Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181741
ทั้งหมด:13492979
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 107, 108, 109 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2020 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

คำนวณรายได้หลัง'ปิดรถไฟฟ้า' ลดลงกว่า22.71ล้าน จี้รัฐชี้แจงคนเดือดร้อน
การเมือง
วันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10.53 น.
คำสั่งปิดรถไฟฟ้าทำรายได้ลด 22.71 ล้าน สามารถจี้รัฐบาลต้องชี้แจงคนเดือดร้อน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14:56
20 ตุลาคม 2563 เฟซบุ๊ก Dr.Samart Ratchapolsitte ของ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าฯกทม. ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวการปิดรถไฟฟ้าช่วงมีการชุมนุม ระบุข้อความว่า



ปิดรถไฟฟ้า!
"คนหาย-รายได้หด" เท่าไหร่?

ถ้าอยากรู้ว่าในช่วงที่มีการสั่งปิดรถไฟฟ้า ผู้โดยสารรถไฟฟ้าลดลงมากมั้ย และรายได้จากค่าโดยสารลดลงเท่าไหร่ หาคำตอบได้จากบทความนี้


หลังจากกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้จัดชุมนุมกันที่แยกราชประสงค์เมื่อเย็นวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2563 ปรากฏว่ามีผู้ไปร่วมชุมนุมกันอย่างเนืองแน่น เนื่องจากเขาสามารถเดินทางเข้าออกแยกราชประสงค์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยรถไฟฟ้า ทำให้สถานที่นัดหมายตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจึงเป็นที่ปรารถนาของกลุ่มเยาวชนปลดแอก

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนัดหมายให้ไปชุมนุมกันที่แยกราชประสงค์อีกในวันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563 แต่ตำรวจได้บล็อกพื้นที่ไว้ก่อนถึงเวลานัดหมาย ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกต้องเปลี่ยนสถานที่นัดหมายไปที่แยกปทุมวัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่สามารถเดินทางเข้าออกได้โดยสะดวกรวดเร็วด้วยรถไฟฟ้าเช่นเดียวกัน ส่งผลให้มีผู้เข้าร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก



ดังนั้น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจึงสั่งปิดการใช้รถไฟฟ้าโดยอ้างว่าเพื่อรักษาความปลอดภัยของประชาชน ทั้งนี้ ได้มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบางสถานีในบางช่วงเวลาทันทีที่รู้สถานที่นัดหมายของกลุ่มเยาวชนปลดแอกที่ป่าวประกาศเชิญชวนผ่านเพจด้วยข้อความที่น่าติดตาม อาทิ

"วันนี้ภายในเวลา 15.00 น. ขอให้ทุกคนเตรียมตัวประจำที่สถานีรถไฟฟ้าทุกแห่ง"
"15.00 น. โปรดเตรียมตัวให้พร้อมที่สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานีใกล้คุณ วันนี้จะไปไหนดีน้าาาาา"
"วันนี้ประมาณบ่ายๆ เราจะนั่งรถไฟฟ้าไปไหนดีน้าาาาา วันนี้อยากไปไหนกัน"
ผมได้รับข้อมูลมาว่าการสั่งปิดรถไฟฟ้าทำให้จำนวนผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงโดยเปรียบเทียบกับวันเดียวกันของสัปดาห์ก่อนหน้าเป็นตัวเลขกลมๆ ดังนี้

1. วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563 มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสถานีราชดำริ สถานีชิดลม สถานีสยาม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสถานีราชเทวี และสั่งปิดรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสถานีสามย่าน ทำให้จำนวนผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงดังนี้
1.1 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงประมาณ 50,000 คน
1.2 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีเพิ่มขึ้นประมาณ 8,000 คน เหตุที่เพิ่มขึ้นก็เพราะว่าผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้เอ็มอาร์ทีแทนบีทีเอสที่ถูกปิดหลายสถานี ในขณะที่เอ็มอาร์ทีถูกปิดเพียงสถานีเดียวเท่านั้น

2. วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2563 มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีทุกสถานี ทำให้จำนวนผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงดังนี้
2.1 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงประมาณ 250,000 คน
2.2 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีลดลงประมาณ 150,000 คน

3. วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2563 มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีพหลโยธิน 24 สถานีห้าแยกลาดพร้าว สถานีหมอชิต สถานีอารีย์ สถานีสนามเป้า สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีพญาไท สถานีราชเทวี สถานีอโศก สถานีอุดมสุข สถานีบางนา สถานีช่องนนทรี สถานีสุรศักดิ์ สถานีกรุงธนบุรี และสถานีวงเวียนใหญ่ และสั่งปิดรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสถานีหัวลำโพง สถานีลุมพินี สถานีสุขุมวิท สถานีพหลโยธิน และสถานีจตุจักร ทำให้จำนวนผู้โดยสารเปลี่ยนแปลงดังนี้
3.1 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงประมาณ 150,000 คน
3.2 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีลดลง 80,000 คน



4. วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2563 มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรมป่าไม้ สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถานีเสนานิคม ทำให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงประมาณ 85,000 คน ไม่มีการสั่งปิดรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที

รวมจำนวนผู้โดยสารลดลงในช่วงที่สั่งปิดรถไฟฟ้าบางสถานีและบางช่วงเวลาระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2563 ประมาณ 757,000 คน ผมประเมินพบว่าค่าโดยสารเฉลี่ยเท่ากับ 30 บาท/คน ดังนั้น รายได้จากค่าโดยสารลดลงประมาณ 22.71 ล้านบาท

จำนวนเงิน 22.71 ล้านบาท ไม่เป็นภาระหนักของรัฐที่จะต้องชดเชยให้เอกชนที่รับสัมปทาน แต่เป็นภาระหนักของรัฐที่จะต้องชี้แจงให้พี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเข้าใจว่าเหตุใดรัฐจึงสั่งให้ปิดรถไฟฟ้าจนทำให้เขาเดือดร้อน ต้องเสียทั้งเงินและเวลาเพิ่มขึ้น เนื่องจากแม้ว่ารัฐได้สั่งให้ปิดรถไฟฟ้าแล้วก็ตาม แต่ผู้เข้าร่วมชุมนุมก็ยังคงมีมากอยู่ดี

ดังนั้น รัฐควรทบทวนว่าการสั่งปิดรถไฟฟ้าเป็นการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือไม่?
#ปิดรถไฟฟ้า
https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/2172345719576986
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2020 12:24 am    Post subject: Reply with quote

“BTS” ยันปิดรถไฟฟ้าตามคำสั่งรัฐ ไม่ได้ปิดเองพร้อมให้บริการอย่างดี
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 21 ตุลาคม 2563 - 21:22 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ชี้แจงกรณีที่มีการเสนอข่าวผ่านทางสื่อออนไลน์ว่า การปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงที่มีการชุมนุมเป็นความสมัครใจของผู้ให้บริการนั้น

BTSC จำเป็นต้องประกาศหยุดให้บริการรถไฟฟ้าทุกครั้ง ตามคำสั่งจาก กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) และคำสั่งศูนย์ติดตามสถานการณ์กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร เรื่องห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมและอาคารสถานที่ ทาง BTSC ได้เข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่ต้องทำตามหน้าที่ แต่ทุกครั้งก่อนที่จะมีการปิดให้บริการรถไฟฟ้า จะมีการประชุมหารือร่วมกับตำรวจทุกครั้ง และได้มีการชี้แจงให้ทราบผลกระทบที่จะตามมา แต่ทางตำรวจเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก BTSC ก็ต้องปฏิบัติตาม



BTSC ตระหนักถึงผู้โดยสารทุกท่าน และเข้าใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน รถไฟฟ้าบีทีเอส ยังคงมุ่งมั่นให้บริการผู้โดยสารของเราอย่างดี และขอเป็นกำลังใจให้คนไทยทุกคน ผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2020 1:29 pm    Post subject: Reply with quote


ยี่สิบกว่าปี ของการให้บริการรถไฟฟ้าในไทย ในคอมเม้นเวียดนาม
https://www.youtube.com/watch?v=cMSZLwV8oLA
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2020 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดพิกัด!! นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอสเที่ยวงาน”วันลอยกระทง”
*เลือกตามใจชอบฟินได้ทั่วกรุงฯ-สมุทรปราการ
*คุมเข้มโควิด-19/ดูแลความปลอดภัยผู้โดยสาร
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2751903768364457
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2020 2:36 am    Post subject: Reply with quote

🚈 สถานีต่อไป สถานีศึกษาวิทยา : Next Station, Suksa Wittaya Station (S4)
BKKTrains
1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 20:36

🚈 สถานีศึกษาวิทยาเป็นหนึ่งในสถานีของเส้นทางรถไฟฟ้า BTS สายสีลม ซึ่งมีการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของสถานีศึกษาวิทยาให้อยู่ระหว่างสถานีช่องนนทรี (S3) และสถานีสุรศักดิ์ (S5) มีระยะห่างจากสถานีช่องนนทรีอยู่ที่ 609 เมตร และจากสถานีสุรศักดิ์อยู่ที่ 590 เมตร
🚈 โดยแรกเริ่มเมื่อรถไฟฟ้า BTS เปิดให้บริการในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 นั้น สถานีศึกษาวิทยาแห่งนี้ยังไม่ได้มีการก่อสร้าง และถูกกำหนดให้เป็นสถานีในอนาคต ซึ่งทาง BTS จะดำเนินการก่อสร้างในภายหลังเมื่อมีปริมาณการเดินทางเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ทาง BTS ได้มีการคิดค่าโดยสารหากผู้โดยสารเดินทางผ่านตำแหน่งที่ตั้งของสถานีศึกษาวิทยามาตั้งแต่เปิดให้บริการในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
🚈 ในปัจจุบัน (01.11.63) สถานีศึกษาวิทยาอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง โดยได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากกลุ่มบริษัท AIA คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2564
🚈 สำหรับชื่อสถานีศึกษาวิทยา มีที่มาจากชื่อของซอยสาทร 10 (ซอยศึกษาวิทยา 1) และซอยสาทร 12 (ซอยศึกษาวิทยา 2)
🚈 ข้อมูลทั่วไปของสถานีศึกษาวิทยา (S4)
👉 เส้นทาง : รถไฟฟ้า BTS สายสีลม
👉 ที่ตั้ง : บริเวณเหนือคลองสาทร ระหว่างถนนสาทรเหนือ และสาทรใต้ ระหว่างซอยสาทร 10 และซอยสาทร 12 (ซอยศึกษาวิทยา) ระหว่างสถานีช่องนนทรี (S3) และสถานีสุรศักดิ์ (S5)
👉 ระยะห่างระหว่างสถานี (วัดที่จุดกึ่งกลางสถานีตามเส้นทางเดินรถไฟฟ้า)
🟢 สถานีศึกษาวิทยา - สถานีช่องนนทรี : 609 เมตร
🟢 สถานีศึกษาวิทยา - สุรศักดิ์ : 590 เมตร
👉 รูปแบบชานชาลา : ชานชาลาด้านข้าง (​Side Platform)
👉 จำนวนชานชาลา : 2 ชานชาลา
👉 วันที่เริ่มก่อสร้าง : 1 พฤษภาคม 2562
👉 กำหนดเปิดให้บริการ : ภายในปี 2564
👉 ผู้รับเหมาก่อสร้าง : บริษัท จอมธกล จำกัด
🚈 Fun Fact เกี่ยวกับสถานีศึกษาวิทยา
ระยะห่างระหว่างสถานีศึกษาวิทยาและสถานีสุรศักดิ์ ถ้าวัดจากจุดกึ่งกลางสถานีถึงจุดกึ่งกลางสถานี ไปตามเส้นทางรถไฟฟ้า จะอยู่ที่ 590 เมตร แต่ถ้าวัดจากขอบชานชาลาถึงขอบชานชาลา จะมีระยะห่างอยู่ที่ 460 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่น้อยกว่าความยาวของสถานีบางพลูในเส้นทางสายสีม่วงทั้งสถานีครับ (สถานีบางพลูมีความยาวโครงสร้างทั้งสถานีอยู่ที่ 468 เมตร) ช่องว่างระหว่างสถานีศึกษาวิทยาละสถานีสุรศักดิ์ ยังไม่สามารถจับสถานีบางพลูของสายสีม่วงใส่ลงไปในช่องว่างนั้นได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2020 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดไส้ในสัมปทานสายสีเขียว BTS ลุ้น “ประยุทธ์-อาคม” เคาะปิดดีล
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 - 09:00 น.

Click on the image for full size

แม้จะผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจไปแล้วตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 ล่าสุด “สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว” มี บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ของเจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอส “คีรี กาญจนพาสน์” เป็นคู่สัญญากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังไม่ได้รับการประทับตราจากคณะรัฐมนตรี ครม. ต้องฝ่าด่านขุนคลังคนใหม่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ที่ต้องเจียระไนรายละเอียด

ถึงไทม์ไลน์การเซ็นสัญญายังไม่ปรากฏ คงไม่กระทบต่อเจ้าพ่อบีทีเอสมากนัก เพราะสัญญาสัมปทานเดิมยังเหลืออีกตั้ง 9 ปี แถมยังได้รับค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายจาก กทม.ทุกเดือน จนกว่าสัมปทานใหม่จะเริ่มนับหนึ่ง

สำหรับสัมปทานใหม่จะรวมของเก่า จะสิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค. 2572 เป็นสัญญาเดียวกัน มีระยะเวลา 30 ปี แต่จะเริ่มนับหนึ่งต่อเมื่อสิ้นสุดสัมปทานเดิมไปแล้ว เพราะปัจจุบันบีทีเอสนำเข้าไปอยู่ในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท ไม่สามารถจะนำมาทำอะไรได้ โดยสัญญาใหม่เริ่มรันวันที่ 5 ธ.ค. 2572-วันที่ 4 ธ.ค. 2602

บทสรุปออกมาแบบนี้ เป็นเพราะ กทม.ต้องการให้เอกชนหาเงินก้อนมาปลดหนี้ก่อสร้างส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่รับช่วงมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าปรับปรุงสถานีตากสิน รวมแล้วอยู่ที่ประมาณ 107,000 ล้านบาท พร้อมเขย่าโครงสร้างราคาใหม่ เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่องทั้งโครงการ เริ่มต้น 15-65 บาท

ซึ่งการเจรจาสัมปทานดำเนินการตามคำสั่ง คสช. เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานการเจรจา ซึ่งคณะกรรมการมีประชุม 10 ครั้ง ถึงจะได้ข้อยุติออกมาเป็นการขยายระยะเวลาร่วมทุนเพิ่มเติม จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค. 2572-2602

ในรายละเอียดผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายโดยนับเป็นทุนของโครงการ มีค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-คูคตทั้งหมด

รับภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของหนี้เงินกู้ที่ กทม.มีต่อกระทรวงการคลัง จำนวน 44,429 ล้านบาท สำหรับช่วงระยะเวลาร่วมลงทุนเดิม

ส่วนต่างค่าจ้างการให้บริการเดินรถ และรายได้ค่าโดยสารของส่วนต่อขยาย และค่าตอบแทนเพิ่มเติมสำหรับช่วงระยะเวลาร่วมทุนเดิม แต่ปรับลดผลตอบแทนของผู้รับสัมปทานหรือ EIRR จะปรับลดค่าจ้างการให้บริการเดินรถลง 16%

รับภาระส่วนต่างค่าจ้างให้บริการเดินรถและรายได้ค่าโดยสารส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่งและตากสิน-บางหว้า ซึ่งคงค้างอยู่ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2562 ถึงวันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลบังคับใช้ และส่วนต่อขยายใหม่ทั้งหมดก่อนที่สัญญาร่วมทุนมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ผู้รับจ้างยังคงมีสิทธิได้รับค่าจ้างบริการเดินรถคงค้างทั้งหมดตั้งแต่ ธ.ค. 2561-เม.ย. 2562


ผู้รับสัมปทานจะชำระค่าตอบแทนเพิ่มเติมจำนวน 5% ของรายได้ค่าโดยสารจากส่วนต่อขยายทั้งหมด เพื่อตอบแทนการให้สิทธิดำเนินกิจการพาณิชย์ของส่วนหลักที่นอกเหนือจากสัมปทานเดิมและส่วนต่อขยาย โดยนำไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าจ้างการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงในส่วนหลักและส่วนต่อขยาย





นอกจากนี้ต้องรับผิดชอบปรับปรุงสถานีสะพานตากสินนับเฉพาะส่วนค่าปรับปรุงสะพานและรางรถไฟฟ้าให้เป็น 2 ราง จัดทำประตูกั้นชานชาลาเส้นทางหลักและส่วนต่อขยาย และบำรุงรักษาสะพานคนเดินหรือ sky walk ส่วนต่อขยายในช่วงสัมปทานเดิม รับผิดชอบชำระเงินสนับสนุนที่ผู้รับสัมปทานต้องชำระเพื่อชดเชยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าโดยสารแก่กองทุน ในช่วงระยะเวลาร่วมทุนเดิม

ชำระค่าใช้ที่ดิน ค่าเช่าที่ราชพัสดุบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต รวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริงตามจำนวนที่ กทม.ชำระให้แก่กรมธนารักษ์ โดยนับเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการเฉพาะช่วงระยะเวลารวมลงทุน 2572-2602

ขณะที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กทม.จะรับผิดชอบเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ เว้นส่วนที่ผู้รับสัมปทานใช้ดำเนินการกิจการพาณิชย์ ส่วนเอกชนรับผิดชอบภาระภาษีที่อยู่นอกท้องที่ กทม.และภาษีอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการของเอกชน

ส่วนหลักเกณฑ์การปรับเพดานค่าโดยสาร ใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ปรับทุก 24 เดือน มีโครงสร้างอัตราค่าโดยสารเส้นทางหลักปี 2562-4 ธ.ค. 2572 กำหนดเป็น 15 บาท สูงสุดไม่เกิน 44 บาท

โครงสร้างค่าโดยสารส่วนต่อขยายปี 2562-2602 และเส้นทางหลัก วันที่ 5 ธ.ค. 2572-2602 กำหนดเป็น 15 บาท บวกเพิ่ม 3 บาทต่อสถานี สูงสุดไม่เกิน 65 บาท โดยค่าแรกเข้าจะยกเว้นเฉพาะผู้โดยสารที่เปลี่ยนถ่ายมาจากระบบรถไฟฟ้าอื่นที่ยกเว้นค่าแรกเข้าระบบที่เปลี่ยนมาโครงการภายใต้ระบบตั๋วร่วม

สำหรับผลตอบแทนที่เสนอให้ กทม. ในช่วงปี 2562-2572 ชำระภาระค่างานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกลส่วนต่อขยายใหม่ ภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเงินกู้ที่มีต่อกระทรวงการคลัง ภาระส่วนต่างค่าจ้างการให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายทั้งหมด กับรายได้และค่าตอบแทนที่เพิ่มเติม

ภาระค่าจ้างการให้บริการเดินรถคงค้างของส่วนต่อขยาย ก่อนวันที่สัญญาร่วมทุนจะมีผลบังคับใช้ ภาระค่าตอบแทนเพิ่มเติม 5% ของรายได้ค่าโดยสารส่วนต่อขยาย

ระหว่างปี 2573-2602 จะแบ่งรายได้ให้ กทม.ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค. 2572-4 ธ.ค. 2602 ในช่วง 15 ปีแรก 2572-2587 อัตรา 10% ของรายได้ค่าโดยสาร ระยะ 10 ปีต่อมา 2588-2597 อัตรา 15% ของรายได้ค่าโดยสาร และ 5 ปีสุดท้าย 2598-2602 อัตรา 25% ของรายได้ค่าโดยสาร หากผลตอบแทนเกินกว่า 9.60% จะแบ่งกระแสเงินสดสุทธิต่อผู้ถือหุ้นให้ กทม.เพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา

ทั้งนี้มีข้อสังเกตจากสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องการแก้ไขหรือยกเลิกสัญญาหลักของโครงการในส่วนสัญญาจ้างให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนหลักและส่วนต่อขยาย และสัญญาอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจน ก่อนลงนามสัญญา

เป็นผลเจรจาที่ผ่านการพิจารณาจากเจ้ากระทรวงมหาดไทย แต่ไม่รู้เพราะเหตุใดถึงถูก “ดอง” มานานร่วมปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2020 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

มือดีพ่นสี ภาพ 3 นิ้วบนรถไฟฟ้า
โดย PPTV Online

เผยแพร่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 07:34น.

ปรับปรุงล่าสุด 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 08:05น.


แชร์ว่อน มือมืดพ่นสัญลักษณ์สามนิ้วในขบวนรถไฟฟ้า จี้หาคนทำ
เด่นออนไลน์
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 19:19 น.

บนโลกออนไลน์ได้กระแสวิพากษ์วิจารณ์อันร้อนแรงขึ้นมาทันที หลังจากสมาชิกผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้ออกมาเผยเรื่องราวบนรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งมีบุคคลปริศนาได้ทำการพ่นสีเป็นภาพ 3 นิ้ว อยู่บนผนังรถไฟฟ้า โดยผู้ใช้ทวิตรายดังกล่าวได้ระบุข้อความว่า “พ่นบน BTS ..ดาราเห็นยัง”


หลังจากเรื่องดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปเป็นสาธารณะ ต่างก็มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก อาทิ ฝากด้วยนะคะ จับคนทำลายทรัพย์สินได้ยังคะ ใครเป็นคนทำ, ขอให้สืบหาตัวคนทำเจอค่ะ รอกล้องจากบีทีเอสเลย, ไม่ยากแค่เปิดกล้องก็เจอตัวแล้ว, บรรยากาศคล้ายม็อบฮ่องกงเข้าทุกวัน, ทำลายสาธารณสมบัติ สะท้อนถึงภาวะหย่อนการอบรม #ไทยนี้รักสงบ

ล่าสุด ทางทวิตเตอร์ @BKKTrains ได้ออกชี้แจงถึงเรื่องราวดังกล่าว ระบุว่า “รถไฟขบวนในภาพ เป็นรถไฟใหม่ จาก CRRC Changchun (หมายเลข 75-98) มีกล้องวงจรปิดติดตั้งภายในห้องโดยสารทุกตู้ครับ คงไม่ยากถ้าจะหาคนทำ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2020 10:28 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสทวงค่าจ้างเดินรถส่วนขยาย กทม.ไม่มีเงินต้องขอรัฐบาล 8 พันล้าน
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 07:34น.

บีทีเอสซี ทวงเงินค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายกว่า 8 พันล้านบาท ขู่ กทม.ไม่จ่ายจะหยุดเดินรถ วันที่ 16 พ.ย.63 ที่ศาลาว่าการ กทม. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหาร กทม. ถึงความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เต็มระบบว่า จากผลทดสอบการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายส่วนที่เหลือ จากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ถึงสถานีคูคต ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด


ซึ่งตามกำหนดเดิมจะเปิดให้บริการวันที่ 16 ธ.ค.นี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน แต่อย่างไร ก็ตาม อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือบีทีเอสซี ผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ทำหนังสือทวงถามค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ซึ่งเริ่มทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันเป็นเงินกว่า 8,000 ล้านบาท หาก กทม.ไม่จ่ายบริษัทแจ้งว่าอาจจำเป็นต้องหยุดวิ่งให้บริการ ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้ กทม.ไม่มีเงินจ่าย ต้องขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลมอบให้ กทม.รับผิดชอบเดินรถ และส่วนที่เปิดให้บริการไม่ได้เก็บค่าโดยสารแต่อย่างใด


ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการทดสอบเดินรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1 ช่วงสถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถเปิดให้บริการได้ตามกำหนดวันที่ 16 ธ.ค.นี้แน่นอน โดยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว กทม.ได้มอบให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที ดำเนินการ ซึ่งไม่ได้ใช้งบประมาณของภาครัฐ แต่ใช้รายได้ล่วงหน้าจากการให้สิทธิพื้นที่โฆษณาบนรถไฟฟ้ามาลงทุนก่อสร้าง ซึ่งเป็นรูปแบบการแสวงหา ความร่วมมือกับภาคเอกชน จึงทำให้โครงการแล้วเสร็จโดยเร็วและไม่ต้องรอกระบวนการวิธีงบประมาณจากภาครัฐและทรัพย์สินในโครงการยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม. อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2020 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ร้อน! ปมขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียวอีก 30 ปี คมนาคมชนมหาดไทย
17 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:59 pm

กรุงเทพฯ 17 พ.ย. – ร้อน! ก.คมนาคมชนมหาดไทย ประเด็นขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปี เก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย เหตุสัมปทานเดิมจะหมดสัญญา 9-10 ปีข้างหน้า หลังมีการเทียบข้อมูลกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปัจจุบันเก็บแค่ 42 บาท ตลอดสายระยะทางไกลกว่า



ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (17พ.ย.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กระทรวงมหาดไทยได้มีการเสนอขออนุมัติผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะขยายสัญญาสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสออกไปอีก 30 ปี โดยจะมีการขยายระยะเวลาร่วมลงทุนเพิ่มเติมจากเดิมสิ้นสุดปี 2572 เป็นสิ้นสุดปี 2602 แลกกับเก็บค่าโดยสารที่ 65 บาทตลอดสาย และในส่วนภาระค่าใช้จ่ายที่สำคัญและเกี่ยวข้องของโครงการ โดยผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) สำหรับส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งหมด โดยนับเป็นทุนของโครงการ

นอกจากนี้ ผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของหนี้เงินกู้ที่กรุงเทพมหานครมีต่อกระทรวงการคลังไม่เกิน 44,429 ล้านบาท สำหรับช่วงระยะเวลาร่วมลงทุนเดิม โดยนับเป็นทุนของโครงการ แต่ในที่ประชุม ครม.ยังไม่อนุมัติให้มหาดไทยไปกลับไปทำรายละเอียดใหม่



ซึ่งจากข้อเสนอในร่างสัญญาดังกล่าว กรมการขนส่งทางราง (ขร.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้ตั้งข้อสังเกตควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ จึงขอเสนอความเห็นเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาว่า จากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตาม ม.44 ได้ยกเว้นการหลักการของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ปี 2562 แต่ไม่ได้ให้ยกเว้นวินัยทางการเงินการคลัง ขณะเดียวกันทาง กรุงเทพมหานคร (กทม.) และบีทีเอส ไม่สามารถหาและตอบที่มาของการกำหนด อัตราจัดเก็บค่าโดยสารในช่วงการต่อสัญญาสัมปทานที่ราคา 65 บาทตลอดสาย ว่ามีที่มาจัดกำหนดค่าโดยสารอย่างไร และมีการวิเคราะห์โครงการเชิงผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ (ERR) และอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FRR) รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุน ปริมาณผู้โดยสาร และราคาค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่

ส่วนประเด็นการคิดอัตราคำโดยสารที่เหมาะสมเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ปรากฎว่าร่างสัญญาร่วมลงทุนโครการรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีระยะทาง 15 กม.กำหนดให้มีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย เมื่อมีการเปรียบเทียบกับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปัจจุบันกลับพบว่ามีราคาค่าโดยสารที่สูงกว่า ขณะที่มีระยะทางให้บริการถึง 50 กม.แต่เก็บค่าโดยสารเพียง 42 บาท ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงเห็นว่าการคิดอัตราค่าโดยสารควรที่จะมีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการและจากการศึกษาพบว่าปัจจุบันผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางรถไฟฟ้าจำนวน 130 บาทต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 35 % ของค่าแรงขั้นต่ำ

ดังนั้น เมื่อมีการเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารระหว่างการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปัจจุบัน พบว่ามีระยะทางเพียง 50 กม.เก็บค่าโดยสารเพียง 42 บาท ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีระยะทาง 15 กม.และจะหมดสัญญาสัมปทานระหว่างบีทีเอสกับภาครัฐจะหมดลงในอีก 9-10 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะขยายสัญญาสัมปทานให้เอกชนอีก 30 ปี



เพราะจากเงื่อนไขในร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะควบคุมอัตราค่าโดยสารไม่เกิน65 บาทตลอดสาย โดยกระทรวงมหาดไทยใช้ข้อมูลในปี 2562 เป็นฐานในการเปรียบเทียและคำนวณ ทางขนส่งทางรางจึงมีความเห็นว่าในอนาคตเมื่อปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ประกอบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นทางหลักของส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่น ย่อมส่งผลให้สามารถลดอัตราค่าโดยสารลงได้มากกว่า 65 บาท ดังนั้น การควบคุมอัตราไว้ไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย จึงควรวิเคราะห์ตันทุนที่แท้จริงเป็นหลัก และพิจารณาการเชื่อมต่อค่าแรกเข้ากำหนดเป็นเงื่อนไขเมื่อมีการเดินทางเปลี่ยนสายทาง เพื่อลดภาระให้แก่ประชาชนด้วย

นอกจากนี้ ในความเห็นจากกรมการขนส่งทางรางยังระบุอีกว่าจากการพิจารณาอัตราค่าโดยสารเมื่อเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่น พบว่า ปัจจุบันสายสีเขียวเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 20 ปี ซึ่งได้ผ่านจุดคุ้มทุนมาแล้ว มีผู้โดยสารประมาณ 800,000-1,000,000 คน (สถิติประมาณการก่อนวิกฤติโควิด) และมีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีผู้โดยสารประมาณ 300,000 คนต่อวัน และมีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 42 บาทตลอดสาย แต่ยังสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง จึงเห็นว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวสามารถกำหนดราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรมและถูกลงกว่า 65 บาทได้

ผู้สื่อข่าวรายวานต่อว่า ส่วนประเด็นการใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกขนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายเขียว ส่งผลให้สินทรัพย์ทั้งหมดที่กำลังจะตกเป็นของรัฐเมื่อครบกำหนดตามสัญญาสัมปทาน ใช้ประโชน์โดยผู้รับสัญญาสัมปทานรายเดิมต่อเนื่องไป และรวมส่วนต่อขยายที่ 1และส่วนต่อขยายที่ 2 ทำให้มีสินทรัพย์ดังนี้ คือ สินทรัพย์เดิมของรัฐ จำนวน 23.5 กิโลเมตรแรก ,สินทรัพย์ของกรุงเทพธนาคม จำนวน 12.75 กิโลมตร (ตากสิน-บางหว้า-อ่อนนุช- แบริ่ง) สินทรัพย์ที่ได้รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 13 กิโลเมตร (แบริ่ง-สมุทรปราการ) และจำนวน 19 กิโลเมตร (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต)รวมระยะความยาวโครงข่ายเส้นทางทั้งหมด 68.25 กิโลเมตร กรณีหากสินทรัพย์ตกเป็นของรัฐในปี 2572 และรัฐให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการจะทำให้เอกชนมีการลงทุนเพิ่มเติมในการจัดหางานระบบเดินรถสัดส่วนน้อยกว่าการลงทุนโครงการใหม่ ดังนั้น ประเด็นนี้ จึงควรพิจารณาให้เกิดความชัดเจนถ่องแท้ถึงการใช้สินทรัพย์ว่ารัฐควรได้ประโยชน์จากการขยายสัญญาสัมปทานเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อป้องกันมิให้รัฐเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับและประโยชน์อันพึงมีที่จะตกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นจากกรณีกรุงเทพมหานครได้ทำสัญญาจ้าง BTSC เดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ไปจนถึงปี 2585 และได้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะมีผลต่อสัมปทานที่อยู่ระหว่างการดำเนิการต่อสัญญา จึงสมควรรอผลการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนแล้วพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปด้วย.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2020 7:41 pm    Post subject: Reply with quote

ยังไม่จบ! ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปอีก 30 ปี ‘กรมรางฯ’ แจงปมค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย เทียบรถไฟฟ้าสีน้ำเงินระยะทางไกลกว่า คิดแค่ 42 บาท
17 พฤศจิกายน 2563

“คมนาคม” ติง “มหาดไทย” ปมขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปี ลั่นข้ออ้างค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย ลุยเทียบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินระยะทางไกลกว่า เก็บแค่ 42 บาทตลอดสาย เชื่ออนาคตผู้โดยสารเพิ่ม ลดค่าโดยสารถูกลง–เหมาะสม–เป็นธรรมได้ ด้านกรณีหากหมดสัญญา “สินทรัพย์” ตกเป็นของรัฐ ให้คำนึงประโยชน์รัฐสูงสุด พร้อมรอ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อพิพาทต่อขยาย 1-2 ถึงปี 85
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (17 พ.ย. 2563) กระทรวงมหาดไทยได้มีการเสนอขออนุมัติผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะขยายสัญญาสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสออกไปอีก 30 ปี จากที่จะครบอายุสัญญาสัมปทานในปี 2572 เป็นสิ้นสุดในปี 2602 แลกกับเก็บค่าโดยสารที่ 65 บาทตลอดสาย และในส่วนภาระค่าใช้จ่ายที่สำคัญและเกี่ยวข้องของโครงการ โดยผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในค่าติดตั้งงานระบบ ไฟฟ้า และเครื่องกล (E&M) สำหรับส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งหมด โดยนับเป็นทุนของโครงการ นอกจากนี้ ผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของหนี้เงินกู้ที่กรุงเทพมหานครมีต่อกระทรวงการคลังเป็นจำนวนไม่เกิน 44,429 ล้านบาท สำหรับช่วงระยะเวลาร่วมลงทุนเดิม โดยนับเป็นทุนของโครงการ แต่ในที่ประชุม ครม.ยังไม่อนุมัติให้มหาดไทยไปกลับไปทำรายละเอียดใหม่

ทั้งนี้ จากข้อเสนอในร่างสัญญาดังกล่าว กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบและข้อเท็จจริงแล้วแล้ว จึงขอเสนอความเห็นเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาว่า จากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความงบแห่งชาติ (คสช.) ตาม ม.44 ได้ยกเว้นการหลักการของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ปี 2562 แต่ไม่ได้ให้ยกเว้นวินัยทางการเงินการคลังขณะเดียวกันทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) และบีทีเอส ไม่สามารถหาที่มาของการจัดเก็บค่าโดยสารที่ 65 บาทตลอดสายแลกกับสัญญาสัมปทานได้ว่า มีที่มาจัดเก็บค่าโดยสารอย่างไร และมีการวิเคราะห์โครงการในเชิงผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิ (ERR) และอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FRR) รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุน ปริมาณผู้โดยสาร และราคาค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับประชาชนอย่างไร

ในส่วนประเด็นการคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ปรากฎว่าร่างสัญญาร่วมลงทุนโครการรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีระยะทาง 15 กิโลเมตร (กม.) กำหนดให้มีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ซึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบกับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปัจจุบันกลับพบว่า มีราคาค่าโดยสารที่สูงกว่า ขณะที่มีระยะทางให้บริการถึง 50 กม. แต่เก็บค่าโดยสารเพียง 42 บาท ดังนั้น ทางกระทรวงคมนาคมจึงเห็นว่า การคิดอัตราค่าโดยสารควรที่จะมีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางรถไฟฟ้าจำนวน 130 บาทต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 35 % ของค่าแรงขั้นต่ำ

ดังนั้น เมื่อมีการเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารระหว่างการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปัจจุบัน พบว่ามีระยะทางเพียง 50 กม. เก็บค่าโดยสารเพียง 42 บาท ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีระยะทาง 15 กม. และจะหมดสัญญาสัมปทานระหว่างบีทีเอสกับภาครัฐ จะหมดลงในอีก 9-10 ข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะขยายสัญญาสัมปทานให้เอกชนอีก 30 ปี เพราะจากเงื่อนไขในร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะควบคุมอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย โดยกระทรวงมหาดไทยใช้ข้อมูลในปี2562 เป็นฐานในการเปรียบเทียบและคำนวณ ทาง ขร.จึงมีความเห็นว่า ในอนาคตเมื่อปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ประกอบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นทางหลักของเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่น ย่อมส่งผลให้สามารถลดอัตราค่าโดยสารลงได้มากกว่า 65 บาท ดังนั้น การควบคุมอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย จึงถือเป็นการดำเนินการที่สมควรวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริงเป็นหลัก และลดหรืองดกรณีการเชื่อมต่อค่าแรกเข้า กำหนดเป็นเงื่อนไขเมื่อมีการเดินทางเปลี่ยนสายทาง เพื่อลดภาระให้แก่ประชาชนด้วย



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งอีกว่า ในความเห็นจาก ขร.ยังได้ระบุว่า จากการพิจารณาอัตราค่าโดยสาร เมื่อเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่น พบว่า ปัจจุบันสายสีเขียวเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 20 ปี ซึ่งได้ผ่านจุดคุ้มทุนมาแล้ว มีผู้โดยสารประมาณ 800,000-1,000,000 คน (สถิติประมาณการก่อนวิกฤติโควิด) และมีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีผู้โดยสารประมาณ300,000 คนต่อวัน และมีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 42 บาทตลอดสาย แต่ยังสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง จึงเห็นว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวสามารถกำหนดราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรมและถูกลงกว่า 65 บาทได้

ในส่วนประเด็นการใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามร่างสัญญาร่วมลทุนโครงการรถไฟฟ้าสายเขียวส่งผลให้สินทรัพย์ทั้งหมดที่กำลังจะตกเป็นของรัฐเมื่อครบกำหนดตามสัญญาสัมปทาน ใช้ประโชน์โดยผู้รับสัญญาสัมปทานรายเดิมต่อเนื่องไป และรวมส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ทำให้มีสินทรัพย์ ดังนี้ สินทรัพย์เดิมของรัฐ จำนวน 23.5 กม.แรก, สินทรัพย์ของกรุงเทพธนาคม จำนวน 12.75 กม. (ตากสิน–บางหว้า–อ่อนนุช– แบริ่ง), สินทรัพย์ที่ได้รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 13 กม. (แบริ่ง–สมุทรปราการ) และจำนวน 19 กม. (หมอชิต–สะพานใหม่–คูคต) รวมระยะความยาวโครงข่ายเส้นทางทั้งหมด 68.25 กม.

ทั้งนี้ กรณีหากสินทรัพย์ตกเป็นของรัฐในปี 2572 และรัฐให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ (โครงสร้างโยธาตัวรถ และงานระบบเดิม) จะทำให้เอกชนมีการลงทุนเพิ่มเติมในการจัดหางานระบบเดินรถสัดส่วนน้อยกว่าการลงทุนโครงการใหม่ มีเพียงแค่การจัดหาตัวรถ และปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อใช้ในการบริการวิ่งเพิ่มเติม และการให้บริการเท่านั้น ดังนั้น จึงควรพิจารณาให้เกิดความชัดเจนถ่องแท้ถึงการใช้สินทรัพย์ว่า รัฐควรได้ประโยชน์จากการขยายสัญญาสัมปทานเป็นจำนวนเท่าใด อย่างไร จนกว่าจะครบอายุสัญญา เพื่อป้องกันมิให้รัฐเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับและประโยชน์อันพึงมีที่จะตกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ

ในส่วนของประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นจากกรณีกรุงเทพมหานครได้ทำสัญญาจ้าง BTSC เดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ไปจนถึงปี 2585 และได้มีการไต่สวนข้อเท็จจริง ทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะมีผลกระทบกับสัมปทานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการต่อสัญญา จึงสมควรรอผลการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดความชัดเจนแล้วพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดกับรัฐและประชาชนตามหลักการจัดทำสัญญาเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า การดำเนินการเจรจาเพื่อต่อสัญญาสัมปทานสมควรที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และเกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 107, 108, 109 ... 155, 156, 157  Next
Page 108 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©