Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180802
ทั้งหมด:13492037
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 227, 228, 229 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2020 10:33 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ เปิดรถไฟฟ้าสายสีเขียว-สีทองเที่ยวปฐมฤกษ์ 16 ธ.ค.นี้
12 ธันวาคม 2563 เวลา 15:17 น.

🚈 บีทีเอส เปิดเพิ่ม 10 สถานี ใหม่!!
Rabbit Card
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 14:43 น.

ใช้บัตรแรบบิทเดินทางง่าย เชื่อมโยง 3 จังหวัด ปทุมธานี-สมุทรปราการ-กรุงเทพฯ
⭐เดินทางฟรี! ตั้งแต่เวลา 13.00 น.
ในวันที่ 16 ธันวาคม 63 นี้ เป็นต้นไป
รถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่ ประกอบด้วยสายสีเขียว เส้นทางวัดพระศรีมหาธาตุ - คูคต จำนวน 7 สถานี ได้แก่
📍สถานีพหลโยธิน 59 (N18)
📍สถานีสายหยุด (N19)
📍สถานีสะพานใหม่ (N20)
📍สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (N21)
📍สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (N22)
📍สถานีแยกคปอ. (N23)
📍สถานีคูคต (N24)
⚡ให้บริการฟรี จนถึงสิ้นปี 2563 นี้⚡
และสายสีทอง เส้นทางกรุงธนบุรี-คลองสาน จำนวน 3 สถานี
📍สถานีกรุงธนบุรี (G1)
📍สถานีเจริญนคร (G2)
📍สถานีคลองสาน (G3)
⚡ให้บริการฟรี ถึง 15 มการาคม 64⚡
เดินทางด้วยบีทีเอส อย่าลืมใช้ บัตรแรบบิท
สะดวก ประหยัด ไม่ต้องใช้เงินสด
⭐ซื้อบัตรแรบบิทได้ที่
📌 จุดจำหน่ายตั๋วโดยสารบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานี และ
ทางออนไลน์ที่
📌 https://shopee.co.th/rabbitcard_official
📌 https://www.lazada.co.th/rabbit-card


Last edited by Wisarut on 16/12/2020 1:38 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2020 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha
16 ธ.ค. 63 13.08 น.

https://www.facebook.com/prayutofficial/posts/1006767706485511

·
วันนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนาระบบรางในเขตเมือง เป็นวันเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเชื่อมปทุมธานี-กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ และสายสีทองเชื่อมกรุงเทพฯ-ธนบุรี ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาชุมชนเมืองใหม่ และการกระจายความเจริญไปสู่ปริมณฑล ด้วยการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายที่ถูกลง สามารถเข้าสู่ใจกลางเมือง เพื่อทำงาน ติดต่อราชการ หรือท่องเที่ยว แบบไป-กลับได้ โดยไม่ต้องหาที่อยู่อาศัย หรือมาแออัดในเมืองเหมือนที่ผ่านมา

นอกจากจะเป็นการยกระดับความสำคัญของเขตปริมณฑลแล้ว ยังจะช่วยปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ด้วยการลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ รถ-ราง-เรือ ที่เชื่อมกันอย่างไร้รอยต่อ ที่สำคัญสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ได้อย่างยั่งยืนด้วย เพราะไอเสียจากรถยนต์เป็นต้นตอใหญ่ของปัญหานี้ในเขตเมืองนะครับ

ช่วงส่งท้ายปีเก่า 2563 และต้อนรับปีใหม่ 2564 นี้ จะมีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ สายสีเขียวเหนือ สายสีทอง สายสีแดง และสายสีเหลือง และจะทยอยเปิดให้บริการอีกในปีต่อๆ ไป เช่น...
ปี 2564 : สีแดงอ่อน (บางซื่อ–ตลิ่งชัน)
ปี 2565 : สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี), สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
ปี 2566 : สายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต), สีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) - สีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศิริราช) เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นการสร้างโอกาส สร้างอนาคต ไม่เพียงแต่ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑลนะครับ แต่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน #รวมไทยสร้างชาติ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2020 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha
16 ธ.ค. 63 13.08 น.

https://www.facebook.com/prayutofficial/posts/1006767706485511

·
วันนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนาระบบรางในเขตเมือง เป็นวันเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเชื่อมปทุมธานี-กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ และสายสีทองเชื่อมกรุงเทพฯ-ธนบุรี ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาชุมชนเมืองใหม่ และการกระจายความเจริญไปสู่ปริมณฑล ด้วยการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายที่ถูกลง สามารถเข้าสู่ใจกลางเมือง เพื่อทำงาน ติดต่อราชการ หรือท่องเที่ยว แบบไป-กลับได้ โดยไม่ต้องหาที่อยู่อาศัย หรือมาแออัดในเมืองเหมือนที่ผ่านมา


มันเป็นช่วงเวลาของระบบคมนาคมขนส่งไทย เพียงแค่ในช่วง 2 วันติดกันข่าวรถไฟฟ้าทั้งความคืบหน้าและการเปิดให้บริการสายใหม่ๆ มีมาให้ติดตามกันพรึบ!!
Reporter Journey
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 12:02 น.

- เมื่อวานก็สถานีกลางบางซื่อศูนย์กลางคมนาคมที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาเซียน และรถไฟชานเมืองสายสีแดง ก็โคตรแจ่ม ปีหน้าได้ใช้แล้ว แม้จะสร้างนานไปหน่อยก็เถอะ
- วันนี้สายสีเขียวจะได้วิ่งยาวถึงคูคต เชื่อมต่อรวดเดียวจากสมุทรปราการ กรุงเทพ และปทุมธานี
- แถมเปิดสายสีทองจาก BTS กรุงธนฯ - ไอคอนสยาม - คลองสาน ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติอีก
.
ยังไม่รวมปีหน้าที่สายสีแดงเปิดให้บริการ โมโนเรลสายสีเหลือ/สีชมพูบางส่วนอีก ที่จะให้ได้ใช้กันช่วงไตรมา 3 ของปี การก่อสร้างนี่เร็วอย่างกับต่อจิ๊กซอว์
.
รวมทั้งรถเมล์ไฟฟ้าที่ปีหน้าจะเริ่มทะยอยออกมาให้เห็บนท้องถนน Taxi ไฟฟ้าของ Mine ที่ต้นปีส่งมอบได้ 2 พันกว่าคันได้แล้ว และเรือไฟฟ้า/เรือด่วนแบบใหม่ที่เปิดไปก่อนหน้า เอาจริงๆ ถ้ามองอย่างตัดอคติก็จะเห็นว่าบ้านเรามันไปข้างหน้าตลอด แม้แต่ต่างจังหวัดก็มีโครงการอื่นๆ มากมายต่อเนื่อง รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์ ไฮเวย์ รถเมล์ในเมือง สายไฟลงดิน การพัฒนาเชิงภูมิทัศน์
.
นี่เดี๋ยวขบวนรถไฟใหม่และหัวรถจักร 50 คันก็สั่งไปแล้ว รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็งสูงอีก เอาเป็นว่าไม่กิน 10 ปีจากนี้ไปการคมนาคมในประเทศบอกเลยว่าพลิกโฉมหน้าแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2020 4:26 pm    Post subject: Reply with quote

'รถไฟฟ้า' มาหาชาวกรุง! 2 สายใหม่เปิดแล้ว 16 ธ.ค. ให้นั่งฟรี!
16 ธันวาคม 2563 | โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ชาวกรุงเตรียมนั่ง "รถไฟฟ้า" 4 สายใหม่ โดย 2 ใน 4 สาย จะเปิดให้บริการ 16 ธ.ค.นี้ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีทอง และสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) ส่วนสายสีเหลือง-ชมพู จะเปิดในปี 2564-2565 ชวนดูรายละเอียด "รถไฟฟ้า" ทั้ง 4 สายก่อนใช้บริการ
ใกล้ความจริงเข้ามาทุกทีแล้ว สำหรับ "รถไฟฟ้า" 4 สายใหม่ ที่กำลังจะเปิดให้บริการชาวกรุงเร็วๆ นี้ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีทอง, รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) ในเส้นทางหมอชิต-คูคต (สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ-สถานีคูคต) รวมไปถึง รถไฟฟ้าสายสีชมพู, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง อีกด้วย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนคนกรุงมารู้จักรายละเอียดรถไฟฟ้าสายใหม่ทั้ง 4 สายนี้ว่าจะมีรูปแบบรถไฟฟ้าเป็นแบบไหน ให้บริการเส้นทางไหนบ้าง ค่าโดยสารกี่บาท แล้วจะได้ใช้งานจริงกันเมื่อไหร่กันแน่? ..มาเช็คลิสต์ทางนี้เลย

1. รถไฟฟ้าสายสีทอง

เริ่มจาก รถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นรถไฟฟ้าสายสั้นๆ ที่จะเชื่อมต่อฝั่งกรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี ทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น มีการปรับปรุง BTS สะพานตากสินให้เป็นสถานีที่มี 2 ชานชาลาและเป็นรางคู่ โดยจุดเชื่อมต่อที่น่าสนใจที่สุดคือ บริเวณสถานีกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน เชื่อมต่อไปยังห้างดังอย่าง ICONSIAM ริเริ่มให้มีการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2560 ก่อสร้างโดยบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ มีงบลงทุนในการก่อสร้างประมาณ 3,000 ล้านบาท

อัพเดท.. ช่วงต้นเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระยะที่ 1 ช่วงสถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน ระยะทางประมาณ 1.8 กม. มีความคืบหน้าแล้ว 96% จะไม่มีการทดลองนั่งฟรี แต่จะเริ่มเก็บค่าโดยสารทันที ราคา 15 บาทตลอดสาย


ต่อมามีข้อมูล อัพเดทล่าสุด.. วันนี้ (16 ธ.ค.63) พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า ในส่วนของสายสีทอง ระยะที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน จะให้บริการฟรี 1 เดือน ระหว่างวันที่ 16 ธ.ค. 2563 – 15 ม.ค. 2564 จากนั้นจะเริ่มเก็บค่าโดยสารคงที่ 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป

อีกทั้ง เนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าที่ไม่มีคนขับประชาชนอาจจะยังไม่คุ้นชิน ช่วงแรกที่เปิดให้บริการ จะมีการจัดเจ้าหน้าที่ขึ้นประจำรถไปพร้อมกับผู้โดยสารด้วย เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในการเดินทางมากขึ้น

ในการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 : มีระยะทาง 1.80 กิโลเมตร ประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร (เชื่อม ICONSIAM), สถานีคลองสาน มีแนวเส้นทางจากสถานีรถไฟฟ้า BTS กรุงธนบุรี ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเส้นทางคู่ขนานของถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายขึ้นทางทิศเหนือไปตามแนวถนนเจริญนครผ่านแยกคลองสาน ไปสิ้นสุดที่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสิน

ระยะที่ 2 : มีระยะทาง 0.88 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1 สถานี คือ สถานีประชาธิปก

ระบบรถไฟฟ้าสายสีทอง ใช้เป็นระบบ Monorail รูปแบบไร้คนขับโดยใช้รางนำทาง มีผิวสัมผัสระหว่างล้อและทางวิ่งเป็นยาง ซึ่งจะทำให้เกิดความนุ่มนวลและก่อให้เกิดเสียงรบกวนต่ำเมื่อเทียบกับระบบอื่น อีกทั้งมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยโมเดลที่ใช้เป็นรุ่น Bombardier Innovia APM 300 จำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ รองรับผู้โดยสารได้ 4,000-12,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

การเชื่อมต่อในอนาคต รถไฟฟ้าสายสีทอง จะมีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าอื่นๆ 3 สาย ได้แก่

1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือรถไฟฟ้า BTS สายสีลม เชื่อมต่อจาก BTS กรุงธนบุรี (G1)

2. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เชื่อมต่อกับสถานีประชาธิปก (G4)

3. รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย เชื่อมต่อกับสถานีคลองสาน (G3)


2. รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย)

เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้นำขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส เข้าดำเนินการทดสอบการเดินรถ ต่อจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ จำนวน 7 สถานี คือ

สถานีพหลโยธิน59 (N18), สถานีสายหยุด (N19), สถานีสะพานใหม่ (N20), สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (N21), สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (N22), สถานีแยก คปอ. (N23) และ สถานีคูคต (N24) ซึ่งเป็นสถานีปลายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รวมระยะทาง 9.8 กิโลเมตร

อัพเดทล่าสุด.. มีข้อมูลว่า "รถไฟฟ้า" สายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) พร้อมเปิดให้บริการ วันที่ 16 ธันวาคม 2563 นี้ โดยให้ประชาชน "นั่งฟรี" ไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2564


สำหรับการทดสอบการเดินรถนั้น บริษัทฯ ได้นำรถไฟฟ้าวิ่งทดสอบในราง (Test Track) ทั้งเส้นทาง โดยภาพรวมการทดสอบเดินรถไป-กลับระหว่าง 7 สถานี ผลการทดสอบเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไม่มีข้อบกพร่อง นอกจากนี้ยังทดสอบระบบรวม (System Integration Test) เช่น ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการสื่อสาร เพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานทุกระบบมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างงานโยธา และติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งโครงการแล้วเสร็จ 100% ทำให้ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอส รวมมีสถานีให้บริการทั้งหมด 59 สถานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 68.25 กิโลเมตร

3. รถไฟฟ้าสายสีชมพู

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูมี ระยะทาง 34.5 กม. มีสถานีรวม 32 สถานี ให้บริการในเส้นทางแคราย-มีนบุรี มีเงินลงทุน 46,643 ล้านบาท เป็นโครงการที่อยู่ในแผนลงทุน PPP Fast Track ของรัฐบาล ซึ่งมีภาคเอกชน ได้แก่ บจ.นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล และ บจ.อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล ร่วมลงทุนจนโครงการใกล้จะสำเร็จ คาดว่าทั้งรถไฟฟสายนี้จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565

ความคืบหน้าภาพรวม แบ่งเป็นการก่อสร้างงานโยธาของรถไฟฟ้าสายสีชมพูอยู่ที่ 70% และงานระบบอยู่ที่ 50% แต่ติดปัญหาการขยับสถานีบริเวณหน้าศูนย์ราชการนนทบุรีและสถานีนพรัตน์ ซึ่งต้องปรับรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) ทำให้การเปิดบริการอาจจะเลื่อนออกไป ประมาณปี 2564-2565

คาดว่าจะเริ่มทดสอบระบบเดินรถ (Test Run) ประมาณเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2565 หลังจากนั้นจะทดลองเดินรถเสมือนจริง(Trial Running) ในช่วงมีนบุรี – ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เป็นลำดับต่อไป (คาดว่าจะเปิดให้บริการล่าช้ากว่าสายสีเหลือง) ส่วนค่าโดยสารในการเดินทางบนรถไฟฟ้าสายสีชมพู เริ่มต้น 16-42 บาท

ขบวนรถไฟฟ้าสายสีชมพู ผลิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบรักษาความปลอดภัย ใช้โมเดลรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 จำนวน 42 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคล่อมราง (Straddle Monorail) ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แม่เหล็กแบบถาวร ไร้คนขับ มีความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. ใช้แรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรง 750 โวลด์ รองรับผู้โดยสารได้ 568 คน/ตู้ และหากคิดเป็น 1 ขบวนจะรองรับผู้โดยสารได้ 1,009 คน/ขบวน


4. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีระยะทาง 30.4 กม. บริการ 23 สถานี ในเส้นทางลาดพร้าว-สำโรง มีเงินลงทุน 45,797 ล้านบาท เป็นโครงการที่อยู่ในแผนลงทุน PPP Fast Track ของรัฐบาลเช่นกัน ดำเนินงานโดย บจ.นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรลและ บจ.อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล ร่วมลงทุนเช่นกัน

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีความคืบหน้าประมาณ 62.44% และเนื่องจากสายสีเหลืองไม่ติดปัญหาด้าน EIA แบบเดียวกับสายสีชมพู จึงทำให้สามารถเปิดบริการได้เร็วกว่าสายสีชมพู คือ จะเริ่มเปิดทดสอบเดินรถในเดือนเมษายน 2564 จากนั้นจะเปิดทดลองเดินรถเสมือนจริง โดยให้ประชาชนร่วมใช้บริการฟรี! ในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน ช่วงสำโรง-พัฒนาการก่อน และเก็บค่าโดยสารในเดือนตุลาคม 2564 เป็นลำดับต่อไป ค่าโดยสารเริ่มต้น 16-42 บาท

ขบวนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ผลิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบรักษาความปลอดภัย ใช้โมเดลรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคล่อมราง (Straddle Monorail) เป็นโครงสร้างยกระดับตลอดสาย มีทางเดินสำหรับการอพยพกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินตลอดทาง ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แม่เหล็กแบบถาวร ไร้คนขับ มีความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. ใช้แรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรง 750 โวลด์ รองรับผู้โดยสารได้ 568 คน/ตู้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2020 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'รถไฟฟ้า' มาหาชาวกรุง! 2 สายใหม่เปิดแล้ว 16 ธ.ค. ให้นั่งฟรี!
16 ธันวาคม 2563 | โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



รัฐตีฆ้อง สายสีแดง-สีทอง ปลุกทำเลเชื่อมห้างกระตุ้นเศรษฐกิจ
อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 16 ธันวาคม 2563 - 12:02 น.


“ประยุทธ์” นำทีมเปิดรถไฟฟ้าสายใหม่ ปลุกทำเลท่องเที่ยว สายสีทองฝั่งธนบุรีส่งท้ายปี เชื่อม “ไอคอนสยาม” เตรียมขยายเฟส 2 ถึงประชาธิปก รอกลางปีหน้า สายสีแดง “ตลิ่งชัน-รังสิต” เปิดทดลองใช้ พร้อมสถานีกลางบางซื่อ ฮับอาเซียน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่งท้ายปี 2563 รัฐบาลประกาศเปิดรถไฟฟ้าอีก 2 เส้นทาง เชื่อมชานเมืองสู่ใจกลางเมือง วันที่ 16 ธ.ค.นี้ โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกดปุ่มเดินรถ


สีเขียวไร้รอยต่อ
เริ่มที่ สายสีเขียวส่วนต่อขยาย “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” 18.7 กม. ได้เปิดครบ 16 สถานี โดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดฟรีถึง 1 ม.ค. 2564 สายนี้เชื่อม 3 จังหวัด ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ ใช้เวลา 1.30 ชม.

“สายสีทอง” จากกรุงธนบุรี-คลองสาน 1.7 กม. มี 3 สถานี ค่าโดยสาร 15 บาท ได้แก่ 1.สถานีกรุงธนบุรี สถานีร่วมบีทีเอส 2.สถานีเจริญนคร หน้าศูนย์การค้าไอคอนสยาม พร้อมทางเชื่อมเข้าห้าง และ 3.สถานีคลองสาน หน้าโรงพยาบาลตากสิน พร้อมสกายวอล์กในอนาคต เพื่อป้อนคนจากบีทีเอสมายังไอคอนสยาม และแหล่งท่องเที่ยวริมเจ้าพระยา

ปลุกทำเลห้างใหม่
จากการสำรวจทำเลใกล้สายสีทอง เป็นแหล่งคอนโดฯและโรงแรมหรู โดยมีศูนย์การค้าไอคอนสยามของกลุ่มสยามพิวรรธน์เป็นแม่เหล็ก พร้อมจัดโปรโมชั่นลดราคากระตุ้นกำลังซื้อช่วงปลายปี

พร้อมเร่งสร้าง “ไอคอนสยามเฟส 2” ฝั่งตรงข้าม เนื้อที่ 5 ไร่ วงเงิน 4,000 ล้านบาท เป็นมิกซ์ยูส ประกอบด้วย โรงแรมฮิลตัน การ์เดน อินน์ กรุงเทพฯ ในเครือฮิลตัน มี 244 ห้องพัก รูฟท็อป, โคเวิร์กกิ้งสเปซ, ร้านค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต เตรียมเปิดตัวต้นปี 2564

ส่วนอาคารเก่ารอบห้างได้ติดป้ายขาย-เช่า อาคารพาณิชย์ให้เช่าเดือนละ 120,000 บาท อีกตึกตั้งราคาขาย 45 ล้านบาท

การเปิดสายสีทองยังมีผลกระทบต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้างเพราะการเดินทางไปสถานีกรุงธนบุรี หากมอเตอร์ไซค์อยู่ที่ 30 บาท แต่รถไฟฟ้าสายนี้ราคาอยู่ที่ 15 บาท


กทม.ขยายสีทอง
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า การเปิดรถไฟฟ้าสายสีทองทำให้คนฝั่งธนบุรีมีทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะสถานีคลองสาน จะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ อาทิ โรงพยาบาลตากสิน สำนักการศึกษา สำนักงานเขตคลองสาน และ สน.ปากคลองสาน และเชื่อมการเดินทางระบบล้อ ราง เรือ รองรับผู้โดยสารจากสายสีเขียวที่สถานีกรุงธนบุรี และเชื่อมสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีแดงในอนาคต คาดมีผู้มาใช้บริการ 42,000 เที่ยวคน/วัน

“หลังเปิด 6 เดือนจะประเมินปริมาณผู้โดยสาร เพื่อสร้างส่วนต่อขยายอีก 1 สถานี คือ สถานีประชาธิปก ระยะทาง 950 เมตร ใช้เงินก่อสร้าง 1,333 ล้านบาท”

ต่อสีเขียวชะลอยาว
แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวว่า สายสีทองส่วนต่อขยายอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP เนื่องจากไอคอนสยามสนับสนุนเงินลงทุนเฉพาะเฟสแรกเท่านั้น ยังกำหนดไม่ได้จะได้สร้างปีหน้าหรือไม่ เช่นเดียวกับสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 เส้นทาง วงเงิน 25,333 ล้านบาท ช่วงคูคต-ลำลูกกา 7 กม. วงเงิน 11,989 ล้านบาท และสมุทรปราการ-บางปู 7 กม. วงเงิน 13,344 ล้านบาท ต้องรอประเมินปริมาณผู้โดยสาร หลังเปิดหมอชิต-คูคต ตั้งเป้า 330,000 เที่ยวคน/วัน และแบริ่ง-สมุทรปราการ 160,000 เที่ยวคน/วัน

นับถอยหลังเปิดสีแดง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากพลเอกประยุทธ์จะเปิดรถไฟฟ้าสายใหม่แล้ว เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 ได้นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลงพื้นที่ดูความคืบหน้าการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และนั่งทดสอบรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ก่อนจะเปิดทดลองใช้เดือน ก.ค. และบริการเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 2564

โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ใช้เงินก่อสร้างสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต 1 แสนล้านบาท โดยมีสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบราง หากเปิดปี 2564 จะเป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดของไทยและอาเซียน มีพื้นที่ 274,192 ตร.ม. เป็นชุมทางรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง รถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูง

พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบบคมนาคมขนส่งทางราง” เป็นรูปแบบการเดินทางขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงทุกภูมิภาคทั่วประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตั้งแต่รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อเชื่อมภูมิภาคในไทยและประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

“สถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจตลอดแนวเส้นทาง โดยเฉพาะย่านบางซื่อของการรถไฟฯได้มีแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ควบคู่ไปกับสถานีกลางบางซื่อ”


บางซื่อฮับอาเซียน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีแดงมี 13 สถานี รวมสถานีกลางบางซื่อ คงเหลืองานระบบและจัดเตรียมอบรมบุคลากรในการบริหารและซ่อมบำรุงมีความก้าวหน้า 89.10% คาดว่าจะทดสอบเดินรถเสมือนจริงเดือน มี.ค. จากนั้นเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการเดือน ก.ค. และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 2564 คาดว่ามีผู้ใช้บริการ 86,000 เที่ยวคน/วัน

โดยให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัทลูกเป็นผู้เดินรถ ส่วนการบริหารสถานีกลางบางซื่อ ในระยะแรกทาง ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้บริหาร

จ่อขยายสายสีแดง
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ชะลอการเปิดประมูลรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายที่ได้รับอนุมัติจาก ครม.เมื่อปี 2562 เนื่องจากมีนโยบายจากกระทรวงคมนาคมจะนำงานก่อสร้างของส่วนต่อขยายไปรวมกับหนี้ของสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต และให้เอกชนรับสัมปทานเดินรถและพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ และสถานีในแนวเส้นทางของสายสีแดงทั้งโครงการ ในรูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 30-50 ปี วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท จะศึกษาเสร็จใน ก.ค. เสนอ ครม.อนุมัติเดือน ส.ค.-พ.ย. และคัดเลือกเอกชนในเดือน ธ.ค. 2564-ม.ค. 2565 ได้เอกชนในเดือน ธ.ค. 2565

สำหรับส่วนต่อขยายที่รอประมูล วงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาท ได้แก่ ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม.วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และสาย Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

ทำเลใหม่สายสีแดงจะมีอานิสงส์แก่คอนโดมิเนียมบิ๊กแบรนด์จำนวนมากที่ขึ้นโครงการไว้แล้วทั้งสองข้างทาง รวมถึงห้างเกตเวย์ ย่านเตาปูนของตระกูล “สิริวัฒนภักดี”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2020 9:12 pm    Post subject: Reply with quote

BRT ยกระดับ รังสิต-ธัญบุรี?
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 16 ธันวาคม 2563 - 21:02 น.

จะดีมั้ย ถ้าจะทำ BRT ยกระดับ รังสิต-ธัญบุรี ร่วมกับทางยกระดับ ปทุมธานี-รังสิต-คลอง 7 เชื่อมต่อและเป็น Feeder ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงรังสิต ตัวอย่างจาก BRT เฉินตู ประเทศจีน
จากเมื่อวานที่ผมได้ไปเยี่ยมชมสถานีกลางบางซื่อ และทดสอบเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง กับนายก และครม.
ซึ่งมีส่วนหนึ่งของโครงการซึ่งเป็นจุดที่ทางโครงการได้นำเสนอนายก แต่คนไม่ให้ความสนใจ คือแผนการเชื่อมโยงรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีรถไฟฟ้ารังสิต
ถ้าใครได้เคยไปแถวนั้นจะรู้ว่าเป็นพืนที่รถติดนรกแตกมาก ติดทั้งวัน แล้วที่ใครบอกว่า เชื่อมต่อฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายรถตู้ และรถโดยสารของปริมณฑลด้านหนือได้ ขอบอกเลยว่า ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เดินไม่ได้แน่นอน
ดังนั้นการที่จะพัฒนาให้สถานีรังสิตสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ต้องมีการปรับปรุงเส้นทางเข้า-ออก และมีระบบขนส่งมวลชนเข้ามาในพื้นที่เพื่อส่งเสริมการใช้งานให้กับประชาชน
—————————
ซึ่งในโครงการได้วางแผนการพัฒนาการเชื่อมต่อไว้ 3 ระยะคือ
- ระยะสั้น ทำตุ๊กๆ ไฟฟ้า Feeder (อย่าขำนะ เขียนในบอร์ดนำเสนอนายกจริงๆ) ทั้งหมด 3 เส้นทางคือ
1. สถานีรังสิต-หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี
2. สถานีรังสิต-ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต (คนแน่นแน่!!)
3. สถานีรังสิต-ตลาดรังสิต
พร้อมเปิดให้บริการ มิถุนายน 64 พร้อมทดสอบรถไฟฟ้าสายสีแดง
- ระยะกลาง ปรับปรุงผิวจราจร และสร้างสะพานกลับรถใหม่เพื่อให้เชื่อมระหว่างฝั่ง ตลาดรังสิต และฝั่งถนนเลียบทางรถไฟ
จะแล้วเสร็จ พฤศจิกายน 64 พร้อมเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์
- ระยะยาว ทำระบบขนส่งมวลชน Feeder หลัก เชื่อมโยง ปทุม-รังสิต-ธัญบุรี
โดยในแผนยังไม่สรุปว่าจะใช้ระบบไหนระหว่าง BRT หรือ Monorail ซึ่งถ้าเป็น BRT ระดับดินแบบ BRT พระราม 3 คงติดนรกแตกแน่นอน
แต่!!!! บนถนนรังสิต-นครนายก มีโครงการทางยกระดับ จากรังสิต-คลอง 7 เพื่อแก้ปัญหาจราจร
ตามลิ้งค์รายละเอียดนี้
https://youtu.be/BNiz4yx-3m4
ซึ่งจะทับซ้อนกันกับ เส้นทางที่เราพูดถึงอยู่นี่ แต่ถ้าเป็นรูปแบบโครงการทั่วไป เขตทางมันเพียงพอให้ทำแค่อย่างเดียวเท่านั้น จะทางยกระดับ หรือ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต้องเลือกซักอย่าง
ผมเลยขอเสนอ ระบบ BRT ยกระดับ ร่วมกับโครงการทางยกระดับ รังสิต-ธัญบุรี-คลอง 7 เพื่อบูรณาการถนน และขนส่งมวลชนร่วมกัน
—————————
รูปแบบโครงการ ระบบ BRT ยกระดับ ร่วมกับโครงการทางยกระดับ รังสิต-ธัญบุรี-คลอง 7
โครงการนี้ผมเอาตัวอย่างมาจาก BRT เฉิงตู เสฉวน ประเทศจีน ซึ่งสร้างอยู่ร่วมกับโครงการทางยกระดับ วงแหวนรอบที่ 2 ของเมืองเฉิงตู
ต้องบอกก่อนว่า BRT ยกระดับไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้กระทั่ง มาเลเซีย ก็มีให้บริการเหมือนกัน
แต่ของเฉิงตู เป็นการก่อสร้างโครงการ BRT ร่วมกับ ทางด่วนไปเลย ได้ทั้งระบบขนส่งมวลชน และแก้ปัญหาจราจรทางถนน
คลิปการให้บริการของ BRT เฉิงตู
https://youtu.be/xTqvxCgR1oE
- รูปแบบของทางยกระดับ
ก็เหมือนกับทางยกระดับ(ทางด่วน) บ้านเราธรรมดานี่เลย แค่ช่วงกลางของทางวิ่งทั้งขาไปและขากลับ ห่างกันประมาณ 3 เมตร เพื่อจะเว้นที่เพื่อไว้ในการก่อสร้างชานชาลาสถานี BRT ที่จะจอดอยู่บนชั้นทางยกระดับ
- รูปแบบสถานี
จะเชื่อมต่อกับสะพานลอยข้ามถนนด้านล่าง แล้วทำบันไดและบันไดเลื่อน เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถขึ้นไปบนชานชาลาทั้งขาไปและกลับได้ โดยขาไปและกลับ จะอยู่คนละชานชาลากัน ขึ้นบันไดเลื่อนคนละตัว
- เลนทางวิ่ง BRT
เป็นเลนแยกโดยสมบูรณ์ ไม่มีจราจรอื่นเข้ามาร่วมในทาง และไม่มีไฟแดง โดยจีนใช้สัญญาป้ายห้ามเข้า
แต่สำหรับบ้านเรา ผมว่าต้องใช้อุปกรณ์กั้นแบบถาวร เช่นแบริเอร์ หรือ ก้อนกันทางแบบ BRT พระราม 3 ในปัจจุบัน
รายละเอียด และแหล่งที่มาภาพ
https://photos.fareast.mobi/cmt?cmtt=1800&cmtc=4
http://www.brt.cl/preview-chengdu-brt-stations-and.../
—————————
ดังนั้นถ้าเราเอารูปแบบนี้มาใช้ในโครงการเชื่อม สถานีรังสิต-ธัญบุรี-คลอง 7 และ สถานีรังสิต-ปทุม
เราจะสามารถบูรณาการระบบขนส่งมวลชน และการแก้ปัญหาจราจรได้ด้วยกันในครั้งเดียวเลย
โดยจะใช้เขตทางพัฒนาโครงการร่วมกับโครงการอื่น ได้แก่
- ช่วงต่างระดับบางพูน - คลอง 7 จะใช้เขตทางร่วมกับทางยกระดับใหม่
โดยทำทางแยกเข้าสถานีรถไฟรังสิตเฉพาะ BRT แยกออกจากทางยกระดับ
รายละเอียดโครงการ
https://youtu.be/BNiz4yx-3m4
- ช่วง ต่างระดับบางพูน-แยกเซ็นคาลอส จะใช้เขตกลางถนน ซึ่งเป็นพื้นที่ถนนเก่าแต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ และเป็นที่จัดสวนอยู่ แต่ต้องไม่มีจุดตัดทางแยกระดับดิน
- ช่วง แยกเซ็นคาลอส-เมืองปทุม จะใช้เขตทางร่วมกับถนน CD Road ใหม่ ตามโครงการถนนราชพฤกษ์-สะพานปทุม 3 ที่กำลังจะก่อสร้างไวๆนี้
รายละเอียดโครงการ
http://www.pathum3-bridge.com
ทั้งหมดในโครงการที่เห็น ผมว่าเป็นไปได้ และเป็นการใช้เงินได้คุ้มค่าพร้อมแก้ปัญหาทั้งหมด
—————————
ผมอยากให้ลองเปิดใจกับระบบ BRT อีกซักที
ที่เรามอง BRT ไม่เหมาะกับบ้านเรา เพราะเราไม่ได้พัฒนาที่เหมาะสมเป็น Exclusive lane อย่างสมบูรณ์แบบ เลยเป็นภาพจำที่ทำให้โครงการ BRT ของบ้านเราพับไปหมด ทั้งๆที่บางจุดมันก็เหมาะกับ BRT มากกว่าระบบรางครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2020 3:43 pm    Post subject: Reply with quote

"อีก3ปีกรุงเทพฯ จะเป็นมหานครระบบรางอันดับ 3 ของโลกจริงหรือ?"
วันที่ 18 ธันวาคม 2563 - 08:24:40


สามารถ ราชพลสิทธิ์ เผย 10อันดับเมืองที่มีเส้นทางรถไฟฟ้ายาวที่สุดในโลกในปี 2563 สะท้อนอีก 3 ปี กรุงเทพฯ จะเป็นมหานครระบบรางอันดับ 3 ของโลกจริงหรือ?
https://www.youtube.com/watch?v=Ltaev4hQlks
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2020 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ตรวจเข้มมาตรการลดฝุ่นละออง PM 2.5 พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 18:02 น.




รฟม.ลงพื้นที่คุมเข้มผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 โครงการ ปฏิบัติมาตรการลดฝุ่นละออง PM 2.5 ทุกข้อ ทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้าง และล้างถนนกำจัดฝุ่น ติดตั้งเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำแรงดันสูงตามแนวเส้นทางก่อสร้าง

วันนี้ (21 ธ.ค.) นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานตามมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ช่วงสถานีลำสาลี ถึงสถานีรามคำแหง และพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ช่วงสถานีรัชดา ถึงสถานีลำสาลี

นายกิตติกร กล่าวว่า รฟม. ได้กำหนดมาตรการลดผลกระทบด้านฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งมีการก่อสร้างในพื้นที่ถนนสำคัญ ได้แก่ ถนนรามคำแหง ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ ถนนรามอินทรา ถนนแจ้งวัฒนะ

โดยกำชับให้ผู้รับจ้างทุกโครงการปฏิบัติตามมาตรการด้านฝุ่นละอองที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA อย่างเคร่งครัด เช่น การล้างทำความสะอาดถนนเป็นประจำ การทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้าง การตรวจสอบสภาพเครื่องจักร/รถบรรทุก รวมทั้งได้ประสานขอความร่วมมือผู้รับจ้างงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง และติดตั้งเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำแรงดันสูงตามแนวเส้นทางพื้นที่ก่อสร้างบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น

นอกจากนี้ รฟม. ยังได้กำหนดให้ผู้รับจ้างจัดให้มีรถดูดฝุ่นเพื่อทำความสะอาดถนนสาธารณะตามแนวเส้นทางโครงการทุกวันเพื่อลดผลกระทบด้านฝุ่นละออง รวมทั้งประสานตำรวจจราจรอย่างใกล้ชิดในการจัดการจราจรปรับแนวเส้นทางที่มีการดำเนินการก่อสร้าง เพื่อช่วยให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านคล่องตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม รฟม.ขอเชิญชวนให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์ ซึ่ง รฟม. มีบริการอาคารและลานจอดรถตลอดแนวสายทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) รองรับการเดินทางต่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า MRT ซึ่งจะช่วยลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ได้อีกทางหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2020 11:44 am    Post subject: Reply with quote

กทพ. จ่อประมูลสร้างทางด่วน เกษตร-นวมินทร์ ตีคู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เปิดใช้ปี 68
เศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 2- ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:52 น.

กทพ. เผยปีหน้าเตรียมประมูลสร้างทางด่วน เกษตร-นวมินทร์ ตีคู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดใช้บริการปี 68

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2563 น.ส.กชพรรณ เข็มทอง ผู้อำนวยการกองวางแผนและวิเคราะห์โครงการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงทดแทน N1 และ N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก ว่า ขณะนี้ กทพ.ได้ ปรับแผนเป็นการก่อสร้างเฉพาะช่วง N2 แนวเส้นทางจากแยกเกษตรเชื่อมถนนกาญจนาภิเษก หรือทางพิเศษ (มอเตอร์เวย์) สาย 9 เป็นอันดับแรก

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

กทม. - ดันต่อทางด่วนผ่านม.เกษตรฯ
ปิดอีกที่! เตรียมรื้อตลาดหัวมุม เกษตร-นวมินทร์ เพื่อสร้างทางด่วน
กทพ. ทุ่ม 8 หมื่นล้าน ลุยสร้างทางด่วน เชื่อมรามอินทรา-นครนายก-สระบุรี คาดเสร็จปี 68
เบื้องต้นพัฒนาช่วง N2 ไปก่อน เพราะช่วง N1 ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องรูปแบบก่อสร้าง โดยจะมีการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต้นปี 2564 เพื่อพิจารณาปรับแก้มติ คจร.ที่ก่อนหน้านี้ให้ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกันทั้ง 2 ช่วง

น.ส.กชพรรณ กล่าวต่อว่า หาก คจร.เห็นชอบให้แก้ให้การแบ่งการพัฒนาโครงการเฉพาะช่วง N2 ได้ก่อนตามที่ กทพ. เสนอ คาดว่าจะเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้กลางปี 2564 เพื่อเริ่มกระบวนการประกวดราคาจัดหาเอกชนก่อสร้างได้ภายในปี 2564 และเริ่มงานก่อสร้างต้นปี 2565 ใช้เวลาก่อสร้างราว 3 ปี เปิดให้บริการภายในปี 2568




รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า กทพ.ได้เสนอแผนก่อสร้างโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือมายังกระทรวงฯ แล้ว โดยจะขอปรับแก้มติ คจร.เดิม ที่อนุมัติให้ประกวดราคาก่อสร้างพร้อมกัน 2 ช่วง คือ ทดแทน N1 ที่จะพาดผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ N2 ที่เป็นทางเชื่อมจากแยกเกษตร วิ่งไปตามถนนเกษตร-นวมินทร์ และสิ้นสุดถนนกาญจนาภิเษก

สำหรับแผนก่อสร้างใหม่ กทพ.จะเสนอให้ คจร.พิจารณาอนุมัติให้ ประกวดราคาและก่อสร้างเฉพาะช่วง N2 ก่อน เพราะช่วง N1 ยังติดปัญหารูปแบบก่อสร้าง ที่ยังตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ได้ว่า จะให้ก่อสร้างเป็นโดมครอบอยู่ด้านบนทางยกระดับ หรือสร้างอุโมงค์ทางลอด

อย่างไรก็ตาม หาก คจร.อนุมัติช่วง N2 กทพ.จะก่อสร้างงานฐานรากทางด่วนไปพร้อมกับฐานรากของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กทพ.จะเป็นผู้ประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างฐานรากของทั้งสองโครงการ และเรียกจัดเก็บค่าก่อสร้างจาก รฟม.ในภายหลัง เพราะทั้งสองโครงการจะใช้ฐานรากร่วมกันตามแนวก่อสร้างทางด่วน N2

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า แนวเส้นทางช่วง N2 จะมีจุดเริ่มต้นโครงการ ทางขึ้น-ลงแห่งที่ 1 อยู่บริเวณถนนเกษตร-นวมินทร์ เลยทางลอดอุโมงค์เกษตรมาราว 200 เมตร หรืออยู่ช่วงก่อนถึงตึก RS หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะคร่อมไปตามถนนเกษตร-นวมินทร์ ก่อนจะเป็นทางแยกเชื่อมไปยังทางต่างระดับฉลองรัช และไปสิ้นสุดโครงการเชื่อมเข้าสู่มอเตอร์เวย์ สาย 9 โดยจะเป็นโครงการที่จะเชื่อมต่อการเดินทางฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ ช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดได้มาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2020 2:14 am    Post subject: Reply with quote

เปิด 3 สาเหตุ ทำไมคนไทยใช้บริการ “รถไฟฟ้า” น้อย
วันอาทิตย์ ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13:02:12 น.

อัปเดตรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการระยะทาง 168 กิโลเมตร 126 สถานี ผุดรถไฟฟ้าสายสีเขียว-สีทอง ดันกรุงเทพฯเป็นมหานครระบบราง

สาเหตุที่มีผู้ใช้รถไฟฟ้าน้อยมีดังนี้

1. ค่าโดยสารแพง
การทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงเป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลจะต้องแก้ไข ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะรถไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เป้าหมายของภาคเอกชนในการร่วมลงทุนก็คือทำกำไร

2. ขาดระบบเชื่อมต่อที่ดี

ระบบเชื่อมต่อหรือระบบขนส่งเสริม (Feeder Transport) มีบทบาทสำคัญในการจูงใจให้มีผู้มาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เพราะจะทำให้การเดินทางเข้า-ออกสถานีรถไฟฟ้ามีความสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของรถเมล์ซึ่งเป็นระบบขนส่งเสริมที่สำคัญทั้งเรื่องเส้นทางและตัวรถที่ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรม ให้มีเส้นทางที่สอดรับกับเส้นทางรถไฟฟ้า และมีตัวรถที่ใหม่สะอาดสะอ้านน่าใช้บริการ เราจะต้องไม่ลืมว่า "ไม่มีเมืองใดในโลกที่สามารถใช้รถไฟฟ้าให้ได้ผลถ้าไม่มีรถเมล์ที่มีประสิทธิภาพมารองรับ รถเมล์และรถไฟฟ้าต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน" - ข้อนี้สำคัญนัก

3. ที่จอดรถบริเวณสถานีรถไฟฟ้า

การไม่มีที่จอดรถรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานี และ/หรืออาคารจอดรถที่เรียกกันว่า "อาคารจอดแล้วจร" ใกล้กับสถานี เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีผู้ใช้รถไฟฟ้าน้อย ดังนั้น ในขั้นตอนการศึกษาและออกแบบ ผู้รับผิดชอบจะละทิ้งปัจจัยนี้ไม่ได้ จริงๆ มี park and ride แต่มีไม่ทุกสถานี

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี ต้องการร่วมผลักดันให้กรุงเทพฯ ที่รักของเราเป็นมหานครแห่งระบบรางชั้นนำของโลก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 227, 228, 229 ... 277, 278, 279  Next
Page 228 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©