RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261317
ทั้งหมด:13572597
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 228, 229, 230 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44499
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2020 8:52 am    Post subject: Reply with quote

กทม.มหานคร พลิกโฉมระบบราง
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กรุงเทพมหานครทะยานสู่มหานครระบบรางเมื่อ รถไฟฟ้า 14 เส้นทาง มูลค่า กว่า 9 แสนล้านบาท ทยอยเปิดให้บรการ และคาดว่า หากก่อสร้างครบตามแผน แม่บท สำเร็จ ส่งผลให้เส้นทางรถไฟฟาในเขตกรุงเทพมหานครและปรมณฑลมีความยาวรวมถึง จะมี 560 กิโลเมตร หรอยาวเป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะปัจจบันมีเส้นทางรถไฟฟาเปิดให้บรการแล้วเป็นระยะทาง 168 กิโลเมตร จำนวนสถานี 126 สถานีประกอบด้วย
1. สายสีเขยว ระยะทาง 68.25กิโลเมตรจำนวนสถานี 59 สถานี
2. สายสีน้ำเงน ระยะทาง 48 กิโลเมตรจำนวนสถานี 40 สถานี
3. แอร์พอร์ตลิงก์ ระยะทาง 28.5 กิโลเมตรจำนวนสถานี 8 สถานี
4. สายสีม่วง ระยะทาง 23 กิโลเมตร จำนวนสถานี 16 สถานี
5. สายสีทอง ระยะทาง 1.8 กิโลเมตรจำนวนสถานี 3 สถานี

และปี2564เป็นต้นไปรัฐบาล มีแผนเร่งรัด เปิดเส้นทางสายใหม่ พร้อมขยายเส้นทางเพม เพ่อลดพลังงาน ปัญหาจราจรและฝุนขนาดเล็ก แต่เหนือสิงอื่นใด หากค่าโดยสารแพง มองว่าการดึงคนเข้าระบบอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ก็เป็นได้

Click on the image for full size
http://songkhlastation.com/image/than311263.png
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44499
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2021 6:43 am    Post subject: Reply with quote

อัปเดตโครงข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุม ฝันเรืองรองของชาวกรุงที่ใกล้เป็นจริง
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2564
ทีมเศรษฐกิจ

เผลอแป๊บเดียว ปีเก่าเพิ่งผ่านพ้นไป ปีใหม่เพิ่งก้าวเข้ามา โดยปีที่ผ่านมานับเป็นปีที่ผ่านไปไวกว่าปกติ เพราะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้เกือบทุกคนต้องจำศีลไปนานหลายเดือน

แต่ยังโชคดีที่โครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์ โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลไม่ได้หยุดนิ่งตามไปด้วย

ยังคงขะมักเขม้นเดินหน้าก่อสร้างไม่มีหยุด โดยเฉพาะ "โครงข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุม" โครงการในฝันของชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งก่อสร้างกันมาแล้วอย่างยาวนาน

ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล พ.ศ.2553-2572 ฉบับที่ 1 ของกระทรวงคมนาคม มีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งหมด 14 เส้นทาง และมีอีก 3 เส้นทาง ที่อยู่นอกเหนือแผนแม่บท ซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร คือ สายสีทอง สายสีฟ้าอ่อน และสายสีเขียว

โดยถึงวันนี้ต้องบอกว่าความฝันเรืองรองของคนกรุงฯและปริมณฑล กำลังใกล้เป็นจริงขึ้นมาทุกขณะ เพราะในปี 2564 จะมีรถไฟฟ้าสร้างเสร็จและพร้อมเปิดใช้งานได้หลายสายทาง ระยะทางรวมกว่า 541.32 กม.

เพื่อไม่ให้เสียเวลา ทีมข่าวเศรษฐกิจไทยรัฐ ขอพาไปอัปเดตโครงการรถไฟฟ้าทุกสาย รวมถึงจุดเชื่อมต่อต่างๆ ที่กำลังจะเปิดใช้ ตลอดจนแผนก่อสร้างในอนาคตอันใกล้กันได้เลย

รถไฟฟ้าสายสีแดง

สายสีแดง อยู่ภายใต้กำกับดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) นับเป็นหนึ่งในมหากาพย์ความยาวนานของการสร้างรถไฟฟ้าไทย ซึ่งเริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ปี 2556 แต่ในที่สุดก็ได้ฤกษ์เตรียมเปิดใช้กันในเดือน มี.ค.2564 นี้

โดยจะเปิดใช้ทั้ง 2 ช่วง บางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม. มีทั้งสิ้น 10 สถานี และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทางอีก 15.2 กม. จำนวน 5 สถานี

ถือเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมต่อการเดินทางจากตอนเหนือสู่ทางตอนใต้ของกรุงเทพฯ โดยมีแนวเส้นทางอยู่ทางรถไฟเดิม ผ่านพื้นที่สำคัญทั้งดอนเมือง รังสิต และอีกฝั่งผ่านไปย่านตลิ่งชัน โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การเชื่อมต่อตรงกับสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์กลางระบบรางที่ใหญ่และทันสมัยสุดในอาเซียน

สามารถเชื่อมการเดินทางได้ทั้งจากระบบราง รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าเชื่อมสนามบิน และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตเมือง สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีเขียว ตลอดจนสถานีขนส่งผู้โดยสาร บขส.และยังรองรับแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ ในสายสีแดงยังมีจุดเชื่อมต่ออื่นๆ กับรถไฟฟ้าอีกหลายสาย เช่น บริเวณบางซ่อนเชื่อมกับสายสีม่วง และบริเวณหลักสี่เชื่อมกับสายสีชมพู โดยตามแผนจะเปิดทดสอบเสมือนจริงเดือน มี.ค.64 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้เดือน พ.ย.2564

ส่วนแผนของการสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงในระยะต่อไป จะมีการเพิ่มทั้งช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต อีก 4 สถานี ที่วางเป้าหมายเปิดได้ปี 2569 ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง(Missing Link) ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย จะเปิดให้บริการได้ปี 2571

อีกทั้งยังมีช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก ตลอดจนมีแผนศึกษาการสร้างส่วนต่อขยายออกไปยังจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพฯ ในอนาคตอีกด้วย

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

รถไฟฟ้าอีกสายที่พร้อมเปิดให้ใช้ในปี 2564 คือ สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีระยะทาง 18.7 กม.จำนวน 16 สถานี

ปัจจุบันเริ่มทดลองเปิดใช้ไปแล้วเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา แต่จะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบในปีนี้ ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวถือเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ช่วยเชื่อมการเดินทางแบบไร้รอยต่อให้ชาวเมืองหลวงและปริมณฑลได้เป็นสายแรก

เริ่มตั้งแต่กรุงเทพมหานคร (สายสุขุมวิท-สายสีลม)ไปยังสมุทรปราการผ่านถนนสุขุมวิท แบริ่ง-สมุทรปราการ และปิดท้ายที่จังหวัดปทุมธานี ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต นอกจากนี้สายสีเขียวยังมีจุดเชื่อมต่อสำคัญกับรถไฟฟ้าได้อีกหลายสาย โดยที่เปิดใหม่ เช่น บริเวณห้าแยกลาดพร้าวเชื่อมกับสายสีน้ำเงิน บริเวณวัดพระศรีมหาธาตุเชื่อมต่อการเดินทางกับสายสีชมพู

นอกจากนี้ในระยะต่อไปยังมีแผนขยายเส้นทางเพิ่มเติมจากบางหว้า-ตลิ่งชัน อีก 7.5 กม. จำนวน 6 สถานี ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอยู่

รถไฟฟ้าสายสีทอง

ถือเป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองฝั่งธนบุรี ซึ่งอยู่นอกแผนแม่บทของกระทรวงคมนาคม แต่ปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จอย่างรวดเร็วและเริ่มเปิดให้บริการแล้วเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา

โดยเป็นรถไฟฟ้าสายสั้นที่สุดของไทยด้วยระยะทางเพียง 5.7 กม. จำนวน 3 สถานีเท่านั้น

ใช้ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติแบบไร้คนขับ มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว บริเวณสถานีกรุงธนบุรี วิ่งไปตามแนวถนนเจริญนครผ่านศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน และระยะที่ 2 จะมีการสร้างเพิ่มไปสถานีสำนักงานเขตคลองสาน-สถานีประชาธิปก

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

ถัดไปเราไปติดตามโครงการรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างอยู่และมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องกันบ้าง เริ่มจากรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. มี 30 สถานีเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว มีจุดเชื่อมการเดินทางจากจังหวัดนนทบุรีไปกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก

เริ่มต้นสายอยู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้า เขตมีนบุรี โดยบริเวณแยกร่มเกล้า ยังเป็นที่ตั้งของอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ อาคารจอดรถและจุดอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร ที่จะเดินทางไปขนส่งมวลชนระบบอื่นอีกด้วย

ข้อมูลอัปเดตล่าสุด ณ สิ้นเดือน พ.ย.2563 การก่อสร้างงานโยธา ก้าวหน้าไปแล้ว 68.49% งานระบบรถไฟฟ้าก้าวหน้า 62.76% ซึ่งตามแผนกำหนดเปิดให้บริการได้ปี 2565

จุดเด่นของสายสีชมพู มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นหลายจุด เช่น บริเวณศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมกับสายสีม่วงและสายสีน้ำตาล บริเวณมีนบุรีเชื่อมต่อกับสายสีส้ม บริเวณวัดพระศรีมหาธาตุเชื่อมกับสายสีเขียว บริเวณหลักสี่เชื่อมกับสายสีแดง ขณะเดียวกันสายสีชมพูยังเตรียมแผนสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมในอนาคต ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ซึ่งอยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาสัมปทานและน่าจะมีข่าวดีเร็วๆนี้

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางรวม 30.4 กม.มี 23 สถานี
สร้างเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบยกระดับ เชื่อมการเดินทางจากใจกลางกรุงเทพฯไปสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านบริเวณถนนลาดพร้าวตัดกับถนนรัชดาภิเษก ย่านสำโรงเหนือ ในโครงการมีอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ตัดกับบางนา-ตราด รวมไปถึงเป็นที่ตั้งของอาคารจอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าฯ และระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ

ปัจจุบัน โครงการก้าวหน้าไปมาก งานโยธาเสร็จไปแล้ว 70.64% งานระบบรถไฟฟ้าก็ทำได้แล้ว 64.56% และพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบปี 2565
โดยมีจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณแยกลำสาลีกับสายสีส้มและสายสีน้ำตาล บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว กับรถใต้ดินเอ็มอาร์ทีสายสีน้ำเงิน บริเวณสำโรงกับสายสีเขียวและ บริเวณหัวหมากกับสายสีแดง และแอร์พอร์ตลิงก์ ขณะเดียวกันยังเตรียมสร้างส่วนต่อขยายช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน ซึ่งอยู่ระหว่างแก้ไขสัมปทานในตอนนี้ด้วย

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ระยะทาง 22.57 กม.

ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานี ได้แก่ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีสายสีน้ำเงิน และจากนั้นมุ่งหน้าไปสู่สถานี รฟม.สถานีวัดพระราม 9 สถานีรามคำแหง 12 สถานีรามคำแหง สถานี กกท. สถานีหัวหมาก สถานีลำสาลี สถานีศรีบูรพา และสถานีคลองบ้านม้า จากนั้นโผล่จากใต้ดินขึ้นสู่การเป็นทางยกระดับ 7 สถานี ได้แก่ สถานีสัมมากร สถานีน้อมเกล้า สถานีราษฎร์พัฒนา สถานีมีนพัฒนา สถานีเคหะรามคำแหง สถานีมีนบุรี และสถานีสุวินทวงศ์ เป็นจุดสิ้นสุดโครงการ

สถานะโครงการปัจจุบันมีความก้าวหน้างานก่อสร้างโยธา 72.74% มีแผนเปิดใช้ได้ในปี 2567

ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่เชื่อมกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง โดยมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นได้ที่บริเวณมีนบุรีกับสายสีชมพู บริเวณแยกลำสาลีกับสายสีเหลืองและสีน้ำตาล

นอกจากนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยังอยู่ระหว่างดำเนินโครงการสายสีส้มฝั่งตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยสร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ระยะทาง 13.4 กม. วิ่งใต้ดินตลอดสาย 11 สถานี ได้แก่ สถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีสนามหลวง สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานีหลานหลวง สถานียมราช สถานีราชเทวี สถานีประตูน้ำ สถานีราชปรารภ สถานีดินแดง สถานีประชาสงเคราะห์ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาและจะก่อสร้างได้ภายในปี 64 เพื่อเปิดให้บริการได้ภายในปี 70

รถไฟฟ้าสายสีม่วง
ต่อมาเป็นแผนโครงการรถไฟฟ้าแห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งมีอยู่หลายสายจะผ่านที่บ้าน ที่ทำงาน ใครบ้างไปติดตามกันเลย เริ่มต้นกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีจุดเริ่มต้นเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที บริเวณสถานีเตาปูนและไปสิ้นสุดเส้นทางบริเวณครุใน ระยะทาง 23.6 กม.

แบ่งเป็นเส้นทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กิโลเมตร และทางยกระดับอีก 11 กม. รวมสถานีทั้งสิ้น 17 สถานี ซึ่งปัจจุบันรฟม.เตรียมเปิดประกวดราคาก่อสร้างงานโยธาฯและปรับปรุงรายงานการศึกษา ซึ่งคาดว่าจะสร้างเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2570

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ระยะทาง 22.1 กม. จำนวน 20 สถานี สายนี้จะให้บริการจากนนทบุรี ด้านฝั่งแคราย ผ่านถนนเกษตร-นวมินทร์ ไปตามถนนนวมินทร์สิ้นสุดที่แยกลำสาลี

โดยเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้าสายรอง สำหรับเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหลักอีก 4 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม รถไฟฟ้าสายสีเขียว บีทีเอส และรถไฟฟ้าสายสีส้ม อีกทั้งยังเชื่อมเข้ากับรถไฟฟ้าสายรอง ทั้งสายสีชมพู สายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีเทา ได้อีกด้วย โดยปัจจุบันโครงการกำลังอยู่ในขั้นเตรียมการศึกษาอยู่ คาดจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 สร้างเสร็จเปิดให้ใช้งานได้ปี 2570

รถไฟฟ้าสายสีเทา

รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 ระยะทาง 16.2 กม. จำนวน 15 สถานี

เป็นเส้นทางเชื่อมการเดินทางจากชานเมืองฝั่งเหนือ กรุงเทพฯ เข้าสู่ใจกลางเมือง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหารถติดบนถนนสุขุมวิท ถนนสาทร ถนนพระรามที่ 3 และตามวงแหวนถนนรัชดาภิเษก โดยตามแผนการสร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว

จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรมเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีลาดพร้าว 83 สายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9 และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี เพื่อเข้าซอยสุขุมวิท 55 หรือซอยทองหล่อ เพื่อบรรจบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือบีทีเอส โดยปัจจุบันโครงการกำลังศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอยู่คาดจะเริ่มก่อสร้างได้ปี 2565 และเปิดใช้ได้ปี 2568

ขณะเดียวกันในสายสีเทายังมีแผนก่อสร้างช่วงที่สองระหว่างพระโขนง-พระราม 3 อีก 12.1 กม.จำนวน 15 สถานีและช่วงพระราม 3-ท่าพระ อีก 11.49 กม.จำนวน 9 สถานี

โดยกำหนดแนวเส้นทางเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพระโขนง จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนพระรามที่ 4 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสาทรไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว เพื่อวิ่งตามแนวของรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ มุ่งหน้าขึ้นทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ เพื่อบรรจบกับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีอีกครั้ง

รถไฟฟ้าสายสีฟ้า

รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงประชาสงเคราะห์-ช่องนนทรี ซึ่งดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร

เป็นเส้นทางน้องใหม่ที่บรรจุอยู่ในแผนแม่บทฯ ระยะที่ 1 โดยมีระยะทางก่อสร้าง 9.5 กม. จำนวน 9 สถานี ตามแผนจะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากใจกลางเมือง รองรับการพัฒนาเคหะชุมชนดินแดง โครงการพัฒนาย่านมักกะสัน และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ตลอดจนเชื่อมโยงกับย่านธุรกิจ บนถนนสาทร ขณะที่แนวเส้นทางเริ่มจากเคหะชุมชนดินแดงเข้าสู่ศูนย์คมนาคมมักกะสัน สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองไปยังถนนวิทยุและถนนสาทร

สถานะปัจจุบันได้ถูกนำมาบรรจุในแผนแม่บทระยะที่ 1 แล้วจะก่อสร้างเสร็จเปิดให้ใช้งานภายในปี 2572

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นโครงการที่เปิดใช้งานไปแล้วหลายช่วง และล่าสุดก็เพิ่งเปิดให้บริการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กม. อีกจำนวน 9 สถานีไปเมื่อเดือน มี.ค.ของปีนี้

แถมยังมีข่าวต่ออีกว่ารัฐบาลเตรียมลงทุนทำส่วนต่อขยายเพิ่มจากช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4

อย่างไรก็ตาม ในการอัปเดตล่าสุด ดูเหมือนชาวบ้านย่านนั้นอาจต้องร้องเพลงรอเก้อไปก่อน

เพราะกระทรวงคมนาคมเห็นสมควรให้ชะลอโครงการออกไป เพราะมองว่ามีระยะทางสั้นไปหน่อย อาจจะไม่คุ้มค่าจึงมอบหมายให้ รฟม.ไปสอบถามความสนใจและความพร้อมของเอกชนในการลงทุน ทั้งในส่วนของงานโยธางานระบบ รวมทั้งให้นำผลดำเนินโครงการฯ ช่วงหัวลำโพง-บางแค มาประกอบการพิจารณา เพื่อให้การลงทุนเกิดความรอบคอบและคุ้มค่าที่สุด

รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน

นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน บางนา-สุวรรณภูมิ ที่อยู่นอกเหนือแผนแม่บทฯฉบับที่ 1

ตามแผนจะมีระยะทางรวม 18.3 กม. จำนวน 12 สถานี โดยแนวเส้นทางที่ปรับปรุงล่าสุดจะเริ่มต้นจากปลายฝั่งแยกสรรพาวุธแถวหน้าศาลจังหวัดพระโขนง ลัดเลาะไปตามถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำเข้าถนนอาจณรงค์ไปตามแนวทางพิเศษเฉลิมมหานคร เลี้ยวเข้าถนนพระรามที่ 3 ก่อนไปสิ้นสุดที่สถานีแม่น้ำ

เพื่อรองรับแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาของการรถไฟฯในอนาคต โดยสถานะโครงการปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขอผลวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเปิดใช้งานได้จริงภายในปี 2567

ทั้งหมดนี้เป็นความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าทุกสายในเมืองไทย ทั้งที่กำลังเกิดขึ้น และกำลังจะเกิดในอนาคต

อีกไม่นานเกินรอ โครงข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุม ซึ่งเคยเป็นตำนานเรื่องเล่าขานเมื่อวัยเด็ก

ก็จะได้ฤกษ์ทยอยเปิดใช้ได้เป็นจริงเสียที!!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2021 8:08 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อัปเดตโครงข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุม ฝันเรืองรองของชาวกรุงที่ใกล้เป็นจริง
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2564
ทีมเศรษฐกิจ


ลิงก์มาแล้ว => อัปเดตโครงข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุม ฝันเรืองรองของชาวกรุงที่ใกล้เป็นจริง
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:30 น.

https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2004812
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2021 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

มองรถไฟฟ้าไทย เทียบค่าโดยสารทั่วโลกใครแพงกว่า
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:20 น.

เปิดแฟ้มรายงานประจำปี Website ของบริษัทเดินรถแต่ละประเทศ ,บทสมัภาษณของรฐับาลในแต่ละประเทศและธนาคารโลก เมื่อเดือนธันวาคม 2563มองรถไฟฟ้าไทย เทียบค่าโดยสารทั่วโลกใครแพงกว่า ไทยสายสีเขียว-สายสีน้ำเงิน-ฮองกง-ญี่ปุ่น -สิงคโปร์ยันลอนดอน-นิวยอร์ก

จะเห็นว่าประเทศไทยมีค่าโดยสารต่อกิโลเมตรที่ต่ำกว่าประเทศ อื่น
ไทยสายสีเขียว ประมาณ 4.4 บาทต่อกิโลเมตร BEM สายสีน้้าเงิน ประมาณ 7.64 บาทต่อกิโลเมตร (ค่าโดยสารปกติประมาณ 3.50 บาทต่อ กิโลเมตร เงินสนับสนุนทางอ้อมค่าก่อสร้างงานโยธา ประมาณ 4.14 บาทต่อกิโลเมตร)
ฮ่องกง ประมาณ 4.49 บาทต่อกิโลเมตร (ค่าโดยสารปกติประมาณ 3.52 บาทต่อกิโลเมตร เงินสนับสนุน ทางอ้อมจากการให้สิทธิพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดบรอบและบนสถานี ประมาณ 0.97 บาทต่อกิโลเมตร)
ญี่ปุ่น ประมาณ 5.79 บาทต่อกิโลเมตร (ค่าโดยสารปกติประมาณ 5.75 บาทต่อกิโลเมตร เงินสนับสนุนจาก ภาครัฐประมาณ 0.04 บาทต่อกิโลเมตร)
สิงคโปร์ประมาณ 7.54 บาทต่อกิโลเมตร (ค่าโดยสารปกติประมาณ 1.92 บาทต่อกิโลเมตร เงินสนับสนุนจาก ภาครัฐประมาณ 2.17 บาทต่อกิโลเมตร เงินสนับสนุนทางอ้อมค่าก่อสร้างงานโยธาประมาณ 3.45 บาทต่อ กิโลเมตร)
ลอนดอน ประมาณ 12.08 บาทต่อกิโลเมตร (ค่าโดยสารปกติประมาณ 7.87 บาทต่อกิโลเมตร เงินสนับสนุน จากภาครัฐประมาณ 4.21 บาทต่อกิโลเมตร)

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไม่สามารถน้าไปเปรียบเทียบกับ GDP per Capita ของประเทศอื่นๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ เนื่องจาก GDP per Capita ของประเทศอื่นๆ สูงกว่าประเทศไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ (ไทย GDP per Capita ประมาณ 200,000 บาท ในขณะที่ประเทศอื่นที่กล่าวมาข้างต้นอยู่ที่ประมาณ 1,200000 - 2,000,000 บาท ในขณะที่ต้นทุนการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าแต่ละประเทศนั้นใกล้เคียงกัน ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 2,200 - 4,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2021 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

ปี’64 เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ เชื่อมชานเมือง “สีแดง-ชมพู-เหลือง”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 1 มกราคม 2564 - 13:25 น.

ตลอดปี 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินสายกดปุ่มเปิดรถไฟฟ้าสารพัดสีเชื่อมกรุงเทพฯกับปริมณฑล เพื่อบรรเทาปัญหารถติด

น้ำเงิน-เขียว-ทองวิ่งครบ
ต้นปี “สายสีน้ำเงิน” บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค วิ่งครบลูปเชื่อมสายเดิม “บางซื่อ-หัวลำโพง” ท้ายปีเปิด “สายสีเขียว” ส่วนขยาย “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” ครบตลอดสาย เชื่อม 3 จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ไร้รอยต่อ

สายสีทอง “กรุงธนบุรี-คลองสาน” เชื่อมบีทีเอส ไอคอนสยาม สถานที่ราชการและแหล่งเที่ยวริมเจ้าพระยา เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับสายแรกของประเทศได้เงินสนับสนุนจากภาคเอกชน

คิวต่อไป แดง-ชมพู-เหลือง
ปี 2564 มีคิวรอเปิด 3 สาย 3 สี มีสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” เชื่อมกรุงเทพฯเหนือกับตะวันตก หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ใช้เวลาสร้าง 10 ปี เปิดทดลองใช้ฟรีเดือน ก.ค.-ต.ค. เก็บค่าโดยสารเดือน พ.ย.ราคา 15-50 บาท

เดือน ต.ค. เป็นคิวโมโนเรลสีชมพู “แคราย-มีนบุรี” และสายสีเหลือง “ลาดพร้าว-สำโรง” ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)หารือกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป) จะทยอยบริการเป็นช่วง ๆ

โดยสายสีชมพูคืบหน้า 66.05% จากสถานีมีนบุรี-ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ก่อนเปิดตลอดสายเดือน ก.ย. 2565 สายสีเหลืองคืบหน้าแล้ว 68% จากสำโรง-พัฒนาการ เปิด มิ.ย. 2565

ทั้ง 2 สายจะเริ่มทดสอบระบบเดินรถเดือน เม.ย. เปิดเดินรถเสมือนจริงให้ใช้ฟรีในเดือน ก.ค. เปิดเชิงพาณิชย์เดือน ต.ค. 2564 ส่วนค่าโดยสารยังไม่เก็บ (อัตรา 14-42 บาท)



“ไทม์ไลน์ยังเหมือนเดิม ซึ่งเอกชนกำลังเร่งอยู่ เพื่อไม่ให้ประชาชนรอนาน เปิดบริการได้ก็จะเปิดต้นปี 2564 รอประเมินสถานการณ์โควิดด้วย เพราะผู้เชี่ยวชาญจากจีนเข้ามาไม่ได้ แต่ยิ่งเปิดเร็ว เอกชนจะมีรายได้เร็วขึ้น”

เมื่อเปิดบริการจะมีระบบฟีดเดอร์ป้อนคนให้รถไฟฟ้าสายสีเขียว แดง ม่วง น้ำเงิน แอร์พอร์ตลิงก์ และสายสีส้มในอนาคต เพื่อเชื่อมการเดินทางกรุงเทพฯโซนตะวันออกและตะวันตก

สายสีส้มไม่มาตามนัด
จากนั้นต้องรอลุ้นสายสีส้ม “ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” ที่ รฟม.เร่งสร้างจนรุดหน้าไป 72.74% และตั้งเป้าเปิดบริการในเดือน ต.ค. 2567 จะมาตามนัดหรือไม่ เมื่อการเดินรถยังผูกติดกับสายสีส้มตะวันตก ที่กำลังมีข้อพิพาทอยู่

หลัง รฟม.ปรับเกณฑ์พิจารณาผู้ชนะใหม่จากเดิมชี้ขาดที่ “ราคา” จะเปิด “ซองเทคนิค” ควบคู่ “การเงิน” ในสัดส่วน 30 : 70 นำ “คะแนนเทคนิค” 30% มาพิจารณา ร่วมกับ “คะแนนการเงิน” 70% ใครที่เสนอผลประโยชน์รัฐดีที่สุดเป็นผู้ชนะ

สำหรับสายสีส้ม รฟม.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost หาเงิน 128,128 ล้านบาท ลงทุนสร้างช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม จัดหาระบบซื้อรถ แลกรับสัมปทาน เดินรถ เก็บค่าโดยสาร “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” เวลา 30 ปี

“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า รฟม.ยังไม่เปิดซองประมูลของ 2 เอกชน ที่ยื่นประมูลคือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และกลุ่ม BSR (BTSC-BTS-ซิโน-ไทยฯ) รอฟังคำตัดสินจากศาลปกครองสูงสุด หากเดือน ก.พ. 2564 ถ้าศาลยังไม่มีคำตัดสิน มีความเป็นไปได้ที่เปิดสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี จะขยับจากปี 2567 ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม งานคงจะเลื่อนจาก เม.ย. 2564 และการเปิดบริการขยับจากเดือน เม.ย. 2570 ออกไปเช่นกัน

ลุยเวนคืนประมูลสีม่วงใต้
ในปี 2564 จะสำรวจเวนคืนสายสีส้มตะวันตกกับสายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เพื่อทำคู่ขนานกับเปิดประมูล ซึ่งสายสีส้มมีค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท เวนคืน 505 แปลง 41 ไร่เศษ รวม 331 หลัง ส่วนสีม่วงใต้เวนคืน 15,913 ล้านบาท มีที่ดิน 410 แปลง 102 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 267 หลังคาเรือน จุดขึ้น-ลง 17 สถานี ขณะนี้รออนุมัติร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน

ส่วนการก่อสร้างงานโยธาในเดือน ก.พ.จะประมูลงานโยธา 6 สัญญา เป็นงานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา วงเงินรวม 77,358 ล้านบาท ตั้งเป้าเริ่มก่อสร้างเดือน ธ.ค. 2564 แล้วเสร็จเดือน มี.ค. 2570

ขณะที่งานระบบรถไฟฟ้า 23,064 ล้านบาท จะเปิด PPP ในเดือน พ.ย. 2564 เป็น PPP gross cost 30 ปี เหมือนสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ จ้าง บมจ.BEM เดินรถ 30 ปี เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่องโดยเอกชนรายเดียว

เบรกสีน้ำเงินบางแค-สาย 4
นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ส่วนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 21,241 ล้านบาท ชะลอโครงการ รอประเมินตัวเลขผู้โดยสารสายสีน้ำเงินปัจจุบันจะถึง 600,000-800,000 เที่ยวคน/วันตามเป้าหรือไม่ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 3.6 แสนเที่ยวคน/วัน และรอสอบถามความสนใจเอกชนในการลงทุน PPP ทั้งงานโยธาและระบบด้วย

ขยายสายสีแดงรอเปิด PPP
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า สายสีแดงส่วนต่อขยายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อปี 2562 รอผลศึกษา PPP หลังมีนโยบายจากกระทรวงคมนาคมจะนำงานก่อสร้างทั้งหมดไปรวมกับหนี้สายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต และให้เอกชนรับสัมปทานเดินรถและพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ และสถานีในแนวเส้นทางของสายสีแดงทั้งโครงการในรูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 30-50 ปี วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท

ได้แก่ รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท, ตลิ่งชัน-ศาลายา 14.8 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท, ตลิ่งชัน-ศิริราช 4.3 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และสาย Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

“ผลศึกษาจะเสร็จใน ก.ค. 2564 เสนอ ครม.อนุมัติเดือน ส.ค.-พ.ย. และคัดเลือกเอกชนในเดือน ธ.ค. 2564-ม.ค. 2565 ได้เอกชนในเดือน ธ.ค. 2565”

เขียวต่อขยาย-ทองเฟส 2 รอประเมิน
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า กทม.ยังไม่มีแผนลงทุนส่วนต่อขยายสายสีเขียวทั้ง 2 เส้นทาง วงเงิน 25,333 ล้านบาท คือ ช่วงคูคต-ลำลูกกา 7 กม. รวม 11,989 ล้านบาท และช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 13,344 ล้านบาท

เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ และต้องรอประเมินผู้โดยสารจากการเปิดส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ส่วนสีทองเฟส 2 จะสร้างเพิ่ม 1 สถานีถึงประชาธิปก ลงทุน 1,300 ล้านบาท คงต้องรอประเมินหลังเปิดเฟสแรกไปแล้ว 6 เดือนเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2021 2:16 am    Post subject: Reply with quote

[อัปเดต] ไทม์ไลน์โครงการสาธารณูปโภคและรถไฟฟ้า เตรียมเปิดบริการในปี 2564 ค่ะ
Home Buyers TH
วันพุธ ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 19:00 น.


รถไฟฟ้าสายสีทอง-เพิ่งเปิดให้บริการใหม่หมาดๆ และช่วงนี้ก็ให้นั่งฟรีกันไปก่อน (3 สถานี) และ 16 ม.ค. 64 เป็นต้นไปก็เก็บค่าโดยสารนะจ้ะ (15 บาทตลอดสาย)
.
สถานีกลางบางซื่อ-หากไม่มีอันใดผิดพลาด หรือเลื่อนแล้วเลื่อนอีกมี.ค. 64 ก็จะได้ใช้บริการสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันค่ะ
.
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)-ตอนนี้กำลังเร่งก่อสร้างกันรัวๆ เตรียมเปิดเฟสแรกในช่วงปลายปี 64 (สำโรง-พัฒนาการ) จะทันมั้ยต้องมาลุ้นกันอีกทีจ้าาา
.
รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) - เตรียมเปิดเฟสแรกในปลายปี 64 เช่นกันค่ะ (มีนบุรี-ศูนย์ราชการฯ - ไม่จอดสถานีนพรัตน์และศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ)
.
รถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต/บางซื่อ-ตลิ่งชัน) - หลังจากเลื่อนเปิดมาหลายรอบปี 64 นี้ก็น่าจะได้เปิดจริงๆ กันซะทีค่ะ
.
บ้านใครอยู่ใกล้รถไฟฟ้าสายไหน แอดมินก็ดีใจด้วยน๊าาา จะได้เดินทางสะดวกสบายมากขึ้นไปอีกค่ะ
.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44499
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/01/2021 9:09 pm    Post subject: Reply with quote

รายการ รู้ไว้สุขใจจริงหนอ NBT2HD
3 มกราคม 2564
เวลา 20.30-21.20 น.
💥การสร้างรถไฟฟ้า
📌ผู้ดำเนินรายการ
🔸ดร.เสรี วงษ์มณฑา
🔸อรรทิตย์ฌาณ คูหาเรืองรอง

Arrow https://fb.watch/2NykYNji47/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2021 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

ทะลวงเพิ่ม เส้นทางรถไฟฟ้า
ออนไลน์เมื่อ อังคารที่ 5 มกราคม 2564 เวลา 09.40 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,641
วันที่ 3 - 6 มกราคม พ.ศ. 2564

รฟม.เช็กสถานะคืบหน้าสร้างไฟฟ้าหลากสี หลังพบหลายสายติดปัญหาเจรจาไม่ลงตัว ส่อพับแผนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ไปพุทธมณฑลสาย4

ด้านบีทีเอส เผยสายสีชมพู-เหลือง ปรับแบบสถานีผ่านฉลุย จ่อเปิดเดินรถปลายปี 64-ต้นปี 65 ขณะที่กทม.เดินหน้าสายสีเทาดึงเอกชนร่วมทุนพีพีพี ส่วนสายสีแดงลากยาวถึงศูนย์มธ.รังสิต-ไฮสปีดซีพีส่งมอบพื้นที่ต.ค.64

รัฐบาลเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางรางอย่างต่อเนื่องอีกไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท หลังเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ และสายสีทองไปเมื่อปีที่ผ่านมาเริ่มจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) มีความพร้อมเปิดประมูล สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 101,100 ล้าน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564
แม้จะติดปัญหาอุปสรรคเจรจาเวนคืนพื้นที่ในบางทำเล แต่มองว่า มีความพร้อม ขณะสายสีส้ม ช่วง บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 1.2แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ร้อนแห่งปี 2563 และมีแนวโน้ม ลากยาวมาถึงปีนี้ มองว่า ต้องรอศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด

เข็นม่วงใต้ประมูล
ด้านความคืบหน้า นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ระบุว่าสายสีม่วงใต้ หลังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นชอบออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพ มหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563 แล้ว

ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดและเตรียมจัดทำเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) จะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และได้ตัวผู้รับจ้างระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในธันวาคม 2564 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 6 ปี โดยก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2570
ล่าสุดคณะกรรมการรฟม. (บอร์ดรฟม.) พิจารณาปรับลดวงเงินลงทุนในส่วนค่างานโยธาของสายสีม่วงใต้ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปการขอใช้พื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ แต่รฟม.คาดว่าจะเปิดประมูลงานได้ทันตามแผนที่วางไว้
สำหรับรูปแบบการลงทุน จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) PPP Gross cost ระยะเวลา 30 ปี รูปแบบเดียวกับสายสีม่วง (เหนือ) ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ วงเงิน 1 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น งานโยธาราว 77,385 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 15,913 ล้านบาท ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 32 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง 2,865 ล้านบาท

สายสีส้มรอศาล
ขณะความคืบหน้าสายสีส้ม ที่อยู่ระหว่างศาลปกครองสูงสุดนัดไต่สวน ระหว่างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี และคณะกรรมการมาตรา 36 กับพวกรวม 2 คน นั้น ล่าสุด รฟม.ยืนยันตามคำอุทธรณ์ว่าคำคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลางส่งผลกระทบต่อภาพรวมโครงการ ทำให้เกิดความล่าช้า เนื่องจากขณะนี้ รฟม. เปิดรับซองข้อเสนอเอกชนมาแล้วกว่า 1 เดือน แต่ยังไม่สามารถดำเนินการเปิดซองเพื่อพิจารณาข้อเสนอได้ ดังนั้นหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป การเปิดพิจารณาข้อเสนอก็จะล่าช้าออกไป เป็นเหตุกระทบต่อโครงการ กระทบต่อการเปิดให้บริการประชาชน และสร้างความเสียหาย

สีน้ำเงินไปสาย4สีน้ำตาลอีกนาน
อย่างไรก็ตาม รฟม.ยังมี โครงการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วงบางแค -พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท ตามแผนเดิม จะเปิดประมูลในปี 2564 แต่ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้รับสัมปทานต้องการดูตัวเลขผู้โดยสารที่มาใช้บริการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ที่เชื่อมกับสายสีน้ำเงินเดิมว่าเป็นอย่างไร
หลังจากนั้นจะพิจารณาอีกครั้ง มาที่สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงินลงทุน 4.8 หมื่นล้านบาท โดยใช้ตอม่อของรถไฟฟ้าร่วมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 และ N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ปัจจุบันคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบให้รฟม.จ้างที่ปรึกษาออกแบบฐานรากตอม่อสายสีน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว
ขณะรฟม. มีความพร้อมออกแบบฐานรากตอม่อเพื่อก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวบริเวณตอน N2 (ช่วงแยกเกษตร-นวมินทร์ ) ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร (กม.) ช่วงที่มีการทับซ้อนทางด่วนขั้นที่ 3
ทั้งนี้การออกแบบฐานรากตอม่อร่วมกับกทพ.ในครั้งนี้ติดปัญหากรณีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ค้านการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N1 หากการเจรจาระหว่างกทพ.และมก.ไม่จบจะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงการฯล่าช้าออกไปอีก ซึ่งรฟม.ต้องการที่จะเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลควบคู่ไปกับทางด่วนขั้นที่ 3 เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการก่อสร้างโครงการฯ
หากท้ายที่สุดแล้วเจรจาไม่สำเร็จรฟม.อาจจะต้องดำเนินการบางส่วนไปก่อน ถ้ากทพ.ได้ข้อสรุปแล้วก็สามารถดำเนินการร่วมกับรฟม.ได้ ส่วนจะกระทบต่อภาระต้นทุนโครงการฯ ของรฟม.หรือไม่ ยังสรุปไม่ได้ ซึ่งจะต้องรอผู้ที่เกี่ยวข้องสรุปข้อมูลด้วย
ด้านการศึกษาทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เบื้องต้นอยู่ระหว่างดำเนินการต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ต่อขยายสีเหลืองหิน
สำหรับความคืบหน้าส่วนต่อขยายสายสีเหลืองช่วงรัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. วงเงิน 3,779 ล้านบาท ขณะนี้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ให้รฟม.ประสานข้อมูลเจรจาร่วมกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ยอมรับเงื่อนไขเพิ่มเติมในกรณีที่ทบทวนขอให้ใส่เงื่อนไขเพิ่มเติมในสัญญา เรื่องการชดเชยรายได้ หาก BEM สามารถพิสูจน์ได้ว่าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารของสายสีน้ำเงิน ที่มีจุดเชื่อมต่อกันที่สถานีลาดพร้าว

ทางบีทีเอสปฏิเสธยังไม่รับเงื่อนไขในเรื่องนี้ แต่เราคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการฯ ในเฟส 2 ได้เนื่องจากยังพอมีระยะเวลาดำเนินการ หากก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเส้นหลักแล้วเสร็จ

ด้านมุมสะท้อนนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บีทีเอสซี ย้ำความคืบหน้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ปัจจุบัน รฟม.ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างสายสีชมพูล่าช้า เนื่องจากมีการปรับตำแหน่งก่อสร้างสถานีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี และสถานีนพรัตนราชธานี

ทำให้บีทีเอสต้องแก้ไขรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)ใหม่โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการปรับตำแหน่งสถานีดังกล่าว ขณะนี้รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้รับความเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะทยอยเปิดเดินรถไฟฟ้าเป็นช่วงๆ ตั้งแต่ต้นปี 2565

ส่วนสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ที่ผ่านมาติดปัญหาส่งมอบพื้นที่ล่าช้า 2 จุด ประกอบด้วย

1.จุดตัดสะพานข้ามแยกบางกะปิ ถนนลาดพร้าว ซึ่งจุดดังกล่าวไม่มีสถานีมีแต่ทางวิ่งรถไฟฟ้าสามารถเร่งรัดการก่อสร้างให้เสร็จตามแผนได้
2.บริเวณสถานีรัชดา-ลาดพร้าว เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เจ้าของพื้นที่ได้ให้เอกชนเช่าใช้ประโยชน์ต้องใช้เวลาในการเคลียร์พื้นที่ขณะนี้ได้ข้อยุติแล้ว ส่งผลทำให้การก่อสร้างสถานีดังกล่าวล่าช้า

กทม.ลุยทองเฟส2-เทา
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า หลังเปิดเดินรถสายสีเขียวเหนือเติมเต็มทั้งระบบ ส่งผลให้ บีทีเอสสามารถรองรับผู้โดยสารมากกว่า 1,500,000 เที่ยวคนต่อวัน ด้วยระยะทางยาว 68.25 กิโลเมตร 59 สถานี
ส่วนแผนสร้างส่วนต่อขยาย จากสถานีคูคตออกไปถึงลำลูกกาอีก 4 สถานี ต้องรอดูปริมาณผู้โดยสารอีกครั้ง รถไฟฟ้าอีกเส้นทางที่เปิดเดินรถไปแล้วสายสีทองระยะทาง 1.8 กม.  มีจุดเชื่อมต่อกับการเดินทางรูปแบบต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ที่สถานีประชาธิปก และสายสีแดง (หัวลำโพง-มหาชัย) ที่สถานีคลองสาน และยังเชื่อมต่อทางน้ำ สำหรับประชาชนที่ใช้บริการเรือด่วนและเรือข้ามฟาก
ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน จะให้บริการฟรี 1 เดือน ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2563-15 มกราคม 2564 จะเริ่มเก็บค่าโดยสารคงที่ 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2564 เป็นต้นไป และคาดว่ากลางปี 2564 กทม.มีแผนก่อสร้าง สายสีทองเฟส 2 อีก 900 เมตร 1 สถานี ที่ประชาธิปก วงเงิน 1,300 ล้านบาท
ขณะสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ กทม.เตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุน (PPP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะที่ 1 ระยะทาง 19 กม. เพื่อนำผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯในรูปแบบการลงทุนพีพีพี โดยใช้งบว่าจ้างที่ปรึกษา จำนวน 29 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน นับจากลงนามสัญญาจ้าง
โดยปัจจุบันจัดทำร่างเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) แล้ว คาดว่าจะเริ่มประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกที่ปรึกษาได้ ภายในเดือนมกราคม 2564 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา แบ่งออกเป็น 3 เฟส ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะที่ 2 จากพระโขนง-ลุมพินี และระยะที่ 3 ช่วงลุมพินี-ท่าพระ

รฟท.ยืดสายสีแดง
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 13 สถานี รวมสถานีกลางบางซื่อ  ขณะนี้เหลืองานระบบและจัดเตรียมอบรมบุคลากรในการบริหารและซ่อมบำรุงมีความก้าวหน้า 89.10% คาดว่าจะทดสอบเดินรถเสมือนจริงเดือน มีนาคม 2564
จากนั้นเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการเดือนกรกฎาคม 2564 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือนพฤศจิกายน 2564 คาดว่ามีผู้ใช้บริการ 86,000 เที่ยวคนต่อวัน เบื้องต้นให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกเป็นผู้เดินรถ ส่วนการบริหารสถานีกลางบางซื่อ ในระยะแรกทาง ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้บริหารไปก่อน
สำหรับส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาแผนพัฒนา ให้ครอบคลุมเชื่อมต่อการเดินทางจากจังหวัดปริมณฑลด้านทิศเหนือ เข้ามายังกทม. บริเวณพื้นที่ ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี และอยุธยา โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนที่จะพัฒนาต่อขยายอีก 2 โครงการ ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 42,610 ล้านบาท
แยกเป็นสายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.48 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6,570 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562
ประเมินว่าจะสามารถจัดหาเอกชนเพื่อร่วมลงทุนได้ในเดือนธันวาคม 2565 เริ่มก่อสร้างใช้เวลา 3 ปี สามารถเปิดให้บริการ ในเดือนธันวาคม ปี 2568 คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารราว 28,150 คน/วัน และในอนาคตจะมีการสร้างต่อขยายจาก สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ไปยังสถานีบ้านภาชี จ.อยุธยาด้วย โดยมีสถานีจำนวน 4 แห่ง คือ สถานีคลอง 1 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชียงราก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
ส่วนรถไฟทางไกลสายใหม่เชื่อมต่อรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ซึ่งจะดำเนินการ จำนวน 2 เส้นทาง ช่วง คือ
1.ช่วง อยุธยา-บ้านภาชี ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 13,069 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับเปลี่ยนแปลง โดยมีจำนวน 4 สถานี คือ บ้านม้า มาบพระจันทร์ พระแก้ว และบ้านภาชี
คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ช่วงเดือนตุลาคม 2577
2. ช่วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต-อยุธยา ระยะทาง 31.2 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 22,971 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายงานรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับเปลี่ยนแปลง โดยจะมี 4 สถานี เรียกว่าอนาคตกทม.กำลังกลายเป็นเมืองแห่งการเดินทางด้วยระบบราง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2021 9:19 pm    Post subject: Reply with quote

ทำเลฮอต ติดลมบน รังสิต-ปทุมธานี
ออนไลน์เมื่อ อาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2564 เวลา 07.00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,641
วันที่ 3 - 6 มกราคม พ.ศ. 2564

ปัจจัย “ทำเล” หัวใจสำคัญของการซื้อโครงการ ไว้เพื่ออยู่อาศัยในระยะยาว โดยเฉพาะยุคทองของกลุ่มแนวราบเกิดใหม่ จากโครงการรถไฟฟ้า เปิดทำเลพลิกหน้าดินได้กลายเป็นโอกาสทั้งฝั่งผู้พัฒนาและผู้ซื้อในการเลือกสรร

พบการเดินของรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร และสายสีแดง บางซื่อ-รังสิตเต็มระบบ ก่อให้ทำเลย่าน รังสิต-ปทุมธานี เนื้อหอมยิ่งขึ้น หลังผู้ประกอบการทั้งในพื้นที่และแบรนด์ยักษ์ใหญ่รุกปักหมุดพัฒนาโครงการ เพื่อตอบกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น จากอานิสงส์ของระบบบูรณาการด้านการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมของรัฐ และการอัดเม็ดเงินผุดโปรเจ็กต์ยักษ์ใหญ่ของเอกชนดูดกำลังซื้อใหม่ๆ สู่ตลาด

สอดคล้องกับมุมมองของ นางสาวสุวรรณี มหณรงค์ชัย รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนากลยุทธ์และบริหารสินทรัพย์บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ที่ระบุว่า แม้ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 จะยังคงมีทิศทาง ไม่แตกต่างจากปลายปี 2563 แต่โปรดักต์แนวราบจะเป็นเรือธงนำตลาด โดยเฉพาะกลุ่มบ้านเดี่ยวระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท และพบสัดส่วนสูง ในราคา 3-5 ล้านบาท เปิดขายโดดเด่นในทำเล ปทุมธานี-ลำลูกกา เช่นเดียวกับโปรดักต์มาแรง ทาวน์โฮม กลุ่มราคาต่ำaกว่า 3 ล้านบาท ทำเลยอดฮิตอันดับต้น ยังคงเป็น ปทุมธานี-ลำลูกกา เช่นกัน
.ทำเลฮอต ติดลมบน รังสิต-ปทุมธานี"
ขณะค่ายใหญ่ อย่างบริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ประกาศ เดินหน้าแผนการพัฒนาโครงการในย่านรังสิต-ปทุมธานีอย่างต่อเนื่อง หลังทั้งโครงการไลโอ บลิสซ์ รังสิต-บางพูน กลุ่มทาวน์โฮม ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท โครงการมิกซ์ยูส ; ลลิล ทาวน์ แลนซีโอ คริป วงแหวนฯ-ลำลูกกา คลอง 6 ราคา 2.9 - 4 ล้านบาท และทาวน์โฮมต่ำกว่า 2 ล้านบาท ได้รับการตอบรับจากลูกค้าดี

นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่บริษัท เปิดเผยว่า ปัจจุบันพื้นที่ตอนเหนือของกรุงเทพฯ ได้รับการพัฒนาจากทั้งภาครัฐและเอกชน จนเปลี่ยนไปจากอดีตแบบพลิกฝ่ามือ และเอื้อต่อการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยคุณภาพที่ครบครันทั้งด้านเครือข่ายคมนาคมและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นหลักให้ทั้งกลุ่มลูกค้าในพื้นที่และต่างพื้นที่หันมาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่าวมากขึ้นกว่าเดิม

โดยกำลังซื้อหลักในย่านนี้ กลุ่มหลักยังเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการหาบ้านหลังแรก เป็นกลุ่มผู้ที่ทำงานข้าราชการ องค์กรเอกชน รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจค้าขายในพื้นที่ใกล้เคียง 
สิ่งที่น่าจับตา คือ การเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีเขียวแบบไร้รอยต่อ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) เมื่อกลางธ.ค.ที่ผ่านมา เดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD ได้อย่างสะดวก และ การเตรียมเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ม.ค.2564 รวมถึงทางยกระดับลอยฟ้ารังสิต- องครักษ์เชื่อมทางด่วนศรีรัชและอุดรรัถยาที่อยู่ระหว่างขอ EIA คาดจะนำมาซึ่งดีมานด์ความต้องการจำนวนมากในพื้นที่

ไม่เพียงแต่กลุ่มราคากลาง-ล่าง เจ้าใหญ่ในตลาดบ้านแพงอย่าง บมจ.แสนสิริ ก็ปักธงนำร่อง กระจายพอร์ตแนวราบ มายังโซนรังสิต ตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน หลังส่งแบรนด์ดัง ทาวน์โฮม สิริ เพลส รังสิต จำนวน 60 ยูนิต เจาะตลาดก่อนหน้า และสามารถปิดโครงการได้ในเวลารวดเร็ว โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเปิดขายโครงการใหม่ อณาสิริ รังสิต-คลอง 2 ราคา 3.69-6 ล้านบาท

บ้านเดี่ยวสราญสิริ รังสิต ราคา 5.59-12 ล้านบาทและบ้านหรู เศรษฐสิริ กรุงเทพฯ-ปทุมธานี กลุ่มราคา 9-25 ล้านบาท  หลังจากประเมินว่า รังสิต นับเป็นทำเลที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มความต้องการและมีอัตราการเติบโตสูง ไม่ใช่เฉพาะคนในพื้นที่ แต่คนทำงานในเมือง เกิดความต้องการ จากความสะดวกของการเดินทาง ทั้งยังมีแผนการลงทุน เมกะ รังสิต, แผนการเปิด IKEA รังสิต และแผนพัฒนาโครงการ Central M เป็นอีกแม่เหล็กดึงดูดสำคัญ

มุมสะท้อน DDproperty Thailand Property Market Index (เว็บไซต์ ดีดี พร็อพเพอร์ตี้) ประเมินว่า ทำเลน่าจับตา ปี 2564 จะครอบคลุมพื้นที่อานิสงส์ของรถไฟฟ้าสายปัจจุบันและอนาคตช่วยยกระดับทำเลรอบนอกกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ 3 จังหวัดปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ที่กำลังจะมีรถไฟฟ้าสายใหม่เปิดให้บริการ ให้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยน่าจับตา

เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยยังไม่สูงมากนัก และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี บริเวณตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง มีการปรับตัวของราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในรอบปี 13% จากอานิสงส์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง อีกหนึ่งทำเลที่มีแนวโน้มเติบโตคือบริเวณตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย เพิ่มขึ้น 16% เติบโตจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน

ตามด้วย จังหวัดสมุทรปราการ ราคาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อาทิ ตำบลท้ายบ้านใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ ได้แก่บริเวณสถานี BTS แพรกษา, BTS สายลวด, BTS เคหะฯ ราคาเพิ่มขึ้น 21% โดยทำเลที่มีราคาคอนโดมิเนียมเพิ่มมากที่สุดในรอบปี ล้วนอยู่ในอำเภอเมืองสมุทรปราการที่แนวรถไฟฟ้าพาดผ่าน จังหวัดปทุมธานี ทำเลที่มีราคาที่อยู่อาศัยเติบโตมากที่สุดในรอบปี อยู่ตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย คูคต-วงแหวนรอบนอก

ได้แก่ ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง เพิ่มขึ้น 18% และตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง เพิ่มขึ้น 16% โดยทำเลที่มีราคาคอนโดมิเนียมเพิ่มมากที่สุดในรอบปีอยู่ในทำเลแนวรถไฟฟ้า ทำเลใกล้สถานศึกษา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2021 9:24 pm    Post subject: Reply with quote

3 รถรางไฟฟ้าหัวเมือง ฝ่าด่านหิน ลุ้นชงครม.ปักธงอนุมัติปี 64
ออนไลน์เมื่อ อาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2564 เวลา 06.00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 17
ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,640
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - 2 มกราคม พ.ศ. 2564

การเปิดใช้รถไฟฟ้าสายใหม่ต่อเนื่องในกรุงเทพฯ ทำให้เป็น“โครงข่าย” ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ

ขณะที่ระบบขนส่งมวลชนในหัวเมือง 7 จังหวัดหลักนั้น รอบปี 2563 นี้ที่คืบหน้าไปมากอย่างน้อย 3 แห่ง ที่มีลุ้นว่าจะสามารถเสนอเข้าครม.ขออนุมัติโครงการในปี 2564 นี้

โครงการระบบขนส่งมวลชนในหัวเมืองที่คืบหน้ามาก 3 จังหวัด นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า

1.ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทางเลือกใหม่ เนื่องจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีแนวคิดให้ปรับรูปแบบระบบการเดินรถใหม่ เป็นแบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เพื่อลดภาระต้นทุนค่าก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปลายปี 2564 โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2565 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี
ขณะเดียวกันที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ได้รายงานผลการศึกษาทางเลือกออกเป็น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย
1.รถรางแบบล้อยาง ที่สามารถเดินรถเลี้ยวตามเส้นทางได้สะดวก แต่สภาพอากาศในไทยที่ค่อนข้างร้อนอาจจะทำให้ยางเสียหรือระเบิดได้ รวมทั้งมีผู้ผลิตในตลาดต่างประเทศน้อย ส่งผลให้ต้นทุนการจัดหาระบบค่อนข้างสูงกว่าระบบรถรางล้อเหล็กราว 15% 2.รถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เป็นรถที่ขับด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ต้นทุนถูกว่าระบบเดิมประมาณ 30 %

2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์ วงเงิน 7.11 พันล้านบาท หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานรูปแบบการร่วมลงทุนโดยให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในต้นปี 2564 คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2565 ซึ่งโครงการฯนี้จะล่าช้ากว่าแทรมภูเก็ต เนื่องจากจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด รฟม.) เพิ่มเติม

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2571 โดยมีรูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tramway) ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนพื้นถนน รูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้า MRT ที่ใช้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 21 สถานี

3.ขณะที่ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท แหล่งข่าวเผยว่า ปัจจุบันที่ปรึกษาโครงการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมค่าก่อสร้างเพื่อประหยัดต้นทุนดำเนินการ  เนื่องจากแนวเส้นทางโครงการต้องขุดอุโมงค์ใต้ดินซึ่งมีต้นทุนค่าก่อสร้างค่อนข้างสูง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในต้นปี 2564

ส่วนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดแล้วเสร็จภายในปี 2564 หลังจากนั้นจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2565 ทั้งนี้จะต้องเสนอต่อกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร ทั้งนี้ มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2571 โดยมีรูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tramway) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 16 สถานี

โครงการรถรางไฟฟ้าขนส่งมวลชน 3 หัวเมืองหลัก ที่โคราชน่าจะมีปัญหาน้อยสุด เนื่องจากสายทางสั้นภายในเขตเมือง และเป็นรางระดับดินทั้งหมด ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างโครงการต่ำ ขณะที่รถรางไฟฟ้าภูเก็ตเป็นเส้นทางเชื่อมตัวเมืองกับสนามบิน มีระยะทางยาวถึง 42 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นทางระดับดิน แต่มีบางช่วงเช่นสถานีสนามบินเป็นทางยกระดับ และช่วงผ่านเขตอำเภอถลาง 3 กิโลเมตรเป็นระดับใต้ดิน ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างสูง จนต้องพิจารณาปรับรูปแบบใหม่ อาจเปลี่ยนแป็นรถเมล์พิเศษ(บีอาร์ที)แทน ส่วนที่เชียงใหม่แม้เป็นเส้นทางในเขตเมือง แต่สายทางผ่านเขตชุมชนหนาแน่นต้องทำเป็นทางระดับใต้ดิน ทำให้ต้นทุนก่อสร้างค่อนข้างสูง ซึ่งต้องหาแนวทางปรับลดค่าก่อสร้างลง เป็นอุปสรรคที่ต้องฝ่าฟันเพื่อแจ้งเกิดระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาค เชื่อมโยงกับโครงข่ายขนส่งทางรางที่รัฐทุ่มลงทุนครั้งใหญ่ ทั้งรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสู่แต่ละภูมิภาค
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 228, 229, 230 ... 278, 279, 280  Next
Page 229 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©