RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263071
ทั้งหมด:13574353
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สถานีนครราชสีมาที่เปลี่ยนไป
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สถานีนครราชสีมาที่เปลี่ยนไป

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 30/12/2020 8:23 am    Post subject: สถานีนครราชสีมาที่เปลี่ยนไป Reply with quote


สถานีนครราชสีมาที่เปลี่ยนไป
https://www.youtube.com/watch?v=HTJMpOqJW-c
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2022 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

ปชช.แห่อาลัย สถานีรถไฟโคราช เตรียมทุบทิ้ง สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง ปิดตำนาน 122 ปี
วันอาทิตย์ ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:34 น.

ปชช.แห่อาลัย สถานีรถไฟโคราช เตรียมทุบทิ้ง สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง ปิดตำนาน 122 ปี
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถานีรถไฟนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครราชสีมา มีนักท่องเที่ยวชาวโคราชเดินทางมาถ่ายรูปเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกหลังจากสถานีรถไฟนครราชสีมาจะมีการปรับปรุงสถานีเพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง


นอกจากนี้ในช่วงเย็น ทางการรถไฟยังได้มีการจัด “นิทรรศการรำลึก สถานีรถไฟโคราช 122 ปี” เพื่อให้พี่น้องชาวจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยว ได้มาร่วมย้อนรำลึกตำนานเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคม 2565 ซึ่งบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งโต๊ะเปิดขายอาหารเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่มาร่วมชมงานได้จับจ่ายใช้สอย ซื้ออาหารรับประทาน และดื่มด่ำไปบรรยากาศจำลองย้อนยุค พร้อมทั้งมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาใช้บริการรถไฟกันอย่างเนืองแน่น อีกทั้งมีการเสวนา จัดแสดงรถไฟดีเซลรุ่นเก่า โมเดลรถไฟทุกรุ่น และสิ่งของต่าง ๆ พร้อมกับได้รับชมประวัติความเป็นมาของการรถไฟที่จะนำพาทุกคนย้อนไปในอดีต


โดยการจัดนิทรรศการรำลึกสถานีรถไฟโคราช 122 ปี ขึ้น เพื่อย้อนรำลึกประวัติศาสตร์อันยาวนานของสถานีรถไฟเก่าแก่กลางเมืองย่าโม และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีพระราชดำริให้สร้างเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้ใช้สัญจร และได้เข้าถึงย่านการค้าที่สำคัญ ซึ่งในอนาคตอันใกล้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้วางแผนที่จะรื้อถอนสถานีรถไฟนครราชสีมา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยจะมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นสถานีใหม่ที่ทันสมัย รองรับการสร้างระบบขนส่งแบบใหม่ อย่างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ เพื่อให้ขนส่ง-เดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และรองรับผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการได้มากยิ่งขึ้น



ล่าสุดวันนี้โดยนางวัฒนาพร มหาภูวตานนท์ อายุ 60 ปี นักท่องเที่ยว กล่าวว่า “รู้สึกเสียดายค่ะ แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกยินดีด้วยที่สถานีมีการพัฒนาขึ้น โดยส่วนตัวอยากจะให้คงสถานีแห่งนี้เอาไว้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จะบันทึกความทรงจำในอดีต และเพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้มาศึกษาเรียนรู้ต่อไป” และว่า ตนยังคิดว่าหลังจากมีการปิดปรับปรุงสถานีเสร็จแล้ว จะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเดินทางของประชาชน และนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย


ด้านนางจีรภา รวมทองหลาง อายุ 41 ปี แม่ค้า กล่าวว่า รู้สึกใจหาย ไม่อยากให้สถานีแห่งนี้ถูกรื้อถอนออกไป แต่ก็เข้าใจว่าทุกอย่างต้องมีการพัฒนาไปสู่ความเจริญทั้งนั้น

จึงขอเชิญชวนผู้ที่มีใจรักผูกพันกับรถไฟไทย และคนรุ่นใหม่ ได้มาเที่ยวชม มาเก็บภาพบรรยากาศ บันทึกความทรงจำไปด้วยกัน ก่อนที่จะมีการทุบทำลายทิ้งในปีหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2022 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

#วันนี้ในอดีต 21 ธันวาคม 2443
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการเดินรถไฟหลวงจากแก่งคอย - นครราชสีมา ณ สถานีรถไฟโคราช
โดยมีสถานีรถไฟที่เปิดให้บริการทั้งหมด 14 สถานี ได้แก่ แก่งคอย ทับกวาง มวกเหล็ก ปากช่อง จันทึก คลองไผ่ ลาดบัวขาว หนองน้ำขุ่น สีคิ้ว สูงเนิน กุดจิก โคกกรวด ภูเขาลาด โคราช รวมระยะทาง 138.68 กิโลเมตร
สถานีรถไฟโคราช สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2443 เมื่อทางรถไฟจากสถานีแก่งคอย ถึงนครราชสีมา สร้างแล้วเสร็จ และในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จเปิดการเดินรถถึงสถานีโคราช และได้เสด็จโดยขบวนรถไฟพระที่นั่ง ประพาสจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2443
"สถานีโคราช" อาคารสถานีเป็นอาคารไม้ ต่อมาในปี พ.ศ.2477 สมัยพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีนครราชสีมา"
ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดโจมตี บริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมา ซึ่งทำให้อาคารสถานีรถไฟได้รับความเสียหายบางส่วน
ภายหลังต่อมาจึงได้งบประมาณก่อสร้างอาคารสถานีรถไฟนครราชสีมาขึ้นใหม่เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และเปิดใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2498 มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนบริเวณตัวอาคารสถานีโคราชเดิมปัจจุบันใช้เป็นที่รับส่งสินค้าของสถานีนครราชสีมา
เมื่อมีโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงผ่านเมืองนครราชสีมา จะมีการใช้พื้นที่ในการก่อสร้างอาคารสถานีและทางรถไฟความเร็วสูงแทนที่สถานีรถไฟเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้..
https://www.facebook.com/100000122231436/posts/9090139757666675/?mibextid=cr9u03
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2022 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

เที่ยวชมงานนิทรรศการรำลึก 122 ปี สถานีรถไฟโคราช
จ่าบอล คนรักรถไฟ
Dec 26, 2022 สถานีรถไฟนครราชสีมา


https://www.youtube.com/watch?v=ObOrlQBGWQk

นิทรรศการรำลึก 122 ปี สถานีรถไฟโคราช จัดขึ้นในวันที่ 21 - 25 ธันวาคม 2565 เวลา 10.00 - 22.00 น. ณ สถานีรถไฟนครราชสีมา โดยมีกิจกรรมในงานดังนี้

1. จัดบูธกรมรถไฟหลวง (บริเวณโถงสถานี)
- จัดแสดงหนังสือหายาก
- จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในยุคกรมรถไฟ
- จัดแสดงโมเดลรถไฟไทย

2. ชมหัวรถจักรประวัติศาสตร์ ร.9 (ดาเวนพอร์ต 535) ซึ่งเคยทำขบวนรถไฟพระที่นั่งในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี พ.ศ.2498

3. จำลองบรรยากาศเปิดการเดินรถไฟ ร.ศ.119

4. ตกแต่งหัวรถจักรไอน้ำ (หน้าสถานี) และประดับธงช้างเผือกตลอดชานชาลารถไฟ

5. จัดมุมแสดงรูปภาพเก่าสถานีรถไฟ ในอดีต

ุ6. การแต่งกายย้อนยุค สมัย ร.5
- เครื่องแบบข้าราชการกรมรถไฟ

7. จัดทำตั๋วรถไฟรุ่นเก่า (จำลอง) เป็นตั๋วลงทะเบียนร่วมงาน

8. ตั้งโต๊ะเสวนา เล่าเรื่อง"รำลึกรถไฟโคราช"

ถ่ายคลิปวันที่ 24 ธันวาคม 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2022 5:40 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดตำนาน 122 ปี เตรียมทุบทิ้ง “สถานีรถไฟโคราช”
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:19 น.

“รฟท.” เตรียมทุบทิ้ง ตำนาน 122 ปี “สถานีรถไฟโคราช” เริ่มก.พ.66 เล็งสร้างสถานีใหม่ รองรับไฮสปีด-รถไฟทางคู่ หนุนผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนรื้อถอนสถานีรถไฟนครราชสีมา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป เนื่องจากจะมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นสถานีใหม่ที่ทันสมัย รองรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) และรถไฟทางคู่ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และรองรับผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการได้มากยิ่งขึ้น


ทั้งนี้รฟท.ได้จัดนิทรรศการรำลึกสถานีรถไฟโคราช 122 ปี ขึ้น เพื่อให้พี่น้องชาวจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยว ได้ร่วมย้อนรำลึกตำนานเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21-25 ธันวาคม 2565 โดยย้อนรำลึกประวัติศาสตร์อันยาวนานของสถานีรถไฟเก่าแก่กลางเมืองย่าโม และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีพระราชดำริให้สร้างเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้ใช้สัญจร และเข้าถึงย่านการค้าที่สำคัญในอนาคตอันใกล้


ส่วนบรรยากาศภายในงานสถานีรถไฟนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครราชสีมา มีนักท่องเที่ยวชาวโคราชเดินทางมาถ่ายรูปเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกหลังจากสถานีรถไฟนครราชสีมาจะมีการปรับปรุงสถานีเพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง เป็นไปอย่างคึกคัก มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งโต๊ะเปิดขายอาหารเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่มาร่วมชมงานได้จับจ่ายใช้สอย ซื้ออาหารรับประทาน และดื่มด่ำไปบรรยากาศจำลองย้อนยุค พร้อมทั้งมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาใช้บริการรถไฟกันอย่างเนืองแน่น อีกทั้งมีการเสวนา จัดแสดงรถไฟดีเซลรุ่นเก่า โมเดลรถไฟทุกรุ่น และสิ่งของต่าง ๆ พร้อมกับได้รับชมประวัติความเป็นมาของการรถไฟที่จะนำพาทุกคนย้อนไปในอดีต


นอกจากนี้ในปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างเร่งรัดผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะ(เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร(กม.) มี 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้าการก่อสร้าง 16% จากการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ,การรื้อย้ายสาธารณูปโภค ฯลฯ ส่งผลให้การก่อสร้างมีความล่าช้าจากแผน โดยไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 6 สถานี ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2569


ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท ขณะนี้ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ และได้ยื่นขอพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ (สผ.) แล้ว คาดว่าจะเสนอโครงการฯ ต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. พิจารณาในเดือน ม.ค.-ก.พ. 66 ก่อนเสนอกระทรวง และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป


หากที่ประชุม ครม. เห็นชอบภายในเดือน เม.ย.-พ.ค. 66 คาดว่า รฟท. จะสามารถเริ่มกระบวนการประกวดราคา (ประมูล) และได้ผู้ชนะการประมูล พร้อมลงนามสัญญาภายในปลายปี 66 จากนั้นในปี 67 จะเริ่มงานก่อสร้าง และติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ใช้เวลา 4 ปี โดยงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณจะสามารถเริ่มงานได้ ต้องให้งานโยธาดำเนินการผ่านไปแล้วประมาณ 2-3 ปี ตามแผนคาดว่าโครงการฯ จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ประมาณกลางปี 72 แต่กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้เร่งรัดดำเนินการ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 71



สำหรับไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย มีจุดเริ่มต้นที่หลังสถานีนครราชสีมา จุดสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำโขง ฝั่งไทย ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ บัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2023 5:21 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจงเหตุต้องทุบสถานีรถไฟโคราชสายแรกของประเทศไทย
ภูมิภาค
สยามรัฐออนไลน์
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17:30 น.

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ที่ห้องประชุมนางสาวบุญเหลือ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ชั้น 2 นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รอง ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานจัดการประชุมร่วมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดนครราชสีมา (อจร.นม.) ครั้งที่ 1/2566 ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (VCS : Webex Meetings) กับผู้แทนกรมทางหลวง กรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีระเบียบวาระ การติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย โครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระและช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี




โดยผู้แทน รฟท. ได้ชี้แจงภาพรวมโครงการไฮสปีด สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงสถานีโคกรวด-สถานีนครราชสีมา ขอบเขตงานโครงสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.52 กิโลเมตร คันทางระดับดิน 7.85 กม. ทางยกระดับ 4.853 กม. มีความคืบหน้าเพียง 3.40 % เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ขอให้พิจารณาทบทวนรูปแบบคันดินเป็นตอม่อ ทำให้เกิดความล่าช้าสะสมทั้งไฮปรีด โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ปัจจุบันช้ากว่าแผนงาน 4 ปี ส่งผลกระทบกับเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก หากไม่เร่งดำเนินการจะเป็นคอขวดในอนาคต



ดังนั้นเพื่อให้ทั้ง 2 โครงการสามารถก่อสร้างได้และอยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญาไม่เกิดข้อขัดแย้งกับประชาชน แผนดำเนินงานขออนุมัติ ครม.เพิ่มเติม งบประมาณ 4,791.45 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 28 เดือน นับจาก รฟท.ลงนามบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้างก่อสร้างภายในเดือนพฤษภาคม 2566 รูปแบบยกระดับตั้งแต่ช่วงผ่านบ้านเดื่อ ต.โคกกรวด อ.เมือง ถึงสถานีนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 8 กม. และจำเป็นต้องทุบทิ้งอาคารสถานีนครราชสีมา หลังเดิมที่มีอายุกว่า 68 ปี เนื่องจากตำแหน่งทับอาคารสถานีแห่งใหม่รองรับการขนส่งโดยสารรถไฟทางคู่รูปแบบยกระดับความสูง 10.5 เมตรและไฮสปีด 25 เมตร เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ผู้มาใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย

ทั้งนี้สถานีรถไฟนครราชสีมา หลังแรก เมื่อประมาณ 123 ปี ช่วงปลายปี ร.ศ.119 หรือ พ.ศ.2443 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งจากสถานีกรุงเทพมหานครถึงสถานีโคราช (มณฑลนครราชสีมา) เป็นปฐมฤกษ์การเปิดเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา สายแรกของประเทศไทย ต่อมาช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอาคารถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดได้รับความเสียหาย จึงก่อสร้างอาคารหลังใหม่ เปิดใช้งาน พ.ศ.2498 และในปีเดียวกันในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชีนี ประทับรถไฟพระที่นั่งมาลงที่สถานีรถไฟนครราชสีมา เพื่อทรงเยี่ยมพสกนิกร เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลอีสานนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวโคราช
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©