Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179919
ทั้งหมด:13491151
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ร.5 กับการเสด็จฯ ทางรถไฟ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ร.5 กับการเสด็จฯ ทางรถไฟ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2020 9:24 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
จากรายงาน ประจำปี ร.ศ 123
4) วันที่ 18 พฤศจิกายน 1904 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เสด็จบางปะอินเวลาเช้า กลับสถานีสามเสนเวลาบ่ายของวันเดียวกัน

11) พระเจ้าอยู่หัวเสด็จบางปะอินด้วยรถไฟพิเศษ เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 1904 แล้วเสด็จกลับพระนคร วันที่ 7 ธันวาคม 1904

12) เจ้าชายอาดาลเบิร์ต (HRH Prince Adalbert) แห่งราชวงศ์โฮเฮนซอลเลอร์ จักรวรรดิปรัสเซียเสด็จจากพระนครไปเข้าเฝ้าในหลวงที่บางปะอินเมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 1904 จากนั้นจึงเสด็จฯกรุงเก่าด้วยรถไฟพิเศษเพื่อชมโบราณสถานเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม 1904 จากนั้นจึงเสด็จกลับพระนครเมื่อ วันที่ 6 ธันวาคม 1904 ด้วยรถไฟพิเศษ



จาก จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน-ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-จุลศักราช-๑๒๖๕
วัน ศุกร์ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง ๑๒๖๖
วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร ศก ๑๒๓
เวลาบ่ายราว ๕ โมงทรงรถออโตโมบิลเสด็จประพาศในถนนสวนดุสิต

อนึ่งวันนี้เวลาเช้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทรได้เสด็จขึ้นไปทอดพระกฐินพระราชทานที่บางปอิน แลที่กรุงเก่า แลเสด็จกลับวันนี้

​วันพฤหัสบดี แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง ๑๒๖๖
วันที่ ๑ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓
เวลาเช้าเจ้าเสด็จไปทอดพระเนตรโรงเรียนนายร้อยทหารบก เสวยกลางวันที่วังสราญรมย์ เสวยค่ำที่กระทรวงการต่างประเทศ

อนึ่งวันนี้เปนวันกำหนดที่จะเสด็จประทับแรมพระราชวังบางปอินในการรับเจ้า [เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย] เวลาบ่าย ๓ โมงเสด็จจากสวนดุสิตขึ้นรถไฟพิเศษที่สเตชั่นสามเสนถึงบางปอินบ่าย ๔ โมงเสศ ทอดพระเนตรการทำพระเมรุที่วัดนิเวศแล้วเสด็จขึ้นที่ท่าน่าพระที่นั่งวโรภาศ ทอดพระเนตรการทำพระเมรุที่พระที่นั่งไอสวรริย ย่ำค่ำเสศเสด็จขึ้น

​วันเสาร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง ๑๒๖๖
วันที่ ๓ ธันวาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๓
เวลาบ่ายเจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]เสด็จขึ้นไปพระราชวังบางปอินโดยทางรถไฟ

เวลาบ่าย ๔ โมงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกรับเจ้าที่ตะพานน้ำน่าพระที่นั่งวโรภาศแล้วทรงฉายพระบรมรูปพร้อมด้วยเจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]ที่เฉลียงน่าพระที่นั่งวโรภาศนั้น แล้วทอดพระเนตรแข่งเรือ เจ้าพักที่พระที่นั่งอุทยาน

เวลา ๑ ทุ่มโปรดให้มีการเลี้ยงเจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]ที่พระที่นั่งเวหาศ มีแคนทหารมหาดเล็ก ๕ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

วันจันทร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง ๑๒๖๖
วันที่ ๕ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓
เช้าเจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]เสด็จประพาศกรุงเก่าแลได้ทรงช้างประพาศเสวยกลางวันที่ที่พักข้าหลวงเทศาภิบาลแล้วเสด็จกลับ

เวลาค่ำโปรดให้มีการเลี้ยงที่พระที่นั่งวโรภาศเปนการส่งเสด็จเจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]

​วัน อังคาร แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง ๑๒๖๖
วันที่ ๖ ธันวาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๓
เช้า ๒ โมงเจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]กราบถวายบังคมลากลับ เสด็จส่งถึงสเตชั่นรถไฟ เจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]กลับถึงกรุงเทพฯ เสวยเข้าที่กรมรถไฟ แล้วเสด็จไปขึ้นรถไฟสายปากน้ำ เมื่อเจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]ถึงเมืองสมุทรปราการเรือพาลีได้รับเจ้าไปส่งยังเรือชื่อเฮอทา ซึ่งเปนเรือเจ้าเสด็จมานั้น แล้วเปนเสร็จการรับเจ้า[เจ้าอาคาลเบิคแห่งกรุงปรุสเซีย]

วัน พุธแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ปีมะโรง ๑๒๖๖
วันที่ ๗ ธันวาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๓
มีการพระราชกุศลสัตมวารในการพระศพกรมขุนสุพรรณภาควดีที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เป็นครั้งที่ ๖

เวลาเช้า ๔ โมงเสด็จขึ้นรถไฟที่บางปอินลงที่สเตชั่นกรุงเก่าทรงเรือพายของกรมทหารเรือเข้าคลองหมู่บ้านกะบังทอดพระเนตรวัดกุฎีดาว วัดเดิม (ศรีอโยทธยา) ทรงทำเครื่องต้นเสวยกลางวันที่วัดนี้ เสวยแล้วเสด็จกลับมาเข้าคลองไผ่ลิงทอดพระเนตรวัดใหญ่ แล้วกลับออกทางคลองสวนพลูขึ้นเรือไฟชลยุทธที่ปากคลองมาถึงบางปอินย่ำค่ำเสศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2020 9:49 pm    Post subject: Reply with quote

สมัยปราบเงี้ยว จาก รายงานปราบเงี้ยว นั้น ทางรถไฟไปไม่ไกลมากนัก ทำให้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสามารถเดินทางด้วยทางรถไฟจากบ้านพักศาลาแดง ไปรายงานการปราบเงี้ยวให้ รัชกาลที่ ๕ ได้รับทราบที่บางปะอิน เมื่อ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๑ จากนั้น จึงเดินทางขึ้นเหนือทางเรือไปพิษณุโลก เพื่อสืบการในแนวหน้า

Last edited by Wisarut on 23/01/2022 10:57 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2021 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

การเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีของดยุคโยฮันอัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการเมืองบรันซวิก และดัชเชสอลิสซาเบธ สโตลเบิร์ก รอตซาลา พระชายา มีรายละเอียดอยู่ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ วันที่ ๖ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๘ เรื่อง “การรับดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์ ผู้สำเร็จราชการ
เมืองบรันซวิก” ดังนี้
.
“การรับดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์
ผู้สำเร็จราชการเมืองบรันซวิก
..................................................................
ดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์เมืองเมกเคลนเบิกชเวริน ซึ่งเปนพระอาว์ของ
แกรนดุ๊กเมกเคลนเบิกชเวรินองค์ประจุบันนี้ เคยเข้ามาเฝ้าที่กรุงเทพฯประมาณ ๒๗ ปีมาแล้ว ครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนิรประพาศยุโรปครั้งแรก ได้เปนริเยนต์ผู้สำเร็จราชการเมืองชเวริน ในเวลาที่แกรนดุ๊กพระหลานยังเยาว์ ได้เชิญเสด้จพระราชดำเนิรเยี่ยมเมืองชเวริน เสด็จประทับอยู่ใน
พระราชวังเมืองชเวรินเปนหลายราตรี ได้จัดการรับเสด็จโดยความจงรักภักดีเปนอันมาก ครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนิรประพาศยุโรปครั้งนี้ประจวบเวลาซึ่งดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์ได้รับตำแหน่งเปนริเยนต์ผู้สำเร็จราชการเมืองบรันซวิก เชิญเสด็จพระราชดำเนิรไปประทับในพระราชวังเมืองบรันซวิกหลายราตรี ได้จัดการรับเสด็จโดยความจงรักภักดีอีกครั้งหนึ่ง ได้ทรงสนิทคุ้นเคยกับดุ๊กทั้งสามคราวที่ได้เฝ้าแลประทับอยู่ด้วยนั้น ดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์แลดัชเชสอิลิซาเบตพระชายาซึ่งได้ทรงคุ้นเคยเหมือนพระสามี ได้กำหนดว่าจะเข้ามาเฝ้าเยี่ยมตอบถึงกรุงเทพฯ ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนิรประพาศครั้งแรกกับครั้งหลัง ถึงสองคราว แต่ผเอิญดัชเชสพระชายาประชวรมากทั้งสองคราวไม่เปนปรกติ จนเลยสิ้นพระชนม์เสียเมื่อปีกลายนี้ บัดนี้ดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์เห็นเปนช่องที่จะเข้ามาเฝ้าเยี่ยมตอบถึงกรุงเทพฯ ได้ จึงกำหนดจะออกจากเมืองเยนัววันที่ ๓๐ เดือนธันวาคมตรงมายังกรุงเทพฯ และจะพาปรินเซสอลิซาเบตสโตลเบิกรอซซะลา ซึ่งทรงกระทำอาวาหมงคลใหม่มาเยี่ยมกรุงสยามเปนเมืองแรกด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการรับรองอย่างพระราชสัมพันธมิตร์อันได้คุ้นเคยกันนั้น กำหนดดุ๊กจะถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๒๖ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๘..."


วันที่ ๓๑ มกราคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๘
"...วันที่ ๓๑ มกราคม เวลาเช้า ๕ โมงครึ่ง (๑๑:๓๐ น.) เจ้าเสด็จโดยรถยนตร์ไปเสด็จลงเรือยนตร์ที่ท่าวาสุกรี นายพลตรีพระยาสุรเสนา กับพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ตามเสด็จไปส่งเจ้าที่สถานีบางกอกน้อย เสด็จขึ้นรถไฟไปประพาศเมืองเพ็ชร์บุรี ถึงเมืองเพ็ขร์บุรีเวลาบ่าย ๔ โมง (๑๖:๐๐ น.) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสด็จล่วงน่ามาคอยรับเจ้าเสด็จโดยรถยนตร์ไปเสด็จขึ้นเก้าอี้หาม ขึ้นพักบนพระที่นั่งเพ็ชรภูมิ์ไพโรจน์บนพระนครคีรี
เวลา ๒ ทุ่ม (๒๐:๐๐ น.) เสวยบนพระที่นั่งเพ็ชรภูมิ์ไพโรจน์ เวลา ๔ ทุ่ม (๒๒:๐๐ น.) ทอดพระเนตร์การจุดดอกไม้เพลิง แล้วเสด็จขึ้น

วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร ศก ๑๒๘
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ เวลาเช้าโมงเศษ เสด็จออกจากพระนครคีรีโดยรถยนตร์ ผ่านตลาดในเมือง เสด็จขึ้นรถไฟที่สถานี รถไฟออกจากสถานีเมืองเพ็ชร์บุรีเวลาเช้า ๒ โมง (๐๘:๐๐ น.) เสวยอาหารเช้าในรถไฟ เวลาเที่ยง (๑๒:๐๐ น.) ถึงสถานีบางกอกน้อย เสด็จประทับเรือยนตร์มาเสด็จขึ้นรถพระที่นั่งกลับพระราชวังดุสิต...”

https://www.facebook.com/phranakhonkhiri/posts/3820221934754750
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2022 10:56 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
ส่วนการเสด็จฯเปิดรรถไฟสายแปดริ้วและการเสด็จเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 24 มกราคม รศ. 126 ( นับอย่างใหม่ต้องปี 2451 ) นั้น ได้เขียนไว้แล้ว ค้นดูก็จะเจอ เพราะผมดูดมาที่นี่ด้วย Very Happy Laughing


นี่ครับ จดหมายเหตุ เรื่อง เปิดรถไฟสายตะวันออกและสายเหนือ และ เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองฉะเชิงเทรา - ซึ่งเป็น บันทึกเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินเปิดรถไฟสายตะวันออก(ถึง ฉะเชิงเทรา)และสายเหนือ(ถึงพิษณุโลก) ณ พลับพลาพระราชพิธีสถานีรถไฟกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มกราคม ร.ศ. 126 เวลาเช้า 3 โมงเศษ แล้วเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถไฟพิเศษสายตะวันออกผ่านสถานีบางกระสัน (มักกะสัน) คลองแสนแสบ (คลองตัน) บ้านหัวหมาก บ้านทับช้าง สถานีที่ 2 (สถานีคลองสอง - ปัจจุบันคือสถานีลาดกระบัง) หัวตะเข้ คลองหลวงแพ่ง คลองพระยาเดโช (สถานีเปรง) ถึงสถานีฉะเชิงเทรา เวลาเช้า 5 โมงเศษ เสด็จลงจากรถไฟพระที่นั่งแล้วเสด็จลงเรือประทับล่องไปตามลำน้ำบางปะกงถึง ที่ว่าการมณฑล เสด็จประทับห้องประชุม พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมือง แล้วจึงเสด็จประทับเรือพระที่นั่ง ประทับแรม ณ ตำหนักพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์เพื่อประพาสเมืองฉะเชิงเทรา
วันที่ 30 มกราคม ร.ศ. 126 เวลาเช้า 2 โมงเศษ เสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร โดยเสด็จประทับในเรือพระที่นั่งแจวขึ้นไปตาม แม่น้ำบางปะกง เข้าลองท่าไข คลองนครเนื่องเขตร เวลาค่ำประทับแรมที่วัดปากบึงในคลองนั้น รุ่งเช้าเสด็จพระราชดำเนินเข้าคลองแสนแสบ เวลาค่ำประทับแรมที่เมืองมีนบุรี ที่ทำให้มีการตั้งชื่อสุเหร่าที่มุสลิมกำลังสร้างว่า สุเหร่าทรายกองดิน เวลาเช้าเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองมีนบุรีมาตามคลองแสนแสบ ถึงประตูน้ำ ปทุมวัน เสด็จฯ มาตามคลองมหานาค เลี้ยวไปตามคลองผดุงกรุงเกษม เลี้ยวเข้าคลองเม่งเสง ไปเสด็จขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เวลาบ่าย 5 โมงเศษ


ตอนนี้ ที่จุฬาก็มีเล่มนี้ให้อ่านออนไลน์ด้วยครับ: จดหมายเหตุ เรื่องเปิดรถไฟสายตะวันออกและสายเหนือ และเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองฉะเชิงเทรา

https://www.facebook.com/Chula.RareBooksCollection/photos/pcb.489806015732654/489802839066305/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2022 5:31 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทยสมัยแรกโปดดูบทที่ 6 ของดุษฎีนิพนธ์:"Chapter 6: The Development of British Interest in Railways,1885-1905."
http://etheses.lse.ac.uk/2808/1/U615757.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/03/2022 12:17 am    Post subject: Reply with quote

แคมป์เบลกับมอเรล สองวิศวกรเมืองผู้ดี ผู้วางรากฐานกิจการรถไฟในตะวันออกไกล (สยามและญี่ปุ่น)
12 มีนาคม 2564 เวลา 12:22 น.

ในช่วงคริสตทศวรรษ 1860 รัฐบาลอังกฤษได้ส่งวิศวกรรถไฟหนุ่มสองคนมาปฏิบัติหน้าที่ราชการในดินแดนอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษในตะวันออกไกล (ทวีปเอเชียและออสเตรเลีย)
คนหนึ่งคือ จอร์จ เมอร์เรย์ แคมป์เบล (George Murray Campbell ค.ศ.1845-1922) ชาวสก็อต ถูกส่งมาประจำการอยู่ที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่บริติชราช หรือรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษประจำอินเดียเมื่อปี ค.ศ.1869 กับภารกิจในการควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟในอินเดียและซีลอน (ศรีลังกา)
ก่อนหน้านั้น แคมป์เบลเคยมีประสบการณ์ในการรับราชการอยู่ในกรมรถไฟที่สก็อตแลนด์ บ้านเกิดของเขามาชั่วระยะหนึ่ง ก่อนที่รัฐบาลอังกฤษจะส่งเขามารับราชการในอาณานิคมที่อินเดียนี้
อีกคนหนึ่งคือ เอ็ดมันด์ มอเรล (Edmund Morel ค.ศ.1840-1871) ชาวกรุงลอนดอน อดีตบัณฑิตด้านวิศวกรรมโยธาจาก King's College London ได้ถูกส่งมารับราชการเป็นวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟอยู่ที่นิวซีแลนด์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษที่ออสเตรเลีย เมื่อปี ค.ศ.1862 จนกระทั่งปี ค.ศ.1867 มอเรลถูกย้ายไปช่วยงานบริษัทเหมืองแร่ถ่านหินลาบวน (Labuan Coal Company) ของอังกฤษในการสร้างทางรถไฟขนส่งถ่านหิน ที่เกาะบอร์เนียว
ในทศวรรษต่อมา วิศวกรหนุ่มอังกฤษทั้งสองคนนี้จะกลายมาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลของชาติตะวันออกไกลสองชาติ คือสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และญี่ปุ่นในรัชสมัยของจักรพรรดิเมจิ ในการวางรากฐานระบบการขนส่งทางราง (รถไฟ) อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ที่สำคัญต่อการปฏิรูปประเทศและการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ของสยามและญี่ปุ่น
โดยเอ็ดมันด์ มอเรล ได้รับการทาบทามจากรัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านทางเซอร์แฮรี่ ปาร์ก(Sir Harry Parkes) ทูตอังกฤษประจำกรุงโตเกียว (ในขณะนั้น) เนื่องจากญี่ปุ่นในเวลานั้นเพิ่งโค่นล้มระบอบโชกุน เข้าสู่ยุคการปกครองใหม่ภายใต้รัฐบาลเมจิ ต้องการที่ปรึกษายุโรปที่มีความรู้ในวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมสมัยใหม่ ทูตปาร์กจึงนึกถึงมอเรล และเสนอชื่อของมอเรลให้แก่อิโต ฮิโรบุมิ (伊藤博文) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (民部大蔵) ในขณะนั้นพิจารณา (ภายหลังอิโต ฮิโรบุมิ ได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก และเป็นรัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในยุคการปฏิรูปเมจิของญี่ปุ่น) อิโตเห็นชอบด้วย มอเรลจึงได้รับการว่าจ้างให้เป็นที่ปรึกษาและวิศวกรใหญ่ประจำกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทยของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1870
โดยภารกิจแรกที่มอเรลได้รับมอบหมาย คือการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟชิมบาชิในกรุงโตเกียว กับสถานีรถไฟโยโกฮามา (新橋駅-横浜駅) หรือที่รู้จักในชื่อ "ทางรถไฟสายโตเกียว-โยโกฮามา" ซึ่งถือเป็น "ทางรถไฟหลวง" หรือทางรถไฟของรัฐบาลญี่ปุ่นสายแรก (日本の鉄道開業) โดยมอเรลได้ออกแบบก่อสร้างทางรถไฟสายนี้โดยใช้ขนาดความกว้างราง (gauge) อยู่ที่ 1,067 มิลลิเมตร หรือ 1.067 เมตร ซึ่งในเวลาต่อมาขนาดความกว้างรางดังกล่าวได้กลายเป็นขนาดความกว้างรางรถไฟมาตรฐานของญี่ปุ่น (Japan's standard gauge) ตราบจนถึงทุกวันนี้
น่าเสียดาย ด้วยสภาพอากาศอันหนาวเหน็บอย่างทารุณของญี่ปุ่น บวกกับโรคประจำตัวอย่างวัณโรค ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นโรคร้ายที่ยากจะรักษา จึงทำให้มอเรลที่ทุ่มเททำงานกับการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟสายโตเกียว-โยโกฮามาอย่างหนัก พร้อมๆ กับการถ่ายทอดองค์ความรู้และฝึกสอนนายช่างญี่ปุ่นไปด้วย จึงล้มป่วยลงเพราะวัณโรคกำเริบหนัก ทำให้ไม่สามารถออกไปทำงานภาคสนามได้ ได้แต่เพียงวางแผน ประชุมงานและสั่งงานต่างๆ กับเหล่าช่างภายในที่พัก มอเรลจึงจำต้องขอลาออกจากรัฐบาลเมจิเพื่อจะไปพักรักษาตัวที่อินเดีย แต่น่าเสียดายที่เขาได้ถึงแก่กรรมลงในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ.1871 ก่อนหน้าที่เขาจะได้เดินทางไปอินเดีย และก่อนที่ทางรถไฟสายโตเกียว - โยโกฮามา อันเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงเพียงชิ้นเดียวที่เขาฝากไว้ในแผ่นดินหมู่เกาะญี่ปุ่นกำลังจะเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการไม่กี่เดือนเท่านั้น
จักรพรรดิเมจิได้เสด็จมาเปิดทางรถไฟสายโตเกียว - โยโกฮามาอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1872 ถือเป็นการเริ่มต้นกิจการรถไฟของรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และญี่ปุ่นได้ถือเอาวันที่ 14 ตุลาคม เป็น "วันแห่งรถไฟ" (鉄道の日 เท็ตสึโด โนะ ฮิ) สืบมาจนถึงทุกวันนี้
ทางด้านสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จัดทำโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.2434 (ค.ศ.1891) ซึ่งทางรถไฟสายนี้ถือเป็นทางรถไฟหลวง หรือทางรถไฟของรัฐบาลสยาม/ไทยสายแรก โดยรัฐบาลสยามได้ว่าจ้างจอร์จ เมอร์เรย์ แคมป์เบล เป็นวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ.1892 (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีตักดินเริ่มการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง) ทางรถไฟสายนี้เมื่อแรกก่อสร้างใช้ความกว้างรางแบบมาตรฐานยุโรป คือ 1.435 เมตร แต่ทว่าแคมป์เบลก็ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ให้สำเร็จดังประสงค์ได้ ท้ายสุดรัฐบาลสยามจึงยกเลิกสัญญาจ้างแคมป์เบลในปี ค.ศ.1896 และดำเนินโครงการนี้ต่อไปโดยอาศัยวิศวกรชาวปรัสเซีย(เยอรมัน) ในการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างต่อไป จนสามารถเปิดการเดินรถในช่วงกรุงเทพ - อยุธยาได้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.1897 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการเดินรถ และรัฐบาลสยาม/ไทยได้ถือเอาวันที่ 26 มีนาคม เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟไทยตราบจนถึงทุกวันนี้
นี่คือเรื่องราวโดยสังเขปของสองวิศวกรอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญต่อการบุกเบิกและวางรากฐานกิจการรถไฟในประเทศสยาม/ไทย และญี่ปุ่น ในยุคการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยของทั้งสองชาติตะวันออกไกลแห่งนี้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2022 2:09 pm    Post subject: Reply with quote

แจ้งความกระทรวงโยธาธิการ แพนกกรมรถไฟ
นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน รศ. 125 จะไม่ยอมให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าที่ชานสำหรับขึ้นรถไฟตามบรรดาสเตชั่นใหญ่ๆ โดยไม่มีตั๋วสำหรับที่จะเข้าไปในที่นั้น สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ผู้โดยสาร ให้ซื้อตั๋วสำหรับขึ้นไปที่ชานสำหรับขึ้นรถไฟ ได้ ณ ที่ช่องขายตั๋ว ราคาใบละ 2 อัฐ (ประมาณ 3 สตางค์)
แจ้งความมา ณ วันที่ 28 พฤษภาคม
รัตนโกสินทร์ศก 125
โดยพระยาเสถียร ฐาปนกิตย์
ปลัดทูลฉลองกระทรวงโยธาธิการ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5249477465110739&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2022 1:29 pm    Post subject: Reply with quote

แผนที่เส้นทางรถไฟจีน-พม่า-สยาม
เริ่มปูทางไว้โดยอังกฤษก่อนปีพุทธศักราช 2429 ศึกษาเส้นทางเดินรถไฟจากจีนลงมาออกทะเลที่เมืองมะละแหม่ง กับ ปากน้ำสมุทรปราการ ในการนี้วิศวกรชาวอังกฤษได้เข้าไปเจรจายังท่านหลี่หงจาง ข้าราชการมือขวาของจักรพรรดิและพระนางซูสีไทเฮา ดำรงตำแหน่งว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และวิศวกรอีกสายหนึ่งเดินทางมายังสยาม เข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 5 เพื่อถวายรายงานการก่อสร้างเส้นทางสายสำคัญนี้
โดยเส้นทางจากยูนานเข้ารัฐฉาน ผ่านเชียงตุง และใช้ Hub ใหญ่ที่เมืองระแหง แยกไปเมืองมะละแหม่ง กับ แยกลงกรุงเทพ ที่มะละแหม่งจะมีเส้นทางรถไฟเชื่อมไปยังเมืองมัณฑเลย์ขึ้นไปตอนเหนือถึงเมืองซาดีวาเพื่อต่อเส้นทางไปยังเมืองดาจิหลิง ไปยังไร่ใบชาได้
จะเห็นว่าเส้นทางทั้งหมดใช้เส้นทางการค้าโบราณเป็นหลักใหญ่ เป็นนโยบายของทางอังกฤษที่รุกคืบเข้ามาเปิดเส้นทางการค้ากับจีน ในขณะที่อีกซีกแผ่นดินโคชินจีนและโตคิน เป็นของฝรั่งเศสก็พยายามใช้แม่น้ำโขงเจาะเข้าตอนใต้ของจีนเช่นกัน
เบื้องต้นทราบว่าหลังการเจรจาเรื่องการเดินเส้นทางรถไฟกับสยามแล้ว สยามไม่เห็นด้วยและสยามก็เริ่มใช้วิศวกรอังกฤษเข้ามาปูทางสร้างทางรถไฟในประเทศสยามเอง
https://www.facebook.com/noomrattana/posts/2460524427422789
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2022 9:19 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แผนที่เส้นทางรถไฟจีน-พม่า-สยาม
เริ่มปูทางไว้โดยอังกฤษก่อนปีพุทธศักราช 2429 ศึกษาเส้นทางเดินรถไฟจากจีนลงมาออกทะเลที่เมืองมะละแหม่ง กับ ปากน้ำสมุทรปราการ ในการนี้วิศวกรชาวอังกฤษได้เข้าไปเจรจายังท่านหลี่หงจาง ข้าราชการมือขวาของจักรพรรดิและพระนางซูสีไทเฮา ดำรงตำแหน่งว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และวิศวกรอีกสายหนึ่งเดินทางมายังสยาม เข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 5 เพื่อถวายรายงานการก่อสร้างเส้นทางสายสำคัญนี้
โดยเส้นทางจากยูนานเข้ารัฐฉาน ผ่านเชียงตุง และใช้ Hub ใหญ่ที่เมืองระแหง แยกไปเมืองมะละแหม่ง กับ แยกลงกรุงเทพ ที่มะละแหม่งจะมีเส้นทางรถไฟเชื่อมไปยังเมืองมัณฑเลย์ขึ้นไปตอนเหนือถึงเมืองซาดีวาเพื่อต่อเส้นทางไปยังเมืองดาจิหลิง ไปยังไร่ใบชาได้
จะเห็นว่าเส้นทางทั้งหมดใช้เส้นทางการค้าโบราณเป็นหลักใหญ่ เป็นนโยบายของทางอังกฤษที่รุกคืบเข้ามาเปิดเส้นทางการค้ากับจีน ในขณะที่อีกซีกแผ่นดินโคชินจีนและโตคิน เป็นของฝรั่งเศสก็พยายามใช้แม่น้ำโขงเจาะเข้าตอนใต้ของจีนเช่นกัน
เบื้องต้นทราบว่าหลังการเจรจาเรื่องการเดินเส้นทางรถไฟกับสยามแล้ว สยามไม่เห็นด้วยและสยามก็เริ่มใช้วิศวกรอังกฤษเข้ามาปูทางสร้างทางรถไฟในประเทศสยามเอง
https://www.facebook.com/noomrattana/posts/2460524427422789


ดูแผนการทำทางรถไฟเชื่อมพม่าจีนสยามของนาย Hallet เมื่อป 1886 - 1888
1. มะละแหม่ง - ตาก - ลำปาง - เชียงราย - เชียงแสน
2. มะละแหม่ง - แม่สะเรียง - ฮอด - เชียงใหม่ - เชียงราย - เชียงแสน

http://bytelife.altervista.org/elephant.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2022 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

“#ผาเสด็จ”
.
สถานที่แห่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี จังหวัดที่มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์หลายแห่งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนา หรือ ประวัติศาสตร์การพัฒนาของชาติไทย
“ผาเสด็จ” คือ หน้าผาชง่อนหินที่แทบจะยื่นเข้าไปในบริเวณทางรถไฟ อยู่ที่หมู่ 5 ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ในด้านการคมนาคม โดยเฉพาะสำหรับกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นทางผ่านของเส้นทางรถไฟที่ใช้เดินทางมุ่งเข้าสู่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย คือ ทางรถไฟสายพระมหานคร-นครราชสีมา ซึ่งก่อสร้างโดยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5
.
ตำนานของผาเสด็จ
เมื่อปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟขึ้นในสยามประเทศ หลังจากที่ตั้งกรมรถไฟขึ้นมาแล้ว ปี พ.ศ. 2434 ได้มีการดำเนินการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพถึงอยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ก็ได้ให้มีการดำเนินการก่อสร้างเส้นทางรถไฟต่อไปยังจังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางดังกล่าวนี้จะต้องผ่านจังหวัดสระบุรี ซึ่งในสมัยก่อนเส้นทางจากสระบุรีไปอำเภอแก่งคอยต้องใช้เวลานานมากเพราะถนนหนทาง เช่น ถนนมิตรภาพยังไม่มี มีเพียงเส้นทางโบราณเป็นถนนลูกรัง ซึ่งมีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อแทบตลอดทางแถมยังคดเคี้ยวไปมาจากระยะทางจริง 12 กิโลเมตร กลายเป็น 16 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมอีกทางหนึ่งคือทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ สายแก่งคอย-มวกเหล็ก ซึ่งตัดผ่านเข้าดงพญาเย็นไปทะลุทางภาคอีสาน ซึ่งมีเทือกเขาอยู่หลายแห่งขวางเส้นทางที่จะต้องดำเนินงาน และภูเขาแห่งนี้มีเงื้อมชะโงกหินยื่นออกมาเป็นก้อนโตมหึมา ความจริงจะตัดหรือระเบิดอ้อมไปด้านข้างเคียงก็พอจะทำได้ แต่เส้นทางจะคดเคี้ยวเลี้ยวลดดูไม่สวยงาม จึงต้องทำการระเบิดภูเขาแห่งนั้น
วิศวกรชาวฝรั่งเศส พยายามจะระเบิดทำลายเพื่อจะทำทางรถไฟผ่านอยู่หลายครั้งหลายคราแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เป็นความหนักใจให้แก่บรรดานายช่างเป็นอย่างยิ่ง เกือบจะพากันหมดอาลัยล้มเลิกความตั้งใจเสียแล้ว จึงปรึกษากันว่าควรทำอย่างไรดี ขณะนั้นมีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งแนะนำในทางไสยศาสตร์ว่า สถานที่แห่งนี้ คงมีผีเจ้าป่าหรือเจ้าที่เจ้าทาง ควรทำบัตรพลีเซ่นสรวง บนบานศาลกล่าวให้องค์เทพารักษ์อนุญาตตามประเพณีไทยแต่โบราณ แต่ไม่มีใครเห็นด้วยเพราะนายช่างเป็นคนหัวใหม่ ปรากฏว่าการระเบิดภูเขาก็ไม่เป็นผลสำเร็จอยู่ดี ชาวบ้านแห่งนั้นบอกว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยแสดงมหิทธิฤทธิ์ปรากฏแก่ชาวบ้านและพรานให้เห็นมาแล้วหลายครั้ง เช่น ถ้ามีคนตัดไม้ทำลายป่าบริเวณนั้น หรือ ปัสสาวะบริเวณโคนไม้ใหญ่ ก็จะมีอันเป็นไป คือ ล้มป่วย เจ็บเนื้อเจ็บตัว ปวดหัว เป็นไข้ หรือเป็นลมชักน้ำลายฟูมปาก ตาเหลือก ต้องหาคนไปทำกระทงบัตรพลีเซ่นสรวงขอขมา ถ้าใครไม่เชื่อล้มเจ็บถึงตายก็มี
ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณของพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) พระองค์จึงโปรดให้นำตราแผ่นดินไปประทับตรงโคนต้นไม้ใหญ่บริเวณนั้นเป็นการเอาเคล็ด เล่ากันว่า พอต้นไม้ใหญ่แห่งนั้นถูกตราแผ่นดินพระราชทานตีประทับลงที่โคนแล้ว ก็ให้มีอันกิ่งใบแห้งเหี่ยวยืนต้นตายไป และมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายช่างระเบิดหินต่อไป แต่ก็มีการเล่ากันว่าชาวบ้านบางคนกลัวไม่กล้าระเบิดต่อ เนื่องจากมีนายช่างและคนงานบางคนเป็นไข้ป่าเจ็บหนักจนถึงเสียชีวิต พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) จึงโปรดเกล้าให้สร้างศาลเพียงตาขึ้นที่ใกล้เงื้อมผา การระเบิดทำทางรถไฟ จึงดำเนินต่อไปโดยไร้อุปสรรค
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2439 (ร.ศ.๑๑๕) พระองค์จึงเสด็จประพาสต้นมาพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ตามลำน้ำป่าสักและเสด็จขึ้นบก เสด็จฯ ต่อโดยรถไฟจากที่ประทับแรมเข้าในดงถึงที่สุดทางรถไฟในเวลานั้น (ตำบลหินลับ) เวลาบ่าย 3 โมงเศษ เสด็จลงจากรถไฟเสด็จพระราชดำเนินต่อไปตามทางที่ยังไม่ได้วางเหล็กรางข้ามห้วยสองแห่ง เสด็จต่อมาถึงศิลาใหญ่ ณ ผาแห่งนี้ เวลาบ่าย 5 โมง ทรงได้โปรดให้มีการจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” หมายถึง พระปรมาภิไธยของพระองค์ , “ส.ผ.” หมายถึงพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และเลข “๑๑๕” หมายถึงปีที่เสด็จมา และพระราชทานนามศิลาตำบลนี้ว่า “ผาเสด็จพัก” ติดไว้บนชะง่อนหินแห่งนั้น พอเวลาจวนค่ำ ก็เสด็จกลับมาประทับยังที่พักรถไฟ เสด็จขึ้นรถไฟกลับมาถึงพลับพลาที่ประทับเวลาทุ่มเศษ” เมื่อประชาชนทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จมาถึงผาแห่งนี้ก็พากันชื่นชม และผู้คนต่างพากันเรียกเงื้อมผาแห่งนี้ในเวลาต่อมาว่า “ผาเสด็จ” ซึ่งประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะพนักงานรถไฟ ได้ให้ความเคารพบูชาเป็นอย่างสูง ตลอดมาถึงทุกวันนี้
จากตำนานที่กล่าวมา นับได้ว่า “ผาเสด็จ” ได้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทย หากได้เดินทางมายังภาคอีสานโดยทางรถไฟแล้ว จะต้องผ่าน “ผาเสด็จ” แห่งนี้แน่นอน
ในปัจจุบัน สถานีรถไฟผาเสด็จ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 138 กิโลเมตร ทางจังหวัดสระบุรี ได้ทำการบูรณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณสถานีรถไฟ เพื่อให้เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่ง ของจังหวัดสระบุรี นักท่องเที่ยวท่านใดสนใจผ่านมาเที่ยวชมสถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ สามารถเดินทางมาได้โดยทางรถไฟ และทางรถยนต์ โดยผาเสด็จนั้น ตั้งอยู่ริมทางรถไฟ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร ไปตามถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ประมาณ 25 กิโลเมตร ระหว่าง กม.ที่ 132-133 หากไปจากสระบุรีเลี้ยวซ้ายตรงบริเวณโรงเรียนบ้านซับบอนไปประมาณ 3 กิโลเมตร ผาเสด็จอยู่เลยจากสถานีรถไฟไปประมาณ 50 เมตร
https://www.facebook.com/groups/132481274010271/posts/1196823757576012
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
Page 6 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©