RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179761
ทั้งหมด:13490993
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 397, 398, 399 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2021 2:54 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ชงพันล้านเพิ่มเวนคืน เร่ง“ซีพี”แจงย้ายสถานีไฮสปีด
9 มกราคม 2564
ช่วงที่ผ่านมาภาครัฐได้เร่งผลักดันเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ได้ลงนามร่วมลงทุนไปแล้ว 3 โครงการ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพิ่มเติมในส่วนของงบเวนคืนที่ดินจากเดิมได้รับการอนุมัติมาแล้วราว 3.5 พันล้านบาท จะเสนอขอเพิ่มอีกกว่า 1 พันล้านบาท เพื่อให้การจ่ายชดเชยอยู่ในอัตราที่เหมาะสม และไม่กระทบต่อการเวนคืนที่ดิน หรือเป็นปัญหาติดขัดตามมา

ทั้งนี้ งบเวนคืนที่ดิน ร.ฟ.ท.ได้รับอนุมัติมาก่อนหน้านี้ ได้นำไปใช้กับการเวนคืนที่ดินในเมืองแล้ว 400 ล้านบาท เหลือ 3,100 ล้านบาท ซึ่งแผนดำเนินงานในขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างทำสัญญาร่วมกับเจ้าของที่ดิน เพื่อเวนคืนที่ดินและเริ่มกระบวนการทยอยจ่ายเงินชดเชยเวนคืนที่ดินในเดือน ม.ค.นี้ ส่วนงบเวนคืนที่ดินที่อยู่ระหว่างขออนุมัติเพิ่มเติมนั้น ร.ฟ.ท.จะกันไว้เพื่อจ่ายเวนคืนที่ดินส่วนสุดท้าย คือ 3 สถานี ที่ทางเอกชนมีแผนจะปรับพื้นที่ และยังไม่ได้ข้อสรุป

“ตอนนี้เราก็เริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินอย่างต่อเนื่อง ตามแผนจะจ่ายเงินชดเชยในเดือนนี้ ส่วนเงินที่เราขอมาเพิ่มก็ประจวบเหมาะกับที่เอกชนยังไม่ได้แจ้งข้อสรุปว่าจะปรับสถานีหรือไม่ ดังนั้นเงินส่วนที่รอขออนุมัติเพิ่มนี้ก็จะเตรียมไว้เพื่อเวนคืนส่วนนี้เป็นส่วนสุดท้าย ถือว่ายังพอมีเวลาที่จะรอความชัดเจนก่อน ภาพรวมการเวนคืนที่ดินตอนนี้จึงไม่สะดุดหรือติดปัญหาอะไร”


นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้แผนการส่งมอบพื้นที่เป็นปัญหาในภายหลัง ร.ฟ.ท.อยากให้ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด เร่งสรุปแผนย้ายสถานีที่เคยแจ้งไว้ ว่าจะมีพื้นที่ย้ายไปบริเวณใด จะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประชาชน หรือชุมชนโดยรอบ และนำมาหารือประกอบการตัดสินใจ เพราะหากเอกชนไม่เร่งดำเนินการ ร.ฟ.ท.ก็ต้องยืนยันที่จะเวนคืนที่ดินตามสัญญาข้อเสนอโครงการ (RFP) กำหนดไว้ หลังจากนั้นหากเอกชนจะปรับแนวสถานี ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องนำพื้นที่ที่ ร.ฟ.ท.ทำการเวนคืนไปพัฒนาให้เกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟด้วย

“หากยังไม่ได้รับความชัดเจนจากทางเอกชน การรถไฟฯ ก็มีความจำเป็นต้องเวนคืนตามแผน โดยหากเวนคืนที่ดินไปแล้ว ท้ายที่สุดเอกชนจะมาปรับสถานี ก็ต้องนำพื้นที่นี้ไปด้วย นำไปพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ถ้าไม่ทำสถานีก็ต้องทำอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพราะกฎหมายกำหนดไว้แล้วว่าวัตถุประสงค์เวนคืนเพื่อทำโครงการอะไร ถ้าไม่ทำก็ผิดกฎหมาย อาจถูกฟ้อง และหากเป็นเช่นนั้นเอกชนก็ต้องรับผิดชอบ”แหล่งข่าว กล่าว

ขณะเดียวกัน ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังมีโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการเวนคืนที่ดิน หรือผู้บุกรุกที่ถูกขอคืนพื้นที่ จากโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน โดย ร.ฟ.ท.ได้หารือกับ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) จัดสรรพื้นที่ให้ กคช.ในราคาถูก บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากถนนวิภาวดี 3.8 กิโลเมตร จำนวน 5 ไร่ 3 งาน 91 เพื่อพัฒนาเป็นอาคารที่พักอาศัยให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้เช่าราคาถูกเป็นอีกทางเลือก

โดยจะก่อสร้างเป็นอาคารพักอาศัยสูง 8 ชั้น จำนวน 2 อาคาร รวมจำนวนทั้งสิ้น 360 ห้อง แบ่งออกเป็น อาคารเอ จำนวน 177 ห้อง และอาคารบี 183 ห้อง พื้นที่ห้องมีขนาด 33 ตารางเมตร ประกอบด้วย 1ห้องอเนกประสงค์ 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว และระเบียง เบื้องต้นการเคหะฯ อยู่ระหว่างออกแบบก่อสร้างเพื่อจัดทำรายละเอียดวงเงินลงทุน โดยการเคหะฯ จะเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด และทำหน้าที่บริหารจัดการ

สำหรับโครงการที่อยู่อาศัยต้องได้ข้อสรุปก่อนเดือน มี.ค.2564 เนื่องจากตามแผน ร.ฟ.ท.ต้องเร่งเคลียร์พื้นที่การรุกล้ำและส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนไปพัฒนาไฮสปีดเทรนภายในปีนี้ เบื้องต้นทราบว่า กคช.ได้ลงสำรวจพื้นที่บางส่วนไปแล้วเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา และมีแผนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบภายในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อเปิดประมูลช่วง ต.ค.-ธ.ค.2564 รวมทั้งจะเริ่มงานก่อสร้าง เม.ย.ปีหน้า และสามารถเปิดให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยในเดือน ต.ค.2565

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว จากการประเมินพบว่ามีจำนวนราว 300 ครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เข้ามาอาศัยในเขตทางรถไฟ ซึ่งทางเลือกของการขอคืนพื้นที่ก่อสร้างไฮสปีดเทรนนั้น ร.ฟ.ท.กำหนดไว้ว่าจะเจรจาจ่ายเงินชดเชยให้ แต่หากไม่รับเงินชดเชยก็มีทางเลือกเป็นที่อยู่อาศัยในราคาไม่แพง เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก


สุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.อยู่ในขั้นตอนของการเตรียมส่งมอบพื้นที่ให้บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ไปดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาร่วมลงทุนที่ได้กำหนดไว้ โดยในเบื้องต้น ร.ฟ.ท.ยังมีความมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ส่วนแรก คือ ช่วงสุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา ให้เอกชนเข้าดำเนินงานตามสัญญากำหนด ภายในเดือน ต.ค.2564

สำหรับแผนดำเนินงานส่งมอบพื้นที่ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1.การแก้ปัญหาผู้บุกรุก ได้ดำเนินการเจรจากับผู้บุกรุกในพื้นที่ระหว่างช่วงสุวรรณภูมิ–อู่ตะเภาและมีการย้ายออกแล้ว

2.การเวนคืนที่ดิน ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้จัดทำรายละเอียดการเวนคืนที่ดินแล้วเสร็จ และแจ้งให้ผู้ถูกเวนคืนรับทราบเบื้องต้นแล้ว ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 679 หลังคาเรือน 923 ไร่ เตรียมจ่ายชดเชยผู้ถูกเวนคืนในเดือน ม.ค.นี้

3.การรื้อย้ายสาธารณูปโภค จำนวน 756 จุด จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2021 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

“แอร์พอร์ตลิงก์” สรุปแผนส่งมอบ “ซีพี” - เร่งรื้อตู้ขนกระเป๋า-สำรองอะไหล่ซ่อมรถ 9 ขบวน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:17 น.



“แอร์พอร์ตลิงก์” สรุปแผนส่งมอบ “ซีพี” ต.ค. 64 ตามสัญญา เร่งปรับปรุงตู้ขนกระเป๋า รับผู้โดยสารเพิ่มอีก 1 หมื่นคน แนะสำรองอะไหล่เพื่อซ่อมใหญ่ 9 ขบวน วิ่งครบ 3.6 ล้าน กม.ปี 65 ขณะที่เร่งอบรมบุคลากร ทดสอบเดินรถสีแดง มี.ค.

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เปิดเผยว่า การส่งมอบแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ให้กลุ่มซีพีเพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. ซึ่งตามสัญญากำหนดส่งมอบภายในวันที่ 24 ต.ค. 2564 นั้น ขณะนี้ซีพีได้ทำดิวดิลิเจนซ์ (due diligence) เสร็จแล้ว และจัดทำเอกสารแผนการดำเนินงานส่งมอบ มีการตรวจสอบสินทรัพย์สภาพของรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวน

ทั้งนี้ ทางซีพีมีแผนปรับปรุงตู้สัมภาระเป็นตู้โดยสารจำนวน 4 ตู้ โดยขบวนแรกคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนเดือน ต.ค. 64 และทยอยปรับปรุงครบทั้ง 4 ตู้ในปี 65 ซึ่งจะทำให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มอีก 10,000 คนต่อวัน โดยจะเพิ่มความจุรวมจาก 80,000 คน ได้สูงสุดเป็น 100,000 คนต่อวัน

นอกจากนี้ ซีพีจะต้องปรับระบบอาณัติสัญญาณเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง รวมถึงอัปเดตระบบสื่อสารต่างๆ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น

สำหรับรถทั้ง 9 ขบวนนั้น ปัจจุบันวิ่งเป็นระยะทางรวม 2.8 ล้าน กม. โดยจะครบรอบการซ่อมบำรุงใหญ่ (overhaul) เมื่อการวิ่งครบระยะทาง 3.6 ล้าน กม. คาดว่าจะเป็นช่วงปี 65 ดังนั้น เมื่อซีพีจะต้องเตรียมแผนสำรองอะไหล่สำหรับการ overhaul ตั้งแต่ปี 64

เร่งอบรมบุคลากร พร้อมเดินรถสีแดง มี.ค.นี้

ส่วนการเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น จากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เพิ่มพันธกิจให้บริษัทเดินรถไฟสายสีแดง และได้อนุมัติกรอบวงเงิน 61 ล้านบาท สำหรับดำเนินการตั้งแต่เดือน พ.ย. 2563 - ต.ค. 2564 เป็นระยะเวลา 11 เดือน

ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เปิดรับบุคลากรจำนวน 256 คน โดยได้เริ่มทำการฝึกอบรมตั้งแต่เดือน ม.ค. 64 เพื่อรองรับการเปิดเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ที่จะเริ่มในเดือน มี.ค.นี้ สำหรับการเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ซึ่งกำหนดในเดือน พ.ย. 64 นั้น จะต้องมีบุคลากรในการให้บริการประมาณ 700-800 คน ซึ่งจะมีพนักงานของแอร์พอร์ตลิงก์ที่โอนย้ายไปเดินรถสายสีแดง

“พนักงานแอร์พอร์ตลิงก์ จำนวน 76 คนที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้จากกิจการร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิ, ฮิตาชิ, สุมิโตโม) ครอบคลุมทั้งเรื่องควบคุมการเดินรถไฟฟ้า พนักงานขับรถ ด้านระบบวิศวกรรม ซ่อมบำรุง ด้านความปลอดภัย และด้านสถานีจะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และอบรมพนักงาน 256 คนที่เพิ่งรับเข้ามา ส่วนการเปิดเดินรถเสมือนจริง ทาง รฟท.จะเป็นผู้กำหนดแผนการเดินรถซึ่งจะแบ่งเป็นเฟส จนถึงช่วง Soft Opening ที่คาดว่าจะเปิดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทดสอบก่อนเปิดใช้จริง”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2021 6:48 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เดินหน้าไฮสปีดเทรนด์เฟส 2 ชงครม.ช้าสุด ก.ย.นี้

TNN ช่อง16
13 มกราคม 2564 เวลา 09:37 น.
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน มี.ค.64 เบื้องต้นมีระยะทางราว 356 กม. งบลงทุนเบื้องต้น ประมาณ 2.5 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ หากออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ จะต้องทำเรื่องเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้ส่งเรื่องต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติได้ช่วงไตรมาสที่ 3/64 หรือก.ค.-ก.ย.นี้หากพบว่ามีพื้นที่ในการดำเนินการเวนคืนไม่มาก ก็อาจจะสามารถเปิดประมูลได้ในช่วงปลายปี 64 เริ่มตอกเสาเข็มปี 65 ใช้เวลาในการก่อสร้างงานโยธา 3 ปี หลังจากนั้นจะใช้เวลาในการติดตั้งงานระบบอาณัติสัญญาณอีก 3 ปี ตั้งเป้าเปิดให้บริการได้ในปี 7 2ทั้งนี้เบื้องต้นสำหรับพื้นที่ที่ต้องเวนคืนนั้น จะกระทบต่อที่อยู่อาศัยประชาชน 19 อําเภอ ใน 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย


ซึ่งจากการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ส่วนใหญ่มีผลกระทบอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลางส่วนผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการว่า เฉพาะช่วง นครราชสีมา-หนองคาย พบว่า มีความเหมาะสมในการลงทุน เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR)อยู่ที่ 11.25% ขณะที่ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่า ตลอดเส้นทาง รวมทั้ง 2 เฟส คือกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR)อยู่ที่ 12.10%

สำหรับแนวเส้นทาง 356 กม. แบ่งเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กม. และทางรถไฟยกระดับ 171 กม. มีทั้งสิ้น 5 สถานี คือ บัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบํารุงที่เชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และที่สถานีนาทา จ.หนองคาย โดยรถสามารถ ใช้ความเร็วได้สูงสุด 250 กม./ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังหนองคาย ประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2021 1:15 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“แอร์พอร์ตลิงก์” สรุปแผนส่งมอบ “ซีพี” - เร่งรื้อตู้ขนกระเป๋า-สำรองอะไหล่ซ่อมรถ 9 ขบวน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:17 น.



ต.ค.เดดไลน์ CP จ่ายหมื่นล้าน บริหารแอร์พอร์ตลิงก์-ตอกเข็มไฮสปีด
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 มกราคม 2564 - 09:03 น.




ไม่เกินเดือน ต.ค. 2564 คงจะเริ่มเห็นความคืบหน้าการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นสายที่ 2 ของประเทศไทย และการเปลี่ยนแปลงของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

หลังเปลี่ยนผ่านไปอยู่ในมือของ “บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน” หรือกลุ่ม ซี.พี.ที่จะเริ่มนับหนึ่งสัมปทาน 50 ปี หลังทุ่มเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาทลงทุนพลิกโฉมระบบรถไฟไทย

ค่าเวนคืนเพิ่มเป็น 4,700 ล้าน
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะแรกสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาให้กลุ่ม ซี.พี. ยังอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด 2 ปี คือภายในเดือน ต.ค.นี้ อยู่ระหว่างเตรียมการเวนคืน มีที่ดินถูกเวนคืนจำนวน 919 ไร่ จะไม่รอคำตอบจากกลุ่ม ซี.พี.ที่จะย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เนื่องจากรอมาร่วม 4-5 เดือนแล้ว จะเวนคืนส่วนที่เป็นโครงสร้างทางวิ่งไปก่อน ส่วนผู้บุกรุกจากทั้ง 302 ราย เคลียร์แล้ว 282 ราย ยังเหลือ 20 กว่าราย ด้านรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคเริ่มทยอยดำเนินการไปบ้างแล้ว เช่น การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

“รัฐจะเวนคืนพื้นที่บางส่วนไปก่อน เพราะมีการรังวัดและประเมินราคาแล้ว มีค่าเวนคืนเพิ่มขึ้นจากที่คณะรัฐมนตรีหรือ ครม.อนุมัติไว้ 3,570 ล้านบาท เป็น 4,700 กว่าล้านบาท ต้องขอ ครม.เพิ่ม ถ้าไม่เวนคืนไว้หาก ซี.พี.กลับลำไม่ย้ายสถานีจะเดินหน้าโครงการลำบาก ดูแนวโน้มน่าจะย้ายเกือบทุกสถานี แต่ยังไม่มีพิกัดตำแหน่งสถานีว่าย้ายไปไหน ซึ่งการเดินหน้าโครงการหากรัฐส่งมอบพื้นที่ได้ ทางเอกชนจะได้เริ่มงานก่อสร้าง คาดว่าพร้อมส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ประมาณเดือน พ.ค.-ส.ค.หรืออย่างช้าเดือน ต.ค.นี้”

รอเคลียร์พื้นที่ทับซ้อนไทย-จีน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟไทย-จีนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ทางกลุ่ม ซี.พี.อยู่ระหว่างประเมินเงินลงทุนหากต้องดำเนินการแทน ร.ฟ.ท.ทั้งหมด จะเป็นวงเงินเท่าไหร่ จากกรอบราคากลางกำหนดไว้ 18,000 ล้านบาท ทั้งนี้ในสัญญากลุ่ม ซี.พี.จะเป็นผู้ดำเนินการ ค่าก่อสร้างโครงสร้างและสถานีดอนเมืองประมาณ 11,000 ล้านบาท สร้างฐานรองรับรถไฟไทย-จีนอีก 3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หาก ร.ฟ.ท.จะนำมาดำเนินการเอง ต้องมีการแก้ไขสัญญา รวมถึงวงเงินลงทุนที่รัฐจะต้องสนับสนุนให้กลุ่ม ซี.พี.ด้วย


แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.เปิดเผยว่า งานระบบรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดสเป็กว่าจะใช้ของประเทศไหน แต่มีกำหนดระบบ ICE จากยุโรปกับประเทศจีนเป็นระบบ CRH และระบบของญี่ปุ่น มาใช้ในการออกแบบรายละเอียด วิเคราะห์ทางวิ่ง การรับน้ำหนักของขบวนรถ โดยต้องเปิดกว้างให้ใช้สเป็กรถจากผู้ผลิตรายไหนก็ได้

ต.ค.เข้าบริหารแอร์พอร์ตลิงก์
“ปี 2564 น่าจะเป็นการเริ่มต้นงานก่อสร้างไฮสปีด ใช้เวลา 5 ปี รวมถึงจะปรับปรุงแอร์พอร์ตลิงก์ หลังจากจ่ายค่าใช้สิทธิ 10,671 ล้านบาท เพื่อรับโอนโครงการภายในเดือน ต.ค.นี้”


แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า หลังได้เข้าสำรวจและประเมินทรัพย์สินของแอร์พอร์ตลิงก์ ในระยะแรกใช้เงินลงทุนประมาณ 400-500 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสถานี การบริการ ป้าย ระบบอากาศ ทางขึ้น-ลง ทางเข้า-ออกสถานี เช่น สถานีมักกะสัน จะมีทางเชื่อมใต้ดินกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเพชรบุรี จากปัจจุบันมีสกายวอล์กอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้โดยสารมีความสะดวก ยังมีปรับปรุงที่จอดรถบริเวณสถานี มีการบริหารจัดการให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น
ส่วนขบวนรถ 9 ขบวน มีปรับปรุงตู้ที่ใช้ขนสัมภาระกระเป๋าเดินทาง ให้เป็นที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร เพื่อให้สามารถจุคนได้เพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้บริษัททางรถไฟแห่งชาติอิตาลี (FS) ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการโครงการให้ได้เข้าไปดำเนินการแล้ว ทั้งนี้จะต้องมีทีมของ FS เข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่าหลังสถานการณ์โควิด-19 มีการระบาดระลอกใหม่ จะส่งผลกระทบต่อการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยหรือไม่

ซื้อรถใหม่พ่วงไฮสปีด
นอกจากนี้ในระยะยาวจะเป็นการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณให้ทันสมัย และซื้อขบวนรถใหม่ ภายในปีนี้น่าจะมีข้อสรุปว่าจะซื้อกี่ขบวนและใช้ของประเทศไหน โดยจะซื้อรวมกับรถไฟความเร็วสูงด้วย โดยการสั่งซื้อจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในระหว่างนี้มองว่ารถ 9 ขบวนเดิม ยังเพียงพอที่จะรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ในช่วง 2-3 ปีแรกนี้ จากปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 80,000 เที่ยวคน/วัน และผู้โดยสารจะหนาแน่นช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับพนักงานอยู่ระหว่างเปิดรับสมัคร จะมีทั้งเปิดเป็นการภายในจากพนักงานของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่บริหารแอร์พอร์ตลิงก์เดิม กับเปิดรับสมัครใหม่เป็นการทั่วไป ซึ่งทาง FS ให้รับพนักงานแอร์พอร์ตลิงก์มาอย่างน้อย 50% เพื่อจะได้บริหารโครงการได้ทันทีหลังรับโอนโครงการในเดือน ต.ค. 2564 นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/01/2021 2:30 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องผลงาน14สัญญารถไฟไฮสปีดเฟส1
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564

กรุงเทพฯ-โคราชเดินช้าติดโควิด ไม่เกินก.พ.เซ็นอีก5.6หมื่นล้าน

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส)ที่ 1 ช่วงเส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. จำนวน 14 สัญญา วงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาทว่า แล้วเสร็จ 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1-1 ช่วงกลางดงปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. โดยกรมทางหลวง (ทล.) ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% อยู่ระหว่างก่อสร้าง 1 สัญญา ได้แก่ สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. โดย บริษัทซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด มีความคืบหน้า 47.23% ช้ากว่าแผนพอสมควร เนื่องจากติด ปัญหาการเข้าพื้นที่ และรื้อย้ายสาธารณูปโภค รวมทั้งเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ขาดแคลนแรงงานบางส่วน

สำหรับ 5 สัญญาที่ รฟท. ลงนามกับบริษัทคู่สัญญาเมื่อเดือน พ.ย. 63 อยู่ในขั้นตอนการเตรียมเข้าพื้นที่ ในส่วนของสัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์ ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง 12.23 กม. บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างขออนุญาตใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ในงานอุโมงค์ คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างได้ประมาณเดือน เม.ย. 64, สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด 26.10 กม. คาดว่า รฟท.จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) เพื่อส่งมอบพื้นที่ได้ในวันที่ 19 ก.พ. 64

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า ส่วนสัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 37.45 กม. และสัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา โดยบริษัท กิจการร่วมค้าเอสพีทีเค จำกัด ประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และ บริษัท บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด 12.38 กม. คาดว่าจะออก NTP ได้ในวันที่ 26 ม.ค. 64 ขณะที่สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย โดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) 12.99 กม. คาดว่าจะออก NTP วันที่ 19 ก.พ. 64 ขณะนี้กำลังมีประเด็นผู้รับจ้างจะขอปฏิเสธรับ NTP ในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ อาจจะส่งผลกระทบกับงานก่อสร้างได้ โดยเรื่องนี้ทาง รฟท. กำลังพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายอยู่ว่าจะให้ปฏิเสธได้หรือไม่

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งด้วยว่า อีก 7 สัญญาที่เหลือ คาดว่าจะลงนามกับบริษัทใน 6 สัญญา วงเงินรวมกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท ได้ไม่เกินเดือน ก.พ. 64 ประกอบด้วย สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า 30.21 กม. วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท, สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร 21.80 กม. วงเงิน 8.6 พันล้านบาท, สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท, สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6.5 พันล้านบาท, สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว 13.30 กม. วงเงิน 9.9 พันล้านบาท และสัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 กม. วงเงิน 9.4 พันล้านบาท

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า ขณะที่อีก 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีโครงสร้างร่วมที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น ล่าสุดนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่งการว่าต้องเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน เม.ย.นี้ โดยโครงการยังเดินหน้าตามแผนเดิมที่จะเปิดบริการภายในปี 68.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2021 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ปิดดีลสัญญาเวนคืน ไฮสปีดซีพี 900 แปลง ก.พ. นี้
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:04 น.

สกพอ. เร่ง"ซีพี" เคาะปรับแบบสถานีไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ภายในเดือน ม.ค.-ก.พ.นี้ หวั่นกระทบระยะเวลาก่อสร้างโครงการฯ ยันไทม์ไลน์ส่งมอบพื้นที่สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เดือน ต.ค.64 ด้านรฟท.ลุยเจรจาทำสัญญาที่ดินกับชาวบ้าน 900 แปลงแล้วเสร็จ ก.พ. 64

การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เร่งรัดส่งมอบพื้นที่ ให้กับผู้รับสัมปทานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อลงมือก่อสร้างภายในปี2564นี้ ท่ามกลางสถานการณ์โควิดกลับมาระบาดอีกรอบ รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ระบุถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ว่า สำหรับการปรับย้ายสถานีโครงการฯ ขณะนี้บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มซีพี) อยู่ระหว่างการศึกษาสถานีเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ศึกษาไว้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปการปรับแบบสถานีภายในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ นี้ เบื้องต้นซีพีเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ในเมืองที่พัฒนาแล้ว แต่ทางเข้า-ออก ค่อนข้างคับแคบ ซึ่งจะทำให้การจราจรติดขัด รวมทั้งพื้นที่จะพัฒนาเมืองค่อนข้างจำกัด หากซีพีสนใจปรับย้ายสถานีใหม่ จะต้องรับผิดชอบและแบกรับภาระทั้งหมด อาทิ การสำรวจที่ดิน การขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ และการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ทางรฟท.ก็ยังเดินหน้าเตรียมส่งมอบพื้นที่โครงการฯ เพราะไม่สามารถรอเอกชนได้ “ขณะเดียวกันทางซีพีต้องใช้ระยะเวลาในการออกแบบรายละเอียดเพื่อก่อสร้าง หากยังดำเนินการปรับแบบสถานีไม่เสร็จจะดำเนินก่อสร้างไม่ทันตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากภายในเดือนตุลาคม 2564 ถึงกำหนดการส่งมอบพื้นที่เฟสแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้เอกชนเข้าดำเนินงานตามสัญญา ซึ่งระยะเวลาสัญญาโครงการระบุว่าเอกชนดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 5 ปี นับจากวันที่ส่งมอบพื้นที่ เพื่อออกหนังสือให้เริ่มงานก่อสร้าง (NTP) หลังจากนั้นส่งมอบพื้นที่ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ภายในเดือนตุลาคม 2566” รายงานข่าวจาก สกพอ. กล่าวต่อว่า สำหรับสัญญาร่วมทุนโครงการฯ ที่ลงนามสัญญาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ระบุไว้ว่าเอกชนคู่สัญญาสามารถย้ายหรือปรับตำแหน่งสถานีได้ เนื่องจากเดิมตำแหน่งสถานีพัทยา สถานีศรีราชา และสถานีชลบุรี ตั้งอยู่บนพื้นที่ของรฟท.ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะของถนนที่ค่อนข้างคับแคบ โดเฉพาะสถานีพัทยา มีถนนเพียง 2 ช่องจราจร หากมีการเพิ่มสถานีบริเวณดังกล่าวจะทำให้การจราจรติดขัด แต่ที่ผ่านมารฟท.ได้ศึกษาใช้สถานีเดิมของรฟท.เพื่อดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแทน ทำให้รฟท.ไม่สามารถเวนคืนที่ดินพื้นที่อื่นเพื่อก่อสร้างสถานีและขยายพื้นที่พัฒนาเมืองได้เพราะมีข้อจำกัดทางกฎหมาย โดยรฟท. เล็งเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวอาจจะมีปัญหาในอนาคต จึงระบุในสัญญาดังกล่าวให้เอกชนสามารถย้ายหรือปรับสถานีได้ ส่วนจะเสนอการปรับสถานีหรือไม่ขึ้นอยู่กับเอกชน


ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข โดยรฟท.ต้องเป็นผู้อนุมัติการย้ายตำแหน่งสถานีโครงการฯ ซึ่งการย้ายสถานีนั้นต้องเป็นประโยชน์กับสาธารณะ หากชาวบ้านหรือประชาชนมีความกังวลในการปรับย้ายสถานีโครงการฯ โดยเอกชนได้รับประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว แต่ชาวบ้านไม่ได้รับประโยชน์จากพื้นที่นั้น รฟท.มีสิทธิไม่อนุมัติได้เช่นกัน ส่วนการเวนคืนที่ดินโครงการฯ ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการขออนุญาตใช้พื้นที่เวนคืนที่ดินของส่วนราชการเพื่อดำเนินการจัดทำสัญญาเวนคืนที่ดิน เนื่องจากขณะนี้มีประกาศสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ต้องขออนุญาตอีกครั้ง จะใช้ระยะเวลาดำเนินการขออนุญาตเข้าพื้นที่ดังกล่าวภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการทำสัญญาเวนคืนที่ดินอย่างช้าสุดภายในวันที่ 20 มกราคม 2564 คาดว่าจะดำเนินการจัดทำสัญญาในส่วนที่ชาวบ้านยอมรับค่าชดเชยได้ภายในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 ขณะเดียวกันขั้นตอนการเวนคืนที่ดิน เมื่อสำรวจรายละเอียดแล้วเสร็จจะดำเนินประกาศราคา ซึ่งชาวบ้านจะทราบว่าพื้นที่บริเวณที่ถูกเวนคืนเป็นอย่างไร และดำเนินการจัดทำสัญญาได้ทันที ส่วนชาวบ้านที่ไม่ยอมรับค่าชดเชยดังกล่าวมีสิทธิที่จะขอเจรจาให้รฟท.ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่เวนคืนที่ดินอีกครั้ง คาดว่าจะดำเนินการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2564

สำหรับพื้นที่เวนคืน 850 ไร่ 900 แปลง ค่าเวนคืนตามที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่ที่ 3,570 ล้านบาท ทั้งนี้จะมีการประเมินราคาที่ดินอีกรอบ เนื่องจากที่ผ่านมารฟท.ดำเนินการศึกษาราคาประเมินที่ดินเมื่อปี 2560 ก่อนจะนำเสนอเข้าครม.ในปี 2561 แต่ปัจจุบันหลังจากที่ประกาศพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว เมื่อปลายปี 2563 ที่ปรึกษารฟท.ได้ดำเนินการสำรวจราคาที่ดินซื้อขายจริงอีกรอบ พบว่าราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 3 ปี (2560-2563) ส่วนราคาประเมินเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างนำรายละเอียดดังกล่าวเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมฯ ปลายในเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ส่วนการประเมินราคาที่ดินในครั้งนี้เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการจัดทำสัญญาเวนคืนที่ดินกับชาวบ้าน เพราะสัญญาบางส่วนสามารถดำเนินการได้เลย ขณะที่สัญญาบางส่วนที่ไม่ค่อยมีความชัดเจน เช่น พื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากเป็นพื้นที่ซ้อนทับกับกรมทางหลวง (ทล.) ที่จะดำเนินการสร้างทางยกระดับ ทำให้ยังไม่ได้มีการประกาศราคาพื้นที่ดังกล่าว รายงานจากรฟท. กล่าวต่อว่า รฟท.มีแผนศึกษาโครงการอาคารเช่าสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) พื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา เบื้องต้นเริ่มสำรวจและออกแบบผังอาคารภายในเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมาแล้ว หลังจากนั้นจะจัดทำรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ภายในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2564 และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนสิงหาคม 2564 โดยจะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนเมษายน 2565-กันยายน 2566 ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนเข้าพักอาศัยภายในเดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ปัจจุบันรฟท.และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ได้หารือร่วมกับการเคหะแห่งชาติ เพื่อร่วมกับบรรเทาผลกระทบให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อน เบื้องต้น รฟท.และคณะกรรรมการอีอีซี มีแนวคิดที่จะมอบหมายให้การเคหะฯเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงการอาคารเช่าเพื่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เบื้องต้น รฟท.ให้การเคหะฯ เช่าพื้นที่ราคาถูก บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมานคร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากถนนวิภาวดี 3.8 กิโลเมตร จำนวน 5ไร่ 3 งาน 91 เพื่อพัฒนาเป็นอาคารที่พักอาศัยให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้เช่าในราคาถูก เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้วงเงินลงทุนของโครงการฯ การเคหะฯอยู่ระหว่างการออกแบบก่อสร้าง เพื่อจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินลงทุน โดยการเคหะฯจะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดและทำหน้าที่ในการบริหารพื้นที่ให้เช่าแก่ประชาชนที่สนใจ โดยคณะกรรมการอีอีซี รฟท. และการเคหะฯจะต้องเร่งหารือเพื่อสรุปรายละเอียดโครงการทั้งหมดให้แล้วเสร็จก่อนเดือนมีนาคม 2564 ก่อนลงพื้นที่เพื่อสำรวจรายละเอียดพื้นที่ให้ครบทั้งหมดอีกครั้ง เพื่อเร่งแก้ปัญหาการลุกล้ำพื้นที่ที่จะใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ที่ รฟท.จะต้องส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนที่เจ้าของโครงการให้ทันช่วงต้นปี 2565 สำหรับรูปแบบอาคารที่พักอาศัย เป็นอาคารพักอาศัยสูง 8 ชั้น จำนวน 2 อาคาร ประกอบด้วย อาคารแบบA จำนวน 177 ห้อง อาคารแบบ B จำนวน 183 ห้อง. รวม 360 ห้อง ภายในห้องพักขนาด 33 ตารางเมตร ประกอบด้วย 1 ห้องอเนกประสงค์ 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ 1 ห้องครัว และระเบียง โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ซึ่งห่างจากถนนวิภาวดีรังสิตเพียง 3.8 กิโลเมตร (กม.)หน้า7หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับ3645ข่าวที่เกี่ยวข้องซีพี ขอเวนคืนที่สร้างไฮสปีดเพิ่ม 3จุดลุยไฮสปีด เฟส 2 บูมระยอง-จันทบุรี-ตราดเวนคืน 3,000หลัง ลากไฮสปีด ‘อู่ตะเภา-แกลง’ไฮสปีดจ่อขยับ จับซีพีตอกเข็มดึงสปก.7หมื่นไร่ ปั้นเมืองใหม่EEC ชงกพอ.ไฟเขียว3ตำบล จ.ชลบุรี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2021 10:44 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงสายแรก กทม.-โคราชเปิดปี68ถึงหนองคายปี71
คอลัมน์ มุมคนเมือง
อังคารที่ 19 มกราคม 2564 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ พาไปส่องความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) สายแรกของประเทศไทย ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เฟสแรกจากกรุงเทพฯ-โคราชและเฟส2 ไปถึงหนองคาย ผลงานถึงไหนแล้ว ไปติดตามกัน

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร(กม.) จำนวน 14 สัญญา วงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จ100% แล้ว 1 สัญญา คือสัญญาที่ 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ดำเนินการโดยกรมทางหลวง (ทล.) และกำลังก่อสร้าง 1 สัญญาคือสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. โดยบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด มีความคืบหน้าก่อสร้างประมาณ 47.23% ล่าช้ากว่าแผนพอสมควร เนื่องจากติดปัญหาการเข้าพื้นที่ และรื้อย้ายสาธารณูปโภค รวมทั้งเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ขาดแคลนแรงงานบางส่วน



สำหรับ 5 สัญญาที่ รฟท. ลงนามกับคู่สัญญาไปเมื่อเดือน พ.ย.63 นั้น อยู่ในขั้นตอนการเตรียมเข้าพื้นที่ ในส่วนของสัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์ ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง 12.23 กม. ดำเนินการโดยบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างขออนุญาตใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ในงานอุโมงค์ คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างได้ประมาณเดือน เม.ย.64, สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง โดยบริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด 26.10 กม. คาดว่า รฟท.จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) เพื่อส่งมอบพื้นที่ได้ในวันที่ 19 ก.พ.64

ในส่วนของสัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 37.45 กม. และสัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา โดยบริษัท กิจการร่วมค้าเอสพีทีเค จำกัด ประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัทบิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด 12.38 กม คาดว่าจะออก NTP ได้ในวันที่ 26 ม.ค.64 ขณะที่สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย โดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) 12.99 กม. คาดว่าจะออก NTP วันที่ 19 ก.พ.64

อย่างไรก็ตามกำลังเกิดประเด็นที่ผู้รับจ้างจะขอปฏิเสธรับ NTP ในช่วงนี้ เพราะมีการแพร่ระบาดฯ อาจจะส่งผลกระทบกับงานก่อสร้างได้ รฟท. กำลังพิจารณาข้อกฎหมายว่าจะให้สามารถปฏิเสธได้หรือไม่






อีก 7 สัญญาที่เหลือ คาดว่าจะลงนามกับบริษัทคู่สัญญาใน 6 สัญญา วงเงินรวมกว่า 5.6 หมื่นล้านบาท ได้ไม่เกินเดือน ก.พ.64 ประกอบด้วย สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย – กลางดง และช่วงปางอโศก - บันไดม้า 30.21 กม. วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท , สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง - นวนคร 21.80 กม. วงเงิน 8.6 พันล้านบาท, สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร - บ้านโพ 23 กม. วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท, สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6.5 พันล้านบาท, สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว 13.30กม. วงเงิน 9.9 พันล้านบาท และสัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว - สระบุรี 31.60 กม. วงเงิน 9.4 พันล้านบาท

ที่เหลืออีก 1 สัญญา (สัญญาที่ 4-1 ) ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 15.21 กม. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท มีโครงสร้างร่วมที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ล่าสุดนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่งการว่าต้องเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน เม.ย.นี้ ในภาพรวมโครงการยังเดินหน้าตามแผนเดิมที่จะเปิดบริการได้ภายในปี68



รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับ 181.9 กม. ระดับพื้น 64 กม. และอุโมงค์ 6.4 กม.มีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา ใช้ความเร็วสูงสุด250กม.ต่อชม. ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประมาณ 1.30 ชม. ค่าโดยสารประมาณ107-534 บาท
ส่วนเส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย เฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 250,000 ล้านบาท เป็นทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กม. และทางรถไฟยกระดับ 171 กม. มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์เดือน มี.ค.64 หากออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จต้องทำเรื่องเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อส่งเรื่องต่อไปยังคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป

รฟท.วางไทม์ไลน์โครงการไว้ว่าจะเสนอครม.ได้ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 64 หรือประมาณเดือน ก.ค.-ก.ย.64 หากพบว่ามีพื้นที่เวนคืนไม่มากอาจเปิดประมูลได้ช่วงปลายปี 64 เริ่มตอกเสาเข็มปี 65 ใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 3 ปี และใช้เวลาติดตั้งงานระบบอาณัติสัญญาณอีก 3 ปี ตั้งเป้าเปิดบริการได้ในปี 72 ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯไปหนองคาย ประมาณ 3 ชม. 15 นาที. ค่าโดยสารตลอด984บาท

อดใจรออีก 4 ปี จะได้นั่งรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยไปโคราช และนั่งยาวๆตลอดเส้นทางไปถึงหนองคายในปี 71 อนาคตรถไฟสายนี้จะเชื่อมไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่
.............................
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/01/2021 11:53 am    Post subject: Reply with quote

สัมปทานทวาย-เหมืองแร่โพแทช จุดเสี่ยงสถานะ 'อิตาเลียนไทย'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

มีหลายโปรเจ็กต์ที่ "บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" พี่ใหญ่วงการรับเหมา ยุค "เปรมชัย กรรณสูต" เป็นผู้กุมบังเหียนที่ยังไม่เปรี้ยง

เมื่อปี 2556 ลงทุนไปหลาย 100 ล้านบาท ทำเอกสารยื่นซองประมูลแผนบริหารจัดการน้ำ มูลค่า 3.5 แสนล้านบาท ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ คว้างานมาได้ถึง 5 โมดูล แต่สุดท้ายโครงการล่มกลางคัน กลายเป็นโปรเจ็กต์ต้องลงแรงเปล่า

ต่อมาอภิมหาโปรเจ็กต์ "เขตเศรษฐกิจทวาย" ที่กำลังถึงทางตัน หลังเข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมา ตั้งแต่ปี 2551 ล่าสุดคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ (DSEZ MC) บอกเลิกสัญญา 7 ฉบับ

ทั้งนี้ "อิตาเลียนไทยฯ" ได้เข้าไปลงทุนร่วม 7,000-8,000 ล้านบาท สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการเพื่อบุกเบิกการพัฒนาพื้นที่ หลังมั่นใจว่าโครงการจะได้ไปต่อ

จากการเซ็นสัญญา MOU ร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเมียนมาเพื่อขับเคลื่อนโครงการ จนเป็นที่มาของสัมปทานพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในระยะแรก เนื้อที่ 27 ตร.กม. เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2559 ที่ "อิตาเลียนไทยฯ" ได้สัมปทาน 50 ปี ต่อได้อีก 15 ปี ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรม ถนน 2 ช่องจราจรเชื่อมทวายกับบ้านพุน้ำร้อน ท่าเรือขนาดเล็ก เขตที่อยู่อาศัย อ่างเก็บน้ำ และระบบประปา โรงไฟฟ้าชั่วคราว โรงไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคมผ่านสาย และท่าเรือ LNG

แต่ด้วยสถานการณ์การเมืองในเมียนมาไม่นิ่งและปัญหาต่าง ๆ ทำให้โครงการสะดุดหยุดไซต์มานานหลายปี ล่าสุดต้องรีวิวแผนพัฒนาพื้นที่ใหม่ทั้งยวง เพื่อให้โครงการได้ไปต่อ พัฒนา 8,000 ไร่ แบ่งเป็น 5 เฟส เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากรัฐบาลเมียนมา แต่ถูกบอกเลิกสัญญาอย่างที่ตกเป็นข่าวใหญ่

โครงการนี้ใช้เวลาผลักดันมาหลายปี แต่มีความก้าวหน้าน้อยมาก ขณะที่ผู้ถือหุ้นอิตาเลียนไทยฯก็ถามไถ่ทุกปีเวลามีประชุม และจากความล่าช้าของโครงการ ทำให้บริษัทต้องบันทึกไว้ว่าเป็นความเสี่ยง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาธุรกิจ สถานะการเงิน

อีกโครงการ "เหมืองแร่โพแทช"ที่ จ.อุดรธานี ที่ทุ่มลงทุน 4,000-5,000 ล้านบาท ซื้อสิทธิสัมปทานจากแคนาดา ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ยังติดหล่มการขอสัมปทานบัตร หากไม่ได้อาจจะส่งผลในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ สถานะทางการเงิน

ขณะที่สถานการณ์ของบริษัทนายใหญ่ "เปรมชัย กรรณสูต" เปิดเผยว่า ในปี 2563 ผลประกอบการไม่ค่อยดี งานใหญ่ ดีเลย์หลายงาน รายได้โดยรวมลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาท จากคาดการณ์ 50,000-60,000 ล้านบาท เหลือไม่ถึง 50,000 ล้านบาท

"ปี 2564 งานจะเยอะ เพราะปีที่แล้ว เซ็นสัญญางานใหญ่ไปจำนวนมาก จะมีทั้งรถไฟไทย-จีน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่าจะมีรายได้ 60,000 ล้านบาทขึ้นไป"

นายใหญ่อิตาเลียนไทยฯยังบอกว่า ปัจจุบันมีงานในมือเป็นงานก่อสร้างภายในประเทศรวม 300,000 ล้านบาท มีงานรถไฟไทย-จีน รถไฟทางคู่ งานอาคารขนาดใหญ่ ๆ ยังไม่รวมงาน ต่างประเทศอีก 50,000-60,000 ล้านบาท ที่ยังมีงานโครงการก่อสร้างที่ประเทศ อินเดีย บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างรถไฟฟ้า MRT ท่าเรือ ถนน โดยจะทยอยรับรู้รายได้ อีก 4 ปี เฉลี่ย 60,000-70,000 ล้านบาทต่อปี

"ในปีนี้รอเซ็นงานใหญ่รถไฟความ เร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่ร่วมกับกลุ่ม ซี.พี. ซึ่งทาง ซี.พี.จะให้เราได้สร้างงานโยธาประมาณ 102,000 ล้านบาท และ ให้ทาง CRCC จากประเทศจีน ทำงานระบบรางกับระบบอาณัติสัญญาณ ภายในกลางปีนี้น่าจะมีความชัดเจนเรื่องส่งมอบพื้นที่จากรัฐ เมื่อได้พื้นที่เริ่มสร้างได้เลยช่วงแรกสุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา ใช้เวลาสร้าง 3 ปี อีก 2 ปี เป็นงานติดตั้งและทดสอบระบบ"

นอกจากนี้ "เปรมชัย" ยังเฉลยกรณีที่บริษัทไม่ยื่นซองประมูล PPP รถไฟฟ้าสายสีส้ม "บางขุนนนท์-มีนบุรี" วงเงิน 1.28 แสนล้านบาทว่า สายสีส้มที่ไม่เข้ายื่นประมูล เนื่องจากในทีโออาร์คนที่เข้าร่วมได้ต้องเป็นโอเปอเรเตอร์รถไฟฟ้าและเป็นบริษัทไทย

จะมี 2 บริษัทที่ยื่นได้ คือ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงทพ (BTSC) กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) แต่เราไม่ได้เข้าร่วมกับทั้ง 2 บริษัท ซึ่งการที่บริษัทยื่นขอเปลี่ยนเงื่อนไขการประมูลใหม่ เนื่องจากคิดว่าจะหาผู้ร่วมลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทรอรับช่วงงานก่อสร้างจาก BEM จะให้ร่วมก่อสร้างกับ ช.การช่าง

นอกจากรอสายสีส้มแล้ว ยังเตรียมตัว ประมูลโครงการใหม่ในปีนี้ อาทิ รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-นครพนม งานขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2021 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมถกแผนส่งมอบพื้นที่สร้างรถไฟเชื่อมสามสนามบิน
ไทยโพสต์ 21 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:35 น.

21 ม.ค. 2564 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ครั้งที่ 1/2564 เปิดเผยว่า เป็นการรับทราบและติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ได้แก่ การขอใช้พื้นที่ของกรมทางหลวงและเวนคืนพื้นที่บริเวณทางออกสุวรรณภูมิ ซึ่งรูปแบบแนวเส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงขาออกจากสถานีสุวรรณภูมิไปยังอู่ตะเภาจะก่อสร้างอยู่ระหว่างโครงสร้างของโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เดิมกับถนนต่างระดับขาเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของกรมทางหลวง

อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเวนคืนพื้นที่ในช่วงทางโค้งเข้าบรรจบกับทางวิ่งหลัก โดยมีการเวนคืนพื้นที่ 1 ไร่ 89 ตารางวา ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามแนวทางดังกล่าว โดยเอกชนคู่สัญญาตกลงปรับรูปแบบโครงสร้างบริเวณจุดตัดทางต่างระดับ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางยกระดับศรีนครินทร์ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (M7) ตามที่กรมทางหลวงออกแบบ

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้า ปัญหาอุปสรรค และแนวทางดำเนินการของฝ่ายรัฐ ได้แก่ การรังวัดโฉนดที่ดินในเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน การทำสัญญาจ่ายค่าทดแทนการเวนคืน การขอใช้พื้นที่หน่วยงานรัฐในพื้นที่เวนคืน ได้มอบหหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ประสานงานกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ส่วนการโยกย้ายผู้บุกรุกในช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา จากทั้งหมด 302 หลัง ได้ดำเนินการไปแล้ว 300 หลัง และฝ่ายเอกชนได้เริ่มดำเนินการล้อมรั้วเพื่อป้องกันผู้บุกรุกแล้ว และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามตรวจสอบไม่ให้มีประชาชนบุกรุกเข้าพื้นที่ พร้อมทั้งให้รายงานต่อที่ประชุมทุก ๆ เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2021 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สัมปทานทวาย-เหมืองแร่โพแทช จุดเสี่ยงสถานะ 'อิตาเลียนไทย'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ : Arrow สัมปทานทวาย-เหมืองแร่โพแทช จุดเสี่ยงสถานะ “อิตาเลียนไทย”
อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 21 มกราคม 2564 - 09:30 น.


https://www.prachachat.net/property/news-596848
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 397, 398, 399 ... 542, 543, 544  Next
Page 398 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©