RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179827
ทั้งหมด:13491059
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 112, 113, 114 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2020 1:41 pm    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม' ปักหมุดอีสานเท 8 แสนล้านเชื่อม-ลาว-จีน-เวียดนาม
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กลุ่มจังหวัด "ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ" เป็นอีกหนึ่งเป้าหมาย ของ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสังกัดพรรคภูมิใจไทย เดินสายโรดโชว์แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งครบทุกมิติ "บก-ราง-อากาศ"

จึงเป็นที่มาของการจัดทริปเฉพาะกิจตรวจราชการในพื้นที่กลุ่มอีสานใต้ "อำนาจเจริญ-ยโสธร-มุกดาหาร" ระหว่างวันที่ 14-16 ต.ค.ที่ผ่านมา

ปูพรมโครงข่ายคมนาคมทุกโหมด

โดย "ศักดิ์สยาม" กล่าวว่า การลงพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร เป็นการมาเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่า คมนาคมกำลังขับเคลื่อนการลงทุนโครงการทางบก ทางราง ทางอากาศในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งโครงการที่จะดำเนินการ ใน 3 จังหวัด เมื่อรวมวงเงินแล้วอยู่ที่กว่า 20,000 ล้านบาท โดยเป็นการดำเนินการ ระหว่างปี 2563-2568

"ส่วนใหญ่เป็นถนนที่เชื่อมต่อกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น นครพนม อุบล ราชธานี ร้อยเอ็ด ในอนาคตจะมีการสร้าง สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 6 อยู่ระหว่างทำ MOU เพื่อลงนามร่วมกัน"

ขณะที่ จ.มุกดาหารโครงการสำคัญคือบูรณาการรถไฟทางคู่ร่วมกับมอเตอร์เวย์ (MR-MAP) ช่วงตาก-นครพนม 710 กม. จะเชื่อมต่อกับ จ.มุกดาหาร จะศึกษาในปี 2564 นอกจากนี้ จ.มุกดาหาร จะมีพัฒนาสนามบินอีกด้วย

"ยังมีทางหลวงในชุมชนที่ดูแลโดยกรมทางหลวงชนบทและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายว่า หากมีถนนใดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดูแลได้ ขอให้โอนมา ให้ทางหลวงชนบทป็นผู้ดูแลแทน"

พร้อมกับเน้นย้ำว่า การพัฒนาด้านโลจิสติกส์ของประเทศจะต้องคิดให้ครบทั้งบก-ราง-น้ำและอากาศ โดยพื้นที่ใดที่มีศักยภาพดำเนินการ จะต้องทำให้ ครบทุกโหมดให้ได้มากที่สุด ซึ่งภาคอีสาน มีศักยภาพเพราะอยู่ในที่ตั้งติดกับประเทศ เพื่อนบ้าน มีสะพานข้ามแม่น้ำโขงเป็นตัวเชื่อม อนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงที่จะ สร้างกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย เป็นศูนย์กลางการเดินทาง การขนส่งสินค้า เชื่อมโยงไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่า สปป.ลาว จีนตอนใต้ และเวียดนาม

เม็ดเงินลงทุน 8.4 แสนล้าน

เมื่อกางแผนงานโครงการในพื้นที่ ภาคอีสาน มีเม็ดเงินลงทุนร่วม 848,325 ล้านบาท ในโหมด "ทางถนน" ไล่เรียง ตั้งแต่มอเตอร์เวย์ "บางปะอินนครราชสีมา" ที่กรมทางหลวงทุ่มสร้างไป 82,326 ล้านบาท คืบหน้าแล้วกว่า 80% เปิดในปี 2566 มีแผนจะสร้างจาก "นครราชสีมา-ขอนแก่น" 202 กม. 51,493 ล้านบาท ตามแผนจะเริ่มเวนคืน ปี 2566 สร้างปี 2568 เปิดบริการปี 2571

ขณะที่การก่อสร้างโครงข่ายถนนที่ได้งบฯปี 2564 รวม 567 โครงการ 37,636 ล้านบาท แยกเป็นงานพัฒนาทางหลวง 163 โครงการ 25,738 ล้านบาท งานบำรุงรักษา 404 โครงการ 6,897 ล้านบาท

ผุด 4 เลน ถนนเลี่ยงเมือง

เมื่อลงลึก 3 จังหวัดที่ "ศักดิ์สยาม" ลงสแกนพื้นที่ "อำนาจเจริญ" กำลังขยายถนนสาย 202 ยโสธร-อำนาจเจริญ 32.8 กม. 1,272 ล้านบาท ได้งบฯสร้างปี 2564 และเป็นแผนงานอนาคต 146 กม. 7,500 ล้านบาท เช่น สาย 202 บ.น้ำปลีก-บ.หนองผือ 52 กม. 1,940 ล้านบาท เสร็จปี 2566 ทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญด้านตะวันออก- ตะวันตก 50 กม. 4,600 ล้านบาท เริ่มปี 2566-2569

ยังมีโครงข่ายถนนของกรมทางหลวงชนบท 114 โครงการ 578 ล้านบาท ที่จะไม่เอ่ยถึง ไม่ได้คือ "สะพานมิตรภาพไทย-ลาว" แห่งที่ 6 ปักหมุด อ.นาตาล จ.อุบลราชธานีกับเมืองละครเพ็ง สปป.ลาว 1.607 กม. 4,365 ล้านบาท คาดว่า จะสร้างในปี 2566

ฝั่ง "มุกดาหาร" มีโครงข่ายทางหลวงสร้างเสร็จและกำลังก่อสร้าง 3 สาย 61 กม. 3,440 ล้านบาท เช่น สาย 12 บ.นาไคร้-อ.คำชะอี และในอนาคตจะสร้าง 4 สาย 67 กม. 2,630 ล้านบาท เช่น สาย 2034 มุกดาหาร-นาสีนวน-บุ่งเขียว 26 กม. 1,000 ล้านบาท เสร็จปี 2568 และกรมทางหลวงชนบทได้งบฯปี 2563-2564 จำนวน 43 โครงการ 348 ล้านบาท

ด้าน "ยโสธร" มีโครงข่ายทางหลวงอยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 สาย 130 กม. 4,957 ล้านบาท ทยอยเสร็จปี 2564-2566 เช่น สาย 23 ร้อยเอ็ด-ยโสธร 59 กม. 2,055 ล้านบาท, สายยโสธร-อำนาจเจริญ 32 กม. วงเงิน 1,276 ล้านบาท

ในอนาคตจะมีก่อสร้าง 5 โครงการ 100 กม. 4,201 ล้านบาท เริ่มปี 2565-2569 เช่น สาย 2169 ยโสธร-อ.เลิงนกทา 48 กม. 1,700 ล้านบาท ด้านกรมทางหลวงชนบท มีโครงการปี 2563-2564 จำนวน 144 โครงการ 690 ล้านบาท

จัดหนักรถไฟทางคู่สายเก่า-ใหม่

มาดูโหมด "ทางราง" ในแผนมีสร้างรถไฟทางคู่ 8 สายทาง รวม 235,520 ล้านบาท เป็นแผนเร่งด่วน 2560-2564 มีสายจิระ-ขอนแก่น 187 กม. 23,996 ล้านบาท สร้างเสร็จแล้ว, มาบกะเบา-จิระ 132 กม. 26,460 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้าง และบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 355 กม. 67,965 ล้านบาท กำลังจะประมูลเป็นทางคู่สายใหม่

ระยะกลาง 2565-2569 มีสายขอนแก่นหนองคาย 167 กม. 26,663 ล้านบาท และจิระ-อุบลราชธานี 308 กม. 37,527 ล้านบาท เตรียมเสนอ ครม.อนุมัติ ส่วนระยะยาว 2570-2579 มีสายนครสวรรค์บ้านไผ่ ระยะทาง 291 กม. 47,712 ล้านบาท, ศรีสะเกษ-ยโสธร-ร้อยเอ็ด 163 กม. และอุบลราชธานี-ช่องเม็ก 87 กม. 9,197 ล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมศึกษาความเหมาะสมทั้ง 3 โครงการ

สร้างไฮสปีด กทม.-หนองคาย

ยังมีรถไฟความเร็วสูง "กทม.นครราชสีมา" 252 กม. วงเงิน 172,412 ล้านบาท อยู่ระหว่างสร้าง จะเปิด

ปี 2568 และกำลังออกแบบรายละเอียดช่วง"นครราชสีมา-หนองคาย" ระยะทาง 355 กม. 252,347 ล้านบาท

"ทางอากาศ" มีการพัฒนา สนามบินในภาคอีสาน 9 แห่ง โดยกรม ท่าอากาศยานได้งบฯปี 2564 ปรับปรุงพัฒนา 4 แห่ง ได้แก่ ขอนแก่น 500 ล้านบาท ขยายลานจอดเครื่องบิน, ร้อยเอ็ด 110 ล้านบาท ก่อสร้าง ปรับปรุง ต่อเติมอาคารที่พักผู้โดยสาร, บุรีรัมย์ 950 ล้านบาท ต่อเติม ความยาวทางวิ่งและขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบินขนส่งสินค้า และ อาคารคลังสินค้า และอุบลราชธานี 131 ล้านบาท ก่อสร้างศูนย์ขนส่ง ผู้โดยสารและปรับปรุงลานจอดรถยนต์

ผุดสนามบินมุกดาหาร

และแผนในอนาคตกำลังศึกษาสร้างสนามบินที่ "มุกดาหาร" ต.คำป่าหลาย อ.เมืองมุกดาหาร เนื้อที่ 2,800 ไร่ 4,535 ล้านบาท มีพื้นที่อาคารผู้โดยสาร 37,200 ล้านบาท ความยาวทางวิ่ง 2,500 เมตร

นอกจากนี้ ในแผนยังศึกษาจะสร้างมอเตอร์เวย์ควบคู่รถไฟ เตรียมบรรจุไว้ใน MR-MAP เชื่อมแนวตะวันออก-ตะวันตก 2 สาย คือ ตาก-นครพนม ระยะทาง 710 กม. และกาญจนบุรี-อุบลราชธานี 830 กม. และแนวเหนือ-ใต้ อีก 2 สาย คือ หนองคาย-แหลมฉบัง 490 กม. และบึงกาฬ-สุรินทร์ 470 กม.

เป็นการขยับโครงการเก่าที่ตกค้างมานานให้เดินหน้า ไปพร้อมกับโครงการใหม่ที่ใส่เพิ่มเข้ามาในยุคที่ "คมนาคม" มีพรรคภูมิใจไทย เป็นหัวขบวนขับเคลื่อนการลงทุนมีมูลค่านับล้านล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2020 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

'สะพานไทย 9.9 แสนล้าน' ....โจทย์คืออะไร?
| โดย ธนิต โสรัตน์
คอลัมน์ รัดเข็มขัด ขจัดความเสี่ยง กับ ดร.เรือบิน
19 ตุลาคม 2563
"สะพานไทย" สะพานข้ามอ่าวไทยจาก จ.ชลบุรี-จ.เพชรบุรี มูลค่าราว 9.9 แสนล้านบาท หนึ่งในเมกะโปรเจคของรัฐบาล ภายใต้โครงการ EEC ที่ใช้โครงการที่ใช้งบประมาณมากสุดเท่าที่เคยมีในประเทศไทย แต่ประเด็นสำคัญคือ คุ้มค่าหรือไม่? มีปัจจัยความเสี่ยงอะไรบ้าง?
ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีท่าทีจะถดถอย กำลังมีความพยายามผลักดันอภิมหาโปรเจคเริ่มจากการผลักดันของ รมว.คมนาคม สำหรับโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ “Southern Land Bridge” เป็นการสร้างถนนมอเตอร์เวย์และทางรถไฟฟ้าระยะทางประมาณ 120 ก.ม. เชื่อมสองฝั่งทะเลเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่ที่มาจากยุโรป ไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกาหรือแวะจอดท่าเรือสิงคโปร์ โครงการนี้ใช้เงินประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท

โดยสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงานฯ ออกมาเปิดตัวโครงการศึกษาสะพานไทยเป็นโครงการภายใต้ “อีอีซี” ด้วยการสร้างสะพานข้ามอ่าวไทยจาก จ.ชลบุรี เชื่อม จ.เพชรบุรี ระยะทาง 80-100 กิโลเมตร มูลค่า 9.9 แสนล้านบาท เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณมากสุดเท่าที่เคยมีในประเทศไทย


ประเด็นคือ โครงการสะพานไทยกับ “Southern Land Bridge” จะเชื่อมต่อกันหรือไม่ สร้างเพื่ออะไร ผลลัพธ์อยู่ตรงไหน ความคุ้มค่าของการลงทุนและปัจจัยความเสี่ยงมีอะไรบ้าง การกล่าวว่าจะเป็นคอนเทนท์ของคนไทยจะช่วยโรงปูน โรงเหล็ก เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ คิดแค่นี้คงไม่ใช่ เพราะอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ล้วนเป็นอุตสาหกรรมกึ่งผูกขาดขนาดใหญ่ แต่ SMEs และชาวบ้านไม่ได้อะไรหรือได้ก็แค่จิ๊บจ๊อย

หากต้องการลดต้นทุนโลจิสติกส์การขนส่งในประเทศและหรือส่งเสริมการท่องเที่ยว แค่สร้างสะพานเชื่อมพัทยากับหัวหิน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของสองฝั่งอ่าวไทยก็น่าจะพอเพียงแล้ว และลดระยะทางได้ไม่น้อยกว่า 400 กิโลเมตร ขณะเดียวกันสะพานไทยก็จะกลายเป็น “Landmark” ของประเทศ


ทั้งนี้ระยะทางจากแหลมฉบังผ่านสะพานข้ามอ่าวไทยไปจนถึงท่าเรือระนองระยะทางไม่ต่ำกว่า 700 กิโลเมตรหรือมากกว่า ค่าขนส่งด้วยรถบรรทุกเทรลเลอร์ประมาณ 30,000-35,000 บาทต่อหนึ่งตู้คอนเทนเนอร์ ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมผ่านสะพานอีกอย่างน้อย 2-3 พันบาท และค่ายกตู้ขึ้นลงระหว่าง 2 ท่าเรือ (ประมาณ 2,500 บาท) เป็นที่รับรู้ว่าการขนส่งทางทะเลเป็นประเภทการขนส่งที่ประหยัดกว่าการขนส่งทางถนนถึง 7 เท่า ลองเปรียบเทียบค่าขนส่งเรือชายฝั่ง จ.สุราษฎร์ธานีไปท่าเรือแหลมฉบัง ค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จประมาณ 13,900 บาท แค่นี้ก็รู้ว่าคุ้มค่าหรือไม่

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศต้นทุนขนส่งมีความสำคัญมากกว่าระยะเวลาที่ประหยัดได้ 2-3 วัน ซึ่งข้อเท็จจริงการเอาเรือเข้ามาเทียบแล้วเอาของลงท่าเรือเพื่อรอรถมารับก็เสียเวลาเป็นวัน เพราะไม่ใช่ว่าเรือรถจะมารับของได้ที่ข้างเรือ ต้องเอามากองไว้ที่ลานคอนเทนเนอร์ ขณะเดียวกันระยะทาง 650-700 กิโลเมตรใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หากจะไปต่อเรือแหลมฉบังเอาของยกตู้ขึ้นก็ต้องรอเรือแล้วยกตู้ขึ้นเรืออีก เป็นการ “Double Handling” เพิ่มทั้งเวลาและต้นทุน คิดอย่างไรก็ไม่คุ้ม

ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบเรือที่มาจากท่าเรืออัมสเตอร์ดัม ซึ่งอยู่เหนือสุดของยุโรปกับท่าเรือแหลมฉบังค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จหากเป็นเรือขาเข้าประมาณ 51,000 บาท หากเป็นขาออก 45,000 บาท เทียบกับใช้เส้นทางสะพานไทย แค่ขนส่งด้วยรถบรรทุกก็ใกล้เคียงกันแล้ว ยังไม่รวมค่า “Freight Charge” ที่ต้องยกเป็นตัวเลขผู้ที่ไม่คุ้นเคย อาจดูยากหน่อย แต่ถ้าวิเคราะห์ก็จะเห็นถึงความเป็นไปได้หรือไม่

ต้องคิดให้ดีเท่าที่ทราบมีที่ประเทศจีน เชื่อมฮ่องกง-มาเก๊า-จูไห่ ที่ญี่ปุ่นมีโครงการสะพานข้ามอ่าวโตเกียวระหว่างเมืองชิบะกับโยโกฮาม่า หากรัฐบาลจะเดินหน้าคงต้องตอบโจทย์ให้ดีว่าต้องการอะไร หากเป็นแค่ท่องเที่ยวการลงทุนแค่สะพานข้ามอ่าวไทยน่าจะพอแล้ว และของแถมคือเป็นการร่นระยะเวลาการเดินทางและขนส่งได้ 1 ใน 3 โดยไม่ต้องผ่านถนนพระราม 2 ซึ่งรถติดมาก แต่หากจะทำเป็นสะพานยาวหลายร้อยกิโลเมตร เพื่อจะเป็นเส้นทางเชื่อมการขนส่งอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน โดยหวังว่าท่าเรือระนองจะกลายเป็นท่าเรือสิงคโปร์แห่งที่ 2.....คิดและฝันได้ แต่โลกแห่งความเป็นจริงคนละเรื่องกันนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2020 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการสะพานไทยราคา9.9แสนล้านบาท โจทย์ท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม...
รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงานฯ ออกมาเปิดตัวโครงการศึกษาสะพานไทยเป็นโครงการภายใต้ “อีอีซี” ด้วยการสร้างสะพานข้ามอ่าวไทยจาก จ.ชลบุรี เชื่อม จ.เพชรบุรีหรือ จ .ประจวบคีรีขันธ์ระยะทาง 80-100 กิโลเมตร มูลค่า 9.9 แสนล้านบาท เป็นโครงการที่ใช้งบประ มาณมากสุดเท่าที่เคยมีในประเทศไทย
...โครงการสะพานไทย เบื้องต้นกำหนดทางเลือกไว้ 2 เส้นทาง คือ แหลมฉบัง –เพชรบุรี ระยะทาง 86 กิโลเมตร และ พัทยา–ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 110 กิโลเมตรเพื่อการท่องเที่ยวกระจายคนจากพัทยาไปชะอำหรือเพื่อการขนส่งสิน ค้าทางรถยนต์ไปภาคใต้เพื่อเชื่อมท่าเรือชุมพรฝั่งอ่าวไทยและไปเชื่อมท่าเรือระ นองฝั่งอันดามัน .โจทย์ท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
https://www.facebook.com/sonthi.kotchawat/posts/3857629117589053
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2020 11:03 pm    Post subject: Reply with quote

“หอการค้า” หนุนบิ๊กโปรเจ็กต์ อีอีซี เชื่อมโยงแหลมฉบังไทย-นานาชาติ ก่อสร้างสะพานไทย-ท่าเรือบก-จุดบรรจุและกระจายสินค้า 3 จว.โคราช ขอนแก่น นครสวรรค์ มั่นใจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยระยะยาว
................
อ่านต่อ>>https://www.esanbiz.com/34399
https://www.facebook.com/esanbiz/posts/5401158189910295
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2020 3:14 pm    Post subject: Reply with quote

5 เมกะโปรเจ็กต์ บูมอีอีซี ดึงต่างชาติปักหมุดในไทย
28 ตุลาคม 2563 เวลา 21:43:11
สกพอ. เดินหน้า 5 เมกะโปรเจ็กต์ เขตอีอีซี ดึงทุนต่างชาติเข้าไทย คาดเม็ดเงินไหล 6.5 แสนล้าน รฟท.ลุยส่งมอบบริหารแอร์พอร์ต ลิงก์ปีหน้า ขณะ MRO ส่อชะลอ

ทั้งนี้ความคืบหน้าด้านโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี ที่ปัจจุบัน สกพอ.ผลักดันการร่วมทุนกับเอกชน 5 โครงการสำคัญ ประกอบไปด้วย
1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
2. โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
3.โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
4. โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และ
5. โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา

การเวนคืนทั้ง 3 ช่วง นายกำพล บุญชม รองวิศวกรใหญ่โครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)อธิบายว่า ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ช่วงบางซื่อ-สุวรรณภูมิ และบางซื่อ-ดอนเมือง ขณะนี้ ติดปัญหากรณีที่อีอีซีขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่เวนคืนที่ดินบางส่วน ต้องพิจารณาว่าพื้นที่ใดสามารถส่งมอบได้บ้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/11/2020 6:12 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าแผนคมนาคมอัดฉีด3.06แสนล้านบาท พัฒนาบิ๊กโปรเจกต์ผุดทางด่วน-รถไฟฟ้า ขยายถนน-สนามบิน-กระตุ้นศก.ฟื้นท่องเที่ยวอันดามัน
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ระบบคมนาคมขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย เป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2563 จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2563 กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอแผนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง สตูล ครบทุกมิติ เพื่อแก้ปัญหาจราจร เพื่อความสะดวก รวดเร็วประหยัดเวลาในการเดินทาง ขนส่งและท่องเที่ยว โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 306,242 ล้านบาท

เปิดเอกชนร่วมลงทุน ทางด่วน-รถไฟฟ้า แก้จราจร "ภูเก็ต"

โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต อยู่ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่ง นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าฯ กทพ. กล่าวว่า เริ่มแรกปี 2552 ทางด่วนสายนี้ริเริ่มโดยเทศบาลเมืองป่าตอง การศึกษาพบว่ามีความ เหมาะสมทางเศรษฐกิจ แต่มูลค่าการลงทุนสูงทางเทศบาลป่าตองไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต่อมาในปี 2555 ในการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดภูเก็ต ครม.ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมโดย กทพ. ดำเนินการ โดยได้มีการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการและจัดทำรายงานการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน Public Private Partnership (PPP) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงาน EIA แล้วเมื่อปี 2561

ขณะนี้ได้ทำหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ ซึ่งล่าสุดกรมป่าไม้จะเร่งรัดการประสานงานกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) คาดว่าจะอนุญาตการใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการอย่างช้าไม่เกินเดือนม.ค. 2564

ตามแผนงานกทพ.คาดว่าจะเสนอโครงการฯ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เห็นชอบในเดือน ม.ค. 2564 และ ครม.อนุมัติหลักการของโครงการในเดือน พ.ค. 2564 และดำเนินการคัดเลือกผู้รับสัมปทานให้ได้ภายในเดือน มิ.ย. 2564 หากเป็นไปตามแผนคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570

ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตองมีระยะทาง 3.98 กม. มูลค่า 14,177 ล้านบาท เป็นโครงการแรกของ กทพ. ที่ดำเนินโครงการในต่างจังหวัด มีลักษณะพิเศษ ที่จะมีการเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาความยาว 1.85 กม.และจะเป็นทางด่วนที่อนุญาตให้รถจักรยานยนต์ขึ้นใช้ได้สายแรก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งกับประชาชนในพื้นที่รวมถึงนักท่องเที่ยว เพราะปัจจุบันการเดินทางจากอำเภอกะทู้ไปยังชายหาดป่าตองต้องใช้เส้นทางข้ามภูเขานาคเกิด เส้นทางมีความคดเคี้ยว ลาดชันทำให้ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุและเกิดความสูญเสียบ่อยครั้ง

ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แทรมป์) ระยะทาง 60 กม. แบ่งดำเนินการ 2 ระยะ โดย ระยะที่ 1 ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ ซึ่งขณะนี้ รฟม.ได้ศึกษาจัดทำ PPP ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลนำเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ในเดือน ต.ค. 2564 เปิดประมูล ในช่วงต้นปี 2565 ก่อสร้างปี 2566 เปิดให้บริการปี 2569

แทรมป์ภูเก็ตจะใช้รูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และขบวนรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 30 ปี รวมทั้งเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร โดยรัฐจะสนับสนุนเอกชนในส่วนของค่าก่อสร้างงานโยธา


เทงบ4.8 หมื่นล้านบาท พัฒนาถนน 6 จังหวัด เชื่อมเส้นทางขนส่ง-ท่องเที่ยว

สำหรับการพัฒนาถนนใน 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันนั้น กรมทางหลวงมีการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยอยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 9 โครงการ ระยะทางรวม 122.532 กม. งบประมาณ 5,435.29 ล้านบาท

เช่นการพัฒนาโครงข่าย ทล.4027 สนามบินภูเก็ต-ท่าเรืออ่าวปอ ตอนบ้านป่าคลอก-บ.พารา (กม.5+900-กม.14+000) ระยะทาง 8.10 กม. ค่าก่อสร้าง 384.16 ล้านบาท โครงการขยายช่องจราจร ทล.404ช่วงตรัง-บ้านนา ระยะทาง 21.131 กม. ค่าก่อสร้าง 1,060 ล้านบาท

โครงการขยาย 4 ช่องจราจร ทล.4 อ.ตะกั่วป่า-อ.ท้ายเหมือง ตอนบางสัก-บ.เขาหลัก (กม.780+906- กม.797+062) ระยะทาง 20.32 กม. ค่าก่อสร้าง 744.42 ล้านบาท โครงการขยาย 4 ช่องจราจร ทล.4 ชุมพร-ระนอง ตอน 4 ระยะทาง 32.45 กม. ค่าก่อสร้าง 1,310 ล้านบาท

ส่วนแผนพัฒนาโครงข่ายในปี 64 และอนาคต มีจำนวน 34 โครงการ ระยะทาง 652.358 กม. งบประมาณ 48,200 ล้านบาท เช่นจะมีการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ สายเมืองใหม่-เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต ระยะทาง 22.40 กม. ค่าก่อสร้าง 11,570 ล้านบาท, ทล.4027 สนามบินภูเก็ต-ท่าเรืออ่าวปอ ตอนบ้านพารา-บ้านเมืองใหม่ ระยะทาง 8 กม. ค่าก่อสร้าง 1,000 ล้านบาท

ขยาย 6 ช่องจราจร ทล.4 สามแยกปลาลัง-เหนือคลอง 14.44 กม. ค่าก่อสร้าง 1,300 ล้านบาท, ขยาย 4 ช่องจราจร ทล.4156 เขาพนม-ทุ่งใหญ่ ระยะทาง 40.48 กม. ค่าก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท, ก่อสร้างถนนสายใหม่ บ.วังจา-บ.นาเหนือ (อ.ปลายพระยาอ.ทับปุด) ระยะทาง 26.04 กม. ค่าก่อสร้าง 1,900 ล้านบาท, ทางเลี่ยงเมืองกระบี่ ระยะทาง 29 กม. ค่าก่อสร้าง 7,100 ล้านบาท เป็นต้น

รถไฟทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง เชื่อมแลนด์บริดจ์ ลดต้นทุน โลจิสติกส์

สำหรับโครงการรถไฟนั้น อยู่ในแผนระยะกลาง (2565-2569) 3 โครงการ คือ เส้นทางชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167กม. ค่าลงทุน 23,285 ล้านบาท เส้นทาง สุราษฎร์ธานีหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 339 กม. ค่าลงทุน 51,823 ล้านบาท และเส้นทางหาดใหญ่- ปาดังเบซาร์ ระยะทาง48 กม. ค่าลงทุน 7,942 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณา EIA และเตรียมเสนอครม.

อยู่ในแผนระยะยาว (2570-2579) 4 โครงการ คือ เส้นทางชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กม. ค่าลงทุน 29,222.66 ล้านบาท ขณะนี้ออกแบบเสร็จแล้ว, รถไฟสายใหม่ เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น (พังงา) ระยะทาง 163 กม. ค่าลงทุน 44,218.80 ล้านบาท, รถไฟสายใหม่ เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก ระยะทาง 79 กม. ค่าลงทุน 18,102 ล้านบาท เป็นเส้นทางเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ปัจจุบัน สนข.ศึกษาออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA, รถไฟสายใหม่ เส้นทางทับปุด-กระบี่ระยะทาง 68 กม. ค่าลงทุน 15,223 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA


เร่งขยายสนามบิน กระบี่,ตรัง เพิ่มศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยว

กรมท่าอากาศยาน (ทย.) เร่งพัฒนาสนามบินกระบี่ วงเงิน 5,136.80 ล้านบาท เพื่อขยายขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 8 ล้านคนต่อปีประกอบด้วย 4 งาน คือ ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 3, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลัง 1, 2 พร้อมอาคารจอดรถยนต์ 2,000 คัน วงเงิน 2,923.40 ล้านบาท, ก่อสร้างลานจอดเครื่องบิน ขนาด 135 x 1,080 เมตร สามารถจอดเครื่องบินขนาด B737 ได้ 40 ลำ วงเงิน 863.40 ล้านบาท ผลงานประมาณ 93% ,ก่อสร้างทางขับขนาน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน รองรับเครื่องบิน 25 ลำต่อชั่วโมง วงเงิน 1,350.40 ล้านบาท

โครงการมีปัญหาและอุปสรรค เช่นความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ ขั้นตอนการอนุมัติกับ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) การก่อสร้างในพื้นที่ที่ยังให้บริการ การเบิกจ่ายล่าช้า จากปัญหามีการอุทธรณ์ของผู้เสนอราคา ทำให้งานยังมีความล่าช้า ประกอบกับ สถานการณ์โควิด-19 ทำให้การขนย้ายแรงงานและวัสดุก่อสร้างเป็นไปได้ยาก

ส่วนการพัฒนาสนามบินตรัง มีวงเงิน 1,800 ล้านบาท จะมีการก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง(รันเวย์) พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน ดำเนินการปี 2564-2567 ขณะที่ปัจจุบัน มีการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ งบประมาณ 1,070 ล้านบาทเพื่อรองรับผู้โดยสารเป็น 1,200 คน/ชั่วโมง (3.40 ล้านคน/ปี)

เดินหน้าศึกษาสนามบินภูเก็ตแห่งที่ 2 (พังงา)

ในการพัฒนาระบบคมนาคมทางอากาศ กพท.ได้มีแผนแม่บทการจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศ พบว่า สนามบินภูเก็ต มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ทำให้ไม่สามารถขยายขีดความสามารถได้ทันกับความต้องการ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า บริเวณ ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา มีความเหมาะสม ในการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ ซึ่งกระทรวงคมนาคมมอบหมายให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.รับผิดชอบดำเนินศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในการลงทุนโครงการก่อสร้างสนามบินพังงา

โดยแผนงานเบื้องต้นในการพัฒนาสนามบินภูเก็ตแห่งที่ 2 (พังงา) มีพื้นที่รวม 6.7 ตร.กม. รันเวย์กว้าง 45เมตร ยาว 3,800 เมตร รองรับ 56 เที่ยวบิน/ ชั่วโมง ลานจอดอากาศยาน มีพื้นที่ 860,000 ตร.ม. พื้นที่สำหรับผู้โดยสาร 47,729 ตรม. รองรับได้ 9,526 คน/ชั่วโมง พื้นที่จอดรถ 3,500 ตร.ม.

พัฒนาท่าเรือระนองเสร็จปี 69 เปิดประตูการค้ารองรับเขตศก.พิเศษภาคใต้

โครงการพัฒนาท่าเรือนำลึกระนอง ซึ่งเป็นท่าเรือหลักฝั่งทะเลอันดามัน มีเป้าหมายเป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตกเชื่อมโยงการขนส่งสินค้ากับกลุ่มประเทศ BIMSTEC ได้แก่ บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย เมียนมา เนปาล ภูฏาน และไทยและจีน เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) งบประมาณ 5,037.70 ล้านบาท ปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 1-2 ให้มีประสิทธิภาพสามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT นอกจากนี้ จะมีการก่อสร้างลานวางตู้สินค้า จัดหาเครื่องมือทุ่นแรง และก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ 3 ซึ่งปัจจุบัน การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) อยู่ระหว่างปรับปรุงTOR จ้างที่ปรึกษาสำรวจออกแบบและศึกษาEIA

นอกจากนี้กรมเจ้าท่า ยังมีโครงการก่อสร้าง/ปรับปรุงท่าเรือท่องเที่ยวและสินค้า เช่น ท่าเรือปากเมง จ.ตรัง, ท่าเรือท้องศาลาและหาดริ้น จ.สุราษฎร์ธานี, ท่าเรือสินค้าปัตตานี, ท่าเรือเฟอร์รี่เกาะสมุย, ก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบ้านทุ่งใหญ่ จ.สงขลา, ชายฝั่ง ต.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ แต่มีปัญหาการจราจรอย่างมาก โครงการทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง และระบบขนส่งมวลชนหรือรถไฟฟ้ารางเบาจะส่งผลดีต่อประชาชนและ นักท่องเที่ยวอย่างมาก

โดยปัจจุบัน การเดินทางจากกะทู้-ป่าตอง เส้นทางถนนจะคดเคี้ยวไปตามเขา และต้องใช้ระยะเวลาเดินทาง 45 นาที-1 ชั่วโมง มีปริมาณรถ 70,000 คัน/วัน แต่หากโครงการทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง แล้วเสร็จการเดินทางระหว่าง 2 แหล่งท่องเที่ยว จะใช้ระยะเวลาเพียงแค่ ประมาณ 10 นาทีเท่านั้น เชื่อว่าจะได้เริ่มก่อสร้างในปี 2564 และโครงการจะเสร็จปี 2570

ส่วนรถไฟฟ้ารางเบาหรือ รถแทรมป์นั้น จะช่วยให้การเดินทางในจังหวัดภูเก็ตมีความสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะการเดินทางไปยังสนามบิน จะสะดวกมาก ขึ้น ซึ่งได้มอบนโยบายให้คำนึงถึงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้า และการกำหนดรูปแบบเช่น แทรมป์ล้อยาง ซึ่งจะทำให้ค่าก่อสร้างถูกลงและก่อสร้างได้เร็ว และเมื่อโครงการมีต้นทุนลดลง จะทำให้สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารถูกลง เป็นประโยชน์กับประชาชน

ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าจังหวัดแถบทะเลอันดามันนั้น มีแหล่งท่องเที่ยวสวยงาม สร้างรายได้ ทำให้เศรษฐกิจประเทศเติบโตอย่างมาก แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ โควิด-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวลดลง วันนี้รัฐบาลมุ่งเยียวยาและฟื้นฟูการท่องเที่ยว

โดยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติชุดแรกด้วยการออกวีซ่าพิเศษที่เรียกว่า Special Tourist VISA (STV) สำหรับผู้ที่มาพำนักระยะยาว (long stay) และ "ภูเก็ต" คือเป้าหมาย แม้ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ "โควิด" จะยุติ การเดินทาง ท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคักเหมือนเดิมเมื่อใด

ซึ่งรัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งต่อไป เพื่อรองรับจำนวนประชากรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และเพิ่มขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ ของไทย ด้วยหวังว่า การก่อสร้างโครงการต่างๆ คือสูตรสำเร็จที่ ทำให้เกิดการสร้างงาน กระจายรายได้ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้...

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2020 10:51 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผ่าแผนคมนาคมอัดฉีด3.06แสนล้านบาท พัฒนาบิ๊กโปรเจกต์ผุดทางด่วน-รถไฟฟ้า ขยายถนน-สนามบิน-กระตุ้นศก.ฟื้นท่องเที่ยวอันดามัน
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563


ลิงก์มาแล้วจ้า

ผ่าแผนคมนาคมอัดฉีด 3.06 แสนล้านพัฒนาบิ๊กโปรเจกต์ ผุด “ทางด่วน-รถไฟฟ้า” ขยายถนน-สนามบินกระตุ้น ศก.ฟื้นท่องเที่ยวอันดามัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 07:33

@เปิดเอกชนร่วมลงทุนทางด่วน-รถไฟฟ้า แก้จราจร “ภูเก็ต”
ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แทรมป์) ระยะทาง 60 กม. แบ่งดำเนินการ 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ ซึ่งขณะนี้ รฟม.ได้ศึกษาจัดทำ PPP ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลนำเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ในเดือน ต.ค. 2564 เปิดประมูลในช่วงต้นปี 2565 ก่อสร้างปี 2566 เปิดให้บริการปี 2569

@รถไฟทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทางเชื่อมแลนด์บริดจ์ ลดต้นทุนโลจิสติกส์

สำหรับโครงการรถไฟนั้นอยู่ในแผนระยะกลาง (2565-2569) 3 โครงการ คือ เส้นทางชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. ค่าลงทุน 23,285 ล้านบาท เส้นทางสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 339 กม. ค่าลงทุน 51,823 ล้านบาท และเส้นทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 48 กม. ค่าลงทุน 7,942 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณา EIA และเตรียมเสนอ ครม.

อยู่ในแผนระยะยาว (2570-2579) 4 โครงการ คือ เส้นทางชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กม. ค่าลงทุน 29,222.66 ล้านบาท ขณะนี้ออกแบบเสร็จแล้ว, รถไฟสายใหม่ เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น (พังงา) ระยะทาง 163 กม. ค่าลงทุน 44,218.80 ล้านบาท, รถไฟสายใหม่ เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก ระยะทาง 79 กม. ค่าลงทุน 18,102 ล้านบาท เป็นเส้นทางเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ปัจจุบัน สนข.ศึกษาออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA, รถไฟสายใหม่ เส้นทางทับปุด-กระบี่ ระยะทาง 68 กม. ค่าลงทุน 15,223 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA
https://mgronline.com/business/detail/9630000114513
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2020 5:49 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบราง7,763กม.พลิกโฉมเดินทางไทย
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ไฮสปีด8สาย-รถไฟฟ้า14รางคู่เพียบ ทั้งหมดนี้จะได้ใช้บริการภายในปี71

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าและการประชุมด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง Rail Asia 2020 และกล่าวปาฐกถาหัวข้อ "Thailand's Rail Developments" หรือการพัฒนาระบบรางของประเทศ ไทย ที่สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสันว่า ที่ผ่านมาระบบรางมีบทบาทต่อการคมนาคมขนส่งของไทยค่อนข้างน้อย เนื่องจากพัฒนาระบบขนส่งทางถนนเป็นหลัก ทำให้การเจริญเติบโตของเมืองกระจัดกระจาย ไม่ตอบสนองต่อจำนวนประชากรภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงมุ่งเน้นลงทุนระบบรางมากขึ้น เพื่อผลักดันระบบรางเป็นระบบหลักของการเดินทาง และการขนส่งของประเทศในอนาคต ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ การจ้างงาน การท่องเที่ยว และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

นายพิศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันทางรถไฟครอบคลุมพื้นที่กว่า 47 จังหวัด ระยะทางกว่า 4,044 กิโลเมตร (กม.) แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะสัดส่วนของทางรถไฟเป็นทางเดี่ยว ต้องผลักดันโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงให้มี เส้นทางเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าภายในปี 65 รถไฟทางคู่จะแล้วเสร็จเพิ่มอีก 5 สาย คิดเป็นระยะทางกว่า 700 กม. ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ช่วยกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ รวดเร็วมากขึ้น

นายพิศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 โครงการ คือโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และอยู่ระหว่างเตรียมพร้อมดำเนินโครงการอีก 6 โครงการ อาทิ เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ- พิษณุโลก และเส้นทางส่วนต่อขยาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด ซึ่งหากแล้วเสร็จทั้งหมดจะเป็นระยะทางรวมกว่า 2,466 กม. สำหรับโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เมื่อโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จจะมีจำนวน 14 สายทาง 367 สถานี คิดเป็นระยะทางกว่า 553 กม. จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้ คาดว่าโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปี 70

นายพิศักดิ์ กล่าวต่อด้วยว่า กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญ การพัฒนาระบบรางในทุกภูมิภาค โดยภายในปี 71 ไทยจะมีระบบ รางขนาดใหญ่ 7,763 กม. ที่เข้า ถึงทุกภูมิภาคของประเทศ และเมื่อโครงการทั้งหมดตาม แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแล้วเสร็จ จะเป็นการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทยให้เจริญก้าวหน้า เป็นการลงทุนเพื่อ วางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาว สนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างศักยภาพ และโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวของเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทาง เกิดการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2020 6:12 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.คิกออฟ แผนโลจิสติกส์หนุน”แลนด์บริดจ์” วางโครงข่ายคมนาคมเชื่อมอีอีซี-ท่าเรือระนอง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 1 ธันวาคม 2563 16:46



สนข. คิกออฟ ศึกษาแผนพัฒนาโลจิสติกส์ ฟังข้อมูลคนพื้นที่ ร่วมวางโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่ง เชื่อม“แลนด์บริดจ์” จากฐานการผลิตอีอีซี และ ท่าเรือน้ำลึกระนอง-ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เพิ่มศักยภาพลดต้นทุนของประเทศ เปิดประตูการค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC และ ยุโรป

รายงานข่าวจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า วันนี้(1 ธ.ค. )สนข. ได้จัดสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนองพื้นที่ศึกษา : พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ จ.ชลบุรี โดยมีนายวิวัฒน์ มหาผลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ และมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคตะวันออก ที่มีความสนใจเข้าร่วมการสัมมนาฯ

ทั้งนี้ เนื่องจาก มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ได้เห็นชอบกรอบแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยให้เร่งผลักดันแผนงานเบื้องต้น ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง โครงการระบบรถไฟทางคู่ และโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพลิกโฉมการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และได้รับทราบผลการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ที่ให้เร่งรัดดำเนินการออกแบบและก่อสร้างระบบโลจิสติกส์จากสถานีรถไฟจังหวัดชุมพร เพื่อเชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง

โดยการศึกษาจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตอีอีซี กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผน Logistics ที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการลดต้นทุนด้าน Logistics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ที่เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล (อ่าวไทย -อันดามัน) เพื่อส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งประเด็นในการจัดสัมมนาฯ จะเกี่ยวข้องกับปัญหาและสภาพการขนส่งสินค้าบริเวณพื้นที่อีอีซี และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ในปัจจุบัน รวมถึงข้อจำกัดและโอกาสในการพัฒนาท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน รวมทั้งข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาการขนส่งเชื่อมโยงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและส่งเสริมจูงใจให้เปลี่ยนมาใช้รูปแบบและเส้นทางที่เสนอแนะ ให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพข้อเท็จจริงโดยจะมีการจัดสัมมนารับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจำนวน 2 ครั้ง คือ เดือนพ.ค. 2564 และเดือนก.พ. 2564

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทาง ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแลนด์บริดจ์ เพื่อเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามันไปยังพื้นที่ อีอีซี อยู่ในขั้นตอนการศึกษาออกแบบรายละเอียดและทำรายงาน EIA โดยคาดศึกษาประมาณ 1 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2020 10:30 am    Post subject: Reply with quote

สนข.คิกออฟแผนโลจิสติกส์ เชื่อมอีอีซีสู่ประตูการค้าภาคใต้ปั้นTODชลบุรีเมืองต้นแบบ

07 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10:01 น.

การลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่อีอีซี กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ ที่สามารถตอบสนองการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าเพื่อส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต



สนข.คิกออฟแผนโลจิสติกส์

เชื่อมอีอีซีสู่ประตูการค้าภาคใต้ปั้นTODชลบุรีเมืองต้นแบบ



นโยบายการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เป็นแผนยุทธศาสตร์ ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 มีเป้าหมายหลักในการเติมเต็มภาพรวมในการส่งเสริมการลงทุน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และทําให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว จากผลการพัฒนาดังกล่าว ก่อให้เกิดปริมาณการขนส่งสินค้านําเข้าและส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งจะเป็นการขนส่งสินค้านําเข้าและส่งออกจากพื้นที่อีอีซีไปยังพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ รวมทั้งระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ ประเทศในกลุ่ม BIMSTEC กลุ่มตะวันออกกลางและยุโรป



และด้วยประเทศไทยตั้งอยู่บนศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน มีชายฝั่งทะเลติดกับมหาสมุทร 2 ด้าน ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพ สามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้าน จึงเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทําเลที่ตั้งดังกล่าวเพื่อนํามาพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเล เพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นอกเหนือจากการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน

ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ได้เห็นชอบกรอบแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยให้เร่งผลักดันแผนงานเบื้องต้น ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง โครงการระบบรถไฟทางคู่ และโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพลิกโฉมการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงยังได้รับทราบผลการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ที่ให้เร่งรัดดําเนินการออกแบบและก่อสร้างระบบโลจิสติกส์จากสถานีรถไฟจังหวัดชุมพร เพื่อเชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง



โลจิสติกส์ประตูการค้าจากอีอีซีสู่ภาคใต้

ดังนั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนและประสิทธิภาพของ การลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่อีอีซี กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ ที่สามารถตอบสนองการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าเพื่อส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต



อย่างไรก็ตาม นอกจากแผนการพัฒนาโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมต่อการค้าระหว่างอีอีซีและภาคใต้แล้ว สิ่งที่รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการนั้นคือ เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะทางด้านระบบราง ที่จะมีทั้งการพัฒนารถไฟฟ้าในเขตเมืองใหญ่ การพัฒนารถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง และเพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่จะเกิดขึ้นโดยรวมสถานีรถไฟต่างๆ นั้นทำให้ สนข.ต้องจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาเมือง กับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD)

177สถานีพร้อมพัฒนาTOD



(ปัญญา ชูพานิช)

นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวย สนข. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้เดินหน้าลงทุนพัฒนาระบบรางให้เป็นระบบหลักด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ทั้งรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่งสินค้า รวมทั้งลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ โดยมีแผนการใช้งบประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท ในระยะ 20 ปี เน้นให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพและเกิดความคุ้มค่าสูงสุด กระทรวงคมนาคม

ซึ่ง สนข.ได้นำแนวคิดการพัฒนา TOD มาดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาระบบราง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า จากการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรางมากยิ่งขึ้น โดยดำเนินการจัดทำ “แผนแม่บทการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง TOD” ขึ้น เพื่อให้เกิดการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ผลจากการสำรวจและศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถนำมาพัฒนาเป็น TOD ได้จำนวน 177 สถานีในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทและขนาด TOD เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1.ศูนย์ภูมิภาค เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางเมืองหลักของแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายคมนาคมขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่ที่สุด จำนวน 6 แห่ง

2.ศูนย์กลางเมือง เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางระดับจังหวัด ขนาดพื้นที่ของการพัฒนาขึ้นอยู่กับขนาดของเศรษฐกิจของจังหวัดนั้นๆ จำนวน 49 แห่ง

3.ศูนย์เมืองใหม่ เป็นการพัฒนา TOD บริเวณโดยรอบสถานีที่เกิดขึ้นใหม่ตามสายทางรถไฟที่มีการก่อสร้างเพิ่มเติม ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเมืองจำนวน 20 แห่ง

4.ศูนย์ชุมชน เป็นการพัฒนา TOD บริเวณโดยรอบสถานีที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายศูนย์กลางชุมชนระดับอำเภอเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งพื้นที่ที่มีชุมชน และพื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนามากนัก มีขนาดเล็ก การพัฒนาไม่ซับซ้อน จำนวน 84 แห่ง

5.ศูนย์แบบพิเศษ เป็นสถานีที่เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางในบริเวณที่มีโครงการพัฒนาพื้นที่พิเศษ จำนวน 18 แห่ง แบ่งเป็น 4 ประเภทย่อย ได้แก่ เมืองชายแดน เมืองการบิน เมืองท่องเที่ยว และเมืองการศึกษา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จาก 177 สถานี ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ ได้มีการคัดเลือกเมืองต้นแบบในการพัฒนา TOD 3 เมือง ได้แก่ สถานีรถไฟขอนแก่น สถานีรถไฟพัทยา และสถานีรถไฟอยุธยา โดยสถานีรถไฟขอนแก่น จัดอยู่ในประเภท TOD ศูนย์ภูมิภาค ของกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟอยุธยา จัดอยู่ในประเภท TOD ศูนย์กลางเมือง จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ และสถานีรถไฟพัทยา จัดอยู่ในประเภท TOD ศูนย์ภูมิภาค จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก

TODชลบุรีเมืองต้นแบบรองรับอีอีซี

นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า จังหวัดชลบุรีเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีศักยภาพในการพัฒนา TOD โดยเฉพาะสถานีรถไฟพัทยามีความพร้อมเป็น “ประตูสู่พัทยา หนองปรือสมานฉันท์ เมืองแห่งสภาพแวดล้อมที่รื่นรมย์สำหรับทุกคน” สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนา ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด ส่งผลให้จังหวัดชลบุรีเป็น 1 ใน 3 เมืองที่ได้รับคัดเลือกเป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา TOD และสถานีรถไฟพัทยาได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน TOD ศูนย์ภูมิภาค จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ด้วยบทบาทความสำคัญของสถานีรถไฟความเร็วสูง สถานีกลางเมืองหลักระดับภูมิภาค และพื้นที่ในรัศมี 500 เมตรโดยรอบสถานีอยู่ในการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทส่งเสริมการพัฒนาเมือง

ทั้งนี้ หากไม่มีการพัฒนา TOD จะก่อให้เกิดปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างกระจัดกระจาย (Urban Sprawl) เนื่องจากขาดการวางแผนพัฒนาเมืองที่ดี การใช้ประโยชน์พื้นที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ถ้ามีการพัฒนาพื้นที่ตามหลักการ TOD จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ มีประสิทธิภาพ และมีความหลากหลาย มีระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่ชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ มีโครงข่ายพื้นที่สีเขียว และการเดินทางภายในเมือง

และยังเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่โดยรอบสถานี TOD พัทยาวิสัยทัศน์การพัฒนา TOD ชลบุรี คือ “ประตูสู่พัทยา หนองปรือสมานฉันท์ เมืองแห่งสภาพแวดล้อมที่รื่นรมย์สำหรับทุกคน” ขับเคลื่อนด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมขนส่งทันสมัย ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และเสริมศักยภาพด้วยโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทำให้ในอนาคตสามารถเดินทางแบบไร้รอยต่อ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน เมืองนวัตกรรม เนื่องจากที่ตั้งของพื้นที่อีอีซี) ซึ่งเป็นทำเลที่ดีที่สุดในการลงทุนของภูมิภาคอาเซียน และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรม MICE และเป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมน่าอยู่ยั่งยืน แวดล้อมด้วยสวนสาธารณะสีเขียว และพื้นที่โล่งเหมาะสำหรับการใช้ชีวิตคุณภาพ



อย่างไรก็ตาม ในอนาคตแผนแม่บท TOD นี้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ ที่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ยกระดับการเดินทางและการขนส่งด้วยรูปแบบทางรางให้มีประสิทธิภาพ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 112, 113, 114 ... 121, 122, 123  Next
Page 113 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©