก่อน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ควรมีประเด็นฟ้องร้องต่อกัน และ รฟท.ไม่มีข้อข้อข้องในการต่อสัญญาเช่าพื้นที่ ซึ่ง รฟท.ยังเชื่อว่าในการเจรจาทาง บขส.จะยอมรับกรณีที่จะปรับค่าเช่าพื้นที่ให้เป็นไปตามเหตุผลของสถานการณ์ปัจจุบัน



นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ด รฟท.ยังอนุมัติการจัดทำบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้างบริหารการเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองให้กับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เป็นผู้เดินรถโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยเป็นการเพิ่มภารกิจให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ในการเตรียมบุคลากร โดยอนุมัติกรอบวงเงิน 61 ล้านบาท ดำเนินการตั้งแต่เดือน พ.ย.63 ถึงเดือน ต.ค.64 ระยะเวลา 11 เดือน เพื่อรับพนักงานชั่วคราวเข้ามาฝึกอบรมเตรียมเดินรถสายสีแดง โดยวางกรอบอัตราพนักงานชั่วคราวไว้ประมาณ 200 คน

ส่วนการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการบริหารรถไฟสายสีแดงนั้นจะเป็นแนวทางคู่ขนานที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ขณะที่ รฟท.จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเดินรถไปก่อน ซึ่งตามแผนจะมีการทดสอบการเดินรถเสมือนจริงช่วงกลางปี 2564 และเปิดเดินรถในปลายปี 2564

นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ยังเห็นชอบผลการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี เนื้อที่ 21 ไร่ 3 งาน 65.22 ตรว. โดยจะเป็นพัฒนารูปแบบ Mixed User Project ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโรงพยาบาล หรือ Health & Wellness โดยมีโรงแรมที่พักอาศัย ที่พักแบบ Serviced Apartment & Retirement ที่รองรับกลุ่มแพทย์ และผู้สูงวัย ,ศูนย์สุขภาพ ร้านค้า โดยการศึกษาพบว่า พื้นที่รอบข้างมีศักยภาพสูง โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 โดยใช้กฎหมายและระเบียบการรถไฟฯ ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้รวดเร็วเพราะไม่เป็น PPP ซึ่งโครงการมีมูลค่าลงทุน 3,332 ล้านบาท พื้นที่พัฒนา 1.1 แสนตารางเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี และระยะบริหารสัญญา 30 ปี โดยประเมินมูลค่าที่ดินประมาณ 1,770 ล้านบาท โดยมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ หรือ ROA (Return Of Asset ) ในการเช่าที่ดิน 30 ปี อัตรา 65% ของมูลค่าทรัพย์สิน และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ไม่น้อยกว่า 1,125.56 ล้านบาท



ทั้งนี้ บอร์ดให้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุน (Market Sounding) อีกครั้งเพื่อประเมินข้อมูลล่าสุด เนื่องจากเคยมีการทำ Market Sounding แล้วแต่เป็นช่วงก่อนเกิดโควิด รวมถึงประเมินช่วงเวลาในการเปิดประมูลที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน ซึ่งคาดจะประกาศเชิญชวนได้ในปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2020 11:28 am    Post subject: Reply with quote

เสร็จ100%ฐานรากไฮสปีดลอยฟ้า4.3กม.
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

'สีคิ้ว-กุดจิก'อวดผลงานรวม43% ข่าวดีของรถไฟความเร็วสูงสายแรก

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) แจ้งความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯหนองคาย ช่วงที่ 1 เส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 14 สัญญา วงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาทว่า งานก่อสร้าง 2 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. วงเงิน 362 ล้านบาท เสร็จแล้ว 100% และสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. วงเงิน 3,115 ล้านบาท ได้ผลงานประมาณ 43%

ยอมรับว่าสัญญาที่ 2-1 มีความล่าช้ากว่าแผนเนื่องจากติดปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้ขาดแคลนแรงงานบางส่วน ขณะนี้ได้เร่งรัดผู้รับเหมาให้แล้วเสร็จตามแผน อย่างไรก็ตามสัญญา 2-1 เป็นช่วงที่มีทางวิ่งทั้งยกระดับ และระดับดิน ในส่วนของทางวิ่งยกระดับประมาณ 4.3 กม. งานฐานรากเสร็จสมบูรณ์ 100% แล้ว รวมประมาณ 132 ต้น อยู่ระหว่างเร่งเทคอนกรีตเสาตอม่อทางยกระดับและเตรียมติดตั้งโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 64

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่าส่วนงานระดับดินยังเดินหน้าต่อเนื่อง อยู่ระหว่างบดอัดชั้นดิน งานก่อสร้างโยธาทั้งหมดต้องเร่งให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อสอดรับกับสัญญา 2.3 ที่จะติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และระบบสื่อสารโดยคาดว่าจะเข้าดำเนินการหลังจากนี้อีกประมาณ 1 ปี สำหรับงานโยธาในส่วนอื่นของสัญญาที่ 2-1 ได้แก่ ศูนย์ซ่อมบำรุงทางและงานระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง และระบบสาธารณูปโภคนั้น มีความคืบหน้าต่อเนื่องยังไม่พบปัญหาใด ๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าวันที่ 18 พ.ย.นี้ ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะเป็นประธานพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงอีก 5 สัญญา วงเงินรวมประมาณ 40,275 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.สัญญา 3-2 อุโมงค์มวกเหล็ก-ลำตะคอง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท
2. สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง 21.6 กม. 9,838 ล้านบาท
3.สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท
4.สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท และ
5.สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท

สวนที่เหลือ 7 สัญญานั้นรอเปิดประมูล 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อดอนเมือง 15.21 กม. ขณะที่ 1 สัญญา กำลังพิจารณาผลประมูล ส่วนอีก 5 สัญญา ซึ่งอยู่ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ภาชี ยังติดปัญหาสถานีอยุธยา ทั้งนี้ตามแผนคาดว่าโครงการไฮสปีดไทย-จีน ช่วงที่ 1 จะเปิดบริการในปี 70.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 390, 391, 392 ... 542, 543, 544  Next
Page 391 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©