Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179551
ทั้งหมด:13490783
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 395, 396, 397 ... 541, 542, 543  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/12/2020 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.-หนองคาย11ชม.เหลือ3 ไฮสปีด356กม.งบ2.5แสนล. เริ่มสร้างปี65ได้ใช้บริการปี72
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ที่โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช จ.นครราชสีมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) โดยนำเสนอผลสรุปการศึกษาของโครงการ ผลการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมจำนวนมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สำหรับแผนการดำเนินงานภายหลังศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จ รฟท.จะเริ่มขออนุมัติดำเนินโครงการ และออกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในปี 64 จากนั้นจะประกวดราคาสำรวจรายละเอียดอสังหา ริมทรัพย์ และเริ่มก่อสร้างงานโยธาปี 65 ใช้เวลา 48 เดือน จากนั้นจึงเป็นงานติดตั้งระบบจะเริ่มดำเนินการในปี 66 ใช้เวลา 66 เดือน คาดว่าจะเปิดบริการได้ประมาณปี 72

โครงการรถไฟไฮสปีด ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) มีระยะทาง 356 กม. แบ่งเป็น ทางรถไฟระดับพื้น 185 กม. และทางรถไฟยกระดับ 171 กม. วงเงินลงทุนรวม 2.5 แสนล้านบาท มีสถานีรถไฟ 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย นอกจากนี้ยังมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และที่นาทา จ.หนองคาย พร้อมหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จ.นครราชสีมา สถานีหนองเม็ก จ.ขอนแก่น สถานีโนนสะอาด จ.อุดรธานี และสถานีนาทา จ.หนองคาย มีจุดย่านกองเก็บตู้สินค้า(Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา จ.หนองคาย ทั้งนี้การเดินรถจะใช้ความเร็วสูงสุดที่ 250 กม.ต่อชม. ส่งผลให้การเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงหนองคาย ใช้เวลาประมาณ 3 ชม. 15 นาที จากปัจจุบันที่ใช้รางเดี่ยวเดินทางประมาณ 9 ชม. 25 นาที-10 ชม. 45 นาที

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า อย่างไรก็ตามในส่วนของการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาเฉพาะช่วงนครราชสีมา-หนองคาย พบว่า มีความเหมาะสมคุ้มค่าโดยคิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 11.24% ส่วนผลวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาทั้ง 2 ระยะ (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) คิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.10% กำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับทางรถไฟ เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ โดยมี 5 รูปแบบ ดังนี้ สะพานรถไฟ 120 แห่ง สะพานรถยนต์ 25 แห่ง สะพานกลับรถรูปตัวยู 23 แห่ง ทางลอดรถไฟ 84 แห่ง และทางบริการ 3 แห่ง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2020 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กทม.-หนองคาย11ชม.เหลือ3 ไฮสปีด356กม.งบ2.5แสนล. เริ่มสร้างปี65ได้ใช้บริการปี72
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563


ดูที่นี่ก็ได้ครับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2798039007084266
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2020 7:07 am    Post subject: Reply with quote

ที่ดินขึ้น5เท่าทุนใหญ่ยึดEEC
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ท้องถิ่นขานรับไฮสปีด

บิ๊กทุน ปักหมุดที่ดินอีอีซี EEC เมืองใหม่ ชลบุรี ย้ำหากรัฐประกาศชัด เอกชนมั่นใจที่ดินราคาขยับ 4-5 เท่า หอการค้าชลบุรี หนุนพัฒนาเมือง-ลงทุนไฮสปีด หวังกระจายความเจริญนักลงทุนตื่นตัวอีกระลอกสำหรับโครงการเมืองใหม่ในพื้นที่บางละมุง จ.ชลบุรีโดยบรรดาบิ๊กทุน นักเก็งกำไร กับกระแส ข่าวพื้นที่ที่ตั้งโครงการเมืองใหม่ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ล่าสุดว่า ครอบคลุม 3 ตำบล 7หมื่นไร่ ประกอบด้วย ตำบลโป่งตำบลห้วยใหญ่

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ที่ดินส.ป.ก.) อีกทั้งยังมีแผนปรับย้ายสถานี พัทยาไป ตำบลห้วยใหญ่

ทั้งนี้แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) ระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสม สามารถรองรับคนเข้าพื้นที่ จำนวนมาก ที่สำคัญควรอยู่ใกล้ สถานีรถไฟความเร็วสูง ดังนั้นจำเป็นต้องพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงระบบราง และมหานครการบินจึงจะคุ้มค่า หลังบริษัทที่ปรึกษาของสกพอ.เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนตลอดจนเอกชนในพื้นที่ หลายคนเห็นด้วยช่วยสร้างความเจริญว่า มีบางส่วนเท่านั้นที่เห็นต่างออกไป

ขณะภาคเอกชนประเมินว่าหาก สกพอ. กำหนดที่ตั้งเมืองใหม่ชัดเจน ราคาที่ดินโดยรอบขยับสูง คาดจะมีนักลงทุนนักเก็งกว้านซื้อที่ดินรอพัฒนา แม้ที่ผ่านมาการซื้อขายจะหยุดชะงัก ราคาทรงตัว จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ หลายทำเลใน 3 จังหวัดอีอีซี ราคาขยับแบบก้าวกระโดดไปชนเพดานหมดแล้ว จากราคาไร่ละ 2-4 ล้านบาทต่อไร่ กลายเป็น 10-20 ล้านบาทต่อไร่ อาทิ บริเวณรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง เมืองการบินอู่ตะเภา

สอดรับกับนาย ธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เห็นด้วยกับการพัฒนาเมืองใหม่ บนที่ดิน ส.ป.ก 70,000ไร่ เชื่อว่า หากประกาศพื้นที่ออกมาอย่างชัดเจน ราคาที่ดินจะขยับ 4-5เท่า โดยเฉพาะ ตำบลห้วยใหญ่อำเภอบางละมุง รอยต่ออำเภอสัตหีบ ราคาที่ดินยังไม่สูงมาก พื้นที่บริเวณด้านในไม่ติดถนน ปัจจุบันไม่เกิน 2-3 ล้านบาทต่อไร่

ท้องถิ่นขานรับ

ขณะเดียวกัน การมีรถไฟความเร็วสูงช่วยให้กระจายความเจริญ เข้าถึงคนในพื้นที่ ช่วยยกระดับภาคเกษตร กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เชื่อมโยงระบบรางหรือสามารถขึ้นเครื่องบินไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้สร้างรายได้ให้กับชุมชนคนชลบุรี

"เชื่อว่ารัฐจะกำหนดพื้นที่ บริเวณที่ตั้งของเมืองใกล้สถานีไฮสปีดให้ประชาชนและกลุ่มทุนขนาดย่อมในพื้นที่ได้ประโยชน์"

สอดคล้องกับนายสุนทร ธัญญะวัฒนากูล ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง ตราด )สะท้อนว่า เห็นด้วยที่รัฐมีแผนพัฒนาเมืองใหม่ 7 หมื่นไร่ โดยใช้ที่ดินส.ป.ก. และเบื้องต้น จะใช้พื้นที่ ไม่เกิน 2 หมื่นไร่ รองรับคนมาอยู่อาศัยทำงานในอีอีซี ต้นปีหน้าคาดว่าจะมีความชัดเจน โดยราคาที่ดินติดถนนบริเวณบางละมุง บ้านฉาง สัตหีบ ติดถนน สายหลักราคา 8-20ล้านบาท/ไร่

ที่ผ่านมานายสุนทร ระบุว่า แผนการจัดตั้งเมืองใหม่จังหวัดชลบุรี เดิมรัฐกำหนดตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ เมืองใหม่พัทยา 12,500 ไร่ มีแผนพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ ติดสถานีรถไฟ แต่พื้นที่ใหม่มีการขยายเส้นทางมอเตอร์เวย์ออกไปเชื่อมกับสนามบินอู่ตะเภา จึงขยับออกไปยังพื้นที่ว่าง ในขณะที่เมืองพัทยามีชุมชนหนาแน่นที่ดินราคาแพง เช่นเดียวกับ สถานีศรีราชา ซึ่งที่ผ่านมามีการโก่งราคาขายที่ดิน ให้กับห้างใหญ่ระดับแถวหน้าของเมืองไทยในราคาไร่ละ 100 ล้านบาท และปัจจุบันราคาที่ดินอยู่ที่ 120 ล้านบาทต่อไร่

นอกจากนี้ที่ตั้งของเมืองใหม่ ยังอยู่ที่ฉะเชิงเทรา ใกล้สถานี เช่นเดียวกับโครงการระยองเมืองใหม่ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับสนามบินอยู่ตะเภา เข้าใจว่าเป็นของกลุ่มปตท. ที่วังจันทร์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดึงกลุ่มทุนเข้าพื้นที่ ทั้งโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ขณะเดียวกัน กลุ่มบีทีเอสมีแผนพัฒนาบนที่ดินของกองทัพเรือ รูปแบบมิกซ์ยูสพื้นที่เมืองการบิน

บิ๊กทุนปักหมุด

สอดคล้องกับนักวิชาการในพื้นที่ที่ ยืนยันว่า เมืองใหม่ปัจุบันที่ชัดเจนจะมีของเมืองการบินกลุ่มบีทีเอส ขณะเดียวกัน หาก มีเมืองใหม่เกิดขึ้นอีกแห่ง แนวไฮสปีด อาจเป็นลักษณะทุนยักษ์ 2 ค่ายแข่งขันกัน แต่ทั้งนี้ต้องมองในภาพรวมว่าประชาชนในพื้นที่ได้ประโยชน์หรือไม่

แหล่งข่าวจากดีเวลอปเปอร์รายใหญ่ในจังหวัดชลบุรี ระบุว่า บริษัทมีที่ดิน 600ไร่ มีแผนลงทุน เมืองใหม่ บริเวณพัทยา ศรีราชา ขณะเดียวกันมีปัญหานักลงทุนจากต่างชาติติดโควิดและเศรษฐกิจซบเซา หากหลังโควิดนักลงทุนต่างชาติเข้าประเทศได้ อาจปัดฝุ่นที่ดินออกพัฒนาก็เป็นได้

"ที่ผ่านมาเคยเสนอพัฒนาเมือง เพื่อให้ได้สิทธิ์ประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ แต่ เรื่องที่เสนอ รัฐกลับเงียบไป"

เครือสหพัฒน์ปักหมุด

ขณะ เครือสหพัฒน์ขยายการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับโตคิว อีก 800 ล้านบาท ในพื้นที่เขตศรีราชา รับดีมานด์ครอบครัวญี่ปุ่นโครงการ 'HarmoniQ' และคอมมูนิตี้ 'HarmoniQ 2' โดยพร้อมเปิดชมห้องตัวอย่างเดือนเมษายน 2564

ทุนจีน-ฮ่องกงปั้นเมือง

ด้านบริษัท คิง ไว กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ซื้อที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา 2,000 ไร่ ซึ่งแจ้งตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 2-3 ปีก่อน รวมถึงกลุ่มคันทรีที่ได้ซื้อที่ดินจำนวน 80 ไร่บริเวณบ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา ใกล้กับโตโยต้า มีแผนพัฒนาเมืองใหม่เช่นเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2020 11:07 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ทุ่ม 2.5 แสนล้าน ลุยไฮสปีด “โคราช-หนองคาย” เชื่อมลาว-จีน ตอกเข็มปี’65
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 ธันวาคม 2563 - 13:33 น.

ได้ฤกษ์!!ปีหน้าประมูลรถไฟไฮสปีด “โคราช-หนองคาย” 2.5 แสนล้าน
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์
วันที่ 22 ธันวาคม 2563 - 14:23 น.

https://www.youtube.com/watch?v=SBuqDwtNxgQ


มีเฮ รฟท.จ่อประมูล “รถไฟไทย-จีน เฟส 2” เริ่มปี 65
วันที่ 23 ธันวาคม 2563 - 16:03:54 น.
รฟท.เดินหน้าศึกษารถไฟไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย วงเงิน 2.5 แสนล้าน เตรียมเวนคืนที่ดินภายในปี 64 เร่งเปิดประมูลดึงเอกชนร่วมทุนปี 65 คาดเปิดให้บริการปี 72
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2020 11:18 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ยื่นปปช.สอบรถไฟฟ้าไทย-จีน
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08:34 น.


รัฐวิสาหกิจจีน'ร้อง'นายกฯ'กรมบัญชีกลางเอื้อผู้เสนอราคาจนพลิกชนะประมูล'รถไฟไทย-จีน'
23 ธันวาคม 2563

"รัฐวิสาหกิจจีน" ร้อง "นายกฯ" เหตุ "กรมบัญชีกลาง" ยกเว้นคุณสมบัติผู้เสนอราคารบางราย จนพลิกชนะประมูล "รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน" ชี้ ขัด "พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง" ทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม จี้ เพิกถอนคำสั่ง

ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานก.พ. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล ตัวแทน ITD-CREC NO. 10 JV (ไอ-ที-ดี-ซี-อา-อี-ซี-นับเบอร์เท็น-เจ-วี) ซึ่งประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ไชน่า เรลเวย นัมเบอร์เทน เอนจิเนียวิ่ง กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นหนังสือถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายยกรัฐมนตรี เพื่อขอความเป็นธรรม เหตุกรมบัญชีกลาง วินิจฉัยโดยมิชอบ ใช้อำนาจอนุมัติยกเว้นเป็นการเฉพาะรายให้ผู้ยื่นข้อเสนอราคาเพียงรายเดียวในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ทำให้การแข่งขันไม่เป็นธรรมสำหรับผู้เสนอราคารายอื่นๆในโครงการดังกล่าว

ซื้อประกันโควิด เจอ จ่าย จบ คลิกเลย

นายชัยทัศน์ ทั่งหรัญ ตัวแทนกิจการร่วมค้า ITD-CREC NO.10 JV ระบุว่า เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 มีประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ ITD-CREC NO.10 JV เป็นผู้ชนะการเสนอราคาประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือไทยและจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง แต่ต่อมาหลังจากการประมูลสร็จสิ้น ปรากฎว่ามีบริษัทที่เข้าร่วมประมูลรายหนึ่ง ซึ่งการรถไฟพิจารณาว่าคุณสมบัติและผลงานไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนด ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อกรมบัญชีกลาง โดยกรมบัญชีกลาง พิจารณาให้บริษัทดังกล่าวที่ถูกตัดสิทธิไปแล้วอนุมัติยกเว้นให้ผ่านคุณสมบัติเป็นการเฉพาะราย และโดยคำวินิจฉัยดังกล่าวกรมบัญชีกลางมีคำสั่งให้การรรถไฟ

พิจารณาให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันกับกรมบัญชีกลาง และไม่ให้หยิบยกประเด็นคุณสมบัติของ บริษัทดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาตัดสิทธิ์ได้อีก มีผลให้บริษัทผู้อุทธรณ์ดังกล่าวพลิกกลับมาเป็นผู้ชนะการประมูลในโครงการ


ทั้งนี้ คำวินิจฉัยดังกล่าวขัดแย้งกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ 2560 มาตรา 8(2) โดยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต้องกระทำโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกราย โดยเท่าเทียมกัน มีระยะเวลาที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอ มีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดในทุกขั้นตอน โดยเมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากรณีนี้ไม่เป็นกรณียกเว้น ที่เป็นการทั่วไป บริษัทรายอื่นๆ ที่ได้เข้าร่วมประมูลจึงไม่มีโอกาสได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน ทำให้การแข่งขันไม่เป็นธรรม



ดังนั้น ทาง ITD-CREC No. 10 JV จึงได้นำเรื่องร้องเรียนต่อ พลเอกประยุทธ์ เพื่อขอความเป็นธรรม ขอให้นายกรัฐมนตรี ให้มีคำสั่งให้ ป.ป.ช. เร่งรัดดำเนินการ ตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานและออกคำวินิจฉัย ของกรมบัญชีกลางถึงความถูกต้องและความโปร่งใสในกระบวนพิจรณาอุทธรณ์ และขอให้ระงับการปฏิบัติตามคำสั่งและคำวินิจฉัยของกรมบัญชีกลางเพื่อรอผลการตรวจสอบความถูกต้องและความโปร่งใสของ ป.ป.ช. รวมถึงขอให้นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัย ของกรมบัญชีกลางดังกล่าว


นอกนากนี้ นายชัยทัศน์ กล่าวอีกว่า จะมีบิ๊กเซอร์ไพร์สในการจัดแถลงข่าว เร็วๆนี้
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3667748976605354
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2020 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ที่ดินขึ้น5เท่าทุนใหญ่ยึดEEC
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ท้องถิ่นขานรับไฮสปีด


ซีพี ย้ายสถานีไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน พัทยาวุ่นรื้อแผนโมโนเรล
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 06:30:16 น.
เมืองพัทยา รีไวท์แผนลงทุนโมโนเรล รับกลุ่มซีพี เปลี่ยนแนวไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ย้ายที่ตั้งสถานีพัทยาออกไปอยู่นอกเขตเมือง ตั้งงบ 60 ล้านบาทศึกษาออกแบบเพิ่มเติม ปรับปรุงแผนแม่บท ส่อเค้าอาจปรับแผนลงทุนใหม่

เมืองพัทยา รีไวท์แผนลงทุนโมโนเรล รับ กลุ่มซีพี เปลี่ยนแนวไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ย้ายที่ตั้งสถานีพัทยาออกไปอยู่นอกเขตเมือง ตั้งงบ 60 ล้านบาทศึกษาออกแบบเพิ่มเติม ปรับปรุงแผนแม่บท ส่อเค้าอาจปรับแผนลงทุนใหม่จากเดิมเฟส 1 สายสีเขียว 3 หมื่นล้านบาท มาเป็นสายสีแดงก่อน ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีเอกชน 6 รายสนใจร่วมลงทุน PPP
จากกรณีที่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ไฮสปีดเทรน) ที่ทาง กลุ่มซีพี มีแผนเปลี่ยนแนวเส้นทางเดินรถ และจะย้าย สถานีรถไฟฟ้าพัทยา จากในเมืองพัทยา ออกไปอยู่บริเวณ สถานีรถไฟบ้านห้วยขวาง ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง (ใกล้ตลาดนํ้า 4 ภาคและสวนนงนุช) ห่างจากที่ตั้งสถานีเดิมที่เคยวางไว้ราว 15 กิโลเมตร
ส่งผลกระทบต่อ โครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า หรือ โมโนเรล ที่จะต้องมีการศึกษาแผนแม่บทในโครงการนี้เพิ่มเติม จากเงื่อนไขสถานีหลักของกลุ่มซีพีที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตเมืองพัทยา อีกทั้งยังอาจจะส่งผลให้ต้องมีการปรับแผนลงทุนโมโนเรล พัทยาใหม่ จากก่อนหน้านี้ที่ได้ข้อสรุปไปแล้วจะผลักดัน รถไฟฟ้าโมโนเรล พัทยา เส้นทางสายสีเขียว (สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา-แหลมบาลีฮาย) ก่อนเป็นเฟสแรก

นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะแบบโมโนเรล เชื่อมระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง และรถไฟรางคู่ 3 สายทาง ระยะทาง 34 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ในรูปแบบโครงการร่วมลงทุน PPP เป็น 1 ใน 7 โครงการของการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของเมืองพัทยา ตามยุทธศาสตร์ นีโอ พัทยา
โครงการดังกล่าวจะมีทั้งหมด 4 เส้นทาง ซึ่งเป็นในส่วนของโมโนเรล 3 สาย คือ
สายสีเขียว (สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา-แหลมบาลีฮาย),
สายสีแดง (วงเวียนปลาโลมา พัทยาเหนือ-แยกทัพพระยา (ทับกับสายสีเขียว)-จอมเทียน ,
สายสีม่วง (แยกทัพพระยา-หนองปรือ)
ส่วน สายสีเหลือง จะเป็นโครงการรถไฟชานเมืองของรฟท. เชื่อมศรีราชา-พัทยา-อู่ตะเภา โดยโครงการเหล่านี้จะเป็นโครงการร่วมลงทุนPPP



ทั้งนี้จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่มีส่วนได้เสีย (มาร์เก็ตซาวด์ดิ้ง)ทั้ง 3 ครั้ง ได้ข้อสรุปว่าจะผลักดันโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้าหรือรถไฟฟ้าโมโนเรล พัทยา เส้นทางสายสีเขียว เป็นการลงทุนในเฟสแรกที่จะเกิดขึ้น มูลค่าการลงทุนราว 3 หมื่นล้านบาท(ลงทุน+เวรคืนที่ดิน) สัญญา 30 ปี



โดยโมโนเรลสายสีเขียวมีเอกชนทั้งของไทยและต่างประเทศแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนและก่อสร้างกว่า 6 ราย อาทิ บีทีเอส,ช.การช่าง,บริษัท CRSC Railway Vehicle (จีน),สถาบันวิจัยThe Korea instate of Machinery and Materials ร่วมกับบริษัทRETD จำกัด,บริษัทพาวเวอร์ 21 จำกัด,บริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย)

แต่ล่าสุดเมื่อกลุ่มซีพี มีแผนจะย้ายสถานีไฮสปีดเทรน ไปยังพื้นที่สถานีรถไฟบ้านห้วยขวาง ซึ่งอยู่นอกเขตเมืองพัทยา ทำให้เมืองพัทยาต้องศึกษาแผนลงทุนโมโนเรล เพิ่มเติมจากการย้ายสถานีหลัก ในพื้นที่ดังกล่าว เข้ามาเมืองพัทยา เพื่อรองรับการเชื่อมโยงกับโมโนเรล สายสีเขียว รวมถึงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทใหม่จากการเปลี่ยนแปลงสถานีหลักของซีพี โดยใช้งบศึกษาเพิ่มเติมอีก 60 ล้านบาท จากเดิมที่ดำเนินการศึกษาสำรวจ ออกแบบ เบื้องต้นแล้วเสร็จเรียบร้อยใช้งบศึกษาไปกว่า 70 ล้านบาท


เนื่องจากพื้นที่สถานีไฮสปีดพัทยา ที่จะย้ายไปอยู่บริเวณพื้นที่สถานีรถไฟบ้านห้วยขวาง จะอยู่ใกล้กับโมโนเรล สายสีแดง มากกว่า เพราะต่อจากถนนเทพประสิทธิ เข้ามาเชื่อมโมโนเรล สายสีแดง ได้ ก็อาจจะปรับจากการลงทุนเฟส 1 จากสายสีเขียว มาเป็นสายสีแดง ก็ได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผลการศึกษาเพิ่มเติมที่จะเกิดขึ้น

“การย้ายพื้นที่สร้างสถานี ก็เป็นสิทธิของผู้ลงทุน เราคงไปบอกไม่ให้เขาย้ายไม่ได้ เมืองพัทยาทำได้แค่ปรับเปลี่ยนแผนการพัฒนาโมโนเรล ให้เหมาะสม เพราะการพัฒนาดังกล่าวไม่เพียงแก้ปัญหาเรื่องการจราจร ยังส่งเสริมให้เกิดการเข้าลงทุนในพื้นที่เมืองพัทยาเพิ่มขึ้น



ล่าสุดก็มีกลุ่มทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มทุนจีน ก็มองหาพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตร จากสถานีรถไฟฟ้าเมืองพัทยา เพื่อเข้ามาลงทุนในลักษณะมิกซ์ยูส โดยที่สนใจเข้ามาก่อน ก็จะเป็นจากจีน ที่มองหาพื้นที่เน้นการพัฒนาอาคารสำนักงาน (ออฟฟิศ บิวดิ้ง )เพื่อรองรับการพัฒนาในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เพราะปัจจุบันเมืองพัทยาไม่มีออฟฟิศ บิว ดิ้ง มีเพียงแต่ทาวน์โฮม ให้เช่าเท่านั้น” นายสนธยา กล่าวทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/12/2020 8:19 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ลุยไฮสปีดโคราช-หนองคาย
กรุงเทพธุรกิจ 25 ธันวาคม 2563

ร.ฟ.ท.ลุยไฮสปีดไทย - จีน ระยะที่ 2 ช่วงโคราช-หนองคาย เล็งชง ครม.อนุมัติดำเนินโครงการปีหน้า ก่อนเปิดประกวดราคา และเริ่มงานก่อสร้างภายในปี 2565 ประเมินวงเงินลงทุน 2.5 แสนล้านบาท สร้างทางเพิ่ม 356 กิโลเมตร

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.วางแผนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ช่วงนครราชสีมา (โคราช) - หนองคาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย โดยปัจจุบันได้ดำเนินการเปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22 – 25 ธ.ค.2563

อย่างไรก็ดี ตามแผนดำเนินงาน ร.ฟ.ท.กำหนดภายหลังศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จ จะเริ่มดำเนินการขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และออกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในปี 2564 หลังจากนั้นจะดำเนินการประกวดราคา สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาในปี 2565 ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 48 เดือน จากนั้นเริ่มงานติดตั้งระบบในปี 2566 ใช้ระยะเวลาการดำเนินการ 66 เดือน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2572

สำหรับโครงการไฮสปีดเทรนช่วงโคราช – หนองคาย มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 2.5 แสนล้านบาท โดยขณะนี้ได้ข้อสรุปส่วนของแนวก่อสร้างที่กำหนดเป็นทางรถไฟระดับพื้นระยะทาง 185 กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟยกระดับระยะทาง 171 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร อีกทั้งจะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟ 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และที่นาทา จ.หนองคาย

อีกทั้งยังมีหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จ.นครราชสีมา สถานีหนองเม็ก จ.ขอนแก่น สถานีโนนสะอาด จ.อุดรธานี และสถานีนาทา จ.หนองคาย มีจุดย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา จ.หนองคาย โดยไฮสปีดเทรนสายนี้ จะใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า จากการศึกษาในเบื้องต้น ผลการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาเฉพาะช่วงนครราชสีมา-หนองคาย พบว่ามีความเหมาะสมคุ้มค่าโดยคิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 11.24% ส่วนผลวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาทั้ง 2 ระยะ (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) คิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.10% โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางในพื้นที่อย่างสะดวกแล้ว ยังลดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงหนองคายใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที ผลักดันภาคการขนส่งและการส่งออกอีกด้วย

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้กำหนด 5 รูปแบบ ประกอบไปด้วย 1.สะพานรถไฟ จำนวน 120 แห่ง ใช้ในกรณีตัดกับทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่มีปริมาณการจราจรบริเวณจุดตัดค่อนสูง เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดในเขตเมืองที่มีถนนสายหลักและสายรองตัดผ่านในระยะห่างใกล้กันหลายแห่ง

2.สะพานรถยนต์ จำนวน 25 แห่ง ใช้ในกรณีที่จุดตัดถนนสายหลักมีปริมาณการจราจรค่อนข้างมาก และมีเขตทางเพียงพอ 3.สะพานกลับรถรูปตัวยู จำนวน 23 แห่ง ใช้ในกรณีตัดกับถนนที่มีปริมาณจราจรน้อย มีอุปสรรคสิ่งกีดขวางทั้งสองด้าน เขตทางไม่พอให้สามารถออกแบบมาตรฐานในลักษณะทางตรงได้

4.ทางลอดรถไฟ จำนวน 84 แห่ง ใช้ในกรณีที่เป็นจุดตัดทางรถไฟกับถนนลำลองที่มีปริมาณการจราจรต่ำ บริเวณพื้นที่เกษตรกรรมสองข้างทางรถไฟ และ 5.ทางบริการ จำนวน 3 แห่ง ใช้บริเวณที่แนวเส้นทางรถไฟตัดผ่านถนนท้องถิ่นหลายๆ สาย โดยเชื่อมถนนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน แล้วก่อสร้างทางลอดหรือทางข้ามเพียงจุดเดียว

ทั้งนี้ ขอบเขตการดำเนินงานโครงการในเบื้องต้น ได้กำหนดไว้ 6 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เริ่มงานออกแบบรายละเอียดงานโยธา ช่วงนครราชสีมา – บ้านไผ่ ช่วงที่ 2 งานออกแบบรายละเอียดงานโยธา ช่วงบ้านไผ่ – หนองคาย ช่วงที่ 3 งานสนับสนุนการเจรจาข้อกำหนดขอบเขตของงานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลฯ ช่วงที่ 4 งานจัดการประกวดราคา ช่วงนครราชสีมา – บ้านไผ่ ช่วงที่ 5 งานจัดการประกวดราคา ช่วงบ้านไผ่ – หนองคาย และ ช่วงที่ 6 งานสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ หลังการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2020 8:26 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.ลุยไฮสปีดโคราช-หนองคาย
กรุงเทพธุรกิจ 25 ธันวาคม 2563


รฟท. ศึกษารถไฟความเร็วสูง ช่วงโคราช-หนองคาย เชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ส่งเสริมเศรษฐกิจสู่ภาคอีสาน
กรมประชาสัมพันธ์
25 ธันวาคม 2563

วันนี้ (25 ธันวาคม 2563)ณ ห้อง Convention โรงแรมรอยัลนาคาราและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ หนองคาย จังหวัดหนองคาย นายเอกพร จุ้ยสำราญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการ ผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมจำนวนมาก

การประชุมครั้งนี้ ได้นำเสนอผลสรุปการศึกษาของโครงการ ตั้งแต่การก่อสร้างที่กำหนดเป็นทางรถไฟระดับพื้นระยะทาง 185 กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟยกระดับระยะทาง 171 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 250,000 ล้านบาท มีสถานีรถไฟทั้งสิ้น 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ หนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เซียงรากน้อย จ.พระนคศรีอยุธยา และที่นาทาหนองคาย พร้อมด้วยหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จ.นครราชสีมา สถานีหนองเม็ก จ.ขอนแก่น สถานีโนนสะอาด จ.อุดรธานี และสถานีนาทาหนองคาย มีจุดย่านกองเก็บตู้สินค้า(Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา จ.หนองคาย ใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่งผลให้กรเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงหนองคายใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที

สำหรับแผนการดำเนินงานโครงกรในระยะถัดไปภายหลังศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จ รฟท.จะเริ่มดำเนินการขออนุมัติดำเนินโครงการ และออกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในปี 2564 จากนั้นจะตำเนินการประกวดราคา สำรวจรายละเอียด อสังหาริมทรัพย์ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ในปี 2565 โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 48 เดือน จากนั้นเริ่มดำเนินการในปี 2566 ใช้ระยะเวลาการดำเนินการ 66 เดือน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณ 2572 สามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ ww.hsrkorat-nongkhai.com หรือที่แฟนเพจ www.facebookcom/hskorattononghai "โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2020 2:49 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
ที่ดินขึ้น5เท่าทุนใหญ่ยึดEEC
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ท้องถิ่นขานรับไฮสปีด


ซีพี ย้ายสถานีไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน พัทยาวุ่นรื้อแผนโมโนเรล
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 06:30:16 น.


เปิดประเด็นเรื่องการย้ายสถานีพัทยา ของซีพีโดยฝ่ายค้าน
https://www.facebook.com/spravinvongvuth.MFP/posts/849764239145117
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 29/12/2020 11:25 pm    Post subject: Reply with quote

'คณิศ'มั่นใจฉลุยส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดพร้อมลุยมักกะสัน

ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ : 29 ธันวาคม 2563

สกพอ.เดินหน้าเมกะโปรเจค "อีอีซี" ปี 2564 ลุยส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูง -เมืองการบิน เตรียมความพร้อมพัฒนามักกะสัน
สกพอ.เดินหน้าเมกะโปรเจค "อีอีซี" ปี 2564 ลุยส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูง -เมืองการบิน เตรียมความพร้อมพัฒนามักกะสัน ร.ฟ.ท.เร่ง "ซีพี" แจงข้อมูลย้ายสถานีไฮสปีด เดินหน้าเวนคืนที่ดิน ส่งมอบพื้นที่ ช่วงแรก ต.ค.64

การผลักดันเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในช่วงที่ผ่านมาได้เร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยลงนาม ร่วมลงทุนไปแล้ว 3 โครงการ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 โครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ (สกพอ.) เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซี ก้าวหน้าตามที่วางแผนไว้ โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการสนามบินอู่ตะเภา โดยไตรมาส 1-2 ปี 2564 จะเริ่มส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูง ให้บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ช่วงลาดกระบังสนามบินอู่ตะเภา เพื่อเริ่มก่อสร้างทางรถไฟและสถานี โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาอีกสักระยะเพื่อรื้อย้ายสิ่งกีดขวางออกและจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืนที่ดิน

ส่วนช่วงกรุงเทพฯ แม้ส่งมอบที่ดินและรื้อย้ายสาธารณูปโภคไม่ได้ทั้งหมด แต่ในปี 2564 จะเห็นการดำเนินงานของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ที่มีประสิทธิภาพและการบริการที่รวดเร็วขึ้น เพราะเอกชนจะเริ่มมาบริหารงานและเพิ่มขบวนรถมากขึ้นทำให้ความถี่ในการให้บริการประชาชนทำได้ดีขึ้น โดยให้บริการผู้โดยสารได้สูงสุด 600,000 คนต่อวัน

นอกจากนี้ ปี 2564 จะเป็นการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมให้สถานีรถไฟมักกะสันเป็นสถานีหลักของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งสถานีมักกะสันพร้อมเป็นสถานีหลักของรถไฟความเร็วสูง โดยปัญหาทางเข้าสถานีที่คนเดินทางเข้าสู่สถานีได้ยากกำลังออกแบบสร้างทางเดินเข้าสู่สถานี ซึ่งการขุดทางรอดใต้ดินให้มีทางเข้าออกได้ถึง 6 ทางเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้า-ออกสถานีของประชาชน

สำหรับรถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายจากสนามบินอู่ตะเภาไปยัง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด กำลังศึกษาว่าจะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ เพราะการลงทุนรถไฟความเร็วสูงต้องเชื่อมเมือง ขนาดใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาก 2 เมือง เข้าด้วยกัน โดยการลงทุนระยะแรกเชื่อมกรุงเทพฯ และสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งผ่านเส้นทางที่เป็นเมือง และชุมชนและได้ประโยชน์จากสนามบินอู่ตะเภา ทำให้การลงทุนสร้างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

"ความสำคัญที่ต้องติดตามจากนี้ คือ การให้รถไฟความเร็วสูงและสนามบินอู่ตะเภาเสร็จและเปิดบริการในระยะเวลาใกล้เคียงกันหรือพร้อมกันจึงจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจเต็มที่ ซึ่งจะแล้วเสร็จปี 2568 โดยได้ตั้งคณะทำงาน ให้ทั้ง 2 โครงการทำงานร่วมกันต่อเนื่อง ซึ่งต้องมอง ไปข้างหน้าเพราะโครงการนี้แล้วเสร็จในช่วงที่โควิด-19 ควบคุมได้แล้ว" นายคณิศ กล่าว

รฟท.เดินหน้าเวนคืนที่ดิน

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งเบื้องต้น ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะส่งมอบพื้นที่ส่วนแรก คือ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เข้าดำเนินงานตามสัญญากำหนดภายในเดือน ต.ค.2564

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท. รอข้อมูลประกอบการพิจารณา กรณีเอกชนมีข้อเสนอขอย้ายสถานี 3 แห่ง คือ สถานีชลบุรี สถานีพัทยาและสถานีฉะเชิงเทรา แต่ยังไม่ได้รับข้อมูลจากเอกชน ดังนั้น ร.ฟ.ท.จึงเดินหน้าเตรียมเวนคืนพื้นที่ก่อสร้างตามสัญญากำหนด ซึ่งอยู่ขั้นตอนประกาศราคาเวนคืนที่ดินและดำเนินการเจรจาทำสัญญากับเจ้าของที่ดิน

ทั้งนี้ เมื่อ ร.ฟ.ท.ยังไม่ได้ข้อมูลการย้ายสถานีถึงเหตุผลและประโยชน์ที่ประชาชนจะรับ ดังนั้นจึงต้องเดินหน้าเวนคืนตามที่สัญญากำหนด โดยอยู่ระหว่างของบเวนคืนเพิ่มเติม ซึ่งหากเวนคืนที่ดินไปแล้วเอกชนมาขอย้ายสถานีก็สามารถทำได้ แต่เอกชนจะต้องมีแผนพัฒนาที่ดินที่ ร.ฟ.ท.เวนคืนมาด้วย และต้องใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์กำหนด คือ การใช้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า การส่งมอบแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีกำหนดวันที่ 24 ต.ค.2564 ซึ่งเอกชนได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลี 6 คน มาศึกษาดูงานและหารือแผนงานดำเนินการในอนาคต อาทิ กำหนดซ่อมขบวนรถ และแผนเตรียมปรับปรุงสถานี ติดตั้งระบบบอกทาง ไฟฟ้า รวมไปถึงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณให้สอดคล้องกับระบบของรถไฟความเร็วสูง

สกอพ.เร่งเอกชนเข้าพื้นที่

แหล่งข่าวจาก สกพอ.กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีหลายโครงการลงพื้นที่เตรียมงานก่อสร้างแล้วหลังทยอยลงนามร่วมลงทุนในปี 2562-2563 ซึ่ง สกพอ.ประเมินว่าเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงหรือวัคซีนเริ่มใช้งานในช่วงกลางปี 2564 โครงการลงทุนในอีอีซีจะเริ่มก่อสร้างได้

ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาหลายโครงการล่าช้ากว่าแผนเพราะโควิด-19 และการฟ้องร้องของภาคเอกชน แต่ปัจจุบันโครงการสนามบินอู่ตะเภาและโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่ติดปัญหาแล้วเพราะลงนามร่วมลงทุนเรียบร้อย เหลือเพียงขั้นตอนการส่งมอบพื้นที่และการเข้าดำเนินโครงการที่จะเร่งรัดในช่วงปี 2564 ดังนั้นยังเหลืออีก 1 โครงการที่ยังไม่ได้ลงนามร่วมลงทุน คือ โครงการ พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 395, 396, 397 ... 541, 542, 543  Next
Page 396 of 543

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©