Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180192
ทั้งหมด:13491426
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 229, 230, 231 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2021 4:00 pm    Post subject: Reply with quote

จัดคิวประมูล 1 ล้านล้านปั๊มเศรษฐกิจ สภาพัฒน์เบรกทางคู่เฟส 2-โยกงบเยียวยาโควิด
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 7 มกราคม 2564 - 08:00 น.

กดปุ่มประมูลรถไฟฟ้า
นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า ในปีนี้จะเห็นการเปิดประมูลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง 4 เส้นทาง รวม 67,575.37 ล้านบาท (ดูตาราง) อยู่ระหว่างศึกษา PPP ที่ให้ ร.ฟ.ท.ศึกษารวมกับการเดินทางและรูปแบบการบริหารสถานีให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP และจะผลักดันสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. วงเงิน 3,379 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และปลายปีนี้ประมูลโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง 41.7 กม. วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท จะปรับแบบจากรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) เป็นแบบรถเมล์ไฟฟ้า BRT

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ปีนี้จะเร่งประมูล PPP สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงิน 128,128 ล้านบาท ให้ได้เอกชนผู้ลงทุน และจะเริ่มสำรวจเวนคืนสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม และสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เพื่อเตรียมเปิดประมูล วงเงิน 77,358 ล้านบาท แบ่ง 6 สัญญา ตั้งเป้าเริ่มก่อสร้างปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2021 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

โควิด/2รถไฟฟ้า ส้ม-ชมพู-เหลือง เอาอยู่
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
วันที่ : 8 มกราคม 2564
รฟม.ลุยสู้ปรับแผนเร่งงานสร้าง 3 สายยังเปิดบริการไทม์ไลน์เดิม

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า ขณะนี้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ทั้ง 3 สาย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 23 กม. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว- สำโรง ระยะทาง 30 กม. และโครงการสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. ยังเดินหน้าก่อสร้างตามแผน แต่ยอมรับว่าเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้งานก่อสร้างได้รับผลกระทบบ้าง แต่ยังไม่ถึงกับทำให้การก่อสร้างต้องหยุดชะงักหรือชะลอออกไป

รฟม. ได้กำชับให้ผู้รับเหมาทุกโครงการเข้มงวดการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ ในส่วนของคนงานก่อสร้างบริษัทจ้างเหมาช่วง (ซับคอนแทรค) ซึ่งมีแรงงานต่างด้าวด้วย ต้องระมัดระวังเรื่องการป้องกันและตรวจสอบให้ดีเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน นอกจากนี้เรื่องเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ส่งมาจากต่างประเทศ บางประเทศในยุโรปติดปัญหาโควิด-19 ได้ขอเลื่อนการส่งอุปกรณ์มายังไทย ก็สั่งการให้ผู้รับเหมาปรับแผนการทำงานทั้งหมด โดยพยายามให้งานก่อสร้างต้องแล้วเสร็จตามกรอบเวลาเดิมที่วางไว้

รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งอีกว่า ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง กำลังประสบปัญหาเรื่องบุคลากร เนื่องจากมีบางเรื่องต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาช่วยติดตั้งระบบรถไฟฟ้าที่ขณะนี้ขบวนรถจากประเทศจีนกำลังทยอยมาถึงเมืองไทย แต่ ยังไม่สามารถเดินทางมาได้ เวลานี้พยายามปรับแผนการทำงานอยู่ ซึ่งในส่วนใดที่ดำเนินการได้ก่อนก็ให้ทำในระหว่างนี้ไปก่อน โดยขบวนรถทั้งหมดที่รับมาในปีที่แล้ว 10 ขบวน 40 ตู้ ยังอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ทั้งหมด อยู่ระหว่างประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ และบางขบวนมีการทดลองเคลื่อนตัวอยู่ภายในศูนย์ซ่อมฯ

รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งด้วยว่า สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย จากข้อมูลล่าสุดเดือน ธ.ค.63 พบว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ภาพรวมมีความก้าวหน้างานโยธา 74.37% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จปี 65 จากนั้นจะติดตั้งระบบเดินรถ ก่อนเปิดให้บริการปี 67, สายสีเหลือง ภาพรวมมีความก้าวหน้า 70.26% โดยงานโยธา มีความก้าวหน้า 73.26% และงานระบบรถไฟฟ้า มีความก้าวหน้า 66.36% และสายสีชมพู ภาพรวมมีความก้าวหน้า 67.75% โดยงานโยธา มีความก้าวหน้า 70.32% และงานระบบรถไฟฟ้า มีความก้าวหน้า 64.34% ทั้งนี้สายสีเหลืองและชมพู คาดว่าจะทยอยเปิดบริการปลายปี 64 และเปิดครบตลอดทั้งเส้นเดือน ก.ค. 65
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2021 3:29 pm    Post subject: Reply with quote

ทะลวงเพิ่ม เส้นทางรถไฟฟ้า
วันที่ 10 มกราคม 2564 - 12:50 น.
รัฐบาลประยุทธทะลวงเพิ่ม เส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ เริ่มกระบวนการประมูล-ศึกษา ปี2564 ไม่ต่ำ3แสนล้านบาท

รัฐบาลเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางรางอย่างต่อเนื่องอีกไม่ต่ำกว่า3แสนล้านบาทหลังเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ และสายสีทองไปเมื่อปีที่ผ่านมาเริ่มจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) มีความพร้อมเปิดประมูล สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 101,100 ล้าน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 แม้จะติดปัญหาอุปสรรคเจรจาเวนคืนพื้นที่ในบางทำเล แต่ มองว่า มีความพร้อม ขณะสายสีส้ม ช่วง บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 1.2แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ร้อนแห่งปี2563 และมีแนวโน้ม ลากยาวมาถึงปีนี้ มองว่า ต้องรอศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด



เข็นม่วงใต้ประมูล

ด้านความคืบหน้า นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ระบุว่าสายสีม่วงใต้ หลังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นชอบออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563 แล้ว ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดและเตรียมจัดทำเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) จะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และได้ตัวผู้รับจ้างระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในธันวาคม 2564 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 6 ปี โดยก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2570





ล่าสุดคณะกรรมการรฟม.(บอร์ดรฟม.)พิจารณาปรับลดวงเงินลงทุนในส่วนค่างานโยธาของสายสีม่วงใต้ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปการขอใช้พื้นที่ของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ แต่รฟม.คาดว่าจะเปิดประมูลงานได้ทันตามแผนที่วางไว้

สำหรับรูปแบบการลงทุน จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) PPP Gross cost ระยะเวลา 30 ปี รูปแบบเดียวกับสายสีม่วง (เหนือ) ช่วงเตาปูน – คลองบางไผ่ วงเงิน 1 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น งานโยธาราว 77,385 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 15,913 ล้านบาท ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 32 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง 2,865 ล้านบาท

สายสีส้มรอศาล

ขณะความคืบหน้าสายสีส้ม ที่อยู่ระหว่างศาลปกครองสูงสุดนัดไต่สวน ระหว่างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี และคณะกรรมการมาตรา 36 กับพวกรวม 2 คน นั้น ล่าสุด รฟม.ยืนยันตามคำอุทธรณ์ว่าคำคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลางส่งผลกระทบต่อภาพรวมโครงการ ทำให้เกิดความล่าช้า เนื่องจากขณะนี้ รฟม. เปิดรับซองข้อเสนอเอกชนมาแล้วกว่า 1 เดือน แต่ยังไม่สามารถดำเนินการเปิดซองเพื่อพิจารณาข้อเสนอได้ ดังนั้นหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป การเปิดพิจารณาข้อเสนอก็จะล่าช้าออกไป เป็นเหตุกระทบต่อโครงการ กระทบต่อการเปิดให้บริการประชาชน และสร้างความเสียหาย

**สีน้ำเงินไปสาย4-สีน้ำตาลอีกนาน

อย่างไรก็ตาม รฟม.ยังมี โครงการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท ตามแผนเดิม จะเปิดประมูลในปี2564 แต่ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้รับสัมปทานต้องการดูตัวเลขผู้โดยสารที่มาใช้บริการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ที่เชื่อมกับสายสีน้ำเงินเดิมว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะพิจารณาอีกครั้ง มาที่สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงินลงทุน 4.8 หมื่นล้านบาท โดยใช้ตอม่อของรถไฟฟ้าร่วมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 และ N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ปัจจุบันคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบให้รฟม.จ้างที่ปรึกษาออกแบบฐานรากตอม่อสายสีน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว ขณะรฟม. มีความพร้อมออกแบบฐานรากตอม่อเพื่อก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวบริเวณตอน N2 (ช่วงแยกเกษตร-นวมินทร์ ) ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร (กม.) ช่วงที่มีการทับซ้อนทางด่วนขั้นที่ 3

ทั้งนี้การออกแบบฐานรากตอม่อร่วมกับกทพ.ในครั้งนี้ติดปัญหากรณีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ค้านการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N1 หากการเจรจาระหว่างกทพ.และมก.ไม่จบจะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงการฯล่าช้าออกไปอีก ซึ่งรฟม.ต้องการที่จะเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลควบคู่ไปกับทางด่วนขั้นที่ 3 เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการก่อสร้างโครงการฯ หากท้ายที่สุดแล้วเจรจาไม่สำเร็จรฟม.อาจจะต้องดำเนินการบางส่วนไปก่อน ถ้ากทพ.ได้ข้อสรุปแล้วก็สามารถดำเนินการร่วมกับรฟม.ได้ ส่วนจะกระทบต่อภาระต้นทุนโครงการฯ ของรฟม.หรือไม่ ยังสรุปไม่ได้ ซึ่งจะต้องรอผู้ที่เกี่ยวข้องสรุปข้อมูลด้วย ด้านการศึกษาทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เบื้องต้นอยู่ระหว่างดำเนินการต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

***ต่อขยายสีเหลืองหิน

สำหรับความคืบหน้าส่วนต่อขยายสายสีเหลืองช่วงรัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. วงเงิน 3,779 ล้านบาท ขณะนี้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ให้รฟม.ประสานข้อมูลเจรจาร่วมกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ยอมรับเงื่อนไขเพิ่มเติมในกรณีที่ทบทวนขอให้ใส่เงื่อนไขเพิ่มเติมในสัญญา เรื่องการชดเชยรายได้ หาก BEM สามารถพิสูจน์ได้ว่าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินที่มีจุดเชื่อมต่อกันที่สถานีลาดพร้าว ทางบีทีเอสปฏิเสธยังไม่รับเงื่อนไขในเรื่องนี้ แต่เราคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการฯ ในเฟส 2 ได้เนื่องจากยังพอมีระยะเวลาดำเนินการ หากก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเส้นหลักแล้วเสร็จ

ด้านมุมสะท้อนนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บีทีเอสซี ย้ำความคืบหน้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ปัจจุบัน รฟม.ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างสายสีชมพูล่าช้า เนื่องจากมีการปรับตำแหน่งก่อสร้างสถานีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี และสถานีนพรัตนราชธานี ทำให้บีทีเอสต้องแก้ไขรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)ใหม่โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการปรับตำแหน่งสถานีดังกล่าว ขณะนี้รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้รับความเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะทยอยเปิดเดินรถไฟฟ้าเป็นช่วงๆ ตั้งแต่ต้นปี 2565

ส่วนสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ที่ผ่านมาติดปัญหาส่งมอบพื้นที่ล่าช้า 2 จุด ประกอบด้วย 1.จุดตัดสะพานข้ามแยกบางกะปิ ถนนลาดพร้าว ซึ่งจุดดังกล่าวไม่มีสถานีมีแต่ทางวิ่งรถไฟฟ้าสามารถเร่งรัดการก่อสร้างให้เสร็จตามแผนได้ 2.บริเวณสถานีรัชดา-ลาดพร้าว เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เจ้าของพื้นที่ได้ให้เอกชนเช่าใช้ประโยชน์ต้องใช้เวลาในการเคลียร์พื้นที่ขณะนี้ได้ข้อยุติแล้ว ส่งผลทำให้การก่อสร้างสถานีดังกล่าวล่าช้า




***กทม.ลุยทองเฟส2-สีเทา

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า หลังเปิดเดินรถสายสีเขียวเหนือเติมเต็มทั้งระบบ ส่งผลให้ บีทีเอสสามารถรองรับผู้โดยสารมากกว่า 1,500,000 เที่ยวคนต่อวันด้วยระยะทางยาว68.25กิโลเมตร59สถานี ส่วนแผน สร้างส่วนต่อขยาย จากสถานีคูคตออกไปถึงลำลูกกาอีก4สถานี ต้องรอดูปริมาณผู้โดยสารอีกครั้ง รถไฟฟ้าอีกเส้นทางที่เปิดเดินรถไปแล้วสายสีทองระยะทาง 1.8 กม. มีจุดเชื่อมต่อกับการเดินทางรูปแบบต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมที่สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ที่สถานีประชาธิปก และสายสีแดง (หัวลำโพง-มหาชัย) ที่สถานีคลองสาน และยังเชื่อมต่อทางน้ำ สำหรับประชาชนที่ใช้บริการเรือด่วนและเรือข้ามฟาก



ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน จะให้บริการฟรี 1 เดือน ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2563-15 มกราคม 2564 จะเริ่มเก็บค่าโดยสารคงที่ 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2564 เป็นต้นไป และคาดว่ากลางปี2564 กทม.มีแผนก่อสร้าง สายสีทองเฟส2 อีก900เมตร1สถานีที่ประชาธิปก วงเงิน1,300 ล้านบาท


ขณะสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ กทม.เตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุน (PPP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะที่ 1 ระยะทาง 19 กม. เพื่อนำผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯในรูปแบบการลงทุนพีพีพี โดยใช้งบว่าจ้างที่ปรึกษา จำนวน 29 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน นับจากลงนามสัญญาจ้าง โดยปัจจุบันจัดทำร่างเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์)แล้ว คาดว่าจะเริ่มประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกที่ปรึกษาได้ ภายในเดือนมกราคม 2564 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา แบ่งออกเป็น 3 เฟส ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะที่ 2 จากพระโขนง-ลุมพินี และระยะที่ 3 ช่วงลุมพินี-ท่าพระ



รฟท.ยืดสายสีแดง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 13 สถานี รวมสถานีกลางบางซื่อ ขณะนี้เหลืองานระบบและจัดเตรียมอบรมบุคลากรในการบริหารและซ่อมบำรุงมีความก้าวหน้า 89.10% คาดว่าจะทดสอบเดินรถเสมือนจริงเดือน มีนาคม 2564 จากนั้นเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการเดือนกรกฎาคม 2564 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือนพฤศจิกายน 2564 คาดว่ามีผู้ใช้บริการ 86,000 เที่ยวคนต่อวัน เบื้องต้นให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกเป็นผู้เดินรถ ส่วนการบริหารสถานีกลางบางซื่อ ในระยะแรกทาง ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้บริหารไปก่อน



สำหรับส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาแผนพัฒนา ให้ครอบคลุมเชื่อมต่อการเดินทางจากจังหวัดปริมณฑลด้านทิศเหนือ เข้ามายังกทม. บริเวณพื้นที่ ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี และอยุธยา โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) มีแผนที่จะพัฒนาต่อขยายอีก 2 โครงการ ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 42,610 ล้านบาทแยกเป็นสายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.48 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6,570 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562








ประเมินว่าจะสามารถจัดหาเอกชนเพื่อร่วมลงทุนได้ในเดือนธันวาคม 2565 เริ่มก่อสร้างใช้เวลา 3 ปี สามารถเปิดให้บริการ ในเดือนธันวาคม ปี 2568 คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารราว 28,150 คน/วัน และในอนาคตจะมีการสร้างต่อขยายจาก สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ไปยังสถานีบ้านภาชี จ.อยุธยาด้วย โดยมีสถานีจำนวน 4 แห่ง คือ สถานีคลอง 1 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชียงราก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต”

ส่วนรถไฟทางไกลสายใหม่เชื่อมต่อรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ซึ่งจะดำเนินการ จำนวน 2 เส้นทาง ช่วง คือ 1.ช่วง อยุธยา-บ้านภาชี ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 13,069 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับเปลี่ยนแปลง โดยมีจำนวน 4 สถานี คือ บ้านม้า มาบพระจันทร์ พระแก้ว และบ้านภาชี คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ช่วงเดือนตุลาคม 2577 2. ช่วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต-อยุธยา ระยะทาง 31.2 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 22,971 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายงานรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับเปลี่ยนแปลง โดยจะมี 4 สถานี เรียกว่าอนาคตกทม.กำลังกลายเป็นเมืองแห่งการเดินทางด้วยระบบราง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2021 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

รู้ไว้สุขใจจริงหนอ ตอน โครงการรถไฟโดยสารต่างจังหวัด โดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา
NBT2HD
10 ม.ค. 64
https://www.facebook.com/watch/live/?v=705633080323044
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโพยค่าโดยสาร “รถไฟฟ้า” นั่งระยะสั้นจ่ายหนัก-เสียหลายต่อ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 28 มกราคม 2564 - 08:02 น.

ต้องยอมรับว่า “รถไฟฟ้า” เป็นขนส่งสาธารณะที่ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น แม้ต้องแลกกับ “ค่าโดยสาร” ที่ถูกวิพากษ์ว่า “อาจจะเแพงเกินไป” สำหรับประเทศไทย

เมื่อพลิกดูค่าโดยสารแต่ละสายแล้ว ตั้งราคาไม่ทิ้งห่างกัน สายไหนรัฐรับภาระค่าก่อสร้างก็จะถูกกว่าสายที่เอกชนลงทุน 100%

BTS นั่งสั้นไม่คุ้ม
“ค่าโดยสารใหม่” ของสายสีเขียว สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่จะเริ่มเก็บ 16 ก.พ. 2564 ราคา 15-104 บาทนั้น กำลังถูกวิจารณ์หนัก คือเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว จากนั้นเก็บเพิ่มสถานีละ 3 บาท หลังเปิดนั่งฟรีส่วนต่อขยาย “แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต” ตั้งแต่ปลายปี 2561

กทม.ประเมินว่า หากเดินทางจากส่วนหลักไปยังส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต จะมีค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 74 บาท และไปยังสายสีลม จบที่สถานีบางหว้า 86 บาท หากเดินทางจากส่วนหลักไปส่วนต่อขยายแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสารสูงสุดที่ 74 บาท และไปสถานีบางหว้าอยู่ที่ 86 บาท และถ้าเดินทางทั้งระบบ ค่าโดยสารสูงสุดคือ 104 บาท



ค่าโดยสารทั้งหมดอยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ตีคู่มากับสัญญาสัมปทานที่จะต่อให้ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) อีก 30 ปี ตั้งแต่ 2572-2602 ซึ่งมีประเด็นค่าโดยสารต้องพิจารณาด้วย รวมระยะทาง 68.25 กม. 59 สถานี เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว เริ่มที่ 15 บาท สูงสุดไม่เกิน 65 บาท นับตั้งแต่สถานีที่ 19 และปรับค่าโดยสารทุก 2 ปี ตามดัชนีผู้บริโภค (CPI)

จากราคาดังกล่าว ถ้าโดยสารระยะไกลจะคุ้มค่ากว่าระยะสั้น ๆ ไม่กี่สถานี เนื่องจาก “สายสีเขียว” เป็นเส้นทางเชื่อมใจกลางเมือง ส่วนใหญ่คนใช้บริการ 8-12 สถานี

รฟม.จัดโปรฯตั๋วม่วง-น้ำเงิน
“สายสีน้ำเงิน” หัวลำโพง-หลักสอง และบางซื่อ-ท่าพระ มี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) รับสัมปทาน วิ่งเป็นวงกลม เชื่อมสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จ้าง BEM เดินรถ และเมื่อ 1 ม.ค. 2564 ได้ปรับค่าโดยสารขึ้น 1 บาท เป็น 17-42 บาท สัญญาให้ปรับขึ้นทุก 2 ปี ตาม CPI สายสีน้ำเงินคนใช้บริการเฉลี่ย 35 บาทต่อเที่ยว

ล่าสุด รฟม.จัดโปรโมชั่นบัตรโดยสารตั๋วเที่ยว 30 วัน ของสายสีน้ำเงิน สีม่วง และบัตร Multiline Pass สำหรับเดินทางข้ามระบบ สายสีม่วงเริ่ม 1 ก.พ.นี้ สายสีน้ำเงินและบัตร Multiline Pass จะเริ่ม 1 มี.ค.นี้ โดย รฟม.รับภาระค่าแรกเข้า 14 บาท แทนประชาชน หากเดินทางโดยไม่ใช้บัตรโดยสารนั่งสีม่วงต่อสีน้ำเงินเสียสูงสุด 70 บาท หากใช้บัตร Multiline Pass จ่าย 45-54 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนเที่ยวที่ซื้อ

สำหรับตั๋วเที่ยวที่ รฟม.จะเริ่มใช้นั้น สายสีน้ำเงิน เช่น มี 15 เที่ยว ราคา 450 บาท เฉลี่ย 30 บาทต่อเที่ยว,สายสีม่วง 15 เที่ยว ราคา 450 บาท เฉลี่ย 30 บาทต่อเที่ยว, และบัตร Multiline Pass เช่น 15 เที่ยว ราคา 810 บาท อยู่ที่ 54 บาท

แอร์พอร์ตลิงก์คนนั่งไม่เกิน 5 สถานี
“แอร์พอร์ตลิงก์” จากพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ มีบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริหาร กำลังนับถอยหลังโอนให้ “กลุ่ม ซี.พี.” ที่จะเข้าบริหาร ต.ค.นี้ เปิดมา 10 ปี ยังไม่ปรับค่าโดยสาร ยังเก็บ 15-45 บาท โดยมี 8 สถานี ส่วนใหญ่จะใช้บริการหนาแน่นช่วงเช้า-เย็น เพราะเชื่อมกับสายสีน้ำเงินที่เพชรบุรี และบีทีเอสพญาไทได้ และใช้บริการไม่เกิน 4-5 สถานี ทั้งนี้ ในสัญญาสัมปทานทางกลุ่ม ซี.พี.สามารถปรับค่าโดยสารได้ มีเพดานราคาจากพญาไท-สุวรรณภูมิ ไม่เกิน 45 บาทต่อเที่ยว แต่ถ้าเปิดส่วนต่อขยายเพิ่มเติมไปยังบางซื่อและดอนเมือง จะเก็บได้ไม่เกิน 97 บาทต่อเที่ยว


ขณะที่ “สายสีทอง” ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน มีระยะทาง 1.88 กม. ที่กลุ่มไอคอนสยามลงทุนก่อสร้างให้ กทม. เปิดใช้เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา มี 3 สถานี เก็บ 15 บาทตลอดสาย แต่เมื่อเข้าระบบบีทีเอสที่กรุงธนบุรี จะต้องเสียค่าแรกเข้าอีก 16 บาท

สายสีแดงคิดเป็นกิโลเมตร
ส่วนรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิดปีนี้ คือ “สายสีแดง” ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต 41 กม. 13 สถานี จะทดลองใช้ ก.ค. และเปิดทั่วไปแบบเก็บค่าโดยสาร พ.ย.นี้ ซึ่งรอ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” อนุมัติราคา 14-42 บาท ลดจากเดิมที่จะเก็บ 15-50 บาท

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า สายสีแดงเป็นระบบรถไฟชานเมือง (commuter train) จะคิดค่าโดยสารต่างจากบีทีเอส MRT และสายสีม่วง โดยคิดเพิ่มตาม กม. เพราะระยะห่างแต่ละสถานีไม่เท่ากัน ใน 15 กม.แรกเก็บเริ่มต้น 14 บาท คิดเพิ่ม 2 บาทต่อ กม. ซึ่งจะเก็บไม่เกิน 42 บาท

“นั่งบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. มี 3 สถานี เก็บ 14-42 บาท หรือนั่งบางซื่อ-บางซ่อน 1 สถานี 2.5 กม. จะอยู่ที่ 19 บาท หากนั่งไปถึงรังสิตจะเก็บ 42 บาท” แหล่งข่าวกล่าว


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง จะเปิดเต็มรูปแบบปี 2565 ค่าโดยสาร 14-42 บาท หากใช้ในระบบของ รฟม.จะเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวคือ 14 บาท ส่วนสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี จะเปิดช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ปี 2567 เก็บ 15-45 บาท ลดลงจากผลศึกษาที่กำหนด 17-62 บาท

“หากเทียบค่าโดยสารสีชมพู สีเหลือง และสีส้ม จะเฉลี่ยที่ 3-4 บาท/สถานี ขณะที่สีชมพู-เหลืองจะเฉลี่ยที่ 2-3 บาท/สถานี เป็นราคาอ้างอิงตามผลศึกษาร่วมลงทุนและมาตรฐานคำนวณของ รฟม. ซึ่งสายสีส้มตั้งอยู่ฐานราคาสูงสุด 62 บาท แต่หากใช้อัตราราคา 15-45 บาท ค่าโดยสารเฉลี่ย 2.5 บาท/สถานี”

TDRI สะท้อนรถไฟฟ้าแพงจริง
ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สายสีเขียวตั้งค่าโดยสารแพง เนื่องจากแรกเริ่มโครงการ รัฐไม่ได้คิดถึงปัจจัยด้านผลประโยชน์ของประชาชนและเศรษฐกิจ แต่เน้นที่ต้นทุนการลงทุนเป็นหลัก เมื่อสายสีเขียวสร้างเสร็จปี 2542 เป็นสายแรกของประเทศ จึงกลายเป็นรถไฟฟ้าที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดทันที ทำให้ BTSC ขาดทุน 10 ปีแรก และคืนทุนใน 10 ปีต่อมา จนพลิกกลับทำกำไรสูงสุดในช่วง 10 ปีที่ 3 ของสัญญาสัมปทาน

อีกทั้งการลงทุนรถไฟฟ้าในไทย ไม่เคยพิจารณาถึงการเชื่อมต่อกับสายอื่น ๆ ในลักษณะโครงข่ายร่วมกัน คิดแต่เฉพาะโครงการที่อยู่ตรงหน้า ใน 3-5 ปีนี้จะมีรถไฟฟ้าสายใหม่เปิดให้บริการอีก 3-4 โครงการ ค่าโดยสารอาจสูงถึง 200-300 บาท

อีก 3 ปี คนใช้รถไฟฟ้า 3 ต่อ
ปัจจุบันประชาชนนิยมเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เพราะทำเวลาได้ดี เฉลี่ยไปทำงานหรือเรียนหนังสือ 8-12 สถานี/วัน อนาคตจะมีอีกหลายสายเปิด พฤติกรรมคนจะใช้มากขึ้น โดยเฉพาะในเขต กทม.และปริมณฑลอย่างน้อย 3 ต่อ เพราะเมืองขยายตามรถไฟฟ้า รัฐต้องเร่งวางแผนแก้ปัญหาโครงสร้างราคารถไฟฟ้าร่วม และตั้งหน่วยงานควบคุมโดยเฉพาะ มิเช่นนั้น “ค่าครองชีพ” จากการเดินทางจะเป็นภาระหนักของคนไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 3:24 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโพยค่าโดยสาร “รถไฟฟ้า” นั่งระยะสั้นจ่ายหนัก-เสียหลายต่อ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 28 มกราคม 2564 - 08:02 น.

ต้องยอมรับว่า “รถไฟฟ้า” เป็นขนส่งสาธารณะที่ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น แม้ต้องแลกกับ “ค่าโดยสาร” ที่ถูกวิพากษ์ว่า “อาจจะเแพงเกินไป” สำหรับประเทศไทย

เมื่อพลิกดูค่าโดยสารแต่ละสายแล้ว ตั้งราคาไม่ทิ้งห่างกัน สายไหนรัฐรับภาระค่าก่อสร้างก็จะถูกกว่าสายที่เอกชนลงทุน 100%

BTS นั่งสั้นไม่คุ้ม
“ค่าโดยสารใหม่” ของสายสีเขียว สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่จะเริ่มเก็บ 16 ก.พ. 2564 ราคา 15-104 บาทนั้น กำลังถูกวิจารณ์หนัก คือเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว จากนั้นเก็บเพิ่มสถานีละ 3 บาท หลังเปิดนั่งฟรีส่วนต่อขยาย “แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต” ตั้งแต่ปลายปี 2561

กทม.ประเมินว่า หากเดินทางจากส่วนหลักไปยังส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต จะมีค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 74 บาท และไปยังสายสีลม จบที่สถานีบางหว้า 86 บาท หากเดินทางจากส่วนหลักไปส่วนต่อขยายแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสารสูงสุดที่ 74 บาท และไปสถานีบางหว้าอยู่ที่ 86 บาท และถ้าเดินทางทั้งระบบ ค่าโดยสารสูงสุดคือ 104 บาท



ค่าโดยสารทั้งหมดอยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ตีคู่มากับสัญญาสัมปทานที่จะต่อให้ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) อีก 30 ปี ตั้งแต่ 2572-2602 ซึ่งมีประเด็นค่าโดยสารต้องพิจารณาด้วย รวมระยะทาง 68.25 กม. 59 สถานี เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว เริ่มที่ 15 บาท สูงสุดไม่เกิน 65 บาท นับตั้งแต่สถานีที่ 19 และปรับค่าโดยสารทุก 2 ปี ตามดัชนีผู้บริโภค (CPI)

จากราคาดังกล่าว ถ้าโดยสารระยะไกลจะคุ้มค่ากว่าระยะสั้น ๆ ไม่กี่สถานี เนื่องจาก “สายสีเขียว” เป็นเส้นทางเชื่อมใจกลางเมือง ส่วนใหญ่คนใช้บริการ 8-12 สถานี

รฟม.จัดโปรฯตั๋วม่วง-น้ำเงิน
“สายสีน้ำเงิน” หัวลำโพง-หลักสอง และบางซื่อ-ท่าพระ มี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) รับสัมปทาน วิ่งเป็นวงกลม เชื่อมสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จ้าง BEM เดินรถ และเมื่อ 1 ม.ค. 2564 ได้ปรับค่าโดยสารขึ้น 1 บาท เป็น 17-42 บาท สัญญาให้ปรับขึ้นทุก 2 ปี ตาม CPI สายสีน้ำเงินคนใช้บริการเฉลี่ย 35 บาทต่อเที่ยว

ล่าสุด รฟม.จัดโปรโมชั่นบัตรโดยสารตั๋วเที่ยว 30 วัน ของสายสีน้ำเงิน สีม่วง และบัตร Multiline Pass สำหรับเดินทางข้ามระบบ สายสีม่วงเริ่ม 1 ก.พ.นี้ สายสีน้ำเงินและบัตร Multiline Pass จะเริ่ม 1 มี.ค.นี้ โดย รฟม.รับภาระค่าแรกเข้า 14 บาท แทนประชาชน หากเดินทางโดยไม่ใช้บัตรโดยสารนั่งสีม่วงต่อสีน้ำเงินเสียสูงสุด 70 บาท หากใช้บัตร Multiline Pass จ่าย 45-54 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนเที่ยวที่ซื้อ

สำหรับตั๋วเที่ยวที่ รฟม.จะเริ่มใช้นั้น สายสีน้ำเงิน เช่น มี 15 เที่ยว ราคา 450 บาท เฉลี่ย 30 บาทต่อเที่ยว,สายสีม่วง 15 เที่ยว ราคา 450 บาท เฉลี่ย 30 บาทต่อเที่ยว, และบัตร Multiline Pass เช่น 15 เที่ยว ราคา 810 บาท อยู่ที่ 54 บาท

แอร์พอร์ตลิงก์คนนั่งไม่เกิน 5 สถานี
“แอร์พอร์ตลิงก์” จากพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ มีบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริหาร กำลังนับถอยหลังโอนให้ “กลุ่ม ซี.พี.” ที่จะเข้าบริหาร ต.ค.นี้ เปิดมา 10 ปี ยังไม่ปรับค่าโดยสาร ยังเก็บ 15-45 บาท โดยมี 8 สถานี ส่วนใหญ่จะใช้บริการหนาแน่นช่วงเช้า-เย็น เพราะเชื่อมกับสายสีน้ำเงินที่เพชรบุรี และบีทีเอสพญาไทได้ และใช้บริการไม่เกิน 4-5 สถานี ทั้งนี้ ในสัญญาสัมปทานทางกลุ่ม ซี.พี.สามารถปรับค่าโดยสารได้ มีเพดานราคาจากพญาไท-สุวรรณภูมิ ไม่เกิน 45 บาทต่อเที่ยว แต่ถ้าเปิดส่วนต่อขยายเพิ่มเติมไปยังบางซื่อและดอนเมือง จะเก็บได้ไม่เกิน 97 บาทต่อเที่ยว


ขณะที่ “สายสีทอง” ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน มีระยะทาง 1.88 กม. ที่กลุ่มไอคอนสยามลงทุนก่อสร้างให้ กทม. เปิดใช้เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา มี 3 สถานี เก็บ 15 บาทตลอดสาย แต่เมื่อเข้าระบบบีทีเอสที่กรุงธนบุรี จะต้องเสียค่าแรกเข้าอีก 16 บาท

สายสีแดงคิดเป็นกิโลเมตร
ส่วนรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิดปีนี้ คือ “สายสีแดง” ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต 41 กม. 13 สถานี จะทดลองใช้ ก.ค. และเปิดทั่วไปแบบเก็บค่าโดยสาร พ.ย.นี้ ซึ่งรอ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” อนุมัติราคา 14-42 บาท ลดจากเดิมที่จะเก็บ 15-50 บาท

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า สายสีแดงเป็นระบบรถไฟชานเมือง (commuter train) จะคิดค่าโดยสารต่างจากบีทีเอส MRT และสายสีม่วง โดยคิดเพิ่มตาม กม. เพราะระยะห่างแต่ละสถานีไม่เท่ากัน ใน 15 กม.แรกเก็บเริ่มต้น 14 บาท คิดเพิ่ม 2 บาทต่อ กม. ซึ่งจะเก็บไม่เกิน 42 บาท

“นั่งบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. มี 3 สถานี เก็บ 14-42 บาท หรือนั่งบางซื่อ-บางซ่อน 1 สถานี 2.5 กม. จะอยู่ที่ 19 บาท หากนั่งไปถึงรังสิตจะเก็บ 42 บาท” แหล่งข่าวกล่าว


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง จะเปิดเต็มรูปแบบปี 2565 ค่าโดยสาร 14-42 บาท หากใช้ในระบบของ รฟม.จะเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวคือ 14 บาท ส่วนสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี จะเปิดช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ปี 2567 เก็บ 15-45 บาท ลดลงจากผลศึกษาที่กำหนด 17-62 บาท

“หากเทียบค่าโดยสารสีชมพู สีเหลือง และสีส้ม จะเฉลี่ยที่ 3-4 บาท/สถานี ขณะที่สีชมพู-เหลืองจะเฉลี่ยที่ 2-3 บาท/สถานี เป็นราคาอ้างอิงตามผลศึกษาร่วมลงทุนและมาตรฐานคำนวณของ รฟม. ซึ่งสายสีส้มตั้งอยู่ฐานราคาสูงสุด 62 บาท แต่หากใช้อัตราราคา 15-45 บาท ค่าโดยสารเฉลี่ย 2.5 บาท/สถานี”

TDRI สะท้อนรถไฟฟ้าแพงจริง
ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สายสีเขียวตั้งค่าโดยสารแพง เนื่องจากแรกเริ่มโครงการ รัฐไม่ได้คิดถึงปัจจัยด้านผลประโยชน์ของประชาชนและเศรษฐกิจ แต่เน้นที่ต้นทุนการลงทุนเป็นหลัก เมื่อสายสีเขียวสร้างเสร็จปี 2542 เป็นสายแรกของประเทศ จึงกลายเป็นรถไฟฟ้าที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดทันที ทำให้ BTSC ขาดทุน 10 ปีแรก และคืนทุนใน 10 ปีต่อมา จนพลิกกลับทำกำไรสูงสุดในช่วง 10 ปีที่ 3 ของสัญญาสัมปทาน

อีกทั้งการลงทุนรถไฟฟ้าในไทย ไม่เคยพิจารณาถึงการเชื่อมต่อกับสายอื่น ๆ ในลักษณะโครงข่ายร่วมกัน คิดแต่เฉพาะโครงการที่อยู่ตรงหน้า ใน 3-5 ปีนี้จะมีรถไฟฟ้าสายใหม่เปิดให้บริการอีก 3-4 โครงการ ค่าโดยสารอาจสูงถึง 200-300 บาท

อีก 3 ปี คนใช้รถไฟฟ้า 3 ต่อ
ปัจจุบันประชาชนนิยมเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เพราะทำเวลาได้ดี เฉลี่ยไปทำงานหรือเรียนหนังสือ 8-12 สถานี/วัน อนาคตจะมีอีกหลายสายเปิด พฤติกรรมคนจะใช้มากขึ้น โดยเฉพาะในเขต กทม.และปริมณฑลอย่างน้อย 3 ต่อ เพราะเมืองขยายตามรถไฟฟ้า รัฐต้องเร่งวางแผนแก้ปัญหาโครงสร้างราคารถไฟฟ้าร่วม และตั้งหน่วยงานควบคุมโดยเฉพาะ มิเช่นนั้น “ค่าครองชีพ” จากการเดินทางจะเป็นภาระหนักของคนไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 10:09 pm    Post subject: Reply with quote

'ศักดิ์สยาม'สั่งเร่งเข็นระบบตั๋วร่วมให้เกิดโดยเร็ว

29 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:49 น.

29 ม.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 1/2564 วันนี้ (28 ม.ค. 2564) ว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานระบบตั๋วร่วม โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย 1.ระยะสั้น ให้เร่งจัดทำระบบให้บัตรโดยสารที่ประชาชนมีอยู่ในปัจจุบัน สามารถใช้บัตรข้ามระบบได้ ซึ่งเมื่อสามารถใช้บัตรข้ามระบบระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชน และส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางข้ามระบบสูงขึ้น ทั้งนี้ ให้ รฟม. สนับสนุนข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำให้ระบบดังกล่าวแล้วเสร็จโดยเร็ว

เทรดฟอเร็กซ์ไปกับโบรกฯที่มีความน่าเชื่อถือระดับโลก
IC Markets
2.ระยะยาว มีการพิจรณาความชัดเจนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) โดยใช้บัตร EMV Contacless (Europay Mastercard and Visa) มาใช้กับระบบตั๋วร่วม โดย รฟม. มีความพร้อมที่จะร่วมมือกับสถาบันการเงินที่มีระบบ EMV ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารกรุงไทย ที่แจ้งว่ามีความพร้อมที่จะลงทุนในระบ EMV ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ประกอบการมาใช้บริการของธนาคารกรุงไทย สำหรับสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน โดยใน ต.ค. 2564 จะใช้ได้ประมาณ 50% และจะใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบภายใน ม.ค. 2565

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ที่ประชุม คนต. ยังมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติม 2 คณะ ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐนทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร โดยจะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีกทรออกตั๋วร่วม มาตรฐานเทคโนโลยีระบบงาน มาตรฐานโครงสร้างข้อมูล มาตรฐานความปลอดภัยทางเทคโนโลยี และมาตรฐานการดำเนินงานของระบบงาน และ 2.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและจัดสรรรายได้ โดยจะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐนการจัดเก็บค่าธรรมเนียม มาตรฐานการจัดสรรรายได้ มาตรฐานอัตราค่าโดยสารในกรณีใช้อัตราค่าโดยสารร่วม และกรอบมาตรฐานค่าธรรมเนียมการชำระเงิน และการเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการ

ขณะเดียวกัน ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมบูรณาการความร่วมมือและความต้องการของประชาชน เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนระบบตั๋วร่วมให้เกิดผลป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดและการพัฒนาระบบการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงข้อกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความถูกต้อง ตามหลักธรรมาภิบาล

นอกจากนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาถึงความซ้ำซ้อนของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับระบบตัวร่วมทั้งหมดที่กำลังพัฒนาอยู่ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยให้พิจารณาถึงการเปิดโกาสให้สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์เข้ามาร่วมพัฒนาระบบตั๋วร่วมได้ รวมถึงการพัฒนาระบบเก็บค่ผ่านทางอัตโนมัติในรูปแบบ M-Flow ตลอดจนดำเนินการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ ให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป ภายในเดือน ก.พ. 2564

แก้ตั๋วร่วมอืด! “ศักดิ์สยาม” ดึงกรุงไทยลงทุนแทน ขีดเส้น ต.ค. 64 ใช้บัตร EMV “น้ำเงิน-ม่วง”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 29 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:51 น.
ปรับปรุง: 29 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:51 น.

“ศักดิ์สยาม” ดึง “กรุงไทย” คนกลางลงทุนวางระบบกลาง “ระบบตั๋วร่วม” ใช้ผ่านบัตร EMV นำร่องรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-ม่วง ปักธง ต.ค. 64 ใช้ได้ 50% และเต็มรูปแบบ ม.ค. 65 ขณะที่โมเดลใช้บัตรรถไฟฟ้าปัจจุบันข้ามสาย “เขียว-น้ำเงิน-ม่วง” ไม่คืบหน้า เร่ง รฟม.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานระยะสั้น โดยเร่งจัดทำระบบให้บัตรโดยสารที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถใช้บัตรข้ามระบบได้ ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนและส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางข้ามระบบสูงขึ้น โดย รฟม.สนับสนุนข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำให้ระบบดังกล่าวแล้วเสร็จโดยเร็ว

ขณะที่แผนระยะยาว พิจารณาความชัดเจนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) โดยใช้บัตร EMV Contacless (Europay Mastercard and Visa) มาใช้กับระบบตั๋วร่วม ซึ่ง รฟม.มีความพร้อมที่จะร่วมมือกับสถาบันการเงินที่มีระบบ EMV

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีธนาคารกรุงไทยแจ้งว่ามีความพร้อมที่จะลงทุนในระบบ EMV ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ประกอบการมาใช้บริการของธนาคารกรุงไทย สำหรับสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน โดยตั้งเป้าหมายในเดือน ต.ค. 2564 จะใช้ได้ประมาณ 50% และจะใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบภายในเดือน ม.ค. 2565

นอกจากนี้ ยังได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติม 2 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีการออกตั๋วร่วม มาตรฐานเทคโนโลยีระบบงาน มาตรฐานโครงสร้างข้อมูล มาตรฐานความปลอดภัยทางเทคโนโลยี และมาตรฐานการดำเนินงานของระบบงาน และคณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและจัดสรรรายได้ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการจัดเก็บค่าธรรมเนียม มาตรฐานการจัดสรรรายได้ มาตรฐานอัตราค่าโดยสารในกรณีใช้อัตราค่าโดยสารร่วม และกรอบมาตรฐานค่าธรรมเนียมการชำระเงิน และการเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการ

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนระบบตั๋วร่วมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงข้อกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาถึงความซ้ำซ้อนของการลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยให้พิจารณา เปิดโอกาสให้สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์เข้ามาร่วมพัฒนาระบบตั๋วร่วมได้ รวมถึงการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติในรูปแบบ M-Flow ตลอดจนดำเนินการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะให้แล้วเสร็จเพื่อนำเสนอคณะกรรมการในการประชุมเดือน ก.พ. 2564



ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2560 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบโครงสร้างการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับกำกับดูแล และระดับปฏิบัติการ โดยให้ รฟม.เป็นหน่วยปฏิบัติงาน ต่อมากระทรวงคมนาคมเห็นชอบเทคโนโลยี EMV มาใช้กับระบบตั๋วร่วมบัตรแมงมุม และให้ รฟม. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) จัดทำระบบตั๋วร่วมให้ใช้บัตรร่วมกันได้ในลักษณะใช้ร่วมกันได้ ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเชื่อมต่อระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Fare Collection) ของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System) เพื่อดำเนินการ



ประชุมวนไปค่ะ!! ความหวังได้ใช้”ตั๋วร่วม”ยังไม่รู้เมื่อไหร่??
*ก.พ.ถกอีก/จี้ให้ใช้เขียว-น้ำเงิน-ม่วงก่อน
*ตั้งธงบัตร EMV เริ่มใช้น้ำเงิน-ม่วง ต.ค.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2826741724213994


Last edited by Wisarut on 31/01/2021 3:21 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2021 2:54 am    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม บี้สุดฤทธิ์ใช้นโยบายระบบตั๋วร่วมรถไฟฟ้าปีหน้า
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
30 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:30 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วมว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าดำเนินงานของการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้น ให้เร่งทำระบบให้บัตรโดยสารที่ประชาชนมีอยู่ในปัจจุบันใช้บัตรข้ามระบบได้ ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง เพื่อให้ประชาชนสะดวก ส่วนระยะยาว จัดทำระบบตั๋วร่วมแบบ Account Based Ticketing (ABT) โดยใช้บัตร EMV Contacless (Europay Mastercard and Visa) มาใช้กับระบบตั๋วร่วม ซึ่ง รฟม.พร้อมที่จะร่วมกับสถาบันการเงินที่มีระบบ EMV ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารกรุงไทยที่แจ้งว่าพร้อมที่จะลงทุนในระบบ EMV ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ประกอบการมาใช้บริการ ของธนาคารกรุงไทย คาดว่าจะใช้ได้กับ สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน ในเดือน ต.ค.64 และจะใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบภายในเดือน ม.ค.65


นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติม ด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการออกตั๋วร่วม, ด้านกำหนดมาตรฐาน ค่าโดยสารและจัดสรรรายได้ ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานจัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดสรรรายได้ มาตรฐานค่าโดยสารในกรณีใช้ค่าโดยสารร่วม และกรอบมาตรฐานค่าธรรมเนียมการชำระเงิน นอกจากนั้นยังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาและบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดและไม่ให้ซ้ำซ้อนการลงทุนระบบตั๋วร่วมทั้งหมดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์เข้ามาร่วมพัฒนาระบบได้ รวมถึงพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติในรูปแบบ M-Flow ให้แล้วเสร็จเพื่อนำเสนอคณะกรรมการใน การประชุมครั้งต่อไป ภายในเดือน ก.พ.64.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2021 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

"ชัชชาติ"แนะใช้รายได้ Non-Fare กดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ถูกลง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:20 น.

"ชัชชาติ"แนะใช้รายได้จากกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ Non-Fare กดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ถูกลง

รายงานข่าวระบุว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตร่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์) โดยมีข้อความว่า เรื่องอัตราค่าโดยสารใหม่ของ BTS คงเป็นเรื่องกังวลใจของพวกเราหลายๆคน เพราะจำนวนคนที่ใช้รถไฟฟ้า BTS ก่อนโควิด มีถึงเกือบ 700,000 คนเที่ยวต่อวัน


มีทางไหนไหม ที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง? วิธีหนึ่งที่หลายๆประเทศในโลกใช้กัน คือ เพิ่มรายได้ในส่วนของ Non-Fare รายได้จากกิจการรถไฟฟ้าหรือ กิจการขนส่งทั่วๆไป เราอาจมีรายได้ในสองรูปแบบคือ
1. Fare Revenue รายได้จากค่าตั๋วโดยสาร
2. Non-Fare Revenue รายได้จากกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าพื้นที่ ประโยชน์จากการเชื่อมต่อสถานีรายได้จากกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องของรถไฟฟ้า
รายได้จากกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องของรถไฟฟ้า

จำนวนผู้โดยสารที่ผ่านระบบมากถึง 700,000 คน-เที่ยวต่อวัน ทำให้พื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้า ในขบวนรถไฟฟ้า ราวจับ รวมถึงรอบตัวรถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเสาโครงสร้างรถไฟฟ้า มีมูลค่าสำหรับการโฆษณาสูงมาก



เราคงจะไม่เห็นพื้นที่ไหนที่มีการโฆษณามากเท่ากับพื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าแล้ว
อย่างในกรณีของ MTR ของฮ่องกง ในปี 2017 มีรายได้จาก Fare Revenue 63% และ Non-Fare Revenue 37%
สำหรับในส่วนของกทม. ผมเชื่อว่าถ้าเราบริหารจัดการให้ดี ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนให้ดี เราสามารถนำรายได้ในส่วนของ Non-Fare มาช่วยเสริมรายได้จากค่าโดยสารอีกไม่น้อยกว่า 20%
จากข้อมูลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เราพอจะหารายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อเปรียบเทียบคร่าวๆได้ดังนี้
รายได้จากค่าโดยสารของรถไฟฟ้า BTS ในส่วนสายหลักระยะทาง 23.5 กิโลเมตร (สายสุขุมวิท จากสถานีหมอชิตถึงสถานีอ่อนนุชและสายสีลม จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติถึงสถานีสะพานตากสิน)
ในปี 2562-2563 เก็บค่าโดยสารได้รวม 6,814.24 ล้านบาท
ในขณะที่รายได้จากการโฆษณาและให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้า BTS ในปี 2562-2563 สูงถึง 2,183.89 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 30% ของรายได้จากค่าโดยสาร ในอนาคต เมื่อสัมปทานปัจจุบันสิ้นสุดลง ถ้าเรามีการประมูลที่โปร่งใส ยุติธรรมกับทุกฝ่าย มีการนำรายได้อื่นๆจากรถไฟฟ้ามาช่วยสนับสนุนค่าโดยสาร จะช่วยทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงได้ครับข่าวที่เกี่ยวข้อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2021 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

'คจร.'เคาะเดินหน้า'ระบบทางด่วน'ขั้นที่ 3 สายเหนือดัน'รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล'
1 กุมภาพันธ์ 2564
"ประวิตร" นั่งหัวโต๊ะ "คจร." ถก แก้ปัญกา จราจร เห็นชอบดำเนิน "โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ" ดัน รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จ่อ เก็บค่าผ่านทาง แบบไร้ไม้กั้น
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2564 โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดารมว.มหาดไทย และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เข้าร่วม


ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนแม่บท ขนส่งมวลชนทางรางในเขตกทม. และปริมณฑล ที่สำคัญ ได้แก่โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ปัจจุบัน เปิดให้บริการแล้ว 9 เส้นทาง โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 6 เส้นทาง และโครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก 10 เส้นทาง ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการศึกษาความเหมาะสม โครงการขอนแก่น Smart City โดยมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และไม่มีข้อคัดค้าน รวมทั้งรับทราบความคืบหน้า โครงการรถไฟฟ้ารางเบา จ.ภูเก็ต (สนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง)




จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ การดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) และเห็นชอบ แผนการพัฒนาดำเนินงาน ติดตั้งระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง แบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) บนทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมือง ของกรมทางหลวง และบังคับใช้กม.กับผู้หลีกเลี่ยงฝ่าฝืน ไม่ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง


อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประวิตร ระบุว่า ให้ความสำคัญ กับการแก้ปัญหาจราจร มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่เขตเมือง ซึ่งมีการขนส่ง การเดินรถ อย่างหนาแน่น จึงได้กำชับ หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะต้องเร่งรัด และบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อให้โครงการต่างๆ มีความก้าวหน้า และสามารถแก้ปัญหาการจราจร การขนส่ง อย่างได้ผล เพื่อรองรับการขยายตัวเขตเมืองและเชื่อมต่อเครือข่ายเส้นทางให้ครอบคลุมพื้นที่ ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 229, 230, 231 ... 277, 278, 279  Next
Page 230 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©