Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263779
ทั้งหมด:13575062
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 396, 397, 398 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/12/2020 11:38 pm    Post subject: Reply with quote

ปัดข่าวลือ “นายหน้าที่ดิน” สับขาหลอก คาดซีพียึดที่มั่นสถานีพัทยาเดิมเชื่อมระบบขนส่งรอง มีรัฐเวรคืนให้ ทำไมต้องย้ายสถานี?
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 29 ธันวาคม 2563 เวลา 10:39 น.

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีดรามาข่าวโคมลอยเรื่องซีพีขอย้าย “สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา” ออกจากกลางเมือง ซึ่งแหล่งข่าวจาก รฟท.เผยว่า เนื่องจากพื้นที่โดยรอบสถานีพัทยาตามผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีพื้นที่ว่างสำหรับพัฒนา TOD ประมาณ 200 ไร่เท่านั้น ทำให้หลายคนไปคาดการณ์เอาเองว่าซีพีจะมีการย้ายสถานี เพราะซีพีต้องการพัฒนาพัทยาให้เป็นสถานีขนาดใหญ่ และเมื่อไปตรวจสอบราคาซื้อขายที่ดินในปัจจุบันรอบสถานีพัทยาพบว่าปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ไร่ละ 10 ล้านบาท และอยู่ในมือนายทุนท้องถิ่นรายใหญ่ไปหมดแล้ว ทำให้นายหน้าที่ดินในพื้นที่มีการปล่อยข่าวว่าจะมีการย้ายสถานีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ที่ดินที่อ้างว่าจะย้ายสถานีออกไป และเป็นการกว้านซื้อที่ดินแบบแผนซ้อนแผน

ทั้งนี้ คาดกันว่า ซีพี จะไม่ย้ายสถานี แต่จะพัฒนาสถานีพัทยาให้เป็นสถานีขนาดใหญ่ โดยมีการออกแบบการเชื่อมโยงระบบขนส่งรอง ซึ่งจะหารือกับนักลงทุนในพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ การทำระบบ feeder เชื่อมโยงจากสถานีพัทยาออกไปยังพื้นที่รอบนอกเพื่อรองรับระบบ feeder ซึ่งซีพีต้องออกค่าใช้จ่ายในการเวนคืนพื้นที่รอบนอกสำหรับระบบขนส่งรองเอง ทำให้เริ่มมีข่าวลือว่าจะย้ายสถานี ทั้งที่เป็นการหาพื้นที่วางระบบ feeder เชื่อมเมืองหลักเมืองรอง ถึงแม้จะยังไม่ระบุสถานที่ แต่ราคาที่ดินก็พุ่งไปตามข่าวลือหลายสิบเท่าจนแทบจะหาซื้อไม่ทัน แต่แน่นอนว่าอย่างไรซีพีจะใช้สถานีพัทยาเดิมเป็นหลักเพื่อลดภาระค่าเวนคืนโดยจะเป็นหน้าที่ของภาครัฐตามที่ตกลงไว้แต่แรก ดังนั้น ซีพีย่อมไม่ยอมจ่ายค่าเวนคืนเองเพราะมีรัฐรับผิดชอบให้อยู่แล้ว หากต้องการย้ายสถานีไปยังจุดอื่นก็เท่ากับหาเรื่องเพิ่มต้นทุน

แหล่งข่าวจาก รฟท.เปิดเผยว่า “ได้เริ่มกระบวนการเวนคืนไปแล้ว โดยเข้าพื้นที่รังวัด อาจจะเวนคืนเฉพาะแนวเส้นทาง เว้นตรงสถานีไว้ก่อนเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้ทัน เม.ย. 2564 หรืออย่างช้า ส.ค. แต่ไม่เกินกรอบเวลากำหนดไม่เกิน 2 ปี หรือเดือน ต.ค. เพื่อออกหนังสือให้เริ่มงานก่อสร้าง จะออกพร้อมกับพื้นที่ TOD สถานีมักกะสัน และศรีราชา”

สำหรับข่าวลือเกี่ยวกับการย้ายสถานีไฮสปีดจากพัทยาต่างส่งผลกระทบนายหน้าเก็งกำไรที่ดิน ซึ่งยอมรับว่ามีที่ดินติดอยู่ในมือไม่สามารถขายออกจำนวนมากในพัทยา ศรีราชา ตลอดจนสถานีฉะเชิงเทรา ขณะราคาที่ดินขยับสูงหลายเท่า จากราคาเพียง 2-3 ล้านบาทขยับเป็น 8-10 ล้านบาทที่รอบสถานีศรีราชา เช่นเดียวกับพัทยาที่ราคาที่ดินปรับสูง โดยเฉพาะติดชายทะเลราคาทะลุไป 2 แสนบาทต่อตารางวา

แหล่งข่าวจากวงการนายหน้าค้าที่ดินเปิดเผยว่า ขณะนี้นายทุนท้องถิ่นภาคตะวันออกกำลังตื่นตัวกับกระแสข่าวลือเรื่องการย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูงที่พัทยาของกลุ่มซีพีที่ได้สัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยมีข่าวลือว่าจะย้ายไปบริเวณใกล้ถนนมอเตอร์เวย์สาย 7 ตอน 7 ถนนเลียบทางรถไฟ ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี นั้น ขณะนี้ทราบว่ากลุ่มซีพียังไม่ย้ายสถานีพัทยาตามที่ปรากฏเป็นข่าว ทั้งนี้ แนวพื้นที่เวนคืนบริเวณสถานีพัทยา ครอบคลุมสถานีเดิม ขนาดประมาณ 100 X 600 เมตร หรือประมาณ 30 ไร่

ก่อนหน้านี้ นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเล็กเมืองพัทยา ได้ออกมาเปิดเผยว่า จากการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พบว่าในสัญญาระหว่างผู้ที่ได้รับสัมปทานกับรัฐบาลมีการเปิดช่องสำหรับการเสนอปรับเปลี่ยนและย้ายสถานีจอดได้ ซึ่งเมืองพัทยาได้มีการติดตามเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และได้เตรียมความพร้อมในกรณีที่จะมีการย้ายสถานีจอดรถไฟความเร็วสูงในเบื้องต้นไว้แล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะส่งผลดีต่อเมืองพัทยาอย่างแน่นอน เพียงแค่เมืองพัทยาจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟรางเบาเพื่อให้สอดรับต่อการพัฒนาในอนาคตเท่านั้น

สยบข่าวลือนายหน้าที่ดินสับขาหลอก ปั่นราคาที่ดิน "ซีพี"เตรียมแผนขยายสถานีพัทยาเดิม ชี้รัฐเวนคืนให้ ทำไมต้องย้ายสถานี
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
29 ธันวาคม 2563 09:38 น.


ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีดราม่าข่าวโคมลอยเรื่องซีพีขอย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยาออกจากกลางเมือง ซึ่งแหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)เผยว่า พื้นที่โดยรอบสถานีพัทยาตามผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีพื้นที่ว่างสำหรับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(TOD)ประมาณ 200 ไร่เท่านั้น ทำให้หลายคนไปคาดการณ์กันเองว่า ซีพีจะมีการย้ายสถานี เพราะต้องการพัฒนาพัทยาให้เป็นสถานีขนาดใหญ่ และเมื่อไปตรวจสอบราคาซื้อขายที่ดินในปัจจุบันรอบสถานีพัทยา พบว่าปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ไร่ละ 10 ล้านบาท และอยู่ในมือนายทุนท้องถิ่นรายใหญ่ไปหมดแล้ว ทำให้นายหน้าที่ดินในพื้นที่มีการปล่อยข่าวว่าจะมีการย้ายสถานีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินที่อ้างว่าจะย้ายสถานีออกไป และเป็นการกว้านซื้อที่ดินแบบแผนซ้อนแผน

ขณะที่ทางซีพีจะไม่ย้ายสถานี แต่จะพัฒนาสถานีพัทยา ให้เป็นสถานีขนาดใหญ่โดยมีการออกแบบเชื่อมโยงระบบขนส่งรอง ซึ่งจะหารือกับนักลงทุนในพื้นที่ต่อไป ซึ่งการทำระบบ feeder หรือระบบขนส่งระบบรองเชื่อมโยงจากสถานีพัทยาออกไปยังพื้นที่รอบนอก ซีพีต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเวนคืนเอง ทำให้เริ่มมีข่าวลือว่าจะย้ายสถานี ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือการหาพื้นที่วางระบบ feeder เชื่อมเมืองหลักเมืองรอง ถึงแม้จะยังไม่ระบุสถานที่ แต่ราคาที่ดินก็พุ่งไปตามข่าวลือหลายสิบเท่า จนแทบจะหาซื้อไม่ทัน แต่แน่นอนว่า ซีพีใช้สถานีพัทยาเดิมเป็นหลัก จะลดภาระค่าเวนคืนโดยจะเป็นหน้าที่ของภาครัฐตามที่ตกลงไว้แต่แรก ดังนั้นซีพีย่อมไม่ยอมจ่ายค่าเวนคืนเอง เพราะมีรัฐรับผิดชอบให้อยู่แล้ว หากย้ายสถานีไปยังจุดอื่นก็เท่ากับหาเรื่องเพิ่มต้นทุน

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า ได้เริ่มกระบวนการเวนคืนไปแล้ว โดยเข้าพื้นที่รังวัด อาจจะเวนคืนเฉพาะแนวเส้นทาง เว้นตรงสถานีไว้ก่อนเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้ทันเดือนเมษายน 2564 หรืออย่างช้าคือเดือนสิงหาคม 2564 แต่ไม่เกินกรอบเวลาที่กำหนดไว้ไม่เกิน 2 ปี หรือเดือนตุลาคม 2564 เพื่อออกหนังสือให้เริ่มงานก่อสร้าง จะออกพร้อมกับพื้นที่ TOD สถานีมักกะสันและศรีราชา

สำหรับกระแสข่าวเรื่องการย้ายสถานีไฮสปีดจากพัทยา ส่งผลกระทบกับนายหน้าเก็งกำไรที่ดิน ซึ่งยอมรับว่ามีที่ดินติดอยู่ในมือไม่สามารถขายออกจำนวนมากในพัทยา ศรีราชา และสถานีฉะเชิงเทรา ขณะราคาที่ดินขยับสูงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะที่ดินรอบสถานีศรีราชาที่ขยับจากราคาไร่ละ 2-3 ล้านบาท เป็น 8-10 ล้านบาท เช่นเดียวกับพัทยาที่ราคาที่ดินติดชายทะเล พุ่งทะลุไปถึง 2 แสนบาทต่อตารางวา

แหล่งข่าวจากวงการนายหน้าค้าที่ดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้นายทุนท้องถิ่นภาคตะวันออกกำลังตื่นตัวกับกระแสข่าวเรื่องการย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูงที่พัทยาของกลุ่มซีพีที่ได้สัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยมีข่าวลือว่าจะย้ายไปบริเวณใกล้ถนนมอเตอร์เวย์สาย 7 ตอน 7 ถนนเลียบทางรถไฟ ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งขณะนี้ทราบว่ากลุ่มซีพียังไม่ย้ายสถานีพัทยาแต่อย่างใด ทั้งนี้แนวพื้นที่เวนคืนบริเวณสถานีพัทยา ครอบคลุมสถานีเดิมขนาดประมาณกว้าง 100 เมตร ยาว 600 เมตร หรือประมาณ 30 ไร่

โดยก่อนหน้านี้ นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยาได้ออกมาเปิดเผยว่า จากการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินพบว่า ในสัญญาระหว่างผู้ที่ได้รับสัมปทานกับรัฐบาลมีการเปิดช่องสำหรับการเสนอปรับเปลี่ยนและย้ายสถานีจอดได้ ซึ่งเมืองพัทยาได้มีการติดตามเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และได้เตรียมความพร้อมในกรณีที่จะมีการย้ายสถานีจอดรถไฟความเร็วสูงในเบื้องต้นไว้แล้ว อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินจะส่งผลดีต่อเมืองพัทยาอย่างแน่นอน เพียงแต่เมืองพัทยาจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟรางเบา เพื่อให้สอดรับต่อการพัฒนาในอนาคตด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=N4Bmf1-2qXE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2021 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

อจร.โคราช ประชุมรายงานความคืบหน้าเมกะโปรเจ็กต์ เพื่อพัฒนาระบบจราจรในระยะยาว เผยรถไฟความเร็วสูง รอผลการพิจารณา EIA ยังคืบหน้าตามเป้าหมาย ด้านรถไฟทางคู่ปรับแบบแล้ว คาดแล้วเสร็จปี ๒๕๖๘ เตรียมสร้างระบบขนส่งเชื่อมต่อเพื่อความสะดวกผู้โดยสาร แต่ติดปัญหาผู้ประกอบการสัมปทานรถเมล์ตลอดชาติ ทางลงมอเตอร์เวย์เชื่อมถนนสุรนารี ๒ ได้งบแล้ว ๔๐๐ ล้าน

ตามที่มีการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดนครราชสีมา (อจร.นม.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๓ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมประชุมเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ห้องประชุมนางสาวบุญเหลือ ชั้น ๒ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และนายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าฯ เข้าร่วมด้วยนั้น

รถไฟความเร็วสูงรอผล EIA

โดยการประชุมมีทั้งหมด ๕ วาระ ซึ่งวาระสำคัญคือ การติดตามความคืบหน้าการประชุมครั้งที่ผ่านมา แผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาจราจรในระยะยาว โดยเริ่มจากวาระที่ ๔.๒.๑ ความคืบหน้าโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย ซึ่งว่าที่ร้อยเอกศุภวัฒน์ ไขยประพันธ์ ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า “โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงินการก่อสร้าง ๑๗๙,๔๑๓ ล้านบาท มีระยะทาง ๒๕๒ กิโลเมตร แบ่งเป็นทางยกระดับ ๑๙๐ กิโลเมตร และอุโมงค์ (แก่งคอย-ลำตะคอง) ๕๔.๕ กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด ๖ แห่ง ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา สถานภาพปัจจุบันของโครงการส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรอบที่วางเอาไว้ โดยการเวนคืนอยู่ระหว่างที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รอผลการพิจารณา EIA เพื่อออก พ.ร.ฎ.การเวนคืนที่ดิน”

เสร็จแล้ว ๑ สัญญา

“สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้าง ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ ๑ สัญญา คือ สัญญาที่ ๑-๑ งานโยธาช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง ๓.๕ กิโลเมตร และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก ๑ สัญญา คือ สัญญาที่ ๒-๑ งานโยธาช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร มีความคืบหน้า ๔๖.๓๐% ส่วนความคืบหน้าของสัญญาอื่นๆ มีรายละเอียดดังนี้ ๑.อยู่ระหว่างรอลงสัญญาจ้าง ๔ สัญญา คือ สัญญาที่ ๔-๒ ช่วงดอนเมือง-นวนคร, ๔-๓ ช่วงนวนคร-บ้านโพ, ๔-๕ ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว และ ๔-๖ ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ๒.ลงนามก่อสร้างแล้ว ๕ สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ ๓-๒ งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง, ๓-๓ ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง, ๓-๔ ลำตะคอง-สีคิ้ว-กุดจิด-โคกกรวด, ๓-๕ ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา และ ๔-๗ สระบุรี-แก่งคอย ๓.คกร.อนุมัติสั่งจ้างแล้วหรือประกาศผู้ชนะจำนวน ๒ สัญญา คือ สัญญาที่ ๓-๑ ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า และสัญญาที่ ๔-๔ ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ๔.จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา สัญญาที่ ๔-๑ ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ๕.สัญญาที่ ๒-๑ รฟท.ลงนามกับรัฐวิสาหกิจ (CRDC และ CRIC) เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๐ ปัจจุบันออกแบบเสร็จแล้ว ๖.สัญญาที่ ๒-๒ การควบคุมงานก่อสร้าง รฟท.ลงนามกับรัฐวิสาหกิจ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๐ ปัจจุบันรับจ้างและเริ่มดำเนินงานควบคุมการก่อสร้างแล้ว และ ๗.สัญญาที่ ๒-๓ งานระบบราง ระบบไฟฟ้า เครื่องกล และการจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในสัญญาแล้ว เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๓”

โคราช-หนองคายเริ่มคืบคลาน

“สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง ๓๕๖ กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด ๕ สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย มีหน่วยซ่อมบำรุงทาง ๔ แห่ง ประกอบด้วย
๑.บริเวณสถานีรถไฟบ้านมะค่า
๒.สถานีรถไฟหนองเม็ก
๓.สถานีรถไฟโนนสะอาด และ
๔.สถานีรถไฟนาทา

ความคืบหน้าปัจจุบัน ได้จัดทำร่างการออกแบบรายละเอียดช่วงนครราชสีมา-บ้านไผ่เสร็จแล้ว และคณะกรรมการตรวจรับฯ เห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างปรับแก้ไขรายละเอียด และอยู่ระหว่างจัดทำร่างแบบรายละเอียดช่วงบ้านไผ่-หนองคาย โดยเบื้องต้นแบ่งระยะเวลาของโครงการได้ดังนี้ ๑.ออกแบบรายละเอียดงานโยธาให้สอดคล้องกับมาตรฐานของจีน ระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๖๒-มีนาคม ๒๕๖๔ ๒.จัดทำรายงาน EIA ระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๖๒-มีนาคม ๒๕๖๔ ๓.ประมาณราคาค่าก่อสร้าง ระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๖๓-มีนาคม ๒๕๖๔ ๔.จัดทำเอกสารและจัดประกวดราคางานโยธา ระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๖๔-สิงหาคม ๒๕๖๔ และ ๕.สำรวจและจัดทำร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ระหว่างเดือนมีนาคม ๒๕๖๔-ตุลาคม ๒๕๖๔” ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง กล่าว
http://www.koratdaily.com/blog.php?id=12431
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2021 6:54 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ลุยเวนคืนไฮสปีด “ซีพี” บริหารแอร์พอร์ตลิงก์
2 มกราคม 2564

สกพอ.เดินหน้าเมกะโปรเจค “อีอีซี” ปี 2564 ลุยส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูง-เมืองการบิน เตรียมความพร้อมพัฒนามักกะสัน ร.ฟ.ท.เร่ง “ซีพี” แจงข้อมูลย้ายสถานีไฮสปีด เดินหน้าเวนคืนที่ดิน ส่งมอบพื้นที่ช่วงแรก ต.ค.64

การผลักดันเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในช่วงที่ผ่านมาได้เร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยลงนามร่วมลงทุนไปแล้ว 3 โครงการ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ (สกพอ.) เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีก้าวหน้าตามที่วางแผนไว้ โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการสนามบินอู่ตะเภา โดยไตรมาส 1-2 ปี 2564 จะเริ่มส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงให้บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ช่วงลาดกระบัง-สนามบินอู่ตะเภา เพื่อเริ่มก่อสร้างทางรถไฟและสถานี โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาอีกสักระยะเพื่อรื้อย้ายสิ่งกีดขวางออกและจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืนที่ดิน

ส่วนช่วงกรุงเทพฯ แม้ส่งมอบที่ดินและรื้อย้ายสาธารณูปโภคไม่ได้ทั้งหมด แต่ในปี 2564 จะเห็นการดำเนินงานของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ที่มีประสิทธิภาพและการบริการที่รวดเร็วขึ้น เพราะเอกชนจะเริ่มมาบริหารงานและเพิ่มขบวนรถมากขึ้นทำให้ความถี่ในการให้บริการประชาชนทำได้ดีขึ้น โดยให้บริการผู้โดยสารได้สูงสุด 600,000 คนต่อวัน

นอกจากนี้ ปี 2564 จะเป็นการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมให้สถานีรถไฟมักกะสันเป็นสถานีหลักของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งสถานีมักกะสันพร้อมเป็นสถานีหลักของรถไฟความเร็วสูง โดยปัญหาทางเข้าสถานีที่คนเดินทางเข้าสู่สถานีได้ยากกำลังออกแบบสร้างทางเดินเข้าสู่สถานี ซึ่งการขุดทางรอดใต้ดินให้มีทางเข้าออกได้ถึง 6 ทางเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้า-ออกสถานีของประชาชน


สำหรับรถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายจากสนามบินอู่ตะเภาไปยัง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด กำลังศึกษาว่าจะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ เพราะการลงทุนรถไฟความเร็วสูงต้องเชื่อมเมืองขนาดใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาก 2 เมืองเข้าด้วยกัน โดยการลงทุนระยะแรกเชื่อมกรุงเทพฯ และสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งผ่านเส้นทางที่เป็นเมืองและชุมชนและได้ประโยชน์จากสนามบินอู่ตะเภาทำให้การลงทุนสร้างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

“ความสำคัญที่ต้องติดตามจากนี้ คือ การให้รถไฟความเร็วสูงและสนามบินอู่ตะเภาเสร็จและเปิดบริการในระยะเวลาใกล้เคียงกันหรือพร้อมกันจึงจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจเต็มที่ ซึ่งจะแล้วเสร็จปี 2568 โดยได้ตั้งคณะทำงานให้ทั้ง 2 โครงการทำงานร่วมกันต่อเนื่อง ซึ่งต้องมองไปข้างหน้าเพราะโครงการนี่้แล้วเสร็จในช่วงที่โควิด-19 ควบคุมได้แล้ว” นายคณิศ กล่าว

ร.ฟ.ท.เดินหน้าเวนคืนที่ดิน

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งเบื้องต้น ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะส่งมอบพื้นที่ส่วนแรก คือ ช่วงสุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา เข้าดำเนินงานตามสัญญากำหนดภายในเดือน ต.ค.2564

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.รอข้อมูลประกอบการพิจารณา กรณีเอกชนมีข้อเสนอขอย้ายสถานี 3 แห่ง คือ สถานีชลบุรี สถานีพัทยาและสถานีฉะเชิงเทรา แต่ยังไม่ได้รับข้อมูลจากเอกชน ดังนั้น ร.ฟ.ท.จึงเดินหน้าเตรียมเวนคืนพื้นที่ก่อสร้างตามสัญญากำหนด ซึ่งอยู่ขั้นตอนประกาศราคาเวนคืนที่ดินและดำเนินการเจรจาทำสัญญากับเจ้าของที่ดิน

ทั้งนี้ เมื่อ ร.ฟ.ท.ยังไม่ได้ข้อมูลการย้ายสถานีถึงเหตุผลและประโยชน์ที่ประชาชนจะรับ ดังนั้นจึงต้องเดินหน้าเวนคืนตามที่สัญญากำหนด โดยอยู่ระหว่างของบเวนคืนเพิ่มเติม ซึ่งหากเวนคืนที่ดินไปแล้วเอกชนมาขอย้ายสถานีก็สามารถทำได้ แต่เอกชนจะต้องมีแผนพัฒนาที่ดินที่ ร.ฟ.ท.เวนคืนมาด้วย และต้องใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์กำหนด คือ การใช้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

หัวล้านหายได้ใน 2 สัปดาห์! ล้านแค่ไหนก็ดกดำได้! คลิกเลย!
Velfor Hair
ไม่มีเงิน วิธีง่ายๆในการรวยอย่างรวดเร็ว!
Money Amulet
เครื่องรางเปลี่ยนชีวิต พกไว้ช่วยได้ รวยวันรวยคืน! อ่านตรงนี้
Money Amulet
คันหัว? อาจเป็นโรคสะเก็ดเงินที่หนังศีรษะ (ค้นหาวิธีรักษา)
Keraderm
'ปทุมธานี' สั่งปิด 2 ตลาดดัง ย่านรังสิต เหตุเสี่ยงแพร่ระบาดโควิด-19
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 2 เตือน 5 จังหวัด ระวังฝนตกหนัก-น้ำป่าไหลหลาก
สมุทรสาคร พบผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' เพิ่ม 55 ราย
ซีพีลุยบริหารแอร์พอร์ตลิงก์

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า การส่งมอบแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีกำหนดวันที่ 24 ต.ค.2564 ซึ่งเอกชนได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลี 6 คน มาศึกษาดูงานและหารือแผนงานดำเนินการในอนาคต อาทิ กำหนดซ่อมขบวนรถ และแผนเตรียมปรับปรุงสถานี ติดตั้งระบบบอกทาง ไฟฟ้า รวมไปถึงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณให้สอดคล้องกับระบบของรถไฟความเร็วสูง

สกอพ.เร่งเอกชนเข้าพื้นที่

แหล่งข่าวจาก สกพอ.กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีหลายโครงการลงพื้นที่เตรียมงานก่อสร้างแล้วหลังทยอยลงนามร่วมลงทุนในปี 2562-2563 ซึ่ง สกพอ.ประเมินว่าเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงหรือวัคซีนเริ่มใช้งานในช่วงกลางปี 2564 โครงการลงทุนในอีอีซีจะเริ่มก่อสร้างได้

ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาหลายโครงการล่าช้ากว่าแผนเพราะโควิด-19 และการฟ้องร้องของภาคเอกชน แต่ปัจจุบันโครงการสนามบินอู่ตะเภาและโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่ติดปัญหาแล้วเพราะลงนามร่วมลงทุนเรียบร้อย เหลือเพียงขั้นตอนการส่งมอบพื้นที่และการเข้าดำเนินโครงการที่จะเร่งรัดในช่วงปี 2564 ดังนั้นยังเหลืออีก 1 โครงการที่ยังไม่ได้ลงนามร่วมลงทุน คือ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2021 11:27 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
รฟท.ลุยไฮสปีดโคราช-หนองคาย
กรุงเทพธุรกิจ 25 ธันวาคม 2563


รฟท. ศึกษารถไฟความเร็วสูง ช่วงโคราช-หนองคาย เชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ส่งเสริมเศรษฐกิจสู่ภาคอีสาน
กรมประชาสัมพันธ์
25 ธันวาคม 2563



ลุยต่อ‘รถไฟความเร็วสูง’ ‘โคราช-นค.’๒.๕ แสนล้าน ทนรอปี ๒๕๗๒ เปิดใช้แน่
26 ธันวาคม 2563

รฟท.เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง ช่วงโคราช-หนองคาย ระยะทาง ๓๕๖ กม. ลงทุน ๒.๕ แสนล้าน ปักหมุด ๕ สถานี เชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน หนุนเศรษฐกิจภาคอีสาน เร่งสำรวจเวนคืนต้นปีหน้า เล็งลงเสาเข็มปี ๒๕๖๕ เสร็จปี ๒๕๗๒ ใช้เวลาเดินทาง กทม.-หนองคาย ๓.๕ ชม.



สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ รัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างทั้งสองรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๙ เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร เส้นทางกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง รวมประมาณ ๘๖๗ กิโลเมตร และฝ่ายรัฐบาลไทยได้ตกลงให้รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมโครงการ ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ และดําเนินการก่อสร้างงานโยธา เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลไทย ที่ส่งเสริมการลงทุนในโครงการสําคัญของประเทศ ทั้งโครงการต่อเนื่องและโครงการที่มีความพร้อม ดังนั้น การดําเนินโครงการระบบรถไฟความเร็วสูงขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร จึงเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางที่กระทรวงคมนาคมให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งและเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ

ต่อมาวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เมืองไหหนาน ซึ่งที่ประชุมได้สรุปการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดและกําหนดนโยบายเริ่มก่อสร้างเส้นทางช่วง กรุงเทพฯ-โคราช และส่วนต่อขยายเมื่อมีความพร้อม และวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ไทยได้เริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนา ระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช) ที่ออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงของสาธารณรัฐประชาชนจีน

ดังนั้น โครงการระบบรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ ๒ ช่วงโคราช-หนองคาย) จึงต้องออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐานระบบรถไฟความเร็วสูงของสาธารณรัฐประชาชนจีนให้สอดคล้อง กับระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ ๒๓ เมื่อวันที่ ๗-๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

รับฟังเสียงประชาชน

ล่าสุดวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น. ที่โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์โคราช นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๒ งานออกแบบรายละเอียดงานโยธา โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) โดยมีนายสุวัฒน์ กันภูมิ หัวหน้าแผนกบริหารงานทั่วไปการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้สนใจ กว่า ๑๕๐ คน ร่วมรับฟังบรรยายโครงการโดย นายดุสดี อภัยสุวรรณ ผู้จัดการโครงการ ดร.วรนิติ ช่อวิเชียร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ น.ส.กฤติกา บุณยชาติพิสุทธ์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม และผศ.ดร.วิลาสินี ลโนมะศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

สร้างโอกาสการพัฒนาของโคราช

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “ด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดนครราชสีมา ที่กําหนดวิสัยทัศน์ไว้ให้เป็นประตูสู่อีสาน ศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ผ้าไหม และการท่องเที่ยว โดยกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ ๕ ประเด็น ประกอบด้วย ๑.การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันเศรษฐกิจ ๒.ยกระดับสังคมให้เป็นเมืองน่าอยู่ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ๓.บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีความสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ๔.การเสริมสร้างความมั่นคงทุกมิติ เพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และ ๕.พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ”

“ซึ่งการพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวมของจังหวัด ต้องได้รับการสนับสนุนแผนการพัฒนาที่สอดคล้องกันจากภาครัฐ ดังนั้น การที่กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย โดยเฉพาะการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะเป็นการสนับสนุนและผลักดันให้แผนการพัฒนาของจังหวัดสัมฤทธิ์ผลอีกทางหนึ่ง โดยมีส่วนในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจจากด้านการค้า การลงทุน และท่องเที่ยว เพิ่มโอกาสการพัฒนาด้านอื่นๆ รวมทั้งจะเป็นการยกระดับคุณภาพการเดินทางและการขนส่งให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”

นายวิเชียร กล่าวอีกว่า “อย่างไรก็ดี การส่งเสริมให้ยุทธศาสตร์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนและนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ดังนั้น การประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้รับทราบผลการศึกษาทั้งด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกท่านจะได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้โครงการฯ ได้นําไปปรับใช้ในการศึกษาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นต่อไป”

รับฟังเพื่อยอมรับ

นายสุวัฒน์ กันภูมิ หัวหน้าแผนกบริหารงานทั่วไป รฟท. กล่าวว่า “การพัฒนาโครงการ ดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับพัฒนาการคมนาคมและลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ ซึ่งรถไฟความเร็วสูงจะเป็นระบบการขนส่งที่ทันสมัย มีความรวดเร็ว ตรงเวลา และมีความปลอดภัยสูง เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และกระจายความเจริญไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ขณะเดียวกันคุณภาพของรถไฟความเร็วสูงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในหลากหลายด้าน อาทิ ย่นระยะเวลาการเดินทาง ส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาเมือง การค้าและการลงทุน เกิดความคุ้มค่าในระยะยาว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงใช้พลังงานไฟฟ้า ก่อให้เกิดมลพิษน้อยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น โดยที่ผ่านมาโครงการได้ลงพื้นที่ศึกษา เก็บข้อมูล สำรวจ ทั้งทางด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๑ ไปแล้วเมื่อวันที่ ๑๓-๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓ และเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสำรวจความคิดเห็นแบบสอบถามไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการดำเนินการ การรถไฟฯ จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ ๒ อีกครั้ง เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการฯ ผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ร่างมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการฯ สำหรับนำไปประกอบการศึกษาของโครงการฯ ให้มีความครบถ้วนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมทุกภาคส่วนมากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับร่วมกัน”

๓๕๖ กม. ทุ่ม ๒.๕ แสนล้าน

นายดุสดี อภัยสุวรรณ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า “การก่อสร้างที่กําหนดเป็นทางรถไฟระดับพื้น ระยะทาง ๑๘๕ กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟยกระดับระยะทาง ๑๗๑ กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ ๓๕๖ กิโลเมตร มีมูลค่าการลงทุนประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท มีสถานีรถไฟทั้งสิ้น ๕ สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า ๑ แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย มีศูนย์ซ่อมบํารุงที่เชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และที่สถานีนาทา จ.หนองคาย พร้อมด้วยหน่วยซ่อมบํารุงทาง ๔ แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จ.นครราชสีมา สถานีหนองเม็ก จ.ขอนแก่น สถานีโนนสะอาด จ.อุดรธานี และสถานีนาทา จ.หนองคาย มีจุดย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) ๑ แห่ง ที่สถานีนาทา จ.หนองคาย ใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ ๒๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้การเดินทางจากกรุงเทพฯ-หนองคายใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง ๑๕ นาที”

แก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ

ด้าน ดร.วรนิติ ช่อวิเชียร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า “สําหรับรูปแบบการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ กําหนดให้แก้ไขปัญหาจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ โดยมี ๕ รูปแบบ ดังนี้ ๑.สะพานรถไฟ ๑๒๐ แห่ง ใช้ในกรณีตัดกับทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่มี ปริมาณการจราจรบริเวณจุดตัดค่อนสูง เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดในเขตเมืองที่มีถนนสายหลักและสายรองตัดผ่านในระยะห่างใกล้กันหลายแห่ง ๒.สะพานรถยนต์ ๒๕ แห่ง ใช้ในกรณีที่จุดตัดถนนสายหลักมีปริมาณการจราจรค่อนข้างมาก และมีเขตทางเพียงพอ ๓.สะพานกลับรถรูปตัวยู ๒๓ แห่ง ใช้ในกรณีตัดกับถนนที่มีปริมาณจราจรน้อย มีอุปสรรคสิ่งกีดขวางทั้งสองด้าน เขตทางไม่พอให้สามารถออกแบบมาตรฐานในลักษณะทางตรงได้ ๔.ทางลอดรถไฟ ๘๔ แห่ง ใช้ในกรณีที่เป็นจุดตัด ทางรถไฟกับถนนลําลองที่มีปริมาณการจราจรต่ำ บริเวณพื้นที่เกษตรกรรมสองข้างทางรถไฟ และ ๕.ทางบริการ ๓ แห่ง ใช้บริเวณที่แนวเส้นทางรถไฟตัดผ่านถนนท้องถิ่นหลายๆ สาย โดยเชื่อมถนนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน แล้วก่อสร้างทางลอดหรือทางข้ามเพียงจุดเดียว”

คุ้มค่ากับการลงทุน

“ด้านผลการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาเฉพาะช่วงโคราช-หนองคาย พบว่ามีความเหมาะสม คุ้มค่าโดยคิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ๑๑.๒๔% ส่วนผลวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาทั้ง ๒ ระยะ (กรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย) คิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ๑๒.๑๐% สําหรับแผนการดําเนินงานโครงการในระยะถัดไปภายหลังศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จ รฟท.จะเริ่มดําเนินการขออนุมัติ ดําเนินโครงการ และออกร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดิน ในปี ๒๕๖๔ จากนั้นจะดําเนินการประกวดราคา สํารวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ และเริ่มดําเนินการก่อสร้างงานโยธา ในปี ๒๕๖๕ โดยจะใช้ระยะเวลาดําเนินการ ๔๘ เดือน จากนั้นจึงเป็นงานติดตั้งระบบ โดยจะเริ่มดําเนินการในปี ๒๕๖๖ ใช้ระยะเวลาการดําเนินการ ๖๖ เดือน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปี ๒๕๗๒” ดร.วรนิติ กล่าว

กระทบ ๑๙ อําเภอ

น.ส.กฤติกา บุณยชาติพิสุทธ์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “การศึกษาและประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ อันจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณพื้นที่โครงการและบริเวณโดยรอบ ทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะการก่อสร้าง และระยะดําเนินการและบํารุงรักษา พร้อมทั้งเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยอ้างอิง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ และแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประเภทโครงการคมนาคมทางบก โดยกลุ่มคมนาคม สํานักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สผ.๒๕๔๙ เป็นหลัก”

“พื้นที่ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่ตามแนวเส้นทางของโครงการและพื้นที่ใกล้เคียงในระยะ ๕๐๐ เมตร จากกึ่งกลางแนวเส้นทางโครงการออกไปทั้งสองข้าง รวมทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีในระยะ ๕๐๐ เมตร ที่มีแนวโน้มจะได้รับ ผลกระทบ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ปกครอง ๘๔ ตําบล ใน ๑๙ อําเภอ ของ ๔ จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย โดยได้พิจารณาประเด็นสิ่งแวดล้อมหลักทั้งหมด ๒๒ ประเด็น จากการประเมินผล พบว่า ผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง ซึ่งโครงการได้กําหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรเทาผลกระทบที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ พร้อมทั้งกําหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังนี้ ๑.ทางกายภาพ ด้านทรัพยากรดิน อุทกวิทยา คุณภาพน้ำผิวดิน คุณภาพอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน ๒.ทางชีวภาพ ด้านนิเวศวิทยาทางน้ำ และนิเวศวิทยาทางบก ๓.คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค การคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การควบคุมน้ำท่วมและการระบายน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการท่องเที่ยว และ ๔.คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจ-สังคม การโยกย้ายและการเวนคืน สุขภาพและการสาธารณสุข อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การแบ่งแยก สุขาภิบาล ประวัติศาสตร์และโบราณคดี และสุนทรียภาพ-ทัศนียภาพ” น.ส.กฤติกา กล่าว

พื้นที่เวนคืนต้องแก้ไขได้

จากนั้นเปิดให้ประชาชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ โดยนายสุรชัย ชาวอำเภอปากช่อง เสนอแนะว่า “โดยส่วนตัวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ แต่มีญาติพี่น้องเกี่ยวข้องตั้งแต่โคราชจนถึงอำเภอบัวลาย ผมมีประสบการณ์การเวนคืนที่ดินที่ปากช่อง ไม่ใช่การเวนคืนรถไฟความเร็วสูงแต่เป็นการเวนคืนรถไฟทางคู่ จะเอามาเปรียบเทียบให้ฟัง การเวนคืนที่ดินสามารถประท้วงได้ว่า ราคาไม่พอ ไม่ใช่ขาย ๕-๑๐ ล้าน แต่ให้ผมแค่ ๓-๕ แสน ซึ่งสามารถทำได้ตามที่ผู้บรรยายได้แจ้งแล้ว ส่วนการเวนคืนที่ดินที่ไม่ควรเวนคืน ต้องแก้ไขได้ ไม่ใช่ออกแบบเสร็จแล้วแก้ไขไม่ได้ การออกแบบที่ไม่ถูกต้องทั้งทางข้าม ทางลอด และทางอุโมงค์ต้องแก้ไขได้ การออกแบบของอำเภอบัวใหญ่ออกแบบมา ๓ ชั้น ชั้นล่างสุดเป็นรถไฟทางคู่ธรรมดา สองชั้นบนเป็นรถไฟความเร็วสูง ผมถามว่าการเข้าไปสู่สถานีรถไฟ เวนคืนบ้างหรือยัง สถานีทางเข้าออกต้องสะดวกด้วย”

วอนทำ Interchange

นายพลพรต พลเจริญเกียรติ ชาวอำเภอปากช่อง เสนอว่า “การเวนคืนก็ดี การทำงานของการรถไฟก็ดี การท้วงติงของประชาชนไม่ได้เกลียดชังบริษัทที่ปรึกษาหรือผู้ออกแบบ เราเสนอเพื่อต้องการให้ชาติเจริญต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดกับเงินที่เสียไป คอนเซปต์การก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษาต้องดูแลผู้รับเหมา ผู้รับเหมาต้องดูแลเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสียง จราจรติดขัด ปรากฏว่า ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปดูแล ฝุ่นเละเทะ แจ้งนายอำเภอก็เข้าไปดู แต่ก็เกิดขึ้นอีก การจราจรติดขัดเป็นกิโลเมตร ไม่มีใครสนใจ ยกตัวอย่างถนนเส้น ๒๒๔๓ เชื่อมต่อถนนสาย ๒๔๒๒ (มิตรภาพเดิม) เป็นตรอกเล็กๆ การจราจรหนาแน่นมาก มันเชื่อมโยงกันเพราะเป็นงานของการรถไฟฯ รถไฟทางคู่ง่ายกว่าความเร็วสูง ทางคู่ยังพลาดได้ พ.ร.ฎ.๒/๑๖ ตีความว่า ให้ทำทางข้ามไม่ใช่ทำอุโมงค์ลอด แต่การรถไฟก็ทำอุโมงค์จนสำเร็จ ผมไม่ทราบว่า EIA ของรถไฟทางคู่กับรถไฟความเร็วสูงเป็นอันเดียวกันหรือไม่ ข้อความหนึ่งบอกว่า เขตชุมชนเมืองการทำทางลอดทางข้ามหรือสะพานก็แล้วแต่ ต้องทำ Interchange ระบุมาชัดเจน และอำเภอปากช่องอยู่ในส่วนของชุมชนเมือง แล้วทำไมไม่ทำ Interchange (ทางแยกต่างระดับ) ให้ประชาชน ทำไมถึงทำเพียงอุโมงค์รูเล็กๆ เข้าไป ขอให้การรถไฟออกแบบร่วมกับกรมทางหลวงเพื่อทำ Interchange ผมไม่ตำหนิบริษัทที่ปรึกษา แต่ตำหนิการรถไฟ เพราะการรถไฟฯ เป็นผู้ว่าจ้าง แต่บริษัทที่ปรึกษาเงียบมากทั้งที่เป็นแม่งาน”

ทั้งนี้ สัญญาการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน เป็นการลงนามระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทคู่สัญญา ประกอบด้วย บจก.เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์, บจก.เอ็ม เอ เอ คอนซัลแต้นส์, บจก.วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์, บจก.เอ็มเอชพีเอ็ม, บจก.ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์, บจก.ดับเบิลยูเอสพี (ประเทศไทย), บจก.พีเอสเค คอนซัลแต้นส์ และบจก.ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2021 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
รฟท.ลุยไฮสปีดโคราช-หนองคาย
กรุงเทพธุรกิจ 25 ธันวาคม 2563


รฟท. ศึกษารถไฟความเร็วสูง ช่วงโคราช-หนองคาย เชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ส่งเสริมเศรษฐกิจสู่ภาคอีสาน
กรมประชาสัมพันธ์
25 ธันวาคม 2563



ลุยต่อ‘รถไฟความเร็วสูง’ ‘โคราช-นค.’๒.๕ แสนล้าน ทนรอปี ๒๕๗๒ เปิดใช้แน่
26 ธันวาคม 2563


เดินหน้าไฮสปีด ไทย-จีน ช่วง 2 ชงครม.อนุมัติ-เวนคืนที่ปี 64
ออนไลน์เมื่อ อังคารที่ 5 มกราคม 2564 เวลา 03.00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 17
ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,641
วันที่ 3 - 6 มกราคม พ.ศ. 2564

รฟท. ร่วมบริษัทที่ปรึกษาโครงการเปิดเวทีรับฟังความเห็น เดินหน้าสรุปผลศึกษารถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 2 โคราช-หนองคาย 2.5 แสนล้าน เชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน พร้อมเสนอครม.อนุมัติ-ออกพ.ร.ฎ.เวนคืนภายใน 2564 ให้ทันเปิดเดินรถ 2572

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงท้ายปี 2563 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษา เดินสายเปิดประชุมรับฟังความเห็นประชาชนต่อโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เส้นทางกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 ตามแนวสายทาง วันที่ 22-25 ธันวาคม ที่นครราชสีมา  ขอนแก่น อุดรธานี  และหนองคาย

เป็นการประชุมครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอ ผลการศึกษาของโครงการ ผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากที่ได้รับฟังข้อเสนอในการประชุมครั้งแรก พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม<

รายละเอียดโครงการช่วงนี้ ระยะทางรวม 356 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟระดับพื้น 185 กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟยกระดับระยะทาง 171 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนประมาณ 250,000 ล้านบาท มีสถานีรถไฟทั้งสิ้น 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย

มีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จ.พระนคร ศรีอยุธยา และที่นาทา จ.หนองคาย พร้อมด้วยหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จ.นครราชสีมา สถานีหนองเม็ก จ.ขอนแก่น สถานีโนนสะอาด จ.อุดรธานี และสถานีนาทา จ.หนองคาย มีจุดย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา จ.หนองคาย

ใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่งผลให้การเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงหนองคายใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที

ด้านผลการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาเฉพาะช่วงนครราชสีมา-หนองคาย พบว่ามีความเหมาะสมคุ้มค่าโดยคิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 11.24% ส่วนผลวิเคราะห์ ความเหมาะสมการพัฒนาทั้ง 2 ระยะ (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) คิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.10 %)

ขั้นตอนหลังศึกษาโครงการแล้วเสร็จ รฟท.จะเริ่มดำเนินการขออนุมัติดำเนินโครงการ และออกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในปี 2564 จากนั้นจะดำเนินการประกวดราคา สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ในปี 2565 โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 48 เดือน จากนั้นจึงเป็นงานติดตั้งระบบ โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2566 ใช้ระยะเวลาการดำเนินการ 66 เดือน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2572
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2021 2:08 pm    Post subject: Reply with quote

ชง 3 แนวทางเลี่ยงรถไฟความเร็วสูงกระทบมรดกโลกอยุธยา
สยามรัฐออนไลน์ 6 มกราคม 2564 07:15 น.

กรมศิลป์-ผู้เชี่ยวชาญเสนอ 3 แนวทางให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก พิจารณาลดผลกระทบสร้างรถไฟความเร็วสูงผ่านมรดกโลกอยุธยา

กรณีการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร – เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ซึ่งมีแนวเส้นทางการดำเนินงานผ่านพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีสถานีพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับแหล่งมรดกโลก ส่งผลให้หลายฝ่ายมีความห่วงกังวลว่าการดำเนินการตามโครงการจะส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกนั้น
ล่าสุด นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวว่า ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อพัฒนารูปแบบสถานีอยุธยาให้มีความเหมาะสม และเตรียมการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดก (HIA) เสนอต่อศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโก ส่วนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟให้พิจารณาตามความจำเป็นในด้านการคมนาคมขนส่ง โดยไม่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีความเห็นว่าสมควรขยับพื้นที่การก่อสร้างออกไปจากบริเวณเดิม รวมทั้งมีมติเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการรถไฟความเร็วสูง ดำเนินการศึกษาการก่อสร้างสถานีพระนครศรีอยุธยาในพื้นที่ใหม่ เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยให้ประสานงานกับกรมศิลปากรในการขอคำปรึกษาและแนะนำ อย่างไรก็ตามขณะนี้กรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สผ. และยูเนสโก กรุงเทพ กำลังเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดเงื่อนไขและแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแล้ว

“ในเบื้องต้นมีข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณา 3 แนวทาง ได้แก่ 1.ย้ายสถานีไปที่บ้านม้า ซึ่งอยู่เลยจากสถานีอยุธยาออกไป ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะเป็นสถานีขนาดเล็ก แต่สามารถสร้างให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมทางการคมนาคมได้ในอนาคต เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองได้ 2. ใช้เส้นทางแนวเดิม แต่ขุดเจาะเป็นอุโมงค์ลอดผ่านสถานีอยุธยาในปัจจุบัน ลักษณะเช่นเดียวกับการสร้างอุโมงค์ลอดผ่านพื้นที่เมืองลพบุรีเพื่อลดผลกระทบทางภูมิทัศน์ แต่วิธีนี้ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการดำเนินการ และ 3. เบนแนวเส้นทางออกไปขนานกับทางสายเอเซีย ให้พ้นจากพื้นที่รอบเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งวิธีนี้จะปลอดภัยกับแหล่งมรดกโลกมากที่สุด เพราะแนวรางรถไฟอยู่ห่างออกไปไกล แต่ทางการรถไฟต้องเวนคืนที่ดินจากประชาชนในการปรับเส้นทางดังกล่าว และขอใช้พื้นที่ในแนวเขตทางหลวง ทั้งนี้ จะมีการเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก พิจารณาเร็วๆ นี้” นายประทีป อธิบดีกรมศิลป์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2021 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชง 3 แนวทางเลี่ยงรถไฟความเร็วสูงกระทบมรดกโลกอยุธยา
สยามรัฐออนไลน์ 6 มกราคม 2564 07:15 น.



ขยับพื้นที่สถานี ไฮสปีด‘อยุธยา’ ลดผลกระทบ

06 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:01 น.


ขยับพื้นที่สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง ลดผลกระทบมรดกโลก 'อยุธยา' กรมศิลป์ สผ.และยูเนสโก กรุงเทพฯ ตั้ง คณะ กก.กำหนดแนวทางทำงาน เตรียมจัดทำรายงาน HIA
เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากกรณีการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ซึ่งมีแนวเส้นทางการดำเนินงานผ่านพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีสถานีพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับแหล่งมรดกโลก ส่งผลให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่าการดำเนินการตามโครงการจะส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกนั้น ความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงคมนาคม (คค.) เพื่อพัฒนารูปแบบสถานีอยุธยาให้มีความเหมาะสม และเตรียมการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก (HIA) เสนอต่อศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโก ส่วนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟให้พิจารณาตามความจำเป็นในด้านการคมนาคมขนส่ง โดยไม่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์
นายประทีปกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีความเห็นว่าสมควรขยับพื้นที่การก่อสร้างออกไปจากบริเวณเดิม รวมทั้งมีมติเห็นชอบให้ คค. โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการรถไฟความเร็วสูง ดำเนินการศึกษาการก่อสร้างสถานีพระนครศรีอยุธยาในพื้นที่ใหม่ เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยให้ประสานงานกับกรมศิลปากรในการขอคำปรึกษาและแนะนำ ขณะนี้กรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สผ. และยูเนสโก กรุงเทพฯ เตรียมจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดเงื่อนไขและแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแล้ว
“ในเบื้องต้นมีข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องที่สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณา 3 แนวทาง ได้แก่

1.ย้ายสถานีไปที่บ้านม้า ซึ่งอยู่เลยจากสถานีอยุธยาออกไป ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะเป็นสถานีขนาดเล็ก แต่สามารถสร้างให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมทางการคมนาคมได้ในอนาคต เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองได้
2.ใช้เส้นทางแนวเดิม แต่ขุดเจาะเป็นอุโมงค์ลอดผ่านสถานีอยุธยาในปัจจุบัน ลักษณะเช่นเดียวกับการสร้างอุโมงค์ลอดผ่านพื้นที่เมืองลพบุรี เพื่อลดผลกระทบทางภูมิทัศน์ แต่วิธีนี้ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการดำเนินการ และ
3.เบนแนวเส้นทางออกไปขนานกับทางสายเอเชีย ให้พ้นจากพื้นที่รอบเกาะเมืองอยุธยา วิธีนี้จะปลอดภัยกับแหล่งมรดกโลกมากที่สุด เพราะแนวรางรถไฟอยู่ห่างออกไปไกล แต่ทางการรถไฟฯ ต้องเวนคืนที่ดินจากประชาชนในการปรับเส้นทางดังกล่าว และขอใช้พื้นที่ในแนวเขตทางหลวง

ทั้งนี้ จะมีการเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกพิจารณาเร็วๆ นี้” นายประทีปกล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2021 2:32 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องคอนโดใหม่ หลัง รฟท.จ่อเยียวยาประชาชน เหตุโดนกระทบหนัก “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน”
11 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:00 น.

รฟท. ปั้นคอนโด ย่านกำแพงเพชร 6 รวม 360 ห้อง หวังเยียวประชาชนที่ได้รับผลกระทบเวนคืนไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เร่งถกบอร์ดอีอีซี-การเคหะฯ หาข้อสรุปภายในเดือน มี.ค.นี้ จ่อชงครม. ไฟเขียว ส.ค. 64"

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา (ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน) ปัจจุบัน รฟท. และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้หารือร่วมกับการเคหะแห่งชาติ เพื่อร่วมกับบรรเทาผลกระทบให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อน เบื้องต้น รฟท.และคณะกรรรมการอีอีซี มีแนวคิดที่จะมอบหมายให้การเคหะฯเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการอาคารเช่าเพื่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ รฟท. จะให้ การเคหะฯ เช่าพื้นที่ราคาถูก บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมานคร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากถนนวิภาวดี 3.8 กิโลเมตร จำนวน 5ไร่ 3 งาน 91 เพื่อพัฒนาเป็นอาคารที่พักอาศัยให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้เช่าในราคาถูก เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

เบื้องต้นมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินโครงการฯราว 300 ครอบครัว โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางรถไฟ ขณะเดียวกันรฟท.ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่บางส่วนเพื่อดำเนินการโครงการฯ แล้วในช่วงเดือนธ.ค. 63 ที่ผ่านมา หลังจากนั้นจะเริ่มจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ภายในเดือนพ.ค.-มิ.ย.64 และจะเสนอโครงการฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในเดือน ส.ค.64 คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในเดือน ต.ค.-ธ.ค. 64 และเริ่มก่อสร้างเดือนภายใน เม.ย.65-ก.ย.66 และสามารถเปิดให้ประชาชนเข้าพักอาศัยได้ในช่วงเดือนต.ค. ปี 66

รายงานข่าว กล่าวอีกว่า ส่วนวงเงินลงทุนของโครงการฯ การเคหะฯ อยู่ระหว่างการออกแบบก่อสร้าง เพื่อจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินลงทุน โดยการเคหะฯจะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และทำหน้าที่ในการบริหารพื้นที่ให้เช่าแก่ประชาชนที่สนใจ โดย คณะกรรมการอีอีซี รฟท. และการเคหะฯจะต้องเร่งหารือเพื่อสรุปรายละเอียดโครงการทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.64 ที่จะต้องลงพื้นที่เพื่อสำรวจรายละเอียดพื้นที่ให้ครบทั้งหมดอีกครั้ง เพื่อเร่งแก้ปัญหาการลุกล้ำพื้นที่ที่จะใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ที่ รฟท. จะต้องส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนที่เจ้าของโครงการให้ทันช่วงต้นปี 65 สำหรับการก่อสร้างโครงการฯ จะก่อสร้างเป็นอาคารพักอาศัยสูง 8 ชั้น จำนวน 2 อาคาร รวมจำนวนทั้งสิ้น 360 ห้อง แบ่งออกเป็น อาคารเอ จำนวน 177 ห้อง และอาคารบี 183 ห้อง พื้นที่ห้องมีขนาด 33 ตารางเมตร ประกอบด้วย 1ห้องอเนกประสงค์ 1ห้องนอน 1 ห้องน้ำ 1ห้องครัว และระเบียง ข่าวที่เกี่ยวข้องซีพี ย้ายสถานีไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน พัทยาวุ่นรื้อแผนโมโนเรลทำไม “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ส่อดีเลย์


Last edited by Wisarut on 12/01/2021 9:04 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2021 4:32 pm    Post subject: Reply with quote

เมืองพลท็อปฟอร์มเสมอมาในด้านการประท้วง
ชาวเมืองพลประท้วงกรณีไม่มีสถานีเมืองพลในโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสานช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
https://www.facebook.com/groups/164027930945387/permalink/670475653633943/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2021 2:49 am    Post subject: Reply with quote

มาแล้วจ้า!! ประมูล”รถไฟไฮสปีด”เฟส 2 ปลายปีนี้
*”โคราช-หนองคาย” 2.5 แสนล้าน 356 กม.
*วิ่งฉิว 250 กม./ชม.จากกทม. แค่ 3 ชม.นิดๆ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2813437955544371
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 396, 397, 398 ... 545, 546, 547  Next
Page 397 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©