Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180093
ทั้งหมด:13491325
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 113, 114, 115 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2020 9:17 am    Post subject: Reply with quote

ที่สุดแห่ง...มหากาพย์ เมกะโปรเจ็กต์คมนาคม
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เป็นการส่งท้ายปิดปี 2563 แบบ อกสั่นขวัญหาย เมื่อเกิดปรากฏการณ์การระบาดโควิด-19 กลับมาเขย่าโลกและประเทศไทยระลอกใหม่ และน่าจะลากยาวไปตลอดปี 2564

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการระบาดระลอกเก่า-ระลอกใหม่ รัฐบาลยังต้องเดินหน้าลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม ที่ยังเป็นที่คาดหวังจะเป็นพระเอกกอบกู้เศรษฐกิจ

แต่ดูเหมือนตลอดปี 2563 ที่ผ่านมา การรันโครงการต่าง ๆ ของ "กระทรวงคมนาคม" ภายใต้ลมปีกของ "คมนาคมยูไนเต็ด" มีรัฐมนตรีจาก 3 พรรคการเมืองบริหาร นำโดย "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" พรรคภูมิใจไทย ที่คุมอำนาจเบ็ดเสร็จ "ถาวร เสนเนียม" พรรคประชาธิปัตย์ และ "อธิรัฐ รัตนเศรษฐ" พรรคพลังประชารัฐ ยังผลักดันงานประมูลโครงการใหญ่ในมือออกมาได้ไม่มากนัก นอกจาก ปิดจ็อบงานเก่า

ปิดฉากมหากาพย์ทางด่วน

หลังเจรจายืดเยื้อกว่า 1 ปี เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 "รัฐบาลประยุทธ์" ได้ปิดฉากข้อพิพาทสัมปทานทางด่วนระหว่าง "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" กับ "BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ" ที่มีต่อกันมายาวนาน 25 ปี ได้จบบริบูรณ์

หลัง "ครม.-คณะรัฐมนตรี" ใช้เวลาถกกว่า 2 ชั่วโมง ก่อนจะประทับตราอนุมัติตามที่คมนาคมเสนอ หลังเพียรพยายามเจรจาอยู่หลายครั้งจนมาถึงจุดลงตัว

โดยขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน 3 โครงการ อีก 15 ปี 8 เดือน ให้หมดสัญญาพร้อมกันในวันที่ 31 ต.ค. 2578 แลกกับระงับข้อพิพาท จำนวน 17 คดี วงเงิน 58,873 ล้านบาท ประกอบด้วย ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน A B C จะขยายเวลาสัมปทาน 15 ปี 8 เดือน จากวันที่ 29 ก.พ. 2563-วันที่ 31 ต.ค. 2578, ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ขยายระยะเวลา จากวันที่ 22 เม.ย. 2570-วันที่ 31 ต.ค. 2578 และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ขยายระยะเวลาจากวันที่ 27 ก.ย. 2569-วันที่ 31 ต.ค. 2578 และจะปรับค่าผ่านทางอัตรา 10 บาท ในทุก 10 ปี และยกเว้นเก็บค่าผ่านทางในวันหยุดนักขัตฤกษ์ตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรีตลอดอายุสัมปทาน

แม้ BEM จะไม่ได้ตามที่ใจอยาก จะได้ แต่นับว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้

รีสตาร์ตมอเตอร์เวย์บางใหญ่

โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. มี "ทล.-กรมทางหลวง" ดำเนินการ หลังหยุดชะงักไปร่วม 2 ปี ติดหล่มค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้น 12,032 ล้านบาท กว่าจะฝ่าด่าน ครม.อนุมัติให้เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา ต้องใช้เวลาเคลียร์ที่มาที่ไปของปัญหาอยู่หลายรอบ

จากค่าก่อสร้างที่พุ่ง ทำให้เงินลงทุนโครงการทะยานตามไปด้วย จากเดิม 49,120 ล้านบาท เป็น 67,652 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 50,200 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 17,452 ล้านบาท

ขณะที่กรมทางหลวงเร่งตีเช็คจ่ายค่าเวนคืนให้ชาวบ้าน ส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาจนสามารถเปิดไซต์ก่อสร้างได้อีกครั้งจนครบ 25 สัญญา เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา

ล่าสุดสามารถสปีดงานก่อสร้าง ที่เริ่มตอกเข็มตั้งแต่ปี 2559 คืบหน้าอยู่แค่ 10.20% จนรุดหน้า 44% เร็วกว่าแผน 5% ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว 4 สัญญาในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี

ภายในต้นปี 2564 เตรียมเซ็นสัญญากลุ่มกิจการร่วมค้า BGSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ราชกรุ๊ป ผู้ชนะประมูล PPP gross cost ติดตั้งและบริหารระบบเก็บเงิน (O&M) ระยะเวลา 30 ปี ด้วยวงเงิน 17,809 ล้านบาท เพื่อเดินหน้างานระบบ คาดว่าจะเปิดใช้ปลายปี 2566

จะช่วยให้การเดินทางจากบางใหญ่กาญจนบุรี ใช้เวลาเพียง 48 นาที เปรียบเทียบกับการเดินทางโดยใช้ทางหลวงแผ่นดินซึ่งใช้เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที

บริบทใหม่ทางด่วนฟันหลอ

ถึงจะประมูลได้ผู้รับเหมาไปตั้งแต่ วันที่ 22 พ.ค. 2562 แต่ถึงขณะนี้โครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก 18.7 กม. วงเงิน 29,154.230 ล้านบาท ของ "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" ยังเปิดไซต์ได้แค่ 2 สัญญา ก่อสร้างแบบฟันหลอ

นั่นคือสัญญาที่ 4 งานสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาคู่ขนานสะพานพระราม 9 เชื่อมทางด่วนปัจจุบันของ บมจ.ช.การช่าง และสัญญาที่ 2 งานสร้าง ทางยกระดับจากเซ็นทรัลพระราม 2- โรงพยาบาลบางปะกอก 9 ของกิจการร่วมค้าซีทีบี ประกอบด้วย ไชน่า ฮาร์เบอร์- ทิพากร-บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง

สำหรับสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับจากแยกต่างระดับบางขุนเทียนเซ็นทรัลพระราม 2 ระยะทาง 6.4 กม. มีกิจการร่วมค้า CNA มี บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง, บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ และ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด

และสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางยกระดับจากโรงพยาบาลบางปะกอก 9-ด่านดาวคะนอง ระยะทาง 5 กม. มีกิจการร่วมค้า ไชน่าเรลเวย์-ซีวิล-บุญชัย เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด

หลังติดปมร้องคุณสมบัติของผู้ชนะประมูลตลอดปี 2563 ที่ผ่านมา ล่าสุด คณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2563 มีมติให้ประมูลทั้ง 2 สัญญานี้ใหม่ในต้นปี 2564 ทำให้ไทม์ไลน์การเปิดบริการขยับไปอย่างน้อย 1 ปี จากเดิมในปี 2565

กลายเป็นมหากาพย์บทใหม่ สนามประมูลงานภาครัฐ คนที่เสนอราคา ต่ำสุดมาตกม้าตายในรอบสุดท้าย

ไม่ต่างจากทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N1 (แยกเกษตร-ศรีรัชฯ) N2 (แยกเกษตร-นวมินทร์) และส่วนต่อเชื่อมวงแหวนรอบนอกตะวันออก มีเงินพร้อมสร้าง แต่ กทพ.ก็ยังเคลียร์ปมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่จบ เพราะไม่รับทุกข้อเสนอ

รอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ปรับแผนโครงการใหม่ ตัดช่วง N1 ออก แล้วเร่งสร้างช่วง N2 และต่อขยายวงแหวนตะวันออก ระยะทาง 10.6 กม. วงเงิน 14,382 ล้านบาท ที่ กทพ.ระดมทุนจากกองทุนรวมไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (TFFIF) ไว้แล้ว เพื่อปลดภาระดอกเบี้ยที่แบกไว้ปีละ 1,300 ล้านบาท

โฮปเวลล์ตามหลอนไม่เลิก

แม้ว่าโครงการจะล่มสลายไปแล้ว แต่ค่าโง่ "โฮปเวลล์" ยังตามหลอนกระทรวงคมนาคมไม่เลิก หลังเมื่อปี 2562 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา กลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ยกคำร้องของกระทรวงคมนาคมและ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" และให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 และข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 64/2551 จ่ายค่าก่อสร้างโครงการ 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% รวมประมาณ 24,798 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับจากวันที่คดีถึงที่สุด รวมทั้งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ให้กับ "บจ.โฮปเวลล์ (ประเทศไทย)" ทั้งหมดแต่ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เจ้ากระทรวงคมนาคม สั่งให้หาหลักฐานต่อสู้คดีใหม่ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามารับ

ตำแหน่ง โดยเดินหน้าต่อสู้ 2 ขา ขาหนึ่ง ยื่นศาลปกครองตรวจสอบการจดทะเบียนของบริษัทโฮปเวลล์ ยื่นฟ้องขอให้ศาลมี คำสั่งให้นายทะเบียน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เพิกถอนการ จดทะเบียนย้อนหลังของโฮปเวลล์ โดยขอให้เพิกถอนตั้งแต่ปี 2533 ที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

อีกขาหนึ่งยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดินพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง โดยให้นับอายุความตามมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2545 ที่ให้นับอายุความฟ้องคดีปกครองตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการ โดยมองว่ามติดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพราะไม่ได้ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบ และไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถใช้บังคับได้ รอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเช่นกัน

ผ่านมา 30 ปี คดี "ค่าโง่โฮปเวลล์" ยังเป็นมรดกตกทอดจากรัฐบาลยุค รสช.มาถึงยุครัฐบาลประยุทธ์ในปัจจุบัน

รถไฟฟ้าสัมปทานข้าใครอย่าแตะ

รถไฟฟ้าสารพัดสีที่สร้างเสร็จ กำลังสร้าง รอนับวันเปิดให้บริการ มี 2 กลุ่มทุนที่กุมสัมปทานเดินรถไว้ในมือ "BTSC-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ" ของเจ้าพ่อ รถไฟฟ้าบีทีเอส "คีรี กาญจนพาสน์" ยึดหัวหาดกรุงเทพมหานคร (กทม.) คว้าสัมปทานเส้นทางผ่าเมือง 23.5 กม. จากหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติสะพานตากสิน ระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค. 2572

พ่วงสัญญาจ้างเดินรถระยะยาว 30 ปี ส่วนต่อขยาย "สะพานตากสิน-บางหว้า และอ่อนนุช-แบริ่ง" และส่วนต่อขยายใหม่ "แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ที่ กทม.รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หมดสัญญาพร้อมกันในปี 2585 รวมระยะทางทั้งสิ้น 68.25 กม.

ยังรุกคืบรับสัมปทานที่ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย"ร่วมลงทุน PPP net cost ระยะเวลา 33 ปี ร่วมแสนล้าน ก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรก สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เตรียมทยอยเปิดในเดือน ต.ค. 2564

ล่าสุด ยื่นประมูลชิงสัมปทานสายสีส้ม "บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมมีนบุรี" ที่ รฟม.ให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost หาเงิน 1.28 แสนล้าน ก่อสร้างช่วงตะวันตก "บางขุนนนท์ศูนย์วัฒนธรรม" จัดหาระบบและรับสัมปทานเดินรถทั้งโครงการ 30 ปี

สนามนี้มี 2 กลุ่มทุนเข้าชิง คือ กลุ่มบีทีเอสผนึก บมจ.ซิโน-ไทยฯ ธุรกิจ รับเหมาของ "ตระกูลชาญวีรกูล" แข่งกับกลุ่ม BEM (บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ) ธุรกิจในเครือ ช.การช่างของ "ปลิว ตรีวิศวเวทย์" ผู้กุมสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหัวลำโพง-บางซื่อ และส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 48 กม. หมดพร้อมกันในปี 2592

หลัง รฟม.รวมสัมปทานเดิมจะสิ้นสุดในปี 2572 และสัญญาใหม่เป็นสัญญาเดียว และยังได้สัญญาจ้างเดินรถสายสีม่วง "เตาปูน-คลองบางไผ่" 30 ปี วงเงินกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ "สายสีแดง" วิ่งจากตลิ่งชันบางซื่อ-รังสิต ของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จ้างบริษัทลูก "บจ.รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท." ที่หมดภารกิจเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ จะเปลี่ยนผ่านให้ "กลุ่ม ซี.พี." มารับช่วงต่อในเดือน ต.ค. 2564 ทำหน้าที่เดินรถสายสีแดงชั่วคราว ระหว่างรอสรุป PPP เดินรถสายสีแดงทั้งโครงการ ตามนโยบาย "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เจ้ากระทรวงคมนาคม จะเปิดประมูลในปี 2565

สายสีแดงใครจะคว้าสัมปทานไปครอง คงต้องลุ้นกันยาว ๆ

แต่ที่กำลังลุ้นกันหนักสัมปทานสายสีเขียวที่ยังปิดดีลไม่ลงสักที ทั้งที่ ครม.เศรษฐกิจอนุมัติไปเมื่อเดือน พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา และแม้จะมีคำสั่ง ม.44 ที่ทำให้ "กระทรวงมหาดไทย-กทม." เจรจากันได้จบครบถ้วนก็ตาม

ล่าสุดยังติด 4 ประเด็นของคมนาคมออกมาขย่ม ปมความครบถ้วนตาม หลักการ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท ที่ยังแพงเทียบกับสายสีน้ำเงินเก็บ 42 บาท รัฐจะเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ที่จะรับโอนจากเอกชน และการจ้าง BTSC วิ่งส่วนต่อขยายเมื่อปี 2555 ยังอยู่ในขั้นตอนไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรรอให้การพิจารณาดังกล่าวมีผลไปก่อน

เช่นเดียวกับ "สายสีส้ม" ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ที่ติดปมฟ้องร้องเกณฑ์ประมูลใหม่ ยังเป็นที่จับตาข้อพิพาทระหว่างบีทีเอส-รฟม. ศาลจะมีคำสั่งออกมาให้เดินหน้าเกณฑ์เก่าที่ชี้ขาดผู้แพ้ผู้ชนะ ที่ "ราคา" หรือเกณฑ์ใหม่ที่ รฟม.ให้เปิดซองเทคนิคและราคาพร้อมกัน และใช้คะแนน "เทคนิค" 30 คะแนน พิจารณารวมกับ "การเงิน" 70 คะแนน

อีกปมคงจะไม่จบง่าย ๆ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายช่วงรัชดาฯ- ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. ที่กลุ่มบีทีเอสเสนอลงทุนเพิ่ม 3,779 ล้านบาท จากสัมปทานสายหลัก "ลาดพร้าว-สำโรง" แต่ติดเงื่อนไขที่ รฟม.ให้เขียนเพิ่มเติมในสัญญา ว่าจะเปิดโอกาสให้มีการเจรจาเมื่อ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน พิสูจน์ ได้ว่าบริษัทได้รับผลกระทบจากการเปิดให้บริการสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย

ถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติ แต่เมื่อสายหลักเปิดบริการในปี 2565 บีทีเอสยังไม่รับเงื่อนไข รฟม.ก็ถือว่าส่วนต่อขยายนี้ถูกพับไปโดยปริยาย

ปฏิรูป "ขสมก." ติดวังวนหนี้

ยังคงเป็นที่จับตาแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพื่อปลดภาระหนี้กว่า 1.27 แสนล้านบาท ที่ตกมาอยู่ในมือของพรรคภูมิใจไทย อีกครั้ง หลังเคยเข็นมาแล้วสมัย "โสภณ ซารัมย์" นั่งเป็นเจ้ากระทรวงคมนาคมครั้งล่าสุดนี้ "อนุทิน-ศักด์สยาม"แท็กทีมเตรียมดันแผนฟื้นฟูเข้าสู่ ที่ประชุม ครม.ให้ได้ในเดือน ม.ค. 2564 หลังรอเก้อมาหลายนัด ขณะนี้รอ "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" ขุนคลังคนใหม่ เจียระไนเรื่องภาระหนี้ที่คมนาคมจะโละให้รัฐรับภาระแทนทั้งหมด จึงทำให้แผนฟื้นฟู ขสมก.ยังติดอยู่ที่คลังและสภาพัฒน์ที่ขอสแกนข้อมูลอย่างถี่ถ้วน

สำหรับแผนฟื้นฟูฉบับใหม่เวอร์ชั่นภูมิใจไทย จะปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ 162 เส้นทาง มีกรมการขนส่งทางบกเป็น ผู้กำกับเส้นทางเอกชนและ ขสมก. กำหนดค่าโดยสารอัตราเดียว 30 บาท/คน/วัน นั่งได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว

ให้ ขสมก.โละรถเก่าเช่ารถโดยสารไฟฟ้า (EV) ปรับอากาศ 2,511 คัน ระยะเวลาเช่า 7 ปี จ้างเอกชนวิ่งตามระยะทาง ทั้งในส่วนของเส้นทาง ขสมก. 108 เส้นทาง และรถร่วมเอกชนจะให้วิ่ง 54 เส้นทาง 1,500 คัน มีทั้งรถโดยสารไฟฟ้าและ NGV เพื่อปลดภาระการซ่อมบำรุง โดยรถใหม่จะทยอยออกวิ่งบริการในปี 2564-2565 เป็นต้นไป

ขอให้รัฐสนับสนุนเงิน 4,560 ล้านบาท เออร์ลี่พนักงาน 5,301 คน เพื่อรีดไขมันองค์กร ยังมีแผนให้เอกชนเช่าที่ดินอู่จอดรถอยู่ติดแนวรถไฟฟ้า ได้แก่ อู่บางเขน พื้นที่ 11 ไร่ มีราคาตลาดมูลค่า 1,148.25 ล้านบาท เหมาะสมพัฒนา ศูนย์การค้า โรงแรม และอู่มีนบุรี พื้นที่ 10 ไร่ มีราคาตลาดมูลค่า 347 ล้านบาท เหมาะสมพัฒนาเป็นอพาร์ตเมนต์และตลาด

หากเดินตามแผนนี้ "ศักดิ์สยาม" การันตีว่า ขสมก.จะพลิกผลประกอบการ เป็นบวกใน 7 ปี แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐจะต้องสนับสนุนบริการสาธารณะ 7 ปี วงเงิน 9,674 ล้านบาท และรับภาระหนี้ 127,786.109 ล้านบาท เป็นหนี้จากพันธบัตร 64,339.160 ล้านบาท เงินกู้ ระยะยาว 63,446.949 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/01/2021 10:00 am    Post subject: Reply with quote

'ศักดิ์สยาม'ลุยเมกะโปรเจ็กต์ ปั๊มงบ2แสนล.เซ็นมอเตอร์เวย์-รถไฟฟ้า
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564

"ศักดิ์สยาม" เผยโควิดทำเมกะโปรเจ็กต์ สะดุด ลั่นปี'64 เร่งปัมเต็มสูบ เบิกจ่ายงบประมาณ 2.27 แสนล้าน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปีใหม่ 2564 มี 7 เรื่องที่ต้องเร่งทำต่อ ได้แก่ ปรับเวลารถบรรทุก 10 ล้อเข้าพื้นที่ กทม.-ปริมณฑลลด PM 2.5 ศึกษารูปแบบแอปแท็กซี่ คาดว่าต้นปีจะทดลองและใช้เต็มรูปแบบเดือน พ.ค. ผลักดันระบบตั๋วร่วมใช้ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ ขสมก. รถ บขส. และเรือไฟฟ้า

นำแผนฟี้นฟูหนี้ 1.27 แสนล้านบาทขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ มีข้อเสนอเช่ารถเมล์ใหม่ พัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ และปฏิรูป 162 เส้นทาง เสนอให้บอร์ดสภาพัฒน์พิจารณาในเดือน ม.ค.2564

เปิดให้เอกชนร่วม PPP รถไฟทางคู่เฟส 2 วงเงิน 2.7 แสนล้านบาท พัฒนาการขนส่งสินค้าท่าเรือบางสะพาน-แหลมฉบัง และพัฒนาสนามบินภูมิภาคเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตร นำร่องสนามบินสุราษฎร์ธานี อุดรฯ อุบลฯ

"ผมเข้ามาแก้ปัญหาที่สะสมมาในอดีต มีหลายเรื่องที่แก้ไขสำเร็จ"

สำหรับนโยบายปี 2564 จะมีไทม์ไลน์โครงการชัดขึ้น ยังให้เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ 2.2 แสนล้านบาท ให้แล้วเสร็จเดือน ส.ค.นี้ กำชับให้ประมูลโครงการที่ใช้งบฯผูกพันข้ามปีให้เสร็จในเดือน มี.ค. มั่นใจการลงทุนจะเร็วกว่าปกติ ซึ่งโควิด-19 ทำให้มีปัญหาบ้าง

อย่างไรก็ตามมีโครงการต้องเร่ง อาทิ รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี 3 กม. วงเงิน 3,379 ล้านบาท ที่ บจ.นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล เป็นผู้รับสัมปทานเสนอลงทุนเพิ่มเให้ ครม.อนุมัติ อยู่ระหว่างรอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การเซ็นสัญญาติดตั้งและบริหารระบบเก็บเงิน (O&M) มอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา 21,329 ล้านบาท และบางใหญ่-กาญจนบุรี 17,809 ล้านบาท กับกลุ่มกิจการร่วมค้า BGSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ บมจ.ซิโน-ไทย ฯ และ บมจ.ราช กรุ๊ป จะเซ็นสัญญาบางใหญ่-กาญจนบุรีก่อนในช่วงต้นปีนี้

ส่วนบางปะอิน-นครราชสีมา มีปัญหาปรับแบบก่อสร้าง 17 ตอน กรมทางหลวงตั้งคณะทำงาน แก้ไขปัญหาแล้ว อยู่ระหว่างลงพื้นที่ตรวจสอบ ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถึงจะเซ็นสัญญาได้ หากส่งมอบพื้นที่ไม่ได้เซ็นไปแล้ว จะทำให้เกิดค่าโง่ได้

อีกทั้งจะเร่งการท่าเรือแห่งประเทศไทยเจรจาผลประโยชน์ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ระยะที่ 1 ท่าเทียบเรือ F กับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC (พีทีที แทงค์-กัลฟ์-ไชน่า ฮาร์เบอร์ฯ) ให้ได้ตาม ครม.อนุมัติ 36,600 ล้านบาท แยกเป็นค่าสัมปทานคงที่ 32,225 ล้านบาท และค่าผันแปร 4,400 ล้านบาท

"รถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนนท์-มีนบุรี จะไม่ล้มประมูล รอคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด และจะประมูล PPP สายสีแดง ทั้งสร้างส่วนต่อขยาย ได้แก่ ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วง missing link และการเดินรถทั้งโครงการ ผลศึกษา PPP จะเสร็จ ต.ค.นี้"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2021 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียว 27 โครงการ “คมนาคม” ตั้งงบปี 65 ก่อสร้าง “ถนน-สะพาน” วงเงินกว่า 4.8 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 18:58 น.


ครม.เห็นชอบคมนาคมลงทุน 27 โครงการปี 65 วงเงินกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท ก่อสร้างถนนสายใหม่เชื่อมมอเตอร์เวย์-อู่ตะเภา, เลี่ยงเมืองอ่างทอง, ด้าน ทช.ผุดสะพานคลองมหาสวัสดิ์, เชื่อมเกาะลันตา, ข้ามทะเลสาบสงขลา “ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งออกแบบเตรียมพร้อมประมูล

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 ม.ค.มีมติเห็นชอบการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 สำหรับรายงานที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมี 2 หน่วยงาน คือ กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 27 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 48,620 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2565-2567 โดยให้นำความเห็นสำนักงบประมาณไปพิจารณา พร้อมกับหารือกับกระทรวงการคลังในเรื่องแหล่งเงินในการดำเนินโครงการ และให้ ทล.และ ทช.เร่งออกแบบรายละเอียดทุกโครงการให้แล้วเสร็จ

โดยเป็นโครงการของกรมทางหลวงจำนวน 20 โครงการ วงเงินรวม 36,280 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2565 วงเงิน 7,256 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2566 วงเงิน 14,512 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2567 วงเงิน 14,512 ล้านบาท

เป็นแผนงานโครงการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2 โครงการ วงเงิน 5,650 ล้านบาท แผนงานพัฒนาคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 18 โครงการ วงเงิน 30,630 ล้านบาท ได้แก่

โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 สายน่าน-อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตอนบ้านปอน-อำเภอเฉลิมพระเกียรติ วงเงิน 1,300 ล้านบาท, โครงการปรับปรุงทางแยกสายหลักตัดทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ วงเงิน 1,700 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายแยกทางหลวงหมายเลข 9 (บ้านบางเตย)-บรรจบทางหลวงหมายเลย 3214 (บ้านพร้าว) วงเงิน 4,740 ล้านบาท,

โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2378 สายอำเภอจอมพระ-บ้านไทรงาม วงเงิน 1,520 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายเลี่ยงเมืองอ่างทอง วงเงิน 3,200 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4006 สายบ้านน้ำยืน-บ้านหาดยาย วงเงิน 1,400 ล้านบาท

โครงการรื้อถอนสะพานข้ามและก่อสร้างทางลอดจุดตัดทางรถไฟบนทางหลวงหมายเลข 2 (สีมาธานี) วงเงิน 1,530 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 24 ตัดทางหลวงหมายเลข 224 (แยกโชคชัย) วงเงิน 1,050 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3200 สายฉะเชิงเทรา-อำเภอบางน้ำเปรี้ยว วงเงิน 1,250 ล้านบาท, ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 21 สายอำเภอหล่มเก่า-เลย ตอนตำบลร่องจิก-ตำบลสานตม วงเงิน 2,000 ล้านบาท, ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4056 สายนราธิวาส-อำเภอสุไหงโก-ลก ตอนบ้านบุโป๊ะแบง-บ้านโคกตา วงเงิน 1,050 ล้านบาท

ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี-อำเภอสากเหล็ก ตอนบ้านหนองข้าว-ไดตาล วงเงิน 1,300 ล้านบาท, ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3395 สายบ้านช่องกุ่ม-บ้านโคคลาน วงเงิน 1,050 ล้านบาท, ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1020 สายเชียงราย-อำเภอเชียงของ ตอนบ้านหัวดอย-บ้านใหม่ดอยลาน วงเงิน 1,000 ล้านบาท,

ก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ สามแยกทางหลวงหมายเลข 44 (บ้านวังจา)-บรรจบทางหลวงหมายเลข 4040 (บานนาเหนือ) วงเงิน 1,900 ล้านบาท, ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2039 สายอำเภอน้ำพอง-อำเภอกระนวน วงเงิน 1,500 ล้านบาท, ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-อำเภอแม่จัน ตอนอำเภอฝาง-อำเภอแม่อาย วงเงิน 1,200 ล้านบาท



ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2169 สายยโสธร-อำเภอกุดชุม วงเงิน 1,190 ล้านบาท, ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 118 สายเชียงใหม่-เชียงราย ตอนอำเภอแม่สรวย-บรรจบทางหลวงหมายเลข 1 วงเงิน 2,000 ล้านบาท, ก่อสร้างทางแนวใหม่ เชื่อมทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7-สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,400 ล้านบาท

กรมทางหลวงชนบท จำนวน 7 โครงการ วงเงินรวม 12,340 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2565 วงเงิน 2,468 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2566 วงเงิน 4,936 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2567 วงเงิน 4,936 ล้านบาท ได้แก่

ถนนเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-ศูนย์การค้าส่งชายแดน สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3-ถนนเชื่อมทางหลวงหมายเลข 212 อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม วงเงิน 1,600 ล้านบาท

สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ วงเงิน 1,200 ล้านบาท, สะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง-เกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่ วงเงิน 1,600 ล้านบาท, สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์, เขาชัยสน จังหวัดสงขลา, พัทลุง วงเงิน 4,500 ล้านบาท

ถนนสาย สป.1006 แยกทางหลวงหมายเลข 3-เคหะบางพลี บางบ่อ บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ วงเงิน 1,140 ล้านบาท, ถนนสาย ก ผังเมืองรวม สระแก้ว วงเงิน 1,200 ล้านบาท, ถนนสายแยกทางหลวงหมายเลข 11 (ช่วงลำปาง-เชียงใหม่ กม.3+800)-ทางหลวงหมายเลข 1 (กม.712+300) อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วงเงิน 1,100 ล้านบาท

“อนุทิน” บุกคมนาคมล็อกงบข้ามปี 3.27 แสนล้าน เวนคืนรถไฟฟ้า-ไฮสปีด-มอเตอร์เวย์
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 13 มกราคม 2564 - 18:36 น.

กางแผนงบลงทุนปี 65 คมนาคม-โลจิสติกส์ 3.27 แสนล้าน
พุธที่ 13 มกราคม 2564 เวลา 17.01 น.

กางแผนงบลงทุนปี 65 ด้านคมนาคม-โลจิสติกส์ของประเทศ 3.27 แสนล้าน “คมนาคม” ฟันเละ 3.25 แสนล้าน ลุย 86 โปรเจคท์ ยิ้มรับโครงการใหม่ๆ ครบทั้งบกน้ำรางอากาศ มาแน่ๆ รถไฟฟ้าเชียงใหม่-โคราช รวมถึงไฮสปีดเฟส 2 มอเตอร์เวย์สายใหม่เพียบ

“อนุทิน” เคาะงบคมนาคม-โลจิสติกส์ปี ‘65 กว่า 3.27 แสนล้าน สแกน “คมนาคม” โกยมากสุด 3.25 แสนล้าน เปิดโผ 11 หน่วยงาน 2 กรมถนน “ทางหลวง-ทางหลวงชนบท”ซิวมากสุด “รฟม.-รถไฟ” ขอค่าเวนคืน-จ้างออกแบบ

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ 2565 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุขเป็นประธาน

ได้เห็นชอบงบประมาณหลังกลั่นกรองเบื้องต้นวงเงิน 327,174 ล้านบาท ขั้นตอนต่อไปจะเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณากลั่นกรอง จากนั้นจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และบรรจุเข้าวาระการพิจาณณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไปตามขั้นตอน

“คมนาคม” โกยมากสุด
โดยวงเงิน 327,174 ล้านบาท เป็นการปรับลดลง 1.03% จากกรอบเดิมที่เสนอไว้ 330,581 ล้านบาท มี 9 หน่วยงานขอรับจัดสรร ได้แก่ 1.กระทรวงคมนาคม 11 หน่วยงาน วงเงิน 325,880.0378 ล้านบาท

2.กระทรวงอุตสาหกรรม 1 หน่วยงาน (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) วงเงิน 121 ล้านบาท 3.กระทรวงพาณิชย์ 1 หน่วยงาน (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) วงเงิน 25 ล้านบาท

4.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 หน่วยงาน (กรมส่งเสริมการเกษตร-สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) วงเงิน 98.9865 ล้านบาท 5.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 1,161 ล้านบาท

6.สำนักนายกรัฐมนตรี 1 หน่วยงาน (สภาพัฒน์) 22.5 ล้านบาท 7.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) 20 ล้านบาท 8.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 1 หน่วยงาน (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) วงเงิน 370 ล้านบาทและ 9. กระทรวงแรงงาน 1 หน่วยงาน (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน) วงเงิน 40 ล้านบาท

โดยการของบประมาณนี้จะแบ่งเป้าหมายการเบิกจ่ายเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก โครงข่ายคมนาคมขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ วงเงิน 325,804 ล้านบาท และกลุ่มที่ 2 การบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานและการอำนวยความสะดวกทางการค้า วงเงิน 1,369 ล้านบาท

“เมื่อโฟกัสเฉพาะกระทรวงคมนาคม มี 11 หน่วยงานที่ขอรับจัดสรรงบประมาณมากที่สุด”


“ทางหลวง-ทางหลวงชนบท” มากสุด
ใน 5 อันดับ ประกอบด้วย 1.กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 240,153 ล้านบาท ได้แก่
เวนคืนมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ วงเงิน 21,968 ล้านบาท บูรณะโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างภาค วงเงิน 13,318 ล้านบาท

โครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน วงเงิน 113,323.9211 ล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยบนทางหลวง 82,580 ล้านบาท พัฒนาจุดจอดพักรถและสถานีตรวจสอบน้ำหนัก 4,403.776 ล้านบาท ทางยกระดับบนถ.พระราม 2 วงเงิน 4,558.3679 ล้านบาท

2.กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 28,156 ล้านบาท พัฒนาทางและสะพานโครงข่ายทางหลวงชนบท วงเงิน 23,313.0129 ล้านบาท อำนวยความปลอดภัยสนับสนุนด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ วงเงิน 4,848.1171 ล้านบาท


รฟม. จองเวนคืน “ม่วง-ส้ม-รถไฟฟ้าภูธร”
3.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 13 โครงการ วงเงิน 20,609.137 ล้านบาท เช่น ค่าเวนคืนรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง วงเงิน 2,515 ล้านบาท สายสีม่วงช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 7,200 ล้านบาท สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม – ตลิ่งชัน วงเงิน 6,640 ล้านบาท

โครงการระบบขนส่งมวลชนจ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงรพ.นครพิงค์ – แยกแม่เหียะ วงเงิน 315 ล้านบาท
ระบบขนส่งมวลชนจ.นครรราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ วงเงิน 16 ล้านบาท

“รถไฟ” ขอเวนคืนทางคู่-ไฮสปีดไทยจีน
4.การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 15 โครงการ วงเงิน 18,003.5836 ล้านบาท เช่น
เวนคืนทางคู่ช่วงเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ วงเงิน 6,253.38 ล้านบาท ทางคู่บ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม ที่จ.ร้อยเอ็ด วงเงิน 4,253 ล้านบาท เวนคืนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพ – นครราชสีมา วงเงิน 3,904.4821 ล้านบาท

-จ้างที่ปรึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงไทยจีน นครราชสีมา – หนองคาย วงเงิน 51 ล้านบาท

และ 5. กรมท่าอากาศยาน (ทย.) จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 11,034.999 ล้านบาท ประกอบด้วย
โครงกมารพัฒนาศักยภาพท่าอากาศยาน 19 แห่ง วงเงิน 8,897 ล้านบาท และโครงการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพท่าอากาศยาน 27 แห่ง วงเงิน 2,137 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2021 10:35 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครม.ไฟเขียว 27 โครงการ “คมนาคม” ตั้งงบปี 65 ก่อสร้าง “ถนน-สะพาน” วงเงินกว่า 4.8 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 18:58 น.



“อนุทิน” บุกคมนาคมล็อกงบข้ามปี 3.27 แสนล้าน เวนคืนรถไฟฟ้า-ไฮสปีด-มอเตอร์เวย์
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 13 มกราคม 2564 - 18:36 น.

กางแผนงบลงทุนปี 65 คมนาคม-โลจิสติกส์ 3.27 แสนล้าน
พุธที่ 13 มกราคม 2564 เวลา 17.01 น.


“คมนาคม” ดันบิ๊กโปรเจกต์ 3 แสนล้าน พัฒนาโลจิสติกส์ เปิดงบปี 65 ขึงแผน “มอเตอร์เวย์-รถไฟ-สนามบิน”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17.01 น. 14 ม.ค. 2564 07:39



จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งมี 11 แผนงานนั้น ในส่วนแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปี 2565 จาก 9 กระทรวงที่เกี่ยวข้องวงเงิน 330,581.63 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นหน่วยงานกลาง ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คัดกรองเบื้องต้นเหลือ 327,174.20 ล้านบาท (ลดลง 1.03%)

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนองบประมาณรายจ่ายบูรณาการปี 2565 วงเงิน 325,880.5786 ล้านบาท จำนวน 11 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงบปลัดกระทรวงคมนาคม วงเงิน 192.08 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) วงเงิน 915.89 ล้านบาท กรมการขนส่งทางราง (ขร.) วงเงิน 96.15 ล้านบาท

กรมเจ้าท่า (จท.) วงเงิน 5,370.39 ล้านบาท กรมทางหลวง (ทล.) วงเงิน 240,153.77 ล้านบาท กรมทางหลวงชนบท (ทช.) วงเงิน 28,170.13 ล้านบาท กรมท่าอากาศยาน (ทย.) วงเงิน 11,034.99 ล้านบาท สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วงเงิน 439.81 ล้านบาท

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) วงเงิน 955.43 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 20,609.13 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 18,003.58 ล้านบาท

กรมทางหลวงเสนอ 2.4 แสนล้าน ก่อสร้าง “มอเตอร์เวย์-จุดพักรถ-ยกระดับพระราม 2”

โดยกรมทางหลวงมีวงเงินมากที่สุด จำนวน 240,153.77 ล้านบาท 1. ก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา/สายบางใหญ่-กาญจนบุรี, จ่ายค่าชดเชยอสังหาริมทรัพย์ทางหลวงสัมปทานหมายเลข 8 สายนครปฐม-ชะอำ, สำรวจออกแบบถนนวงแหวนรอบนอก กทม.รอบที่ 3 (ด้านตะวันออกและตะวันตก), มอเตอร์เวย์สายชลบุรี-หนองคาย, มอเตอร์เวย์สายชลบุรี-ตราด ตอนชลบุรี-อ.แกลง, มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครสวรรค์ วงเงินรวมทั้งสิ้น 21,968.81 ล้านบาท

2. บูรณะโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างภาค (บูรณะผิวทางเดิมที่เสียหายเกินกว่าจะบูรณะด้วยวิธีปกติ) วงเงินรวม 13,318.9 ล้านบาท 3. ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน (ก่อสร้างสะพานทางต่างระดับ แก้ไขปัญหาจราจร ขยายทางสายประธาน จุดตัดทางรถไฟ SEZ เพิ่มไหล่ทาง เป็นต้น) วงเงินรวม 113,323.92 ล้านบาท 4. เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยบนทางหลวง (ทางแยก ปรับทิศการจราจร ยกระดับมาตรฐานป้องกันอันตรายข้างทาง จุดกลับรถในระดับเดียวกัน ทางแยกอันตราย ป้องกันการพังทลายเชิงลาดคันทาง เพิ่มความปลอดภัยทางถนน) วงเงินรวม 82,580 ล้านบาท

5. พัฒนาจุดจอดพักรถและสถานีตรวจสอบน้ำหนัก วงเงินรวม 4,403.77 ล้านบาท 6. ก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระราม 2) วงเงิน 4,558.36 ล้านบาท

ทช.ลุยถนนผังเมือง-สะพาน เพิ่มความปลอดภัย 2.8 หมื่นล้านบาท

กรมทางหลวงชนบท เสนอวงเงินรวม 28,170.13 ล้านบาท แบ่งเป็นการดำเนินโครงการพัฒนาทางและสะพาน ยกระดับชั้นทาง ก่อสร้างถนนผังเมือง แก้ปัญหาจราจร และค่าเวนคืนที่ดิน วงเงิน 23,313.01 ล้านบาท และโครงการอำนวยความปลอดภัยสนับสนุนคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ วงเงิน 4,843.11 ล้านบาท

กทพ.ตั้งค่าเวนคืนทางด่วน 3 สาย กว่า 955 ล้านบาท

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เสนอวงเงิน 955.43 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาของศาล ในโครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ วงเงิน 28.38 ล้านบาท, ทางด่วนสายพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯด้านตะวันตก วงเงิน 7.05 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัด ภูเก็ต วงเงิน 920 ล้านบาท

รฟท.เดินหน้าทางคู่ไฮสปีด “ไทย-จีน”

ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เสนองบประมาณรายจ่ายบูรณาการปี 2565 วงเงิน 18,003.58 ล้านบาท สำหรับ 15 โครงการ ได้แก่
1. ติดตั้งรั้วสองข้างทางตามแนวเขตทางรถไฟ 506.58 ล้านบาท
2. ปรับปรุงทางรถไฟ 492.96 ล้านบาท
3. ปรับปรุงสะพานและช่องน้ำ 883.8 ล้านบาท
4. จัดหาและติดตั้งป้ายหยุดสะท้อนแสง พร้อมป้ายเตือนกะพริบแสง 16.5 ล้านบาท

5. ก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง (สำรวจและออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม) 44.82 ล้านบาท
6. ก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางเชื่อม Sky Walk ระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ ตามพระดำริ 4.09 ล้านบาท
7. ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ (ค่าเวนคืน) 13,705.88 ล้านบาท

8. ก่อสร้างทางรถไฟสาย บ่านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม (ค่าเวนคืน) วงเงิน 9,912.5 ล้านบาท
9. รถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา (ค่าเวนคืน) วงเงิน 34,192.49 ล้านบาท
10. รถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย (ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบ) วงเงิน 51.1 ล้านบาท
11. ก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ (ค่าเวนคืน)วงเงิน 8,010.23 ล้านบาท
12. ก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ (ค่าเวนคืนและค่าจ้างที่ปรึกษา) วงเงิน 6,747.84 ล้านบาท

13. ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ วงเงิน 496.52 ล้านบาท
14. ก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย (ค่าจ้างที่ปรึกษาเตรียมเอกสารประกวดราคา/ค่าเวนคืนอสังหาริมทรัพย์) วงเงิน 2,646.89 ล้านบาท

15 .จ้างที่ปรึกษาเพื่อเตรียมดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทั่วประเทศ วงเงิน 641.18 ล้านบาท ประกอบด้วย
ศึกษาความเหมาะสม สำรวจออกแบบทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี /ศึกษาเพื่อเตรียมดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ (ยกระดับทางรถไฟในเขตเมืองสระบุรี, ก่อสร้างทางคู่สายนครสวรรค์-บ้านไผ่, ติดตั้งระบบจ่ายไฟเหนือหัว (OCS) ในพื้นที่โครงการถไฟสายสีแดง สำหรับรถไฟทางไกล)

รฟม.ตั้งกรอบ 2 หมื่นล้าน จ่ายค่าเวนคืนรถไฟฟ้า-ค่าจ้างเดินรถสายสีม่วง

รฟม.เสนอ 20,609.13 ล้านบาท สำหรับค่าเวนคืนรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน, สีเขียว สีชมพู สีเหลือง สีส้ม สีม่วง
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเดินรถไฟฟ้าสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์และค่าเวนคืน โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะ และ
ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ อีกด้วย


กรมขนส่งทางบก เสนอ 818.33 ล้านบาท พัฒนาศูนย์ขนส่งชายแดน จ.นครพนม, โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย, โครงการสถานขนส่งสินค้า, โครงการพัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสาร

ทุ่ม 1.1 หมื่นล้านบาทขยายศักยภาพสนามบินภูมิภาค

กรมท่าอากาศยาน เสนอแผนพัฒนาศักยภาพสนามบินภูมิภาค วงเงิน 11,034.99 ล้านบาท โดยเป็นการพัฒนาศักยภาพสนามบินเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม 19 แห่ง วงเงิน 8,897.93 ล้านบาท เช่น ซ่อมผิวทาง ขยายรันเวย์ ก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร และโครงการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของสนามบิน 27 แห่ง วงเงิน 2,137.06 ล้านบาท เช่น จัดซื้อเครื่องรับส่งวิทยุ ติดตั้งระบบไฟฟ้าสนามบิน ติดตั้งสายพานลำเลียง สัญญาณไฟเตือนทางวิ่ง

นอกจากนี้ยังมีกรมเจ้าท่าเสนอวงเงิน 5,309.57 ล้านบาท โดยมีแผนงาน 44 โครงการ เช่น โครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเล, โครงการศึกษาความเหมาะสม การขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำ, โครงการปรับปรุงและขยายท่าเรือสินค้า จ.นครพนม, ปรับปรุงท่าเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา, ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในแม่น้ำป่าสัก เป็นต้น

สนข.เสนอวงเงิน 439.81 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ ได้แก่ การศึกษาพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงการเดินทางเข้าถึงสถานีรถไฟและสนามบิน, จัดทำแผนโลจิสติกส์เพิ่มประสิทธิภาพเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่ EEC, ศึกษาสำรวจการเดินทางในเขต กทม.และปริมณฑล, ศึกษาการลดใช้พลังงานในภาคคมนาคมขนส่งทางบก

ล็อกโครงการเท่าเดิม เสนอสำนักงบฯ ลดงบผูกพันปีแรกเหลือ 10-15%




“ศักดิ์สยาม” กล่าวว่า ทุกโครงการของกระทรวงคมนาคมที่เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2565 มีความจำเป็นทั้งสิ้น แต่หากมีข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณ ได้เสนอว่า ขอให้คงจำนวนโครงการไว้เท่าเดิม และให้ปรับลดวงเงินแต่ละโครงการลง เช่น โครงการผูกพัน ปกติในปีแรกจะกำหนดสัดส่วน 20% อาจจะปรับเหลือ 10-15% เพื่อให้จัดงบให้ตามจำนวนโครงการที่เสนอ ไม่ต้องตัดออก เพราะจะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่ามีการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนอย่างทั่วถึง ไม่มีการตัดหรือชะลอ ซึ่งสำนักงบประมาณรับความเห็นนี้ไปพิจารณา และจะต้องเสนอ ครม.อนุมัติ เรื่องก่อหนี้ผูกพัน

“นอกจากนี้จะมีการพิจารณาหาแหล่งเงินนอกเหนือจากงบประมาณปกติ เช่น กองทุนมอเตอร์เวย์ หรือการลงทุนร่วมเอกชน (PPP) มาช่วยขับเคลื่อนโครงการ การดำเนินโครงการภายใต้แผนงานพัฒนาเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดเวลา เชื่อมการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ และการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า กำหนดเป้าหมายในปี 2565 ลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ หรือต่อ GDP เป็น 12% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 12.9-13.4% และขยับดัชนีประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (LPI) สูงขึ้น 5 อันดับ หรือเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน ในปี 2565

โดยมีตัวชี้วัดได้แก่ 1. เพิ่มสัดส่วนผู้ใช้ระบบรถไฟฟ้าเพิ่มเป็น 15% ต่อปริมาณการเดินทางในเขตกทม.และปริมณฑล (จาก 1.1427 ล้านคน-เที่ยว/วัน ในปี 2562 เป็น 5.265 ล้านคน-เที่ยว/วัน) 2. เพิ่มสัดส่วนปริมาณการขนส่งทางรางเป็น 4% ต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมด (จาก 10.217 ล้านตันในปี 2562 เป็น 34.77 ล้านตัน)
3.สัดส่วนต้นทุนค่าขนส่งสินค้าต่ำกว่า 7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ 4. เพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำเป็น 15% ต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมด (จาก 117.537 ล้านตันในปี 2562 เป็น 130.37 ล้านตัน) 5. เพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานในภูมิภาคเป็น 55 ล้านคน 6. ดัชนีประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (LPI) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สูงขึ้น 5 อันดับ หรือเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน ในปี 2565

โดยแต่ละปีที่ผ่านมา คำของบประมาณจะถูกตัดลงกว่า 50% โดยในปี 2564 คำขอ 2.64 แสนล้านบาท ได้รับจัดสรรเพียง 1.06 แสนล้านบาท ...ต้องลุ้นคำขอกว่า 3.2 แสนล้านบาท ปี 2565 จะถูกตัดลดลงเท่าไหร่ หากรัฐไม่มีงบ การผลักดันโครงการคงต้องหันไปพึ่งพากองทุนต่างๆ รวมถึงเปิด PPP ดึงเอกชนมาลงทน แต่ทว่า! วิกฤตเศรษฐกิจที่ตกต่ำสุดขีดจากการระบาดของโควิด-19 คงจะยากที่จะดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติได้เหมือนเดิม!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2021 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องงบ’64”คมนาคม”2.2 แสนล้าน/เบิกจ่ายแล้ว 2.8 หมื่นล้าน
*”กรมทางหลวง”แชมป์เบิกจ่ายเก่ง 1.4 หมื่นล้าน
*ประเดิมขายโอทอป @สถานีกลางบางซื่อ ก.ค.นี้

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2820238398197660
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2021 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแนวเวนคืนทั่วประเทศ 6.5 หมื่นล้าน ปี’64 เร่งสร้างถนน-รถไฟฟ้า-ทางคู่-ไฮสปีด
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 มกราคม 2564 - 10:35 น.


เปิดแนวเวนคืนทั่วไทยปี’64 “คมนาคม” ทุ่ม 6.5 หมื่นล้าน จ่ายชดเชยเคลียร์พื้นที่ ตัดถนนสายหลัก สายรอง สร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ “เด่นชัย-เชียงของและบ้านไผ่-นครพนม” ไฮสปีดเทรน 2 สาย เร่งเครื่องรถไฟฟ้า “สีม่วง-สีส้ม” ปิดจ็อบมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช

...

เปิดโผ 10 จังหวัดสร้างทางคู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในปี 2564 เตรียมเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 สาย วงเงิน 20,740 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีค่าเวนคืน 10,660 ล้านบาท จำนวน 7,292 แปลง ที่ดิน 9,661 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 1,200 หลังคาเรือน ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย สร้าง 26 สถานี ลานขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง ลานกองเก็บตู้สินค้า 1 แห่ง ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 4 อุโมงค์ ก่อสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 102 แห่ง

และสายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 10,080.33 ล้านบาท มีเวนคืน 7,100 แปลง หรือ 17,500 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 930 หลัง ใน 6 จังหวัด บางส่วนในท้องที่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น, อ.กุดรัง อ.บรบือ อ.เมือง จ.มหาสารคาม, อ.ศรีสมเด็จ อ.เมือง อ.จังหาร อ.เชียงขวัญ อ.โพธิ์ชัย อ.โพนทอง อ.เมยวดี อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด, อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร, อ.นิคมคำสร้อย อ.เมือง อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และ อ.ธาตุพนม อ.เรณูนคร อ.เมือง จ.นครพนม ทั้ง 2 สาย ร.ฟ.ท.ตั้งงบประมาณปี 2565 ไว้แล้ว เริ่มจ่ายค่าเวนคืนตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564-2566

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.มีเวนคืนสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. รอ ครม.อนุมัติ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ทั้งโครงการมีเวนคืน 2,815 ไร่ วงเงิน 5,637.85 ล้านบาท และมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. ค่าเวนคืน 4,700 ล้านบาท มีที่ดิน 919 ไร่

เร่งรถไฟฟ้าสีม่วง-สีส้ม
ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีรถไฟฟ้า 2 สายที่คาดว่าจะเริ่มเวนคืนปีนี้ มีสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. ซึ่ง พ.ร.ฎ.เวนคืนประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่ง รฟม.ตั้งงบฯเวนคืน 15,913 ล้านบาท มีที่ดิน 500 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 300 หลังคาเรือน มีเขตบางซื่อ ดุสิต พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ธนบุรี คลองสาน จอมทอง ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

ส่วนสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 13.4 กม. มีค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท มีพื้นที่รวม 505 แปลง หรือ 41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง อยู่ระหว่างรออนุมัติ พ.ร.ฎ.เวนคืน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาให้แนบไปพร้อมกับการขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้นเคาะนำร่อง 3 เส้นทาง รถไฟคู่มอเตอร์เวย์ปลายปีนี้
พฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 17.12 น.

“คมนาคม” มอบ ทางหลวง เจ้าภาพหลักศึกษาแนวเส้นทางรถไฟคู่มอเตอร์เวย์ 9 เส้นทางทั่วไทย 5,000 กม. วางไทม์ไลน์ศึกษาแล้วเสร็จกลางปีนี้ ก่อนเคาะสรุปผลภายในปลายปี 64 นำร่อง 3 เส้นทางเหมาะสม-มีศักยภาพ คาดเริ่มเวนคืน-ก่อสร้างในปี 65-66 ด้าน “ศักดิ์สยาม” สั่ง ทล. จัดลำดับความสำคัญ เน้นย้ำให้ประชาชนมีส่วนร่วม 


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม เพื่อติดตามนโยบายปี 64 เรื่องการบูรณาการกรอบแผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง Motorways+Rails (MR-Map) ผ่านระบบทางไกล VDO CONFERENCE ว่า ได้ประชุมติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาโครงข่าย MR-Map โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมทางหลวง (ทล.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (กองยุทธศาสตร์และแผนงาน) ทั้งนี้ คณะทำงานฯ MR-Map ที่กระทรวงคมนาคมแต่งตั้งขึ้น ได้มอบหมายให้ ทล. เป็นเจ้าภาพหลักในการจ้างศึกษาจัดทำแผน MR-Map และดำเนินการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในปี 64 และให้ ทล. และ รฟท. วางแผนงาน เพื่อเริ่มทำการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (เวนคืน) และก่อสร้างในปี 65-66 

สำหรับ MR-Map นั้น คณะทำงานฯ ได้สรุปผลการประชุมที่สำคัญว่า ในส่วนของระเบียงเส้นทางใน MR-Map จะมีจำนวน 9 เส้นทาง รวมระยะทาง 5,000 กิโลเมตร (กม.) ทั่วประเทศ แบ่งเป็น แนวเหนือใต้ (N-S) จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทาง 2,620 กม. ได้แก่ 1.เชียงราย-สงขลา 1,660 กม. 2.หนองคาย-แหลมฉบัง 490 กม. และ 3.บึงกาฬ-สุรินทร์ 470 กม. ขณะที่ แนวตะวันออก-ตะวันตก (E-W) จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทาง 2,380 กม. ได้แก่ 1.ตาก-นครพนม 710 กม. 2.กาญจนบุรี-อุบลราชธานี 830 กม. 3.กาญจนบุรี-สระแก้ว 310 กม. 4.กาญจนบุรี-ตราด 220 กม. 5.ชุมพร-ระนอง 120 กม. และ 6.ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี 190 กม. 




นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนกรอบแนวคิดในการดำเนินการศึกษา MR-Map ตามที่ ทล.ได้รายงานมานั้น มีทั้งแนวเขตทางถนน และเขตทางรถไฟอยู่แล้วในปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนาเส้นทางใหม่ในอนาคต เพื่อบูรณาการใช้พื้นที่เขตทางถนน และเขตทางรถไฟให้เกิดประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณ ลดพื้นที่การเวนคืน และลดปัญหาการแบ่งแยกชุมชน โดยในการศึกษาจะทำการคัดเลือกแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพ 3 เส้นทาง เพื่อเป็นโครงการนำร่องสำหรับการศึกษาความหมาะสมโครงการ และการออกแบบเบื้องต้น อย่างไรก็ตามคาดว่าผลการศึกษาการพัฒนาโครงข่าย MR-Map จะแล้วเสร็จช่วงกลางปีนี้ พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน ก่อนการสรุปผลการศึกษาช่วงปลายปี 64 

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ ทล.ดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทั้ง 9 เส้นทาง และสามารถดำเนินการให้ถึงขั้นตอนการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญ ตลอดจนกำหนดกรอบการดำเนินงานโครงการ และแผนปฏิบัติการ (Action Pan) แต่ละเส้นทางให้ชัดเจน และเน้นย้ำให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ ให้มีการบูรณาการแผนเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จ รวมทั้งศึกษาและรวบรวมข้อกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 8:10 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ลุ้นเคาะนำร่อง 3 เส้นทาง รถไฟคู่มอเตอร์เวย์ปลายปีนี้
พฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 17.12 น.  


“ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งผุด “มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ” 9 เส้นทาง-ปี 64 นำร่อง “ชุมพร-ระนอง” และ “แหลมฉบัง-โคราช”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 17:29 น.
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 เวลา 17:29 น.

คมนาคมลุยศึกษาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองทั่วไทย 5,000 กม.

29 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:17 น.

“ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งผุด “มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ” 9 เส้นทาง ลุยศึกษาแผนแม่บท MR-Map โครงข่ายเหนือ-ใต้, ออก-ตก ครอบคลุมทุกภูมิภาค เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจ และชายแดน ตั้งเป้าลดเวนคืน ลั่นปี 64 นำร่อง ชุมพร-ระนอง, แหลมฉบัง-โคราช

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาโครงข่าย MR-MAP ว่า คณะทำงานการบูรณาการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่กระทรวงคมนาคมแต่งตั้ง โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นประธาน ได้สรุปผลการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ ระเบียงเส้นทาง MR-Map จำนวน 9 เส้นทาง แบ่งเป็นแนวเหนือใต้ (N-S) จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,620 กม. ได้แก่ 1. เชียงราย-สงขลา ระยะทาง 1,660 กม. 2. หนองคาย-แหลมฉบัง ระยะทาง 490 กม. 3. บึงกาฬ-สุรินทร์ ระยะทาง 470 กม.

แนวตะวันออก-ตะวันตก (E-W) จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,380 กม. ได้แก่
1. ตาก-นครพนม ระยะทาง 710 กม.
2. กาญจนบุรี-อุบลราชธานี ระยะทาง 830 กม.
3. กาญจนบุรี-สระแก้ว ระยะทาง 310 กม.
4. กาญจนบุรี-ตราด ระยะทาง 220 กม.
5. ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 120 กม.
6. ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 190 กม.

นอกจากนี้ คณะทำงานได้มอบหมายให้กรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการจ้างศึกษาจัดทำแผนยุทธศาสตร์การลงทุนพัฒนาโครงข่าย MR-Map โดยกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 และออกแบบโครงการนำร่อง (Pilot Project) จำนวน 3 เส้นทาง จากนั้นให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กรมทางหลวง และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางแผนงานเพื่อเริ่มทำการเวนคืน และเริ่มก่อสร้างในปี 2565-2566

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทั้ง 9 เส้นทาง และสามารถดำเนินการให้ถึงขั้นตอนการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญ ตลอดจนกำหนดกรอบการดำเนินงานโครงการ และแผนปฏิบัติการ (Action Pan) แต่ละเส้นทางให้ชัดเจน และได้เน้นย้ำให้ความสำคัญต่อการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ ให้มีการบูรณาการแผน เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จ รวมทั้งศึกษาและรวบรวมข้อกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564 ทล.ได้ลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนแม่บท MR-Map ระยะเวลาศึกษา 8 เดือน หรือสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2564 โดยวัตถุประสงค์ศึกษาความเหมาะสมและจัดทำแผนบูรณาการโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกับระบบราง ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟสายใหม่ เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนและการแบ่งแยกพื้นที่ของประชาชน พร้อมดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น (Pre-feasibility study) ของเส้นทางนำร่อง 3 เส้นทาง

ทั้งนี้ กรอบแนวคิดในการศึกษาพัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์ร่วมกับโครงข่ายทางรถไฟ จะมีทั้งที่มีแนวเขตทางถนนและเขตทางรถไฟอยู่แล้วในปัจจุบัน และการพัฒนาเส้นทางใหม่ การปรับเส้นทางมอเตอร์เวย์เข้าหาทางรถไฟที่มีอยู่หรือปรับเส้นทางรถไฟเข้าหามอเตอร์เวย์ หรือกรณีเป็นเส้นทางใหม่ทั้งคู่จะบูรณาการออกแบบและเวนคืนไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณ ใช้เขตทางร่วมกันเพื่อลดพื้นที่การเวนคืน และลดปัญหาการแบ่งแยกชุมชน

โดยประมาณกลางเดือน ก.พ.จะทำการคัดเลือก 3 เส้นทางนำร่องที่มีความเหมาะสม โดยจะมีการศึกษาความหมาะสมโครงการ และการออกแบบเบื้องต้นเสร็จในเดือน ก.ค. และสรุปแผนแม่บท MR-Map ในเดือน ก.ย. 2564 พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน ก่อนการสรุปผลการศึกษาช่วงปลายปี 2564

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะคัดเลือก 3 เส้นทางนำร่องจากเบื้องต้น 4 เส้นทาง ได้แก่
ชุมพร-ระนอง ซึ่งจะรองรับพัฒนาแลนด์บริดจ์และระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) รฟท.ได้ออกแบบเบื้องต้นแล้ว,
เส้นทางแหลมฉบัง-นครราชสีมา ระยะทาง 280 กม. รองรับพื้นที่ EEC และเชื่อมโยงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกรมทางหลวงได้ออกแบบแนวมอเตอร์เวย์ไว้แล้ว
สามารถออกแบบรถไฟแนวใหม่เกาะไปตามแนวมอเตอร์เวย์โดยใช้เขตทางร่วมกัน

เส้นทางนครราชสีมา-อุบลราชธานี เชื่อมโยงอีสานตอนใต้ ระยะทาง 310 กม. เชื่อมต่อมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา พัฒนาไปตามแนวเส้นทางรถไฟที่มีอยู่เดิม,
เส้นทางนครราชสีมา-ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 360 กม.

จะมีการบูรณาการของ 3 โครงการ ทั้งมอเตอร์เวย์เข้ากับรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3761990423847875




เปิดแนว”MR-Map”มอเตอร์เวย์วิ่งคู่ทางรถไฟ9สาย
*เหนือ-ใต้-ออก-ตกทั่วไทยยาว 5,000 กม.
*วางไทม์ไลน์ให้ทล.เร่งศึกษาเสร็จกลางปีนี้
*เคาะเส้นนำร่อง 3สาย ทยอยสร้าง65-66
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2826617377559762
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2021 9:27 am    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม" เปิดงบปี 64 ดัน 13 โปรเจ็กต์แตะ 8.4 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

"คมนาคม" เดินหน้าปีงบ ประมาณ 64 วงเงิน 2.27 แสนล้านบาท เร่งปั๊ม 13 โปรเจ็กต์ เตรียมเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 2 ม.ค.-มี.ค.64

กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการเบิกจ่าย ตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของรัฐบาล รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับ ความคืบหน้าโดยมีผลการเบิกจ่ายภาพรวม ณ วันที่ 15 มกราคม 2564 จำนวน 28,820.39 ล้านบาท คิดเป็น 12.65% ของวงเงินงบประมาณ

"ที่ผ่านมานายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทั้งโครงการงบปีเดียวและโครงการงบผูกพันข้ามปี ตลอดจนลงนามสัญญาแต่ละโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2563 หลังจากนั้นแต่ละโครงการจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือน มีนาคม2564 ทั้งนี้ในส่วนงบลงทุนต่างๆ นั้น ตามปกติจะเริ่มเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 2 (มกราคม-มีนาคม) จึงไม่ได้รับผลกระทบต่อการลงทุน ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง จัดทำ ทีโออาร์ไปก่อน ส่วนการลงนามสัญญาจะต้องรอเงินงบประมาณก่อน"

สำหรับโครงการในส่วนของงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2564 รวม 13 โครงการ วงเงิน 84,084 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 2,360 ล้านบาท
2.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต วงเงิน 7,116 ล้านบาท
3.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ วงเงิน 6,866 ล้านบาท
4.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 6,170 ล้านบาท
5.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร วงเงิน 10,146 ล้านบาท
6.โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาหรือรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา วงเงิน 17,548 ล้านบาท
7.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 3,146 ล้านบาท
8.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงิน 1,993 ล้านบาท
9.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงิน 546 ล้านบาท
10.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี วงเงิน 12,648 ล้านบาท

11.โครงการทางพิเศษพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก วงเงิน 5,633 ล้านบาท
12. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 2,825 ล้านบาท
13.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 7,087 ล้านบาท

ขณะที่โครงการในส่วนของงบประมาณแผ่นดิน รวม 16 โครงการ วงเงิน 3,620 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.งานก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่งพร้อมระบบไฟฟ้าสนามบินและองค์ประกอบอื่นๆ ท่าอากาศยานตรัง ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัดตรัง วงเงิน 360 ล้านบาท
2.ทางหลวงสาย บ.น้ำปลีกบ.หนองผือ ตอน 2 จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบล ราชธานี วงเงิน 200 ล้านบาท
3.ทางหลวงสาย อ.สุวรรณภูมิยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ วงเงิน 222 ล้านบาท
4.ทางหลวงสายอ.อินทร์บุรี-สากเหล็ก ตอนไดตาล-เขาทราย ตอน 1 จังหวัดนครสวรรค์ วงเงิน 200 ล้านบาท
5.ทางหลวงสายอ.อินทร์บุรี-สากเหล็ก ตอนไดตาล-เขาทราย ตอน 2 จังหวัดนครสวรรค์ วงเงิน 200 ล้านบาท

6.ทางหลวงสายอ.อินทร์บุรี-สากเหล็ก ตอนไดตาล-เขาทราย ตอน 3 จังหวัดนครสวรรค์ วงเงิน 200 ล้านบาท
7.ทางหลวงสายเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันออก ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 117-บรรจบทางหลวงหมายเลข 225 ตอน 4 จังหวัดนครสวรรค์ วงเงิน 194 ล้านบาท
8.ทางหลวงสายพะเยา-บ้านสนต้นแหน จังหวัดพะเยา วงเงิน 220 ล้านบาท

9.ทางหลวงสาย บ.ท่าดอกแก้ว-อ.ศรีสงคราม จังหวัดนครพนม วงเงิน 196 ล้านบาท
10.ทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 290 กับทางหลวงหมายเลข 304 จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 316 ล้านบาท 11.ทางหลวงสายนครสวรรค์-ชัยภูมิ ตอนบ้านศรีมงคลอ.บึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ วงเงิน 200 ล้านบาท

12.ทางหลวงสายอ.มัญจาคีรี-แยกช่องสามหมอ จังหวัดขอนแก่น วงเงิน 226 ล้านบาท
13.สายทางเลี่ยงเมืองเชียงของ จังหวัดเชียงราย วงเงิน 220 ล้านบาท
14.สายทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านเหนือ จังหวัดฉะเชิงเทรา วงเงิน 230 ล้านบาท

15.สายทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านใต้ (สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา) วงเงิน 196 ล้านบาท และ 16.ถนนสายแยก ทล.1020-บ.กิ่วแก้ว อ.เทิง,จุน จังหวัดเชียงราย,พะเยา

ทั้งนี้กระทรวงฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 จำนวน 227,894 ล้านบาท แบ่งออกเป็น รายจ่ายประจำ 39,279.10 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 188,615.40 ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายภาพรวม ณ วันที่ 15 มกราคม 2564 จำนวน 28,820.39 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 12.65 โดยในส่วนของหน่วยงานราชการ กรมทางหลวงสามารถเบิกจ่ายได้สูงสุด 14,037.39 ล้านบาท จากวงเงินที่ได้รับจัดสรร 125,946.93 ล้านบาท คิดเป็น 11.15% กรมทางหลวงชนบทเบิกจ่ายได้ 2,028.19 ล้านบาท จากวงเงินที่ได้รับจัดสรร 48,789.84 ล้านบาท คิดเป็น 4.16% และกรมการขนส่งทางบกเบิกจ่ายได้ 774.91 ล้านบาท จากวงเงินที่ได้รับจัดสรร 3,701.92 ล้านบาท คิดเป็น 20.93%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2021 10:55 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"คมนาคม" เปิดงบปี 64 ดัน 13 โปรเจ็กต์แตะ 8.4 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564


ข่าววันนี้เอง ลิงก์มาแล้วครับ

“คมนาคม” เปิดงบปี 64 ดัน 13 โปรเจ็กต์ แตะ 8.4 หมื่นล้าน

หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 01:05 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,654 วันที่ 18 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

https://www.thansettakij.com/content/property/468974
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 113, 114, 115 ... 121, 122, 123  Next
Page 114 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©