RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180572
ทั้งหมด:13491807
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 392, 393, 394 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2020 8:13 pm    Post subject: Reply with quote

ด่วน! เลื่อนลงนาม ‘รถไฟไทย-จีน’ 4 หมื่นล้าน หนี #ม็อบ25พฤศจิกา"
https://www.thebangkokinsight.com/485977/

เลื่อนอีกแล้ว!! ลงนาม 5 สัญญา "รถไฟไทย-จีน" หวั่นม็อบคณะราษฎรบุก
พุธที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10:28 น.

"รฟท." เลื่อนลงนาม 5 สัญญารถไฟไทย-จีน เหตุม็อบคณะราษฎรเตรียมบุกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หวั่นยึดพื้นที่กระทรวงคมนาคม ก่อนเปลี่ยนสถานที่ที่สำนักใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) แทน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (25 พ.ย. 63) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเตรียมจัดพิธีลงนามสัญญาผู้รับเหมา โครงการก่อสร้าง รถไฟไทย - จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ที่อาคารสโมสร กระทรวงคมนาคม ถนนราชดำเนินนอก จึงได้ประกาศเลื่อนการ<strong>ลงนามสัญญา ออกไปก่อน เป็นวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00 น. แทน


Last edited by Wisarut on 25/11/2020 3:58 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/11/2020 12:22 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนเคลียร์ปมไม่จบ ที่ดิน3จังหวัดพุ่งดักหน้า22%
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

รถไฟไทย-จีนกทม.-โคราชลุ้นเหนื่อยเคลียร์สารพัดปัญหาไม่จบ "บิ๊กตู่" รุดดูสถานีกลางบางซื่อ แกะปม EIA เวนคืน รับเหมาขอยืดอีก 270 วัน ก่อสร้าง สีคิ้ว-กุดจิก ดีเดย์ 26 พ.ย. "ศักดิ์สยาม" เซ็นรวด 5 สัญญา 4 หมื่นล้าน แต่เปิดไซต์งานไม่ได้ ฉุดโครงการอืด เลื่อนเปิดหวูดปี'69 ราคาประเมินใหม่ 3 จังหวัดพุ่งวาละ 1.3 แสนบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเดือน ธ.ค. 2564 รถไฟจีน-ลาวจะเปิดบริการ เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ความเร็ว 160 กม/ชม. จากคุนหมิง-เวียงจันทน์ อนาคตจะเชื่อม รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาหนองคาย ที่รัฐบาลไทยลงทุน 431,759 ล้านบาท แบ่ง 2 ระยะ ระยะแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท รัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลจีน แบบรัฐต่อรัฐ ฝ่ายไทยลงทุน ทั้งโครงการและก่อสร้าง ฝ่ายจีนออกแบบ คุมงานก่อสร้าง วางระบบราง ระบบไฟฟ้า จัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูง ฝิกอบรมบุคลากรเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. วงเงิน 252,347 ล้านบาท แบบรายละเอียดจะเสร็จเดือน มี.ค. 2564 และในปี 2565 เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ มีแผนเปิดในปี 2570

คืบหน้า 14 สัญญา

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รถไฟไทย-จีนช่วงกรุงเทพฯ-โคราช แบ่งสร้าง 14 สัญญา ได้ผู้รับเหมาแล้ว 13 สัญญา เหลือช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง รอปรับแบบร่วมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของกลุ่ม ซี.พี. ปัจจุบันสร้างช่วงกลางดง- ปางอโศกเสร็จแล้ว เป็นงานถมคันดิน ระยะทาง 3.5 กม. มีกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้เวลา 2 ปี 6 เดือน อยู่ระหว่างก่อสร้างช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้ก่อสร้าง คืบหน้าแล้ว 44% ล่าช้า 56% ติดส่งมอบพื้นที่ ล่าสุดผู้รับเหมาขอขยายสัญญา 270 วัน จากเดิมสิ้นสุด วันที่ 21 ต.ค. 2563

ในวันที่ 26 พ.ย. 2563 จะเซ็นสัญญา อีก 5 สัญญา วงเงิน 40,275.33 ล้านบาท ได้แก่ 1.สัญญา 3-2 อุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก- ลำตะคอง 12.23 กม. มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ก่อสร้าง 4,279 ล้านบาท 2.สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง 21.6 กม. มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ เป็นผู้ก่อสร้าง 9,838 ล้านบาท 3.สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก- โคกกรวด 37.45 กม. มี บจ.บีพีเอ็นพีเป็นผู้ก่อสร้าง 9,848 ล้านบาท 4.สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.38 กม. มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK เป็นผู้ก่อสร้าง 7,750 ล้านบาท และ 5.สัญญา 4-7 ช่วง สระบุรี-แก่งคอย 12.99 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง ก่อสร้าง 8,560 ล้านบาท

"5 สัญญาอยู่ช่วงสระบุรี-โคราช เป็นงานต่อจากช่วงสีคิ้ว-กุดจิก แต่ยังไม่ต่อเนื่องทั้งหมด ขาดช่วงแก่งคอยกลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ยังติดอุทธรณ์ผลประมูล"

ปี'64 เริ่มงานช่วงสระบุรี-โคราช

หลังเซ็นสัญญา คาดว่าจะออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) ในช่วงต้นปี 2564 ต้องให้ผู้รับเหมาเตรียมเครื่องจักรก่อสร้าง และ ร.ฟ.ท.ยังเคลียร์พื้นที่ไม่เสร็จ รอกรมป่าไม้อนุมัติใช้พื้นที่ป่าช่วงลำตะคอง และพื้นที่สัมปทานบัตรโรงปูน เจาะอุโมงค์ช่วงมวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 8 กม. รวมถึงรอเวนคืนที่ดินที่ พ.ร.ฎ.ยังไม่ประกาศ ทั้งโครงการมีเวนคืน 2,815 ไร่ วงเงิน 5,637.85 ล้านบาท ซึ่งรอคมนาคมพิจารณาเสนอ ครม.อนุมัติ ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้ ร.ฟ.ท.เคลียร์รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้เรียบร้อยทั้งโครงการก่อน

"ช่วงภาชี-โคราช บอร์ดสิ่งแวดล้อมอนุมัติ EIA แล้ว เหลือบางซื่อ-ภาชี มีปรับ EIA รอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) อนุมติ และขอความเห็นชอบจากกรมศิลปากร เพราะปรับ EIA เกิดจากเปลี่ยนแบบสถานีอยุธยา ให้มาใช้แบบก่อสร้างเดิมที่ไม่ส่งผลกระทบ กับโครงสร้างสถาปัตยกรรมสถานี ซึ่งบริเวณนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก ต้องขอความเห็น กรมศิลปากร จะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ทำให้การเซ็น 6 สัญญา วงเงิน 56,488.16 ล้านบาทล่าช้า"

แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนงานระบบวงเงิน 50,633 ล้านบาท เซ็นสัญญากับ บจ.ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์แนชันเนล และ บจ.ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์ปอเรชั่น รัฐวิสาหกิจจากจีน เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 รอส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน 3 ฉบับ คาดว่าจะส่งมอบฉบับที่ 1 ในวันที่ 22 ธ.ค. 2563 จะเริ่มงานได้ทันที มีระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค.-ส.ค. 2564

เลื่อนเปิดเป็นปี'69

"ยังเคลียร์ปัญหาไม่จบทั้งหมด ไม่ง่ายอย่างที่คิด ทั้ง EIA เวนคืน ย้ายท่อก๊าซ ปตท.ช่วงดอนเมือง-รังสิต รวมถึงขอใช้พื้นที่จากส่วนราชการอื่น ทำให้การสร้างอาจจะไม่ได้เริ่มต้นพร้อมกันตลอดสาย คงพิจารณาให้ผู้รับเหมาเข้าเป็นเฉพาะรายสัญญา กระทบต่อแผนเปิดบริการ จากเดิมปลายปี 2568 อาจจะขยับเป็นปี 2569" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับรถไฟไทย-จีนมี 6 สถานี ได้แก่ 1.สถานีบางซื่อ อยู่ชั้น 3 สถานีกลางบางซื่อ 2.สถานีดอนเมือง อยู่ในสถานีเดิม 3.สถานีอยุธยา เยื้องสถานีเดิม 200-300 เมตร 4.สถานีสระบุรี สร้างบนพื้นที่ใหม่ 97 ไร่ 5.สถานีปากช่อง ต.หนองสาหร่าย กว่า 500 ไร่ ห่างจาก สถานีเดิม 5 กม. 6.สถานีนครราชสีมา พื้นที่กว่า 200 ไร่ เก็บค่าโดยสาร 535 บาท/เที่ยว ใช้เวลาเดินทาง 1.30 ชั่วโมง

บิ๊กตู่ยก ครม.ดูสถานีกลางบางซื่อ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า วันที่ 14 ธ.ค. 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จะเยี่ยมชมความคืบหน้าสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบรางทั้งรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้ ร.ฟ.ท.สร้างงานโครงสร้างเสร็จแล้ว เหลือตกแต่งภายในสถานี คาดว่าจะเปิดบริการพร้อมรถไฟสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จะทดลองใช้เดือน ก.ค. และเปิดเชิงพาณิชย์เดือน พ.ย. 2564 เป็นสถานีใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้มาใช้บริการ 208,000 เที่ยวคน/วัน และเพิ่มเป็น 396,000 เที่ยวคน/วัน ในปี 2575

"ไม่รู้ว่านายกรัฐมนตรียกคณะรัฐมนตรีมาดูสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจถึงความคืบหน้าของโครงการ หลังคมนาคมจะเสนอขออนุมัติขยายกรอบวงเงินของรถไฟสายสีแดง ที่ค่าก่อสร้างเพิ่มอีก 10,345 ล้านบาทหรือไม่" แหล่งข่าวกล่าว

ราคาประเมินใหม่ขยับ 22.34%

นายฐนัญพงษ์ สุขสมศักดิ์ ผู้อำนวยการ กองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ราคาประเมินใหม่จะประกาศใช้วันที่ 1 ม.ค. 2565 ในพื้นที่ 3 จังหวัด มีรถไฟไทย-จีนพาดผ่าน ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา ปรับขึ้น 2.86% สูงสุด อ.พระนครศรีอยุธยา ติด ถ.โรจนะ 60,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุด อ.ท่าเรือ อ.บางซ้าย อ.ภาชี และ อ.ผักไห่ 250 บาท/ตร.ว. ส่วนถนนสายสำคัญ อาทิ ถ.309 ราคาอยู่ที่ 4,000-60,000 บาท/ตร.ว. ถ.พหลโยธิน 15,000-45,000 บาท/ตร.ว. ถ.สายเอเชีย 7,500-40,000 บาท/ตร.ว.

จ.สระบุรี เพิ่มขึ้น 22.34% สูงสุด อ.เมืองสระบุรี ถ.พหลโยธิน-ถ.สุดบรรทัดซอย 13 ราคา 75,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุด อ.หนองโดน และ อ.ดอนพุด 130 บาท/ตร.ว. ส่วนถนนสายสำคัญ อาทิ ถ.สุดบรรทัด 3,000-75,000 บาท/ตร.ว. ถ.พหลโยธิน 8,000-72,000 บาท/ตร.ว. ถ.มิตรภาพ 10,000-50,000 บาท/ตร.ว. ถ.เลี่ยงเมืองสระบุรี 6,500 บาท/ตร.ว. เป็นต้น

จ.นครราชสีมาเพิ่มขึ้น 1.27% สูงสุดอยู่ ถ.ราชดำเนิน อ.เมืองนครราชสีมา 130,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุดอยู่ อ.เทพารักษ์ 50 บาท/ตร.ว. ส่วนถนนสายสำคัญ อาทิ ถ.มิตรภาพ 500-110,000 บาท/ตร.ว. ถ.ราชสีมา-โชคชัย 600-100,000 บาท/ตร.ว. ถ.ธนะรัชต์ 27,500 บาท/ตร.ว. ถ.ราชสีมา-ปักธงชัย 1,300-20,000 บาท/ตร.ว. เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2020 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟไทย-จีนเคลียร์ปมไม่จบ ที่ดิน3จังหวัดพุ่งดักหน้า22%
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563


ลิงก์มาแล้วครับ
https://www.prachachat.net/property/news-562157
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2020 7:09 pm    Post subject: Reply with quote

"พิเชฐ"ลงพื้นที่ตรวจงานก่อสร้างรถไฟไทย-จีน 3.5 กม. หลังก่อสร้างเสร็จแต่เกิดน้ำท่วมขัง
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 14:58:35

วันที่ 24 พ.ย. 63 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 (กรุงเทพ - นครราชสีมา) ช่วงกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร โดยมีผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และทีมที่ปรึกษาจากประเทศจีนให้การต้อนรับ

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกลางดง - ปางอโศก การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับกรมทางหลวง ให้ดำเนินการก่อสร้างทางให้ ซึ่งประกอบด้วยงานหลักๆ 5 งาน ได้แก่ งานย้ายรางรถไฟเดิม งานดินตัดและงานถมวัสดุในหน้าตัดคันทางรถไฟความเร็วสูง งานบดอัดวัสดุก่อนงานวางรางและหินโรยทาง งานคอนกรีตประกอบคันทางรถไฟความเร็วสูง และงานถนนบริการขนานกับคันทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

วานนี้ (24 พ.ย. 63) ดร. พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 (กรุงเทพ - นครราชสีมา) ช่วงกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร โดยมีผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และทีมที่ปรึกษาจากประเทศจีนให้การต้อนรับ

‘ทางหลวงฯ’ ส่งมอบงานแล้ว! ไฮสปีดไทย-จีน เฟสแรก 3.5 กม. ‘คมนาคม’ ถือฤกษ์ 26 พ.ย. 63 พร้อมเซ็น 5 สัญญา 4 หมื่นล้าน
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ฤกษ์ดี! วันนี้ (25 พ.ย. 63) “ทางหลวงฯ” ส่งมอบงานสร้างทางรถไฟ ไฮสปีดไทย-จีน เฟสแรก 3.5 กม.แล้ว หลังสร้างนานถึง 2 ปี 6 เดือน ด้าน “กรมรางฯ” แนะ ออกแบบเนินระนาด ล้อมคอกน้ำท่วมอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ เผยสัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก คืบหน้า 42% ฟาก “คมนาคม” เตรียมเซ็นรวด 5 สัญญา 4 หมื่นล้าน วันพรุ่งนี้ (26 พ.ย. 2563)
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (กม.) ว่า วันนี้ (25 พ.ย. 2563) กรมทางหลวง (ทล.) ได้ส่งมอบงานก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าว ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.นั้น รฟท. ได้มีบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ ทล. ให้ดำเนินการก่อสร้างทางให้ ซึ่งประกอบด้วยงานหลักๆ 5 งาน ได้แก่ งานย้ายรางรถไฟเดิม งานดินตัดและงานถมวัสดุในหน้าตัดคันทางรถไฟความเร็วสูง งานบดอัดวัสดุก่อนงานวางราง และหินโรยทาง งานคอนกรีตประกอบคันทางรถไฟความเร็วสูง และงานถนนบริการขนานกับคันทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว



ขณะเดียวกัน ตามที่ช่วงที่ผ่านมา เมื่อมีฝนตกหนัก พบว่ามีน้ำท่วมขังบนถนน และอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟในบางเส้นทางนั้น จึงได้มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมให้มีการออกแบบให้มีเนินระนาด (Road Hump) บริเวณหน้าทางเข้าอุโมงค์ เพื่อช่วยชะลอน้ำที่จะไหลเข้าอุโมงค์ และช่วยให้สามารถผันน้ำออกสู่ทางระบายน้ำ (Gutter) 2 ข้างทางได้เร็วขึ้น โดยทีมที่ปรึกษาจากประเทศจีนได้รับความเห็นดังกล่าว ไปดำเนินการออกแบบเพื่อก่อสร้างต่อ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในส่วนของการก่อสร้างงานโยธา สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 10.5 กม.นั้น ในขณะนี้มีความก้าวหน้า 42% นอกจากนี้ ในวันพรุ่งนี้ (26 พ.ย. 2563) กระทรวงคมนาคมจะมีการจัดพิธีลงนามในสัญญางานโยธาจำนวน 5 สัญญาของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ–นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี



สำหรับ 5 สัญญาที่จะมีการลงนาม วงเงิน 40,275 ล้านงบาท ประกอบด้วย 1.สัญญา 3-2 งานอุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ชนะการประกวดราคาด้วยการเสนอราคาต่ำสุดที่วงเงิน 4,279 ล้านบาท 2.สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กม. มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,838 ล้านบาท

3.สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. มี บจ.บีพีเอ็นพีเป็นผู้เสนอราคาสุดที่ 9,848 ล้านบาท 4.สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 7,750 ล้านบาท และ 5.สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 8,560 ล้านบาท



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุอีกว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย–จีนช่วงที่ 1 กลางดง–ปางอโศกนั้น ใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 2 ปี 6 เดือน ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องใช้กระบวนการทำงานของ ทล. มาประยุกต์ให้เข้ากับกระบวนการทำงานของรถไฟความเร็วสูง โดยผู้ควบคุมงานจากประเทศจีน ซึ่งทางกรมทางหลวงได้ทำงานควบคู่กับการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้วัสดุภายในประเทศให้ได้มากที่สุด และที่ผ่านมาได้นำเข้าวัสดุจากประเทศจีน 2 รายการ ได้แก่ ผ้าใบกันความชื้น และสายดินคิดเป็น 2% ของมูลค่าก่อสร้างรวมทั้งหมด

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง จะช่วยเสริมสร้างโครงข่ายการคมนาคมของประเทศรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการคมนาคมขนส่งถึงประเทศจีน อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อเดินหน้าประเทศไทยอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน



วานนี้ (24 พ.ย. 63) ดร. พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 14:42

ระยะที่ 1 (กรุงเทพ - นครราชสีมา) ช่วงกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร โดยมีผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และทีมที่ปรึกษาจากประเทศจีนให้การต้อนรับ
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกลางดง - ปางอโศก การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับกรมทางหลวง ให้ดำเนินการก่อสร้างทางให้ ซึ่งประกอบด้วยงานหลักๆ 5 งาน ได้แก่ งานย้ายรางรถไฟเดิม งานดินตัดและงานถมวัสดุในหน้าตัดคันทางรถไฟความเร็วสูง งานบดอัดวัสดุก่อนงานวางรางและหินโรยทาง งานคอนกรีตประกอบคันทางรถไฟความเร็วสูง และงานถนนบริการขนานกับคันทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากที่ผ่านมา เมื่อมีฝนตกหนัก พบว่ามีน้ำท่วมขังบนถนนและอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟในบางเส้นทาง ในการลงพื้นที่ ดร. พิเชฐฯ ได้มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมให้มีการออกแบบให้มีเนินระนาด (Road Hump) บริเวณหน้าทางเข้าอุโมงค์ เพื่อช่วยชะลอน้ำที่จะไหลเข้าอุโมงค์ และช่วยให้สามารถผันน้ำออกสู่ทางระบายน้ำ (Gutter) สองข้างทางได้เร็วขึ้น โดยทีมที่ปรึกษาจากประเทศจีนได้รับความเห็นดังกล่าว ไปดำเนินการออกแบบเพื่อก่อสร้างต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/823037588473187

คมนาคมเตรียมเซ็นงานโยธารถไฟไทย-จีน5สัญญารวดวงเงิน4หมื่นล้าน

25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:38 น.

25 พ.ย. 2563 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)เปิดเผยภายหลังได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ช่วงที่ 1 กลางดง – ปางอโศก กม.150+500 – 154+000 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร(กม.)โดยในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 นี้ กรมทางหลวง(ทล.)ได้ดำเนินการการส่งมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)แล้ว

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกลางดง - ปางอโศก การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับกรมทางหลวง ให้ดำเนินการก่อสร้างทางให้ ซึ่งประกอบด้วยงานหลักๆ 5 งาน ได้แก่ งานย้ายรางรถไฟเดิม งานดินตัดและงานถมวัสดุในหน้าตัดคันทางรถไฟความเร็วสูง งานบดอัดวัสดุก่อนงานวางรางและหินโรยทาง งานคอนกรีตประกอบคันทางรถไฟความเร็วสูง และงานถนนบริการขนานกับคันทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายพิเชฐ กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมา เมื่อมีฝนตกหนัก พบว่ามีน้ำท่วมขังบนถนนและอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟในบางเส้นทาง ในการลงพื้นที่ ได้มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมให้มีการออกแบบให้มีเนินระนาด (Road Hump) บริเวณหน้าทางเข้าอุโมงค์ เพื่อช่วยชะลอน้ำที่จะไหลเข้าอุโมงค์ และช่วยให้สามารถผันน้ำออกสู่ทางระบายน้ำ (Gutter) สองข้างทางได้เร็วขึ้น โดยทีมที่ปรึกษาจากประเทศจีนได้รับความเห็นดังกล่าว ไปดำเนินการออกแบบเพื่อก่อสร้างต่อ

อย่างไรก็ตามในวันที่ 27 พ.ย.นี้ กระทรวงคมนาคมจะมีการจัดพิธีลงนามในสัญญางานโยธาจำนวน 5 สัญญาของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธี

สำหรับ 5 สัญญาที่จะมีการลงนาม วงเงิน 40,275 ล้านงบาท ประกอบด้วย
1.สัญญา 3-2 งานอุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก – ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ชนะการประกวดราคาด้วยการเสนอราคาต่ำสุดที่วงเงิน 4,279 ล้านบาท
2.สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า – ลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กม. มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,838 ล้านบาท
3.สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง – สีคิ้ว และช่วงกุดจิก – โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. มี บจ.บีพีเอ็นพีเป็นผู้เสนอราคาสุดที่ 9,848 ล้านบาท
4.สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด – นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 7,750 ล้านบาท และ
5.สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี – แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่ 8,560 ล้านบาท

สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง จะช่วยเสริมสร้างโครงข่ายการคมนาคมของประเทศรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการคมนาคมขนส่งถึงประเทศจีน อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อเดินหน้าประเทศไทยอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2020 10:30 am    Post subject: Reply with quote


คัดค้านการวางท่อแก๊สใกล้ทางรถไฟความไวสูงช่วงฉะเชิงเทรา
https://www.youtube.com/watch?v=B7qU7u9F8JA
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2020 10:49 am    Post subject: Reply with quote

23 พ.ย.63 นายนิรุฒ​ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เรือนรักษ์รถไฟ​ สถานีรถไฟสูงเนิน
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 20:45

ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม​และคณะ​ โดยการนำของท่านประเสริฐ​ จันทรรวงทอง​ มารับฟังข้อเสนอของชาวสูงเนินเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงที่ศาลเจ้าสูงเนิน
จากนั้นเยี่ยมชมการอนุรักษ์อาคารที่อุทยานสถานีรถไฟสูงเนิน​ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค อำเภอสูงเนิน​ โดยทุกท่านร่วมเสนอแนวทางที่จะเกิดประโยชน์กับประชาชน​ รวมถึงการอนุรักษ์สถานีรถไฟสูงเนินและเรือนรักษ์รถไฟ
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3590143034365949
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2020 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

“ลงนาม 5 สัญญา” โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพ - โคราช พร้อมเริ่มดำเนินการได้ทันที
Atirat Ratanasate
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.23 น.
รถไฟไทย-จีน’ เลื่อน กำหนดเปิด เป็นปี 68 วันนี้ลงนามผู้รับเหมาเพิ่ม 5 สัญญา
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563
ร.ฟ.ท.ลงนามสร้างไฮสปีดไทย - จีน 5 สัญญา ตั้งเป้าเปิดให้บริการ 2568
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563
จรดปลายปากกา! รฟท. MOU เอกชน เดินหน้าไฮสปีดไทย-จีน 5 สัญญา ระยะทาง 101 กม. มูลค่า 4 หมื่นล้าน คาดเปิดให้บริการปี 68
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563
รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 5 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2568
สังคม
Thailandplus
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563

รฟท.ลุยไฮสปีดเทรนไทย-จีน เซ็นก่อสร้างงานโยธาอีก 5 สัญญา 101 กม. ตั้งเป้าเปิดวิ่งปี’68
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13:56 น.

เซ็นรวด5สัญญา”ไฮสปีดไทย-จีน”4.02 หมื่นล.-ขีดเส้น”ซีพี”เร่งสร้างช่วงทับซ้อนหน้าดอนเมือง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16:40 น.
ไทย-จีน ลงนามสัญญาไฮสปีด5สัญญาวงเงิน4หมื่นล้าน
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:48 น.

เปิด 5 สัญญารถไฟความเร็วสูง "กรุงเทพ-โคราช" อิตาเลี่ยนไทยคว้าเส้นยาวสุด
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16:33 น.
การรถไฟฯลุยไฮสปีดเทรนไทย-จีน จดปากกาก่อสร้างงานโยธา 5 สัญญา ระยะ 101 กม. วงเงินกว่า 4 หมื่นล้าน ตั้งเป้าเปิดวิ่งปี 68
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14:54 น.

รฟท.เซ็น 5 สัญญา ไฮสปีดไทย-จีน กว่า 4 หมื่นล้านบาท
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14:32 น.


รฟท.เซ็นรวดเดียว 5 สัญญา'ไฮสปีดไทย-จีน'กว่า 4 หมื่นล้าน ตั้งเป้าเปิดบริการปี 68
วันพฤหัสบดี ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 17.06 น.




รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 5 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2568
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15.53 น.
ได้ฤกษ์!ลุยต่อรถไฟไฮสปีด"กรุงเทพฯ-โคราช"อีก 101 กม.

ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15.58 น.

Click on the image for full size



รฟท.เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 5 สัญญา วงเงิน 40,275 ล้านบาท *ม.ค.64 ลงนามเพิ่ม 6 สัญญา เกือบ 6 หมื่นล้าน *เดินเครื่องก่อสร้าง 3 ปี คาดให้บริการได้ในปี 68
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมอาคารสโมสร กระทรวงคมนาคม นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงคมนาคม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง จำนวน 5 สัญญา เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ซึ่งหลังจากนี้คาดว่าผู้รับจ้างสามารถเริ่มงานได้ทันที

วันนี้ (26 พ.ย. 63) เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารสโมสร กระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศรปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงคุณธรรมและลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) จำนวน 5 สัญญา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทคู่สัญญา ได้แก่

สัญญา 3-2 นายพลพัฒ กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) ,
สัญญา 3-3 นายสุทธิพันธ์ โกศัยพลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด ,
สัญญา 3-4 นายสุเมธ สุรบถโสภณรองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ,
สัญญา 3-5 นายอรรถสิทธิ์ ดำรงรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด และ
สัญญา 4-7 นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)

โดยมีแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า พิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) จำนวน 5 สัญญา ในวันนี้ เป็นโครงการที่รัฐบาล โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมไทยสู่โลก และเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสนใจและเร่งรัด ติดตามความก้าวหน้าของโครงการมาโดยตลอด และในขณะเดียวกัน เส้นทางนี้ก็จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เรียกว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ โดยกระทรวงคมนาคมพยายามเร่งรัดโครงการให้เดินหน้าโดยเร็ว

ล่าสุด ก็ได้มีการลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาล แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา


ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การลงนามในสัญญาก่อสร้างงานโยธา 5 สัญญา ในวันนี้ ประกอบด้วย
สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ [มวกเหล็ก (DK 130+841.25 - DK 138+820) และลำตะคอง(DK 186+800 - DK 191+050)] ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจุดเด่นคือการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วย งานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร คันทางระดับดิน 3.27 กิโลเมตร และ ทางลอยฟ้า 0.96 กิโลเมตร มูลค่ารวม 4,279,309,390 บาท

สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง (DK 160+700 - DK 186+800) ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งมีจุดเด่นคือการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วย งานก่อสร้างคันทางระดับดิน 1.15 กิโลเมตร ทางลอยฟ้า 24.95 กิโลเมตร และ อาคารสถานีปากช่อง พร้อมชานชลา เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่ มูลค่ารวม 9,837,997,397.39 บาท

สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด (DK 191+050 - DK 214+000 กับ DK 225+000 - DK 239+500 ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วย งานก่อสร้างคันทางระดับดิน 14.12 กิโลเมตร ทางลอยฟ้า 23.33 กิโลเมตร มูลค่ารวม 9,848,000,000 บาท

สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา (DK 239+500 - DK 251+881.22) ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย) ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วย งานก่อสร้างคันทางระดับดิน 7.85 กิโลเมตร ทางลอยฟ้า 4.53 กิโลเมตร และ อาคารสถานีนครราชสีมา มูลค่ารวม 7,750,000,000 บาท

สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย (DK 106+016.75 - DK + 119+008.50) ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วย งานก่อสร้างทางลอยฟ้า 12.99 กิโลเมตร และ อาคารสถานีสระบุรี มูลค่ารวม 8,560,000,000 บาท

โดยทั้ง 5 สัญญาที่ลงนามในวันนี้ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 101.15 กิโลเมตร มีวงเงินลงทุนรวม 40,275 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จและคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 จะเป็นการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นการลงทุนเพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาว สนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กระจายรายได้ นำความเจริญสู่ท้องถิ่นตลอดแนวเส้นทางโครงการ
https://www.youtube.com/watch?v=TQkLU6omQPs
https://www.youtube.com/watch?v=nKN2NU4aRBc






"ไฮสปีด"ไทย-จีน เฟส 1 ลงนามต่ออีก5 สัญญากว่า 115 กม.
พฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.24 น.

มาครึ่งทางแล้ว!! รถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟส 1 กรุงเทพฯ-โคราช  ได้ไปต่ออีก 5 สัญญา รวมแล้วกว่า 115 กม. เดินเครื่องก่อสร้าง 3 ปี คาดลงนามอีก 6 สัญญาเกือบ 6 หมื่นล้าน ม.ค.64 ส่วนอีก 1 สัญญาจะเจรจากับไฮสปีด 3 สนามบินจบ ก.พ.นี้ มั่นใจเปิดให้บริการปลายปี 68 คาดให้รัฐวิสาหกิจเข้ามาเดินรถ

อย่างไรก็ตามการลงนามครั้งนี้จะทำให้การดำเนินโครงการรุดหน้าไปอีกขั้น ซึ่ง รฟท. พร้อมกำกับดูแลให้งานแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ พร้อมกันนี้จะเร่งลงนามในสัญญาที่เหลืออีก 7 สัญญาให้เร็วที่สุด เพื่อให้โครงการแล้วเสร็จเป็นรูปธรรม และสามารถเปิดให้บริการได้ในปลายปี 68

นายสุรณเดช ธูปะวิโรจน์ วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. กล่าวว่า โครงการรถไฟไทย-จีน มีทั้งหมด 14 สัญญา โดยสัญญาที่ 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 362 ล้านบาท ดำเนินการเสร็จแล้ว 100% และสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3.1 พันล้านบาท มีความคืบหน้าการก่อสร้างประมาณ 44% ส่วน 5 สัญญาที่ลงนามในครั้งนี้ หลังจากนี้จะเดินหน้าก่อสร้างได้ทันที โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จปี 66 จากนั้นฝ่ายจีนจะเริ่มวางระบบราง ใช้เวลา 2 ปี แล้วเสร็จต้นปี 68 พร้อมเริ่มทดสอบเดินรถ ก่อนเปิดให้บริการต่อไป

นายสุรณเดช กล่าวต่อว่า สำหรับอีก 7 สัญญาที่เหลือ วงเงินรวมกว่า 6.6 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย – กลางดง และช่วงปางอโศก - บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท ที่โดนทั้ง ปปช. สอบ และ เรื่องคงต้องไปจบที่ศาลปกครองสูงสุด

สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ที่ต้องซีพีมาเคลียร์

สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง - นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 8.6 พันล้านบาท, 
สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร - บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท, 
สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6.5 พันล้านบาท ที่อิตาเลียนไทยประมูลได้แต่ รอให้ คณะกรรมการรถไฟตัดสิน , 
สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9.9 พันล้านบาท ที่ ต้องเคลียร์ EIA ที่สถานีอยุธยา และ
สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว - สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9.4 พันล้านบาท

ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาได้อีก 6 สัญญาภายในเดือน ม.ค.64 ส่วนที่เหลืออีก 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-1 ซึ่งมีโครงสร้างร่วมที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น คาดว่าจะเจรจาได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.พ.64
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/3479520925463208


Last edited by Wisarut on 26/11/2020 9:14 pm; edited 11 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2020 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

ยื่นปปช.สอบรถไฟฟ้าไทย-จีน
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08:34 น.

ยื่น ปปช. สอบกรมบัญชีกลาง เหตุตีความเข้าข้างเอกชน ชิงการประมูลรถไฟไทย-จีน
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2563 บริษัท ITD-CREC NO.10 JV ได้ยื่นหนังสือถึงป.ป.ช. ให้ตรวจสอบกรมบัญชีกลาง ฐานปฏิบัติมิชอบกรณีการประมูลงานโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย

ทั้งนี้ บริษัท ITD-CREC NO.10 JV ระบุในหนังสือว่าคณะกรรมการคัดเลือกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2563 ให้บริษัท ITD-CREC NO.10 JV เป็นผู้ชนะการประมูล ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง (DK 119+008.50 - DK 130+841.25 กับ DK 138+820 - DK 150+500 ) และช่วงปางอโศก-บันไดม้า (DK 154+000 - DK 160+700) ระยะทาง 30.21 กม. โดยเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด 9,348 ล้านบาท และ รฟท. ได้ตกลงให้ บริษัท ITD-CREC NO.10 JV เข้าทำสัญญาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ระหว่างนั้นมีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่เข้าร่วมประมูล ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อ รฟท. ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติและเสนอราคาต่ำสุด แต่ รฟท. เห็นว่าการอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น การอุทธรณ์จึงตกไป แต่ รฟท. จะต้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกรมบัญชีกลางพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์ขงกรมบัญชีกลางไม่รับเรื่องอุทธรณ์ดังกล่าว เพราะกรรมการเห็นว่าเรื่องนี้เคยพิจารณาแล้ว ทำให้เป็นประโยชน์กับบริษัทที่ยื่นอุทธรณ์

ดังนั้น ITD-CREC NO.10 JV ฐานะผู้ชนะการประมูลถูกตัดสิทธิ ไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ของกรมบัญชีกลาง จึงยื่นหนังสือให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบการพิจารณาวินิจฉัยว่าการยกเว้นข้อบังคับโดยกรมบัญชีกลางเช่นนี้ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ให้ตนเอง ผู้อื่น โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่


(เพิ่มเติม) ITD-NWR-CIVIL เซ็นสัญญาสร้างไฮสปีดเทรนไทย-จีนตั้งเป้าเปิดบริการปี 68
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ข่าวเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16:23 น.

+++ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรฟท. คาดว่าจะสามารถออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) เพื่อส่งมอบพื้นที่ ได้ช่วงต้นปี 2564 โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างรอออกประกาศพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินในจุดที่มีการเวนคืนเพิ่มและแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ป่าไม้



สำหรับการประมูลงานสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,330 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยว่า บริษัท บีพีเอ็นพี จำกัดมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตามที่บริษัทฯได้ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถือเป็นที่สุด คาดว่าจะเสนอผลประมูลต่อที่ประชุมบอร์ดรฟท.ได้ในเดือนธ.ค. 2563 เพื่อเตรียมในการลงนามสัญญาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2020 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

ตลกกรมรางเพิ่งคิดได้หลังปิดจ๊อบทำเนินป้องกันน้ำทะลักท่วมอุโมงค์
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการขนส่งทางราง (ขร.)แจ้งว่า นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดี ขร. ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างคันทางโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ช่วงกลางดง- ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ซึ่งขณะนี้งานในส่วนต่าง ๆ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทำบันทึกความร่วมมือกับกรมทางหลวง (ทล.)ให้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วประกอบด้วย 5 งานหลัก ได้แก่ งานย้ายรางรถไฟเดิม งานดินตัดและงานถมวัสดุในหน้าตัดคันทางรถไฟความเร็วสูง งานบด อัดวัสดุก่อนงานวางรางและหินโรยทาง งานคอนกรีตประกอบคันทางรถไฟความเร็วสูงและงานถนนบริการขนานกับคันทางรถไฟความเร็วสูง

ในโอกาสนี้นายพิเชฐ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมกรณีฝนตกหนักแล้วมักจะพบน้ำท่วมขังบนถนนและอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟบางเส้นทางจึงเสนอให้ออกแบบด้วยการมีเนินระนาด (Road Hump) บริเวณหน้าทางเข้าอุโมงค์เพื่อช่วยชะลอน้ำที่จะไหลเข้าอุโมงค์และช่วยให้ผันน้ำออกสู่ทางระบายน้ำ (Gutter) สองข้างทางได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ทีมที่ปรึกษาจากประเทศจีนได้รับความคิดเห็นเพื่อนำไปออกแบบก่อสร้างในโครงการฯต่อไป

รายงานข่าวจาก ขร. แจ้งว่า สำหรับเนินระนาดนั้นจะเป็นเนินที่รถจะค่อย ๆ ไต่ระดับ ซึ่งจะมีความสูงจากพื้นถนนเดิมประมาณ 40-50 ซม.ไม่ใช่แบบลูกระนาดเพื่อป้องกันน้ำไหลลงอุโมงค์เพราะปกติน้ำจะไหลลงที่ต่ำอยู่แล้วหากไม่มีอะไรป้องกันไว้จะไหลเข้าท่วมอุโมงค์.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2020 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

'ซีพี'ย้ายสถานีป่วนไฮสปีด'รฟท.'หวั่นกระทบเวนคืนส่งมอบพื้นที่-จี้สรุปข้อมูลภายในพ.ย.นี้
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"พัทยา"ห่วงโมโนเรลสะดุด ขอเจรจาหาทางออก

กรุงเทพธุรกิจ ร.ฟ.ท.-สกพอ.เร่ง "ซีพี" เคลียร์ปมปรับแนวสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จี้ส่งข้อมูลภายใน พ.ย.นี้ ชี้ต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้โดยสาร ไม่กระทบชุมชน หวั่นแผนเวนคืนที่ดินก่อสร้างสะดุด "เมืองพัทยา"ห่วงกระทบโมโนเรล ชี้ห่างจากที่ตั้งเดิม 15 กม. กรมโยธาฯเช็คข้อมูลย้ายสถานี ประกอบทำผังเมืองระดับอำเภอ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ลงนามร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มซีพี) ครบ 1 ปีแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้หารือกับเอกชนต่อเนื่องและ เตรียมส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเตรียมส่งมอบพื้นที่โครงการให้เอกชน ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ส่วนแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้เอกชนเข้าดำเนินงานตามสัญญากำหนด ในสัญญาภายในเดือน ต.ค.2564

ส่วนข้อเสนอทางเอกชนที่ขอปรับแนวสถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่ง ร.ฟ.ท.กำลังพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) โดยการพิจารณาจะต้องสอดรับความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนรอบสถานี และไม่ก่อให้เกิดความแออัดของ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนต้องสร้างความสุขให้กับทุกคนในพื้นที่

ทั้งนี้ การขอย้ายที่ตั้งสถานีดำเนินการได้ตามสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งเป็นสิทธิของเอกชนที่จะพิจารณาเพื่อประโยชน์สูงสุดของโครงการ แต่การย้ายสถานีจะต้องมีเหตุผลประกอบให้ชัดเจน ซึ่งภาคเอกชนยังไม่สรุปชัดเจนว่าจะย้ายสถานีไปพื้นที่ใดหรือมีวัตถุประสงค์อย่างไรของการย้ายสถานี โดยที่ผ่านมาเคยมีการระบุถึงการขอย้าย สถานีฉะเชิงเทรา ชลบุรีและพัทยา ส่วนสถานีศรีราชาอาจไม่ย้าย เพราะ ร.ฟ.ท. ให้สิทธิในพื้นที่เพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์ 25 ไร่

นอกจากนี้ หากเอกชนผลักดันให้ย้ายสถานีอาจต้องเร่งเสนอพื้นที่ใหม่และเหตุผลการย้ายสถานีภายในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้ ร.ฟ.ท.พิจารณา เพราะภาครัฐมีความจำเป็นต้องดำเนินการเวนคืนที่ดิน และเตรียมส่งมอบพื้นที่ตามกำหนดในสัญญา และเมื่อเดินหน้าเวนคืนที่ดิน ตามแผนแล้ว แต่เอกชนยืนยันปรับแนวสถานีจะกระทบต่อชุมชนที่ถูกเวนคืนที่ดิน และทำให้การเวนคืนไม่ตรงตามวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง ซึ่งทำให้เอกชนต้องเร่งเสนอข้อมูลเพื่อไม่ให้เกิดกรณีเวนคืนที่ไปแล้วและต้องมาเวนคืนเพิ่มในภายหลัง

เร่งเอกชนสรุปภายใน พ.ย.นี้

สำหรับการเวนคืนได้ออกพระราชกฤษฎีกาแล้วเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2562 ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง

ส่วนขั้นตอนการเวนคืนที่ดินขณะนี้ อยู่ขั้นตอนรอประกาศราคาที่จะชดเชยให้ผู้ถูกเวนคืน โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ในอีกไม่นานและหากภายในเดือน พ.ย.นี้ เอกชนไม่ให้ข้อมูลประกอบข้อเสนอย้ายแนวสถานีเพิ่มอีก ภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการเวนคืนที่ดินเพื่อไม่ให้โครงการเกิดความล่าช้าและมีปัญหาการส่งมอบที่ดิน

รวมทั้งในกรณีที่ ร.ฟ.ท.อนุมัติให้เอกชนเปลี่ยนจุดก่อสร้างสถานี เอกชน ต้องเป็นผู้จัดการเวนคืนที่ดินใหม่เพื่อก่อสร้างแนวสถานีเอง เพราะผิดไปจาก ข้อตกลงสัญญา รวมทั้งการปรับเปลี่ยนแบบหรือการก่อสร้างสถานีใหม่ต้องไม่กระทบข้อตกลงในสัญญา เพราะการเปลี่ยนสถานีที่ส่งผลต่อการปรับปรุงแบบอาจทำให้งานล่าช้ากว่าแผน ซึ่งเกิดจากการปรับเปลี่ยนแผนของเอกชนไม่ได้เกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดของภาครัฐ

รอประกาศราคาเวนคืนที่ดิน

สำหรับความคืบหน้าของการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.ปัญหาผู้บุกรุก ปัจจุบัน ร.ฟ.ท. ได้ดำเนินการเจรจากับ ผู้บุกรุกในพื้นที่ระหว่างช่วงสุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา และมีการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่แล้วราว 95% หรือจำนวน 276 หลังคาเรือน จาก 302 หลังคาเรือน ส่วนที่เหลือจะดำเนินการรื้อย้ายอีก 26 หลังคาเรือน ภายในเดือน ธ.ค.นี้

2.เวนคืนที่ดิน ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ทำรายละเอียด การเวนคืนที่ดินแล้วเสร็จ และแจ้งให้ผู้ถูกเวนคืนรับทราบเบื้องต้นแล้ว ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 679 หลังคาเรือน 923 ไร่ โดยเวลานี้เหลือเพียงการกำหนดราคาที่จะชดเชยให้ผู้ถูกเวนคืนทุกราย อยู่ระหว่าง การพิจารณาของคณะกรรมการ 3 ชุด ที่มีนายอำเภอแต่ละพื้นที่เป็นประธาน

3.รื้อย้ายสาธารณูปโภค 756 จุด ปัจจุบันไม่ติดปัญหา โดยหน่วยงานเจ้าของระบบสาธารณูปโภคเริ่มเข้าพื้นที่รื้อย้ายบางส่วนแล้ว หลังจากได้รับงบประมาณจัดสรร รวมถึงเริ่มจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งระบบสาธารณูปโภคที่รื้อย้ายจะดำเนินการเสร็จภายในเดือน ส.ค.2564

"พัทยา"หวั่นกระทบโมโนเรล

นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่า หากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปลี่ยนแนวเส้นทางจะกระทบรถไฟฟ้าโมโนเรลของเมืองพัทยามาก เพราะเดิมสถานีรถไฟความเร็วสูงตั้งอยู่ในตัวเมืองและห่างจากสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรลไม่มาก ทำให้เชื่อมการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมทั้งรถไฟฟ้าโมโนเรลได้สะดวก และกระจายผู้โดยสารไปยังพื้นที่อื่นในพัทยาได้เร็ว

สำหรับที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยาที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลง สถานีพัทยาจะห่างจากสถานีโมโนเรลพัทยาเหนือถึง 15 กิโลเมตร ถือว่าไกลจนเปลี่ยนแนวเส้นโมโนเรลไม่ได้ เพราะต้นทุนก่อสร้างจะสูงมาก โดยขณะนี้เมืองพัทยากำลังเจรจากับผู้รับผิดชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อแก้ปัญหานี้ ซึ่งอาจสร้างระบบขนส่งรองมาเชื่อมโมโนเรล เช่น ชัตเติลบัส

"ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่ารถไฟความเร็วสูงจะเปลี่ยนแนวเส้นทางหรือไม่ แต่ทั้งนี้อยากให้คงเส้นทางเดิม เพื่อให้ระบบคมนาคมเชื่อมต่อกันสะดวก เพราะถ้าขยายเส้นทางโมโนเรลจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป" นายมาโนช กล่าว

รับฟังความเห็นแล้ว3ครั้ง

รายงานข่าวจากเมืองพัทยา ระบุว่า เมืองพัทยาได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบและศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยมีการรับฟังความเห็นมาแล้ว 3 ครั้ง พบว่าโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบคร่อมรางยกระดับหรือโมโนเรล มีความเหมาะสม กับเมืองพัทยาที่สุด จึงได้เร่งดำเนินการออกแบบและวางแผนเส้นทาง สถานีรับส่ง สถานีจอด และศูนย์ซ่อม โดยเน้นการพิจารณา ในเรื่องผลกระทบด้านการเดินทาง และทัศนียภาพ รวมถึงการเวนคืนเป็นหลัก

ทั้งนี้ มีข้อเสนอให้ใช้เส้นทางเดินรถสายสีเขียว โดยวิ่งจากสถานีรถไฟพัทยาที่เป็นสถานที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา วิ่งตามเส้นทางมอเตอร์เวย์-ถนนพัทยาเหนือ-วงเวียนปลาโลมา-ถนนพัทยาสาย 2-แยกทัพพระยา-ท่าเทียบเรือ แหลมบาลีฮาย รวม 13 สถานี ระยะทาง 8.3 กิโลเมตร ค่าโดยสารไม่เกิน 45 บาท

นอกจากนี้ เมืองพัทยาจะเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนในรูปแบบรัฐเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) โดยเมืองพัทยาจะเป็นตัวแทน ภาครัฐร่วมลงทุนกับเอกชน ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ และหาผู้ร่วมลงทุน ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนจากจีนสนใจเข้ามาร่วมลงทุน

กรมโยธาฯห่วงทำผังเมือง

แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและ ผังเมือง กล่าวว่า หลังจากประกาศใช้ แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2562 กรม โยธาธิการฯ กำลังร่างผังเมืองอำเภอที่ลงรายละเอียดเพิ่มจากแผนผังอีอีซี โดย ทำ 30 ผังเมือง ครอบคลุม 30 อำเภอ แบ่งเป็น ชลบุรี 11 อำเภอ ฉะเชิงเทรา 11 อำเภอ ระยอง 8 อำเภอ ซึ่งจะรับฟังความเห็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ

ทั้งนี้ การร่างผังเมืองดังกล่าวครอบคลุมการเตรียมพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ของสถานีรถไฟความเร็วสูง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา ศรีราชา อู่ตะเภา โดยจัดให้เป็นพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม) และพื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทชุมชนเมือง) ซึ่งถ้าเปลี่ยนที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงอาจต้องขยายพื้นที่สีแดงหรือสีส้มเพิ่มขึ้น หากจุดที่ย้ายสถานีไปไม่ใช่สีดังกล่าว โดยยังดำเนินการในขั้นตอนการทำผังเมืองอำเภอ แต่กลุ่ม ซีพีควรรีบสรุปที่ตั้งสถานีเพื่อไม่ให้กระทบการทำผังเมือง
- คลิกดูคลิป >>
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 392, 393, 394 ... 542, 543, 544  Next
Page 393 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©