Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181512
ทั้งหมด:13492750
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2020 3:02 pm    Post subject: Reply with quote

"สถานีกลางบางซื่อ" อลังการงานสร้าง ศูนย์กลางระบบรางใหญ่ที่สุดในอาเซียน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13:56



สถานีกลางบางซื่อใกล้พร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2564 นี้แล้ว หลังจากก่อสร้างเกือบแล้วเสร็จ 100% โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการในเดือนกรกฎาคม 2564 และจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ขับเคลื่อนให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมและการขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

สำหรับ “สถานีกลางบางซื่อ” จะเป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของไทย ที่จะรวมรถไฟในทุกๆระบบ ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางไกล สายเหนือ อีสาน ใต้ ตะวันออก ตะวันตก รถไฟสายสีแดง แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และยังเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร


ตัวอาคารของสถานีกลางบางซื่อ เป็นอาคารสูง 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 274,192 ตารางเมตร
ชั้นใต้ดินเป็นพื้นที่จอดรถ สามารถจอดรถได้ถึง 1,624 คัน ใช้งบประมาณก่อสร้างมากถึง 34,142 ล้านบาท
ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว พื้นที่พักคอยผู้โดยสาร เขตร้านค้า พื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และจุดเชื่อมต่อรถโดยสาร ขสมก. และ บขส.
ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา
ชั้นที่ 3 เป็นชานชาลาสำหรับรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน และชานชาลารถไฟความเร็วสูง แบ่งเป็นชานชาลาสำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวน 4 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 12 ชานชาลา


ถนนทางเข้าออกสู่สถานีกลางบางซื่อสามารถเข้าได้หลายทิศทาง เชื่อมต่อกับทางด่วนพิเศษ มีพื้นที่รองรับรถโดยสารประจำทางและรถรับจ้างสาธารณะ มีพื้นที่สวนสาธารณะ พร้อมบึงน้ำขนาดใหญ่



นอกจากนั้น “สถานีกลางบางซื่อ” ยังถือเป็น “Grand Station” แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ขึ้นแท่นเป็นสถานีศูนย์กลางระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ล้มแชมป์ “สถานี KL Sentral” ของประเทศมาเลเซีย และมีความทันสมัยไม่ต่างจากสถานีกลางรถไฟในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา หรือประเทศในแถบยุโรปเลยทีเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2020 2:02 am    Post subject: Reply with quote




เพื่อนบ้านพูดถึง Bang Sue Grand Central
https://www.youtube.com/watch?v=gQ4UB7ro3F4
https://www.youtube.com/watch?v=-BCy7JE1djs
https://www.youtube.com/watch?v=8CsPBF1lF7o
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/12/2020 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

รีวิว 'สถานีกลางบางซื่อ' 3 หมื่นล้าน สุดอลังการ...ฮับระบบรางอาเซียน
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เปิดให้ "นายกฯประยุทธ์-คณะรัฐมนตรี" ยลโฉมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา สำหรับ "สถานีกลางบางซื่อ" ที่สร้างสรรค์ผลงานโดย "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" เนรมิตที่ดิน 487 ไร่ ด้วยวงเงินกว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุด

งานนี้ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำทีม ผู้บริหารกรมกองต่าง ๆ โดยเฉพาะ "ร.ฟ.ท." เจ้าภาพหลัก เป็นทัพหน้า พาทัวร์ทุกซอกทุกมุม

ก่อนจะพาคณะนายกฯประยุทธ์ทดลองนั่งรถไฟชานเมืองสายสีแดงขบวนพิเศษ จาก "สถานีกลางบางซื่อ" ต้นทาง ยิงยาว เข้าสู่ "สถานีรังสิต" สถานีปลายทาง โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที แต่ถ้าวิ่งบริการจริง ๆ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีเท่านั้น

หลังจบทริป "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า โครงการนี้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งใช้เวลาลงทุนก่อสร้างยาวนาน รัฐบาลคิดเสมอว่าทำอย่างไรประชาชนจะได้ประโยชน์ ทุกสิ่งได้วางยุทธศาสตร์ชาติไว้หมดแล้ว โดยการขนส่ง ทางรางรัฐบาลนี้เน้นเป็นพิเศษ เพื่อความสะดวกในการเดินทาง ของประชาชน และเกิดการเชื่อมโยงการเดินทางในภูมิภาคอาเซียน

"รัฐบาลเร่งรัดระบบรางทั้งในเขตเมือง รถไฟฟ้าสายสีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหลือง สีชมพู และสายสีส้ม รถไฟความเร็วสูง 2 สาย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เราทำหมด ซึ่งทั้งหมด ถือเป็นก้าวแรกเท่านั้น มีอีกหลายก้าวที่ต้องไปต่อ"

สำหรับ "สถานีกลางบางซื่อ" พลเอกประยุทธ์ย้ำว่า ถือเป็นศูนย์กลางเดินทางด้วยรถไฟยุคใหม่ของประเทศไทย ถ้าเทียบกับรถไฟชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือว่าไทยไม่ได้ด้อย ไปกว่าเขาเลย

ย้อนดูงานก่อสร้าง "สถานีกลางบางซื่อ" รวมอยู่ในสัญญาที่ 1 ของรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ใช้เงินก่อสร้างไปกว่า 34,000 ล้านบาท จากเริ่มต้นตอกเข็มต้นปี 2556 ถึงวันนี้ งานก่อสร้างเสร็จแล้ว 100% แต่ในช่วงเปิดให้บริการแรก ๆ ในเดือน ก.ค. 2564 จะยังไม่มีร้านค้าเชิงพาณิชย์เปิดให้บริการ มีเพียงการจ้างแม่บ้าน-รปภ.เท่านั้น

ซึ่งค่าบริหารจัดการนี้ "ร.ฟ.ท." คิดเป็นต้นทุนต้องจ่ายประมาณ 50 ล้านบาท/เดือน หรือปีละ 600 ล้านบาท ส่วนจะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์เมื่อไหร่นั้น ต้องรอสรุปผลศึกษารูปแบบการลงทุน PPP ที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะเปิดให้เอกชนรับสัมปทานเดินรถสายสีแดงทั้งโครงการรวมถึงพื้นที่สถานีในแนวเส้นทาง และสถานีกลางบางซื่อด้วย

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า แม้งานโยธาจะเสร็จ 100% แต่ยังต้องเก็บงานเพิ่มเติม โดยเฉพาะระบบจ่ายไฟฟ้าที่ยังไม่เพียงพอ เพราะนอกจากการใช้ไฟฟ้าภายในสถานีกลางบางซื่อแล้ว ต้องเผื่อกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในการเดินรถไฟ ชานเมืองสายสีแดงด้วย โดยอยู่ระหว่างการหารือและแก้ปัญหาร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) คาดว่า น่าจะแก้ปัญหานี้ได้ทันพอดีกับช่วงเดือน ก.ค. 2564 จะเปิดให้บริการ

สำรวจภายในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อพบว่า เนื้องานภายใน แล้วเสร็จทั้งหมด เหลือเพียง การตกแต่งพื้นที่บางส่วน เล็กน้อย ทั้งหมดมี 5 ชั้น รวมชั้นใต้ดินและชั้นลอย มีพื้นที่ใช้สอยรวม 274,192 ตร.ม. ชั้นใต้ดินเป็นที่จอดรถ จำนวน 1,624 คัน

"พื้นที่ชั้น 1" เป็นชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร โถงพักคอย ร้านค้า ศูนย์อาหาร ห้องน้ำ และจะมีทางเดินไปยังจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

เมื่อขึ้นไปจะเป็น "ชั้นลอย" เป็นพื้นที่พาณิชยกรรม มีร้านค้า และห้องควบคุม ถัดไปเป็น "ชั้น 2" เป็นชานชาลา ของรถไฟชานเมืองสายสีแดงและรถไฟทางไกล ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.นำขบวนรถไฟฟ้ามาทดสอบระบบเป็นระยะ ๆ

สุดท้าย "ชั้นที่ 3" เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง 4 สาย เชื่อม 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ-โคราช, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา), กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯหัวหิน โดยพื้นที่บริเวณนี้จะยังไม่เปิดให้บริการจนกว่าจะมีรถไฟความเร็วสูงเปิดบริการ ยังไม่รู้จะเป็นปีไหน

เมื่อเลาะดูภายนอกสถานีกลางบางซื่อ บริเวณด้านหน้าทางเข้า มีติดตั้ง "นาฬิกาเลข ๙" เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตัวนาฬิกามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เมตร ติดตั้งบนผนังกระจกของทางเข้าสถานี สูงจากระดับพื้นดิน 21 เมตร ถือเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของที่นี่เลยก็ว่าได้

ขณะที่ลานกว้างและน้ำพุซึ่งอยู่ ถัดไปนั้น จะเป็นที่ประดิษฐานพระบรม ราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนี้ยังไม่ได้ มีการนำพระบรมราชานุสาวรีย์มาประดิษฐานแต่อย่างใด

ทั้งหมดเป็นเพียงการสแกนด้วย ตาเปล่าจากภาพที่เห็น รอลุ้นหลังเปิด ใช้จริงในเดือน พ.ย. 2564 จะใหญ่สุดหรู สมกับที่รอคอยกันหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2020 10:37 am    Post subject: Reply with quote

ใจความสำคัญ "สถานีกลางบางซื่อ"

คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง.
อังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 08.00 น.

สถานีกลางบางซื่อ...เผยโฉมเกือบ100 % ต่อสาธารณะชนเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมาหลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานีกลางบางซื่อพร้อมทดลองนั่งขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดงระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-สถานีรังสิต



เดือนก.ค.2564 ประชาชนจะได้ใช้สถานีกลางบางซื่อในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. ใช้เวลาประมาณ 25 นาที และช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ 15 กม. ใช้เวลาประมาณ 15 นาที รวมตลอดสาย 13 สถานีฟรี ใช้เวลาเดินทางแค่ 40นาที จากนั้นเดือนพ.ย. 2564 จะเก็บค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ 86,000 คนต่อวัน

สถานีกลางบางซื่อมีพื้นที่ทั้งหมด 2,475ไร่ ขณะที่สถานีกรุงเทพฯหรือหัวลำโพง มีพื้นที่ 120 ไร่ สภาพพื้นที่ไม่สามารถขยายสถานีได้ เพราะถูกล้อมรอบไปด้วยคลอง จะเห็นว่าพื้นที่กว้างขวางกว่าหลายเท่าตัว เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดใช้งานอย่างเต็มรูปแบบสถานีหัวลำโพงจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มส่วนทิศใต้ (บางซื่อ-หัวลำโพง) และบางส่วนของพื้นที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟไทย






พื้นที่ใช้สอยรวมของสถานีกลางบางซื่ออยู่ 304,000 ตารางเมตร โดยใช้งบประมาณก่อสร้าง 34,142 ล้านบาท มีทั้งหมด 24 ชานชาลา เป็นอาคาร 4 ชั้น ภายในสถานีกลางบางซื่อประกอบด้วย 3 ชั้นคือชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสารและจุดเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบรางในกรุงเทพฯ ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลา ประกอบด้วย รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา และชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน และชานชาลารถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) โดยจะรองรับผู้โดยสาร 624,000 คนต่อวัน ในปี 2575

เมื่อโดยสารรถไฟฟ้าหลากสีสามารถเดินทางเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อได้ ได้แก่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน อยู่ห่างประมาณ 300 เมตร เดินประมาณ 4 นาที  รถไฟฟ้าสายสีเขียวห่างประมาณ 1,000 เมตร เดินประมาณ 10 นาทีเท่ากับเวลาที่ฟังเพลง 2 เพลง รถไฟฟ้าสายสีม่วง ห่างประมาณ 1,000 เมตร เดินประมาณ 10 นาที รวมทั้งยังใกล้กับสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต ) นอกจากนี้ที่ตั้งของสถานีกลางบางซื่อยังสามารถใช้บริการทางด่วนศรีรัช และทางยกระดับอุตราภิมุข (โทลล์เวย์) ได้โดยสะดวก




สำหรับสถานีกลางบางซื่อมีพื้นที่ที่เป็นบึงน้ำรวม 14,000 ตารางเมตร มีชั้นใต้ดิน 72,000 ตารางเมตร จอดรถยนต์ได้ 1,681 คัน เป็นที่จอดรถผู้พิการ 19 คัน รวมทั้งหมด 1,700 คัน นอกจากนี้ยังมีห้องน้ำถึง713ห้อง

งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ มีทั้งหมด 3 สัญญา ขณะนี้สัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง เสร็จ 100% ส่วนสัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต เสร็จ 100% ขณะที่สัญญา 3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหารถตู้ไฟฟ้าสำหรับช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน คืบหน้า 89.10% ยังเหลืองานทดสอบระบบรวมทุกระบบ อย่างไรก็ตามในส่วนของสถานีกลางบางซื่อยังได้เตรียมพร้อมวางระบบรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง,สุวรรณภูมิ,อู่ตะเภา คาดว่าจะเปิดบริการในปี 2571 ) ไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแค่สร้างคานยกระดับเข้ามาเชื่อมต่อเท่านั้น

สถานีกลางบางซื่อแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและศูนย์กลางระบบรางที่ใหญ่สุดในอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2020 9:46 pm    Post subject: Reply with quote

รีวิว “สถานีกลางบางซื่อ” 3 หมื่นล้าน สุดอลังการ…ฮับระบบรางอาเซียน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 ธันวาคม 2563 - 13:00 น.


เปิดให้ “นายกฯประยุทธ์-คณะรัฐมนตรี” ยลโฉมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา สำหรับ “สถานีกลางบางซื่อ” ที่สร้างสรรค์ผลงานโดย “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” เนรมิตที่ดิน 487 ไร่ ด้วยวงเงินกว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุด

งานนี้ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำทีมผู้บริหารกรมกองต่าง ๆ โดยเฉพาะ “ร.ฟ.ท.” เจ้าภาพหลัก เป็นทัพหน้าพาทัวร์ทุกซอกทุกมุม

ก่อนจะพาคณะนายกฯประยุทธ์ทดลองนั่งรถไฟชานเมืองสายสีแดงขบวนพิเศษ จาก “สถานีกลางบางซื่อ” ต้นทาง ยิงยาวเข้าสู่ “สถานีรังสิต” สถานีปลายทาง โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที แต่ถ้าวิ่งบริการจริง ๆ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีเท่านั้น

หลังจบทริป “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า โครงการนี้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งใช้เวลาลงทุนก่อสร้างยาวนาน รัฐบาลคิดเสมอว่าทำอย่างไรประชาชนจะได้ประโยชน์ ทุกสิ่งได้วางยุทธศาสตร์ชาติไว้หมดแล้ว โดยการขนส่งทางรางรัฐบาลนี้เน้นเป็นพิเศษ เพื่อความสะดวกในการเดินทางของประชาชน และเกิดการเชื่อมโยงการเดินทางในภูมิภาคอาเซียน

“รัฐบาลเร่งรัดระบบรางทั้งในเขตเมือง รถไฟฟ้าสายสีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหลือง สีชมพู และสายสีส้ม รถไฟความเร็วสูง 2 สาย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เราทำหมด ซึ่งทั้งหมดถือเป็นก้าวแรกเท่านั้น มีอีกหลายก้าวที่ต้องไปต่อ”




สำหรับ “สถานีกลางบางซื่อ” พลเอกประยุทธ์ย้ำว่า ถือเป็นศูนย์กลางเดินทางด้วยรถไฟยุคใหม่ของประเทศไทย ถ้าเทียบกับรถไฟชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือว่าไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าเขาเลย

ย้อนดูงานก่อสร้าง “สถานีกลางบางซื่อ” รวมอยู่ในสัญญาที่ 1 ของรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ใช้เงินก่อสร้างไปกว่า 34,000 ล้านบาท จากเริ่มต้นตอกเข็มต้นปี 2556 ถึงวันนี้ งานก่อสร้างเสร็จแล้ว 100% แต่ในช่วงเปิดให้บริการแรก ๆ ในเดือน ก.ค. 2564 จะยังไม่มีร้านค้าเชิงพาณิชย์เปิดให้บริการ มีเพียงการจ้างแม่บ้าน-รปภ.เท่านั้น

ซึ่งค่าบริหารจัดการนี้ “ร.ฟ.ท.” คิดเป็นต้นทุนต้องจ่ายประมาณ 50 ล้านบาท/เดือน หรือปีละ 600 ล้านบาท ส่วนจะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์เมื่อไหร่นั้น ต้องรอสรุปผลศึกษารูปแบบการลงทุน PPP ที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะเปิดให้เอกชนรับสัมปทานเดินรถสายสีแดงทั้งโครงการรวมถึงพื้นที่สถานีในแนวเส้นทางและสถานีกลางบางซื่อด้วย

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า แม้งานโยธาจะเสร็จ 100% แต่ยังต้องเก็บงานเพิ่มเติม โดยเฉพาะระบบจ่ายไฟฟ้าที่ยังไม่เพียงพอ เพราะนอกจากการใช้ไฟฟ้าภายในสถานีกลางบางซื่อแล้ว ต้องเผื่อกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงด้วย โดยอยู่ระหว่างการหารือและแก้ปัญหาร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) คาดว่าน่าจะแก้ปัญหานี้ได้ทันพอดีกับช่วงเดือน ก.ค. 2564 จะเปิดให้บริการ



สำรวจภายในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อพบว่า เนื้องานภายในแล้วเสร็จทั้งหมด เหลือเพียงการตกแต่งพื้นที่บางส่วนเล็กน้อย ทั้งหมดมี 5 ชั้น รวมชั้นใต้ดินและชั้นลอย มีพื้นที่ใช้สอยรวม 274,192 ตร.ม. ชั้นใต้ดินเป็นที่จอดรถ จำนวน 1,624 คัน

“พื้นที่ชั้น 1” เป็นชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร โถงพักคอย ร้านค้า ศูนย์อาหาร ห้องน้ำ และจะมีทางเดินไปยังจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

เมื่อขึ้นไปจะเป็น “ชั้นลอย” เป็นพื้นที่พาณิชยกรรม มีร้านค้า และห้องควบคุม ถัดไปเป็น “ชั้น 2” เป็นชานชาลาของรถไฟชานเมืองสายสีแดงและรถไฟทางไกล ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.นำขบวนรถไฟฟ้ามาทดสอบระบบเป็นระยะ ๆ

สุดท้าย “ชั้นที่ 3” เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง 4 สาย เชื่อม 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ-โคราช, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา), กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยพื้นที่บริเวณนี้จะยังไม่เปิดให้บริการจนกว่าจะมีรถไฟความเร็วสูงเปิดบริการ ยังไม่รู้จะเป็นปีไหน



เมื่อเลาะดูภายนอกสถานีกลางบางซื่อ บริเวณด้านหน้าทางเข้า มีติดตั้ง “นาฬิกาเลข ๙” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตัวนาฬิกามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เมตร ติดตั้งบนผนังกระจกของทางเข้าสถานี สูงจากระดับพื้นดิน 21 เมตร ถือเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของที่นี่เลยก็ว่าได้

ขณะที่ลานกว้างและน้ำพุซึ่งอยู่ถัดไปนั้น จะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนี้ยังไม่ได้มีการนำพระบรมราชานุสาวรีย์มาประดิษฐานแต่อย่างใด

ทั้งหมดเป็นเพียงการสแกนด้วยตาเปล่าจากภาพที่เห็น รอลุ้นหลังเปิดใช้จริงในเดือน พ.ย. 2564 จะใหญ่สุดหรูสมกับที่รอคอยกันหรือไม่
สถานีกลางบางซื่อ บริหารให้ดี อย่าให้เสียของ
โดย ประเสริฐ จารึก
คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ
วันที่ 26 ธันวาคม 2563 - 08:36 น.

หลังจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หอบคณะรัฐมนตรีทัวร์รถไฟชานเมืองสายสีแดงจากสถานีกลางบางซื่อ-รังสิต

น่าจะเป็นการการันตี ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 คนกรุงเทพฯและปทุมธานี จะได้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” แน่นอน หลังใช้เวลาสร้างมาราธอนกว่า 10 ปี

แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ รัฐบาลต้องขยายกรอบวงเงินก่อสร้างให้ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” เดินหน้าโครงการถึง 5 ครั้ง มาจากหลายสาเหตุ ทั้งรับเหมาเสนอราคาเกินกรอบราคากลาง มีปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ รับรถไฟความเร็วสูง

ทำให้เงินลงทุนโครงการ ขยับจากครั้งแรก 52,220 ล้านบาท เป็น 93,950 ล้านบาท ล่าสุดอาจมีแนวโน้มจะทะลุ 1 แสนล้านบาท หากกระทรวงคมนาคมอนุมัติขยายกรอบวงเงินให้เป็นครั้งที่ 6 อีก 10,345 ล้านบาท ตามที่ ร.ฟ.ท.ขอเพิ่ม

ซึ่งการขอเงินเพิ่มครั้งนี้ไม่ง่าย ด้วยจำนวนเงินที่สูง ทำให้ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคมนาคม สั่งรีเช็กเนื้องานและมูลค่างานที่โป่งขึ้นมาอย่างละเอียด ก่อนจะตีเช็คจ่ายให้ผู้รับเหมา

แต่จะไม่นำปัญหาที่ยังเคลียร์ไม่จบ มาผูกติดกับการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดง หลัง ร.ฟ.ท.มั่นใจ พร้อมเปิดบริการได้ตามแผน จะเปิดทดลองให้ประชาชนใช้ฟรีในเดือนกรกฎาคม และเปิดเชิงพาณิชย์เก็บค่าโดยสารในเดือนพฤศจิกายน 2564



การมาหาของรถไฟฟ้าสายสีแดงในปีหน้า นอกจากจะทำให้การเดินทางสะดวกแล้ว ยังทำให้ “สถานีกลางบางซื่อ” เป็นที่รู้จักของโลก เพราะจะเป็นสถานีรถไฟและศูนย์กลางระบบรางที่ใหญ่ที่สุดของไทยและอาเซียน

โดย ร.ฟ.ท.จะย้ายการเดินรถที่ “สถานีหัวลำโพง” มาอยู่ที่ชุมทางบางซื่อทั้งหมด กลายเป็นหัวลำโพง 2 แต่จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีนับจากนี้

ทำให้การเปิดใช้ “สถานีกลางบางซื่อ” ไม่เพียงจะพลิกโฉมการเดินทางให้เชื่อมโยงกันด้วยระบบรางแล้ว

ว่ากันว่า จะเปลี่ยนฮวงจุ้ยกรุงเทพฯในรอบ 200 ปี จากการพัฒนาทางด้านใต้ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ บริเวณสถานีหัวลำโพง ย้ายมาอยู่ทางด้านเหนือที่ย่านบางซื่อ ซึ่งต่อไปจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ หรือดาวน์ทาวน์ ส่วนหัวลำโพงจะเป็นโอลด์ทาวน์

สำหรับ “สถานีกลางบางซื่อ” อยู่ในสัญญาที่ 1 ของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต มีกลุ่มกิจการร่วมค้าซิโน-ไทยฯ-ยูนิคฯ เป็นผู้ก่อสร้าง 34,142 ล้านบาท สร้างบนพื้นที่ 487 ไร่ เป็นอาคาร 5 ชั้น รวมชั้นใต้ดินและชั้นลอย มีพื้นที่ใช้สอย 274,192 ตารางเมตร

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกการเปิดให้บริการ “สถานีกลางบางซื่อ” จะทำหน้าที่เป็นเพียงจุดขึ้นลงของรถไฟฟ้า รถไฟทางไกล รถไฟชานเมืองเท่านั้น ยังไม่มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ไว้บริการ

ต้องรอ ร.ฟ.ท.คัดเลือกเอกชนมาบริหารจัดการพื้นที่สถานี ที่จะนำไปรวมไว้กับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่จะมีการคัดเลือกเอกชนมาลงทุน PPP ในปี 2565

ขณะที่การเปิดบริการสถานีจะเปิดถึงแค่ชั้น 2 ซึ่งเป็นชานชาลารถไฟทางไกลและชานเมืองเท่านั้น ส่วนชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง จะยังปิดตายไปอีกอย่างน้อย 4 ปีขึ้นไป

รอจนกว่ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) สร้างเสร็จเปิดบริการ

แต่ถึงจะยังไม่เปิดบริการ “ร.ฟ.ท.” ต้องเสียเงินค่าบำรุงรักษา เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน ที่จะต้องมีการเช็กอัพระบบ ซึ่งประเมินว่าจะมีค่าใช้จ่ายไม่สูง ประมาณปีละ 2-3 ล้านบาท

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ การบริหารจัดการพื้นที่ทั้งสถานีที่ ร.ฟ.ท.จะต้องเป็นผู้ดำเนินการในช่วงแรก ระหว่างรอเอกชนมืออาชีพมาดำเนินการ

ด้วยขนาดสถานีที่ใหญ่โต ต้องใช้คนจำนวนมากมาดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นแม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย โดย ร.ฟ.ท.ประเมินว่าจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านบาท/เดือน

แต่เนื่องจากสถานีกลางบางซื่อ ไหน ๆ ก็สร้างจนใหญ่ที่สุดในอาเซียนแล้ว การบริหารจัดการก็ต้องดีด้วย แต่ด้วยสไตล์การทำงานของ ร.ฟ.ท.ที่ผ่านมา จึงทำให้คนไม่อยากเห็นสภาพเป็นเหมือนหัวลำโพง หรือสถานีขนส่งหมอชิต

งานนี้ต้องวัดฝีมือ ร.ฟ.ท.จะลบภาพจำนี้ได้หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2020 10:12 pm    Post subject: Reply with quote

การเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง => สีน้ำเงิน ในสถานีกลางบางซื่อ ไกลจริงมั้ย ผู้โดยสารจะสะดวกแค่ไหน!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 28 ธันวาคม 2563 - 21:22 น.

วันนี้ขอกลับมาพูดถึงเรื่องการทดลองใช้งานของสถานีกลางบางซื่อกันบ้าง
มีหลายๆคนถามมาตั้งแต่ช่วง Live ทดลองใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ว่าการเชื่อมต่อระหว่าง รถไฟฟ้าสายสีแดง กับสายสีน้ำเงิน มันจะสะดวกกับผู้โดยสารจริงๆรึเปล่า มีสิ่งอำนวยความสะดวก มากน้อยขนาดไหน
ผมเลยเอาคลิปที่ไปถ่ายเอาไว้ในวันที่ทดลองรถไฟฟ้าสายสีแดง มาให้เพื่อนๆชมกันหน่อย
ซึ่งขอตอบเลยว่า การเชื่อมต่อ ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีน้ำเงิน สะดวกมาก เพราะทางเข้า/ออกของรถไฟฟ้าสายสีแดง เชื่อมต่อกับชั้นจำหน่ายตั๋ว และทางเดินเชื่อมทางออกบางซื่อเก่าของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ โดยใช้บันไดเลื่อนเ เชื่อมเข้าได้เลย
ระยะเวลา เดินจากประตูเข้าระบบของสายสีแดง ไปสายสีน้ำเงิน ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ระยะทางเดินไม่เกิน 150 เมตร!!!

รายละเอียดแผนรวมรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
รถไฟฟ้าสายสีแดงคือระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ซึ่งเชื่อมระหว่างเมือง จะมีความถี่ต่ำ และมีปริมาณสถานีน้อย แต่มีจำนวนตู้มากกว่าระบบรถไฟฟ้า Metro อย่าง BTS และ MRT

ในระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง จะมีการใช้ทางร่วมกับรถไฟฟ้าทางไกล เดิมของการรถไฟ เพื่อจะแก้ปัญหาจุดตัดของรถไฟในเขตเมืองและชานเมือง
——————————
ซึ่งตามแผนเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงเมื่อพัฒนาเต็มโครงการ คือ
เส้นเหนือ-ใต้
ชุมทางบ้านภาชี-อยุธยา-ธรรมศาสตร์(รังสิต)-รังสิต-ดอนเมือง-บางซื่อ-ราชวิถี-หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย-แม่กลอง-ปากท่อ
เส้นตะวันออก-ตะวันตก
ฉะเชิงเทรา-ลาดกระบัง-หัวหมาก-มักกะสัน-พญาไท-ราชวิถี-บางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา-นครปฐม
และสายแยก ธนบุรี(ศิริราช)-ตลิ่งชัน
ดูรายละเอียดจากโพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/622405301531286

สถานะโครงการในปัจจุบัน
- โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
1.บางซื่อ-ตลิ่งชัน : โครงสร้างโยธาแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบเดินรถไฟฟ้า
2.บางซื่อ-รังสิต : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และติดตั้งระบบเดินรถไฟฟ้า
สองส่วนนี้จะเริ่มเปิดให้บริการ ต้นปี 2564

- โครงการที่ ครม. อนุมัติแล้ว
1.บางซื่อ-หัวลำโพง-หัวหมาก (Missing Link)
ครม. อนุมัติไปแล้วในปี 59 แต่อยู่ระหว่างปรับรายละเอียดโครงการ และให้โครงการรถไฟฟ้า 3 สนามบิน เป็นผู้ก่อสร้างให้ในช่วงทับซ้อน บางซื่อ-มักกะสัน ในรูปแบบคลองแห้ง
รายละเอียดตามโพสต์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/756066624831819?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/756658528105962?sfns=mo
2.ธนบุรี(ศิริราช)-ตลิ่งชัน-ศาลายา
ครม. พึ่งอนุมัติไปตอนต้นปี 62 คาดว่าจะเปิดประมูลในปี 65
รายละเอียดในโพสต์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/626617247776758?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/624977717940711?sfns=mo
3.รังสิต-ธรรมศาสตร์(รังสิต)
ครม. พึ่งอนุมัติไปตอนต้นปี 62 คาดว่าจะเปิดประมูลในปี 65
รายละเอียดในโพสต์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/622993761472440?sfns=mo

พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่าง ทั้งบันไดเลื่อน ลิฟต์ และบันไดลงชั้นขายตั๋วของ MRT สายสีน้ำเงินสถานีบางซื่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2021 4:19 pm    Post subject: Reply with quote

สำรวจภายในสถานีกลางบางซื่อ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1109227376182407
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2021 7:41 pm    Post subject: Reply with quote

การปรับปรุงสถานีชุมทางบางซื่อเพื่อรองรับการเชื่อมต่อและการให้บริการกับสถานีกลางบางซื่อ วงเงินประมาณ 305 ล้านบาท ประกอบด้วย
- มี 4 ชานชาลา (ชานชาลาที่ 25-28)
- มีอาคารสำนักงาน 1 หลัง (เป็นอาคารสองชีั้นพื้นที่ใช้สอยรวม 1,000 ตร.ม.)
- มีอาคารรับส่งสินค้า 1 หลัง (พื้นที่ใช้สอยรวม 1,700 ตร.ม.
- มีห้องจำหน่ายตั๋วรถไฟทางไกล เพิ่มเติม 1 แห่ง บริเวณทางเข้าหลักด้านทิศตะวันตกของสถานีกลางบางซื่อ
- มีสะพานทางเชื่อม 2 จุด (มีบันไดเลื่อนและลิฟต์ UD)
- มีการปรับปรุงแนวรางที่ 4 (ในปัจจุบัน) เพื่อเพิ่มพื้นที่การสร้างชานชาลาแบบเกาะกลาง (Island Platform) ระยะทางปรับแนวเส้นทางรถไฟ 350 เมตร
- มีระบบป้ายข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมโดย plug-in เข้าสู่ระบบป้ายของสถานีกลางบางซื่อ
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3719071481473103
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2021 10:57 pm    Post subject: Reply with quote


ดร. เสรี พูดถึงสถานีกลางบางซื่อ
https://www.youtube.com/watch?v=qYOUDD_wClA

สื่อจีนพูดถึง Bang Sue Grand central
https://3g.163.com/dy/article_cambrian/FU0BL9B505248NJC.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2021 7:38 am    Post subject: Reply with quote

สัมภาษณ์พิเศษ: 'ศักดิ์สยาม' ปฏิรูปการรถไฟ อย่าคิดแต่ลงทุน ต้องหารายได้ให้เป็น
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

แม้ภาพภายนอกงานก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง "ตลิ่งชันบางซื่อ-รังสิต" ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทุ่มเม็ดเงินสร้างร่วม 1 แสนล้านบาท จะเสร็จสมบูรณ์ รอวันนับถอยหลังเปิดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบในเดือน พ.ย. 2564 ปิดฉากมหากาพย์ "รถไฟฟ้ามาราธอน" ใช้เวลาสร้างกว่า 10 ปี ที่สำคัญ ยังเป็นการพิสูจน์ฝีมือของ ร.ฟ.ท.ในการหารายได้จากการเดินรถไฟฟ้าและที่ดินโดยรอบ ปลดแอกนี้กว่า 1.7 แสนล้าน

ถึงจะดูฉลุย แต่มีเนื้องานที่ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เจ้ากระทรวงคมนาคม ต้องเตรียม- สะสาง เพื่อให้วันเปิดใช้จริงไร้อุปสรรค ปัญหาและข้อครหา หลัง "บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ยกทีม ครม.ออนทัวร์รถไฟฟ้าสายสีแดง เมื่อ 15 ธ.ค. 2563 ทำให้ "ศักดิ์สยาม" ต้องกระตุ้น ร.ฟ.ท.มากขึ้น

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ "ศักดิ์สยาม" ถึงแนวทางแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีกลางบางซื่อที่กำลังนับถอยหลังเปิดบริการ และปิดสถานีหัวลำโพง รวมถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่การให้เอกชนร่วมลงทุน PPP

Q : ความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดง

ล่าสุดประชุมกับ ร.ฟ.ท.มี 4 เรื่องต้องเคลียร์ งบประมาณเพิ่มขึ้นจากกรอบที่กำหนด การเดินรถ การบริหารสถานีกลางบางซื่อ และการบริหารพื้นที่รอบสถานี เรื่องงบฯที่เพิ่มขึ้นจากงานก่อสร้างเพิ่มเติม 10,345 ล้านบาท ให้ดูเนื้องานใดที่ได้ทำตามข้อระเบียบและกฎหมายให้รีบทำ ส่วนอะไรที่ยัง ทำไม่ได้ให้เร่งสรุปและหาวิธีว่าจะทำอย่างไร ให้ยึดหลักกฎหมายต่าง ๆ ให้ครบถ้วน

เรื่องที่ 2 การเดินรถ วางรูปแบบเดินรถไว้แล้ว เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดใช้ สถานีหัวลำโพงจะต้องปิดทันที จะไม่มีขบวนรถไฟวิ่งเข้าในเมืองผ่านสถานีหัวลำโพง ให้ ร.ฟ.ท.บูรณาการ จัดการเดินรถใหม่ทั้ง 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศใต้ และ ทิศตะวันออกใหม่ จะเปลี่ยนถ่ายรถไฟ ทางไกลแล้วเปลี่ยนให้คนขึ้นรถไฟชานเมืองเข้าเมืองแทน โดยสายใต้อาจจะให้หยุดรถที่สถานีบางบำหรุ หรือสายอีสานให้หยุดรถแล้วเปลี่ยนขบวน ที่สถานีเชียงราก นั่งสายสีแดงต่อรถเข้ามาสถานีกลางบางซื่อ

ส่วนการเปลี่ยนถ่ายระบบและค่าโดยสาร คิดไว้ 2 ทาง 1.ใช้ตั๋วรถไฟทางไกลเดิมที่กำหนดว่าสถานีหัวลำโพงยังเป็นสถานีปลายทางโดยสารต่อไปจนถึงสถานีกลางบางซื่อ กับ 2.คิดอัตรา ค่าโดยสารใหม่ ตัดสถานีหัวลำโพงออกจากการเป็นสถานีปลายทาง

ทั้งนี้ การเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกล มาเป็นรถไฟฟ้าสายสีแดงสำหรับผู้โดยสาร ที่มาจากต่างจังหวัดต้องไม่มีค่าแรกเข้า และตัวรถไฟทางไกลจะต้องวิ่งแบบยกระดับเชื่อมเข้ามาในสถานีกลางบางซื่อ ห้ามวิ่งบนพื้นราบ อะไรที่พร้อมยกระดับก็ให้ยกระดับเชื่อมเข้ามา อะไรไม่พร้อมให้หยุดรอข้างนอก เพื่อแก้การจราจรและจุดตัดรถไฟในกรุงเทพฯ ส่วนการขนส่งสินค้าให้ ร.ฟ.ท.กำหนดให้ชัดจะให้สถานีใดเป็นสถานีสุดท้ายขนส่งสินค้า โดยให้จุดขนถ่ายสินค้าอยู่ด้านนอกสถานีกลางบางซื่อ ทำให้รถที่วิ่งรับ-ส่งสินค้าอยู่ด้านนอก จะแก้จราจรไปด้วยในทางหนึ่ง

Q :ให้เวลา 11 เดือนบริษัทลูกรถไฟบริหารสายสีแดง

ร.ฟ.ท.จ้างบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัทลูกมาเดินรถสายสีแดงให้ เป็นนโยบายการเดินรถที่กระทรวงจะทำเดินรถแบบ PPP แต่การทำ PPP ต้องใช้เวลาศึกษาและดำเนินการประมาณ 3 ปี ขั้นแรกคงให้บริษัทลูกรถไฟที่บริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์เป็นผู้เดินรถไปก่อน 11 เดือน ได้หารือกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแล้วถึงความพร้อมและความสามารถ ต้องยอมรับว่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์บริหารงานได้ดีขึ้น ทั้งเดินรถเร็วขึ้น นำรถมี 9 ขบวนออกให้บริการประชาชนครบ และตรงต่อเวลาถือว่าทำได้ดีที่สุดในบรรดารถไฟฟ้าหลาย ๆ สี ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเวลานี้

มอบปลัดกระทรวงคมนาคม (นาย ชยธรรม์ พรหมศร) กรมการขนส่งทางราง และ ร.ฟ.ท. ตั้งคณะทำงานมอนิเตอร์การทำงานตลอด 11 เดือนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์เป็น KPI เช่น ตรงต่อเวลา ซ่อมบำรุง บริหารต้นทุน เป็นต้น ถ้าพิสูจน์ผลงานตาม KPI ใน 11 เดือนได้ จะให้แอร์พอร์ต เรลลิงก์เดินรถสายสีแดง เป็นความท้าทายของบริษัทด้วย เพราะสายสีแดง มีรถที่มากกว่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 25 ขบวน แล้วตู้รถไฟมีความยาวกว่า มี 6 ตู้รับ ผู้โดยสารได้ 1,000 กว่าคน/ขบวน จริง ๆ ไม่ได้มีแค่นี้ เพราะรถไฟฟ้าทั้งระบบยังขาดบุคลากร ทางสหภาพเสนอให้จัดตั้งองค์กรคล้ายโรงเรียนฝึกอบรม คมนาคมเสนอ ครม.จัดตั้ง "สถาบันราง" แล้ว อยู่ระหว่างเซตระบบองค์กร รับถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟฟ้าจากประเทศต่าง ๆ ที่ไทยเองใช้อยู่ ทั้งจีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และแคนาดา

Q :ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันที่สร้างเสร็จนานแล้ว

ปลายเดือน ม.ค.นี้จะไปดูช่วงสถานีกลางบางซื่อไปสถานีตลิ่งชัน มีความพร้อม จริงหรือไม่ ส่วนเปิดทดลองวิ่งเสมือนจริง สายสีแดงจะเกิดขึ้นเดือน มี.ค. 2564 ให้ ร.ฟ.ท.ประชาสัมพันธ์และอธิบายให้ ประชาชนเข้าใจว่า "การทดสอบเสมือนจริง" คืออะไร และถ้าใครอยากจะขึ้นต้องทำอะไร เพราะจะไม่ได้วิ่งแบบปกติ ส่วน ก.ค. จะเปิดใช้หรือไม่ ถือเป็นระยะถัดไป หลักการเหมือนช่วงเปิดส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน เปิดให้ใช้ฟรี 1-2 เดือน และ เปิดเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย.นี้ ค่าโดยสาร กำลังพิจารณา เริ่มต้นที่ 15 บาท

Q : รูปแบบบริหารสถานีกลางบางซื่อ

ให้ ร.ฟ.ท.กลับไปดูสเกลสัดส่วน ของพื้นที่ระหว่างเชิงพาณิชย์และพื้นที่กลาง เวลาบริหารสถานีจะมีค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคทันที ยังมีค่าจ้างแม่บ้านทำความสะอาด จ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย โดย ร.ฟ.ท.คำนวณคร่าว ๆ หากบริหารสถานีกลางบางซื่อ 4 ปี (2564-2567) มีต้นทุนบริหารรวม 1,400 ล้านบาท ให้ปลัดกระทรวงคมนาคมไปตรวจสอบตัวเลขนี้ มีรายการอะไรที่ ไม่จำเป็นให้ตัดออก

ส่วนแหล่งเงินจะนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ทาง ร.ฟ.ท.บอกมีอยู่ 257 ล้านบาทเท่านั้น ก็คือเปิดให้บริการปุ๊บ ขาดทุนทันที สั่งให้ ตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน, ร.ฟ.ท., กรมการขนส่งทางราง, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รวมถึง ให้ดึงผู้บริหารสนามบินสุวรรณภูมิมาร่วมด้วย เพื่อดูการจัดสเกลพื้นที่ โดยเฉพาะ พื้นที่เชิงพาณิชย์กำชับให้บริหารให้ดีเป็นพิเศษ จะทำให้เกิดรายได้ให้เสนอข้อมูลภายใน 1 เดือน ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีศักยภาพ เยอะมาก มีที่ดินในมือมาก เอกชนเช่าที่ไปนิดเดียว แต่บริหารให้มีกำไรมหาศาล ร.ฟ.ท.เองมีพื้นที่มหาศาลทำไมจะทำไม่ได้

ยังให้ประสานกระทรวงมหาดไทยนำสินค้า OTOP มาวางขายภายในสถานีกลางบางซื่อ ให้ดูว่าควรมีจัดงานนิทรรศการแบบเมืองทองธานีหรือไม่ รวมถึงการแบ่งผลกำไร เพราะคมนาคมต่อไปอย่าคิดทำเพียงเรื่องโลจิสติกส์ อย่างเดียว ต้องทำสิ่งที่สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ประชาชนด้วย อย่าเอาแต่ลงทุน แต่ไม่คิดเรื่องการหารายได้ อย่าหวังจะต้อง ขอเงิน PSO (เงินอุดหนุนบริการสาธารณะ) จากรัฐอย่างเดียว วันนี้รถไฟต้องเปลี่ยน mindset ได้แล้ว ทำตัวให้ทันโลกและต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

Q :การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อ

ตามแผนมี 9 แปลง พื้นที่รวม 2,325 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ศูนย์ประชุม ศูนย์ราชการ เป็นต้น จากแผนที่เสนอใช้เวลาพัฒนาถึง 10 ปี ผมหารือกับปลัดคมนาคมแล้วมองว่า ควรพัฒนาทั้ง 9 แปลงไปพร้อม ๆ กัน ให้เกิดความสัมพันธ์ในการใช้ประโยชน์แต่ละพื้นที่ อย่างเช่น สร้างที่ทำงานและที่อยู่อาศัย ก็ควรมีศูนย์การค้า ช็อปปิ้งมอลล์ หรือซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เหมือนไก่กับไข่ ต้องมาพร้อมกัน ควรจะเป็นตึกสูงทั้งหมด ไม่ควรมีสิ่งปลูกสร้างแบบแนวราบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้พื้นที่ให้มากที่สุด ทางพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็เห็นด้วยกับไอเดียนี้ หากส่วนราชการจะขอใช้ที่ จัดให้อยู่ใน อาคารเดียวกัน เป็นศูนย์ราชการแห่งใหม่ ไม่ใช่ต่างคนต่างไปอยู่คนละที่ ให้ ร.ฟ.ท. นำแนวคิดนี้ไปปรับปรุงแผนพัฒนาให้เสร็จใน 1 เดือนนี้แล้วเสนอให้พิจารณาใหม่ ซึ่งทั้ง 9 แปลงจะให้อยู่ภายใต้การบริหาร ของบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท.

Q :ต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทางรอ PPP

ให้ ร.ฟ.ท.ศึกษารูปแบบลงทุน PPP ทั้ง 4 เส้นทาง มีช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และ Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสันหัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท จะรวบทั้งหมดเป็นสัญญาเดียวทั้งก่อสร้างและเดินรถ รวมบริหารสถานีรายทางและสถานีกลางบางซื่อ ให้เวลา ร.ฟ.ท.ทำข้อมูล 30 วัน จะเดินหน้าไปพร้อมประเมินผล 11 เดือนที่ให้บริษัทลูก ร.ฟ.ท.เดินรถสายสีแดง หากทำได้ดี ผมจะให้ ร.ฟ.ท.ระบุไปในเอกสารข้อเสนอ (RFP) ของโครงการ ให้เอกชนที่จะลงทุนต้องรับบริษัทลูกด้วย

คำว่ารัฐวิสาหกิจต่อจากนี้ไป สำหรับผม ไม่ใช่เป็นเรื่องบริการประชาชนแล้วขาดทุน มันต้องอยู่รอด อย่าง บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ทำวันนี้ผมก็เห็นด้วย แต่บางเรื่องถ้ามากไปก็ต้องลดลงมา เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 63, 64, 65  Next
Page 18 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©