RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180433
ทั้งหมด:13491667
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/10/2020 11:15 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ Asean Focus: 'สถานีกลางบางซื่อ'ศูนย์กลางระบบรางไทย'ใหญ่ที่สุด'ในอาเซียน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563
พชร อังศุสุกนฤมล
นักการทูตปฏิบัติการ กรมสารนิเทศ

ในช่วงปีที่ผ่านมาหากท่านผู้อ่านได้มีโอกาส ใช้ทางพิเศษศรีรัช หรือได้ผ่านไปแถวจตุจักร คงจะสังเกตเห็นความอลังการของสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางระบบรางใหม่ของไทยที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์และมีกำหนดเปิดให้บริการ อย่างเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2564 เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์จะเป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

เมื่อกล่าวถึง สถานีกลางบางซื่อ สิ่งแรกที่สะดุดตาและสามารถสังเกตเห็นได้จากระยะไกลคือ นาฬิกาเรือนใหญ่ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ทางด้านหน้าของสถานี ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าบนหน้าปัดนาฬิกา มีเลข "9" เพียงเลขเดียวเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9

นอกจากนี้การที่ผู้ออกแบบเลือกใช้เลขไทยก็เพื่อแสดงเอกลักษณ์ของสถานีผ่าน ตัวตนความเป็นไทย ขนาดของตัวเรือนนาฬิกาที่โดดเด่น ยังแสดงถึงความเป็นสากลของสถานีรถไฟทั่วโลก ที่สื่อถึงความเที่ยงตรง ของการเดินทางโดยรถไฟด้วย นอกจากความโดดเด่น ทางสถาปัตยกรรมของ สถานีกลางบางซื่อแล้ว ภายในตัวสถานียังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานระบบรางทุกรูปแบบของไทยโดยเชื่อม ระบบรางที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันเข้ากับระบบรางอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในอนาคต โดยอาคารสถานีมีทั้งหมด 4 ชั้น 24 ชานชาลา (platforms) สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 600,000 คนต่อวัน

ความสำคัญอีกประการหนึ่งของสถานีกลางบางซื่อคือ การเป็นศูนย์รวมระบบคมนาคมทางรางทุกประเภท อาทิ รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จและพร้อม ให้บริการในปี 2569 รวมถึงรถไฟฟ้าชานเมือง หรือที่เราเรียกกันว่ารถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจะเชื่อมต่อกรุงเทพฯ และปริมณฑลสู่เมือง ในจังหวัดรอบกรุงเทพฯ เช่น นครปฐม อยุธยา และฉะเชิงเทรา

ทั้งนี้ รถไฟสายสีแดงแบ่งเป็น 2 เส้นทางหลักคือ สายสีแดงเข้ม วางตัวในแนวเหนือ-ใต้เชื่อมจ.อยุธยา ยาวไปจนถึงอ.ปากท่อ จ.ราชบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 114.3 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเชื่อมจ.นครปฐมยาวไปจนถึงจ.ฉะเชิงเทรา รวมระยะทางทั้งสิ้น 127.5 กิโลเมตร

การเชื่อมโยงทางบกดังกล่าวจะทำให้สถานีกลางบางซื่อ เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงระบบรางที่จะเชื่อมพื้นที่ที่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมเขตชานเมืองเข้าสู่มหานคร การเชื่อมเมืองรองเข้าสู่เมืองหลวง และการเชื่อมกรุงเทพฯ ไปยังเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อีกด้วย

ด้วยยุทธศาสตร์ของการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อให้เป็นจุดศูนย์กลางการคมนาคมระบบรางของไทยในอนาคต การบริหารจัดการพื้นที่ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก การรถไฟแห่งประเทศไทยได้วางแผนพัฒนาพื้นที่ โดยรอบสถานีตามหลักคิดของ Smart City โดยการบริหารพื้นที่ โดยรอบให้มีลักษณะการใช้งานที่ครอบคลุม อาทิ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่จอดแล้วจร พื้นที่การค้าเชิงพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานของหน่วยงานรัฐ พื้นที่จัดประชุมและสัมมนาขนาดใหญ่ (MICE) และ ASEAN Commercial Business Hub เพื่อเชื่อมโยงการค้าทางบกในภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ผู้ออกแบบสถานีแห่งนี้ยังคำนึงถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีพื้นที่สีเขียวกว่า 30 %ของพื้นที่ทั้งหมดอีกด้วย

ศักยภาพและความพร้อมเหล่านี้ สถานีกลางบางซื่อนับเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการสำคัญของการคมนาคมระบบรางไทย อันจะนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่เพิ่มมากขึ้น และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากความเชื่อมโยงที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น

วันนี้จึงเป็นอีกหนึ่งวันดีๆ ของผมที่มีโอกาสได้มาเห็น ศูนย์กลางระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อการคมนาคมและธุรกิจเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้แก่เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน ต่อไป เชื่อว่าช่วงปลายปีหน้านี้ พี่น้องคนไทยรวมทั้งชาวต่างชาติที่มาเยือนจะได้สัมผัสศูนย์รวมของไลฟ์สไตล์แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ที่จะเชิญชวนให้ทุกคนได้มาร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ในที่เดียวได้อย่างครบวงจร

"สถานีกลางบางซื่อ เป็นจุดยุทธศาสตร์ ในการเชื่อมโยงระบบรางที่จะเชื่อมพื้นที่ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/11/2020 4:28 am    Post subject: Reply with quote

สกู๊ปหน้า1: ระบบรถรางยักษ์ใหญ่ไทย ขนส่งทันสมัยสุดในเอเชีย
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

นับถอยหลังเปิดโฉมระบบ รถรางไทย "สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางคมนาคมทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ทดแทนสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อรองรับความเจริญ เติบโตของเมือง

ในการเชื่อมโยงเครือข่ายการเดินทางขนส่งที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่าย ไปสู่รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าบีทีเอส รวมทั้งเชื่อมโยง กับแอร์พอร์ตเรียลลิงก์ไปสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองและ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในอนาคต

ด้วยเหตุนี้ "สถานีกลางบางซื่อ" มีขนาดความยาว 596.6 เมตร กว้าง 244 เมตร และสูง 43 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยราว 274,192 ตร.ม. ภายใต้พื้นที่โดยรอบราว 2,325 ไร่ สามารถขยายสถานีรองรับรถไฟ หลากหลายระบบทั้งรถไฟทางไกลรถไฟความเร็วสูงรถไฟชานเมือง ในการ พัฒนาพื้นที่โดยรอบได้อีกมากมายด้วยซ้ำ

ภายใน "ตัวอาคาร" ยังถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ คือ ชั้นที่หนึ่งห้อง จำหน่ายตั๋วโดยสาร โถงพักคอย จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ชั้นลอย...เป็น พื้นที่พาณิชยกรรมร้านค้าและห้องควบคุม ชั้นที่สอง...สำหรับรถไฟใช้ราง ขนาด 1.00 เมตร อาทิ รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสาย สีแดง 4 ชานชาลา

ชั้นที่สาม...เป็นชั้นชานชาลารถไฟที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร คือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน2 ชานชาลารถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ 6 ชานชาลารถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ 4 ชานชาลารวมทั้งสิ้น 12 ชานชาลา

มาถึงชั้นใต้ดินเป็นพื้นที่สำหรับจอดรถที่รองรับได้ราว 1,624 คัน เบื้องต้นการก่อสร้างทั้งหมดมีความก้าวหน้าอย่างมาก ถ้าเปิดดำเนินการ ได้ในปีแรก คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการราว208,000 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2575 เพิ่มเป็น 396,000 คน-เทียว/วัน

ถ้าเปรียบเทียบกับ "สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)" เปิดใช้งานเมื่อ วันที่ 25 มิ.ย.2459 สถานีมีความกว้าง 100 เมตร ยาว 300 เมตร มีพื้นที่ ใช้สอย 192,000 ตร.ม. ภายใต้พื้นที่ 120 ไร่ ถูกล้อมรอบด้วยคลอง ไม่

สามารถขยายพื้นที่สถานีได้ ทำให้รับเฉพาะรถไฟทางไกล 14 ชานชาลา รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 60,000 คน-เที่ยว/วัน

ทำให้ "สถานีกลางบางซื่อ" กลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วย ระบบรางแห่งใหม่ของประเทศ รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่ใหญ่ และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และก็จะถูก พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า โรงแรมอาคารสำนักงาน เพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชนในอนาคต

ในช่วงแรกๆ ตามแผนการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อนั้น การ รถไฟแห่งประเทศไทย" จะยังไม่ย้ายขบวนรถไฟทางไกล และขบวนรถ ชานเมืองที่ออกจากสถานีกรุงเทพไปสถานีกลางบางซื้อทั้งหมด แต่จะ พิจารณาให้ขบวนรถที่มีความพร้อมไปเปิดใช้บริการที่สถานีกลางบางซื่อก่อน

จากนั้น "สถานีกรุงเทพ ก็จะเปลี่ยนจากสถานีรถไฟหลักเนื่องจาก จะมีขบวนรถเข้าสู่สถานีกรุงเทพน้อยลงแต่ยังคงเป็นสถานีรถไฟที่ให้บริการ ประชาชนเหมือนเช่นที่ผ่านมาและพัฒนาพื้นที่บางส่วนเป็นพิพิธภัณฑ์การ เรียนรู้ของประชาชนด้านประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ ตามที่ เจ้าหน้าที่

ระดับสูงการรถไฟฯ บอกไว้

ตามรายงานในวันที่ 25 ก.ย.2563 การก่อสร้างตัวงานด้านสถาปัตยกรรม และอาคารสถานีกลางบางซื่อ ถูกดำเนินการเสร็จสิ้นเกือบ 100% แล้ว แต่ คงเหลืองานติดตั้งระบบควบคุมเดินรถ ระบบการซื้อตัวโดยสาร ระบบ การสื่อสารและระบบเกี่ยวกับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยภาพรวมนี้ มีความคืบหน้าไปแล้วราว 87%

สำหรับ "สถานีกลางบางซื่อ" เป็นสถานีที่มีทั้งระบบรถไฟฟ้า และรถไฟรางธรรมดา 12 ชานชาลา และมีการออกแบบรองรับรถไฟฟ้า ความเร็วสูง ที่เรียกว่า "รถไฟไทย-จีน" ระหว่างสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอยู่ขณะนี้ อีกทั้งยังมีการออกแบบ รองรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ตั้งแต่สนามบินอู่ตะเภาสนามบินสุวรรณภูมิเข้ามายังสถานีพญาไท สถานีกลางบางซื่อ และสนามบินดอนเมือง

ประเด็น "เปิดใช้อย่างเป็นทางการ" เบื้องต้นมีตัวรถไฟฟ้าเข้ามา เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ และคาดว่าเดือน พ.ย.2563 รถไฟฟ้าสายสีแดงก็ น่าจะครบ 25 ชุด ถูกแบ่งออก 2 ส่วน คือ ชุดรถไฟฟ้าแบบ 4 ตู้โดยสาร และชุดรถไฟฟ้าแบบ 6 ผู้โดยสาร รวมทั้งหมดเป็น 180 ตู้ กำหนด เส้นทางเดินรถไฟฟ้า 2 สาย คือ...

ระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-สถานีตลิ่งชันและสถานีกลางบางซื่อสถานีรังสิต

เริ่มนำขบวนรถไฟออกมาวิ่งทดสอบแล้วและทดสอบเดินระบบเช่น กันคิดว่าการทดสอบนี้สิ้นสุดในเดือนก.พ.2564 จากนั้นก็จะทดสอบเดินรถ ไฟฟ้าเสมือนจริง เพื่อเป็นการประเมินระบบ แผนความปลอดภัย และ ภาพรวมทั้งหมดสิ้นสุดเดือน มิ.ย.2564 ก่อนพิจารณาเปิดบริการอย่าง เป็นทางการตามความเหมาะสมต่อไป

ส่วน "การย้ายรถไฟสถานีกรุงเทพ" ยังไม่สามารถย้ายมาหมดได้ เพราะมีแผนโครงการก่อสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยายสายหัวลำโพง-บางซื่อ ตามแนวเส้นทางเดินรถไฟเดิม และสายสีแดงบางซื่อ-หัวหมาก เริ่มก่อสร้าง ได้ราวปี 2566 ใช้เวลาดำเนินการ 3 ปี ดังนั้นถ้าเปิดสถานีกลางบางซื่อ ก็มีรถไฟย้ายมา 3 สาย ได้แก่

รถไฟสายภาคใต้ สายภาคเหนือ และสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกเว้นสายภาคตะวันออก ที่ยังใช้สถานีเช่นเดิมชั่วคราวเมื่อสร้างส่วนต่อขยาย สายสีแดงนี้เสร็จในปี 2570 ก็จะทำให้ "สถานีหัวลำโพง" ถูกลดบทบาท ปรับเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของประชาชนด้านประวัติศาสตร์ของการรถไฟฯ

ตอนนี้ "สถานีกลางบางซื่อ" อาจยังไม่เต็มรูปแบบ เพราะสาย สีแดงยังต้องพัฒนาขยายต่อออกไปอีกคือสถานีกลางบางซื่อ-ม.ธรรมศาสตร์ และสถานีกลางบางซื่อ-ม.มหิดลศาลายา มีแผนกำหนดเสร็จสิ้นในปี 2569 ถ้าเสร็จเต็มรูปแบบจะมีความยิ่งใหญ่ระดับอาเซียนแน่นอน

สิ่งสำคัญ "พื้นฐานสถานีกลางบางซื่อ" โครงข่ายเชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สายสีชมพู สายสีเขียว รถไฟฟ้า Airport Rail Link รถไฟความเร็วสูง และรถไฟรางต่างจังหวัด

ทำให้สถานีแห่งนี้มีลักษณะการใช้ระบบรางอย่างเต็มรูปแบบพร้อม กับการพัฒนาพื้นที่รอบข้าง เพื่อให้เป็น "สมาร์ทซิตี้" หรือพื้นที่ธุรกิจใน อนาคต ในการส่งเสริมซึ่งกันและกันแต่ด้วยโควิด-19 ส่งผลให้การรถไฟฯ ต้องกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้งเช่น "โซนเอ" เคยประกาศประกวดราคา ในช่วงต้นๆ โรคระบาด ที่นักลงทุนไม่สนใจมาก

ดังนั้น "การรถไฟฯ" อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ หลัง มีการเดินรถสายสีแดงแล้วก็ได้เพราะจะเริ่มมีความชัดเจนของการใช้พื้นที่ โดยรอบ ที่ไม่ใช่พื้นที่รกร้างว่างเปล่าอีกต่อไป แต่กลายเป็น "ทำเลทอง" ที่เป็นชัยภูมิเหมาะสมต่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต ทำให้ "นักลงทุน" อาจเกิดความสนใจมากขึ้นก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ "กรมขนส่งทางบก" ก็พิจารณาเปิดเดินรถประจำทาง เชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อ-สถานีขนส่งจตุจักร (หมอชิต 2) ที่อยู่ระหว่าง

การเจรจาการรถไฟฯ เพื่อลดขนาดพื้นที่เช่า 58 ไร่ จากเช่าพื้นที่ 73 ไร่ รอเชื่อมต่อระบบรางหลังสถานีกลางบางซื่อสายสีแดง

เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับอู่รถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ที่อยู่ด้านข้างสถานีรถตู้ถนนกำแพงเพชร รถโดยสารต่างจังหวัด สถานีหมอชิต 2 ใช้เวลาเดินทางเชื่อมต่อระบบขนส่งรถ Shuttle Bus ไปยังสถานีกลางบางซื่อได้สะดวกไม่นาน ที่เป็นสถานีศูนย์รวมระบบรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง

จุดประสงค์ คือ การรถไฟฯ และ บขส. จะร่วมมือกันพัฒนาสถานีขนส่ง แห่งนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งด้านรถโดยสารของประเทศ ให้เกิดความทันสมัย มีความสะดวกแก่ประชาชนที่สุด

ล่าสุดก็มีกระแสมาแรงว่า... "สถานีรถ บขส." อาจต้องย้ายกลับ "หมอชิตเก่า" ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามสวนจตุจักร ที่มีลักษณะชัยภูมิ "ใจกลางเมือง" เพื่อให้บริการพื้นที่ใหม่เร็วๆนี้

"จุดประสงค์คือ การรถไฟฯและ บขส. จะ ร่วมมือกันพัฒนาสถานีขนส่งแห่งนี้ให้กลาย เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งด้านรถ โดยสารของประเทศให้เกิดความทันสมัย มีความสะดวกแก่ประชาชนที่สุด ล่าสุดก็มี กระแสมาแรงว่า... "สถานีรถ บขส. "อาจต้อง ย้ายกลับ "หมอชิตเก่า ถนนพหลโยธิน ตรง ข้ามสวนจตุจักร"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2020 10:34 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สกู๊ปหน้า1: ระบบรถรางยักษ์ใหญ่ไทย ขนส่งทันสมัยสุดในเอเชีย
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Link มาแล้วจ้า: ระบบรถรางยักษ์ใหญ่ไทย ขนส่งทันสมัยสุดในเอเชีย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 05:01 น.
https://www.thairath.co.th/news/local/1972932
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2020 9:01 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดทสถานีกลางบางซื่อ
อยากให้เปิดใช้ไวๆ แล้ววววววว
https://www.facebook.com/734179800020363/posts/3084711391633847/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2020 11:48 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้าสถานีกลางบางซื่อ
https://www.youtube.com/watch?v=NmPOVvbnLss
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2020 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ผ่านร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อกับญี่ปุ่น เดินหน้าเมืองอัจฉริยะ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:05 น.

ไฟเขียวร่วมลงนามญี่ปุ่น พัฒนาพื้นที่บางซื่อ เป็น “เมืองอัจฉริยะ”
เผยแพร่: วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:23:00 น.

"ครม.เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อ มอบ "ปลัดคมนาคม" ร่วมลงนาม ญี่ปุ่น พัฒนาพื้นที่บางซื่อ ปั้นเป็น “เมืองอัจฉริยะ”

รองโฆษกรัฐบาล เผย ครม.เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อระหว่างหน่วยงานของไทยกับญี่ปุ่น เดินหน้าสู่การปฏิบัติปั้นเป็นเมืองอัจฉริยะ

วันนี้ (23 พ.ย.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น เพื่อผลักดันแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่บริเวณบางซื่อไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งพื้นที่บริเวณบางซื่ออยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และได้รับการวางแผนพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางเมืองใหม่ของกรุงเทพมหานครในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงยังเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภายใต้กรอบ ASEAN Smart City Network (ASCN) และภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วย ขณะเดียวกัน ครม.ยังได้อนุมัติให้ปลัดกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

สำหรับร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อฯ มีสาระสำคัญดังนี้ คือ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น โดยมีกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น ร่วมกันกำหนดรูปแบบความร่วมมือ และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่นจะทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้วย ส่วนการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบนั้น ทางกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะจัดส่งข้อมูลทรัพย์สินและข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาเมืองให้แก่กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น ขณะที่กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่นก็จะส่งข้อมูลนโยบายและการพัฒนาเมือง กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนและวิธีการดำเนินโครงการให้กับกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้น แต่ละฝ่ายจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง โดยที่บันทึกข้อตกลงฯมีอายุ 2 ปี และต่ออายุอัตโนมัติได้อีก 2 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ทุกฝ่ายลงนาม ทั้งนี้ ร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้ดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและนโยบายของประเทศตนเอง ส่วนข้อมูลและข่าวสารที่แลกเปลี่ยนกันภายใต้ร่างบันทึกข้อตกลงจะเป็นข้อมูลความลับ

น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่า ตามแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่โดยรอบบริเวณบางซื่อ (Bang Sue Smart City) จะนำเสนอรูปแบบความเป็นอัจฉริยะใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ เป็นรูปแบบเมืองที่ผู้คนสามารถเดินในบริเวณพื้นที่ได้อย่างสบายและปลอดภัย สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆได้ง่าย มีเครือข่ายทางเดินลอยฟ้าเชื่อมระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับโซนต่างๆ

2. การบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ จะมีการใช้ระบบ Regional Cooling Network แหล่งกำเนิดความเย็นประสิทธิภาพสูง การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และนำระบบสื่อสารสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการบริหารจัดการพลังงาน และ 3. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ โดยจะพัฒนาพื้นที่สีเขียวบริเวณรอบสวนจตุจักร มีการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลโดยเน้นการรีไซเคิล และลดการทิ้งขยะที่เป็นของแข็ง ให้บริการขนส่งคมนาคมด้วยรถ EV การส่งเสริมการแชร์จักรยาน และการจัดโซนให้ความสำคัญต่อผู้เดินเท้าเป็นอันดับแรก


การรถไฟฯลงนามญี่ปุ่น พัฒนาพื้นที่บางซื่อ 4 ปี ปั้นเป็น “เมืองอัจฉริยะ”
แนะนำข่าวการเมือง

เผยแพร่: วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:04 น.

ครม.ไฟเขียวร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อ ระหว่างหน่วยงานของไทยกับญี่ปุ่น เดินหน้าสู่การปฏิบัติปั้นเป็นเมืองอัจฉริยะ “บิ๊กตู่” เตรียมลงพื้นที่บางซื่อเร็ว ๆ นี้

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น เพื่อผลักดันแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่บริเวณบางซื่อไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งพื้นที่บริเวณบางซื่ออยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และได้รับการวางแผนพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางเมืองใหม่ของกรุงเทพมหานครในอนาคตอันใกล้นี้

รวมถึงยังเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภายใต้กรอบ ASEAN Smart City Network (ASCN) และภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วย ขณะเดียวกันครม.ยังได้อนุมัติให้ปลัดกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

สำหรับร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อฯ มีสาระสำคัญดังนี้คือ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น โดยมีกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทยและองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น ร่วมกันกำหนดรูปแบบความร่วมมือ และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่นจะทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้วย

ส่วนการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบนั้น ทางกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยจะจัดส่งข้อมูลทรัพย์สินและข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาเมืองให้แก่กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น


ขณะที่กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่นก็จะส่งข้อมูลนโยบายและการพัฒนาเมือง กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนและวิธีการดำเนินโครงการให้กับกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตามในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้น แต่ละฝ่ายจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง โดยที่บันทึกข้อตกลงฯมีอายุ 2 ปี และต่ออายุอัตโนมัติได้อีก 2 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ทุกฝ่ายลงนาม

ทั้งนี้ร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้ดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและนโยบายของประเทศตนเอง ส่วนข้อมูลและข่าวสารที่แลกเปลี่ยนกันภายใต้ร่างบันทึกข้อตกลงจะเป็นข้อมูลความลับ

น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่า ตามแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่โดยรอบบริเวณบางซื่อ(Bang Sue Smart City) จะนำเสนอรูปแบบความเป็นอัจฉริยะใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ เป็นรูปแบบเมืองที่ผู้คนสามารถเดินในบริเวณพื้นที่ได้อย่างสบายและปลอดภัย สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆได้ง่าย มีเครือข่ายทางเดินลอยฟ้าเชื่อมระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับโซนต่างๆ

2.การบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ จะมีการใช้ระบบ Regional Cooling Network แหล่งกำเนิดความเย็นประสิทธิภาพสูง การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และนำระบบสื่อสารสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการบริหารจัดการพลังงาน

และ3.การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ โดยจะพัฒนาพื้นที่สีเขียวบริเวณรอบสวนจตุจักร มีการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลโดยเน้นการรีไซเคิลและลดการทิ้งขยะที่เป็นของแข็ง ให้บริการขนส่งคมนาคมด้วยรถEV การส่งเสริมการแชร์จักรยาน และการจัดโซนให้ความสำคัญกับผู้เดินเท้าเป็นอันดับแรก

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะนำครม.ลงพื้นที่บางซื่อเร็ว ๆ นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2020 11:05 am    Post subject: Reply with quote

ดึงญี่ปุ่นเนรมิตโครงการบางซื่อฯ ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ
เผยแพร่: วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 17:30:00 น

ครม.ไฟเขียวเอ็มโอยูไทย-ญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนข้อมูล เดินหน้าผลักดันโครงการบางซื่อ สู่แผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอนาคต รองรับการให้บริการขนส่งสาธารณะแบบวงจร

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อ ระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น เพื่อผลักดันแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่บริเวณบางซื่อไปสู่การปฏิบัติ

ปัจจุบันพื้นที่บริเวณบางซื่ออยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และวางแผนพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางเมืองใหม่ของกรุงเทพมหานครในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงยังเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภายใต้กรอบ ASEAN Smart City Network (ASCN) และภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0


ทั้งนี้ร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบางซื่อฯ มีสาระสำคัญเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น ส่วนการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบนั้น ทางกระทรวงคมนาคมและรฟท.จะจัดส่งข้อมูลทรัพย์สิน ข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาเมืองให้ทางญี่ปุ่น ขณะเดียวทางญี่ปุ่นจะส่งข้อมูลนโยบายและการพัฒนาเมือง กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนและวิธีการดำเนินโครงการให้กับกระทรวงคมนาคมและรฟท.

สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แต่ละฝ่ายจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง โดยที่บันทึกข้อตกลงฯ มีอายุ 2 ปี และต่ออายุอัตโนมัติได้อีก 2 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ทุกฝ่ายลงนาม ทั้งนี้ร่างบันทึกข้อตกลงจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้ดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและนโยบายของประเทศตนเอง ส่วนข้อมูลและข่าวสารที่แลกเปลี่ยนกันภายใต้ร่างบันทึกข้อตกลงจะเป็นข้อมูลความลับ

อย่างไรก็ตามแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่โดยรอบบริเวณบางซื่อ(Bang Sue Smart City) จะนำเสนอรูปแบบความเป็นอัจฉริยะ ทั้งการคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ เป็นรูปแบบเมืองที่ผู้คนสามารถเดินในบริเวณพื้นที่ได้อย่างสบายและปลอดภัย มีเครือข่ายทางเดินลอยฟ้าเชื่อมระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับโซนต่างๆ การบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ จะมีการใช้ระบบ Regional Cooling Network แหล่งกำเนิดความเย็นประสิทธิภาพสูง การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และนำระบบสื่อสารสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการบริหารจัดการพลังงาน และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ โดยจะพัฒนาพื้นที่สีเขียวบริเวณรอบสวนจตุจักร มีการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลโดยเน้นการรีไซเคิลและลดการทิ้งขยะที่เป็นของแข็ง ให้บริการขนส่งคมนาคมด้วยรถEV การส่งเสริมการแชร์จักรยาน และการจัดโซนให้ความสำคัญกับผู้เดินเท้าเป็นอันดับแรก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2020 6:47 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-ญี่ปุ่น ร่วมมือพัฒนา “โครงการบางซื่อ” สร้างทางเดินลอยฟ้าเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ
BANGKOK UPDATE
โดย Thamonton Jang
เผยแพร่: วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ครม.อนุมัติข้อตกลงความร่วมมือพัฒนา “โครงการบางซื่อ” สู่การพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ ระหว่างหน่วยงานของไทย และของประเทศญี่ปุ่น

หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมบันทึกข้อตกลง พัฒนา “โครงการบางซื่อ”
โดยร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการบางซื่อ” มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมดังนี้
– กระทรวงคมนาคมของไทย
– การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
– กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง
– การท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น
– องค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น

เพื่อผลักดันแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พื้นที่บริเวณบางซื่อไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งพื้นที่บริเวณบางซื่อ อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และได้รับการวางแผนพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางเมืองใหม่ของกรุงเทพมหานคร


ทั้งยังเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่อง ของการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะภายใต้กรอบ ASEAN Smart City Network (ASCN) และภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขณะเดียวกัน ครม.ยังได้อนุมัติให้ปลัดกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ในร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

วัตถุประสงค์ของความร่วมมือพัฒนา “โครงการบางซื่อ”
สำหรับร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการบางซื่อ” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองระหว่างฝ่ายไทย และฝ่ายญี่ปุ่น โดยมีกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น ร่วมกันกำหนดรูปแบบความร่วมมือ และให้คำแนะนำในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้วย

การแบ่งหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ใน “โครงการบางซื่อ”
ส่วนการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบนั้น ทางกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย จะจัดส่งข้อมูลทรัพย์สินและข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ โครงการพัฒนาเมืองให้แก่กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น กับองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น



ขณะที่กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของญี่ปุ่น ก็จะส่งข้อมูลนโยบายและการพัฒนาเมือง กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน และวิธีการดำเนินโครงการ ให้กับกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย

หน่วยงานต่าง ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายใน “โครงการบางซื่อ” กันเอง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แต่ละฝ่ายจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง โดยที่บันทึกข้อตกลงฯ มีอายุ 2 ปี และต่ออายุอัตโนมัติได้อีก 2 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ทุกฝ่ายลงนาม

ทั้งนี้ ร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว จะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้ดำเนินการตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายของประเทศตนเอง ส่วนข้อมูล และข่าวสารที่แลกเปลี่ยนกันภายใต้ร่างบันทึกข้อตกลง จะเป็นข้อมูลความลับ



“โครงการบางซื่อ” จะนำเสนอรูปแบบความเป็นอัจฉริยะ 3 ด้าน
ตามแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พื้นที่โดยรอบบริเวณบางซื่อ (Bang Sue Smart City) จะนำเสนอรูปแบบความเป็นอัจฉริยะใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

1.การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ เป็นรูปแบบเมืองที่ผู้คนสามารถเดินในบริเวณพื้นที่ได้อย่างสบาย และปลอดภัย สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ ได้ง่าย มีเครือข่ายทางเดินลอยฟ้า เชื่อมระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับโซนต่าง ๆ

2.การบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ จะมีการใช้ระบบ Regional Cooling Network แหล่งกำเนิดความเย็นประสิทธิภาพสูง การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และนำระบบสื่อสารสารสนเทศ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการบริหารจัดการพลังงาน

3.การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ โดยจะพัฒนาพื้นที่สีเขียวบริเวณรอบสวนจตุจักร มีการจัดการน้ำเสีย และสิ่งปฏิกูล โดยเน้นการรีไซเคิล และลดการทิ้งขยะที่เป็นของแข็ง ให้บริการขนส่งคมนาคมด้วยรถ EV การส่งเสริมการแชร์จักรยาน และการจัดโซนที่ให้ความสำคัญกับผู้เดินเท้าเป็นอันดับแรก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2020 8:37 pm    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม โชว์สถานีกลางบางซื่อ ขน ครม. ขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 - 15:32 น.
ดีเดย์ 14 ธ.ค.นี้ “ศักดิ์สยาม” เทียบเชิญ “ประยุทธ์-ครม.” ดูความคืบหน้าสถานีกลางบางซื่อ ทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง “บางซื่อ-ดอนเมือง” เผยรายงาน “นายกฯ” แล้วค่าก่อสร้างบาน 9 พันล้าน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 ธ.ค. 2563 เวลา 09.30 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะรัฐมนตรี จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและทดลองโดยสายรถไฟชานเมืองสายสีแดงจากสถานีกลางบางซื่อ-ดอนเมือง

ตามไทม์ไลน์ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทำไว้ ในเดือน มี.ค. 2564 จะเริ่มเปิดทดสอบเดินรถเสมือนจริง และเปิดเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 2564 ส่วนค่าโดยสารให้ ร.ฟ.ท.ศึกษาใหม่จากเดิมเก็บอยู่ที่ 15-50 บาท

“ขณะนี้ ร.ฟ.ท. กำลังดำเนินการติดตั้งงานระบบและทดสอบเดินรถอยู่แล้ว นายกรัฐมนตรีจึงต้องการมาเยี่ยมชมความคืบหน้าของสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานีของสายสีแดง และเป็นจุดศูนย์กลางการขนส่งในอนาคต“



นายศักดิ์สยามกล่าวว่า สำหรับสถานีกลางบางซื่อขณะนี้มีความคืบหน้ารวมอยู่ที่ 99.8% เหลือเนื้องานด้านการตกแต่งภายในสถานี คาดว่าในเดือน มี.ค. 2564 จะเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อได้

ส่วนค่าก่อสร้างของสายสีแดงที่เพิ่มขึ้น ขณะนี้ ร.ฟ.ท.และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ตรวจสอบเนื้องานต่าง ๆ และได้ประเมินคร่าว ๆ แล้ว พบว่ามีเนื้องานที่เพิ่มขึ้นจากกรอบเดิมที่วางไว้ ซึ่งต้องไปดูว่าการก่อสร้างที่มีเพิ่มขึ้นมา จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อขอขยายกรอบวงเงินใดได้บ้าง อะไรที่ทำได้ ก็จะทำให้ แต่อะไรที่ทำไม่ได้ก็ทำไม่ได้

ในเบื้องต้นพบว่า มีเนื้องานที่เพิ่มขึ้นมา รวมเป็นเงินประมาณ 9,000 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 6,000 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดได้รายงานให้พลเอกประยุทธ์รับทราบด้วยวาจาแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2020 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

ตามรอย “สถานีกลางบางซื่อ” ก่อนเปิดให้บริการจริงในปี64
By JNC Team - M -2 ธันวาคม 2563

สถานีกลางบางซื่อ Bang Sue Grand Station Designed by Design Concept Co., Ltd - 29 พฤศจิกายน 2563

https://www.facebook.com/DesignConceptArchitect/posts/722098748426274
https://thejournalistclub.com/%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%a2-%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%8b%e0%b8%b7%e0%b9%88/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 63, 64, 65  Next
Page 15 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©