Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179817
ทั้งหมด:13491049
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2020 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.จ้างแอร์พอร์ตลิงก์ 61 ล้านเตรียมเดินรถสายสีแดง
*เดินหน้ารับสมัครพนักงานชั่วคราว 200 อัตรา!!
*ทดสอบเดินรถเสมือนจริง มี.ค.64 ลุ้นนั่งฟรี ก.ค.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2764743583747142
บอร์ด รฟท.เคาะเพิ่มภารกิจแอร์พอร์ตลิงก์รับเดินรถสีแดง - ค่าจ้าง 61 ล้าน ฝึกคนเพิ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18.49 น.

บอร์ด รฟท.เคาะเพิ่มภารกิจและงบ 61 ล้านบาท ให้แอร์พอร์ตลิงก์รับพนักงานชั่วคราวเพื่อเตรียมเดินรถสีแดง “ผู้ว่าฯ รฟท.”เผยคงแผนทดสอบเดินรถเสมือนจริง กลางปี 64 และเปิดบริการ พ.ย. 64

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ในวันที่ 12 พ.ย. ได้มีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญา จ้างบริหารการเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ให้กับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เป็นผู้เดินรถโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิตและช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยเป็นการเพิ่มภารกิจให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในการเตรียมบุคลากร โดยอนุมัติกรอบวงเงิน 61 ล้านบาท สำหรับดำเนินการตั้งแต่เดือน พ.ย. 2563 - ต.ค. 2564 เป็นระยะเวลา 11 เดือน
โดยจะมีการรับพนักงานชั่วคราวเข้ามาฝึกอบรมาเพื่อเตรียมเดินรถสายสีแดง โดยวางกรอบอัตราพนักงานชั่วคราวไว้ประมาณ 200 คน

ส่วนการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ในการบริหารรถไฟสายสีแดงนั้นจะเป็นแนวทางคู่ขนานที่ต้องมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยรฟท.เตรียมจ้างบริษัทที่ปรึกษา เข้ามาดำเนินการศึกษา ขณะที่ รฟท.จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเดินรถไปก่อน ซึ่งตามแผนจะมีการทดสอบการเดินรถเสมือนจริงช่วงกลางปี 2564 และเปิดเดินรถในปลายปี 2564

โดยก่อนหน้านี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวว่า การให้บุคลากรแอร์พอร์ตลิงก์มาเดินรถไฟสายสีแดง เข้ามาดำเนินการเดินรถไฟสายสีแดงนั้น ตนไม่มีข้อขัดข้องใดๆ เพียงแต่แอร์พอร์ตลิงก์จะต้องพิสูจน์ตัวเองว่ามีประสิทธิภาพในการเดินรถสีแดงได้จริง โดยวันนี้แอร์พอร์ตลิงก์ต้องแสดงให้เห็นประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเดินรไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ให้เห็นก่อน ซึ่งการเปิดเดินรถสายสีแดงได้ตามแผนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า รฟท.จะต้องแก้ปัญหาที่มีให้จบทุกมิติก่อน โดยเฉพาะกรณีค่าก่อสร้างงานเพิ่มเติม หรือ Variation Order (VO) เพราะหากปัญหาเหล่านี้แก้ไม่จบ การเดินรถสายสีแดงคงทำไม่ได้เพราะจะมีปัญหาฟ้องร้องกันได้

เปย์ 61 ล้าน จ้างแอร์พอร์ตลิงก์เดินรถสายสีแดง
พฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18.15 น.

บอร์ด รฟท. จ้างแอร์พอร์ตลิงก์เดินรถสายสีแดง จัดให้ 61 ล้าน เตรียมพร้อมบุคลากร ยังคงเดินหน้าตามแผนเดิม ลุยทดสอบเดินรถเสมือนจริง มี.ค.64 ลุ้นได้นั่งฟรี ก.ค. ก่อนเปิดบริการจริง พ.ย.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้ รฟท. จัดทำบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้างบริหารการเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารสารอากาศยานในเมืองให้ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นผู้เดินรถ โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน เป็นเวลา 11 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ย.63-ต.ค.64 ซึ่งหลังจากนี้ รฟฟท. จะต้องดำเนินการเรื่องบุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินรถไฟสายสีแดงต่อไป

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ รฟท. จ้าง รฟฟท. เดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นรายปีอยู่แล้ว ซึ่งมติดังกล่าวเป็นการเพิ่มภารกิจให้ รฟฟท. เดินรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มเติม โดยได้ให้กรอบวงเงินไว้ที่ 61 ล้านบาท เพื่อจ้างพนักงานชั่วคราว ที่จะมาปฏิบัติงานในการเดินรถประมาณ 200 คน อย่างไรก็ตามในส่วนของการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) และเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น เป็นเรื่องอนาคต ซึ่ง รฟท. เตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อลงรายละเอียดการดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป แต่ระหว่างนี้ก็ให้ รฟฟท. เป็นผู้เดินรถไปก่อน ซึ่งยังคงเป็นไปตามแผนเดิมที่จะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริงประมาณกลางปี 64 และเปิดให้บริการได้ประมาณเดือน พ.ย. 64


รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบเดินรถทั้งเส้นทางสายเหนือ (north line) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทางจากสถานีวัดเสมียนนารีถึงสถานีรังสิต และสายตะวันตก (west line) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งการทดสอบทั้ง 2 เส้นทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มทดสอบระบบรวมได้ประมาณกลางเดือน พ.ย.นี้ จากนั้นประมาณเดือน มี.ค.64 จะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริง ซึ่งเป็นการทดสอบภายในเป็นเวลา 4 เดือน

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่า หลังจากทดสอบเดินรถเสมือนจริงแล้ว หากไม่ติดปัญหาใดๆ คาดว่าจะเปิดทดลองเดินรถให้ประชาชนได้ใช้บริการประมาณเดือน ก.ค.64 ก่อนที่จะเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย.64 ต่อไป ส่วนในช่วงที่เปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการจะเก็บค่าโดยสารหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารว่าจะไม่เก็บค่าโดยสาร หรืออาจจะเก็บค่าโดยสารแค่บางส่วน เพราะต้องยอมรับว่าการเดินรถก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่ง รฟท. ก็ต้องแบกรับภาระ แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วปกติในระยะแรกก็จะให้ประชาชนได้ใช้บริการฟรี.


ทุ่ม 61 ล้าน จ้างพนักงานเดินรถ "สายสีแดง"
พฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17:33:56 น.
รฟท.ถก แอร์พอร์ตลิงก์ จ้างพนักงานชั่วคราวเดินรถไฟสายสีแดงกว่า 200 คน ลุยจ้างที่ปรึกษาเปิดประมูลพีพีพี คาดเปิดให้บริการ พ.ย.2564

บอร์ดรฟท.เคาะงบ61ล้านเปิดทางแอร์พอร์ตลิงก์เดินรถสายสีแดง

13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 10:24 น.

13 พ.ย.63-นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ได้มีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญา จ้างบริหารการเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ให้กับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด เป็นผู้เดินรถโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิตและช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยเป็นการเพิ่มภารกิจให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในการเตรียมบุคลากร โดยอนุมัติกรอบวงเงิน 61 ล้านบาท สำหรับดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 - ต.ค. 2564 เป็นระยะเวลา 11 เดือน

นายนิรุฒ กล่าวว่า หลังจากนี้จะมีการรับพนักงานชั่วคราว เข้ามาฝึกอบรมเพื่อเตรียมเดินรถสายสีแดง โดยวางกรอบอัตราพนักงานชั่วคราวไว้ประมาณ 200 คนส่วนการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ในการบริหารรถไฟสายสีแดงนั้น จะเป็นแนวทางคู่ขนานที่ต้องมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยรฟท.เตรียมจ้างบริษัทที่ปรึกษา เข้ามาดำเนินการศึกษา ขณะที่รฟท.จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเดินรถไปก่อน ซึ่งตามแผน จะมีการทดสอบการเดินรถเสมือนจริงช่วงกลางปี 2564 และเปิดเดินรถในปลายปี 2564

รายงานข่าวแจ้งว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบเดินรถทั้งเส้นทางสายเหนือ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทางจากสถานีวัดเสมียนนารีถึงสถานีรังสิต และสายตะวันตก ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งการทดสอบทั้ง2เส้นทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มทดสอบระบบรวมได้ประมาณกลางเดือน พ.ย.นี้ จากนั้นประมาณเดือน มี.ค.64 จะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริง ซึ่งเป็นการทดสอบภายในเป็นเวลา 4 เดือน

รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับการเปิดเดินรถสายสีแดงได้ตามแผนหรือไม่ นั้นขึ้นอยู่กับว่ารฟท.จะต้องแก้ปัญหาที่มีให้จบทุกมิติก่อน โดยเฉพาะกรณีค่าก่อสร้างงานเพิ่มเติม หรือ Variation Order (VO) เพราะหากปัญหาเหล่านี้แก้ไม่จบ การเดินรถสายสีแดงคงทำไม่ได้เพราะจะมีปัญหาฟ้องร้องกันได้


Last edited by Wisarut on 13/11/2020 10:31 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2020 9:26 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาสัมพันธ์!!! เปิดรับสมัครผู้เข้ารับฝึกอบรมหลักสูตรด้านการปฏิบัติการ นายสถานีและผู้ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าในศูนย์ควบคุมการเดินรถ ค่าใช้จ่าย7 พันบาท รับสมัคร 10 คน ภายใน 19 พ.ย. 63 นี้
สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=701701500746688&id=100027205342339
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3556964987683754
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2020 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

จ้าง “แอร์พอร์ตลิงก์” 61 ล้าน เดินรถสายสีแดง ศักดิ์สยามสั่งเคลียร์ให้จบก่อนเปิด
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 - 14:25 น.

บอร์ดรถไฟอนุมัติเคาะจ้าง “แอร์พอร์ตเรลลิงก์” เดินรถไฟฟ้าสายสีแดง ”ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” วงเงิน 61 ล้าน ระยะเวลา 11 เดือน เตรียมรับพนักงานชั่วคราวฝึกอบรม 200 คน คาดเปิดบริการปลายปี’64 ลุยจ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบ PPP เดินรถทั้งสาย ”ศักดิ์สยาม” ลั่นอยากเปิดต้องเคลียร์ปัญหาให้ครบจบทุกมิติ ไม่มีฟ้องร้องภายหลัง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. มีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญา จ้างบริหารการเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้กับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) เป็นผู้เดินรถโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน

“เป็นการเพิ่มภารกิจให้ รฟฟท. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ในการเตรียมบุคลากร พร้อมกันนี้บอร์ ร.ฟ.ท. ก็ได้อนุมัติกรอบวงเงินให้ 61 ล้านบาท สำหรับดำเนินการในช่วงเดือน พ.ย. 2563 – ต.ค. 2564 เป็นระยะเวลา 11 เดือน โดยจะมีการรับพนักงานชั่วคราวเข้ามาฝึกอบรมเพื่อเตรียมเดินรถสายสีแดง สำหรับอัตราพนักงานชั่วคราวคาดการณ์ไว้ประมาณ 200 คน”


ส่วนการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ในการบริหารรถไฟสายสีแดงนั้นจะเป็นแนวทางคู่ขนานที่ต้องมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่ง ร.ฟ.ท. เตรียมจ้างบริษัทที่ปรึกษา เข้ามาดำเนินการศึกษา

ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเดินรถไปก่อนด้วย ซึ่งตามแผนจะมีการทดสอบการเดินรถเสมือนจริงช่วงกลางปี 2564 และเปิดเดินรถในปลายปี 2564

ก่อนหน้านี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่ ร.ฟ.ท.จะให้บริษัทลูก เดินรถสายสีแดงไม่ขัดข้อง แต่ต้องพิสูจน์ตัวเองได้ว่ามีประสิทธิภาพเดินรถเองได้ ไม่ต่างจากเอกชนที่เดินรถสายสีม่วง สีเขียว สีน้ำเงิน

“ทราบว่ามีเตรียมบุคลากรไว้แล้ว 250 คนมาเทรนนิ่ง แต่มอบหมายให้ผู้ว่ารถไฟไปดูว่าจะเดินรถสายสีแดง ในปี 2564 ต้องแก้ปัญหาให้จบครบทุกมิติก่อน โดยเฉพาะค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท ถ้าเปิดแล้วจะมีปัญหาฟ้องร้องตามมาหรือไม่ ให้ไปทำการบ้านมา เพราะรัฐใช้เงินลงทุน 1 แสนล้านบาท”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2020 4:21 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”ให้คำมั่นมี.ค.64เปิดให้นั่งสายสีแดงฟรี3 เดือน
เดลินิวส์ 16 พ.ย. 63

*ประเมินผลทดสอบก่อนเดินรถเชิงพาณิชย์พ.ย.64
*แจ้งไจก้าเร่งเคลียร์ค่าก่อสร้างบาน 10,345 ล้าน

เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังนายโมริตะ ทาคาฮิโระ หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย พร้อมคณะ เข้าพบเพื่อหารือถึงการดำเนินโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง JICA และกระทรวงคมนาคมว่า ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ให้ทางไจก้าได้รับทราบ

ซึ่งขณะนี้งานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย และมีการทดสอบเดินรถแล้ว แต่ยังเหลือในส่วนของงานระบบอาณัติสัญญาณอีกเล็กน้อย คาดว่าจะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริงในเดือน มี.ค.64 โดยจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสาร เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน มี.ค.-พ.ค.64 จากนั้นจะมีการประเมินผลการทดสอบ ก่อนที่จะเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย.64

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับในส่วนของการขอขยายวงเงินดำเนินงานโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต งานก่อสร้างเพิ่มเติม หรือ Variation Order (VO) ในสัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง เพิ่มเติมประมาณ 10,345 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาในเรื่องข้อกฎหมาย และสรุปรายละเอียดกรณีงานก่อสร้างเพิ่มเติมให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน ซึ่งเวลานี้น่าจะใกล้ครบกำหนดแล้ว คงจะต้องมีการทวงถามต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ได้เน้นย้ำเรื่อง VO กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้วว่า ต้องดูระเบียบกฎหมายให้ดีที่สุด ส่วนใดที่สามารถดำเนินการได้เลยก็ให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนใดที่ไม่สามารถทำได้ให้หารืออัยการสูงสูด และกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ยันว่าแม้เวลานี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องดังกล่าว แต่จะไม่กระทบกับแผนการเปิดเดินรถแน่นอน

นอกจากนี้ยังได้รายงานให้ทราบความคืบหน้าเรื่องความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการนำเทคโนโลยีก่อสร้างอุโมงค์มาสร้างถนนในประเทศไทย พร้อมกันนี้ยังได้รายงานให้ทราบด้วยว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมจัดทำแผนแม่บทโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับมอเตอร์เวย์ (Motorways+Rails) หรือ MR+MAP ด้วย ซึ่งเบื้องต้นมี 8 แนวเส้นทาง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2020 8:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ศักดิ์สยาม”ให้คำมั่นมี.ค.64เปิดให้นั่งสายสีแดงฟรี3 เดือน
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563


คมนาคมเตรียมเปิดทดลองใช้ฟรี รถไฟฟ้าสายสีแดง มี.ค.ปีหน้า
จันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563

คมนาคมเตรียมเปิดให้ประชาชนทดลองนั่งฟรี 3 เดือน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ – รังสิต และบางซื่อ - ตลิ่งชัน เริ่ม มี.ค.ปีหน้า ก่อนเปิดให้บริการจริงตามกำหนด พ.ย. 2564 “ศักดิ์สยาม” เผยปัจจุบันอยู่ในช่วงทดสอบระบบ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายทากาฮิโระ โมริตะ หัวหน้าผู้แทน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ไจก้า (JICA) ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ทางไจก้าได้เข้าหารือเรื่องความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น ในประเด็นของโครงการความร่วมมือต่างๆ ซึ่งกระทรวงฯ ได้ชี้แจงความคืบหน้าความร่วมมือ 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

1.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง

2.ความร่วมมือด้านความปลอดภัยการคมนาคม

3.การถ่ายทอดเทคโนโลยี

4.พัฒนาบุคลากรโครงสร้างพื้นฐานด้านถนน


5.เทคโนโลยีก่อสร้างอุโมงค์




“เราได้รายงานความคืบหน้ารถไฟชานเมืองสายสีแดง ว่าขณะนี้เดินหน้าต่อเนื่อง จะวิ่งให้บริการเชิงพาณิชย์ตามกำหนดในเดือน พ.ย.2564 ส่วนเรื่องที่งบประมาณพัฒนาเกินกว่ากรอบกำหนดไว้ เรื่องนี้เราก็ได้ชี้แจงให้ความเชื่อมั่นกับทางไจก้าไปว่าจะหารือกับอัยการ และกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าจะไม่กระทบการเดินรถ”

สำหรับกรอบการดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยอยู่ระหว่างทดสอบระบบเดินรถ ตามเป้าหมายจะมีการเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรี 3 เดือน ระหว่างเดือน มี.ค. - พ.ค.2564 หลังจากนั้นจะเปิดให้บริการจัดเก็บค่าโดยสารในช่วงเดือน พ.ย.2564 เป็นต้นไป ซึ่งจะสอดคล้องไปกับการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อ ที่จะเปิดให้ใช้บริการก่อนเดือน มี.ค.2564



เฮรอเลย! มี.ค.64 เปิดให้นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดงฟรี 3 เดือน
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15.45 น.

เฮล่วงหน้า! มี.ค.64 เปิดให้นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดงฟรี 3 เดือน ก่อนเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ พ.ย.64 "ศักดิ์สยาม" แจ้งไจก้ากำลังเร่งเคลียร์เงินค่าก่อสร้างบานกว่าหมื่นล้าน


เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังนายโมริตะ ทาคาฮิโระ หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย พร้อมคณะ เข้าพบเพื่อหารือถึงการดำเนินโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง JICA และกระทรวงคมนาคมว่า ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ให้ทางไจก้าได้รับทราบ

ซึ่งขณะนี้งานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย และมีการทดสอบเดินรถแล้ว แต่ยังเหลือในส่วนของงานระบบอาณัติสัญญาณอีกเล็กน้อย คาดว่าจะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริงในเดือน มี.ค.64 โดยจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสาร เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน มี.ค.-พ.ค.64 จากนั้นจะมีการประเมินผลการทดสอบ ก่อนที่จะเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย.64




นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สำหรับในส่วนของการขอขยายวงเงินดำเนินงานโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต งานก่อสร้างเพิ่มเติม หรือ Variation Order (VO) ในสัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง เพิ่มเติมประมาณ 10,345 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาในเรื่องข้อกฎหมาย และสรุปรายละเอียดกรณีงานก่อสร้างเพิ่มเติมให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน ซึ่งเวลานี้น่าจะใกล้ครบกำหนดแล้ว คงจะต้องมีการทวงถามต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ได้เน้นย้ำเรื่อง VO กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้วว่า ต้องดูระเบียบกฎหมายให้ดีที่สุด ส่วนใดที่สามารถดำเนินการได้เลยก็ให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนใดที่ไม่สามารถทำได้ให้หารืออัยการสูงสูด และกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ยันว่าแม้เวลานี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องดังกล่าว แต่จะไม่กระทบกับแผนการเปิดเดินรถแน่นอน

นอกจากนี้ยังได้รายงานให้ทราบความคืบหน้าเรื่องความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการนำเทคโนโลยีก่อสร้างอุโมงค์มาสร้างถนนในประเทศไทย  พร้อมกันนี้ยังได้รายงานให้ทราบด้วยว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมจัดทำแผนแม่บทโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับมอเตอร์เวย์ (Motorways+Rails) หรือ MR+MAP ด้วย ซึ่งเบื้องต้นมี 8 แนวเส้นทาง

"คมนาคม" เปิดทดลองเสมือนจริง เดินรถไฟสายสีแดง มี.ค.64
16 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18:29 น.

เตรียมเฮ!! จ่อเปิดเดินรถไฟ “สายสีแดง” ฟรี 3 เดือน
16 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16:27 น.

“ศักดิ์สยาม” เผย รฟท.เตรียมเปิดเดินรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน ให้ประชาชนใช้บริการฟรีตลอด 3 เดือน เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่มี.ค.-พ.ค.2564 ลุยถกคลัง-อัยการสูงสุด เคลียร์งาน VO

ก.คมนาคม เตรียมทดลองเสมือนจริงเดินรถไฟสายสีแดง มี.ค. 64 พร้อมให้ประชาชนใช้บริการฟรี 3 เดือน ก่อนเปิดเชิงพาณิชย์ภายใน พ.ย.

วันนี้ (16 พ.ย.63) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังนายโมริตะ ทาคาฮิโระ หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ประจำประเทศไทยเข้าพบเพื่อหารือในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ว่า ในการเข้าพบครั้งนี้ได้มีการหารือ 5 เรื่อง ประกอบด้วย
1.การบริหารสถานีกลางบางซื่อ
2.เรื่องความร่วมมือความปลอดภัยทางถนน ตามที่ไจก้าได้ส่งผู้แทนมาให้ความรู้ควบคู่กับการดำเนินการด้านความปลอดภัยของกระทรวงคมนาคม
3.การถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบการก่อสร้างถนน ที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อหารือร่วมกันและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
4.การพัฒนาบุคลากรด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนน และ
5.การนำเทคโนโลยีในการก่อสร้างอุโมงค์มาใช้ในการก่อสร้างถนนในประเทศไทย เพื่อช่วยในการลดผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น ได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนงาน โดยในขณะนี้เหลือการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณในบางช่วง ทั้งนี้ จะมีการเปิดวิ่งทดลองเสมือนจริงในช่วง มี.ค. 2564 ระยะเวลา 3 เดือน โดยจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้ฟรี และจะมีการเก็บสถิติรายละเอียดต่าง ๆ และประเมินผล ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายใน พ.ย.2564

ขณะเดียวกัน ในส่วนของงบประมาณที่เมื่อได้ดำเนินการแล้ว มีงบประมาณเกินกว่าที่ได้ขอรับการจัดสรรนั้น กระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงว่า จะมีการพิจารณาตามระเบียบกฎหมาย ส่วนที่ดำเนินการได้ก็จะเร่งดำเนินการให้รวดเร็ว ส่วนที่ยังดำเนินการไม่ได้ก็จะมีการหารือกับทางอัยการสูงสุดว่า จะดำเนินการต่อไปได้อย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ทั้งหมดจะไม่กระทบต่อการเดินรถของโครงการฯ เนื่องจากเป็นคนละส่วนกัน

นอกจากนี้ ยังได้รายงานกับไจก้าอีกว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับมอเตอร์เวย์ (MR-MAP) ที่จะเชื่อมต่อมอเตอร์เวย์กับรถไฟทางคู่เข้าด้วยกัน ที่จะเริ่มศึกษาโครงการเบื้องต้นภายในปี 2564 แบ่งเป็นเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ 3 แนวเส้นทาง และเส้นทางตะวันตก-ตะวันออก 5 แนวเส้นทาง ทั้งนี้ มีแนวเส้นทางที่สำคัญ คือ เส้นทางชุมพร-ระนอง ที่ขณะนี้รัฐบาลได้มีการอนุมัติงบประมาณ และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปดำเนินการหาผู้มาศึกษาการก่อสร้างท่าเรือฝั่งอ่าวไทย เชื่อมกับฝั่งอันดามัน เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางมอเตอร์เวย์และรถไฟทางคู่ ซึ่งไจก้าได้มีการแสดงความสนใจในการดำเนินการโครงการดังกล่าว

ขณะที่ความก้าวหน้าของโครงการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นั้น ได้เดินหน้าดำเนินการตามแผน โดยในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) การส่งมอบพื้นที่คาดว่า ภายในปี 2564 จะดำเนินการครบตามที่ได้กำหนดไว้ทั้งหมด ส่วนโครงการก่อสร้างเมืองการบินนั้น คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2568

นั่งฟรี! สีแดง มี.ค. 64 เปิดจริง พ.ย. “ศักดิ์สยาม” มั่นใจปมค่า VO หมื่นล้านไม่กระทบ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
16 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18:02 น.



“ศักดิ์สยาม” พบไจก้า ยันปมค่างาน VO หมื่นล้านไม่กระทบ เปิดเดินรถสายสีแดงตามแผน พ.ย. 64 โดย มี.ค. 64 จะให้ประชาชนนั่งฟรี ร่วมทดสอบเสมือนจริงก่อน ย้ำของบเพิ่ม รฟท.ต้องพิสูจน์งานจำเป็นจริง และต้องมีระเบียบรองรับ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง Mr.MORITA Takahiro หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ประจำประเทศไทย และคณะเข้าพบว่า ไจก้าได้สอบถามถึงการบริหารสถานีกลางบางซื่อ โดยกระทรวงคมนาคมได้ยืนยันว่าจะสามารถเปิดได้ตามกำหนดซึ่งจะเป็นช่วงก่อนเปิดเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะเป็นช่วงก่อนเดือน มี.ค. 2564 และก่อนหน้านั้นจะมีการขอพระราชทานชื่อด้วย ส่วนรถทางไกลที่ใช้หัวจักรดีเซลจะมีการจอดด้านนอก และใช้หัวจักรไฟฟ้าลากเข้ามาในสถานีกลางบางซื่อ เพื่อไม่ให้มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

โดยรถไฟสายสีแดงจะมีการทดลองเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ในเดือน มี.ค. 2564 ซึ่งจะให้ประชาชนได้ร่วมทดลองใช้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสาร ประมาณ 3 เดือน จากนั้นเมื่อระบบมีความพร้อมทุกด้านและมีมาตรฐานความปลอดภัยจะเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ และเก็บค่าโดยสาร ซึ่งตามแผนจะเป็นเดือน พ.ย. 2564

ทั้งนี้ ทางไจก้าได้สอบถามถึงวงเงินค่าก่อสร้างที่เกินกรอบงบประมาณมีการแก้ไขอย่างไร โดยกระทรวงคมนาคมได้ย้ำว่าจะพิจารณาและดำเนินการตามระเบียบกฎหมายให้ดีที่สุด ส่วนใดที่ดำเนินการได้ตามกฎหมายจะเร่งดำเนินการโดยเร็ว ส่วนใดที่ยังดำเนินการไม่ได้จะหารือกับอัยการสูงสุด และกระทรวงการคลัง

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กรณีค่าก่อสร้างเกินกรอบวงเงินงบประมาณ หรือค่า VO นั้นจะไม่กระทบต่อแผนการเปิดเดินรถ เพราะเป็นคนละส่วนกัน โดยนายชยธรรม พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบสัญญาแล้วไม่มีปัญหาหากจะเปิดเดินรถสายสีแดง

สำหรับกรณีงานก่อสร้างเพิ่มเติม หรือ Variation Order (VO) ซึ่งเป็นงานที่เพิ่มเติมจากที่ออกแบบไว้ หากพบว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อระบบเดินรถจะสามารถเสนอขออนุมัติงบเพิ่มเติมได้ ซึ่งค่างานที่เพิ่มประมาณ 10,345 ล้านบาท เป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 3,000 ล้านบาท และเป็นงานก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่ออกแบบ หรือ VO ประมาณ 6,220 ล้านบาท ในส่วนนี้ต้องพิจารณารายละเอียดว่างานใดที่สามารถดำเนินการได้ตามระเบียบ เพื่อนำเสนอของบประมาณเพิ่ม

“ก่อนหน้านี้ให้เวลาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิสูจน์ 2 เดือน ซึ่งยังไม่เรียบร้อย เพราะการพิสูจน์ยาก เพราะบางงานเป็นงานที่อยู่ใต้ดิน ดังนั้น หากอะไรที่พิสูจน์ได้สามารถดำเนินการตามระเบียบก็ทำต่อ แต่ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ ผมก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เพราะหากไม่มีระเบียบกฎหมายรองรับก็คงปล่อยให้ทำไม่ได้ แต่เรื่องนี้จะไม่กระทบต่อการเปิดเดินรถ”

นอกจากนี้ ได้หารือกับไจก้าในประเด็นอื่นๆ ที่ได้มีความร่วมมือกัน เช่น ความปลอดภัยทางถนน ซึ่งไจก้าได้ส่งผู้แทนเข้ามาดำเนินการควบคู่กัน, เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการก่อสร้างถนน, การพัฒนาบุคลากรด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนนน โดยไจก้าสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการ และการนำเทคโนโลยีก่อสร้างอุโมงค์มาใช้ในการก่อสร้างในประเทศไทย ขณะนี้กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นรูปแบบการก่อสร้างที่สามารถแก้ปัญหาผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้มาก

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้หารือเพิ่มเติมในเรื่องที่กระทรวงคมนาคมมีพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (MR-MAP) ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะใช้งบจากกองทุนมอเตอร์เวย์ดำเนินการศึกษาแผนแม่บทในปี 2564 โดยมีแนวเหนือ-ใต้ 3 เส้นทาง ส่วนแนวตะวันออก-ตะวันตก มี 5 เส้นทาง ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญเส้นทางภาคใต้ เพราะจะเป็นการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน และมีมอเตอร์เวย์ และรถไฟทางคู่ เชื่อมระหว่างท่าเรือชุมพรและท่าเรือระนอง

นอกจากนี้ ไจก้ายังสอบถามถึงโครงการในพื้นที่อีอีซี ที่ดำเนินการไปตามแผน โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะมีการส่งมอบพื้นที่เป็นไปตามแผน คาดว่าในปี 2564 จะส่งมอบพื้นที่ได้ครบ เหลือพื้นที่ต้องเจรจาประมาณ 40 รายจากทั้งหมด 400 กว่าราย

โครงการก่อสร้างเมืองการบินคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนปี 2568 ส่วนการประมูลท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ได้เจรจาต่อรองราคาให้เป็นไปตามราคากลางที่กำหนด ซึ่งได้ยืนยันไจก้าว่าประเทศไทยเดินหน้าโครงการตามแผน

'คมนาคม'เล็งทดลองเดินรถเสมือนจริง'รถไฟสายสีแดง'มี.ค.ปีหน้า
วันจันทร์ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 17.35 น.

"คมนาคม"เล็งทดลองเดินรถเสมือนจริง"รถไฟสายสีแดง"มี.ค.ปีหน้า ก่อนเปิดเชิงพาณิชย์ภายในพ.ย.64

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง นายโมริตะ ทาคาฮิโระ หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย เข้าพบเพื่อหารือในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ว่า ในการเข้าพบครั้งนี้ ได้มีการหารือ 5 เรื่อง ประกอบด้วย
1.การบริหารสถานีกลางบางซื่อ
2.เรื่องความร่วมมือความปลอดภัยทางถนน ตามที่ JICA ได้ส่งผู้แทนมาให้ความรู้ควบคู่กับการดำเนินการด้านความปลอดภัยของกระทรวงคมนาคม
3.การถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบการก่อสร้างถนน ที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อหารือร่วมกันและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
4.การพัฒนาบุคลากรด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนน และ
5.การนำเทคโนโลยีในการก่อสร้างอุโมงค์มาใช้ในการก่อสร้างถนนในประเทศไทย เพื่อช่วยในการลดผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น ได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนงาน โดยในขณะนี้เหลือการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณในบางช่วง ทั้งนี้ จะมีการเปิดวิ่งทดลองเสมือนจริงในช่วง มี.ค.2564 ระยะเวลา 3 เดือน โดยจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้ฟรี และจะมีการเก็บสถิติรายละเอียดต่างๆ และประเมินผล ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายใน พ.ย.2564 ขณะเดียวกัน ในส่วนของงบประมาณที่เมื่อได้ดำเนินการแล้ว มีงบประมาณเกินกว่าที่ได้ขอรับการจัดสรรนั้น กระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงว่า จะมีการพิจารณาตามระเบียบกฎหมาย ส่วนที่ดำเนินการได้ก็จะเร่งดำเนินการให้รวดเร็ว ส่วนที่ยังดำเนินการไม่ได้ก็จะมีการหารือกับทางอัยการสูงสุดว่า จะดำเนินการต่อไปได้อย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ทั้งหมดจะไม่กระทบต่อการเดินรถของโครงการฯ เนื่องจากเป็นคนละส่วนกัน


Last edited by Wisarut on 17/11/2020 7:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2020 10:35 am    Post subject: Reply with quote

ปีหน้า! รถไฟฟ้าสายสีแดง...พร้อมวิ่ง "แอร์พอร์ตลิงก์" เทรนพนักงาน256คน

คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

อังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.00 น.

ใกล้แตะความจริง ที่จะได้ใช้บริการกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ขบวนรถจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางถึงประเทศไทยรับมอบกันไปแล้ว 23 ขบวน จะมาถึงไทยภายในเดือนพ.ย.นี้


ใกล้แตะความจริง ที่จะได้ใช้บริการกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ขบวนรถจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางถึงประเทศไทยรับมอบกันไปแล้ว 23 ขบวน จากทั้งหมด 25 ขบวน ประกอบด้วย 6 ตู้ 14 ขบวน และ 4 ตู้ 9 ขบวน ส่วนที่เหลืออีก 2 ขบวนสุดท้าย ประกอบด้วย 6 ตู้ 1 ขบวน และ 4 ตู้ 1 ขบวน จะมาถึงไทยภายในเดือนพ.ย.นี้

เมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท. ) ยังมีมติอนุมัติให้รฟท. จัดทำบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้าง บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นเวลา 11 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ย. 63-ต.ค.64 ซึ่งหลังจากนี้ รฟฟท. จะต้องดำเนินการเรื่องบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินรถต่อไป




นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่า ได้ประกาศรับสมัครพนักงานเตรียมรองรับการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงแล้ว 256 คน ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ มีอัตราค่าตอบแทนเริ่มต้น 16,400 บาทต่อเดือนสำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญาตรี นอกจากนี้ยังรับพนักงานขับรถไฟแต่จะเริ่มต้นเป็นผู้ช่วยก่อน โดยมีพนักงานขับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ทำหน้าที่หลักไปก่อนในเบื้องต้นและเป็นพี่เลี้ยงผู้ฝึกหัด(เทรน)นักขับมือใหม่ ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาเพราะมีประสบการณ์เดินรถ แม้ขบวนรถไฟของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จะเป็นของเยอรมันแต่ขบวนรถไฟสายสีแดงเป็นของญี่ปุ่นก็ตาม

ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรฟท. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ รฟท. จ้าง รฟฟท. เดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นรายปีอยู่แล้ว มติดังกล่าวเป็นการเพิ่มภารกิจให้ รฟฟท. เดินรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มเติม โดยให้กรอบวงเงินไว้ที่ 61 ล้านบาท เพื่อจ้างพนักงานชั่วคราว ในส่วนของการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) และเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น เป็นเรื่องอนาคต ซึ่ง รฟท. เตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อลงรายละเอียดดำเนินการต่อไป แต่ระหว่างนี้ก็ให้ รฟฟท. เป็นผู้เดินรถไปก่อน ซึ่งยังคงเป็นไปตามตามแผนเดิมที่จะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริงประมาณกลางปี 64 และเปิดบริการได้ประมาณเดือน พ.ย.64




เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มทดสอบระบบรวมได้ประมาณกลางเดือน พ.ย.นี้ จากนั้นประมาณเดือน มี.ค.64 จะเริ่มทดสอบเดินรถเสมือนจริง ซึ่งเป็นการทดสอบภายใน 4 เดือนภายหลังจากทดสอบเดินรถเสมือนจริงแล้ว หากไม่ติดปัญหาใดๆ คาดว่าจะเปิดทดลองเดินรถให้ประชาชนได้ใช้บริการประมาณเดือน ก.ค.64 ก่อนเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย.64

“ช่วงเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการจะเก็บค่าโดยสารหรือไม่นั้น...ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารว่าจะไม่เก็บค่าโดยสารหรืออาจจะเก็บค่าโดยสารแค่บางส่วน เพราะต้องยอมรับว่าการเดินรถมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง รฟท. ต้องแบกรับภาระ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วปกติในระยะแรกจะให้ประชาชนได้ใช้บริการฟรี” ผู้ว่าการรถไฟฯ ให้รายละเอียดเพิ่มเติม



สำหรับไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ออกจากสถานีบางซื่อ ไปตาม แนวเขตทางรถไฟในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ผ่านเขต จตุจักร บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง ไปสิ้นสุดที่สถานี รังสิต จ.ปทุมธานี ระยะทางประมาณ 26.3 กม. ส่วนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันมีระยะทาง 15.263 กม. เมื่อเปิดบริการสามารถรองรับผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อได้ไม่น้อยกว่า 300,000 คนวัน คิดค่าโดยสาร 14-47 บาทตามระยะทาง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงใช้เวลาก่อสร้างกว่า 10 ปี วันนี้มีไทม์ไลน์แน่ชัดแล้วจะเปิดบริการเดินรถได้ในปีหน้า( 64 )อย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2020 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรธน. ตีความมติศาลปกครองสูงสุด ปมโฮปเวลล์ ขัดรธน.หรือไม่
โพสต์ : อังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12:31 น.
ีupdate: อังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17:31:32 น.
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรธน. ตีความมติศาลปกครองสูงสุด ปมโฮปเวลล์ ขัดรธน.หรือไม่


Last edited by Wisarut on 18/11/2020 2:12 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2020 7:28 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ ห้ามเขียน: อื้ออึงค่าโง่โฮปเวลล์ เหลือ1.5 หมื่นล. โอนไป 'มอรเชียส'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
พรานบุญ

นกกา กระจิบกระจาบ พิราบน้อยพากันบินแตกฮือ ตีพึ่บๆพั่บๆ ดังลั่นสนั่นไปทั่วทั้งศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภัก

เมื่อคณะผู้ตรวจการแผ่นดิน 3 คน ประกอบด้วย พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน อดีตรักษาการปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตเลขาธิการสภากลาโหม นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดศรีษะเกษและระยอง นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 และภาค 9 ได้วินิจฉัยข้อร้องเรียนของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายรัฐ กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินให้ "รัฐ" จ่ายเงินค่าผิดสัญญาแก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ตามคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ รวมเงินต้นดอกเบี้ย 2.5 หมื่นล้านบาทว่า "ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมาย มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 213"

คณะผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีคำวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนแล้ว มีมติ "หักคำสั่งศาลปกครองสูงสุด" แบบเละเป็นโจ๊ก

อีเห็นบอกว่า นี่อาจจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการจัดตั้งศาลปกครอง และมีการจัดตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินขึ้นมาในประเทศไทย ที่หน่วยงานของรัฐตรวจสอบคะคานอำนาจกันจะ "หัก" กันชนิดที่เดินไปคนละทาง.หึหึ

พ.ต.ท. กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า คณะผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาคำร้องแล้ววินิจฉัยว่า
1. มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบและไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา มตินั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 44

2. มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว ยังกำหนดให้เริ่มนับอายุความคดีปกครองตั้งแต่วันที่ "ศาลปกครองเปิดทำการ" คือ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 นั้น ถือว่า ผิดไปจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ที่บัญญัติว่า ให้เริ่มนับระยะเวลาอายุความคดีปกครองตั้งแต่ "วันที่รู้ หรือควรรู้ ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี"

ดังนั้น จึงเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 188 และมาตรา 197 อันเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำที่ไม่อาจใช้บังคับได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิดังกล่าว สามารถใช้สิทธิทางศาลรัฐธรรมนูญได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม

ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงวินิจฉัย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบ มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561

พรานฯ แปลไทยเป็นไทยว่า คดีค่าโง่โฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้าน ยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหารขอรับนายท่าน

แนวทางการยื้อเวลาจ่ายเงินค่าโง่โครงการโฮปเวลล์ 2.5หมื่นล้านบาทของ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระรวงคมนาคม และ "นิรุฒ มณีพันธ์" ผู้ว่าการ รฟท.ผู้เป็นนักกฎหมาย ที่แลกกับการยอมจ่ายค่าปรับดอกเบี้ยวันละ 4.6 ล้านบาท กำลังเจอแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ในข้อต่อสู้ทางคดี.ปรบมือสิพี่น้อง

แรกเริ่มเดิมทีผู้คนในประเทศต่างปรามาสรัฐมนตรีศักดิ์สยามว่า "บ่มีไก๊ ค่าโง่โฮปเวลล์ 2.5 หมื่นล้านบาทปิดเกมไปแล้ว" แต่รัฐมนตรีโอ๋ศักดิ์สยาม เป็นเลือดนักสู้เต็มตัวประกาศไม่ยอมจ่าย ดิ้นรนตั้งกรรมการขึ้นมาและตั้ง "ทนายนกเขา-นิติธร ล้ำเหลือ" เดินเกมสู้ตามข้อกฎหมาย เรียกร้องไปยังดีเอสไอ-ปปง.ผู้ตรวจการแผ่นดินให้กระโดดเข้ามาร่วมหาทางแก้ไข จนสุดท้ายผู้ตรวจการแผ่นดินกลายเป็นผู้ปลดล็อก

ตอนแรกทุกคนงงที่ รัฐมนตรีโอ๋ศักดิ์สยาม ประกาศว่า ตอนนี้ประเด็นตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยถือว่าถึงที่สุดแล้ว

อย่างไรก็ตามหากมีข้อเท็จจริงอื่น ก็อาจร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ฝ่ายรัฐอาจยื่นคำร้องต่อศาลปกครองชั้นต้นได้ โดยต้องกระทำภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุนั้น แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด.

แต่ตอนนี้ถึงบางอ้อ.สมแล้วที่ท่านเป็นศักดิ์แห่งสยาม.พรานฯขอชื่นชม

ขณะที่ ผู้ว่าการรถไฟฯ นิรุฒ ก็ประกาศชัดเจนว่า จะยังไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทโฮปเวลล์ฯ แต่อย่างใด เพราะยังไม่มีข้อยุติ

นิรุฒเคยบอกว่า "เมื่อศาลปกครองสูงสุดกลับคำตัดสินเป็นว่า คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการใช้ได้ หลายคนอาจเข้าใจว่าคำตัดสินใจของศาลปกครองสูงสุดเป็นที่สุด และเป็นคำพิพากษาที่ให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่ใช่. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เป็นเพียงการบอกว่า คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการใช้ได้เท่านั้น ดังนั้น การบังคับคดีในส่วนของการชดใช้ค่าเสียหายจะต้องดำเนินการตามพ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545"

"คณะทำงานฯที่มีรองปลัดกระทรวงคมนาคมกำลังทำงานหนัก โดยพยายามหาทางทุกวิถีทาง เช่น เดินทางไปที่ดีเอสไอ เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษว่า กระบวนการไม่ชอบกฎหมายตั้งแต่เริ่มต้น เช่น ประเด็นที่บอกว่าทีโออาร์กำหนดให้คนที่มาทำงานมีคุณสมบัติอย่างนี้ แล้วโฮปเวลล์ฮ่องกงมีคุณสมบัติที่เข้ามาแล้วได้งาน แต่วันเซ็นสัญญาจริงๆ ก็เอาเด็กเกิดใหม่คนหนึ่ง คือ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) เข้ามารับงานก็ต้องสู้" วันนี้คนไทยได้เห็นผู้บริหารหน่วยงานของรัฐฮึดสู้แล้ว

ในระหว่างทางของการสู้รบทางคดีค่าโง่โฮปเวลล์ก้อนโต 2.5 หมื่นล้านบาทนั้น พรานฯพามาดูเรื่องราวที่ฉาวโฉ่และป้องปากซุบซิบกันในกระทรวงหูกวางและย่านวิภาวดีรังสิต

เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีมติให้รัฐจ่ายเงินแก่โฮปเวลล์ ปรากฎว่า รองปลัดกระทรวงคมนาคมท่านหนึ่งได้ไปเจรจากับ "เสี่ย อ." เจ้าของตัวจริงเสียงจริงเพื่อหาทางปรับลดค่าเสียหาย ปรากฏว่า ทาง "เสี่ย อ." เจ้าของยอมลดค่าเสียหายเหลือ 1.8 หมื่นล้านบาท ลดให้ไปก้อนโต 7,000 ล้านบาท ยิ้มแปร้กันทั้งคณะ

แต่ทนายนกเขาดั๊นประกาศว่า ใครคนไหนจ่ายค่าโง่โฮปเวลล์ไปพ่อจะฟ้องให้หมด.ก็ถอยกรูดสิพี่น้อง

2 เดือนต่อมามีการเจรจากันใหม่ รอบนี้ทาง "เสี่ย อ." ใจปั้มยอมลดให้อีก 3,000 ล้านบาท เหลือจ่ายแค่ 1.5 หมื่นล้านบาทขาดตัว.

อื้อหือ ลดให้ 2 ครั้งรวม 10,000 ล้านบาทเชียวขอรับ.พรานฯไม่ขอนับค่าปรับนับตั้งแต่ศาลสั่งอีกกว่า 1,200 ล้านบาทนะพ่อเจ้าพระคุณ

เจ้าของตัวจริงเสียงจริงระบุว่า โฮปเวลล์มีค่าใช้จ่ายที่จ่ายซัพพลายเออร์ที่ค้างมายาวนานราว 5,000 ล้านบาท มีภาระที่ต้องจ่ายภาษีแก่กรมสรรพากร 1,200 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดิน รฟท.อีกราว 1,100 ล้านบาท

เหลือค่าเสียหายที่ต้องรับจริงจากที่ลงทุนไปแล้วแค่ 7,000 ล้านบาทเท่านั้น.อิๆ

แต่มีข้อแม้ว่า รัฐจะต้องเป็นผู้โอนจ่ายเงินค่าเสียหายทั้งก้อน 1.5 หมื่นล้านบาท ไปให้ที่หมู่เกาะมอริเชียส.โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง โอนเงินไปให้ที่เกาะมอริเชียสซึ่งเป็นหมู่เกาะที่ปลอดภาษี .555

คำถามคือทำไมต้องไปที่นั่น เพราะโครงสร้างบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด มี บริษัทโฮปเวลล์ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด สัญชาติฮ่องกงถือหุ้นใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พ.ย.2548 โอนให้ บริษัท ยูไนเต็ด ซัคเซส ลิมิเต็ด สัญชาติ มอริเชียส เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 1,499,999,994 หุ้น สัดส่วน 96.66%บริษัท ยูไนเต็ด ซัคเซส ลิมิเต็ด นั้น ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ฟีเล็กซ์ เฮ้าส์ ดร.โจเซฟ ริวิเย ซึ่งเป็นพื้นที่ย่านไชน่าทาวน์ของเมือง Port Louis ประเทศมอริเชียส

อะแฮ่มแล้วบริษัทที่หมู่เกาะมอริเชียสนี้ใครเป็นเจ้าของ.ใช่คนไทยหรือไม่.อีนี่พรานฯ รู้นะเสี่ย.555

ถึงตอนนี้พอผู้ตรวจการแผ่นดินยิ่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตัดสินคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด เชื่อพรานฯหรือไม่ว่า ราคาการจ่ายของหน่วยงานรัฐจะลดลงอีก แต่จะเหลือเท่าใดอันนี้พรานฯ ไม่รู้ รู้แต่ว่า อำนาจการต่อรองของ "เสี่ย อ." ลดลงเรื่อยๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/11/2020 8:26 am    Post subject: Reply with quote

ว้าว!สกายวอล์กยาวที่สุด720ม.เชื่อมรพ.จุฬาภรณ์-สถานีหลักสี่
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) แจ้งว่า ได้จัดทำทีโออาร์ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการทางเชื่อมต่อ (Skywalk) ระหว่าง รพ.จุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ตามพระดำริเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้นำขึ้นเว็บไซต์ รฟท. เพื่อเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนถึงวันที่ 24 พ.ย. 63 หากไม่มีคัดค้าน รฟท. จะเปิดขายซองประมูลวันที่ 25 พ.ย. 63 คาดว่าจะได้ผู้ชนะและลงนามสัญญาเดือน ม.ค.64 เริ่มก่อสร้างเดือน ก.พ.แล้วเสร็จภายใน 8 เดือน และเปิดบริการเดือน พ.ย.64

โครงการนี้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีหนังสือขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงคมนาคมให้จัดสร้างทางเชื่อมจาก รพ.มายังโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต เพื่อรองรับบุคลากรและผู้รับ บริการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตจากโครงการเฉลิม พระเกียรติ 90 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งนี้ รฟท. ได้เตรียมงบประมาณ 242 ล้านบาท ก่อสร้างทางเชื่อมสกายวอล์กจาก รพ.จุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ ระยะทาง 720 เมตร ซึ่งเป็นทางเดินเชื่อมที่ยาวที่สุดเท่าที่รถไฟเคยก่อสร้าง โดยมีความกว้าง 4 เมตร สร้างบนความสูงระดับเดียวกับทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีแดง มีจุดสูงสุด 17 เมตร มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟหลักสี่กับศูนย์การค้า ไอที สแควร์ โดยหัก 90 องศา ตั้งฉากถนนแจ้งวัฒนะ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิบันไดหลัก 1 ชุด บันไดเลื่อนขึ้นลงอย่างละ 1 ชุด และลิฟต์สำหรับผู้พิการ 1 ชุด ข้ามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูและทางยกระดับข้ามถนนวิภาวดีรังสิต

นอกจากนี้ยังเปลี่ยนระดับการเดินทางเชื่อมต่อด้วยบันไดหลัก 1 ชุด บันไดเลื่อนขึ้นและลงอย่างละ 1 ชุด ลิฟต์สำหรับผู้พิการ 1 ชุด ฝั่งด้านทิศใต้ จากนั้นทางเดินเชื่อมจะหัก 90 องศาไปยังแนวเสาของโครงสร้างทางวิ่งรถไฟชานเมืองสายสีแดง และเลี้ยวเข้าพื้นที่ รพ.จุฬาภรณ์และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อก่อสร้างเป็นจุดขึ้น- ลงของทางเดินเชื่อม มีจุดขึ้น-ลงที่ระดับพื้นของ สกายวอล์ก 2 จุด บริเวณหน้าราชวิทยาลัยจุฬา ภรณ์ ประตูเข้า-ออก หมายเลข 3 และ 5 โดยจะมีบันไดเลื่อนขึ้นลิฟต์สำหรับผู้พิการ.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2020 9:28 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทุ่ม 242ล. ผุดสกายวอล์ค720ม. เชื่อมรพ.จุฬาภรณ์-สถานีหลักสี่ เปิดใช้พ.ย.64
เศรษฐกิจ

วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:26 น.

รถไฟทุ่ม 242 ล้าน ผุดสกายวอล์คยาวที่สุด 720 เมตร เชื่อม รพ.จุฬาภรณ์ กับสถานีหลักสี่ อำนวยความสะดวกต่อรถไปสาย “สีแดง-ชมพู” ได้ด้วย คาดเปิดใช้พ.ย.ปี 64

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท. ได้จัดทำทีโออาร์ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางเชื่อม Skywalk ระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ตามพระดำริเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้นำขึ้นเวปไซต์ของ รฟท. เพื่อเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนระหว่าง 17-24 พ.ย.63 หากไม่มีใครคัดค้าน รฟท. จะดำเนินการเปิดขายซองประมูลในวันที่ 25 พ.ย. 63 คาดว่าจะได้ตัวผู้ชนะการประมูลและลงนามในสัญญาเดือนม.ค.64 เริ่มงานก่อสร้างเดือนก.พ.แล้วเสร็จภายใน8เดือน และเปิดให้บริการในเดือนพ.ย.ปี 64

สำหรับโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางเชื่อม Skywalk ระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ เป็นโครงการที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีหนังสือ ขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงคมนาคมให้จัดสร้างทางเชื่อมจากโรงพยาบาลฯมายังโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต เพื่อรองรับบุคลากรและผู้รับบริการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตจากการดำเนินการโครงการเฉลิมพระเกียรติ 90 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

รายงานข่าวแจ้งว่ารฟท.ได้เตรียมงบประมาณ 242 ล้านบาท ในการดำเนินการก่อสร้าง โดยจะก่อสร้างทางเชื่อมหรือ skywalk ระหว่าง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ ระยะทางประมาณ 720 เมตร ซึ่งเป็นทางเดินเชื่อมที่ยาวที่สุดเท่าที่รถไฟเคยก่อสร้าง

สำหรับทางเดินเชื่อม จะมีระยะทางประมาณ 720 เมตร ความกว้าง 4 เมตร สร้างบนความสูงระดับเดียวกับทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยมีจุดสูงที่สุดที่ระดับ 17 เมตร โดยมีจุดเริ่มต้นที่ บริเวณทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟหลักสี่กับศูนย์การค้า ไอที สแควร์ โดยหัก 90 องศา ตั้งฉากกับถนนแจ้งวัฒนะ มีสิ่งอำนวยความสะดวกการเปลี่ยนระดับการเดินทาง คือบันไดหลักจำนวน 1 ชุด บันไดเลื่อนขึ้นและลงจำนวนอย่างละ 1 ชุด และลิฟท์สำหรับคนพิการ จำนวน 1 ชุด เพื่อข้ามแนวรถไฟฟ้าสาย สีชมพูและทางยกระดับข้ามถนนวิภาวดีรังสิต

และจะมีการเปลี่ยนระดับการเดินทางเชื่อมต่อ ด้วยบันไดหลักจำนวน 1 ชุด บันไดเลื่อนขึ้นและลงจำนวนอย่างละ 1 ชุด ลิฟท์สำหรับ คนพิการ จำนวน 1 ชุด ที่บริเวณฝั่งด้านทิศใต้ จากนั้นทางเดินเชื่อมจะหัก 90 องศาไปยังแนวเสาของโครงสร้างทาง วิ่งรถไฟชานเมืองสายสีแดง และเลี้ยวเข้าพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อก่อสร้างเป็นจุดขึ้นลงของทางเดินเชื่อม

โดยมีจุดขึ้นลงที่ระดับพื้นของทางเดินเชื่อม Sky Walk 2 จุด คือจุดขึ้นลงบริเวณหน้าราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประตูเข้า-ออกหมายเลข3และ 5 โดยจะมีบันไดเลื่อนขึ้น ลิฟท์สำหรับคนพิการ ทางลาดของผู้พิการ และลิฟท์ที่สามารถขนย้ายรถกอลฟ์ได้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ให้บริการและเพื่อการซ่อมบำรุง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 147, 148, 149  Next
Page 91 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©